สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,กวย,ช้าง,ความเชื่อ,พิธีกรรม,สุรินทร์
Author พิทยา หอมไกรลาศ
Title "ตากลาง" หมู่บ้านช้างแห่งลุ่มน้ำมูล
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 148 Year 2540
Source กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์
Abstract

บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านกวย มีอาชีพหลัก คือ การเลี้ยงช้าง และยังคงรักษาพิธีกรรมความเชื่อที่เกี่ยวกับช้าง เช่น พิธีเซ่นหนังประกรรม พิธีปะชิ พิธีเบิกไพร พิธีประสะ พิธีลาประกรรม และความสามารถในการฝึกและเลี้ยงช้าง ที่ต้องอาศัยความยอมรับและเชื่อใจกันระหว่างช้างและควาญช้าง ทั้งนี้ต้องศึกษาและสังเกต จากเสียงร้อง กริยาท่าทาง และลักษณะของช้าง นอกจากพิธีกรรมเกี่ยวกับช้างแล้ว กวยยังมีพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตมากมายที่ยังคงได้รับการยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมา

Focus

พิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง การโพนช้าง การฝึกและเลี้ยงช้าง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กวย ซึ่งนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าอยู่ใน ตระกูลออสโตรลอยด์ กวยมีรูปร่างเตี้ย จมูกแบน ผิวดำ ผมหยิก ริมฝีปากหนา (หน้า 19)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากวยเป็นภาษาหลักของบ้านตากลาง แต่เนื่องจากพื้นที่ใกล้เคียงมีคนไทยเชื้อสายเขมรและลาวอยู่มาก ทำให้ชาวบ้านตากลางยังสามารถพูดภาษาเขมร ภาษาลาว และภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาราชการ ภาษากวยเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก อยู่ในตระกูลย่อยกลุ่มมอญ-เขมร ภาษากวยเป็นภาษาที่มีพยางค์สองลักษณะ คือ พยางค์ที่มีสระเสียงก้อง มีลมเปล่งขึ้นมาขณะพูด และพยางค์ที่มีเสียงสระธรรมดา ซึ่งการเปล่งเสียงสระสองแบบนี้สามารถใช้แยกความหมายของคำออกจากกันได้ (หน้า 22)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชาวบ้านตากลาง ส่วนใหญ่เป็นกวย ซึ่งกวยได้เข้ามาตั้งรกรากกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ กันในอีสานตอนใต้เป็นเวลาช้านาน ตามพงศาวดาร กล่าวว่า กวยแทรกโพนช้างแถบดงใหญ่ได้ช่วยคล้องจับช้างเผือกที่แตกโรงมาทางแขวงเมืองพิมายส่งคืน ในสมัยพระบรมราชาที่ 2 (พระที่นั่งสุริยามรินทร์) กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทำให้หัวหน้าชุมชนมีความดีความชอบได้รับปูนบำเหน็จให้เป็นเจ้าเมืองรวมทั้งเจ้าเมืองสุรินทร์ สันนิษฐานว่ากวยบ้านตากลางจะเป็นลูกหลานกวยที่เคยช่วยกรุงศรีอยุธยาจับช้างเผือก และเชื่อว่าหมู่บ้านตากลางนี้น่าจะมีอายุมาสามชั่วอายุคน คือ ประมาณ 150-250 ปี ตั้งแต่อยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ ชื่อของหมู่บ้านสันนิษฐานว่า มาจากทำเลที่ตั้งหมู่บ้านซึ่งอยู่ตรงกลางพื้นที่ป่าสงวน หรืออาจมาจากชื่อหัวหน้าชุมชนผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน(หน้า 18)

Settlement Pattern

บ้านตากลางมีศูนย์กลางหมู่บ้านอยู่บนโคก (เนิน) มีบ้านเรียงรายอยู่ตามแนวถนนสายหลังของหมู่บ้าน บ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง หากมีช้าง ส่วนหน้าบ้านมักใช้เป็นโรงช้าง มีหลังคาสูงราว 4 เมตรเพื่อใช้ผูกช้างยามค่ำคืน ใต้ถุนบ้านแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ใช้เป็นคอกสัตว์ โรงเลี้ยงไหม ทอผ้าและเก็บอุปกรณ์ทำนา บ้านที่ทำนาจะมียุ้งฉางไว้ใกล้บ้าน บ้านของหมอช้าง จะมีศาลประกรรม ลักษณะเป็นหอไม้ 4 เสา หันหน้าไปทางทิศเหนือ ใช้เป็นที่เก็บหนังประกรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ ด้านบนบ้านยกพื้นเป็นสองระดับ ส่วนบนมีฝากั้นเป็นห้องของพ่อแม่และลูกที่ยังเล็กหรือลูกสาว ส่วนที่เปิดโล่งจัดเป็นที่นอนของลูกชาย โดยพื้นที่ต่ำกว่าจะใช้เป็นที่ประกอบอาหาร และเก็บของ บ้านกวยโบราณจะไม่มีหน้าต่าง เพื่อลดปัญหาเรื่องชู้สาว ในเวลาที่ผู้ชายออกไปคล้องช้างป่า และเพื่อความปลอดภัยของคนในบ้าน (หน้า 24-25)

Demography

บ้านตากลางมีประชาชนอาศัยอยู่ทั้งหมด 201 หลังคาเรือน มีประชากรจำนวน 1,200 คน มีช้าง รวมทั้งหมด 124 เชือก (หน้า 25)

Economy

ชาวบ้านตากลางมีอาชีพหลากหลาย เช่น ทำนา ทำไร่ ขายแรงงาน ค้าขาย แต่อาชีพที่นำรายได้สู่หมู่บ้านมากที่สุดมาจากการเลี้ยงช้าง ในอดีตรายได้มาจากการขายช้างให้กับธุรกิจทำไม้ เพื่อใช้ชักลากไม้ แต่เมื่อรัฐบาลปิดสัมปทานทำป่าไม้ บ้านตากลางจึงไม่มีรายได้ส่วนนี้ ปัจจุบันควาญช้างจะฝึกช้างให้แสดงความสามารถทำงานรับจ้างตามปางช้างหรือสวนสนุก ถ้าแสดงเก่ง สวยและนิสัยดีอาจได้ถ่ายโฆษณา หรือภาพยนตร์ หรือเดินทางไปแสดงที่ต่างประเทศ ส่วนช้างกลุ่มที่ไม่มีงานทำ พากันออกเดินทางเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่าง ๆ มีรายได้จากการขายเครื่องรางของขลัง ภายหลังได้ขายกล้วย อ้อย ให้ประชาชนซื้อเลี้ยงช้าง (หน้า 126-127)

Social Organization

ลักษณะทางสังคมของบ้านตากลาง เป็นโครงสร้างที่มาจากสังคมคนเลี้ยงช้าง ยังมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิกในหมู่บ้าน สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วยคนหลายวัย ผู้อาวุโสกว่าจะเป็นผู้ชี้นำผู้อ่อนกว่า สตรีกวย มีหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของบ้าน ดูแลเรื่องเครื่องนุ่งห่มของคนในครอบครัว ผู้ชายทำงานใช้แรงงาน เช่น แต่งคันนา ล่าสัตว์หาอาหาร จักสาน หรือดูแลเลี้ยงช้าง ในยามที่ต้องลงแรงและทำงานแข่งกับเวลา เช่น ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว ทั้งเด็ก หนุ่ม สาว คนแก่ ต้องลงแรงช่วยเหลือกัน ชาวบ้านตากลางที่เป็นกลุ่มเครือญาติจะปลูกบ้านอยู่ละแวกเดียวกัน และชาวบ้านตากลางจะมีนามสกุลซ้ำ ๆ กัน มีสกุลใหญ่ คือ "ศาลางาม" และ "จงใจงาม" (หน้า 25)

Political Organization

บ้านตากลางแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 หมู่ คือตากลาง หมู่ 9 และหมู่ 13 มีผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นอกจากผู้ใหญ่บ้านแล้ว ชาวบ้านที่เลี้ยงช้างยังให้ความเคารพและเชื่อฟังกรรมหลวงหรือครูบาใหญ่ หมอช้างอาวุโส ที่สืบทอดความรู้การจับช้างป่า เวทมนตร์คาถา และพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับช้าง ผู้ได้รับมอบอำนาจเต็มจากพระครู (พราหมณ์พฤก์บาศก์) ให้สามารถกระทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับช้างได้ (หน้า 25)

Belief System

ชาวบ้านตากลาง มีความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์ พุทธ วิชาคชศาสตร์ และความเชื่อท้องถิ่นเข้าด้วยกัน โดยมีศูนย์รวมความเชื่อและศรัทธา คือ ผีประกรรม เชื่อว่าเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ในเชือกหนังประกรรม เชือกนี้ทำจากหนังกระบือ ฟั่นเกลียวเป็นเชือกยาวประมาณ 40 เมตร เมื่อไม่ได้คล้องช้างจะเก็บไว้ที่ศาลประกรรม กวยเลี้ยงช้างต้องทำพิธีเซ่นไหว้เพื่อศิริมงคลหรือทำพิธีเสี่ยงทาย ถ้าทำผิดข้อห้ามของประกรรม จะเกิดเหตุร้ายกับคนในครอบครัวหรือช้าง นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องครูผู้รักษา สำหรับทารกที่มีรกพันศีรษะ (มีกระจอม) หรือมีรกพาดที่ไหล่ (มีสังวาน) หรือเด็กที่เลี้ยงยาก เจ็บป่วยบ่อย ต้องบูชาครูผู้รักษาตัวเด็ก ด้วยการทำขัน 5 สำหรับเด็กหญิง และขัน 8 สำหรับเด็กชาย ใส่กะลาแขวนไว้ที่หัวนอนของเด็ก แถน คือ ผู้เชื่อมต่อสื่อสารระหว่างคนในครอบครัวกับผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับโดยผ่านพิธีเล่นแถน กระทำเมื่อผู้มีแถนนั้นเจ็บป่วย หรือไม่เล่นแถนมานาน หมอมด หมอส่อง เมื่อเกิดเจ็บป่วยกวยจะไปหาหมอมด เพื่อสอบถามหาสาเหตุของความเจ็บป่วย และวิธีหนึ่งในการหาสาเหตุ คือการทำพิธีโบล โดยใช้ข้าวสาร เหรียญ 1 บาท และทำนายหาสาเหตุโดยดูการแกว่งของฝากระปุกปูน ธรรม์ เป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับมนต์และอาการของผู้ต้องมนต์ ที่อาจมีสาเหตุมาจากการทำคุณไส เกิดจากการกระทำของคนที่มีคาถาอาคม ผีเรือน หรือดุงปืด หรือ ยาจั่วดุง เป็นวิญญาณที่ปกป้องคุ้มครองสมาชิกในบ้านให้มีความสุข โดยสร้างหิ้งบูชาไว้ที่หัวนอน และเซ่นไหว้เสมอ เมื่อมีญาติพี่น้องมาค้างที่บ้าน เมื่อสมาชิกในครอบครัวตายหรือเจ็บป่วย ศาลปู่ตา หรือ ยะ-จั่ว-ฮอ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองหมู่บ้าน เปรียบเสมือนกับศาลหลักเมือง และจะต้องเซ่นไหว้ เพื่อให้ปู่ตาคุ้มครอง นอกจากนี้กวยยังเคารพเจ้าป่าเจ้าเขา เทวดานางฟ้า แม่ธรณี และเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง เพื่อปกป้องให้พ้นอันตราย สิ่งชั่วร้ายและช่วยให้มีโชค (หน้า 38-40) ชาวตากลางมีความสัมพันธ์กับศาสนาฮินดูในแง่พิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง มีการนับถือพระคเณศ (เทพที่มีเศียรเป็นช้าง) และพระครูประกรรม (เทวรูปหมอพราหมณ์พฤกบาศ์) สำหรับศาสนาพุทธ ชาวตานับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป โดยมีวัดอยู่ 1 แห่งตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้าน ชื่อ "วัดแจ้งสว่าง" เป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนาต่าง ๆ (หน้า 50)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของกวยบ้านตากลาง ตามแบบดั้งเดิม คือ ผู้ชายนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ทอขึ้นจากไหมที่เลี้ยงกันในครัวเรือน มีทั้งสีดำ สีแดง สีเม็ดมะขาว หรือสีเหลือบทอง เป็นต้น การแต่งกายแบบดั้งเดิมพบเห็นได้จากผู้สูงอายุ หรือในช่วงมีงานบุญ งานประเพณีที่สำคัญ ผ้าพื้นเมืองประกอบด้วย - ผ้านุ่ง ผ้านุ่งของผู้หญิงจะทอหมี่ขึ้นแถบยาวในแนวดิ่ง ใช้ไหมควบพื้นสีน้ำตาลอมดำ ส่วนผ้านุ่งผู้ชาย มีสีเดียวออกเหลือบมันแต่หนา เมื่อนุ่งจะจับจีบไว้ข้างหน้า ผ้าโสร่งของผู้ชาย ทอเป็นผ้าหนา มีลวดลายเป็นตาสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยไหมสีแดง สีเหลือง และสีเขียวเหลือบทอง - ผ้าสไบ ผู้หญิงใช้พาดบ่าโดยทำเป็นลายยกดอก ส่วนผู้ชายใช้ผ้าขาวม้า - ผ้าหัวซิ่น ตีนซิ่น ผ้าหัวซิ่นของผู้หญิงเป็นส่วนต่อขึ้นมาจากตัวผ้าซิ่น เวลานุ่งจะพับลงมาเป็นที่เก็บเงินหรือของมีค่า มักทอเป็นลายขิด ตีนซิ่นเป็นส่วนล่างสุดมีขนาด 3 นิ้ว ทำเป็นสีดำทอด้วยผ้าลายมัดหมี่ ส่วนผ้าคาดเอวของผู้ชาย จะทอเหมือนผ้าหัวซิ่น แต่กว้างกว่า นิยมสีพื้นสีแดงลายขิด อีกด้านทำเป็นซับในใช้เก็บเครื่องรางของขลัง โดยวางเครื่องรางเป็นระยะตามแนวยาวของผ้า ใช้เขาสัตว์หรือเถาวัลย์มัดแยกเป็นเปลาะ ๆ เรียกผ้านี้ว่า "กะไตครู" ใช้คาดเอวเวลาเดินทางไกลไปจับช้าง หรือเวลาทำงานเสี่ยงอันตราย สตรียังมีเครื่องประดับ เช่น ทัดดอกไม้หอมสีขาวไว้ที่ติ่งหู ตุ้มหูเงิน ตุ้มหูทอง สร้อยคอลูกปัดพลาสติก ลูกปัดเงิน (หน้า 26)

Folklore

ตำนานหมอเฒ่าและพระครูประกรรม เดิมทีพระหมอเฒ่าเป็นผู้มีความสามารถในวิชาคชศาสตร์สูงจับช้างป่าได้เก่งกว่าใคร มีลูกชายชื่อ "ก่อง" เป็นคนที่ระลึกชาติได้ว่า ตนเคยเป็นช้างมาก่อน เมื่อก่องโตขึ้น พระหมอเฒ่าได้พาก่องเข้าป่าเพื่อฝึกคล้องช้างป่า และพาภรรยาไปด้วย โดยให้รอทีที่พัก ระหว่างทางสองพ่อลูกได้เถียงกันตลอดว่าจะคล้องลูกช้าง หรือแม่ช้าง เมื่อพบโขลงช้าง พระหมอเฒ่าจะคล้องลูกช้าง ส่วนก่องอยากคล้องแม่ช้าง เพราะจำได้ว่า แม่ช้างนี้เป็นแม่ของเขาจึงขึ้นหลังแม่ช้างหายเข้าป่าไป ส่วนภรรยาของพระหมอเฒ่าถูกเสือกินจนเหลือแต่เศษเนื้อแขน พระหมอเฒ่าผู้เสียทั้งบุตรและภรรยาจึงประกาศต่อบรรดาหมอช้างว่า ตนนั้นหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าได้กล่าวถึงตัวเราอีกต่อไป และฝากแขนภรรยาให้หมอช้างถักติดบ่วงบาศก์ที่ใช้คล้องช้าง ให้เรียกว่า "แขนนาง" ส่วนเวลาหมอออกคล้องช้างหรือฝึกช้างให้เรียกถึงก่องด้วย เพราะก่อง เป็นเจ้าของช้างทุกตัวในป่าแล้ว พระครูประกรรมได้รับคำพระหมอเฒ่าไว้เพื่อสืบประเพณีคล้องช้างต่อไป โดยมีกฏห้ามไม่ให้หมอช้างพ่อกับลูกเข้าป่าด้วยกัน ห้ามไม่ให้นำภรรยาเข้าป่าด้วย และห้ามไม่ให้หมอช้างขี่คอช้างป่าตัวที่เคยคล้องได้เข้าป่าและห้ามเถียงกัน (หน้า 56-57)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความเป็นเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เห็นได้ชัดคือ กลุ่มกวยเลี้ยงช้าง และมีพิธีกรรมเกี่ยวกับช้างที่ยังคงสืบทอดต่อมา ที่สำคัญ คือ พิธีประกรรม และการโพนช้าง นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์ทางด้านภาษาที่ยังคงใช้ภาษากวย และการแต่งกายแบบดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกวย

Social Cultural and Identity Change

การเลี้ยงช้างนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปโดยเฉพาะป่าไม้ วิถีชีวิตของควาญช้างและช้างก็เปลี่ยนไป จากการเลี้ยงช้างเพื่อชักลากไม้ในธุรกิจทำไม้ เปลี่ยนมาฝึกเพื่อการแสดงตอบสนองการท่องเที่ยว หรือเข้ามาเร่ร่อนหากินในเมือง

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การโพนช้างหรือการจับช้างป่า ฤดูโพนช้างเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ยกเว้นช่วงฤดูแล้ง ซึ่งน้ำหายากช้างป่าไม่ออกมาที่ราบ ไปแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5-8 เดือน ก่อนจะเดินทางไปจับช้างป่าต้องทำ "พิธีเซ่นหนังประกรรมและเสี่ยงทายกระดูกคางไก่" ถ้ากระดูกงองุ้มถือเป็นรางร้ายห้ามเดินทางเด็ดขาด ก่อนจะเดินทางใครที่ยังไม่เคยออกคล้องช้าง คือ ไม่เคยปะชิเป็นหมอช้างมาก่อน กรรมหลวงหรือครูบาใหญ่หัวหน้าคณะโพนช้างจะทำ "พิธีปะชิ" ให้ เมื่อทำเสร็จแล้วจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกติกาข้อห้ามต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เส้นทางโพนช้าง ภายหลังที่มีการสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก ขบวนคล้องช้างจึงมุ่งลงทางใต้และทางตะวันออก ใช้เส้นทางผ่านช่องเขาพนมดงรัก ผ่านพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น ศีรษะเกศ สุรินทร์ อุบลราชธานี เข้าสู่ประเทศกัมพูชา ไปทางตะวันออกเรื่อยไปจนถึงแขวงจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงป่าที่จะคล้องช้าง ต้องทำ "พิธีเบิกไพร" เพื่อเซ่นสรวงเจ้าป่า เมื่อพบช้างก็ทำการโพนช้าง โดยใช้เชือกประกรรม ในระหว่างที่คล้องช้างเกิดทำผิดข้อห้ามหรือคล้องได้ช้างที่มีลักษณะต้องห้าม ต้องทำ "พิธีประสะ" เพื่อชำระโทษปัดเสนียดจัญไรให้กับผู้คล้องช้าง เมื่อจับช้างได้มากพอและข้าวสารเหลือน้อยจะยกขบวนกลับหมู่บ้าน เมื่อถึงบริเวณป่าใกล้หมู่บ้าน นำเชือกประกรรมมากองรวมกัน ทำ "พิธีลาประกรรม" เมื่อถึงหมู่บ้านนำเชือกประกรรมมาเก็บที่ศาลตามเดิม จากนั้น 3-4 วัน จึงทำ "พิธีแก้บน" และแบ่งส่วนช้างกัน (หน้า 64-72) การฝึกช้าง ก่อนที่จะนำช้างไปใช้งาน จำเป็นต้องฝึกช้างเพื่อให้ช้างคุ้นเคยกับคน และการผูกล่าม โดยเลือกฝึกช้างที่อายุน้อยประมาณ 3-5 ปี สูงไม่เกิน 5 ฟุต ก่อนฝึกช้างจะต้องทำ "พิธีเซ่นผีประกรรม" ทำ "พิธีสู่ขวัญช้าง" เพื่อเป็นศิริมงคลต่อตัวช้าง พิธีนี้สามารถกระทำได้หลายโอกาส เช่นเมื่อได้ช้างมาใหม่ ช้างคลอดลูก เมื่อช้างหายจากเจ็บป่วย หลังจากกลับจากการทำงานต่างถิ่น และเมื่อจะตัดงาช้าง หลังจากสู่ขวัญแล้ว จึงทำ "พิธีจับขาช้าง" (พิธีควาอาเจียง) เพื่อปัดรังควาญผีป่าผีดงออกจากตัวช้าง จากนั้นจึงนำช้างไปฝึก อุปกรณ์สำหรับฝึกช้างมี คอกฝึก ขอ หรือตะขอ และกรีง (ปลอกขา) (หน้า 84-87) การเลี้ยงช้าง ช้างจะยอมรับและทำตามคำสั่งเฉพาะควาญช้างที่เลี้ยงดูเขา ควาญต้องพยายามเรียนรู้อุปนิสัยของช้างที่ดูแลให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัย และสร้างความสัมพันธ์จนช้างยอมรับ ควาญต้องเข้าใจเสียงช้างร้อง เพราะแสดงถึงสภาพอารมณ์ของช้าง สังเกตกิริยาของช้าง ควาญจะสอนช้างให้จดจำคำสั่ง ควบคุมช้างด้วยการสัมผัส และการใช้ตะขอและมีด รวมทั้งการดูลักษณะ กิริยา รูปร่าง ของช้างที่ดีและไม่ดี (หน้า 94-97) งานเทศกาลและงานบุญเกี่ยวข้องกับช้าง ได้แก่ "งานแสดงช้างสุรินทร์" มีขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์ที่สามของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ประมาณปลายเดือนตุลาคม ช้างที่เร่ร่อนหรือทำงานต่างถิ่น จะทยอยเดินทางกลับหมู่บ้านเพื่อมาร่วมงานนี้ "งานแข่งช้างว่ายน้ำ" และแข่งเรืออำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นวันเสาร์อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และ "งานแห่นาค" (วันวิสาขบูชา) เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ วันขึ้น 14 ค่ำ เป็นวันแห่ นาคจะทาหน้าทาปาก ศีรษะสวมกระจอม (ชฎา) มีผ้าคลุมไหล่สีสดใส นาคจะแต่งตัวให้จำไม่ได้ เพื่อป้องกันมารมาผจญ ในงานนี้มีช้างมาร่วมขบวนแห่ บางปีมีถึงกว่า 150 เชือก (หน้า 132-133)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ขนิษฐา อลังกรณ์ Date of Report 01 พ.ค. 2556
TAG กูย, กวย, ช้าง, ความเชื่อ, พิธีกรรม, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง