สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,วัฒนธรรม,พิธีกรรม,บทสู่ขวัญ,สุรินทร์
Author ปิยพันธุ์ สรรพสาร
Title วิเคราะห์บทสู่ขวัญของชาวกูย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 121 Year 2546
Source หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract

การศึกษาวิเคราะห์บทสู่ขวัญของชาวกูยในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชาวกูย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัด สุรินทร์ โดยศึกษาข้อมูลจากทางเอกสารและข้อมูลมุขปาฐะ ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมสู่ขวัญของชาวกูย อำเภอศีขรภูมิจ.สุรินทร์ กระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานโดยมีหมอขวัญเป็นผู้ประกอบพิธี คุณลักษณะของหมอขวัญที่ได้รับความเชื่อถือนั้นมีลักษณะที่คล้ายกันคือ เป็นเพศชาย อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ผ่านการบวชเรียนเป็นเวลานาน และเคยประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญมาก่อนแล้วจนเชี่ยวชาญ เนื้อหาของบทสู่ขวัญจัดแบ่งตามโอกาสที่ใช้ประกอบพิธีกรรม 3 ประเภท คือ การสู่ขวัญในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต พิธีสู่ขวัญในการเซ่นสรวง และพิธีกรรมสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วย บทสู่ขวัญ มีบทบาทหน้าที่ในการให้การศึกษา สร้างความจรรโลงใจ ทำให้วัฒนธรรมสมบูรณ์และเข้มแข็งขึ้น สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของบุคคลในชุมชน และบทบาทในการเป็นเครื่องมือควบคุม และรักษาแบบแผนของชุมชน ลักษณะการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมพบว่า พิธีกรรมการสู่ขวัญมีลักษณะของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมในชุมชนชาวกูย 4 ด้าน คือ ภาษา ความเชื่อ การแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ และด้านประเพณีพิธีกรรม ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมี 5 ด้าน คือ ความคล้ายคลึงด้านความเชื่อและค่านิยม คล้ายคลึงด้านชาติพันธุ์ คล้ายคลึงด้านการประกอบอาชีพ และการขยายความเจริญด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การปกครอง การสื่อสาร โทรคมนาคม และการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์

Focus

วิถีชีวิตของกูยที่ผูกพันอยู่กับพิธีกรรมต่าง ๆ มากมายเช่น พิธีกรรมสู่ขวัญซึ่งมีความสำคัญต่อชุมชนเป็นอย่างมากในแง่การสร้างขวัญ ให้กำลังใจ และการแสดงความปรารถนาดี จรรโลงใจแก่กันภายในชุมชน ทำให้วัฒนธรรมมีความสมบูรณ์และเข้มแข็งขึ้น (หน้า 41-121) ผู้เขียนได้ใช้วิธีศึกษาโดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนเป้าหมาย การเข้าไปสังเกต เรียนรู้วัฒนธรรมและค่านิยม การสัมภาษณ์จากวิทยากรผู้ที่มีความรู้ (หน้า 39-117) การลงเก็บข้อมูลภาคสนามจะเป็นการได้สัมผัสถึงรูปแบบของสังคมชาวกูย ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อันเป็นผลจากสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมและจารีตขนบธรรมเนียมต่าง ๆ นั่นเอง นอกจากนี้ การสืบสาวถึงบทสู่ขวัญและความเป็นมา รวมทั้งการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นนั้น ผู้เขียนยังได้ศึกษารวบรวมทั้งจากปากคำบอกเล่าของหมอขวัญ และข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่ได้จากการค้นคว้าเอกสาร ก่อนจะนำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้ได้เนื้อของข้อเท็จจริงโดยหลักปฏิบัติของชาวกูยด้วย (หน้า 3-117)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ กูย (Kui) หรือ กวย ในกรณีศึกษานี้ใช้คำ กูย หมายถึง กูยในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพูดภาษากูย คนทั่วไปมักเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ส่วย (หน้า 7)

Language and Linguistic Affiliations

กูยในกรณีศึกษานี้จะใช้ภาษากูย ในการพูดสื่อสารเป็นหลักภายในชุมชนของตนเอง แต่เนื่องจากต้องมีการติดต่อกับสังคมอื่นจึงสามารถใช้ภาษาพูดตามภาษาของสังคมที่ไปติดต่อนั้นได้ เช่น การพูดภาษาไทยเขมร และการพูดภาษาไทยลาว (หน้า 36) กูยมีภาษาพูดเป็นของตนเองซึ่งอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติคและมีคำศัพท์ร่วมกับภาษาเขมรจำนวนไม่น้อย(หน้า28) แต่ไม่มีภาษาเขียน ในปัจจุบันโดยทั่วไปแล้วกูยใช้อักษรไทย ในระบบการจัดการศึกษาของ อำเภอศีขรภูมิ ซึ่งมีตั้งแต่ก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับอนุปริญญา และยังมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนของอำเภอศีขรภูมิ จึงเป็นโอกาสทางการศึกษาสำหรับกูยในเขตนี้ (หน้า 23)

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง เดือนมกราคม 2543 ถึง เดือนธันวาคม 2544 (หน้า 118)

History of the Group and Community

อ. ศีขรภูมิ เดิมมีชื่อเรียกว่า ศีขรภูมิพิสัย แต่ผู้คนมักเรียกสั้น ๆ ว่า ศีขรภูมิ เป็นที่อยู่ของกูยที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง สู่ภาคอีสานของประเทศไทยทางจังหวัดอุบลราชธานีและย้ายมาจนถึงจังหวัดสุรินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนวิธีปกครองเป็นแบบตะวันตก จึงยุบเมืองศีขรภูมิพิสัยเป็นอำเภอ ขึ้นต่อจังหวัดสุรินทร์ มณฑลอุบลราชธานี หลังจากปี พ.ศ. 2469 หลวงจรุงจิตประชา ได้เป็นนายอำเภอศีขรภูมิ เล็งเห็นประโยชน์เนื่องจากการตัดทางรถไฟจากกรุงเทพจนถึงอุบลราชธานี จึงย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านอนันต์ ไปอยู่ที่บ้านระแงง ตำบลระแงง ดังปัจจุบัน (หน้า 19-21)

Settlement Pattern

เดิมทีกูยอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เรื่อยไปจนถึงจำปาศักดิ์ สารวัน อัตตปือ รวมไปถึงบางส่วนของกัมพูชา แต่แนวความคิดในเรื่องการตั้งถิ่นฐานนั้นมีทั้งแนวคิดที่ว่าเดิมชาวกูยอยู่บริเวณตอนเหนือของอินเดีย ภายหลังอพยพมาที่พม่าจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน อีกแนวคิดเชื่อว่า กูยอาศัยอยู่ในบริเวณภาคอีสานของไทยจนถึงตอนใต้ของลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชาซึ่งก็คือที่อยู่ปัจจุบันมานานแล้ว (หน้า 25-26) กูยใน อ. ศีขรภูมิ นิยมตั้งบ้านเรือนในที่ราบลุ่ม สำหรับชุมชนเมือง บ้านเรือนจะกระจายตามความเหมาะสมของการประกอบกิจการค้าขายและบริการ ในชนบทนิยมตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มคุ้ม หมู่บ้านที่ตั้งใหม่จะตั้งกระจายไปตามทางสัญจร บ้านเรือนนิยมหันหน้าบ้านออกสู่ถนน ชุมชนเมืองจะมีแนวรั้ว หรือถ้าเป็นตัวตึกจะมีการเว้นเขตพื้นที่ดินไว้ ส่วนในชนบทจะไม่มีรั้ว จะเป็นการปลูกไม้ยืนต้นหรือปลูกพืชเป็นแนวรั้ว (หน้า 23) ลักษณะบ้านเรือน ชุมชนเมืองจะเป็นตึก อาคารพาณิชย์ ชนบทโดยมากจะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง เพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ ทอผ้า และยังมีบ้านแบบชั้นเดียวไม่มีใต้ถุน (หน้า 23)

Demography

รายงานการศึกษาอ้างถึงข้อมูลปี พ.ศ.2543 ว่า อ.ศีขรภูมิมีประชากรทั้งสิ้น 106,822 คน ประชากรที่เป็นเชื้อสายกูย 38,264 คน คิดเป็นร้อยละ 36 ของประชากรทั้งหมด ตำบลที่มีประชากรชาวกูยอาศัยอยู่หนาแน่นมาก 7 ตำบล (หน้า 21-22) คือ ตำบลแตล 6,373 คน, ตำบลคาละแมะ 5,259 คน, ตำบลตรึม 8,056 คน, ตำบลหนองบัว 3,660 คน, ตำบลนารุ่ง 4,727 คน, ตำบลตรมไพร 4,682 คน, ตำบลผักไหม 2,2244 คน

Economy

อาชีพของชาวกูยใน อำเภอศีขรภูมิอาจแบ่งได้ดังนี้ - การเกษตร ที่หลัก ๆ ได้แก่ การทำนา การเลี้ยงสัตว์ - อุตสาหกรรมในครัวเรือน มีไม่มากนัก ที่มีชื่อเสียงคือการทำกาละแม การทอผ้า - การพาณิชย์และบริการ เป็นการลงทุนขนาดเล็กจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้แก่ ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านอาหาร ธนาคาร รถเช่า และรถโดยสาร (อ้างตามหน้า 22, 37)

Social Organization

สังคมของชาวกูย มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติอย่างแน่นแฟ้น เนื่องจากการสมรสกันภายในหมู่บ้านทำให้สภาพสังคมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชาวบ้านในสังคมกูยจะมีฐานะเป็นปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ของกันและกัน ผู้นำในสังคมหมู่บ้านที่กูยยอมรับนับถือจะเป็นผู้ที่เคยบวชเรียนมานาน หรือผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญในหมู่บ้านเช่น กำนัน ผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ สัญลักษณ์ของสังคมหมู่บ้านชาวกูยที่สำคัญคือ วัด ศาลปู่ตา ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมจิตใจ และการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ วัดเป็นสัญลักษณ์การนับถือศาสนาพุทธ ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านเป็นสัญลักษณ์ในการนับถือผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งความสัมพันธ์ที่มีต่อบรรพบุรุษ (หน้า 36-37)

Political Organization

อำเภอศีขรภูมิแบ่งการปกครองเป็น 15 ตำบล 213 หมู่บ้าน มี 1 เทศบาล คือ เทศบาลตำบลระแงง (หน้า 23) กูยใน อำเภอศีขรภูมิมีวิถีชีวิตที่ประกอบด้วยขนบธรรมเนียมที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากจะอยู่ภายใต้สังคมที่แบ่งการปกครองตามอำนาจรัฐแล้ว ชาวกูยยังมีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ตามโอกาสต่าง ๆ ตั้งแต่การเกิด การดำเนินชีวิต การเปลี่ยนวัย การครองเรือน จนกระทั่งถึงการตาย สิ่งเหล่านี้ชาวกูยจะถือปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างเคร่งครัด (หน้า 23)

Belief System

ชาวกูยนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อำนาจเหนือธรรมชาติอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะเรื่องผี ที่ผูกพันกับชุมชนอย่างแน่นแฟ้น ชาวกูยจะประกอบพิธีเซ่นสรวงบูชาผีปู่ตาเป็นประจำทุกปี โดยมีการปรุงแต่งเครื่องเซ่นเป็นพิเศษ เพื่อจะบอกกล่าวขอความคุ้มครอง ขอพรบันดาลให้มีความสุขความเจริญอย่างสม่ำเสมอ (หน้า 23-34) แม้ว่าจะนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ยังมีความเชื่อในเรื่องอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเรื่องผี ซึ่งกูยจะเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และระดับความสำคัญจะแตกต่างกันไป เช่น 1) ผีปะกำ จะเป็นอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความหมายต่อกลุ่มชาวกูยผู้เลี้ยงช้าง เพราะถือว่าเป็นผีบรรพบุรุษของชาวกูยผู้เลี้ยงช้าง 2) ผีปู่ตา เป็นผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป ซึ่งแต่เดิมเป็นความเชื่อของกลุ่มชาวไทยอีสาน แต่เนื่องจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันจึงทำให้เกิดการถ่ายทอดความเชื่อประกอบกับกูยมีความเชื่อเรื่องผีอย่างแน่นแฟ้น จึงรับเอาแนวความเชื่อเรื่องนี้อย่างไม่ยากนัก 3) ผีเข้าทรง เป็นผีที่ช่วยในการเสี่ยงทาย พิสูจน์ความกระจ่างเมื่อเกิดเหตุการณ์ภายในชุมชน 4) ผีปอบ เป็นผีชั้นต่ำ เป็นวิญญาณร้ายที่เกิดจากอาคม ไสยศาสตร์ หรืออาจสืบทอดจากเชื้อสายตามตระกูล ทำให้เกิดความเจ็บป่วย ความเชื่อเรื่องที่ชุมชนยอมรับก่อให้เกิดการประกอบพิธีกรรม เพื่อสนับสนุนความเชื่อ การประกอบพิธรกรรมตามความเชื่อได้รับการยอมรับกันมากในชุมชน ในการประกอบพิธีกรรมของกูย มักเป็นการผสมผสานความเชื่อที่แพร่หลายกระจายมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ข้างเคียงจนปัจจุบันไม่สามารถแบ่งและอธิบายได้ว่า ดั้งเดิมนั้นพิธีกรรมประเพณีใดที่เป็นของกูยอย่างแท้จริง (หน้า 31-36,109) อย่างเช่นบทสู่ขวัญที่เชื่อว่าขวัญมีความสำคัญต่อชีวิต มีอำนาจเหนือร่างกายเป็นตัวแทนของจิตใจมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อจิตใจและร่างกายสัมพันธ์กันอย่างดี มนุษย์ทุกคนมีขวัญประจำตัวทุกคนเมื่อขวัญไม่ได้ประจำในร่างกายมนุษย์ก็จะอ่อนแอ เจ็บป่วยและเสียชีวิต ดังนั้นจึงมีพิธีในการสู่ขวัญให้กลับเข้ามาในร่างกาย (หน้า 79) พิธีกรรมการสู่ขวัญของชาวกูย จำแนกได้ตามลักษณะและโอกาสในการประกอบพิธี 3 ประเภท คือ พิธีสู่ขวัญในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต พิธีสู่ขวัญในการเซ่นสรวง และพิธีกรรมสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วย ประเภทของบทสู่ขวัญ มีเนื้อหาสำคัญตามโอกาสต่าง ๆ เช่นการสู่ขวัญเด็กแรกเกิดจะเป็นการกล่าวถึงการขอพรให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ บทสู่ขวัญนาค เนื้อหาจะกล่าวสั่งสอนให้นาครู้จักบุญคุณบิดามารดา และกล่าวสอนให้ปฏิบัติตามเพศบรรพชิต เป็นต้น ภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฏจากบทสู่ขวัญมี 2 ด้านที่สำคัญ คือ - ด้านความเชื่อ สะท้อนถึงความเชื่อเรื่องขวัญ เรื่องอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องเกี่ยวกับฤกษ์ยาม โชคลาง - ด้านโครงสร้างทางสังคม สะท้อนถึงความแน่นแฟ้นของเครือญาติ บทสู่ขวัญกล่าวถึงความช่วยเหลือกันในเครือญาติทุกบท บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมการสู่ขวัญจำแนกได้ คือ บทบาทในการให้การศึกษาแก่ชุมชน บทบาทในการสร้างความจรรโลงใจ ทำให้วัฒนธรรมสมบูรณ์เข้มแข็ง สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเป็นเครื่องมือรักษาแบบแผนของชุมชน ความผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ที่ปรากฏในสังคมกูยคือด้านบทบาท ความเชื่อ การแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ และประเพณีพิธีกรรม การผสมกลมกลืนทางด้านวัฒนธรรมเกิดจากการปะทะของวัฒนธรรม 3 กลุ่ม ของชนที่อาศัยอยู่ข้างเคียงกัน ได้แก่ ไทยเขมร ไทยอีสาน และกูย กูยมีความสามารถในการปรับตัวยอมรับวัฒนธรรมข้างเคียงได้รวดเร็ว และนำมาปรับให้กลมกลืนกับวัฒนธรรมเดิมของตนทำให้ไม่เกิดความแปลกแยกในกลุ่มชน (หน้า 118-120)

Education and Socialization

กูยในอำเภอศีขรภูมิอยู่ภายใต้การปกครองและกฎหมายของรัฐ มีระบบการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับอนุปริญญา และมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนของ อำเภอศีขรภูมิเพื่อให้โอกาสสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน การเลี้ยงดูอบรมบุตรเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะปลูกจิตสำนึกที่ดี เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ ในสังคมกูยเมื่อบุตรเจริญเติบโตขึ้น พ่อแม่จะพาบุตรไปพบพระภิกษุ หรือผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ เพื่อให้ช่วยปกป้องรักษาบุตรหลานให้รอดพ้นจากการถูกกระทำคุณไสย และโรคภัยไข้เจ็บ บุตรในสังคมของชาวกูยนอกจากจะได้ศึกษาอบรมในโรงเรียนแล้ว ยังได้รับการเรียนรู้ในการทำมาหากิน โดยคนรุ่นผู้ใหญ่เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตรา ยาย ปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง ในส่วนของการสู่ขวัญยังมีการสืบทอดการเป็นหมอขวัญ ซึ่งมีวิธีคือ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมอขวัญจะผ่านการบวชเรียนอย่างน้อย 1 พรรษา ยิ่งบวชนานยิ่งมีความแตกฉานในภาษาบาลีและภาษาไทยมากขึ้น หมอขวัญเหล่านี้จะอ่านบทสู่ขวัญจากตำรา ประกอบกับใบลาน ซึ่งชาวบ้านจะเห็นว่ามีความรู้ความสามารถจึงยกให้เป็น “อาจารย์สู่ขวัญ” 2) เล่าเรียนโดยมีอาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอด การสืบทอดการเป็นหมอขวัญอีกวิธีหนึ่งคือการสืบทอดจากอาจารย์ซึ่งอาจเป็น ปู่ ตา พ่อ หรือญาติที่เป็นหมอขวัญจะคัดเลือกบุตรหลานที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และถ่ายทอดวิชาสู่ขวัญให้ โดยมากผู้เรียนจะสังเกตการประกอบพิธีกรรมของอาจารย์และจดจำเอง ในปัจจุบัน มีผู้ที่เหมาะสมตามคุณสมบัติผู้จะเป็นหมอขวัญนั้นน้อยมาก ผู้ชายบวชเรียนเพียงระยะเวลาสั้น ๆ และผู้ที่มีความสนใจจะสืบทอดการเป็นหมอขวัญก็น้อยลงไปด้วย (หน้า 23, 25, 29)

Health and Medicine

ในงานศึกษาวิเคราะห์บทสู่ขวัญชาวกูยนี้ กล่าวถึงระบบการปกครองแบบแบ่งเขตเป็นเทศาภิบาล ซึ่งในแต่ละตำบล อำเภอ จะต้องมีสาธารณูปโภคอย่างพอเพียง ดังนั้นใสส่วนของสาธารณสุขชุมชนน่าจะมีในเขตของกลุ่มเป้าหมายกรณีศึกษานี้ ในส่วนของภูมิปัญญาและความเชื่อนั้น ชาวกูยเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โชคลาง จึงมีบทบาทต่าง ๆ ที่สื่อถึงความปรารถนาดีเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างสุขสบาย ตั้งแต่ประเพณีการเกิดที่มีการจัดแจงเรื่องการอยู่ไฟของมารดา เพื่อรักษาแผลจากการคลอด และเร่งให้น้ำนมมีมาก ประเพณีการแบ่งเด็กให้แม่กำเนิด จะมีการป้อนไข่แดงให้ทารก ซึ่งเป็นพิธีที่สื่อถึงการเลี้ยงดูและปกป้องทารก นอกจากนี้ พิธีการต่าง ๆ ในระหว่างช่วงผ่านชีวิต คือ การบวช การอบรมเลี้ยงดูบุตร การสมรส และพิธีเกี่ยวกับการตาย ที่สื่อถึงความปรารถนาดีที่จะคุ้มครอง อวยพรให้ชีวิตมีมงคล มีความเป็นอยู่ที่ดี จนกระทั่งการสู่ขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ชัดเจนมากในการปัดเป่าโรคภัย และเป็นการปลอบใจ ให้กำลังใจแก่ผู้อยู่ใต้ปกครองในชุมชนของชาวกูยเอง (หน้า24-36, 41-105)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เสื้อผ้า ชุดแต่งกาย ขณะอยู่บ้านของผู้หญิงสูงอายุของกูย ส่วนใหญ่จะนุ่งผ้าถุงลาย เสื้อคอกระเช้า สวมสร้อยคอลูกปัดพลาสติกหรือเงิน นิยมเสียบดอกไม้ที่ดิ่งหูที่เจาะรูไว้ ส่วนผู้ชาย สวมกางเกงหม้อฮ่อมขาสั้น ไม่สวมเสื้อ เวลามีงานบุญต้องไปเข้าร่วมพิธี ผู้หญิงจะสวมเสื้อมีแขน มีผ้าสไบพาดผ่านลำคอลงมาถึงช่วงเอว ผ้าถุงสวมเช่นเดิม ผู้ชายสวมกางเกงหม้อฮ่อมขายาว เสื้อแขนยาว บางครั้งมีผ้าขาวม้าพาดคอ ส่วนชายวัยกลางคนนิยมกางเกงและเสื้อแขนยาว ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อคอกระเช้าขณะอยู่บ้าน และสวมเสื้อทับที่ตัดด้วยผ้าไหมมีแขน และสวมผ้าถุงที่ตัดด้วยผ้าไหม เด็กเล็กและวัยรุ่นนิยมเสื้อผ้าตามสมัยนิยม (หน้า 30)

Folklore

ลักษณะคำประพันธ์ในบทสู่ขวัญไม่ตายตัวเนื่องจากเป็นวรรณกรรมประเภทมุขปาฐะไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจะสืบทอดโดยการบอกเล่าและมีความคล้ายคลึงกับ “ร่าย” ในแง่ที่จำนวนวรรค และคำกับการสัมผัสไม่แน่นอนตายตัว ในส่วนเนื้อหาจะเริ่มด้วยบทชุมนุมเทวดา บทไหว้ครู บทเริ่มต้น บทเชิญขวัญ บทปลอบขวัญ บทสอนขวัญ และบทให้พร ซึ่งจะแตกต่างกันตามประเภทและวัตถุประสงค์ของบทสู่ขวัญ (หน้า 67-78)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การปะทะกันทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดการผสมกลมกลืนระหว่างสังคมสองแห่ง สังคมหนึ่งย่อมจะได้รับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาจากวัฒนธรรมภายนอก วัฒนธรรมที่ยืมมาอาจเป็นที่ยอมรับและรวมเข้ากับของผู้ยืมจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยสมบูรณ์ กูยมีการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมวัฒนธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษา คือหันมาพูดไทยอีสานหรือไทยเขมรกันมาก เพราะเกิดจากการดูถูกทางชาติพันธุ์เช่นการพูดส่อเสียดว่า “ทำอะไรเหมือนพวกกวย พวกส่วย” ลักษณะที่สำคัญที่กูยปรับตัวได้เร็ว เนื่องจากสังคมยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ได้ไม่ยาก เช่นการตั้งชื่อบุตรหลาน เลียนแบบละครโทรทัศน์ การแต่งกายแบบดารานักร้อง เป็นต้น (หน้า 106)

Social Cultural and Identity Change

สังคมกูยเกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ข้างเคียง ทำให้ลักษณะของวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของกูยเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ มีทั้งวัฒนธรรมของกูย ชาวไทยอีสาน ชาวไทยเขมร ผสมผสานกันอยู่มากน้อยไม่จำกัด สังคมและวัฒนธรรมที่กล่าวถึงได้แก่ ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งแสดงออกเป็นรูปธรรมโดยผ่านลักษณะการประกอบพิธีกรรม ความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรมที่ผสมผสานเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ โดยการติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทบทั้งสิ้น การผสมกันของวัฒนธรรมเช่น การปฏิบัติตามประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยเขมรและไทยอีสานแล้วนั้น ส่งผลให้ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมมีความหลากหลาย คือ คนในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติได้โดยไม่ผิดกฎเกณฑ์ประชาคม จากงานศึกษานี้จะเห็นว่า กูยไม่ได้ยอมรับวัฒนธรรมของกลุ่มข้างเคียงเข้ามามีอิทธิพลจนพวกเขาลืมวัฒนธรรมเดิมของตนไปจนหมดสิ้น แต่กูยเลือกที่จะปรับเปลี่ยนให้มีความผสมกลมกลืนเป็นลักษณะใหม่ในวัฒนธรรมของพวกเขาที่ยังคงปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (หน้า 99-117)

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้แผนที่ แผนผัง และตารางเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงปริมาณให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะข้อมูลด้านประชากร การใช้พื้นที่ ที่ตั้งและตำแหน่งของพื้นที่กรณีศึกษาในเขตจังหวัด นอกจากนี้ยังมีภาพแสดงรูปแบบของสังคมวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาในลักษณะที่เป็นรูปธรรม เช่น การตั้งบ้านเรือนและการแต่งกาย เป็นต้น (หน้า 12,18, 21-38, 29-58) ชื่อภาพและแผนที่ที่ปรากฏในงานคือ แผนที่ - แผนที่แสดงอาณาเขตจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง หน้า 12 - แผนที่แสดงอาณาเขตของอำเภอศีขรภูมิ หน้า 18 ภาพ - ลักษณะบ้านใต้ถุนสูงภายในหมู่บ้านชาวกูย หน้า 29 - ลักษณะบ้านติดดิน หน้า 30 - การแต่งกายชาย – หญิงชาวกูย หน้า 31 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญนาค หน้า 46 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญพระภิษุสงฆ์ หน้า 47 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญแต่งงาน หน้า 49 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญ พระพุทธรูป หน้า 51 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญศิริมงคล หน้า 52 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญขึ้นปีใหม่ หน้า 56 - ภาพประกอบพิธีกรรมการสู่ขวัญสะเดาะเคราะห์ หน้า 58 ตาราง - จำนวนประชากรชาวกูยแยกตำบล อำเภอศีขรภูมิ จ. สุรินทร์ หน้า 21 - จำนวนประชากรชาวกูย อำเภอศีขรภูมิ จ. สุรินทร์ หน้า 27 - ภาษาเขมรและภาษากูย หน้า 28 - ภาษาไทยอีสานและภาษากูย หน้า 28 - ภาษากูยที่ใช้เรียกเครือญาติ หน้า 37 - จำนวนหมอขวัญชาวกูยในเขตหมู่บ้านชาวกูย อ.ศีขรภูมิ หน้า 38

Text Analyst สินีนาฏ จรรยาเพศ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG กูย, วัฒนธรรม, พิธีกรรม, บทสู่ขวัญ, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง