สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กวย,กูย,ประวัติความเป็นมา,วัฒนธรรม,บุรีรัมย์
Author วุฒินันท์ พระภูจำนงค์
Title วัฒนธรรมไทยกวย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 51 Year 2535
Source ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
Abstract

ชาวไทยกวยใน อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีประมาณ 28 หมู่บ้าน จากหมู่บ้านทั้งหมดของอำเภอสตึก 208 หมู่บ้าน ชาวไทยกวยกลุ่มนี้ในอดีตมีความเป็นอยู่เรียบง่าย มีอาชีพหาของป่าล่าสัตว์ ในปัจจุบันได้หันมาประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม มีการรับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มไทยลาว ไทยเขมร มาใช้ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนด้านวัฒนธรรม ชาวไทยกวยมีภาษา และวรรณกรรมจัดอยู่ในภาษา มอญ – เขมร มีภาษาพูดเป็นของตนเองไม่มีอักษรเขียน มีวรรณกรรมเป็นแบบมุขปาฐะ การปรับตัว การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตลอดจน การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมนั้นชาวไทยกวยจะปรับตัวเข้ากับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นได้ดี และมีการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม และมีวิถีชีวิตที่ผสมกลมกลืนกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้เคียงด้วย (หน้า 50–51)

Focus

ประวัติความเป็นมา และวัฒนธรรมของชาวไทยกวย ในด้านประเพณี ความเชื่อ ภาษา และวรรณกรรม (หน้า 2-47)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คำว่า “กวย “(kui) เป็นคำที่กวยเรียกตัวเองโดยทั่วไป ซึ่งในพื้นที่ต่าง ๆ จะออกเสียงไม่เหมือนกัน เช่น กวย กูย โกย หรือ กุย ก็มีบ้าง ในพื้นที่ศึกษามีชาติพันธุ์อื่น คือ ไทยอีสาน ไทยเขมร ไทยอีสาน เรียกกวยว่า “ส่วย” (soai) ไทยเขมร เรียกกวย ว่า “กูย” (หน้า 6)

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มชาติพันธุ์กวยมีภาษาพูดเป็นของตนเองจัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลมอญ-เขมร (Mon–Khmer) ไม่มีภาษาเขียน สืบทอดวัฒนธรรมโดยการบอกเล่า (Oral Tradition) (หน้า 13–14) การปรับตัวของกวยทำให้พบว่าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านไทยลาว หรือ เขมร จะสามารถใช้ภาษานั้น ๆ ได้ กลุ่มชาติพันธุ์กวยในกรณีศึกษามี 3 กลุ่ม คือ (หน้า 4) -กลุ่มที่ใช้ภาษา กวย อย่างเดียว -กลุ่มที่ใช้ภาษา เขมร–กวย -กลุ่มที่ใช้ภาษา ลาว–กวย

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาศึกษาข้อมูลกรณีศึกษาวัฒนธรรมไทยกวย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 1 ปี แบ่ง ดังนี้ (หน้า 4) - สำรวจข้อมูลหมู่บ้านชาวไทยกวย อำเภอสตึก เพื่อเลือกหมู่บ้านเป้าหมายการศึกษาใช้เวลา 1 เดือน (เอกสารไม่ระบุช่วงเดือน) - สังเกตและสัมภาษณ์ข้อมูลบุคคลใช้เวลา 2 เดือน (เอกสารไม่ระบุช่วงเดือน) -เก็บข้อมูลในหมู่บ้านเป้าหมายเพิ่มเติมเป็นครั้งคราว เพื่อประกอบการเขียนอธิบายในเชิงพรรณาวิเคราะห์ เป็นเวลา 1 เดือน - นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาภาคสนามและการค้นคว้าเอกสารมาเขียนรายงาน

History of the Group and Community

ภูมิลำเนาเดิมของชาวไทยกวยในประเทศอาศัยอยู่ในประเทศลาว บริเวณแขวงอัตตปือ จำปาศักดิ์ และสาละวัน จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลุ่มชาติพันธุ์กวยได้มีการอพยพเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นในบริเวณเขตอีสานใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์จะมีกลุ่มชาวไทยกวยอยู่เป็นจำนวนมาก ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทางเมืองหลวงต้องการของป่าเพื่อค้าขายกับต่างประเทศจึงได้นำระบบไพร่ส่วยมาใช้ โดยให้มีการส่งของป่ามาที่เมืองหลวงหรือถ้าหาไม่ได้ต้องส่งเงินมาแทน แต่ครั้นเมื่อหาของมาส่งไม่ได้ คนเขมรป่าดงจึงจับคนพื้นเมืองไปขายเพื่อส่งส่วย จึงเรียกคนที่ลงมาเป็นส่วยว่า “คนส่วย” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (หน้า 9-11) กลุ่มชาวไทยกวยในเขต อำเภอสตึก ส่วนใหญ่อพยพมาจาก จังหวัดสุรินทร์ โดยเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมื่อประมาณกว่า 100 ปีมาแล้ว กลุ่มแรกได้ตั้งรกรากที่บ้านหนองบัวเจ้าป่าโดยการนำของหมอด้วงซึ่งเป็นหมอช้างเดิมมีบ้านอยู่ที่บ้านกระโพธิ์ ต.กระโพธิ์ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ บริเวณหมู่บ้านหนองบัวเจ้าป่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์ ห่างจากลำน้ำมูลประมาณ 4 กม.เมื่อคล้องช้างได้จาก อ.ประคำ หรือจากกัมพูชา จะนำมาเลี้ยงไว้ที่ท่าน้ำ ต่อมาเรียกบริเวณนั้นว่า “ท่าช้าง “ถึงปัจจุบัน (หน้า 12) นอกจากนี้ยังมีชาวไทยกวยจาก อ.รัตนบุรี อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ มาตั้งบ้านเรือนที่ อ.สตึก บริเวณบ้านหนองม่วง บ้านคูขาด บ้านขาม บ้านหนองนกเกรียน บ้านนกยูง บ้านสระกระจาย ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ในอดีตมีป่าทึบมาก ๆ และบริเวณบ้านเสม็ด ต.ร่อนทอง ชาวไทยกวยจะมีอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์ในบริเวณดงแสนตอ (ปัจจุบันคือ บ้านดงยายเภาไปจนถึงบ้านแคนดง) และดงชุมพวง ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ชาวไทยกวยบางส่วนได้อพยพมาจาก อ.ศีขรภูมิ จ.ศรีสะเกษ มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านกอก บ้านดอนแก้ว บ้านหัวช้าง (หน้า 12)

Settlement Pattern

รูปแบบและลักษณะการสร้างบ้านเรือนของชาวไทยกูยจะมีลักษณะเป็นบ้านยกสูง ปลูกสร้างเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อความสะดวกในการติดต่อไปมาหาสู่กันในหมู่บ้าน การปลูกเรือนของชาวกูยมีลักษณะความเชื่อ คือ สร้างบ้านโดยหันหน้าบ้านและบันไดไปทางทิศตะวันออก ห้ามหันไปทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อว่าทางทิศตะวันตกเป็นทิศผีสาง การออกเรือนใหม่ของสมาชิกในบ้าน ห้ามปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่ทางทิศใต้ของบ้านหลังเดิม ยุ้งฉางนิยมจะปลูกไว้ในบริเวณบ้านโดยจะไม่หันหน้าไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก เพราะเชื่อว่าทิศทั้งสอง ดังกล่าว เป็นที่อยู่ของโขลงช้าง ช้างจะมากินข้าวในยุ้ง การทำบันไดเรือน นิยมทำขั้นบันไดเป็นจำนวนคี่ เช่น 5 ขั้น 7 ขั้น เพราะมีความเชื่อตามคำโบราณว่า “คู่บันไดผี ขั้นคี่ บันไดคน“ (หน้า 30) บ้านของไทยกวยทุกหลังคาจะมีของรักษาเมื่อถึงวันพระ ภรรยาจะต้องเตรียมกรวยดอกไม้ทำพิธีบูชาของรักษาที่บ้านของตน หรือนำไปให้เจ้าโคตร คือ พ่อใหญ่ (คำกวยว่า “เนาะเฒา”) ทำพิธีบูชาของรักษาการปฏิบัติดังนี้สม่ำเสมอถือว่าจะทำให้บ้าน คือ คนในครอบครัวอยู่สุขสบาย บ้านกวยในอดีตไม่มีพระพุทธรูปบูชา แต่ในปัจจุบันบ้านที่มีฐานะดีจะมีพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาด้วย (หน้า 17)

Demography

จากรายงานการศึกษา ไทยกวยใน อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ได้กล่าวถึงประชากรของไทยกวยว่ามีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมดของภาคอีสานซึ่งพบว่า 85% ของประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยพูดภาษาอีสาน นอกจากนี้ ยังพบกลุ่มภาษาในภาคพื้นนี้อีกจำนวนมากคือ ภูไท แสก ย่อ โซ่ โย้ย ข่า และเขมร ใน อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ (หน้า 1, 50) อย่างไรก็ตาม รายงานการศึกษาชี้ว่ามีชาวไทยทั้งหมดในปัจจุบันพูดภาษากวยไม่น้อยกว่า 3 แสนคน ในเขต อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ มีกวยอาศัยอยู่ทั้งหมด 28 หมู่บ้านจากหมู่บ้านทั้งหมด 208 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านในกรณีศึกษา 15 หมู่บ้านแบ่งเป็นส่วย 5 หมู่บ้าน, ลาวส่วย 5 หมู่บ้าน, เขมรส่วย 5 หมู่บ้าน

Economy

ไทยกวยในอดีตมีอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์ และการคล้องช้าง เพราะในช่วงแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยนั้น ภูมิประเทศยังเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่า และของป่า จากนั้นเปลี่ยนการดำรงชีพโดยการเพาะปลูกทำไร่เลื่อนลอย การผสมผสานกันของกลุ่มวัฒนธรรมกับลาว และกับเขมร ทำให้ชาวไทยกวยมีการปรับตัว และทำการเกษตรวิธีอื่น ๆ เช่น การทำนาข้าว นอกจากนั้น (โกรสริเย่และไซเดนฟาเดน (Groslier and Seidenfaden Erik) 1952 อ้างในรายงานการศึกษา หน้า 13) ชาวไทยกวยได้รับเทคนิคการตีเหล็กและถลุงโลหะตามแบบอินเดียมาตั้งแต่พุทธกาลอีกด้วย และการแลกเปลี่ยน – ผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรมส่งผลให้ชนชาวไทยกวยเรียนรู้อาชีพการจักรสาน การเลี้ยงไหม ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพสำคัญมาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 12–14)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมของชาวไทยกวยส่วนใหญ่จะเป็นสังคมระบบที่ยึดถือผู้อาวุโสให้ความนับถือเคารพ นอบน้อม ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวนั้นจะประกอบไปด้วยความเชื่อที่ถูกอบรมมาทุกรุ่นจนถือเป็นขนบธรรมเนียม จารีตที่ต้องประพฤติตาม เป็นต้นว่าประเพณีการถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า ผี คือ คนเฒ่าคนแก่ที่ตายไปแล้วได้วางระเบียบบ้านและโคตรเอาไว้ คนในโคตรจะต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนที่ตกทอดกันมาด้วยความเคารพ ถ้าทำผิดถือว่าผิดผี คือ ผิดคำสั่งสอนของเจ้าโคตรนั่นเอง ในโคตรหนึ่ง ๆ จะมีผู้ชายและเป็นผู้อาวุโสที่สุด มีความประพฤติดี สามารถว่ากล่าวทุกคนในโคตรได้ คนคนนี้จะได้รับตำแหน่งแต่งตั้งเป็นโคตรใหญ่ (หน้า 14–30) พิธีการแต่งงานของไทยกวยเริ่มต้นจากการคุยสาว จนไปถึงการได้เสียจนตั้งครรภ์ ไม่ว่าการกระทำใดๆ ในระหว่างนี้จะมีอัตราการเสียผี หญิงใดที่มีการเสียผีบ่อยถือว่าบ้านนั้นมีลูกสาว “หมาน” นำลาภมาให้บ้านโดยไม่ถือว่าเป็นการเสียหายประการใด ส่วนเด็กที่เกิดมาถือเป็นสมบัติของตระกูล เมื่อเกิดความพอใจกันระหว่างหนุ่มสาวแล้วก็ถึงขั้นการสู่ขอและการแต่งงานกัน มีการแห่ขบวนขนสมบัติไปบ้านเจ้าสาว การสวดให้ศีลให้พรเป็นภาษาส่วย ลูกเขยใหม่นั้นต้องปรับตัวให้เข้ากับพ่อตาแม่ยายให้ได้เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเกิดการเสียผีจนถึงขั้นถูกขับออกจากบ้านได้ นอกจากนี้ในสังคมกวยห้ามญาติแต่งงานกันหากพากันหนีไปก็จะถูกตามตัวกลับมา เซ่นผี และแยกกัน ในปัจจุบันประเพณีเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมกวยซึ่งมีไม่กี่คู่ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมไว้ (หน้า 18-23)

Political Organization

ไทยกวยในเขต อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ มีการปกครองเป็นไปตามรูปแบบกฎหมายการปกครองของประเทศไทย คือ แบ่งการปกครองแบบ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ส่วนในรายละเอียดของชุมชนนั้นจะพบว่า นอกจากผู้นำที่ถูกแต่งตั้งตามระบบกฎหมาย คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้ว ยังมีผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ ผู้นำในพิธีกรรม ซึ่งเรียกกันในหมู่บ้านว่า “หมอเฒ่า“ จะเป็นคนที่รู้ขนบจารีต และพิธีกรรมต่าง ๆ ในประเพณี ความเชื่อของชาวไทยกวยในอดีตที่มีการอพยพจาก อัตตะปี จำปาศักดิ์ และสาลวัน ของประเทศลาวนั้น แสดงให้เห็นว่าชาวไทยกวย ได้มีการปกครองแบบเจ้านาย คือ มีหัวหน้าในการคิดการณ์ต่าง ๆ และตัดสินใจ ดังที่กล่าวในเนื้อหาของรายงานการศึกษานี้ว่า ในการอพยพเป็นกลุ่ม ๆ มานั้นมีหัวหน้าซึ่งเป็นผู้นำในการอพยพมาตั้งหลักแหล่ง ดังนี้ เชียงปุมกับเชียงปืด ตั้งที่เมืองที เชียงสี ตั้งที่กุดหวาย เชียงมะตั้งที่อัจจะปะนึง (หน้า 9, 15–30)

Belief System

ไทยกวยมีความนับถือผีโคตร คือ ผีบรรพบุรุษในแต่ละตระกูลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการว่ากล่าว ตั้งกฎเกณฑ์ในตระกูล ความเชื่อนี้นำมาซึ่งพิธีกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การเกิด การดำรงชีวิตจนถึงการตาย ชาวไทยกวย มีความนับถือเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการนับถือพิธีกรรม อย่างไรก็ตามความเชื่อและการปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วๆ ไป คือ มีพิธีกรรม และความเชื่อทางไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ควบคู่กัน แม้แต่พระในวัดพุทธเองยังพบว่ามีการลงอักขรเลขยันต์ในแผ่นโลหะเพื่อทำตะกรุดสำหรับเป็นเครื่องราง แต่ความเชื่อและการปฏิบัติต่างๆ ก็เป็นไปโดยขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นการยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ และเป็นการรักษาไว้ซึ่งรูปแบบของวัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคมนั้นด้วย ความเชื่อต่างๆ ได้สะท้อนให้เห็นประเพณีเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิต เช่นการเกิด การตาย และการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ดังนี้คือ การเกิด ประเพณีการเกิดที่ชาวไทยกวยเรียกว่า “กัวอู้ว” เป็นประเพณีที่ยังถือปฏิบัติกันอยู่แม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมาก ไทยกวยยังคงพึ่ง “จม็อบ” (หมอตำแย) ในการทำพิธีต่างๆ การเลี้ยงดูบุตร เด็กที่เกิดใหม่จะได้รับการปกป้องภัยจากของดีที่เชื่อว่าคุ้มกันผีได้ ส่วนการให้การศึกษาเด็กจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จากบรรพบุรุษเป็นการถ่ายทอดตามประเพณีร่วมกับการศึกษาในโรงเรียน การแต่งงาน ไทยกวยมีขั้นตอนในการแต่งงานตั้งแต่การพูดคุยสาว จนถึงการสู่ขอแต่งงาน ในระหว่างนี้ถ้ามีการผิดผีก็ต้องทำพิธีเสียผีตามแต่ความผิด ประเพณีการตาย เมื่อมีคนตายในหมู่บ้าน ในอดีตชาวกวยจะไม่ตำข้าว ไม่นำฟืนเข้าบ้าน ไม่ทอหูกจนกว่าจะนำศพไปฝังหรือเผา เพราะถือว่าเป็นการขะลำ ศพที่ตายธรรมดาจะฝังไว้ 1-2 ปี จึงจะทำบุญ ส่วนศพที่ตายโหงจะเผาและประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผีบรรพบุรุษ เช่น พิธีการเซ่นประกำ พิธีประสะ พิธีแกลมอ พิธีแกลออ ประเพณีถือของ(ขะลำ) รวมทั้งความเชื่อในเรื่องการสร้างบ้านเรือนและศาลประกำ (หน้า 15-30)

Education and Socialization

จากรายงานการศึกษาระบุว่า ชาวไทยกวยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการผสมกลมกลืนกันทางด้านวัฒนธรรมหลัก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาทำให้มีขนบธรรมเนียม และพิธีกรรม คล้ายกับของชาวไทยพุทธโดยทั่วไปแต่ลักษณะดั้งเดิมก็ทำให้มีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของชาวไทยลาว และถึงแม้รัฐบาลจะได้จัดการศึกษาภาคบังคับ ป.6 ทุกหมู่บ้านแล้ว แต่คุณภาพการศึกษายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้โอกาสในการศึกษาต่อระดับมัธยมของกลุ่มชาติพันธุ์กวยนี้อยู่ในวงจำกัดมาก (หน้า 2) การศึกษาอบรมเด็กในแต่ละครอบครัวจะเป็นการอบรมจากประสบการณ์จริงที่พ่อแม่ ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ พ่อแม่จะอบรมลูกของตนให้มีความขยัน อดทน ในการทำมาหากิน ประกอบอาชีพ เช่น ถ้าบ้านไหนพ่อเป็นช่างไม้ ลูกชายก็เป็นช่างไม้ ถ้าแม่เป็นคนเลี้ยงไหม ทอผ้าสวย ลูกสาวก็จะปฏิบัติตามได้ดีเหมือนแม่ด้วย (หน้า 18)

Health and Medicine

วิธีชีวิตของชาวไทยกวยขึ้นอยู่กับประเพณี ความเชื่อเป็นส่วนใหญ่ ในเรื่องของสาธารณสุข ยารักษาโรค และสุขภาพนั้นโดยมากจะเป็นการปฏิบัติแบบโบราณ คือ เป็นการปฏิบัติในแง่ของข้อห้าม และข้อที่ต้องประพฤติ อาจคิดได้ในแง่ของปรัชญาคติ เช่น ต้องถือการอยู่ไฟของหญิงคลอดบุตรให้เคร่งครัดนั้น มีคติในการหลังรักษาแผลหลังคลอด และการกินอาหารที่ไม่เป็นของแสลงนั้นมีผลต่อสุขภาพด้านการระวังตัวจากโรคแทรกซ้อน การปฏิบัติทั้งสองประการถือเป็นการเร่งให้น้ำนมของมารดามีมาก ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ทางราชการก็ได้อำนวยความสะดวก มีโรงพยาบาลและ สาธารณสุขในหมู่บ้านแล้วก็ตาม ชาวไทยกวยในหมู่บ้านยังพึ่งหมอตำแยในการคลอด (หน้า 15)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ชาวไทยกวยไม่มีอักษรใช้เป็นของตนเองมีแต่ภาษาที่อยู่ในตระกูล มอญ-เขมร วรรณกรรมต่าง ๆ จะถูกถ่ายทอดโดยการเล่าสืบต่อกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (หน้า 31–47) วรรณกรรมต่าง ๆ ได้แก่ - ภาษิตคำสอนต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดแบบมุขปาฐะโดยผู้เฒ่าผู้แก่ เช่น หวังมลออน คิดกลอยคิดมะแนะ/จะทำอะไรให้คิดหน้า คิดหลังก่อน - ปริศนาคำทาย ซึ่งจะชี้ให้เห็นความเป็นอยู่สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ประลองปัญญาของชาวกวยจากผู้ใหญ่ต่อเด็ก ปริศนาคำทาย แบ่งได้เป็นหมวดเช่น หมวดเกี่ยวกับสัตว์ หมวดเกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย หมวดพืชผัก ผลไม้ และหมวดทั่วไป - นิทานสอนใจ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกวย มีการปรับตัวเพื่อให้เกิดความกลมกลืนด้านต่างๆ กับกลุ่มชาติพันธุ์รอบๆ ใกล้เคียง คือ ความกลมกลืนด้านวัฒนธรรม ภาษา ขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิต เป็นการผสมกลมกลืนด้านการแต่งกาย ความเชื่อทางด้านศาสนา ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมการรวมกลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ไทยเขมร และไทยกวย จะใช้ภาษาตนเองสื่อสารในกลุ่มของตนเอง แต่การสื่อสารนอกกลุ่มจะมีการปรับเข้าหากันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นการให้เกียรติกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ในด้านสังคม ชาวไทยกวยใน อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ เป็นชาติพันธุ์กลุ่มน้อยได้พยายามปรับตัวโดยการเรียนรู้ และอดทน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ การปรับตัวดังกล่าว อาจมีผลมาจากการจัดการเรียนการสอนร่วมกันในระบบโรงเรียนของเยาวชนรุ่นใหม่ด้วย (หน้า 48-49) ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ในปัจจุบันวัฒนธรรมของชาวไทยกวยยังด้อยกว่าวัฒนธรรมกลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะชาวไทยกวยมีจำนวนน้อย มีภาษาพูดและความเชื่อเป็นลักษณะที่แตกต่างจากชนกลุ่มอื่น ดังนั้น การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยกวยจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องมีการศึกษาด้านพื้นฐานความเชื่อและการปรับตัว (หน้า 3, 51) การศึกษาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสานยังมีน้อยมากจึงสมควรที่นักวิชาการควรให้ความสนใจ และศึกษาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ จะถูกกลืนโดยวัฒนธรรมของชนภาคอื่นๆ จากหลายมุมโลกที่เผยแพร่เข้ามาตลอดเวลา (หน้า 3, 51)

Social Cultural and Identity Change

การปรับตัว การเปลี่ยนของโลกด้านต่าง ๆ ตลอดจนการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมนั้น ชาวไทยกวย จะปรับตัวเข้ากับกลุ่มชาติพันธุ์ได้ดี มีการแลกเปลี่ยน และผสมกลมกลืนจากวัฒนธรรมของกลุ่มอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ชาวไทยกวยใน อ.สตึก มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองเป็นค่านิยมและเอกลักษณ์ที่เด่น ๆ คือ (หน้า 50–51) - ค่านิยมพื้นฐาน คือ การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ ในการประกอบอาชีพโดยใช้ความสามารถของตนเอง - การเชื่อผู้นำ และผู้อาวุโส ซึ่งเป็นผู้ชี้นำแนวทางในการดำเนินชีวิต และเป็นผู้ปลูกฝังความรู้ มุมมองให้แก่ตน

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สุพจน์ นามไพร Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG กวย, กูย, ประวัติความเป็นมา, วัฒนธรรม, บุรีรัมย์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง