สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,วัฒนธรรมท้องถิ่น,พฤติกรรมการเมือง,พิธีแซนยะ,สุรินทร์
Author อรัญญา พงศ์สะอาด
Title อิทธิพลของวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อพฤติกรรมทางการเมือง กรณีศึกษาพิธีแซนยะของชุมชนชาวกูย ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 167 Year 2544
Source หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การประกอบพิธีแซนยะหรือการเลี้ยงปู่ตาของชาวกูย ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ จะจัดปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือน 3 และเดือน 6 ตามจันทรคติ เพื่อเป็นการเซ่นไหว้ปู่ตา ชุมชนเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษที่คอยปกป้องคุ้มครองชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข การแซนยะมีความหมายเกี่ยวข้องกับการทำการเกษตร เป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน ความเชื่อและการปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแซนยะได้สืบทอดมาหลายชั่วคนและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากละเลยไม่ปฏิบัติหรือไม่เคารพ กูยเชื่อว่าจะนำภัยพิบัติมาสู่ชุมชน การประกอบพิธีแซนยะ มีผู้นำในการประกอบพิธีกรรมคือ "เฒ่าจ้ำ" เป็นคนเฒ่าคนแก่ที่คนในชุมชนเคารพนับถือและเป็นตัวแทนในการติดต่อสื่อสารกับปู่ตา ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม เริ่มต้นจากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของชุมชนและกำหนดการจัดงาน ทุกขั้นตอนจะเป็นไปโดยมีพื้นฐานจากการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากชุมชนมีความเชื่อดั้งเดิมทางไสยศาสตร์ การประกอบพิธีแซนยะซึ่งเป็นพิธีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ จึงเป็นเสมือนการตอกย้ำความเชื่อดังกล่าวให้มีความแนบแน่นในวิถีชีวิตกูยมากขึ้น ส่งผลให้กูยมีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยมและเชื่อฟังผู้มีอำนาจ ส่งผลให้พฤติกรรมทางการเมืองของกูยเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า - มีส่วนร่วม ในด้านของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ของกูยในตำบลแจนแวนมีอัตราส่วนที่ไม่มากนัก นอกจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการในรูปแบบของการเข้าร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้านและการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติแล้ว กูยตำบลแจนแวน ยังมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะที่รุนแรง ดังเช่น การตั้งกลุ่มทางการเมือง นอกจากนี้ยังมักแสดงพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะการชุมนุมประท้วงเป็นประจำ หากมีเหตุการณ์อันนำความไม่พอใจมาสู่ชุมชน นอกจากนี้ อิทธิพลของการเข้าร่วมพิธีแซนยะยังก่อให้เกิดพฤติกรรมการรวมตัวทางการเมือง การเลือกผู้นำทางการเมืองการปกครองทั้งผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยที่ชุมชนมิได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนเองและแสดงออกอย่างเป็นระบบระเบียบ จากการศึกษาจึงสรุปได้ว่า วัฒนธรรมทางการเมืองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของชุมชนโดยผ่านกระบวนการกล่อมเกลา และเรียนรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

Focus

ศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นในการประกอบพิธีเลี้ยงปู่ตาหรือแซนยะ ตลอดจนอิทธิพลของพิธีแซนยะที่มีต่อพฤติกรรมทางการเมือง อันได้แก่การเลือกผู้นำทางการเมือง การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของคนในชุมชนชาวกูย ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กูยหรือส่วยมีเลือดผสมระหว่างเวดดิกกับพวก Melasian มีรูปร่างลักษณะคล้ายเขมร คนไทยในราชสำนักเรียกกูยว่า "เขมรป่าดง" กูยในภาคอีสานที่แต่งงานกับลาวเรียกว่า "ส่วยลาว" หรือ "เลียวกูย" อีกสายเรียกว่า "ส่วยเขมร" หรือ "กูยขแมร์" ชาวไทยเรียกกูยว่า "ส่วย" สันนิษฐานว่าในอดีตหัวเมืองประเทศราชถูกกำหนดให้ส่งเครื่องบรรณาการหรือส่วยให้เมืองหลวง และพวกเขมรป่าดงหรือกูย ก็เป็นกลุ่มชนที่มีความชำนาญในการหาของป่าและมีความสามารถพิเศษในการคล้องช้าง จึงต้องลำเลียงของป่าบรรทุกบนหลังช้างเพื่อนำเครื่องราชบรรณาการมายังเมืองหลวง ด้วยเหตุดังกล่าวคนในเมืองจึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า "ส่วย" (หน้า 60 - 61)

Language and Linguistic Affiliations

กูยเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใช้ภาษามุณฑ์ (Munda)(หน้า 60) ประชากรในตำบลแจนแวน ร้อยละ 90.0 พูดภาษาส่วย ไม่มีภาษาเขียน คำพูดส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียวแล้วเติมคำนำหน้าอีกตัวหนึ่ง ศัพท์บางคำใช้เหมือนกับภาษาเขมรและบางคำใช้ภาษาไทยทับศัพท์แต่สำเนียงจะแตกต่างออกไป (หน้า 66)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2544

History of the Group and Community

จังหวัดสุรินทร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนพุทธศักราชมีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพมาจากเชิงเขาหิมาลัยลงมาตามลำน้ำโขง เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเทือกเขาพนมดงรักก่อนชนชาติเขมรและลาว ชนชาตินี้สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่ามุณฑ์ (Munda) เป็นเจ้าของภาษาพ่อมดหมอผี มีทักษะในการจับและฝึกช้าง ชนเผ่านี้ไทยสายสยามเรียกว่า "ส่วยระแค" หรือ "เขมรดง" เป็นชนกลุ่มแรกที่ปรากฏหลักฐานการอพยพเข้าในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จากพงศาวดารเมืองสุรินทร์ ชาวพื้นบ้านได้กล่าวถึง "กูย" หรือ "ส่วย" อพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์แล้วแยกย้ายตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์เป็น 6 พวก ต่อมาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี)โปรดให้ขุนนางสองพี่น้องกับไพร่พล 30 คนออกติดตามและจับช้างเผือก โดยได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้าบ้านป่าดง 6 คน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีฐานันดรศักดิ์ดังนี้ เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทร์ภักดี เชียงสี เป็นหลวงศรีนครเตา เชียงขัน เป็น หลวงปราบ เชียงมะ เป็น หลวงเพชร เชียงชัย เป็น ขุนไชยสุริยงค์ และกาตะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้เป็นเจ้าเมืองตั้งบ้านคูปะทายเป็นเมืองปทายสมันต์ ในภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองสุรินทร์ตามชื่อเจ้าเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ (สังขะ) และเมืองขุขันธ์ได้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองสืบกันมา 11 คน จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีการปรับระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาลและในปี พ.ศ.2494 เปลี่ยนจากข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจนถึงปัจจุบัน กูยหรือส่วย ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนกัมพูชาในอดีตเมื่อ 3,000 ปีมาแล้วตามพงศาวดารจำปาศักดิ์และประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์บันทึกไว้สอดคล้องกันว่า ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 กูยจำนวนมากได้อพยพจากบริเวณเมืองอัตปือแสนแป แขวงจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงมายังฝั่งตะวันตก เหตุที่กูยอพยพเพื่อหนีการข่มเหงและบีบคั้นทางจิตใจ การบังคับขู่เข็ญให้จัดหาช้างศึกให้จำปาศักดิ์ ชาวกูยส่วนใหญ่ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสุรินทร์โดยการนำของบ้านเชียฆะ ที่ต่อมาหมายถึง อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์และกลุ่มบ้านตากะจะและเชียงขัน ปัจจุบันคืออำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีษะเกษ (หน้า 58-61)

Settlement Pattern

"ยะจั๊วะ" ของบ้านเกาะ หมู่ที่ 3 จะตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ยะจั๊วะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนยะจั๊วะบ้านสำโรง หมู่ที่ 6 จะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านและหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเช่นกัน (หน้า 157-158)

Demography

กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยพระสงฆ์ 1 รูป ผู้นำท้องถิ่นอย่างเป็นทางการ 9 ท่าน ผู้นำในการประกอบพิธี 9 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน 8 ท่าน นักวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมส่วย จำนวน 2 ท่านและชาวบ้านทั่วไป 13 ท่าน รวมทั้งสิ้น 42 ท่าน (หน้า 53) จังหวัดสุรินทร์มีประชากรทั้งสิ้น 1,381,962 คน เป็นชาย 690,495 คนและเป็นหญิง 691,467 คน มีทั้งหมด 276,611 หลังคาเรือน (หน้า 59) ตำบลแจนแวนมีประชากรทั้งสิ้น 8,735 คน จำแนกเป็นชาย 4,335 คนและหญิง 4,400 คน มีทั้งหมด 1,427 ครัวเรือน (หน้า 65)

Economy

ประชากรในตำบลแจนแวนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีวิถีการผลิตและการบริโภคแบบดั้งเดิมชาวบ้านยังมีชีวิตความเป็นอยู่แบบพึ่งพาธรรมชาติ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคืออาชีพเลี้ยงสัตว์ ค้าขายและรับจ้าง ตามลำดับ นอกจากนี้ ในช่วงฤดูการทำนาบางครอบครัวมีการทอผ้าไหม ทอผ้าห่ม เพื่อใช้ในครอบครัวอีกด้วย (หน้า 63)

Social Organization

กูยตำบลแจนแวนมีโครงสร้างทางสังคมในลักษณะเครือญาติและผู้ที่รักนับถือกัน เป็นสังคมเกษตรกรรม สมาชิกในสังคมมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย หัวหน้าครอบครัวคือคนที่อาวุโสที่สุด (หน้า 71)

Political Organization

จังหวัดสุริทร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 159 ตำบล 2,021 หมู่บ้าน ตำบลแจนแวน อยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรีณรงค์ ประกอบด้วย 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองแวง ตำบลณรงค์ ตำบลตรวจ ตำบลศรีสุขและตำบลแจนแวน ในตำบลแจนแวน มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ซึ่งปกครองโดยผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่คือ องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งประกอบด้วยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธาน เลขานุการ และสมาชิกสภาจำนวน 14 คน (หน้า 59,61-62) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของกูยในตำบลแจนแวน มีอัตราส่วนที่ไม่มากนัก แม้แต่การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง เช่น การเข้าร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อจัดทำแผนพัฒนาตำบล 5 ปี (2545-2549) ก็อยู่ในระดับต่ำ นอกจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการในรูปแบบของการเข้าร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้านและการไปใช้สิทธิเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติแล้ว กูยตำบลแจนแวน ยังมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะที่รุนแรง ดังเช่น การตั้งกลุ่มทางการเมือง เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมักแสดงพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะการชุมนุมประท้วงเป็นประจำ หากมีเหตุการณ์อันนำความไม่พอใจมาสู่ชุมชน (หน้า 74-76)

Belief System

ประชากรในตำบลแจนแวน ร้อยละ 99.0 นับถือศาสนาพุทธแต่จะมีความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพราหมณ์มากโดยเฉพาะความเชื่อที่แสดงออกในรูปพิธีกรรมการรักษาอาการเจ็บป่วย การปลุกเสกเครื่องรางของขลังและการบูชาเทพในศาสนาพราหมณ์ (หน้า 64) กูยตำบลแจนแวนเป็นกูยที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากลาวมากกว่าเขมร ดังนั้น ประเพณีและความเชื่อจึงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพิธีกรรมและความเชื่อของลาว โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องผี วิญญาณและสิ่งเหนือธรรมชาติ ผีที่กูยมีความเชื่อว่าผูกพันกับชีวิตตนมีจำนวนมาก เช่น ผีบรรพบุรุษ เป็นผีเครือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ผีบ้านผีเรือน (กะโม๊ยดุง) คือผีที่ดูแลและคุ้มครองคนในบ้าน ผีนา (ขน๊าย) ภาษาลาวเรียกว่า "ผีตาแฮก" เป็นผีที่ทำหน้าที่อารักษ์ผืนนา ผีชั้นเลว ได้แก่ ผีปอบ ผีกระสือ ฯลฯ เป็นผีที่ให้โทษหลอกหลอนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คน (หน้า 77 - 79 ) พิธีแซนยะ เป็นพิธีที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ กูยจะจัดพิธีแซนยะบริเวณ "ยะจั๊วะ" ประจำหมู่บ้าน การแซนยะใหญ่เป็นเรื่องของส่วนรวม จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งในเดือน 3 และเดือน 6 หากหมู่บ้านใดไม่กำหนดวันเวลาแน่นอน เฒ่าจ้ำจะเป็นผู้กำหนดวันพิธีโดยพิธีครั้งแรกจะเลือกวันข้างขึ้นในเดือน 3 ยกเว้นวันพระ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายดวงชะตาของหมู่บ้านและนำผลผลิตทางการเกษตรมาเซ่นไหว้ปู่ตา ส่วนการจัดพิธีแซนยะครั้งที่ 2 ในเดือน 6 จัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้านในการลงมือทำการเกษตรครั้งใหม่และเป็นการบอกกล่าวปู่ตาว่าจะเริ่มฤดูกาลทำการเกษตรครั้งใหม่และขอให้ปู่ตาคุ้มครองให้มีน้ำเพียงพอ ไม่เกิดภัยธรรมชาติ และขอให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก ในการประกอบพิธีแซนยะสมาชิกทุกคนจะต้องเข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน เมื่อถึงกำหนดพิธี ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นไหว้ของตนมาร่วมพิธี โดยมีเฒ่าจ้ำผู้เป็นตัวแทนสื่อสารกับผีปู่ตาเป็นผู้ประกอบพิธี เนื่องจากแซนยะเป็นพิธีกรรมส่วนรวมจึงไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ แต่นอกจากพิธีแซนยะใหญ่ที่จัดปีละ 2 ครั้ง พิธีแซนยะยังจัดได้ตลอดทั้งปี หากเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับความสงบเรียบร้อยของชุมชนจะต้องมีการจัดแซนยะทุกครั้ง ส่วน "พิธีแซนยะเล็ก" จะเป็นพิธีส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการเกิด การแต่งงาน การย้ายถิ่นฐาน การจัดประเพณีต่างๆ ในชุมชน ฯลฯ ซึ่งส่วนมากจะประกอบพิธีเพื่อบอกกล่าวปู่ตา และขอให้ปู่ตาคุ้มครองให้ประสบสวัสดี ส่วนด้านการเมืองการปกครองที่เกี่ยวข้องกับพิธีแซนยะ เช่น การใช้สิ่งสาธารณประโยชน์และทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการที่ทางราชการเข้าไปตัดถนน ขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ ตัดต้นไม้และสร้างอาคารที่ทำการต่างๆจะต้องมีพิธีแซนยะเพื่อขออนุญาต การคัดเลือกทหาร เมื่อมีคนในครอบครัวต้องเกณฑ์ทหาร ครอบครัวจะทำการแซนยะบนบานให้ลูกชายไม่ถูกเกณฑ์ทหารเพราะเกรงว่าลูกชายจะได้รับความลำบาก การเลือกตั้งแต่ละครั้ง ผู้สมัครและผู้สนับสนุนผู้สมัครจะต้องแซนยะเพื่อบอกกล่าวปู่ตาและบนบานให้ชนะการเลือกตั้ง และเมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไปก็จะมีพิธีแซนยะอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีเหตุร้ายที่ไม่สามารถอธิบายได้ในชุมชน มักจะเชื่อว่าเป็นการกระทำของยะหรือผีปู่ตา โดยมีสาเหตุมาจากความไม่พอใจในพฤติกรรมของคนในชุมชนหรือคนนอกชุมชนที่มาปฏิบัติต่อคนในชุมชน ก็จะต้องมีการแซนยะเพื่อขอขมาเช่นกัน (หน้า 82-95)

Education and Socialization

ตำบลแจนแวนมีสถานศึกษาทั้งหมด 7 แห่งในระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาขยายโอกาสและระดับมัธยมศึกษา ราษฎรในเขตตำบลแจนแวนมีระดับการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ผู้อ่านออกเขียนได้มีจำนวนน้อยและอัตราการศึกษาต่อของเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับยังอยู่ในระดับต่ำ (หน้า 64)

Health and Medicine

กูยมีความเชื่อในการรักษาผู้ป่วย โดยวิธีการเข้าทรง เรียกว่า "พิธีแกลมอ" หรือ "พิธีแกลแพง" คล้ายกับประเพณีการฟ้อนผีฟ้า-ผีแถนของลาว มีครูบาใหญ่เป็นหัวหน้าประกอบพิธีในพิธีจะมีของเซ่นไหว้มากมาย แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือเหล้าและบุหรี่ (หน้า 79)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เรือนโบราณของกูยสร้างด้วยไม้ประกอบด้วยเสา 9 ต้นหรือมากกว่า และยกพื้นสูงสำหรับเลี้ยงสัตว์แต่ปัจจุบันเรือนดั้งเดิมบางหลังมีการต่อเติมโดยใช้ปูนเป็นวัสดุสำคัญ (หน้า 160,179)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันสภาพสังคมของกูยเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและการแพร่ระบาดของวัฒนธรรมตะวันตก การเคารพผู้อาวุโสต่างจากคนรุ่นก่อน ความเชื่อและศรัทธาในประเพณีท้องถิ่นลดลง บ้านเรือนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ปัจจุบันนิยมปรับปรุงเรือนหรือสร้างในลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (หน้า 72)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ - แผนที่ประเทศไทย(153) - แผนที่จังหวัดสุรินทร์(154) - แผนที่กิ่งอำเภอศรีณรงค์(155) - แผนที่ตำบลแจนแวน(156) - แสดงผังการตั้งยะจั๊วะบ้านเกาะ หมู่ที่ 3 (157) - แสดงผังการตั้งยะจั๊วะบ้านสำโรง หมู่ที่ 6 (158) แผนภาพ - การเกิดวัฒนธรรมของมนุษย์(18) - แสดงวัฒนธรรมในฐานะเป็นตัวสื่อกลาง(21) - การเปรียบเทียบวัฒนธรรมทางการเมืองของระบบการเมืองสามแบบ(24) - ความสัมพันธ์ระหว่างการขัดเกลาทางสังคมกับวัฒนธรรมทางการเมือง(27) - กระบวนการและสื่อในการกล่อมเกลาทางการเมืองใน "สังคมที่พัฒนาแล้ว" (30) - ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 14 ระดับ(34) - สาเหตุแห่งการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองอย่างรุนแรง(35) - ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรุนแรงกับจำนวนผู้มีส่วนร่วม(36) - ความเชื่อมโยงของแนวคิดทฤษฎีในการศึกษา(39) - จำนวนประชากร ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์(65) - ข้อมูลการใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแจนแวน(75) - จำนวนผู้เข้าร่วมการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน(76) - ความสัมพันธ์ของการเกิดพฤติกรรมทางการเมือง(122) ภาพประกอบ - ศาลาประชารวมใจ(159) - บ้านเรือนชาวกูยที่ครอบครัวอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่(160) - ชาวกูยมักใช้พื้นที่ใต้ถุนบ้านเรือนข้างบ้านสร้างคอกสัตว์(161) - ชาวกูยตำบลแจนแวนตั้งบ้านเรือนแบบดั้งเดิมและอาศัยรวมกันหลายครอบครัว(161) - บ้านเรือนสมัยใหม่กับความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ(163) - หิ้งมอภายในบ้านคุณยายลิตร อินตา(164) - การประกอบพิธีแกลมอหรือแกลแพง(168) - ยะจั๊วะบ้านเกาะ(ใหญ่)(169) - ยะจั๊วะบ้านแดงหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแจนแวน(172) - เครื่องประกอบพิธีที่แต่ละครอบครัวนำไปแซนยะ(176) - ขบวนแห่เครื่องเซ่นไหวและตะไลยักษ์ในวันแซนยะ(177) - ผู้ร่วมพิธีแซนยะ(178) - บ้านเรือนชาวกูยสมัยใหม่(179) - ยะจั๊วเขตหวงห้ามของชุมชน(180)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG กูย, วัฒนธรรมท้องถิ่น, พฤติกรรมการเมือง, พิธีแซนยะ, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง