สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,ระบบการผลิต,พัฒนาการทางสังคม,การปรับตัว,สุรินทร์
Author นพวรรณ สิริเวชกุล
Title ข้อมูลและพัฒนาการทางสังคม การปรับตัวต่อปัญหาเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่และการผลิตของชาวกูยที่บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 140 Year 2541
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract

กูยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาในประเทศไทยแถบตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นชาติพันธุ์ที่มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้างโดยเฉพาะ ในจังหวัดสุรินทร์ กูยบ้านตากลาง ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาในเขตจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่ยุคปลายของกรุงศรีอยุธยาจนถึง สมัยกรุงธนบุรี มีพัฒนาการทางสังคมอย่างต่อเนื่องและเมื่อทางราชการประกาศห้ามล่าสัตว์ซึ่งรวมถึงช้างป่าด้วย ผลกระทบคือระบบความเชื่อและประเพณีการโพนช้างของกูยที่อดีตเป็นเครื่องบ่งบอกความสามารถและการเลื่อนตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันต้อง นำช้างออกมาเร่ร่อนในเขตกรุงเทพฯ เนื่องจากพื้นที่ป่าสาธารณะในหมู่บ้านเป็นป่าปลูกพืชเศรษฐกิจของนายทุน เป็นผลให้เกิดปัญหาลูกโซ่ตามมา กูยมิได้เห็นว่าช้างเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงแต่ช้างแทบเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตซึ่งความผูกพันดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 3 สถานะคือ ช้างเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ผูกพันในฐานะที่ช้างเป็นทรัพย์สินและผูกพันต่อช้างในฐานะที่เป็นสมาชิกในครอบครัว

Focus

พัฒนาการทางสังคม การปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคมปัจจุบัน เกี่ยวกับการดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่และการผลิต กรณีศึกษาบ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กูย ( บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ )

Language and Linguistic Affiliations

พูดภาษากูย ภาษาส่วยหรือภาษาซวย เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติค สาขากะตูอีกภาษาหนึ่ง ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีระดับเสียงวรรณยุกต์และใช้ลักษณะน้ำเสียงเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางเสียงเช่นเดียวกับ ภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติคส่วนใหญ่ จิตร ภูมิศักดิ์ (2524 : 433) กล่าวว่าภาษาที่กูยพูดส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล มอญ - เขมร (หน้า 21) กูยบางกลุ่มพูดภาษาลาว สำเนียงกูย กูยจะมีภาษาที่ใช้สำหรับประกอบพิธีเซ่นผีประกำและใช้สื่อสารระหว่างออกล่าช้างป่าเรียกอีกอย่างว่า "ภาษาป่า" ซึ่งนักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษาเขมรโบราณจึงมีรากศัพท์ของบาลีและสันสกฤตปนอยู่ (หน้า 69-70)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาการศึกษา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (หน้า 11-12) ผู้วิจัยใช้วิธี การศึกษาโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วประมวลเข้ากับการเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยวิธีทางมานุษยวิทยาโดย การสังเกตการณ์ร่วม (Participant Observation) (หน้า 11 ) และหลักการวิจัยทางมานุษยวิทยาในหัวข้อนิเวศวิทยา (Cultural Ecology)

History of the Group and Community

ไม่ได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกูยบ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ แต่มีกล่าวถึงการอพยพของกูยที่เข้ามาทางประเทศไทยบริเวณตอนล่างของภาคอีสานนั้น เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2119 - 2231) และมีการอพยพครั้งใหญ่เข้ามาในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษอีกในยุคปลายของกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยธนบุรี (หน้า 16)

Settlement Pattern

กูยเป็นกลุ่มชนที่ชอบอพยพเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ในประเทศไทย กูยจะตั้งถิ่นฐานปะปนกับคนไท-เขมร หรือเขมรสูงและลาว (หน้า 16,21) กูยโดยมากอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่แต่จะมีชุมชนที่จำกัดไม่ใหญ่เกินไป กลุ่มบ้านเรือนที่ตั้งบริเวณใกล้เคียงกันมาโดยมากมีความสัมพันธ์กันในสายตระกูล นับถือผีหรือยะจัวะฮ หรือเป็นคนในสายตระกูลเดียวกันสังเกตจากครอบครัวที่ขยายใหม่ หากตั้งอยู่บริเวณเรือนพ่อ-แม่ จะต้องไม่สร้างเรือนอยู่ทางทิศใต้ของเรือนพ่อ-แม่เพราะถือเป็นการลบหลู่ผีบรรพบุรุษ หิ้งผีจะตั้งอยู่มุมใดมุมหนึ่งทางทิศใต้ของตัวเรือน โดยมากจะไว้ในมุมทิศตะวันออกของตัวเรือนและหันหน้าหิ้งผีไปทางทิศเหนือเสมอ การปลูกเรือนของกูยโดยมากจะหันทางทิศตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ หาก มีความจำเป็นต้องหันทางทิศเหนือและทิศใต้ ให้ดูว่าทิศที่หันไปนั้นมีเรือนอยู่หรือไม่หากมีเรือนปลูกอยู่แล้ว จะหันหน้าไปยังบ้านใกล้เคียง แต่ไม่นิยมปลูกเรือนหันทางทิศตะวันตก (หน้า 29-31) (รายละเอียดเรื่องโครงสร้างบ้านเรือนดูหัวข้อ Art and Craft)

Demography

หนังสือของเลอร์บาร์และคนอื่น ๆ (1964) หน้า 159 บอกว่ามีคนที่พูดภาษากูยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 100,000 คน ส่วนเบอลาฮ์ เอ็ม จอฮ์นสตัน (Beular M. Johnston) ในหนังสือเรื่อง Phonemes and Orthography (ค.ศ.1976) บอกว่ามี 150,000 คน (หน้า 22)

Economy

กูยส่วนใหญ่ไม่นิยมทำไร่ ทำนา บางกลุ่มจะทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่และพืชหัว เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงช้าง (หน้า 27) บางบ้านเลี้ยงหมู ไก่และเป็ดไว้รับประทาน กูยจะดำเนินชีวิตเรียบง่ายด้วยวิธีหาอาหารจากธรรมชาติและปลูกผักไว้บริโภคเอง บางส่วนยังแบ่งปันให้เพื่อนบ้านข้างเคียงในลักษณะพึ่งพากันเองในกลุ่มชน กูยนิยมรับประทานข้าวจ้าวเป็นหลักและจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นครั้งคราว (หน้า 32-33) กูยที่นำช้างมาแสดงในงานช้างสุรินทร์ของทางจังหวัดจะมีรายได้ประมาณ 1,000 บาทต่อเชือก (หน้า 80)

Social Organization

กูยบ้านตากลางอยู่ในระบบสังคมที่มีผู้นำคือ ครูบาใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถสูงและเป็นตำแหน่งสูงสุด ควบคุมผู้ใต้อำนาจที่แสดงทางด้านระบบอุปถัมภ์ต่อกัน (หน้า 87) ครอบครัวกูยจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่และให้ความเคารพผู้อาวุโส ผู้น้อยจะอยู่ในโอวาทของผู้ใหญ่ ในอดีตกูยมีนิสัยชอบย้ายถิ่น เพราะรักสงบ จะโยกย้ายถิ่นฐานของตัวเองไปเรื่อยหากว่าพวกเขารู้สึกสูญเสียความปลอดภัย (หน้า 29 -32) ส่วนการแต่งงานของกูยในอดีตก่อนที่จะมีพิธีการแต่งงานของกูย หนุ่มสาวที่รักชอบพอกันจะเริ่มต้นจากการคุยสาว (วาวกะมอร) การสู่ขอหรือการหมั้น การแต่งงานตลอดจนการปรับตัวของเขยใหม่และการถือผี (หน้า 40)

Political Organization

ไม่ได้ระบุชัดเจน กล่าวเพียงว่าปัจจุบันบ้านตากลางแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 9 มีทั้งหมด 168 หลังคาเรือน และหมู่ 13 มีทั้งหมด 48 หลังคาเรือน (หน้า 84)

Belief System

ในอดีตกูยโดยมากนับถือผีและมีพิธีกรรมที่เชื่อมโยงกับช้าง ช้างเปรียบเสมือนกับทรัพย์สินอันมีค่าของกูย ถือว่าเป็นมรดกที่ผูกพันกับวิถีชีวิต ทุกครอบครัวจะแบ่งช้างให้กับบุตรของตนเมื่อถึงเวลาอันควรก่อนจะโพนช้างกูยจะต้องประกอบพิธีเซ่นไหว้ก่อนทุกครั้งเครื่องบัตรพลีต้องเป็นของสุกกินได้ หากช้างของใครเสียชีวิตก็จะมีการฝังศพเมื่อเวลาผ่านไป 3 ปีจึงขุดกระดูกขึ้นมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลอีกครั้งหนึ่ง (หน้า 28, 62) พิธีกรรมของกูยโดยมากเกี่ยวข้องกับช้าง อาทิ ความเชื่อเกี่ยวกับอุปกรณ์คล้องช้าง ที่สำคัญที่สุดคือเชือกปะกำ เชื่อว่าเป็นที่ สิงของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ผีปะกำจะบันดาลให้โชคดีหรือโชคร้ายในการคล้องช้างได้ พิธีกรรมและการวางตัวบุคคล พิธีกรรมก่อนออกจากบ้าน พิธีประชิ (คือกระบวนการแต่งตัวให้ลูกน้องหรือคนรับใช้ของหมอช้างได้เลื่อนเป็นหมอช้าง) พิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง ข้อปฏิบัติของหมอช้าง พิธีเบิกไพร เป็นต้น (หน้า 45-77) กูยบ้านตากลาง เช่น เชื่อว่าปะกำเป็นสื่อกลางที่สำคัญระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ กูยจะปลูกศาลยะจัวฮเพรียมหรือศาลปู่ตาไว้ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเพราะถือเป็นเทพารักษ์ประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ มีความเชื่อที่เกี่ยวกับชีวิต - การแต่งงานของกูยในอดีตก่อนที่จะมีพิธีการแต่งงานของกูย หนุ่มสาวที่รักชอบพอกันจะเริ่มต้นจากการคุยสาว (วาวกะมอร) การสู่ขอหรือการหมั้น การแต่งงานตลอดจนการปรับตัวของเขยใหม่และการถือผี - การเกิด ในช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์กูยเชื่อว่า ห้ามนั่งขวางประตู เพราะเชื่อว่าจะคลอดลูกยาก ห้ามออกมาดูจันทรุปราคา หรือสุริยุปราคาเพราะเชื่อว่าลูกที่เกิดมาจะพิการ ห้ามทำให้คลอดลูกยาก ข้อห้ามเหล่านี้จะมีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพ ของหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นหลัก - การตาย ขณะที่นำศพใส่โลง สัปเหร่อจะพูดว่าจะให้ไปทางตรง เมื่อเดินทางไปไหนเห็นอะไรขออย่าได้หยิบฉวยเพราะจะเป็น เวรเป็นกรรม หลังจากนั้นจะมีพิธีกรรมทางพุทธศาสนา - พิธีแซนยะจัวะฮ เป็นพิธีเซ่นปู่ตา - พิธีวันสารท เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อเซ่นสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ - พิธีแกลมอ เป็นพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกในสังคมและรักษาอาการป่วย โดยใช้วิธีให้หมอดูเสี่ยงทายว่าเป็นการกระทำจากสิ่งไม่มีตัวตน (หน้า 39 - 54)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุชัดเจน กล่าวเพียงว่าเมื่อชาวบ้านเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาจะคิดว่าเป็นการกระทำของภูตผีหรือคนป่วยนั้นทำผิดผี มีพิธีแกลมอใช้รักษาอาการป่วย จะใช้วิธีให้หมอดูเสี่ยงทายว่าเป็นการกระทำจากสิ่งไม่มีตัวตน (หน้า 49-50)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การสร้างบ้านเรือนหรือ "ดุง" ของกูยมีลักษณะของเรือนไม้เสา 9 ต้นแบ่งเป็น 3 ห้องใต้ถุนสูงใช้ทำเป็นที่เลี้ยงสัตว์ เรือนในอดีตจะใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติสร้างเรือนด้วยภูมิปัญญาอันเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของกลุ่มชน วัสดุที่ใช้สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมและลักษณะของครอบครัว ถ้าสมาชิกในครอบครัวมากจะปลูกสร้างบ้านในลักษณะเรือนแฝด 2-3 หลัง มีจั่ว 2-3 จั่วมีบันไดทางขึ้นเพียงบันไดเดียว มีช่องลมรอบบ้านเพียงเจาะช่องเล็ก 1-2 ช่องสำหรับมองออกไปข้างนอกแต่ไม่นิยมทำหน้าต่าง ไม่นิยมปลูกเรือนหันทางทิศตะวันตก (หน้า 30) หน้าบ้านของกูยเลี้ยงช้างจะมีศาลปะกำไว้หน้าบ้านทุกหลัง (หน้า62) ส่วนการแต่งกายในปัจจุบันนิยมนุ่งห่มเครื่องแต่งกายตามสมัยนิยม ผู้หญิงสูงอายุกูยส่วนใหญ่จะนุ่งผ้าที่มีลายเป็นแบบเฉพาะและใส่เสื้อคอกระเช้าธรรมดาบางคนใส่เสื้อแบบชาวบ้านทั่วไป หญิงสูงอายุมักจะชอบใส่สร้อยคอลูกปัดพลาสติกบ้าง เงินบ้างที่หูจะนิยมใส่ดอกไม้หอมไว้ที่ติ่งหูที่เจาะเอาไว้ (หน้า 33-34) ส่วนหมอช้างจะมีเครื่องแต่งกายเฉพาะ พวกมะและหมอช้างระดับจาไม่มีสิทธิ์สวมเสื้อ จะให้นุ่งผ้าเตี่ยวผืนเดียว ส่วนพวกหมอช้างระดับที่ 1-3 จะนุ่งผ้าไหมโจงกระเบนห้ามมีลวดลาย สวมเสื้อหรือมีผ้าขาวม้าเบี่ยง 2 ผืน มีหัวซิ่นลายขิดห่อเครื่องรางของขลังคาดเอว (หน้า 73)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

หากพิจารณาถึงสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชนในเชิงพลวัตแล้วจะเห็นได้ว่า กูยต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะหาร่อง รอยความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่บริสุทธิ์ไม่ได้ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การแต่งงานข้ามกลุ่มวัฒนธรรม การรับเอาระบบความเชื่อหรือประเพณีและวัฒนธรรมบางประการของเขมรและลาว จนกลายเป็นจารีตถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพราะระบบความเชื่อของกลุ่มชนทั้งหลายนี้มีแนวปฏิบัติและบทบาทต่อสังคมคล้ายกัน (หน้า 24) เรือนในอดีตจะใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติสร้างเรือนด้วยภูมิปัญญาอันเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของกลุ่มชน วัสดุที่ใช้สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมและลักษณะของครอบครัวแต่ในปัจจุบันกูยที่มีฐานะทางครอบครัวดีนิยมปลูกเรือนสมัยใหม่ มีลักษณะสองชั้นกึ่งไม้กึ่งปูนหรือปูนทั้งหลัง สำหรับครอบครัวที่ขัดสนจะปลูกบ้านคล้ายเพิงหรือกระท่อมสังกะสีหรืออาจจะมีฝาผนังขัดแตะด้วยไม้ไผ่ พื้นบ้านปูด้วยไม้เนื้อแข็ง(หน้า 30-31) การแต่งงานของกูยในอดีตก่อนที่จะมีพิธีการแต่งงานของกูย หนุ่มสาวที่รักชอบพอกันจะเริ่มต้นจากการคุยสาว (วาวกะมอร) การสู่ขอหรือการหมั้น การแต่งงานตลอดจนการปรับตัวของเขยใหม่และการถือผี แต่ปัจจุบันประเพณีการแต่งงานเริ่มเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม ไท-ลาวในการประกอบพิธีกรรมหรือการแสดงออกทางความรักของหนุ่มสาวยุคใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก แต่ไม่นิยมแต่งงานในช่วงเข้าพรรษา (หน้า 40, 43)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพแผนที่แสดงการกระจายของกูยในอำเภอท่าตูม(25), การเตรียมการและภาพในงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์(93-95), รอนแรมร่อนเร่วิถีของกูยอาจึง(96), เมื่อมีนักท่อง เที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านผู้หญิงจะออกมาขายอาหารช้าง(97), หลวงพี่หาญ ภิกษุวัดป่าที่ศรัทธาของกูยอาจึง(99), รูปทรงบ้านของชาวอาจึงสมัยก่อนที่ยังอาศัยอยู่จนทุกวันนี้ (100), วิถีชีวิตเกี่ยวกับการทอผ้า(101-103), บริเวณหมู่บ้านตากลางตรงพื้นที่ทำนาท้ายหมู่บ้าน(104), กิจกรรมเกี่ยวกับช้างและงานบวชนาคประจำปี(105-109), วังทะลุบริเวณที่แม่น้ำมูลและลำชีบรรจบกัน(110), ศาลปู่ตาหรือยะจัวะฮเพรียมที่เคารพของคนทั้งหมู่บ้าน(111), ทุกครั้งที่มีการอุปสมบทชายกูยจะมาเซ่นสรวงยะจัวะฮเพรียมเสมอ (112), การตระเตรียมเครื่องเซ่นไหว้(113-114), หลังจากพานาคขี่หลังมาจนถึงดอนปู่ตาบริเวณวังทะลุควาญช้างจะพาช้างของตัวลงเล่นน้ำ(115), แม่หวล เสาวรส หญิงกูยที่มีความคิดก้าวหน้ายอมให้ลูกสาวของเธอออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน(116), กล้วยช้ำที่นำมาเป็นอาหารช้าง(117), มูลนิธิเพื่อนช้างเข้าไปตรวจโรคและฝังไมโครชิพให้ช้านในหมู่บ้าน(118), นำเลือดช้างไปตรวจและหาโรค(119), งานบวชนาคบ้านตากลาง(120-121), เอี่ยม ศาลางาม ปัจจุบันทำงานร่วมกับมูลนิธิโครงการพัฒนาประชากรและชนบทโดยนำช้างของตนไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ ให้เด็กรักสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า(122), ช้างของเอี่ยม ศาลางาม (124-125), ยามเย็นบริเวณวังทะลุ หากช้างอยู่ในหมู่บ้านเจ้าของจะต้องพามาอาบที่นี่(126), สัตว์เลี้ยงของเด็กชายบ้านตากลางคือช้างที่เติบโตมาพร้อมๆ กัน(127), บางครั้งลูกช้างที่ไม่ค่อยดื้อจะได้รับการปล่อยโซ่และเดินป้วนเปี้ยนอยู่กับคน(128), ศาลประกำจะถูกสร้างไว้หน้าบ้านของกูยอาจึงโดยไม่มีการรื้อสร้างใหม่(129), ผู้ใหญ่ดา จงใจงามอดีตผู้ใหญ่บ้านตากลางที่นับถือของกูยอาจึง(130), พลายทองใบ ช้างที่สวยที่สุดของบ้านตากลางของผู้ใหญ่ดา จงใจงาม(131), พลายทองใบกับควาญช้างที่รู้ใจก่อนเดินทางออกนอกหมู่บ้าน(132), ศาลปะกำรวมของบ้านตากลางตั้งอยู่ที่ศูนย์คชศาสตร์(133), ลักษณะศาลปะกำของกูยอาจึงตามบ้านจะเป็นที่เก็บเครื่องมือคล้องช้างด้วย(134), ศาลปะกำเป็นสถานที่ต้องห้ามของผู้หญิงทุกคน(135), ทามที่รัดคอช้าง(136), กูบสำหรับนั่งช้างของนักท่องเที่ยวปัจจุบัน(138), ก่อนจะใส่กูบจะต้องปูเยื่อไม้รองหละงช้างหลายๆ ชั้นเพื่อกันช้างเจ็บ, ขอสับของควาญเพื่อบังคับเวลาช้างดื้อ(138), กระดูกคางไก่ใช้เสี่ยงทายทุกครั้งที่กูยอาจึงจะเดินทางออกจากบ้าน(139), เชือกปะกำสมัยก่อนจะทำจากเถาวัลย์และหนังควายตากแห้ง(140)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG กูย, ระบบการผลิต, พัฒนาการทางสังคม, การปรับตัว, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง