สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,ศิลปะ,การฟ้อน,ศรีสะเกษ,ภาคอีสาน
Author กนกวรรณ ระลึก
Title การฟ้อนสะเอิงของชาวไทยกูย
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 13 Year 2545
Source The 8th International Conference on Thai Studies
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาพิธีกรรมการฟ้อนสะเอิงของไทยกูย บ้านกระแซงใหญ่ ตำบลกระแซง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อศึกษารูปแบบ สัญลักษณ์ความเชื่อ และบทบาทของพิธีกรรม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลในพื้นที่ชุมชน และสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในพิธีกรรม ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า ไทยกูยบ้านกระแซงใหญ่มีจักรวาลความเชื่อแบบพราหมณ์ - พุทธ - ผี ความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษเป็นรากฐานความเชื่อที่นำไปสู่กระบวนการประกอบพิธีกรรม ความหมายทางวัฒนธรรมของพิธีกรรมฟ้อนสะเอิงจึงเป็นกระบวนการที่สืบเนื่องสัมพันธ์กันในบริบทของไทยกูย พิธีกรรมการฟ้อนสะเอิงเป็นพิธีกรรมที่ไทยกูยเข้าทรงผีฟ้าหรือผีสะเอิงเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน และเมื่อหายจากอาการเจ็บป่วยต้องทำการเข้าทรงเพื่อสักการะขอบคุณผีสะเอิง บทบาทของพิธีกรรมนั้น ผู้วิจัยพบว่ามีบทบาทที่สำคัญ 3 ประการต่อสังคมชาวไทยกูยคือ บทบาทในการควบคุมทางสังคม บทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในสังคม และสร้างกำลังใจในการดำรงชีวิต (หน้า 1)

Focus

ศึกษาพิธีกรรมการฟ้อนสะเอิงของไทยกูย บ้านกระแซงใหญ่ ตำบลกระแซง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบ สัญลักษณ์ความเชื่อ และบทบาทของพิธีกรรม (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กูย หรือ โกย กวย หรือ ส่วยบ้านกระแซงใหญ่ ตำบลกระแซง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Language and Linguistic Affiliations

พูดภาษาส่วย (หน้า 3) แต่ในพิธีกรรมมีการใช้ภาษาอีสานในบางตอน

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

กลุ่มชาติพันธุ์กูย โกย กวยหรือส่วย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากแขวงอัตตะปือแสนปาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199 - 2231) จนปลายของสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงธนบุรี (หน้า 3)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (หน้า 3)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

จากงานวิจัยรูปแบบการฟ้อนสะเอิงมี 2 รูปแบบคือ การฟ้อนเพื่อรักษาโรคและการฟ้อนเพื่อสักการะผีสะเอิงหรือการลงข่วง การฟ้อนเพื่อรักษาโรคเป็นการฟ้อนของแม่สะเอิงใหม่ หมายถึง การประกอบพิธีกรรมเข้าทรงผีสะเอิงเป็นครั้งแรกเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การฟ้อนเพื่อสักการะผีสะเอิงหรือการลงข่วงหมายถึง การฟ้อนเพื่อไหว้ผีสะเอิงประจำปีของแม่สะเอิงเก่า ผู้เป็นแม่สะเอิงแต่ละคนมาร่วมฟ้อนร่วมกัน จุดประสงค์เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผีสะเอิงที่เคยรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ และเป็นโอกาสที่จะได้พบปะสังสรรค์ ผ่อนคลายความตึงเครียดในหมู่แม่สะเอิง เป็นการชุมนุมลูกศิษย์ของแม่หมอผู้ทำพิธีให้ ผู้ที่เป็นแม่สะเอิงอาจจะลงข่วงทุกปีหรือตามโอกาสที่ตนเองสะดวก แต่ละคนจะนัดหมายวัน เวลา สถานที่กันเองว่าจะประกอบพิธีบ้านใคร โดยจะจัดงานหมุนเวียนกันแต่ละปีในหมู่เพื่อนบ้านที่เคารพนับถือและถือผีสะเอิงเช่นเดียวกัน (หน้า 4) ความเชื่อของไทยกูยเป็นการผสมผสานความเชื่อระหว่างพราหมณ์ - พุทธ - ผี กูยเรียกความเชื่อในสิ่งที่ตนเองนับถือว่า "ถือ" มีอยู่ 2 อย่างคือ ถือธรรมและถือแถนหรือผี ถือธรรมคือความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษทางพุทธศาสนา ถือแถนคือการนับถือผี อมนุษย์กึ่งเทพกึ่งมนุษย์และเทวดา ผีสะเอิงก็คือผีแถนประเภทหนึ่ง ความเชื่อของแต่ละคนได้รับการถ่ายทอดกันมาตามบรรพบุรุษ ทุก 3 เดือนของแต่ละปีไทยกูยต้องเซ่นผีปู่ตา ไทยกูยจะมีศาลผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน โดยมีความเชื่อว่าผีปู่ตาเป็นเสาหลักคู่บ้านคู่เมือง สถานที่ตั้งศาลปู่ตาเรียกว่าดุงจั๊ว (ดอนปู่ตา) ไทยกูยจะประกอบพิธีฟ้อนสะเอิงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ไปจนถึงแรม 15 ค่ำเดือน 5 ผู้ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมคือแม่หมอ แม่หมอมีไม้ตะพดเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีอำนาจเป็นที่ยำเกรงของผีร้าย ผู้ที่ต้องการเข้าทรงผีสะเอิงต้องเชิญแม่สะเอิงที่มีฐานะเป็นอาจารย์หรือแม่หมอมาเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม การเป็นแม่หมอแม่สะเอิงต้องก้าวทีละขั้น ขั้นละ 3 ปี แม่หมอมีท้ายโฮงเป็นที่ปรึกษา ท้ายโฮงหมายถึงผู้อาวุโสที่รอบรู้ในระเบียบพิธี ในการลงข่วงแม่สะเอิงต้องขออนุญาตจากท้ายโฮงที่เจ้าภาพเชิญมาโดยการไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้การดำเนินพิธีกรรมเป็นไปด้วยความราบรื่น แม่สะเอิงแต่ละคนต้องเคารพตัวเองและเคารพในความอาวุโสของแต่ละลำดับขั้น ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นจะถือว่า "ผิดผี" พิธีกรรมจะเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ โดยจะเริ่มตั้งแต่ไหว้ครู บอกกล่าวต่อแม่ธรณี บอกผีบ้านผีเรือน เชิญผีสะเอิงประจำตัวมาเข้าร่าง จากนั้นจะเล่นละครในฉากต่างๆ จนครบรูปแบบพิธีกรรมในช่วง 6 นาฬิกาของเช้าวันใหม่ (หน้า 4 - 6 และดูเนื้อเรื่องและตัวละครในพิธีกรรมได้ในหน้า 7 - 8) จากงานวิจัยพบว่าพิธีกรรมการฟ้อนสะเอิงมีบทบาทต่อสังคมไทยกูยดังนี้ 1. รูปแบบพิธีกรรมเป็นวัฒนธรรมที่กำหนดโดยบริบทสังคม เนื่องจากสังคมไทยกูยเป็นสังคมเกษตรกรรม มีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ ทำให้ไทยกูยมีโลกทัศน์และชีวทัศน์แบบพราหมณ์ - พุทธ - ผี การประกอบพิธีกรรมฟ้อนสะเอิงจึงเกิดขึ้นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยและสร้างความมั่นใจในการดำรงชีวิต 2. สัญลักษณ์ในพิธีกรรมเป็นความเชื่อแบบพราหมณ์ - พุทธ - ผี เป็นผลมาจากกระบวนการสร้างวัฒนธรรม ในพิธีกรรมมีความเชื่อทั้ง 3 สื่อออกมาเป็นสัญลักษณ์ 3. พิธีกรรมการฟ้อนสะเอิงมีบทบาทต่อสังคมไทยกูย ทั้งในระดับปัจเจกชนเชื่อมโยงไปสู่ระดับชุมชน มีประเด็นดังนี้คือ 3.1 บทบาทการควบคุมทางสังคม ทำให้เกิดบรรทัดฐานของสังคม พร้อมทั้งมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคมต่อลูกหลานผ่านพิธีกรรมนี้ 3.2 บทบาทการสร้างพลังใจในการดำเนินชีวิต คนที่เข้าสู่พิธีกรรมฟ้อนสะเอิงหลายคนเจ็บป่วยไปรักษาตามโรงพยาบาลแล้วรักษาไม่หายจึงตัดสินใจประกอบพิธีกรรมฟ้อนสะเอิงเพื่อให้ผีสะเอิงมาช่วยรักษา เมื่อผ่านพิธีกรรมนี้แล้วหลายคนหายจากอาการเจ็บป่วย ปรากฎการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของพิธีกรรมที่สร้างกำลังใจให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (หน้า 8 - 12)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

งานวิจัยระบุว่าพิธีกรรมฟ้อนสะเอิงเป็นพิธีกรรมการเข้าทรงผีแม่มดเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากผิดครู ผิดผี ผิดของรักษา เหตุที่ผีกระทำให้เจ็บป่วยเนื่องจากทำผิดต่อผีบรรพบุรุษหรือทำผิดข้อห้าม (Taboo) และของรักษาต่างๆ ที่เป็นจารีตของสังคม เรียกการกระทำนี้ว่า "ผิดผี" การผิดผีคือการไม่ปฏิบัติตนตามทำนองคลองธรรม ไม่ปฏิบัติตามจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษได้สืบทอดกันมา เช่น สามีภรรยาทะเลาะกัน หนุ่มสาวมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ผีจึงลงโทษให้เจ็บป่วย หากรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันไม่หายแสดงว่าทำผิดร้ายแรง ต้องไปมอหรือดูดวงชะตาเพื่อตรวจสอบดูว่าในร่างกายนั้นมีวิญญาณผีกระทำให้เจ็บป่วยหรือไม่ และตนเองได้กระทำสิ่งใดผิดต่อผีบรรพบุรุษ หลังจากนั้นต้องขอขมาผีโดยการฟ้อนสะเอิงอัญเชิญผีฟ้า ผีแถน ผีแม่มด ให้เข้ามาทรงในร่างกายเพื่อขับไล่วิญญาณผีออกไป (หน้า 5)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

เนื้อเรื่องและตัวละครในพิธีกรรมฟ้อนสะเอิง มีตัวละครหลักอยู่ 4 ตัว คือ 1. ท้าวรอดฟ้านางหล้ารอดเมือง เป็นผู้นำในการคล้องช้าง 2. หมอม้า คือหมอแคนหรือคนเป่าแคน หมอม้าเป็นพาหนะของแม่สะเอิงที่ต้องขี่ไปคล้องช้าง 3. หมอช้าง คือหมอโทนหรือคนตบโทน แสดงเป็นช้างที่ท้าวรอดฟ้านางหล้ารอดเมืองไปคล้องได้ในป่า 4. นกกระบานหรือนกหัวขวาน คนตีเสียมแสดงเป็นนกกระบาน เนื้อเรื่องเป็นการจำลองวิถีชีวิตไทยกูยในอดีต การคล้องช้างแต่ละครั้งต้องเซ่นไหว้ผีปู่ตาเพื่อคุ้มครองจากภัยอันตรายต่างๆ และขอโชคลาภในการเดินทาง ผู้นำคล้องช้างมักมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชนนั้นๆ โดยมีคำว่า "ท้าว" นำหน้า ในการคล้องช้างแต่ละครั้งท้าวที่เป็นผู้นำต้องขี่ม้าไป ในฉากละคร ท้าวรอดฟ้านางหล้ารอดเมืองไปคล้องช้างและขี่ช้างไป หมอแคนทำหน้าที่เป็นหมอม้า หมอแคนเดินเป่าแคนนำหน้า แม่หมอหรือครูบาเสมอและหมอโทนต้องแสดงเป็นช้างที่ท้าวรอดฟ้าไปคล้อง หมอช้างต้องเข้าไปอยู่ในป่าที่จำลองด้วยผ้าขาวดิบและต้องถือตุ๊กตาไว้ในมือ เมื่อท้าวรอดฟ้าฯ และคณะเดินทางไปถึงป่า ได้ใช้บ่วงคล้องช้างคล้องที่หัวตุ๊กตาช้างไม้ เพื่อจำลองเสียงนกในป่าจึงให้แม่สะเอิงทำหน้าที่ตีเสียมให้เหมือนเสียงนก นอกจากนี้ยังมีเสียงแคน เสียงโทน ขับขานอย่างคึกคัก เมื่อคล้องช้างมาได้ต้องสู่ขวัญช้างโดยร้องเรียกขวัญและเอาเส้นด้ายผูกคอผูกแขนให้ตุ๊กตาช้างและนำช้างเข้าคอก คอกช้างคือหิ้งผีของเจ้าภาพนั่นเอง หลังจากนั้นก็เป็นฉากทำมาหากินทั่วไป บางครั้งวิ่งหนีปลิง หนีเสือ ยิงนก สลับกับการฟ้อนรอบๆ ปะรำพิธีไปจนสว่าง โองการที่ใช้เรียกวิญญาณผีสะเอิงนั้นเป็นภาษาอีสานทั้งสิ้น ขึ้นต้นด้วยคำว่า โอหรือโอ่ละหน่อ ท่วงทำนองเอื้นเสียงเหมือนการร้องหมอลำ และคล้ายกับบทสูดเรียกขวัญในพิธีสู่ขวัญของชาวอีสานทั่วไป ในกรณีการฟ้อนเพื่อรักษาโรคแม่หมอเป็นผู้ร้องเรียก สำหรับการลงข่วงนั้นแม่หมอและท้ายโฮงเป็นผู้ร้อง โองการที่ใช้เรียกไม่มีถ้อยคำตายตัว ขึ้นอยู่กับความสามารถในด้านการใช้ภาษาเชิงกวีที่คล้องจองกันของผู้ร้อง (หน้า 7 - 8)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กูยเรียกตัวเองในกลุ่มกูยด้วยกันว่า "กูย" มีความหมายว่า "คน" บางพื้นที่ออกเสียงเป็น กวย โกย หรือกุย กูยเมื่อพูดกับคนไทยมักใช้คำว่า "ส่วย" แทนตัวเอง เพื่อย้ำให้รู้ว่าตัวเองพูดภาษาส่วยและเป็นตนส่วย (หน้า 3)

Social Cultural and Identity Change

งานวิจัยระบุว่าวัฒนธรรมหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา มีวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกับคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาโดยทั่วไป

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG กูย, ศิลปะ, การฟ้อน, ศรีสะเกษ, ภาคอีสาน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง