สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย กวย,ความเชื่อ,ประเพณีบวชนาคช้าง,สุรินทร์
Author นฤมล จิตต์หาญ
Title ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้างของชาวกูย : กรณีศึกษาหมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 90 Year 2546
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

การบวชนาคช้างของกูย หมู่บ้านตากลาง เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความเชื่อด้านพุทธศาสนาและความเชื่อในบรรพบุรุษ ความเชื่อด้านพุทธศาสนาเป็นเพราะกูยบ้านตากลางนับถือศาสนาพุทธ มีความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด การทำดีจะทำให้ไปเกิดในที่ที่ดี การที่บุตรหลานผู้ชายได้บวชเรียนหลักธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจะผลดีต่อผู้ปฏิบัติ ตลอดจนจะเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาด้วย และโดยตามความเชื่อของพุทธศาสนิกาชนทั่วไปแล้วบิดามารดาก็จะได้รับผลบุญจากการบวชของลูก เมื่อเสียชีวิตวิญญาณของบิดามารดาจะได้จับชายผ้าเหลืองของบุตรขึ้นสวรรค์ ดั้งนั้นในครอบครัวที่มีบุตรชายจึงมีความต้องการให้ได้รับการบวชเรียน (หน้า 87)

กูยมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วจะยังคงเฝ้าดูแลบุตรหลาน และจะช่วยให้บุตรหลานดำเนินชีวิตไปอย่างราบรื่น โดยกูยจะเรียกสิ่งเคารพสูงสุดว่า “ผีปะกำ” เพราะเชื่อว่าวิญญาณบรรพบุรุษจะสถิตย์อยู่ที่เชือกปะกำ (เชือกสำหรับคล้องช้างในสมัยโบราณ) ดังนั้นจึงมีการสร้าง “สาลปะกำ” ไว้ในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่มีการเลี้ยงช้างจะไม่มีไม่ได้ และในบริเวณวังทะลุจะมีการสร้าง “ศาลปูตาวังทะลุ” สำหรับไว้เชือกปะกำและทำพิธีเซ่นในพิธีกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ และหากในครอบครัวหรือชุมชนจะประกอบพิธีกรรมใดๆ ก็ตามจะต้องมีพิธีกรรมบอกกล่าวบรรพบุรุษ หรือที่เรียกว่า “การเซ่นผีปะกำ” ก่อนเสมอ การที่กูยมีความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษช่วยให้กูย หมู่บ้านตากลาง ซึ่งมีจำนวนน้อยในสังคมใหญ่ยังคงมีความผูกพัน มีการรักษาวัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง ภาษาพูด และวิถีชีวิตตามแบบอย่างดั้งเดิมอย่างเหนียวแน่น (หน้า 87, 88)

ความเชื่อด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบวชนาคช้างนั้น มีความสัมพันธ์และผสามกลมกลืนระหว่าง 2 ความเชื่อ คือ ความเชื่อในหลักพระพุทธศาสนา และความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษ โดยกูย หมู่บ้านตากลางไม่ได้ละเลยองค์ประกอบสำคัญตามความเชื่อในพิธีกรรมสำคัญต่างๆ แต่เป็นการนำมาผสมผสานให้เข้ากับวิถีชีวิต โดยจะเห็นได้จากพิธีกรรมอุปสมบท ที่ได้มีการจัดเตรียมเครื่องใช้ต่างๆ และขั้นตอนการบวชที่ถูกต้องตามแบบอย่างชาวพุทธทั่วไป แต่มีการเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นความเชื่อของกลุ่มตนไว้ด้วย เช่น การเซ่นศาลปู่ตาวังทะลุ เป็นต้น ดังนั้นการที่มีพิธีการบวชนาคช้างของกูย หมู่บ้านตากลางนั้น จึงเป็นการแสดงออกถึงการผสมกลมกลืนของสองความเชื่ออย่างลงตัว และเป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวกูยอย่างแท้จริง

Focus

ประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ ขั้นตอนเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้างของกูย และความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้างของกูย หมู่บ้านตากลาง จ.สุรินทร์ (หน้า 6)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์กูย หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ผู้ศึกษากำหนดระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าเป็น 3 ช่วง ต่อไปนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและศึกษาข้อมูลภาคสนาม เพื่อประกอบการเขียนโครงการศึกษา 1 สิงหาคม 2544 - 30 กันยายน 2544 ระยะที่ 2 สร้างเครื่องมือ ศึกษาประสิทธิภาพ และดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนาม 1 พฤศจิกายน 2544 - 31 มีนาคม 2545 ระยะที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผล และเขียนการศึกษาค้นคว้าอิสระ 1 เมษายน 2545 - 30 กันยายน 2545 (หน้า 8)

History of the Group and Community

มีข้อสันนิษฐานว่า กูยเป็นชนเผ่าเขมรเดิมพวกหนึ่ง เรียกว่าเชื้อชาติมุณฑ์ ซึ่งอพยพมาจากอินเดียเมื่อครั้งถูกอารยันรุกราน โดยอพยพมาทางตะวันออกจากลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) และแม่น้ำของ (โขง) ตอนบน พวกที่อพยพไปทางลุ่มแม่น้ำคง กลายเป็นบรรพบุรุษพวกมอญหรือรามัญ ส่วนพวกที่อพยพไปตามลุ่มแม่น้ำของ(โขง) บางพวกไปอาศัยอยู่ตามที่ราบสูงแถบเทือกเขาพนมดงรัก บางพวกไปถึงที่ราบต่ำบริเวณทะเลสาบใหญ่และชายทะเล ต่อมากลายเป็นบรรพบุรุษของพวกเขมรหรือแขมร์ และพวกที่อยู่ตามป่าเขาต่างๆ เรียกว่า ลั๊ว ข่า ขมุ ส่วย กวย หรือ กูย แตกต่างกันไป ในช่วงศตวรรษที่ 18-20 ได้มีอาณาจักรชนเผ่ากูยตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ ทางตอนใต้ของลาว และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา โดยมีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีใครพูดถึงเพราะกลุ่มกูยถูกทำลายโดยกลุ่มคนไทยในประเทศลาวและกลุ่มเขมรในประเทศกัมพูชา หรือถูกผสมกลมกลืนกันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มลาวและเขมร กูยจึงสลายไป กูยที่เหลืออยู่บางส่วนได้ผนวกเข้าเป็นทาสรับใช้ของฝ่ายชนะ และบางส่วนได้อพยพเข้าไปอยู่ในที่ปลอดภัย ที่เป็นอิสระจากการปกครองของเผ่าอื่น โดยบางส่วนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักฐานในเขตที่ว่างเปล่าทางอีสานตอนใต้ของประเทศไทยปัจจุบัน ต่อมาดินแดนส่วนนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทย และกูยที่อาศัยอยู่ในถิ่นนี้กลายสภาพเป็นคนไทยและถูกคนไทยในสมัยอยุธยาเรียกว่า “เขมรป่าดง” และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า “ส่วย” มาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 24) กูยบ้านตากลาง เป็นกลุ่มกูยที่มีหลักฐานเดิมอยู่ที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) ได้แก่ กลุ่มของเชียงสง ได้เดินทางเข้ามาคล้องช้างป่าในเขตบ้านตากลางปัจจุบัน เพราะพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งที่ช้างป่าเข้ามาหากินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารและยารักษาโรคของช้าง โดยกูยกลุ่มเชียงสงได้รับความช่วยเหลือจากคนที่ตั้งหลักฐานอยู่เดิม คือ ตากัง ได้เข้ามาคล้องช้างเป็นประจำ จึงเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งหลักฐานจนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ และได้ตั้งชื่อตามผู้อยู่อาศัยเดิมคือ “บ้านตากัง” ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนกันมาเป็น “บ้านตากลาง” จนมาถึงปัจจุบัน (หน้า 27)

Settlement Pattern

กูยสร้างหมู่บ้านอยู่กันเป็นกลุ่ม บ้านเรือนของกูยไม่ค่อยจะประณีต ในทัศนะของผู้วิจัย กูยมีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างล้าหลังเมื่อเปรียบเทียบกับเขมร ลาว และไทย (หน้า 25)

Demography

หมู่บ้านตากลางแยกการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 13 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 203 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 983 คน โดยแบ่งออกเป็น หมู่ที่ 9 จำนวนประชากรชาย 296 คน ประชากรหญิง 336 คน รวมทั้งสิ้น 632 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 133 ครัวเรือน หมู่ที่ 13 จำนวนประชากรชาย 177 คน ประชากรหญิง 174 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 70 ครัวเรือน (หน้า 30)

Economy

หมู่บ้านตากลาง อาชีพส่วนใหญ่ได้จากการประกอบอาชีพการทำนา การทำสวน การทำไร่ การค้าขาย การทอผ้า รับจ้าง และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย และช้าง ซึ่งถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำรายได้และสร้างชื่อเสียงให้กับหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของช้าง ซึ่งกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่หมู่บ้านตากลาง ได้แก่ การนำช้างออกเดินเที่ยว ประมาณวันละ 1,000-3,000 บาท การนำช้างร่วมงานประเพณี เช่น งานกฐิน ผ้าป่า งานบวช ประมาณเชือกละ 3,000-5,000 บาท งานแสดงช้างประจำปี ประมาณเชือกละ 3,000-5,000 บาท การขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากช้าง มีกำไรประมาณชิ้นละ 50-100 บาท การนำช้างไปแสดงในสวนสนุกและต่างประเทศ ประมาณเดือนละ 10,000-15,000 บาท (หน้า 32)

Social Organization

ลักษณะการดำรงชีวิตเป็นแบบสังคมชนบท อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง (หน้า 30) จากการที่กูยมีความเชื่อเกี่ยวและพิธีกรรมกับบรรพบุรุษร่วมกัน ทำให้กูยในหมู่บ้านตากลางซึ่งเป็นชน กลุ่มน้อยในสังคมส่วนใหญ่ มีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น (หน้า 88)

Political Organization

ชุมชนกูยปกครองกันด้วยระบบอาวุโส กล่าวคือ ผู้อาวุโสจะได้รับความเคารพนับถือ (หน้า 30)

Belief System

กูย ส่วนใหญ่จะเป็นความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมที่ผูกพันกับการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น เรื่องปะกำ ผีปู่ตา ผีเจ้าเข้าทรง เสน่ห์ยาแฝด และเครื่องลางของขลัง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามสภาพแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน แต่ผีปะกำยังคงมีความสำคัญและเป็นที่นับถืออยู่ (หน้า 36) กูยบ้านตากลางนับถือศาสนาพุทธ และมีวัดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ 1 แห่ง ได้แก่ วัดแจ้งสว่าง นอกจากนี้ยังมีสำนักสงฆ์ 1 แห่ง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านในการประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ (หน้า 36) นอกจากนั้น กูยที่นับถือพระพุทธศาสนายังมีความเชื่อว่า ผู้ใดที่มีบุตรหลานได้บวชเรียน จะส่งผลบุญต่อผู้เป็นบิดามารดา เมื่อเสียชีวิตไป วิญญาณจะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ (หน้า 85) โดยกูยมีความเชื่อว่า การบวชบุตรหลานจะกระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา เพราะเชื่อว่า การบวชในวันดังกล่าว เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ผู้ใดได้บูชาด้วยการปฏิบัติตามผู้นั้นจะเห็นพระพุทธเจ้า (หน้า 38) และเชื่อว่าผู้ใดได้บวชและแห่นาคโดยใช้ช้าง จะได้บุญและได้ขึ้นสวรรค์ อีกทั้งกูยยังถือว่าช้างมีบุญคุณต่อตนเองและครอบครัว เพราะเป็นสิ่งที่ใช้ในการประกอบอาชีพและมีการเกี่ยวพันกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ (หน้า 39) ประเพณีพิธีกรรมบวชนาคช้างของกูย เป็นประเพณีเก่าแก่ มีองค์ประกอบ 4 อย่างดังต่อไปนี้ ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำในการประกอบพิธี ได้แก่ พระสงฆ์ หมอพราหมณ์ ครูบาใหญ่ และกลุ่มผู้เข้าร่วมพิธี ได้แก่ บิดามารดา นาค ญาติผู้ใหญ่ วันและเวลาในการประกอบพิธีกรรม จัดขึ้นในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยมีกำหนดวันทำพิธี 3 วัน ได้แก่ วันโฮม วันแห่นาค และวันอุปสมบท สถานที่ในการประกอบพิธีกรรม แบ่งเป็น 3 แห่ง ได้แก่ - วัดแจ้งสว่าง เป็นที่ประกอบพิธีโกนผม พิธีบายศรีสู่ขวัญใหญ่ - บ้าน เป็นที่ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญเล็ก - วังทะลุ เป็นที่ประกอบพิธีเซ่นขอขมาเจ้าพ่อวังทะลุ - เครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรม แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ - เครื่องใช้ในพิธีโกนผม - เครื่องใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญนาค - เครื่องใช้ในพิธีแห่นาค - เครื่องใช้ในพิธีเซ่นขอขมา - เครื่องใช้ในพิธีอุปสมบท (หน้า 85,86) ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมบวชนาคแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการและขั้นดำเนินการ ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการก่อนวันบวช โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก่อนวันบวช เพื่อไม่ให้มีสิ่งใดผิดพลาด โดยมีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มชาวบ้านที่เป็นแกนนำ และครอบครัวที่จะนำบุตรชายเข้าร่วมพิธีบวชมาร่วมกันวางแผนประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย (หน้า 53) ขั้นดำเนินการ ประเพณีบวชนาคช้าง ใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 4 วัน วันแรกเป็นวันเตรียมความพร้อมของสถานที่ เครื่องเซ่น เครื่องอุปสมบท วันที่สองเป็นวันโฮม หรือวันประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญเล็ก บายศรีสู่ขวัญใหญ่ วันที่สามเป็นวันแห่นาคและขอขมาต่อเจ้าพ่อวังทะลุ วันที่สี่เป็นวันอุปสมบท (หน้า 55) ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้าง แบ่งเป็น 5 หัวข้อ คือ 1. ความเชื่อเกี่ยวกับบุคคลในการประกอบพิธีกรรม กลุ่มผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เช่น พระสงฆ์ มอ(หมอพราหมณ์) ครูบาใหญ่ และกลุ่มผู้เข้าร่วมในพิธี เช่น บิดามารดาของนาค ญาติพี่น้อง และคนในชุมชน จากกลุ่มบุคคลทั้งสอง ทำให้จำแนกความเชื่อออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.1 ความเชื่อในการนับถือศาสนา กูยบ้านตากลางยึดหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ในเรื่องเกี่ยวกับการอุปสมบท ซึ่งคล้ายคลึงกับชุมชนอื่น (หน้า 75) 1.2.ความเชื่อในการนับถือบรรพบุรุษ ชุมชนกูยมีความผูกพันกับช้างแนบแน่นตามฐานะอายุของช้าง ถ้าช้างมีอายุมากจะเปรียบเสมือนเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ ถ้าช้างมีอายุน้อยจะเปรียบช้างเสมือนลูกหลาน กูยได้ปลูกฝังลูกหลานให้เคารพยึดถืออย่างเคร่งครัด โดยให้ยึดถือ “ศาลปะกำช้าง” โดย “ศาลปะกำ” เป็นที่สิงสถิตย์ของบรรพบุรุษ ซึ่งช้างเป็นส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษ การเคารพช้างจึงเท่ากับเคารพศาลปะกำ การเคารพศาลปะกำจึงเท่ากับเคารพบรรพบุรุษ (หน้า 76) 2.ความเชื่อที่เกี่ยวกับวันและเวลาในการประกอบพิธีกรรม วันและเวลาที่จัดงานประเพณีบวชนาคช้าง คือ วันขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือนหกของทุกปี มีความเชื่อว่าการบวชในวันนี้จะได้เห็นพระพุทธเจ้าและเป็นการเดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หน้า 86) นอกจากนี้กูย บ้านตากลาง ได้มีการนำความเชื่อทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการนับถือผีบรรพบุรุษ มาเป็นกลไกในการขัดเกลาทางสังคม กล่าวคือ เมื่อถือผีปะกำแล้วจะต้องเคารพอย่างเคร่งครัดในศีลธรรมสูง ไม่ลักทรัพย์ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ประพฤติผิดทางเพศ ไม่พูดเท็จ ไม่มีความลับในหมู่กูยด้วยกัน มีความเคารพนอบน้อมเชื่อฟังผู้นำ และไม่ทะเลาะวิวาทกัน (หน้า 36) 3.ความเชื่อที่เกี่ยวกับสถานที่ในการประกอบพิธีกรรม ได้แก่ บ้าน วัด และวังทะลุ ถือว่าเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน 4.ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรม เป็นเครื่องใช้ที่ใช้ในพิธีกรรมจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิได้ เพราะจะไม่เป็นมงคลแก่ตัวเองและชุมชน ประกอบด้วย เครื่องใช้ในพิธีโกนผม เครื่องใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญใหญ่ เครื่องใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญเล็ก เครื่องใช้ในการแห่นาค เครื่องอุปสมบท และเครื่องเซ่นขอขมา 5. ความเชื่อเกี่ยวกับขั้นตอนของพิธีกรรม ซึ่งแบ่งเป็น ขั้นเตรียมการ และขั้นดำเนินการ โดยเชื่อว่า ผู้ใดได้เข้าร่วมในขั้นตอนหรือได้มีส่วนเกี่ยวข้องในพิธี จะถือว่าได้ผลบุญมหาศาล (หน้า 86) 6. ความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ช้างในการประกอบพิธีกรรม เชื่อว่าการได้นั่งช้างแห่นาคจะได้รับอานิสงส์เพราะเป็นการเดินตามรอยองค์พระสัมมาพระพุทธเจ้าที่ทรงม้ากัณฑกะไปผนวชที่แม่น้ำอโนมา จึงมีการใช้ช้างเป็นพาหนะในการแห่นาค (หน้า 82) และเป็นการแสดงถึงบารมีของผู้บวชว่าเป็นผู้มีบุญ (หน้า 89) นอกจากนี้กูยรักและดูแลช้างเปรียบเสมือนลูกหรือสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นหากจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ต้องมีขบวนการแห่นาคด้วยการขี่ช้าง บางทีเรียก “ขี่ช้างแห่นาค” ชาวบ้านเรียกว่า “งานบวชนาคช้าง” (หน้า 4)

Education and Socialization

หมู่บ้านตากลาง ได้จัดการศึกษาทั้งในระดับก่อนประถมศึกษาโรงเรียนแจ้งสว่าง ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนช้างบุญวิทยา

Health and Medicine

หมู่บ้านตากลาง มีสถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ จำนวน 2 คน (หน้า 35)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในอดีตกูยแต่งกายแบบพื้นบ้าน คือผู้ชายไม่สวมเสื้อ มีผ้าขาวม้าพาดไหล่ นุ่งโจงกระเบน มีผ้าคาดเอว ส่วนผู้หญิงนิยมสวมเสื้อแขนกระบอกสี่ส่วนสีดำ นุ่งซิ่นสีดำ ด้านหัวซิ่นและตีนซิ่น มีการนำผ้าไหมลายสีแดงมาติดทำเป็นเชิง แต่ในปัจจุบันการแต่งกายไม่ได้มีลักษณะเฉพาะตามวัฒนธรรมดั้งเดิม (หน้า 25)

Folklore

คติชน ชางกูยมีตำนานเกี่ยวกับการบวชนาค อันเนื่องมาจากประวัติทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบวชพระว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น ครั้งหนึ่งขณะที่พระองค์แสดงธรรมเทศนาแก่ภิกษุ พญานาคตนหนึ่งได้ขึ้นมายังโลกมนุษย์ และได้ฟังธรรมเทศนาครั้งนั้น จึงเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง จึงแปลงร่างมาเป็นชายหนุ่มและมาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุกับพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบว่าเป็นพญานาคแปลงร่างมาจึงบวชให้ เพราะในบัญญัติของพระธรรม ห้ามมิให้สัตว์เดรัจฉานบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพญานาคบวชเป็นพระภิกษุแล้ว วันหนึ่งขณะนั่งทำสมาธิร่างกายได้กลับกลายเป็นนาคดังเดิม จนพระภิกษุอื่นมาเห็นจึงแตกตื่น จากนั้นได้นำความไปบอกพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงให้พญานาคสึกจากการเป็นพระภิกษุ พญานาคมีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก จึงได้กล่าวขอพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนมีส่วนร่วมในการบวชเป็นพระภิกษุด้วย โดยก่อนที่จะมีการบวชเป็นพระภิกษุ ขอให้ผู้ที่จะบวชเข้าพิธีบวชนาคโดยใส่ชุดขาวและทำพิธีสู่ขวัญนาคก่อนที่จะบวชและห่มผ้าเหลือง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต นับแต่นั้นการบวชเป็นภิกษุ จึงมีการบวชเป็นนาคก่อน หรือเรียกว่าพิธี “บวชนาค” ในปัจจุบัน (หน้า 4)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ผู้ศึกษาได้มีการใช้แผนที่เป็นภาพประกอบในการแสดงข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ที่ศึกษา และใช้ภาพประกอบแสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ดังนี้ - ภาพประกอบ 1 แผนที่จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 23) - ภาพประกอบ 2 แผนที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 26) - ภาพประกอบ 3 ทางเข้าสู่บ้านตากลาง (หน้า 28) - ภาพประกอบ 4 วังทะลุ (หน้า 28) - ภาพประกอบ 5 สภาพป่าบ้านตากลาง (หน้า 29) - ภาพประกอบ 6 สภาพถนนภายในหมู่บ้าน (หน้า 31) - ภาพประกอบ 7 สภาพความเป็นอยู่ภายในหมู่บ้าน (หน้า 31) - ภาพประกอบ 8 ช้างออกเดินเที่ยว (ช้างเดินหารายได้) (หน้า 32) - ภาพประกอบ 9 ช้างร่วมงานแสดงช้างประจำปี จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 33) - ภาพประกอบ 10 ช้างดาราชื่อ “ทองใบ” ช้างที่สร้างรายได้ให้แก่หมู่บ้าน (หน้า 34) - ภาพประกอบ 11 ถังประปาหมู่บ้าน (หน้า 35) - ภาพประกอบ 12 วัดแจ้งสว่าง (หน้า 37) - ภาพประกอบ 13 พระครูมงคลรัตนากร (สุข วิสุทโธ) เจ้าอาวาสวัดบ้านตระมูง (หน้า 41) - ภาพประกอบ 14 มอ(พราหมณ์) พิธีบายศรีสู่ขวัญใหญ่ นายบุญมี สุขศรี (หน้า 42) - ภาพประกอบ 15 มอ(พราหมณ์) พิธีบายศรีสู่ขวัญเล็ก นายพลอย แสนดี (ขวา) (หน้า 42) - ภาพประกอบ 16 ครูบาใหญ่ นายหมิว ศาลางาม (ซ้าย) และนายบุญมา แสนดี (ขวา) (หน้า 43) - ภาพประกอบ 17 เครื่องใช้ในพิธีโกนผม (หน้า 45) - ภาพประกอบ 18 พานบายศรีสู่ขวัญและเครื่องเซ่น (หน้า 46) - ภาพประกอบ 19 จอมขรู (หน้า 48) - ภาพประกอบ 20 ถังข้าว (หน้า 48) - ภาพประกอบ 21 กระจอม (หน้า 49) - ภาพประกอบ 22 ลักษณะการแต่งกายของนาคกูย (หน้า 50) - ภาพประกอบ 23 เครื่องเซ่นขอขมาศาลปู่ตาวังทะลุ (หน้า 52) - ภาพประกอบ 24 ผู้ที่จะบวชนาครวมกันที่วัดแจ้งสว่าง (หน้า 56) - ภาพประกอบ 25 ผู้ที่จะบวชนาคทำพิธีขอขมาบิดามารดา (หน้า 58) - ภาพประกอบ 26 บิดาโกนผมนาค (หน้า 57) - ภาพประกอบ 27 นาครวมตัวกันที่ศาลากลางเปรียญวัดแจ้งสว่าง (หน้า 60) - ภาพประกอบ 28 มอ ผูกด้ายมงคล (หน้า 60) - ภาพประกอบ 29 มอ เสี่ยงทายกระดูกคางไก่ (หน้า 61) - ภาพประกอบ 30 พิธีบายศรีสู่ขวัญเล็ก นาคจำเริญ ศาลางาม (หน้า 62) - ภาพประกอบ 31 มอ ทำพิธีเรียกขวัญนาค (หน้า 63) - ภาพประกอบ 32 ควาญช้างแต่งตัวให้ช้างเพื่อเข้าร่วมพิธีแห่นาค (หน้า 64) - ภาพประกอบ 33 บิดาแต่งตัวให้นาค (หน้า 65) - ภาพประกอบ 34 พิธีเกิดงานพิธีบวชนาคช้างบ้านตากลาง (หน้า 66) - ภาพประกอบ 35 ผู้ศึกษากับขบวนบวชนาคช้างบ้านตากลาง (หน้า 67) - ภาพประกอบ 36 ขบวนบวชนาคช้าง (หน้า 67) - ภาพประกอบ 37 พิธีอาบน้ำให้ช้าง (หน้า 68) - ภาพประกอบ 38 พิธีเซ่นขอขมาศาลปู่ตาวังทะลุ (หน้า 69) - ภาพประกอบ 39 พิธีเข้ารับศีลจากพระกรรมวาจาจารย์ (หน้า 72)

Text Analyst ศักดิ์พันธ์ คำหริ่ม Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG กูย กวย, ความเชื่อ, ประเพณีบวชนาคช้าง, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง