สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
32 results found. Sorted by date | title

  Author Title Source Year
1. วิลาศ โพธิสาร การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมในเขตอีสานใต้ รวมบทความทางวิชาการไทศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (หน้า 152-189) 2546
2. มณีวรรณ บัวจูม วิถีชีวิตของชาวบ้านเวิน ตำบลโนนศรีงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2539
3. อิศราพร จันทร์ทอง บทบาทหน้าที่ต่อชุมชนและวิถีชีวิตในพิธีแก็ลมอของชาวกูย บ้านสำโรงทาบ ในด้านระบบความเชื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนที่ทำการศึกษา หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2537
4. นิรัญ สุขสวัสดิ์ เปรียบเทียบพิธีกรรมการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์กูย และเขมร บ้านโพนทองกับบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา เน้นสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2541
5. นพวรรณ สิริเวชกุล ข้อมูลและพัฒนาการทางสังคม การปรับตัวต่อปัญหาเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่และการผลิตของชาวกูยที่บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ 2541
6. สมมาตร์ ผลเกิด วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยส่วย บ้านดงกระทิง ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะอนุกรรมการวิจัยวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ 2538
7. กรรณิการ์ สุขสวัสดิ์ การอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มชนส่วยบ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2506 - 2537 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นสังคมศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2541
8. สมเกียรติ อินทอำภา บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีชาติพันธุ์ไทย-กูย บ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สาขาวิชาไทยคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2543
9. กนกวรรณ ระลึก การฟ้อนสะเอิงของชาวไทยกูย The 8th International Conference on Thai Studies 2545
10. อรัญญา พงศ์สะอาด อิทธิพลของวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อพฤติกรรมทางการเมือง กรณีศึกษาพิธีแซนยะของชุมชนชาวกูย ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2544
11. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, ปนัทดา เผือกพันธ์ (เพ็ชรสิงห์) และ รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในชุมชนชาติพันธุ์กวยและญ้อ : การศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณี องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) และ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2532
12. พิทยา หอมไกรลาศ "ตากลาง" หมู่บ้านช้างแห่งลุ่มน้ำมูล กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ 2540
13. น้ำทิพย์ พุ่มไม้ทอง คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกล และความต้องการทางการศึกษา สำหรับกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพประชากร กรณีศึกษาชาวส่วยเขมร หมู่บ้านแจงแมง และหมู่บ้านชำ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกษ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2534
14. ชื่น ศรีสวัสดิ์ การเลี้ยงช้างของชาวไทย-กุย(ส่วย) ในจังหวัดสุรินทร์ ไม่ปรากฏ 2538
15. วุฒินันท์ พระภูจำนงค์ วัฒนธรรมไทยกวย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ 2535
16. ปิยพันธุ์ สรรพสาร วิเคราะห์บทสู่ขวัญของชาวกูย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2546
17. วันชัย คำพาวงศ์ การศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมการเล่นแกลมอของกลุ่มชาวกูยบ้านตรึมและกลุ่มชาวกูยบ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ 2546
18. กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับชาวไทยต่างวัฒนธรรม กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี 2531
19. นฤมล จิตต์หาญ ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้างของชาวกูย : กรณีศึกษาหมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2546
20. เจริญ ไวรวัจนกุล และคณะ, ไพทูรย์ มีกุศล, ชื่น ศรีสวัสดิ์, สะอาด ทุนภิรมย์, สุเมธ คงสวัสดิ์, นิคม วงเวียน, เครือจิต ศรีบุญนาค วัฒนธรรมลุ่มน้ำมูล : กรณี เขมร ลาว ส่วย จังหวัดสุรินทร์ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ 2533

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง