สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,บ้านเวิน,วิถีชีวิต,ศรีสะเกษ
Author มณีวรรณ บัวจูม
Title วิถีชีวิตของชาวบ้านเวิน ตำบลโนนศรีงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 114 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเวิน ตำบลโนนศรีงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ในด้านปัจจัยหลักของการดำเนินชีวิตได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตลอดจนโครงสร้างทางสังคม บรรทัดฐาน ค่านิยม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความเชื่อ ศาสนา และประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนที่ได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

Focus

วิถีในการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเวิน ตำบลโนนศรีงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ในด้านปัจจัยหลักของการดำเนินชีวิตได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตลอดจนโครงสร้างทางสังคม บรรทัดฐาน ค่านิยม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความเชื่อ ศาสนา และประเพณี พิธีกรรม (หน้า 110)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ผู้วิจัยทำการศึกษานี้ได้แก่ ชาวบ้านในหมู่บ้านเวินซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว 25% ,เขมร 30% ,ส่วย 45% (หน้า110) โดยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ได้อพยพจากพื้นที่ต่าง ๆ มารวมกันจัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา (หน้า 3)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยทำการศึกษาค้นคว้าและเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 - เดือนมกราคม 2539 โดยเก็บรวบรวมทั้งด้านเอกสาร ออกภาคสนาม สัมภาษณ์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าในแบบ พรรณาวิเคราะห์ (หน้า 5-8)

History of the Group and Community

จากการสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลภาคสนามทำให้ทราบ ถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเวินโดยแบ่งเป็น 3 กระแส ดังนี้ 1.ชื่อบ้านเวิน เป็น "ชื่อของช้าง" ของส่วยซึ่งได้ตกบ่อน้ำตายจึงตั้งชื่อว่า "บ้านเวิน" 2.ชื่อบ้านเวิน เป็น "ชื่อของยาย" ชึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นคนแรก โดยเป็นพื้นที่ที่ติดกับลำห้วยและมีความอุดมสมบูรณ์ดี 3.ชื่อบ้านเวิน มาจากสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบไปด้วยน้ำ บ้านเวินนี้ก่อตั้งขึ้นมาเกือบร้อยปีแล้วโดยที่มาของชื่อ "บ้านเวิน" น่าจะมาจากกระแสที่ 2 และ 3 เพราะคำว่า เวิน ในภาษาอีสาน (เวิง,วังเวิน,วังวน) แปลว่า "น้ำวน" (หน้า 19)

Settlement Pattern

ชาวบ้านเวินที่อพยพมาอยู่รุ่นแรก ๆ จะตั้งบ้านเรือนเรียงรายไปตามริมหนองน้ำ (ห้วยทา) และกระจัดกระจายออกมาบริเวณกลางหมู่บ้าน ภายในหมู่บ้านมีถนนเส้นเดียวสั้นๆ และมีทางเดินซึ่งคดเคี้ยวไปตามที่ตั้งของตัวบ้านและไม่มีรั้วปัก/กั้นเขตบ้านกันขึ้น (หน้า 20) การสร้างบ้านนั้นสร้างเพื่ออยู่อาศัยและสนองประโยชน์ใช้สอย มีความแข็งแรง มั่นคง พอที่จะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติได้ (ดูรูปหน้า 37,38,39) สร้างแบบง่าย ๆ ไม่มีฮางริน (รางรองน้ำฝน) ไม่ประณีต ไม่เน้นความสวยงาม ไม่ใหญ่แต่เป็นเนื้อที่ใช้สอยเกือบทุกตารางนิ้ว แบ่งเป็น 1.พื้นที่บริเวณรอบบ้านเรือน ก่อนที่จะสร้างบ้านนั้นจะมีพิธีกรรมและการหาฤกษ์ยามที่ดีในการยกเสา (ลงเสา) ปลูกบ้าน เลือกไม้ทำเสาบ้าน และการดูดินก่อนการปลูกบ้าน (หน้า 34-36) นิยมให้บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก (อากาศแสงแดดอบอุ่นยามเช้า) และทิศเหนือ (อยู่เหนือผู้อื่น) (หน้า 36) 2.สิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณ มีลักษณะเป็นบ้านไม้ ยกเสาสูงประมาณ 2-2.50 ม.ภายในตัวเรือนจะกั้นระหว่างห้องนอนใหญ่และเรือนครัว โดยจะไม่กั้นภายในห้อนนอนอีก สมาชิกในครอบครัวจะนอนรวมกัน ภายนอกบ้านจะมีประตูเดียว ไม่มีหน้าต่าง (หน้า 36) ใต้ถุนบ้านจะเป็นที่นั่งเล่นและเลี้ยงสัตว์ (หน้า37) 3.อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ (เล้าข้าว,ยุ้งข้าว) สร้างแยกออกจากเรือนนอน ยกพื้นสูงเพื่อกันน้ำท่วมและความชื้น (หน้า 40)

Demography

จากการเก็บข้อมูลภาคสนามของผู้วิจัยในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2536 พบว่าหมู่บ้านเวินมีบ้านเรือนจำนวน 47 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 200 คน เป็นชาย 97 คน หญิง 103 คน ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ ไทยส่วย 45% ไทยเขมร 30% และไทยลาว 25% (หน้า 23)

Economy

อาชีพหลักของชาวบ้านเวิน คือ เกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ข้าว พืชผัก โดยได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษรุ่นแรกที่อพยพมาจากหมู่บ้านอื่น การทำนานี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในครอบครัวซึ่งแต่เช้ามืดพ่อจะเป็นคนไปไถนา แม่บ้านก็จะเตรียมหาอาหารและออกไปพร้อมกับสมาชิกในครอบครัวด้วย (หน้า 66-67) การทำนาโดยการลงแขกเป็นการเชิญชวนญาติพี่น้องหรือคนในหมู่บ้านให้มาช่วยทำนา (การบอกแขก) เจ้าบ้านจะเตรียมอาหารพิเศษ 3 มื้อไว้เลี้ยงแขก เมื่อเสร็จงานเจ้าของบ้านก็จะกลับไปช่วยลงแขกให้คนที่มาช่วยงานแล้วแต่ว่าจะให้ไปช่วยอะไร (หน้า 71, ดูรูปหน้า 67-70) การเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งาน เลี้ยงเป็นอาหาร เลี้ยงเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม และเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริม ได้แก่ - การเลี้ยงควายเพื่อใช้ทำนาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย (ครอบครัวละประมาณ 3-4 ตัว) - การเลี้ยงหมู แต่ละครอบครัวจะเลี้ยงประมาณ 1-2 ตัว แบ่งเป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคและประกอบพิธีกรรม เช่น พิธีกรรมผีฟ้า ผีแถน ปรับไหม ตลอดจนงานแต่งงาน งานบวช งานศพ โดยเลี้ยงแบบไม่กั้นคอก แต่ใช้เชือกผูกคอหมูไปผูกไว้บริเวณร่มไม้รอบตัวบ้านหรือผูกไว้ใต้ถุนบ้าน พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงคือ พันธุ์พื้นเมือง (ตัวเล็ก สีดำหรือสีน้ำตาล) (ดูรูปหน้า 74) - การเลี้ยงเป็ดเพื่อการบริโภค โดยจะเลี้ยงไว้ตามบริเวณริมห้วยทาซึ่งใช้ตาข่ายกั้นคอกเป็ด ซึ่งจะแบ่งบางส่วนอยู่ในน้ำและบางส่วนอยู่บนบก (ดูรูปหน้า 75) - การเลี้ยงไก่ ชาวบ้านเวินเลี้ยงไก่มาตั้งแต่สมัยอดีต โดยนิยมเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน และใช้ในพิธีกรรมการเซ่นไหว้ต่าง ๆ - การเลี้ยงกบ เลี้ยงโดยวิธีธรรมชาติโดยเลี้ยงล้อมไว้ในตาข่ายใกล้บ้านที่ดินมีน้ำขังพอประมาณ แล้วขุดพรวนดิน (ดูรูปหน้า 77) - การเลี้ยงปลา ปลาที่เลี้ยงเป็นปลาที่ได้จากธรรมชาติตามท้องนาและห้วยทา การจับปลาจะใช้มอง เบ็ด แห ลอม ไซ ข้อง สวิง และขุดหลุมล่อปลา ต่อมาจึงใช้แบตเตอรี่ (1 อัน ต่อ 4-5 หลังคาเรือน) การจับปลานี้จับเพื่อการบริโภค ไม่ได้จับไว้เพื่อขายเพราะชาวบ้านเวินนั้นอยู่รวมกันแบบระบบเครือญาติที่แบ่งปันกัน (ดูรูปหน้า 79-82) ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจของชาวบ้านเวิน ส่วนใหญ่ได้แก่ การทำนา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และจับปลา โดยมีพ่อค้าจากบ้านตาเหมาไปซื้อเป็นครั้งคราว และการรับจ้างทำนาในหมู่บ้านใกล้เคียง (หน้า 73-82)

Social Organization

บ้านเวินเกิดจากการอพยพมาอยู่รวมกันของประชากร 3 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันคือ ไทยลาว ส่วย เขมร โดยเริ่ม จากครอบครัวเล็กๆ ประกอบด้วย พ่อ-แม่-ลูก เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นเวลานานก็เกิดการผสมผสานกันขึ้นในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันมากขึ้น สมาชิกในครอบครัวของส่วยและเขมรนั้นเมื่ออยู่ในวัยที่จะมีครอบครัวได้ ก็จะแต่งงานและแยกครอบครัวมาสร้างครอบครัวใหม่ (แต่ก็ยังแบ่งปันอาหารและดูแลครอบครัวยามเจ็บป่วย หากมีกิจกรรมใดๆ ก็จะมาเข้าร่วมด้วย) ภายหลังเมื่อมีความพร้อมจึงแยกออกมาสร้างครอบครัวใหม่ (การออกเรือน) ฝ่ายชายจะเรียกพ่อแม่ฝ่ายหญิงว่าพ่อแม่ และฝ่ายหญิงจะเรียกพ่อแม่ฝ่ายชายว่าพ่อปู่แม่ย่าหรือปู่ย่า โดยฝ่ายหญิงจะให้ความนับถือญาติฝ่ายชายมาก โดยเฉพาะกลุ่มไทยลาวนั้นลูกสะใภ้จะใช้คำเรียกแทนตัวเองว่า "กะบาท" แสดงให้เห็นถึงการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพ่อแม่ฝ่ายชายเป็นที่สุด สถาบันครอบครัวของ 3 กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีความคล้ายคลึงกัน คือ เมื่อแต่งงานแล้วก็จะแยกบ้านทันทีและการให้ความสำคัญกับผู้นำในครอบครัวคือพ่อซึ่งเปรียบเสมือนเทวดาและผู้หาเลี้ยงครอบครัว รองลงมา คือแม่ที่อบรมเลี้ยงดูมา และยังเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เช่น ผีแถน ผีมด (หน้า 60-61)

Political Organization

ก่อน พ.ศ.2536 ลักษณะการปกครองในหมู่บ้านเวินเป็นแบบการปกครองกันเอง ไม่มีผู้ปกครองหรือผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากองค์กรของรัฐ ซึ่งผู้ปกครองหรือผู้นำนั้นจะเป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ หรือเป็นผู้อาวุโสโดยอาศัยจารีตประเพณีเป็นข้อบังคับ ผู้ปกครองหรือผู้นำในหมู่บ้านมีบทบาทหน้าที่ในการปกครองชาวบ้านให้มีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ลดความขัดแย้ง และเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดปัญหา ต่อมาในพ.ศ.2536 เมื่อทางอำเภอศรีรัตนะได้รับรู้เรื่องนี้จากทางหนังสือพิมพ์จึงเข้าไปแต่งตั้งให้นายอำนวย ทวี ซึ่งเป็นที่รู้จักของทางอำเภอเป็นผู้ใหญ่บ้านชั่วคราว (หน้า 83) ผู้นำของหมู่บ้านมี 2 ลักษณะ คือ (1) ผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ (2) ผู้นำไม่เป็นทางการซึ่งเกิดจากการสั่งสมความเคารพนับถือ ศรัทธา เลื่อมใสที่เกิดจากชาติตระกูลและความเชื่อมาเป็นเวลานาน เช่น ผู้นำด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้นำด้านพิธีกรรม ผู้นำด้านสาธารณสุข ผู้นำด้านเศรษฐกิจ ผู้นำด้านทางสังคม ปัจจุบันชาวบ้านเวินยังนับถือผู้นำที่ไม่เป็นทางการอยู่ แม้ว่าจะมีหน่วยงานจากองค์กรของรัฐเข้ามามีบทบาทในการแต่งตั้งผู้นำอย่างเป็นทางการก็ตาม (หน้า 84)

Belief System

ชาวบ้านเวินมีความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติโดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่พอใจของภูติผีหรือวิญญาณ จึงบันดาลให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น นอกจากนี้ ชาวบ้านเวินยังมีการนับถือศาสนาพุทธด้วย โดยความเชื่อในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาที่ได้ปลูกฝังนี้จะถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาอยู่ที่บ้านเวิน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติแล้วจะเกิดความมั่นคงและความสงบสุขขึ้น โดยศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้นคือ ศาลาเอนกประสงค์ที่ชาวบ้านเวินร่วมกันสร้างขึ้นแทนวัด แม้ว่าที่บ้านเวินจะไม่มีพระแต่ก็สามารถไปนิมนต์พระในหมู่บ้านใกล้เคียงมาทำพิธีทางศาสนาให้ได้ (หน้า 103-104, 113, ดูรูปหน้า 103) ความเชื่อ : ความเชื่อของชาวบ้านเวินแบ่งเป็น ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องมือเครื่องใช้ และความเชื่อเกี่ยวกับบุคคล ธรรมชาติ สิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร - ได้แก่ "อาหารขะลำ" (อาการที่ร่างกายอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาหารที่ทานเข้าไปอาจเกิดพิษต่อร่างกาย) การเกิดขะลำเกิดขึ้นได้ใน 4 สภาวะ ของร่างกายมนุษย์ คือ วัยเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หยิงแม่ลูกอ่อน และผู้ป่วย - อาหารขะลำของเด็ก : ต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะร่างกายกำลังเจริญเติบโต เช่น ห้ามทานไตเป็ด ไก่ จะทำให้โง่ สมองทึบ ห้ามทานหอยโข่ง (ตา) จะทำให้ปวดหัว ฯลฯ - อาหารขะลำของหญิงตั้งครรภ์ : อาหารที่หญิงตั้งครรภ์ทานจะส่งผลต่อเด็กทารกที่อยู่ในท้องด้วย และส่งผลถึงตัวเองหลังจากคลอดลูกภายหลัง เช่น ห้ามทานเนื้อมะพร้าวอ่อน จะทำให้เด็กมีไขมันติดตามตัวมาก ฯลฯ - อาหารขะลำของหญิงแม่ลูกอ่อน : ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะร่างกายต้องผลิตน้ำนมในการเลี้ยงลูกและอาจเกิดอาการ "ผิดกะบูน" ทำให้มดลูกไม่เข้าอู่ เช่น ห้ามทานผักชะอม หมากกระถิน ปลาดุก หนูนา เผือก หน่อไม้ อาหารทะเล เป็นต้น - อาหารขะลำสำหรับผู้ป่วย : อาหารมีผลทำให้อาการเจ็บป่วยนั้นทุเลาหรือทรุดหนักลงได้ เช่น เป็นไข้ตัวร้อนห้ามทานมะยม ฝรั่ง เป็นแผลสดห้ามทานไข่ ไก่ จะทำให้แผลหายช้า ความเชื่อเกี่ยวกับยารักษาโรค - ชาวบ้านเวินมีการรักษาโรคทางไสยศาสตร์ ดังนี้ 1.ผีฟ้า เป็นการรักษาคนป่วยโดยเตรียมเครื่องไว้บูชา ขันธ์ 5 หรือ ขันธ์ 8 แล้วจึงมีการลำเพื่อบอกกล่าวเชื้อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษมาปัดเป่าให้หายจากโรค หรือเชิญมาเข้าร่างทางเพื่อถามว่าป่วยเพราะอะไร ทำอย่างไรจึงหาย 2.ผีแถน (หมอแถน) หากคนเจ็บป่วยกินยาอะไรก็ยังไม่หาย เจ้าภาพจะเชิญหมอแถนมารักษาโดยจัดปะรำพิธีตกแต่งด้วยดอกไม้ มีพานบายศรี โดยหมอแถนจะลุกขึ้นฟ้อนรำไปรอบ ๆ พานบายศรี และเสกเป่า หว่านเมล็ดข้าวสารใส่ตัวผู้ป่วย (ดูรูปหน้า 90) 3.พิธีรำขมวด (รำแม่มด) เป็นพิธีกรรมของไทยเขมรที่สืบต่อมาแต่โบราณ มีคนทรง (มม๊วด) ทำหน้าที่ติดต่อหรือเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับวิญญาณของผีบรรพบุรุษ ซึ่งญาติพี่น้องรับรู้ได้ว่าวิญญาณนั้นมีความผูกพันกับครอบครัวซึ่งจะบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทั้งดีและไม่ดี และยังหมายถึงผีเจ้าพ่อซึ่งเป็นวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ทำหน้าที่คุ้มครองคนและผีหลักเมืองคุ้มครองสถานที่บ้านเมืองนั้นๆ ด้วย โดยมีการฟ้อนรำประกอบการบรรเลงดนตรีด้วยวงปี่พาทย์พื้นบ้านของไทยเขมรด้วย พิธีกรรมมม๊วดนิยมทำช่วงเดือน กพ.- เมย. (เดือน 3-5) หรือวันใดก็ได้ ยกเว้นวันพระ 4.หมอธรรม เป็นหมอที่รักษาคนเจ็บไข้ ทุกข์ร้อนใจ ของหาย หาฤกษ์ยามดี และทำนายโชคชะตา พ่อธรรมจะตรวจดู วัน/เดือน/ปี หากมีเคราะห์ก็จะทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ให้ เป่ารดด้วยน้ำมนต์ ผูกสาญสิญจน์ที่แขนหรือห้อยคอ ทั้งนี้การเจ็บป่วยของแม่สามีหรือภรรยาอาจมาจากการปฏิบัติตัวของลูกเขยหรือลูกสะใภ้ซึ่งต้องทำการปรับไหมอาการเจ็บป่วยจึงจะหาย (หน้า 85-93, ดูรูปหน้า 94,96) ความเชื่อเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย - แบ่งเป็น ความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์เดือนซึ่งเป็นคติความเชื่อในการปลูกเรือนหรือสถานที่ ความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์วันซึ่งเป็นคติความเชื่อในการปลูกเรือนถือตามวัน ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ในการปลูกเรือนซึ่งถือฤกษ์ตามปี ความเชื่อเกี่ยวกับบุคคล ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ - การนับถือผู้อาวุโสนั้นเป็นความเชื่อที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดยการอบรมสั่งสอน โดยเรียงลำดับในครอบครัวลงมา ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ - เรื่องน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อมนุษย์ สัตว์ พืชและเป็นบ่อเกิดแห่งความอุดมสมบูรณ์ เรื่องดิน ดินนั้นให้ที่อยู่ เป็นแหล่งเพาะปลูก โดยมีพระแม่ธรณีรักษาอยู่ตลอดเวลา ความเชื่อต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ - ชาวบ้านเชื่อเรื่องการนับถือผีมากทั้ง ผีฟ้า ผีแถน ผีแม่มด ผีปู่ตา ผีปู่แฮก ผีตาแฮก ฯลฯ และยังมีการสู่ขวัญซึ่งแบ่งเป็น ดังนี้ 1.การสู่ขวัญที่ไม่เป็นระบบ กระทำเมื่อลูกหลานหรือคนในครอบครัวเกิดอุบัติเหตุไม่รุนแรง เจ็บป่วยไม่มาก หรือเด็กบางคนเลี้ยงยาก แม่ก็จะเป็นผู้ "ช้อนขวัญ" หรือ "เรียกขวัญ" 2.การสู่ขวัญที่เป็นระบบจะมีในงานที่มีพิธีกรรมต่างๆ โดยเมื่อหายจากการเจ็บป่วยหรือจะจากบ้านไปทำงานที่อื่นและเมื่อกลับจากไปทำงานถิ่นอื่นก็จะสู่ชวัญอีกซึ่งเมื่อเรียกขวัญเสร็จต้องนำฝ้ายมาผูกข้อมือเพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่กับบุคคลนั้น (หน้า 96-103) ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด - ถ้าอยากให้ลูกเกิดมาเป็นคนดี มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ก็ให้หญิงมีครรภ์หมั่นทำความดี ทำบุญ เมื่อมีคนคลอดลูกในหมู่บ้าน หมอตำแยต้องเตรียมเครื่องบูชาครู คือ ขัน ดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าขาว และเงินค่าคาย ถวายต่อเทพยดาให้คุ้มครองแม่และเด็กที่เกิดขึ้นมา และหมอตำแยจะเป็นคนตัดสายสะดือเด็ก ก่อนตัดจะมัดเป็นสองเปราะ แล้วตัดด้วยไม้คม ๆ (ติ้วไผ่) โดยผู้อาวุโสที่มีความชำนาญจะเป็นคนเหลาติ้วไผ่แล้วตัดสายสะดือแล้วไว้ที่ใต้บันไดบ้าน หญิงที่คลอดบุตรจะอยู่ไฟ 5-7 วัน และ 15 วัน เด็กที่คลอดออกมาหมอตำแยจะอาบน้ำ ห่อผ้า แล้ววางลงในกระด้งที่มีกระดาษ ดินสอ เข็ม มีด เพื่อให้เด็กฉลาด หลักแหลม มีความรู้ และขยันทำมาหากิน ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธโดยเมื่อมีคนตายในหมู่บ้านจะมีการบอกกล่าวกันปากต่อปากจนรู้ทั้งหมู่บ้าน และจะไม่มีการตำข้าวเพราะขะลำญาติพี่น้องจะอาบน้ำศพ นุ่งห่มเสื้อผ้าโดยใส่เสื้อกลับด้าน ถ้าเป็นหญิงเอาตีนซิ่นขึ้น เอาหัวซิ่นลง มัดศพเป็น 3 เปลาะ และตั้งศพไว้ที่บ้านประมาณ 3 วัน (งานเฮือนดี) แล้วจึงย้ายศพไปเผาที่ป่าหรือที่นาของผู้ตาย วันรุ่งขึ้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล กระดูกส่วนหนึ่งจะขุดหลุมฝัง ส่วนหนึ่งจะเก็บห่อไว้เพื่อบรรจุในธาตุ เมื่อเผาครบ 7 วันจึงทำบุญตักบาตร และทำอีกเมื่อครบรอบปี ประเพณีพิธีกรรมประจำปี ชาวบ้านเวินนั้นยึดหลักฮีตสิบสองซึ่งเป็นประเพณีที่ต้องปฏิบัติทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี โดยชาวบ้านจะไปทำบุญที่หมู่บ้านตาเหมาเพราะที่บ้านเวินไม่มีวัด การทำบุญนี้จะทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและหมู่บ้านใกล้เคียง รวมทั้งญาติพี่น้องก็จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์กันด้วย(หน้า 107-109)

Education and Socialization

หมู่บ้านเวินนี้ไม่มีสถานศึกษาภายในหมู่บ้าน แต่พ่อแม่ก็พยายามส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ โรงเรียนบ้านตาเหมา โดยเรียนจนจบหลักสูตรภาคบังคับ แต่ไม่ได้เรียนต่อ (ดูรูปหน้า 61) บางคนก็ศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ในหมู่บ้าน ศึกษาด้วยตนเองจากวิทยุ หนังสือพิมพ์ และเอกสารต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยผู้นำหมู่บ้านในแต่ละด้านจะถ่ายทอดความรู้หรือแนวทางปฏิบัติให้แก่ลูกหลานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้ด้านสาธารณสุข ตำรายาสมุนไพร การรักษาอาการเจ็บป่วยโดยพิธีกรรมต่าง ๆ บางคนไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากการคมนาคมที่ไม่สะดวกและอยู่ไกล การตกสำรวจเพราะย้ายมาจากถิ่นอื่น (หน้า 62)

Health and Medicine

การสาธารณสุขของชาวบ้านเวินนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.การรักษาด้วยตัวยา ได้แก่ ยาพื้นบ้าน (ยาสมุนไพร) และยาแผนปัจจุบัน -ยาพื้นบ้าน (สมุนไพร) เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมา แบ่งเป็น ยาที่ได้จากพืช ยาที่ได้จากสัตว์ ยาที่ได้จากแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังมียาพื้นบ้านที่ใช้ประกอบกันหลายชนิด เรียกว่า ยาชุมใหญ่/ยาชุมน้อย (หน้า 48-49, ดูรูปหน้า 51,52) การรักษาโดยใช้สมุนไพรนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรค สมุนไพรก็จะใช้แตกต่างกัน (ดูรูปหน้า 58) โดยหมอปรุงยาจะใช้คาถาประกอบการปรุงสมุนไพรให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น (พระคาถาสักกัตวา,ดูคาถาหน้า 59) 2.การรักษาทางพิธีกรรมซึ่งได้รับการถ่ายทอดความเชื่อจากบรรพบุรุษว่าหากใครกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น (ผิดผี) สิ่งนั้นเกิดจากการที่ผีบรรพบุรุษไม่พอใจจึงบันดาลให้เกิดการเจ็บป่วย (หน้า 64) ทั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่ แล้วการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันนั้นไม่สามารถรับรองเรื่องความปลอดภัยและการมีชีวิตรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ชาวบ้านจึงยังให้ความศรัทธาเชื่อมั่นในการรักษาด้วยยาสมุนไพรและการรักษาด้วยพิธีกรรมอย่างเหนียวแน่น เช่น การรักษาคนป่วยด้วยผีฟ้า ผีแถน ผีแม่มด หมอธรรม (ดูรายละเอียดในหัวข้อ Belief Systems)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของประชากรแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์โดยเมื่อมีการอพยพมาอยู่รวมกันเป็นเวลานาน การแต่งกายจึงมีการผสมผสานและแลกเปลี่ยนกันขึ้น ชาวบ้านเวินจะแสวงหาและผลิตผ้าไหมและผ้าฝ้ายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้หญิงซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยผลิตเพื่อใช้เองในครัวเรือนและใช้เป็นเครื่องขอขมาด้วย (ปรับไหม-ผิดสะใภ้) และสามารถแลกเปลี่ยนเป็นข้าวและเงินได้ การแต่งกายด้วยผ้าไหมจะใช้ใส่ในโอกาสพิเศษ เช่น งานบุญประเพณี งานแต่งงาน งานบวช งานพิธีกรรมต่าง ๆ ปัจจุบันมีการแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายมากขึ้นเพราะการผลิตไม่ยุ่งยาก และราคาไม่แพง (ดูหน้า 40-42, รูปหน้า 43,46,47) การแต่งกายเมื่อประกอบพิธีกรรมนี้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมจะแต่งกายพิเศษกว่าคนอื่น เช่น ใส่เสื้อหลายสี แล้วแต่ว่าแถนอยากใส่เสื้อสีอะไร หรือใส่ซ้อน ๆ กัน มีเครื่องประดับตกแต่งมากมาย การแต่งกายในเวลาปกติ : หญิงส่วย(กวย) - เสื้อคอกระเช้าสีดำหรือเสื้อแขนยาวสีดำย้อมครั่ง ผ่าอก ติดกระดุมเงิน นุ่งผ้าถุงสีน้ำตาลไหม้ มีชายเป็นลายต่าง ๆ ผ้าถุงหรือผ้าซิ่นมีหัวซิ่นและตีนซิ่นซึ่งทอด้วยไหม ชายส่วย - ผ้าโสร่ง ไม่ค่อยใส่เสื้อ หญิงเขมร - ผ้าซิ่นฝ้าย เสื้อคอกระเช้า ผู้หญิงสูงอายุจะใส่เสื้อคอกระเช้า ผ่าอก หรือใส่ผ้าแถบพันหน้าอก ชายเขมร - ไม่สวมเสื้อ ใส่โสร่ง ผ้าขาวม้าคาดเอว ใครที่ฐานะไม่ค่อยดีจะใส่กางเกงขาก๊วยยาวเลยเข่าเล็กน้อย หญิงลาว - ผ้าซิ่นทั้งฝ้ายและผ้าด้าย ส่วนผ้าไหมนั้นจะใช้ในพิธีกรรม งานบุญประเพณี หรืองานธุระนอกบ้าน เสื้อเป็นเสื้อหมากกะแหล่งหรือเสื้อคอกระเช้า ชายลาว - ใส่โสร่ง ผ้าขาวม้าคาดเตียวเวลาทำงานหรือใส่กางเกงขาก๊วยขาสั้นไว้ด้านใน และมีผ้าขาวม้าคาดเอวหรือพาดไว้บนบ่าอีกหนึ่งผืน ถ้าอากาศเย็นสบายก็ไม่ใส่เสื้อ การแต่งกายเมื่อประกอบพิธีกรรมหรือในโอกาสพิเศษ : หญิงส่วย (กวย) - เสื้อแขนสั้นด้านใน ใส่เสื้อแขนยาวสีดำติดกระดุมเงินไว้ด้านนอก มีผ้าพาดไหล่เป็นลวดลายขิดหรือผ้ายก เครื่องประดับ ได้แก่ ต่างหูเงิน กำไลเงิน ชายส่วย - ใส่โสร่งและใส่เสื้อ หญิงเขมร - ใส่เสื้อทั้งแขนสั้นและแขนยาว ผ้าไหม ผ้าฝ้าย มีผ้าพาดบ่าสีดำ นุ่งผ้า ผ้าไหม มีเชิงบ้างและไม่มีเชิงบ้าง แต่ต้องมีหัวซิ่นทุกผืน ชายเขมร - เสื้อทอมือย้อมสีดำคล้ายม่อฮ่อม ผ่าอก ใส่โสร่งไหม ผ้าขาวม้าคาดเอว ถ้าไม่มีโสร่งใส่เพราะฐานะยากจนก็นุ่งกางเกงขาก๊วยยาวครึ่งเข่า หญิงลาว - การแต่งกายในงานหรือโอกาสพิเศษจะพิถีพิถันมาก นิยมใส่เสื้อผ้า (ตีนเหยียบ) ย้อมเป็นสีดำหรือเสื้อสีขาว แขนยาว และผ้าพาดบ่าสีขาว ใส่ผ้าซิ่นไหม มีเชิง เข็มขัดเงินหรือทอง ใส่ต่างหู หากเป็นคนแก่จะใส่ผ้าถึงซ้อนกัน 2 ผืน ผืนที่ใส่ด้านนอกจะต้องเป็นผ้าซิ่นไหม ผืนด้านในอาจเป็นผ้าซิ่นฝ้ายหรือผ้าซิ่นไหมผืนเก่าๆ ชายลาว - ผ้าโสร่งไหมผืนใหม่และผ้าขาวม้า ผ้าไหมผืนใหม่ เสื้อที่ใส่ต้องจะเป็นสีขาวหรือสีอะไรที่สามารถหาได้แต่ต้องเป็นเสื้อที่ใหม่สุด ปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายทำให้บทบาทและความสำคัญของการแต่งกายลดลง แต่การแต่งกายของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์บางอย่างของตัวเองไว้ เช่น ผ้าซิ่น ผ้าพาดบ่า ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า แต่ส่วนมากผู้ชายจะเปลี่ยนแปลงมากกว่าผู้หญิงโดยนิยมใส่กางเกงขายาวหรือขาสั้นเพราะสะดวกดี (หน้า 44-46, รูปหน้า 41)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางพิธีกรรมของชาวบ้านเวินนี้ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ โดยที่สมาชิกในชุมชนสามารถไปร่วมและให้ความสำคัญร่วมกันในทุกพิธีกรรมได้โดยไม่มีข้อขัดแย้ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมต่อไป (หน้า 114) เช่น เอกลักษณ์ทางการแต่งกายที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะ กล่าวคือ กลุ่มชาติพันธุ์ส่วยกับเขมรจะแต่งกายโดยการนุ่งซิ่น เอาหัวซิ่นลง เอาตีนซิ่นขึ้น ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวจะนุ่งซิ่นตามปกติ (หน้า 111) การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมในหมู่บ้านเวินนั้นเป็นการรวมตัวกันของ 3 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ ส่วย เขมร และไทยลาว โดยวิถีชีวิตภายในชุมชนได้มีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมเป็นอย่างดี (หน้า 114) เช่น แม้จะไม่มีวัดในหมู่บ้าน ชาวบ้านเวินก็จะร่วมพิธีทางศาสนาในหมู่บ้านอื่นที่มีงานทำบุญประเพณี การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์สามกลุ่มทั้งไทยลาว ส่วยและเขมร นี้เป็นที่ยอมรับของสังคมหมู่บ้านและได้รับความร่วมมือด้วยดีซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

Social Cultural and Identity Change

จากการเก็บและรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยนี้พบว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านเวินในปัจจุบันยังคงเป็นวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายอยู่กันในลักษณะของระบบเครือญาติมาโดยตลอด มีความเชื่อมั่นในผู้นำ มีความสามัคคีกลมเกลียว และยังเป็นสังคมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อีกทั้งต้องพึ่งพาตนเอง ดังนั้นจึงควรพึงระวังในเรื่องของการไหลบ่าทางวัฒนธรรมของสังคมเมืองสู่สังคมชนบท ส่วนในเรื่องพิธีกรรมนั้นยังไม่มีการไหลบ่าของวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา โดยแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในบ้านเวินนี้ยังคงเป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถไปร่วม และให้ความสำคัญร่วมกันในทุกพิธีกรรมได้โดยไม่มีข้อขัดแย้ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมต่อไป (หน้า 114)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ - จังหวัดศรีสะเกษโดยสังเขป (147), อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (148) แผนผัง - หมู่บ้านเวิน (149)

Text Analyst กุลธิดา ทรัพย์ไพศาล Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG กูย, บ้านเวิน, วิถีชีวิต, ศรีสะเกษ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง