สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย กวย,ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,เญอ,การศึกษา,ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
Author กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
Title การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับชาวไทยต่างวัฒนธรรม
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, เยอ กูยเยอ, กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 147 Year 2531
Source กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
Abstract

เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษารวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ต่างๆ ของชาวไทยต่างวัฒนธรรมที่อยู่ใน 3 พื้นที่ประกอบด้วย ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ ชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชาวไทยที่พูดภาษายาวีหรือมุสลิมที่อยู่ในภาคใต้ การศึกษาในครั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับชาวไทยต่างวัฒนธรรมให้มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมประเพณี ศาสนาและความเชื่อ และให้ประชาชนในกรณีศึกษามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นรวมทั้งเป็นการส่งเสริมด้านความมั่นคงของประเทศ

Focus

ศึกษาความเสมอภาคในโอกาส คุณภาพและความต้องการทางการศึกษารวมทั้งคุณภาพชีวิตและลักษณะความเป็นพลเมืองไทยของชาวไทยต่างวัฒนธรรมเพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับชาวไทยต่างวัฒนธรรม ซึ่งได้แก่ ชาวเขาในภาคเหนือ ชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย และเยอและชาวไทยที่พูดภาษายาวี (หน้า 4,105)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาชาวไทยภูเขาที่อยู่อาศัยในภาคเหนือ ชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและชาวไทยที่พูดภาษายาวีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้ (หน้า 5) โดยเลือกกลุ่มที่มีมากในแต่ละภาคและเน้นกลุ่มที่อยู่ในจังหวัดใกล้ชายแดนได้แก่ กลุ่มชาวไทยภูเขา ในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน กลุ่มชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษและกลุ่มชาวไทยที่พูดภาษายาวีในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ทั้งนี้ในแต่ละจังหวัดจะเลือกหมู่บ้านเพียง 2 หมู่บ้าน เป็นตัวอย่าง ยกเว้นจังหวัดศรีสะเกษที่เลือกเพียง 1 หมู่บ้าน (หน้า 43)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีรายละเอียด

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

กลุ่มชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานเขียนได้ระบุความเป็นมาดังนี้ ชาวไทยที่พูดภาษาเขมร คือชาวเขมรที่สืบเชื้อสายมาจากเขมรโบราณในยุคอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ แต่เมื่ออ่อนแอลงก็ย้ายเมืองหลวงไปอยู่บริเวณทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันคือประเทศกัมพูชา ส่วนชาวเขมรดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งไม่ได้ย้ายตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนมาในระหว่างเกิดสงครามระหว่างไทยกับเขมรในสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (หน้า 14) สำหรับส่วยนั้นเมื่อ พ.ศ.2460 ในช่วงที่มีการตั้งเมืองสุรินทร์ ได้มีกลุ่ม”ส่วย”หรือ “กุย” ที่ตั้งที่อยู่ที่เมืองอัตบือแสนแป (หน้า 14) หรือในภายหลังเป็นแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงได้ย้ายข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในกลุ่ม”เยอ” รายงานระบุว่าไม่มีข้อมูลมาก เพียงแต่เป็นกลุ่มที่มีภาษาพูดแตกต่างกับส่วยและมีประชากรไม่มาก ซึ่งในจำนวนกลุ่มประชากรนี้ มีประมาณ 3 ล้านกว่าคน โดยแบ่งออกเป็นคนที่พูดภาษาเขมร 2 ล้านคน ส่วย 3 แสนคน นอกจากนี้คือ ลาว เยอ เป็นต้น (หน้า15)

Settlement Pattern

สภาพทางสังคมชาวเขาชอบตั้งหมู่บ้านอยู่กันเป็นเผ่า การตั้งหมู่บ้านจะขึ้นอยู่กับสังคมและเศรษฐกิจ กลุ่มชาวเขาที่ปลูกฝิ่น อาทิ แม้ เย้า จะสร้างบ้านที่อยู่ในระดับความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไปและมีอากาศหนาวเย็น ส่วนกะเหรี่ยง กับ ลัวะ จะตั้งหมู่บ้านในพื้นที่ไม่สูงเพราะปลูกข้าวเป็นพืชหลัก สำหรับการย้ายไปตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่มีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น พื้นที่เพาะปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์ หรือพื้นที่เพาะปลูกอยู่ไกลจากหมู่บ้าน นอกจากนี้ก็มาจากสาเหตุเกิดความขัดแย้งในหมู่บ้าน หรือเกิดโรคระบาดในหมู่บ้าน ขนาดของหมู่บ้านมีทั้งที่เป็นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หมู่บ้านขนาดเล็กจะตั้งบ้านอยู่ห่างกันบางแห่งมีบ้านเรือน 2-3 หลังคาเรือน หมู่บ้านขนาดใหญ่บางแห่งจะมีจำนวน 120 หลังคาเรือน แต่โดยเฉลี่ยหมู่บ้านชาวเขาจะมีประมาณ 20-30 หลังคาเรือน (หน้า 8)

Demography

หมู่บ้านกลุ่มชาวไทยภูเขา มีจำนวนครัวเรือน 148 ครัวเรือนโดยเป็นชาติพันธุ์แม้วกับกะเหรี่ยงมีจำนวนทั้งหมด 966 คนแบ่งเป็นเพศชาย 497 คนและเพศหญิง 499 คน จัดอยู่ในวัยเรียน (5-14 ปี) มากที่สุด รองลงมาคือวัยหนุ่มสาว(15-25 ปี) และวัยเด็ก(0-5 ปี) ตามลำดับ (หน้า 47หน้า 105 ตารางหน้า 52,62) หมู่บ้านกลุ่มชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วน เยอ มีจำนวนครัวเรือน 596 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 3,096 คน แบ่งเป็นเพศชาย 1,539 คนและเพศหญิงจำนวน 1,557 คน จัดอยู่ในวัยผู้ใหญ่ (26-45 ปี) มากที่สุดรองลงมาคือวัยเรียน (5-14 ปี)และวัยหนุ่มสาว (15-25 ปี) ตามลำดับ (หน้า 49,106 ตารางหน้า 52,62) หมู่บ้านกลุ่มชาวไทยที่พูดภาษายาวี มีจำนวนครัวเรือน 600 ครัวเรือน จำนวนประชากร 3,269 คน เป็นเพศชาย 1,642 คน และเพศหญิงจำนวน 1,627 คน จัดอยู่ในวัยเรียน (5-14 ปี) มากที่สุด รองลงมาคือวัยหนุ่มสาว (15-25 ปี) และวัยผู้ใหญ่ (26-45 ปี)ตามลำดับ (หน้า 50 ตารางหน้า 52,62)

Economy

ชาวไทยภูเขา เศรษฐกิจเป็นแบบเลี้ยงตนเองทำอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ปลูกข้าวเอาไว้กินในครอบครัวและปลุกพืชเศรษฐกิจอาทิเช่น งา กาแฟ ถั่วเหลือง ข้าวโพดและอื่นๆ ส่วนการเลี้ยงสัตว์จะเลี้ยงหมู ไก่ วัว ควาย เป็นต้น สำหรับการจัดกลุ่มอาชีพและการผลิตมี 2 แบบด้วยกันคือ (หน้า 7) 1) กลุ่มชาวไทยภูเขาปลูกฝิ่นเป็นประเพณี (TRADITIONAL OPIUM-GROWERS) อาทิ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ และอีก้อ ในกลุ่มนี้จะทำไร่เลื่อนลอยแบบปฐมภูมิคือการปลูกพืชจะปลูกที่เดิมเมื่อแร่ธาตุอาหารในดินเริ่มเสื่อมก็จะไปถากถางที่ดินใหม่ (หน้า 7) 2) กลุ่มชาวไทยภูเขาโดยประเพณีมิได้ปลูกฝิ่น (TRADITIONAL-NON- OPIUM-GROWERS) ประกอบด้วย กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น ขมุ การเพาะปลูกจะเป็นแบบทำไร่แบบหมุนเวียน โดยจะโค่นถางป่าแล้วเผาก่อนการเพาะปลูก เมื่อปลูกได้ 1-2 ปี ก็จะปล่อยให้พื้นดินฟื้นตัวเป็นเวลา 4-10 ปี เมื่อดินฟื้นตัวจนมีความอุดมสมบูรณ์ก็จะกลับมาปลุกพืชบนที่ดินเดิม (หน้า 8) สำหรับชาวไทยภูเขากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ข้าวโพด พืชผักและเลี้ยงหมู ไก่เพื่อบริโภคในบางกลุ่มก็จะปลูกฝิ่นหรือปลูกกาแฟเพื่อสร้างรายได้ และในบางกลุ่มก็จะทำงานรับจ้างเพื่อหารายได้ (หน้า 47) มีรายได้ต่อครัวเรือนต่อปีคิดเป็น 22,046 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ส่วนรายได้ต่อหัวต่อปีคิดเป็น 3,253.87 บาทต่อคนต่อปี (หน้า 70) ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ประชากรในหมู่บ้านตัวอย่างส่วนใหญ่ทำไร่ ทำนา เป็นหลักและรับจ้าง ค้าขาย เลื่อยไม้ เผาถ่านเป็นอาชีพรอง(หน้า 49) มีรายได้ต่อครัวเรือนต่อปี 28,090 บาทต่อครัวเรือนต่อปีส่วนรายได้ต่อหัวคิดเป็น 5,407.57 บาทต่อหัวต่อปี (หน้า 70) ชาวไทยมุสลิม อาชีพของประชากรหมู่บ้านตัวอย่างมีทั้งทำนา ทำสวนยาง และประมงในช่วงว่างฤดูทำนา ชาวบ้านจะไปทำสวนยางหรือรับจ้างตัดยางหรือทำไร่ทำสวนต่างๆ หรือไปรับจ้างที่ประเทศมาเลเซียต่อ พอช่วงฤดูเก็บเกี่ยวก็จะกลับมาเก็บเกี่ยวข้าวในนาของตน แล้วจึงกลับไปทำสวนยางหรือรับจ้างตัดยางต่างถิ่นหรือต่างประเทศ (หน้า 51) กลุ่มตัวอย่างมีรายได้ต่อครัวเรือนต่อปี 37,343 บาทต่อครัวเรือนต่อปีและมีรายได้ต่อหัวต่อปี 6,404.81 บาท (หน้า 70)

Social Organization

ชาวไทยภูเขา ระบบครอบครัวมีทั้งระบบครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย ที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะการแต่งงานและประเพณี เช่นในกลุ่มแม้ว เย้า ลีซอ และอีก้อส่วนมากจะเป็นครอบครัวขยายมากกว่าครอบครัวเดี่ยว เนื่องจากผู้ชายสามารถมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน ส่วนในกลุ่ม กะเหรี่ยง ลัวะ มูเซอ จะแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นแบบครอบครัวเดี่ยวมากกว่าครอบครัวขยาย (หน้า 9) สภาพสังคมของชาวไทยภูเขามีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสงบ ช่วงเวลาปกติก็ทำงานในไร่นา ผู้หญิงจะทำงานบ้านและทอผ้าเย็บผ้าให้กับคนในครอบครัว ส่วนเด็กถ้าอายุมากกว่าสิบขวบก็จะช่วยทำงานในไร่ แต่ถ้าอายุต่ำกว่าสิบขวบก็จะช่วยดูแลน้องอยู่ที่บ้านและเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเช่น หมู ไก่ (หน้า 48) ชาวเขาจะยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง ให้ความเคารพและเชื่อฟังผู้สูงอายุ (หน้า 9) ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ไม่มีรายละเอียด ชาวไทยมุสลิม - ไม่ได้กล่าวถึง

Political Organization

ชาวไทยภูเขา ในหมู่บ้านจะมีหัวหน้าปกครองหมู่บ้าน การสืบทอดตำแหน่งอาจจะรับตำแหน่งจากหัวหน้าคนก่อน หรือได้รับการเลือกตั้งจากคนในหมู่บ้าน ทุกวันนี้ผู้นำหมู่บ้านเช่นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ส่วนหนึ่งเริ่มมีการได้รับการแต่งตั้งจากทางการ (หน้า 9) ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ในสังคมมีความเชื่อต่อผู้นำชุมชน และผู้นำชุมชนมีบาทบาทอย่างมากในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน (หน้า 16) ชาวไทยมุสลิม มุสลิมทำอาชีพการเกษตรส่วนใหญ่มีความยากจน ประชาชนพูดภาษามลายูในชีวิตประจำวันและไม่ค่อยได้พูดหรือฟังภาษาไทย (หน้า 21) ดังนั้นจึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ (หน้า 22)

Belief System

ชาวไทยภูเขา ชาวไทยภูเขาทุกกลุ่มนับถือผี โดยเชื่อว่าผีสามารถให้ทั้งคุณและโทษดังนั้นจึงมีการเซ่นไหว้อยู่เป็นประจำ แต่ในทุกวันนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอกและชาติพันธุ์อื่นภายหลังชาวเขาจึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนา อาทิ ศาสนาพุทธ คริสต์และอิสลาม (หน้า 9) ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์รวมทั้งพิธีกรรมทางความเชื่อนับตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับพิธีทางไสยศาสตร์ที่เชื่อเช่น เครื่องราง ของขลัง การปลุกเสก (หน้า 16) ชาวไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม มีหลักการสำคัญที่ต้องปฏิบัติคือ ปฏิญาณตนว่ามีพระเจ้าองค์เดียวคือ “องค์อัลเลาะห์” โดยจะทำการนมัสการพระเจ้าวันละ 5 เวลา และการบริจาคทาน “ซากาตพิตเราะห์”จะเริ่มจากวันแรกของเดือนรอมฎอนหรือเดือนถือศีลอด การถือศีลอด รวมทั้งการไปประกอบพิธีฮัจยี ที่เมืองเมกกะ (หน้า 19)

Education and Socialization

ชาวไทยภูเขา ในกลุ่มประชากรตัวอย่าง 996 คน พบว่ามีผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาจำนวน 236 คน (23.7%) มัธยมศึกษาจำนวน 7 คน (0.7%) (ตารางหน้า 52) ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ด้านการศึกษามาจากที่ครูและนักเรียนสื่อสารกันไม่เข้าใจจึงทำให้เกิดอุปสรรคด้านการเรียนการสอน (หน้า 24) ทั้งนี้ในกลุ่มชาวเขาซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 71.7% และมีผู้ที่อ่านเขียนภาษาไทยได้มี 18% (หน้า 47) สำหรับหมู่บ้านกรณีศึกษา มีสถานศึกษาดังนี้ โรงเรียนประถมศึกษามี 2 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-4 จำนวน 1 แห่งและเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 อีก 1 แห่ง สำหรับหมู่บ้านที่ไม่มีโรงเรียนในระดับประถมศึกษาก็จะมีศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนชาวเขาซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยทำการสอนในระดับประถมศึกษาให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาทั้งเด็กนักเรียนและวัยผู้ใหญ่ (หน้า 48) ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ในกลุ่มประชากรกรณีศึกษา 3,096 คน พบว่ามีผู้ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 2,155 คน (69.6%)และในระดับการศึกษามัธยมศึกษา 40 คน (1.3%) (ตารางหน้า 52) ในกลุ่มตัวอย่างรวมยอดผู้ที่ได้รับการศึกษาทั้งหมดมีจำนวน 72.6 % โดยคิดเป็นคนที่สามารถฟังและพูดภาษาไทยได้มี มากกว่า 70% และผู้ที่สามารถอ่าน เขียน ภาษาไทยได้มีจำนวน 60 % (หน้า 49) ชาวไทยมุสลิม ในกลุ่มกรณีศึกษา 3,269 คน พบว่ามีผู้ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 1,645 คน (50.3%) และระดับมัธยมศึกษา 209 คน หรือ 6.4 % (ตารางหน้า 52) จากการศึกษาพบว่ามุสลิมไม่ค่อยสนใจเรื่องการศึกษาภาษาไทย และไม่ค่อยส่งเสริมให้ลูกหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาล ดังนั้นจึงทำให้อ่านเขียนภาษาไทยได้เป็นจำนวนน้อย (หน้า 36) ทั้งนี้ในกลุ่มตัวอย่างมีผู้ได้รับการศึกษา 60.7 % ในจำนวนนี้จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-4) คิดเป็น 37% และมีผู้สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้จำนวน 46-49 % (หน้า 50)

Health and Medicine

ชาวไทยภูเขา จากการศึกษาในเรื่องสุขภาพอนามัยพบว่า หญิงชาวไทยภูเขามีอัตราการคลอดจากผู้ที่ได้รับการฝึกหัดการทำคลอดจำนวน 31 คนต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ที่ได้รับการทำคลอดจากเจ้าหน้าที่ผ่านการทำคลอด มีจำนวน 9.7 % สำหรับสถานที่ที่ไปทำคลอดจำแนกได้ดังนี้ คลอดลูกเองที่บ้าน 68.9% คลอดโดยหมอตำแยคิดเป็น 23.4 %และที่โรงพยาบาล 4.1% ส่วนอัตราการตายส่วนใหญ่จะมาจากการป่วย (หน้า 66-68) ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ ในหมู่บ้านกรณีศึกษา มีสถานีอนามัย 2 แห่งมีผู้สื่อข่าวสาธารณสุขจำนวน 20 คนและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 1-2 คน (หน้า 49) ในเรื่องสุขภาพอนามัยพบว่า หญิงชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย เยอ มีอัตราการคลอดจากผู้ที่ได้รับการฝึกหัดการทำคลอดจำนวน 71 คนต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ที่ได้รับการทำคลอดจากเจ้าหน้าที่ผ่านการทำคลอด มีจำนวน 20 % สำหรับสถานที่ที่ไปทำคลอดจำแนกได้ดังนี้ คลอดโดยหมอตำแยคิดเป็น 77.3 % คลอดเองที่บ้าน9.3 % และคลอดโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกหัดทำคลอด 6.5 % ส่วนอัตราการตายส่วนใหญ่จะมาจากการป่วย (หน้า 66-68) ชาวไทยมุสลิม ในหมู่บ้านกรณีศึกษา มีสถานีอนามัย 2 แห่งมีผู้สื่อข่าวสาธารณสุขจำนวน 25 คนและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 3 คน (หน้า 51) ในเรื่องสุขภาพอนามัยพบว่า หญิงชาวไทยมุสลิม มีอัตราการคลอดจากผู้ที่ได้รับการฝึกหัดการทำคลอดจำนวน 238 คนต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ที่ได้รับการทำคลอดจากเจ้าหน้าที่ผ่านการทำคลอด มีจำนวน 31.2 % สำหรับสถานที่ที่ไปทำคลอดจำแนกได้ดังนี้ คลอดโดยหมอตำแยคิดเป็น 67.2 % และคลอดโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกหัดทำคลอด 29.5 %คลอดที่โรงพยาบาล 2.1% ส่วนอัตราการตายส่วนใหญ่จะมาจากการป่วย (หน้า 66-68)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ชาวไทยภูเขา - ไม่มี ชาวไทยพูดภาษาเขมร ส่วย เยอ –ไม่มี ชาวไทยมุสลิม การแต่งกาย หญิงมุสลิม สวมเสื้อปกปิดร่างกายด้วยเสื้อผ้าอย่างมิดชิด เพราะว่าศาสนาได้กำหนดไม่ให้ผู้หญิงที่นับถือศาสนาอิสลามแต่งกายด้วยชุดที่เปิดเผย ดังนั้นจึงทำให้หญิงมุสลิมแต่งตัวไม่เหมือนคนไทยส่วนใหญ่ ยกเว้นแต่ในกลุ่มที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (หน้า 20)

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลักษณะความเป็นพลเมืองไทย รายงานระบุว่าจากการศึกษาพบว่าการทดสอบความรู้ ความคิดเห็น รวมทั้งการปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยนั้นมีความแตกต่างกัน กลุ่มคนไทยที่พูดภาษาเขมร ส่วย เยอ มีคะแนนสูงสุด อันดับสองเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษายาวี และกลุ่มชาวเขามีคะแนนน้อยที่สุด ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มนักเรียนจะมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มหัวหน้าครอบครัว และเพศชายจะมีคะแนนสูงกว่าเพศหญิง ความเป็นพลเมืองไทยมีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านภาษาไทย คือกลุ่มที่ฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยได้ดีจะมีคะแนนที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่รู้ภาษาไทย และกลุ่มที่ได้รับการศึกษาจะมีคะแนนความเป็นพลเมืองไทยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการศึกษา (หน้า 109) สำหรับการวิเคราะห์ลักษณะความเป็นพลเมืองไทยนั้นพบว่าลักษณะความเป็นพลเมืองไทยของชาวไทยต่างวัฒนธรรมสัมพันธธ์กับความสามารถในการ ฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย คือถ้าสามารถฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ก็จะมีคะแนนที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่รู้ภาษาไทย ทั้งนี้ความสามารถในการใช้ภาษาและการได้รับการศึกษาคือตัวแปรที่ทำให้ชาวไทยต่างวัฒนธรรมมีลักษณะความเป็นพลเมืองไทยมากขึ้น อันจะเป็นผลดีในด้านการแก้ปัญหาด้านการเมืองและเศรษฐกิจ (หน้า 113-114)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง จำนวนและร้อยละของประชากรในหมู่บ้านตัวอย่างที่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (หน้า 52) ประชากรที่เคยได้รับการศึกษาจำแนกตามกลุ่มอายุ (15ปีขึ้นไป) (หน้า 52) ประชากรกลุ่มอายุต่างๆ ที่ได้รับการศึกษา (หน้า 53) อัตราการมาเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหรือเทียบเท่าในโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้านตัวอย่าง (หน้า 54) อัตราการเรียนต่อชั้นมัธยม (หน้า 55) ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ในกลุ่มชาวไทยต่างวัฒนธรรม (หน้า 56) อัตราการเลื่อนชั้นเฉลี่ยของนักเรียนประถมศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2523-2527 (หน้า 57) จำนวนและร้อยละของครูโรงเรียนประถมศึกษาในหมู่บ้านตัวอย่าง จำแนกตามวุฒิการศึกษา (หน้า 59) อัตราส่วนนักเรียนต่อครู (หน้า 60) อัตราส่วนครูต่อห้องเรียน (หน้า 61) สัดส่วนอัตราการเกิดปี 2527 (หน้า 62) การวางแผนครอบครัวของชาวไทยต่างวัฒนธรรมในปี 2527 (หน้า 62) อัตราการเจริญพันธุ์ปี 2527 (หน้า 63) จำนวนสมาชิกต่อครัวเรือน (หน้า 63) ร้อยละของจำนวนสมาชิกในครัวเรือนของชาวไทยต่างวัฒนธรรมจำแนกตามขนาดครอบครัว (หน้า 64) จำนวนบุตรเฉลี่ยของมารดากลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี 26-45 ปี 46 ปีขึ้นไปและทุกกลุ่มอายุ (หน้า 64) อัตราร้อยละของเด็กต่ำกว่า 5 ปี ที่อยู่ในภาวะขาดอาหารปี 2527 (หน้า 65) อัตราการคลอดของมารดา (หน้า 66) มารดาอายุต่ำกว่า 25 ปี ที่ได้นับการทำคลอด (หน้า 66) มารดาที่ได้รับบริการทำคลอดในสถานที่คลอดต่างๆ จำแนกตามกลุ่มอายุ (หน้า 67) สัดส่วนของครัวเรือนที่ใช้น้ำดื่มผ่านกรรมวิธีต่างๆ (หน้า 67) อัตราการตายของชาวไทยต่างวัฒนธรรม (หน้า 68) การตายเนื่องมาจากโรคต่างๆ (หน้า 69,70) รายได้ต่อหัวต่อปีและรายได้ครัวเรือนต่อปี ในปี 2526 (หน้า 70) ค่าใช้จ่ายและรายได้สุทธิต่อครัวเรือน (หน้า 71) ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน(หน้า 72) รายได้และรายจ่ายในการเพาะปลูก (หน้า 73) ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน (หน้า 74) ผู้มีที่ดินของตนเองและที่เช่าที่ดินทำกิน (หน้า 75) ครัวเรือนที่มีเงินออม (หน้า 75) หนี้สิน (หน้า 76) การเก็บเงินออมด้วยวิธีต่างๆ (หน้า 76) การมีหนี้สินเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายด้านต่างๆ (หน้า 77) ครัวเรือนที่มีวิทยุและโทรทัศน์ (หน้า 78) ครัวเรือนที่มีสมาชิกไปทำงานที่อื่น (หน้า 79) รายได้ที่ส่งกลับมาให้ครัวเรือน (หน้า 80) ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยลักษณะความเป็นพลเมืองไทยของชาวไทยต่างวัฒนธรรม จำแนกตามเพศของหัวหน้าครัวเรือน เยาวชน และนักเรียน (หน้า 81) ความสามารถในการฟัง, พูด,อ่าน,เขียนภาษาไทย (หน้า 82,83) จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน, ระดับการศึกษา (หน้า 84,86) ความเป็นพลเมืองของเยาวชน จำแนกตามจำนวนปีที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน,ระดับการศึกษา (หน้า 85,87) ร้อยละของประชากรใน 3 พื้นที่ที่สนใจเรียนการศึกษาผู้ใหญ่จำแนกตามกลุ่ม (หน้า 88) ช่วงเวลาต่างๆ (หน้า 88,89) พื้นที่ที่สนใจในการเข้ารับการฝึกวิชาชีพจำแนกตามกลุ่ม (หน้า 89) จำแนกตามกลุ่มและประเภทวิชาชีพ (หน้า 90) พื้นที่ที่สนใจในการเข้ารับการอบรมวิชาชีพในช่วงเวลาต่างๆ จำแนกตามกลุ่ม (หน้า 91) ที่สนใจในการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ จำแนกตามกลุ่ม (หน้า 92) จำแนกตามกลุ่มและประเภทสมาชิก (หน้า 93) ร้อยละของความคิดเห็นในการใช้ทักษะความรู้จากโรงเรียนประถมศึกษา ในชีวิตประจำวันของประชากร 3 พื้นที่จำแนกตามกลุ่มและระดับการใช้ความรู้ (หน้า 94) ร้อยละของประชากรใน 3 พื้นที่ที่ต้องการให้โรงเรียนประถมศึกษาเพิ่มเติมความรู้ จำแนกตามกลุ่ม ,ประเภทวิชา (หน้า 96,97) พื้นที่ให้เหตุผลและส่งบุตรหลานเข้าเรียนประถมศึกษา จำแนกตามกลุ่มและเหตุผล (หน้า 98) ในเรื่องความต้องการให้บุตรหลานเรียนและต้องการเรียน จำแนกตามกลุ่ม (หน้า 99) ร้อยละของความต้องการให้บุตรชาย-หญิงและความต้องการเรียนของประชากรทั้ง 3 พื้นที่ จำแนกตามกลุ่มและระดับการศึกษาที่ต้องการให้เรียนและต้องการเรียน (หน้า 99) ความต้องการประกอบอาชีพของประชากรทั้ง 3 พื้นที่ จำแนกตามกลุ่ม (หน้า 100) ร้อยละของความต้องการให้บุตรชาย-หญิง ประกอบอาชีพและความต้องการในการประกอบอาชีพของประชากรใน 3 พื้นที่ จำแนกตามกลุ่มและอาชีพ (หน้า 101) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพชุมชน (หน้า 127) ประชากรจำแนกตามกลุ่ม (หน้า 129) อาชีพหลักและอาชีพรองของหัวหน้าครัวเรือน (หน้า 131) ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสทางการศึกษา คุณภาพการศึกษาและทรัพยากรทางการศึกษารวมทั้งอัตราการเกิดระดับจังหวัดและทั่วประเทศปี 2527 (หน้า 132)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 10 ก.ย. 2561
TAG กูย กวย, ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, เญอ, การศึกษา, ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง