สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย กวย(ส่วย),การอพยพย้ายถิ่น,วัฒนธรรม,สุรินทร์
Author กรรณิการ์ สุขสวัสดิ์
Title การอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มชนส่วยบ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2506 - 2537
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 126 Year 2541
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นสังคมศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ผู้เขียนศึกษาและอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการอพยพของส่วยบ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ แบ่งช่วงเวลาเป็น 2 ช่วง คือ 1.ในช่วงปี พ.ศ. 2506-2521 จะเป็นส่วยที่อพยพมาจากอำเภอศีขรภูมิ อำเภอจอมพระ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้เขียนได้กล่าวถึงลักษณะการอพยพ ของผู้อพยพกลุ่มแรกนี้ในเรื่องของระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สินดั้งเดิมก่อนอพยพ ทรัพย์สินที่นำมาระหว่างการอพยพ จำนวนสมาชิกในครอบครัวก่อนอพยพและที่อพยพมาพร้อมครอบครัว (หน้า 24-26) รูปแบบลักษณะการอพยพและพาหนะ ที่ใช้ในการอพยพ (หน้า 40-42) ในช่วงปี พ.ศ. 2521 ได้อพยพกลับไปภูมิลำเนาเดิมเนื่องจาก หนีภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ 2. ช่วงเวลา พ.ศ. 2525-2537 ได้อพยพกลับมาบ้านโพนทองอีกครั้ง เนื่องจากภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์สงบลง (หน้า 3) กองกำลัง สุรนารีส่วนแยกจังหวัดสุรินทร์เข้าเคลียร์พื้นที่และตั้งค่ายขึ้นที่บริเวณช่องจอมชายแดนกัมพูชา บ้านโพนทองจึงกลับ อยู่ในภาวะปกติ (หน้า 71) ผู้เขียนได้กล่าวถึงลักษณะการอพยพของผู้อพยพกลุ่มแรกนี้ในเรื่องของระดับการศึกษา อาชีพ ทรัพย์สินดั้งเดิมก่อนอพยพ ทรัพย์สินที่นำมาระหว่างการอพยพ จำนวนสมาชิกในครอบครัวก่อนอพยพและที่อพยพมาพร้อมครอบครัว (หน้า 71-73) การอพยพในช่วงนี้มีความสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากมีเส้นทางคมนาคมผ่านถึงหมู่บ้าน ผู้เขียนได้กล่าวถึงรูปแบบลักษณะ การอพยพและพาหนะที่ใช้ในการอพยพ (หน้า 82-83)

Focus

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอพยพย้ายถิ่นและสภาพความเป็นอยู่ของส่วย บ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอ กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2537 โดยแบ่งการอพยพเป็น 2 ช่วง คือ 1. การอพยพย้ายถิ่น พ.ศ. 2506-2521 2. การอพยพย้ายถิ่น พ.ศ. 2525-2537 และ สภาพความเป็นอยู่ อันได้แก่ ลักษณะครอบครัว ลักษณะการตั้งชุมชน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค พิธีกรรม ได้แก่ พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด พิธีกรรมเกี่ยวกับการบวช พิธีกรรมเกี่ยวกับการ แต่งงาน พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ศึกษากลุ่มส่วย ซึ่งเรียกตนเองว่า "ส่วยแซ" หมายความถึงส่วยที่ทำนา ที่บ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบ เชิง จังหวัดสุรินทร์ 2 ประเภท คือ 1. ผู้รู้ในหมู่บ้าน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ที่เกี่ยวข้องกับการอพยพในช่วงปี พ.ศ. 2506 จำนวน 5 คน เฒ่าขะจ้ำ 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน เลือกจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการอพยพในช่วง พ.ศ. 2506-2537 จำนวน 5 คน เจ้าอาวาส 1 รูป 2. ประชากรที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เลือกจากกลุ่มที่อพยพมาในช่วง พ.ศ. 2506-2521 จำนวน 50 คน และเลือกจากกลุ่มที่อพยพมาในช่วง พ.ศ. 2525-2537 จำนวน 146 คน

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาส่วย และภาษาไทยภาคกลาง (หน้า 5 และหน้า 22) ภาษาที่ใช้เป็นภาษาประจำวันในหมู่บ้าน คือ ภาษาส่วย แต่เมื่อพูดกับหมู่บ้านใกล้เคียงจะใช้ภาษาของหมู่บ้าน นั้น เช่น ใช้ภาษาไทยลาว เมื่อติดต่อกับบ้านเกษตรถาวร ใช้ภาษาเขมรเมื่อติดต่อกับบ้านโจรก (หน้า 22)

Study Period (Data Collection)

ปี พ.ศ. 2537 (หน้า 6)

History of the Group and Community

ส่วยหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร มีลักษณะรูปร่างใหญ่ ผมหยิก ผิวสีดำ (หน้า 9) เดิมกลุ่มชนส่วยอยู่ภายใต้การปกครองเขตนครบากนาคบุรี (นครจำปาศักดิ์ ) มีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อมีการบังคับเกณท์แรงงาน จึงได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งตะวันตก ราวปี พ.ศ. 2200 อพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป มาตั้งบ้านเรือนที่หัวเมืองเขมรป่าดง โดยอพยพมา 6 กลุ่ม มาตั้งถิ่นฐานบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ (หน้า 16 ) พ.ศ. 2302 สมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ช้างเผือกได้แตกโขลงมาถึงเมืองพิมาย ได้อาศัยพวกส่วยซึ่งมีความชำนาญในการจับช้าง ติดตามช้างเผือกกลับมาได้ พระเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นหลวง ปกครองหมู่บ้านเดิมขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย พ.ศ. 2321 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เกณฑ์ไพร่พลจากเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังขะ ร่วมทัพไป ตีเมืองเวียงจันทร์ และได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองทั้ง 3 ได้ตำแหน่ง พระ พ.ศ.2324 ได้เกณฑ์ไพร่พลเมืองสุรินทร์ ร่วมทัพไป ปราบการจลาจลที่เมืองเขมร ในการศึกครั้งนี้ ได้กวาดต้อนคนลาวและเขมรจากเมืองเสียมเรียบ สะโตง ประทายเพชร เข้ามา ทางสุรินทร์ เมืองปะทายสมันต์หรือเมืองสุรินทร์ จึงมีกลุ่มคนลาว เขมรเข้ามาปะปน พ.ศ. 2350 เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ไม่ต้องขึ้นตรงต่อพิมายต่อไป พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ขึ้นอยู่กับหมู่ 6 ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 19) กลุ่มชนส่วยบ้านโพนทอง อพยพมาจากอำเภอสังขะ อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ในช่วงปี พ.ศ.2506 โดยมีนายลุน เพชรสุวรรณ นายแต้ม บุญทูล นายเภา งามนัก และนายพา สอนสุข เดินทางมาเพื่อรับจ้างและเที่ยวเตร่ เมื่อมาถึงบ้านโพนทองเห็นว่า เหมาะกับการทำการเกษตร จึงได้ถางป่า ทดลองปลูกพืช เมื่อเห็นว่าพืชงอกงามดี จึงเดินทางกลับไปรับครอบครัวมาอยู่ด้วย ในการอพยพครั้งแรกนี้มีมาประมาณ 30 ครอบครัว มีกลุ่มตระกูลใหญ่ๆ 4 กลุ่ม คือ ตระกูลบุญทูล ตระกูลงามนัก ตระกูลสอนสุข ตระกูลเพชรสุวรรณ (หน้า 22)

Settlement Pattern

พื้นที่บ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 5-6) เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่ารกทึบ มีสัตว์ป่าและของป่าจำนวนมาก เหมาะแก่การเกษตรกรรม (หน้า 3) ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2521 การตั้งบ้านเรือนจะรวมกันเป็นกระจุกหรือเป็นหย่อม บ้านแต่ละหลังจะอยู่ไม่ไกลกัน แต่มักถูกปิดกั้นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงทำให้เหมือนอยู่ไกลกัน ไม่มีถนนตัดผ่านหมู่บ้าน ทางเดินเป็นทางเท้า การอยู่รวมกันเป็นกระจุกเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากอยู่ติดกับชายแดนกัมพูชา (หน้า 45-46) ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2537 การตั้งบ้านเรือนเป็นแบบกระจาย ตั้งบ้านเรือนตามแนวเส้นทางคมนาคม เพื่อความสะดวกในการลำเลียงสินค้าทางการเกษตรไปขายที่ด่านช่องจอมและตลาดในจังหวัด (หน้า 85) จากการตัดถนนในหมู่บ้านโดยกองกำลังสุรนารีส่วนแยกที่ 2 จังหวัดสุรินทร์ ทำให้บ้านโพนทองมีผังบ้านที่เป็นระบบ สะดวกต่อการปกครองในระบบคุ้ม การบริหารความปลอดภัย สะดวกในการติดต่อกับหมู่บ้านข้างเคียง การตั้งบ้านเรือนไม่มีรั้ว ทำให้การไปมาหาสู่สะดวก (หน้า 85-86 )

Demography

บ้านโพนทอง ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีประชากร 891 คน เป็นชาย 459 คน หญิง 432 คน มี 196 ครัวเรือน มีอาณาเขตติดต่อบ้านเกษตรถาวร บ้านห้วยปาง บ้านด่าน และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย (หน้า 2)

Economy

หมู่บ้านโพนทองเป็นกลุ่มชนส่วยที่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ที่เรียกว่าส่วยแซ มิใช่ส่วยคล้องช้างเหมือนหมู่บ้านอื่นๆ ในจังหวัดสุรินทร์ (หน้า 17-19) อาชีพเกษตรกรรม มีการพึ่งพาธรรมชาติอย่างมาก โดยอาศัยปริมาณน้ำฝนเพียงอย่างเดียว อาชีพเสริมหลังฤดูทำนา คือ การเลี้ยงไหม และทอผ้าไหม ผู้ชายทำนา เลี้ยงโค กระบือ จักสาน ผู้หญิงหุงหาอาหาร ทอผ้า เลี้ยงลูก (หน้า 23)

Social Organization

ลักษณะโดยทั่วไป ส่วยแซเป็นกลุ่มชนที่รู้จักการปรับตัวเพื่อให้ชุมชนของตนเองสามารถอยู่ร่วมกับหมู่บ้านข้างเคียงได้ สามารถปรับใช้ภาษาในการสื่อสารกับกลุ่มชนอื่นๆ เป็นกลุ่มชนที่ชอบความสงบ เรียบง่าย (หน้า 23) ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2521 ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกจำนวนมาก มีลักษณะบิดาเป็นใหญ่ รองลงไปคือมารดา ให้ความสำคัญแก่การเคารพผู้อาวุโส พระสงฆ์ ผู้นำหมู่บ้านและเฒ่า ขะจ้ำ (ผู้ประกอบพิธีกรรม) (หน้า 43-44) ลักษณะการแต่งงานคู่สมรสจะต้องอาศัยอยู่ในบ้านของพ่อแม่ของเจ้าสาว โดยอยู่ระหว่าง 1-3 ปี เพราะลูกเขยจะต้องช่วยพ่อตา แม่ยายทำนาอย่างน้อย 1 ฤดูกาลทำนา หากมีลูกสาวหลายคนเมื่อมีการแต่งงานของลูกสาวคนต่อมา ลูกเขยและลูกสาวคนแรกจะต้องแยกครอบครัวออกไปเป็นครอบครัวเดี่ยว ไม่นิยมให้ลูกเขยหลายคนอยู่รวมกันเพราะกลัว มีปัญหาตามมา (หน้า 45) กลุ่มชนส่วยยึดระบบเครือญาติเป็นใหญ่ เพราะมีความเชื่อว่ากลุ่มของตนจะสามารถช่วยเหลือกันได้ในยามที่เดือนร้อน (หน้า 49) ช่วงเวลา พ.ศ. 2525-2537 ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการเคารพผู้อาวุโส การเป็นครอบครัวเดี่ยวเพราะคำนึงถึงรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน (หน้า 84)

Political Organization

ในครอบครัวขยายถือระบบอาวุโส คือพ่อตา พ่อปู่ หากทั้งพ่อตา พ่อปู่ถึงแก่กรรม ผู้นำครอบครัวก็จะเป็นแม่ยายหรือแม่ย่า (หน้า 45) และบิดาเป็นใหญ่บุคคลอื่นๆ ที่ให้ความเคารพนับถือ ได้แก่ ผู้อาวุโส พระสงฆ์ ผู้นำหมู่บ้าน เฒ่าขะจ้ำและครู (หน้า 44)

Belief System

ผู้วิจัยได้แยกลักษณะวัฒนธรรมความเป็นอยู่ เป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2521 และ ช่วงเวลา พ.ศ. 2525-2537 โดยแยกประเภทตามปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตและความเชื่อ เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงานและการตาย (หน้า 50-70 และหน้า 91-99) กลุ่มส่วยแซ นับถือศาสนาพุทธ (หน้า 64) และมีความเชื่อที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ในเรื่องการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที มีความเชื่อในเรื่องอาหารสำหรับการ เซ่นไหว้ อาหารสำหรับเด็ก คนชรา หรือผู้ป่วย (หน้า 50-53, หน้า 91-93) เช่นเดียวกับเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะมีความเชื่อในเรื่องการแต่งกายตามพิธีกรรมต่างๆ (หน้า 54-58, หน้า 93) และข้อห้ามเกี่ยวกับการตั้งบ้านเรือน (หน้า 58-59 และหน้า 94 ) การรักษาโรคโดยสมุนไพรและคาถาอาคม (หน้า 54-62, หน้า 94-95) แต่จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ลักษณะปัจจัย 4 มีความเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เน้นความสะดวกสบาย ตามสมัยนิยมหรือข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมมากขึ้น

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

มีความเชื่อในเรื่องการรักษาโรคโดยการเข้าทรง เป็นการขอสมาลาโทษที่บุตรหลานได้ล่วงเกินผีบรรพบุรุษ (แกลออแกลมอ) (หน้า 3) การรักษาโดยอาหาร(หน้า 53, หน้า 92) และการใช้สมุนไพรและคาถาอาคม เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจอีกทางหนึ่ง (หน้า 61-62) และการรักษาทางไสยศาสตร์ โดยมีการรำผีมอ ลักษณะคล้ายกับการรำผีฟ้า (หน้า 62) ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2525-2537 การรักษาโรคมีความเปลี่ยนแปลงไป การรักษาแบบแผนปัจจุบันได้เข้าสู่หมู่บ้าน (หน้า 94) แต่ยังคงมีความเชื่อในเรื่องการรักษาด้วยไสยศาสตร์เหมือนเดิม (หน้า 95)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้เขียนได้กล่าวถึงเครื่องนุ่งห่มของส่วย โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2521 และ พ.ศ.2525-2537 ซึ่งในช่วงแรกนั้นนิยมทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมใช้เอง มีผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันและผ้าที่ใช้ในวิถีชีวิตของกลุ่ม ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากกลุ่มชนเขมร จึงมีความเหมือนกับผ้าของเขมร (หน้า 54-58) ในช่วง พ.ศ. 2525-2537 เครื่องนุ่งห่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสากลมากขึ้น มีการใช้ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ในการตัดเสื้อผ้าให้เด็กๆ แต่หนุ่มสาวนิยมใช้เสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่ในพิธีกรรมต่างๆ ยังคงสวมเสื้อผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนส่วยเช่นเดิม (หน้า 93 )

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

สภาพภูมิประเทศติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงอื่นๆ ในจังหวัดสุรินทร์ และประเทศกัมพูชา ส่วยจึงปรับตัวในการอยู่ร่วมกับกลุ่มชนอื่นๆ เช่น ภาษาที่ใช้พูดติดต่อระหว่างหมู่บ้าน เช่น ใช้ภาษาลาว และภาษาเขมร นอกเหนือจากภาษาส่วยและภาษาไทยภาคกลาง (หน้า 22)

Social Cultural and Identity Change

ความเจริญทางเทคโนโลยี การตัดเส้นทางคมนาคม และการวางผังหมู่บ้าน โดยกองกำลังสุรนารีส่วนแยกที่ 2 จังหวัดสุรินทร์ ทำให้มีผลต่อวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของส่วย นับตั้งแต่การอพยพกลับเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านโพนทองอีกครั้งในปี พ.ศ.2525 ลักษณะครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย พิธีกรรมในวงจรชีวิต มีความเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของเทคโนโลยี การคมนาคม และการติดต่อระหว่างชุมชน (หน้า 91-99)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง ตารางที่ 1 แสดงปัจจัยผลักดันทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องอพยพออกจากภูมิลำเนา (หน้า 27) ตารางที่ 2 แสดงปัจจัยผลักดันทางด้านสังคมที่ต้องอพยพออกจากภูมิลำเนา (หน้า 30) ตารางที่ 3 แสดงปัจจัยผลักดันทางด้านธรรมชาติที่ทำให้ต้องอพยพออกจากภูมิลำเนา (หน้า 32) ตารางที่ 4 แสดงปัจจัยดึงดูดทางด้านเศรษฐกิจที่ทำให้อพยพมาอยู่ที่บ้านโพนทอง (หน้า 33-34) ตารางที่ 5 แสดงปัจจัยดึงดูดทางด้านสังคมที่ทำให้อพยพมาอยู่ที่บ้านโพนทอง (หน้า 36) ตารางที่ 6 ปัจจัยดึงดูดทางด้านธรรมชาติที่ทำให้อพยพมาอยู่ที่บ้านโพนทอง (หน้า 39) ตารางที่ 7 แสดงภูมิลำเนาเดิมของผู้อพยพ (หน้า 41) ตารางที่ 8 (ในวิทยานิพนธ์เขียนว่าตารางที่ 19) แสดงลักษณะการตั้งบ้านเรือน (หน้า 46) ตารางที่ 9 แสดงปัจจัยผลักดันทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องอพยพออกจากภูมิลำเนา (หน้า 73) ตารางที่ 10 แสดงปัจจัยผลักดันทางด้านสังคมที่ต้องอพยพออกจากภูมิลำเนาเดิม (หน้า 75) ตารางที่ 11 แสดงปัจจัยผลักดันทางด้านธรรมชาติที่ต้องอพยพออกจากภูมิลำเนาเดิม (หน้า 76- 77) ตารางที่ 12 แสดงปัจจัยดึงดูดทางด้านเศรษฐกิจที่ทำให้อพยพมาอยู่ที่บ้านโพนทอง (หน้า 78) ตารางที่ 13 แสดงปัจจัยดึงดูดทางด้านสังคมที่ทำให้อพยพมาอยู่ที่บ้านโพนทอง (หน้า 79- 80) ตารางที่ 14 แสดงปัจจัยดึงดูดทางด้านธรรมชาติที่ทำให้อพยพมาอยู่ที่บ้านโพนทอง (หน้า 81) แผนผัง ภาพประกอบ 1 แผนผังบ้านโพนทอง ช่วง พ.ศ. 2506 - 2521 (หน้า 28) ภาพประกอบ 2 แผนผังบ้านโพนทอง ช่วง พ.ศ. 2525 - 2537 (หน้า 87) ภาพประกอบ 3 แผนผังกลุ่มตระกูลของกลุ่มชนส่วยบ้านโพนทอง (หน้า 90)

Text Analyst คณพร โพธิจิตสกุล Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG กูย กวย(ส่วย), การอพยพย้ายถิ่น, วัฒนธรรม, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง