สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,คะแมร์ลือ,พิธีกรรม,การแต่งงาน,สุรินทร์
Author นิรัญ สุขสวัสดิ์
Title เปรียบเทียบพิธีกรรมการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์กูย และเขมร บ้านโพนทองกับบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 208 Year 2541
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา เน้นสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

พิธีการแต่งงานของทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นพิธีที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษได้ ยึดถือและปฏิบัติมา โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิตในการครองเรือน พิธีการแต่งงานของทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์มีลักษณะ โครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ ก่อนประกอบพิธีกรรม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ มีการเลือกคู่ครองตามความพึงพอใจของ ตนโดยมีเครือญาติเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสิน กลุ่มชาติพันธุ์เขมรถือว่าการทาบทามสู่ขอเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด การหมั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งในด้านองค์ประกอบและขั้นตอนระหว่างประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การแต่งงาน ทั้งสองชาติพันธุ์จะมี ความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยาม สถานที่ วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนของพิธีกรรมคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันเด่นชัดคือกลุ่ม ชาติพันธุ์กูยจะนำเคียวเกี่ยวข้าว ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจะนำเต้าปูนและมีดยับหมากเข้ามาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมและมีพิธีกรรมบางส่วนที่แตกต่างกันในเรื่องของลำดับขั้นตอน หลังประกอบพิธีการแต่งงาน กลุ่มชาติพันธุ์กูยจะให้ ความสำคัญเช่นเดียวกับพิธีอื่นๆ เพราะให้ความเคารพนับถือต่อญาติทั้งสองฝ่ายโดยเท่าเทียมกัน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจะ ไม่ให้ความสำคัญต่อพิธีมากนักเพราะถือว่าส่วนสำคัญของพิธีได้สิ้นสุดลงแล้ว

Focus

เปรียบเทียบพิธีกรรมการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์กูยและเขมร บ้านโพนทองกับบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในส่วนของความเหมือน ความแตกต่าง รวมถึงความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์กูยและเขมร (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กูย บ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เขมร บ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2541 (ค.ศ.1998)

History of the Group and Community

บ้านโพนทอง หมู่ที่ 6 ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เหตุที่ได้ชื่อว่า "บ้านโพนทอง" เนื่องจากดินบริเวณบ้านโพนทองเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ พืชที่ปลูกได้ผลผลิตสูง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านโพนทอง" ก่อตั้งปี พ.ศ. 2506 กลุ่มผู้อพยพที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรก มีพื้นเพเดิมจากบ้านโนนลี ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ บ้าน อาราง ตำบลนารุ่ง บ้านหนองเหล็ก ตำบลยางอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2506 ในระยะต่อมากลุ่มต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ พากันอพยพเข้ามา (หน้า 26-27) บ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เหตุที่ชื่อว่า "บ้านโจรก" เพราะทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีลำธารที่ไหลมาจากห้วยสิงห์ ซึ่งมีโตง (แอ่งน้ำคล้ายกะทะ) อยู่ต่ำกว่าลำห้วยในฤดูฝนน้ำจะไหลลงโตง ได้ยินเสียงถึงหมู่บ้านดัง "จร็อกๆ ๆ" ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านจร็อก ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านโจรก เดิมบ้านโจรกตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของห้วยทัพทัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ป่าขมอดจ์" (ป่าผี) แต่ปัจจุบันอพยพมาตั้งถิ่นฐานห่างจากที่เดิมประมาณ 6 กิโลเมตร สาเหตุจากเขมรถูกฝรั่งเศสยึดครองทำให้เขมรบางกลุ่มหลบหนีภัยสงคราม อพยพเข้าแดนไทยปล้นสะดมชาวบ้านเพราะความอดอยากสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน จึงต้องอพยพครอบครัวหลบหนีกลุ่มเขมร จากการสัมภาษณ์นางจันทร์ กล้วยทองอายุ 93 ปี กล่าวว่าตั้งแต่กำเนิดมาก็เห็นมีหมู่บ้านแล้วแต่มีเพียง 7-8 หลังคาเรือนเท่านั้น (หน้า 48-49)

Settlement Pattern

บ้านโพนทอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง บางแห่งเป็นที่ราบสลับกับเนินเตี้ย ๆ มีลักษณะเป็นป่าชายเขาเหมาะสำหรับทำการเกษตร (หน้า 27-28) บ้านโจรก ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเตี้ย ทิศใต้ของหมู่บ้านเป็นป่ารกทึบ มีที่ราบชายเขาเหมาะแก่การทำการเกษตรประเภทพืชไร่ (หน้า 49-50) การตั้งบ้านเรือนจะอาศัยอยู่กันเป็นกระจุก ไม่มีรั้วรอบขอบชิด ลักษณะบ้านเรือนของชาวบ้านโจรกจะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงเพื่อใช้พื้นที่ด้านล่างเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ (หน้า 55)

Demography

บ้านโพนทอง มีทั้งหมด 96 ครัวเรือน มีประชากร 1,014 คน จำแนกเป็นชาย 467 คน เป็นหญิง 547 คน (คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ, 2537) (หน้า 32) บ้านโจรก มีทั้งหมด 114 ครัวเรือน มีประชากร 643 คน จำแนกเป็นชาย 348 คน เป็นหญิง 295 คน (คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ, 2537) (หน้า 54)

Economy

บ้านโพนทอง ชาวบ้านจะประกอบอาชีพหมุนเวียนตลอดทั้งปี เช่น ทำนา ถ้าปีใดฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลก็จะปลูกปอ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแทน หากหมดฤดูทำนาก็จะไปหางานทำนอกหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพอื่นเพื่อเสริมรายได้ เช่น กลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มผู้เลี้ยงไหม กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นบ้าน มี 186 ครัวเรือนที่มีโคกระบือไว้ใช้งาน ครัวเรือนที่มีที่ทำกินของตนเองมี 178 ครัวเรือน (หน้า34-36) บ้านโจรก ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก ปลูกพืชไร่ เช่น ปอและปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม เป็นพืชรองหมุนเวียนกันตลอดปี ชาวบ้านจะทำนาปีละครั้งเท่านั้น นอกจากปลูกพืชแล้ว ยังมีการเลี้ยงสุกรและมีการทอผ้าสำหรับสวมใส่และใช้ในการประกอบพิธีกรรมอีกด้วย (หน้า 57-58)

Social Organization

สังคมพื้นฐานของกูยบ้านโพนทอง มักเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) เมื่อลูกสาวแต่งงานหรือมีครอบครัว ฝ่ายชายหรือลูกเขยยังคงอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงประมาณ 2-5 ปีทำให้ช่วงนี้เป็นครอบครัวขยาย (Extended Family) จากนั้นจะแยกเป็นครอบครัวใหม่ แต่ก็ยังคงสร้างบ้านเรือนอยู่ในเขตที่ดินของพ่อแม่ฝ่ายหญิง กูยโดยทั่วไปมีลักษณะทางสังคมแบบพี่น้อง ให้ความสำคัญต่อระบบเครือญาติ ให้ความเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส กูยบ้านโพนทอง จะนับถือกันทั้งสองฝ่าย คือทั้งเครือญาติฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติจะแน่นแฟ้นมาก เพราะกูยบ้านโพนทองอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มเครือญาติ(หน้า 36-38) ระบบครอบครัวของเขมร บ้านโจรก เป็นครอบครัวผสมผสาน กล่าวคือมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย (Extended Family) การนับถือเครือญาติจะนับถือทั้งญาติฝ่ายชายและญาติฝ่ายหญิงอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกิดจากการสืบสายโลหิตและการแต่งงาน การกลั่นกรองระบบเครือญาติ จะเป็นการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ในระหว่างญาติตามลำดับต่างๆ กัน (หน้า 59-60) (รายละเอียดพิธีแต่งงานดู หัวข้อ Belief System)

Political Organization

กูยบ้านโพนทอง สามารถแยกลักษณะผู้นำได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ผู้นำที่เป็นทางการ เป็นผู้นำที่ได้รับแต่งตั้งจากราชการและผู้นำที่ไม่เป็นทางการเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวบ้าน มีอาวุโสสูงสุดในหมู่บ้าน(โขดปื้ด)(หน้า 28-29) เขมรบ้านโจรก สามารถแยกลักษณะผู้นำได้ 2 ลักษณะได้แก่ ผู้นำที่เป็นทางการ เป็นผู้นำที่ได้รับแต่งตั้งจากราชการและผู้นำที่ไม่เป็นทางการ เป็นผู้นำที่ชาวบ้านคัดเลือกและแต่งตั้งกันเองด้วยความเคารพและศรัทธา ซึ่งโดยมากจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความ สามารถในการประสานงานและช่วยเหลือ กล้าคิดกล้านำชาวบ้าน (หน้า 50,53)

Belief System

กูยบ้านโพนทอง ทุกคนนับถือศาสนาพุทธควบคู่ไปกับการนับถือผีทั้งผีบ้านและผีปู่ตา กูยเชื่อว่าผีเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต เห็นได้จากการนำความเชื่อเหล่านี้ผสมผสานในพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การเสียชีวิต (หน้า 40-41) พิธีการแต่งงานของชาวบ้านโพนทอง การเลือกครู่ครอง ในอดีตกูยจะมีประเพณีการจก (การเล่นสาวหรือการจีบสาว) นอกจากประเพณีการจกแล้วในอดีตหากเกิด ความรักกันจนถึงขั้นจะกินอยู่เป็นสามีภรรยากัน จะต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อน แล้วจึงจะนำเรื่องไปบอกกับพ่อแม่ ให้รับทราบ แต่ปัจจุบัน สภาพที่เคยปรากฏในอดีตเริ่มเลือนหายเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจและคลื่นวัฒนธรรมใหม่ ตลอดจนทัศนคติของคนในหมู่บ้านที่เปลี่ยนไป พิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ การทาบทามสู่ขอ เมื่อตกลงกันแล้วเห็นว่าทั้งคู่มีความเหมาะสมกัน พ่อแม่ของฝ่ายชายจะให้นาย "ไจมฮา" เป็นผู้ไปทาบทามพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง (หน้า 76 -77) พิธีเกี่ยวกับการหมั้น เมื่อทาบทามฝ่ายหญิงแล้วและฝ่ายหญิงตอบตกลงแล้ว ฝายหญิงจะเรียกสินสอดตามฐานะของฝ่ายชาย การหมั้นหรือการรับหมั้นของกูยบ้านโพนทองนั้นเรียกว่า "ไว-พะ-ใบ-มพลู" วันไหว้พ่อครู การหมั้นถือว่าเป็นการบอกกล่าวบรรพบุรุษไปในตัว พิธีแต่งงาน สิ่งที่ขาดมิได้คือ การหาฤกษ์ โดยให้ผู้รู้เป็นผู้หาให้ ประเพณีการแต่งนิยมจัด 2 วันวันแรกเรียกว่า "ไงโรม" (วันรวม) เป็นวันที่ญาติทั้ง 2 ฝ่ายมารวมที่ บ้านงานเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ วันที่ สองเป็นวันแต่งงาน เรียกว่า "ไงแซน" (หน้า 81-82,88-89) พิธีหลังแต่งงาน ตอนเช้าเจ้าสาวจะต้องเตรียมแต่งคายเครื่องเซ่น "ยะจุ๊ฮดุง" (ผีบรรพบุรุษ) ที่บันไดขั้นแรกของบ้านเจ้าบ่าว (หน้า 100) พิธีการแต่งงานของชาวบ้านโจรก ประเพณีการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบ้านโจรกจะเหมือนกับประเพณีการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรทั่วไป (หน้า 106) การเลือกครู่ครองของคนไทยเขมร ก่อนที่จะแต่งงานกันจะต้องมีการศึกษานิสัยและมีการเกี้ยวพาราสี การเกี้ยวพาราสีทางกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร เรียกว่า "ลีญกระมม" (เล่นสาว) ในอดีตจะเป็นการลีญกระมมที่ผสานเอากิจวัตรประจำวันหรือในช่วงเทศกาลสำคัญมาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอันมีเหตุจากการรับเอาวัฒนธรรมอื่นๆ เข้ามาโดยไม่มีการปรับปนวัฒนธรรมเดิม ทำให้การเกี้ยวพาราสีอย่างอดีตเลือนหายไปจากชุมชน (หน้า104 -105 ) การทาบทามสู่ขอ ฝ่ายชายต้องส่งญาติไปทาบทาม เรียกว่า "กระเซ็บ" (กระซิบ) เมื่อฝ่ายหญิงไม่ขัดข้อง ญาติฝ่ายชายจะจัดการสู่ขออย่างเป็นกิจลักษณะ พิธีกรรมการหมั้น การหมั้นก็เหมือนกับการหมั้นของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในงานจะต้องเชิญญาติพี่น้องมาร่วมเป็นสักขีพยาน ว่าคนทั้งคู่จะแต่งงานกันในที่สุด หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะต้องชดใช้สินไหมทดแทนตามจำนวนเท่ากับค่าสินสอดที่ตกลงกันไว้ การประกอบพิธีหมั้นจะต้องมีการบอกผีบรรพบุรุษ กลุ่มชาติพันธุ์เขมรบ้านโจรกมีความเชื่อว่าการหมั้นหมายจะต้องไม่เกิน 3 เดือนเพราะถ้าล่วงเลยทั้งคู่อาจจะไม่ได้แต่งงานกัน การที่ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้นได้เสียกันก่อนแต่งงานเป็นการผิดผีบรรพบุรุษจะต้อง มีอันเป็นไป จะต้องรีบแต่งงานและต้องขอขมาผีบรรพบุรุษ (หน้า 106,111-112) พิธีการแต่งงาน วันแต่งงานจะต้องเป็นวันฤกษ์มงคลตามหลักโบราณ เดือนที่แต่งงานจะต้องเป็นเดือนคู่ การแต่งงานจะจัดงานตามฐานะของทั้งสองฝ่าย การเตรียมตัวของฝ่ายหญิง ก่อนวันแต่งเรียกว่า "วันสุกดิบ" เพื่อนบ้านเฉพาะคนหนุ่มสาวจะมาช่วย งานที่บ้านฝ่ายหญิง เช่น การเจียนหมาก พลู มวนบุหรี่ เป็นต้น การเตรียมตัวของฝ่ายชายมีลักษณะคล้ายกับฝ่ายหญิง นอกจากนี้จะต้องเตรียมอาหารอื่นๆ ไปบ้านฝ่ายหญิงเพื่อใช้ประกอบอาหารในวันแต่งงานอีกด้วย พิธีหลังการแต่งงานเช้าวันรุ่งขึ้นหลังวันแต่งงาน เมื่อพิธีสมมาพ่อแม่ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเสร็จลง เมื่อญาติฝ่ายเจ้าบ่าวรับของสมมาจากเจ้าสาวแล้ว มีการผูกแขนเจ้าสาวด้วยเงินในราคาที่เหมาะสมกับเครื่องสมมาที่รับไหว้ จากนั้นญาติฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำเหล้าและอาหารมาต้อนรับญาติฝ่ายเจ้าสาวเป็นการตอบแทน (หน้า 114 -115, 130 )

Education and Socialization

บ้านโพนทอง มีโรงเรียน 1 แห่ง ชื่อโรงเรียนบ้านโพนทอง สอนระดับประถมศึกษา สังกัดประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มีนักเรียน 214 คน เป็นนักเรียนชาย 107 คน นักเรียนหญิง 107 คน ครู 10 คน นักการภารโรง 1 คน (สถิติปีการศึกษา 2539) (หน้า 33) บ้านโจรก มีโรงเรียน 1 แห่ง ชื่อโรงเรียนบ้านโจรก เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา (ขยายโอกาส) สังกัดประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จัดการศึกษาออกเป็น 3 ระดับได้แก่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวนนักเรียน 380 คน เป็นนักเรียนชาย 195 คน นักเรียนหญิง 185 คน ครู 15 คน นักการภารโรง 1 คน จากสถิติในรอบปีที่ผ่านมามีจำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายและสายอาชีพมีร้อยละ 80 (สถิติปีการศึกษา 2539)(หน้า 54)

Health and Medicine

บ้านโพนทอง จะรักษาโรคทั้งแบบสมัยใหม่และแผนโบราณควบคู่กัน ในหมู่บ้านมี สสม.(สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ทำหน้าที่ดูแลในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเล็กๆ น้อยๆ และจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน (ยาตำราหลวง) ถ้าเป็นโรคที่ร้ายแรงเกินขีดความสามารถของ สสม. ชาวบ้านจะไปรักษาที่สถานีอนามัยประจำตำบล หากเชื่อว่าเป็นโรคภัยที่เกิดจากการกระทำของผีบรรพบุรุษ(ยะจู๊ฮย์) ชาวบ้านจะรักษาตามความเชื่อของกลุ่มตน รวมถึงการใช้ยาสมุนไพรในการรักษา (หน้า 33-34) ชาวบ้าน บ้านโจรก จะรักษาโรคทั้งแบบสมัยใหม่และแผนโบราณ โดยชาวบ้านจะดูตามอาการของโรคหากอาการไม่รุนแรงนักก็จะซื้อยามารับประทานเอง ในหมู่บ้านมี สสม.(สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) และ ผศม.(ผู้สื่อข่าวสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยโรคเล็กๆ น้อยๆ บางครอบครัวจะไปสถานีอนามัยประจำตำบลหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ หากรักษาจากแพทย์สมัยใหม่ไม่ดีขึ้น ญาติจะนำผู้ป่วยกลับมารักษาตามวิธีแบบโบราณ โดยใช้อาคม ควบคู่ไปกับการปรุงยาสมุนไพรในการรักษา (หน้า 55-56)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เครื่องนุ่งห่มของผู้สูงอายุบ้านโจรกจะนิยมนุ่งผ้าถุงที่ทอเอง เป็นผ้าไหม ฝ่ายชายจะนิยมนุ่งโสร่งไหม ส่วนคนที่อยู่วัยกลางคน คนหนุ่มสาว เด็ก จะนิยมนุ่งผ้าสำเร็จ (หน้า 56) บ้านโพนทอง ไม่ปรากฏชัดเจน

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเลือกครู่ครองของกูยบ้านโพนทอง ในอดีตจะมีประเพณีการจก (การเล่นสาวหรือการจีบสาว) นอกจากประเพณีการจกแล้ว หากเกิดความรักกันจนถึงขั้นจะกินอยู่เป็นสามีภรรยากัน จะต้องมีการพูดคุยปรับความเข้าใจกันก่อน แล้วจึงจะนำเรื่องไปบอก กับพ่อแม่ให้รับทราบ แต่ปัจจุบัน สภาพที่เคยปรากฏในอดีตเริ่มเลือนหายเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจและคลื่นวัฒนธรรมใหม่ ตลอดจนทัศนคติของคนในหมู่บ้านที่เปลี่ยนไป (หน้า 76) การเลือกครู่ครองของไทยเขมรบ้านโจรก ในอดีตการ "ลีญกระมม" จะผสานเอากิจวัตรประจำวันหรือในช่วงเทศกาลสำคัญมาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอันมีเหตุจากการรับเอาวัฒนธรรมอื่นๆ โดยไม่มีการปรับปนวัฒนธรรมเดิม ทำให้การ เกี้ยวพาราสีอย่างอดีตเลือนหายไปจากชุมชน (หน้า 104 -105 )

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

สารบัญตาราง เปรียบเทียบคำเรียกชื่อเครือญาติของกลุ่มไทย - กูย(39) เปรียบเทียบคำเรียกชื่อเครือญาติของกลุ่มไทย - เขมร(61) แสดงฤกษ์การแต่งงาน(83), แสดงเลขแทนค่าวัน(84), แสดงวันที่ห้ามแต่งงาน(85), แสดงฤกษ์เดือนในพิธีกรรมการแต่งงาน(86), เปรียบเทียบขั้นตอนพิธีกรรมการแต่งงาน(171) สารบัญภาพประกอบ สายสกุลสอนสุข ,สายตระกูลเพชรสุวรรณ(30), สายสกุลอนุลีจันทร์(31), พิธีเซ่นผีบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์กูย(79), ขบวนแห่ขันหมากของกลุ่มชาติพันธุ์กูย(90), พานบายศรีสู่ขวัญ(91), เจ้าสาวกำลังอาบน้ำให้แม่เจ้าบ่าว(102), คู่บ่าวสาวสมมาเจ้าโคตรรของทั้งสองฝ่าย(103), พิธีเซ่นผีบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร(112), ขบวนแห่ขันหมากของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร(117), ญาติพี่น้องเจ้าสาวกั้นประตูเงินประตูทอง(119), เจ้าโคตรรฝ่ายหญิงรับเครื่องสมมาจากฝ่ายชาย(120), พิธีผูกแขนคู่บ่าวสาว(124), พิธีล้างเท้าเจ้าบ่าวก่อนขึ้นบ้าน(127), เจ้าบ่าวเลือกดื่นน้ำ 3 ชนิดเพื่อเสี่ยงทาย(128), เปรียบเทียบโครงสร้างพิธีกรรมการแต่งงานของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์(174)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG กูย, คะแมร์ลือ, พิธีกรรม, การแต่งงาน, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง