สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,การปรับตัว,อีสานใต้
Author วิลาศ โพธิสาร
Title การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมในเขตอีสานใต้
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 37 Year 2546
Source รวมบทความทางวิชาการไทศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (หน้า 152-189)
Abstract

เขตอีสานใต้เป็นดินแดนที่เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการอพยพเคลื่อนย้ายใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม ในพื้นที่อีสานใต้ใช้แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลที่ไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เกิดชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่น เมื่อประมาณ 2,500 ปี ชุมชนก่อร่างจนเกิดอาณาจักรและมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ภายนอก เช่น รับอารยธรรมอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีการปะทะสังสรรค์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ ทำให้พื้นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรรม เป็นพหุวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์กูย กลุ่มชาติพันธุ์เขมร กลุ่มชาติพันธุ์ลาว กลุ่มชาติพันธ์กูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีกระบวนการปรับตัว ทางสังคมวัฒนธรรม กูยพูดภาษากูยต่อมามีการปรับตัวมาพูดภาษาลาวและเขมร ดำรงชีวิตด้วยการปลูกข้าว และมีการเลี้ยงไหม แต่การพัฒนาจากรัฐทำให้กูยเริ่มให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อขาย ใช้รถไถ ใส่ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้กระบวนการปรับตัวก็ยังมีการผสมผสานระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การแต่งงานระหว่างกลุ่มกูยกับคนเขมรหรือลาว แต่ทั้งนี้แม้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์จะมีการปรับตัวปรับเปลี่ยนทางอัตลักษณ์ แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมก็ยังอยู่ กูยยังคงมีความเชื่อในศาลผีปะกำ มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ ยังมีการจัดระเบียบสังคมที่ผ่านการสั่งสมมายาวนาน ควบคุมสังคมโดยผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กูยมีความโดดเด่นในกระบวนการปรับตัวในเขตอีสานใต้ เพราะกูยมีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ที่เข้มแข็งที่เป็นรากฐานสำคัญในการปรับตัว

Focus

เน้นการศึกษาการค้นหาความเป็นตัวตนของกูยในการปรับตัวในพื้นที่เขตอีสานใต้ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (หน้า 152)

Theoretical Issues

ใช้แนวคิดเรื่องกระบวนการปรับตัว เพื่อมองกระบวนการปรับตัวทางสังคม วัฒนธรรมของกูย ว่าเป็นกระบวนการที่มีลักษณะเด่นอะไร เพราะเหตุใด มีความแตกต่างจากคนลาว คนเขมรและเผ่าอื่น ๆ อย่างไร เพราะเหตุใดและเส้นทางการปรับตัวทางสังคม วัฒนธรรมของกูยในเขตอีสานใต้ในประเทศไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยใช้วิธีวิทยาทางมานุษยวิทยา (หน้า 152)

Ethnic Group in the Focus

กูย มีรูปร่างลักษณะแข็งแรง กำยำซื่อสัตย์ ขยัน หมั่นเพียร เป็นคนร่าเริง และชอบถ่อมตัว ดังเช่นงานของ Erick Seidenfaden ที่กล่าวถึงกูยที่บ้านสามโรงทาบ (Samrongtap) ว่ามีลักษณะสะอาด ซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง และในงานการศึกษายังศึกษาชาวเยอ ซึ่งพูดภาษาเยอที่เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษากูย (หน้า 152)

Language and Linguistic Affiliations

กูยใช้ภาษาเขมรและภาษาลาวได้ดี แต่พูดภาษาลาวได้เร็วกว่าภาษาเขมรโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นิยมพูดภาษาลาวมากกว่าภาษาเขมร เพราะสำนวนภาษาลาวใกล้เคียงกับภาษาไทยที่ใช้สอนในโรงเรียน จึงสามารถสื่อสารเข้าใจได้เร็ว ส่วนพวกเยอที่บ้านปราสาทเยอ พูดภาษาเยอ เป็นภาษาตระกูลเดียวกันกับภาษากูย (ส่วย) (หน้า 157)

Study Period (Data Collection)

เป็นการศึกษาเรื่องราวในช่วงหลัง พ.ศ.2488 จนถึงปัจจุบัน (หน้า 152) และเก็บข้อมูลภาคสนามในปี พ.ศ. 2544 (หน้า 169)

History of the Group and Community

นักมานุษยวิทยาให้ความเห็นว่า กูยสืบเชื้อสายมาจากคนยุคแรกที่อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ก่อนที่กัมพูชา จาม และไทยเข้ามาอาศัยอยู่ เหตุที่มีความเห็นเช่นนี้เพราะลักษณะรูปร่างหน้าตาของกูยแตกต่างกันมาก บ้างสูงมาก มีแขนขายาว จมูกใหญ่ บ้างก็มีผิวสวยมาก โดยในดินแดนประเทศไทยทุกวันนี้เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการอพยพเคลื่อนย้ายใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม ในพื้นที่อีสานใต้ใช้แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลที่ไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เกิดชุมชนอาศัยอยู่หนาแน่น เมื่อประมาณ 2,500 ปี ชุมชนก่อร่างจนเกิดอาณาจักรและมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ภายนอก เช่น รับอารยธรรมอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 ต่อมาเกิดอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ.1100-1800) สามารถรวมเผ่าพันธุ์และขยายอำนาจเข้าถึงภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ของไทย เมื่อเข้าสู่ปลายทศวรรษที่ 18 อาณาจักรขอมได้เสื่อมอำนาจลง อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาเป็นอิสระจากกัมพูชา ในปี พ.ศ.1792 แล้วเกิดอาณาจักรอยุธยาเข้ามามีอำนาจแทนที่อาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ.1893 หลังจากนั้น 3 ปี อาณาจักรล้านช้างก็ได้อิสระจากเขมร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้คน ที่เกิดการปะทะสังสรรค์กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเขตอีสานใต้ เป็นพหุวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์กูย กลุ่มชาติพันธุ์เขมร กลุ่มชาติพันธุ์ลาว เป็นต้น (หน้า 152-154)

Settlement Pattern

ในช่วง พ.ศ.2496-2501 ฝนไม่ตกต่อเนื่องกันหลายปี กูยในเขตจังหวัดศรีสะเกษย้ายถิ่นฐานไปบุกเบิกที่ทำกินใหม่ที่จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ การตัดถนนหลวงส่งผลให้ชาวบ้านต้องขยายพื้นที่ทำกินใหม่ใกล้เขตแดนของไทยกับกัมพูชา เช่น บ้านม่วงหวาน - โคกเจริญ อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนในจังหวัดอุบลราชธานีมีกูยอาศัยอยู่ที่อำเภอโขงเจียม 3 หมู่บ้าน อำเภอน้ำยืน 10 หมู่บ้าน อำเภอนาจะลวย 4 หมู่บ้าน บ้านที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานนับร้อยปีคือบ้านเวินปึก อำเภอโขงเจียม บ้านค้อกับบ้านจันลา อำเภอน้ำยืน ชาวบ้านบอกว่าบรรพบุรุษของเขาอพยพมาจากจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนที่บ้านเวินปึกอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2457 นอกจากนี้มีหมู่บ้านกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ตั้งมานาน 100 ปีชื่อบ้านหนองบัว อพยพมาจากตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ส่วนกูยที่ตั้งถิ่นฐานทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์ได้อพยพมาจากสุรินทร์ และกูยที่บ้านแสนสุข บ้านห้วยแดน บ้านพลวงทอง ตำบลห้องแถลง จังหวัดนครราชสีมา อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ซึ่งเช่นเดียวกับกูยที่ บ้านโคกแค ตำบลกงรถ เพราะกูยมีนิสัยชอบย้ายถิ่นที่อยู่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งและไม่ชอบอยู่ใต้การปกครองของใคร จะย้ายไปที่ใหม่ ๆ ที่ไม่มีใครจับจองทำให้มีการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง (หน้า 152, 158-159)

Demography

พิจารณาจากหมู่บ้านที่วรรณา เทียนมี ได้สำรวจการกระจายของภาษากูยในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2533 ที่กระจายอยู่ใน 4 จังหวัดทางอีสานใต้ คือ จังหวัดสุรินทร์ 119,506 คน จังหวัดศรีสะเกษ 105,852 คน จั งหวัดบุรีรัมย์ 41,296 คน จังหวัดอุบลราชธานี 6,916 คน รวมทั้งสิ้น 273,570 คน อำเภอที่มีจำนวนหมู่บ้านกูยอยู่หนาแน่นที่สุดคือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จากการสำรวจในช่วงเดือนมีนาคม 2546 พบว่าจังหวัดสุรินทร์มีการกระจายตัวของคนที่ใช้ภาษากูยมากที่สุด จำนวน 156,504 คน อำเภอที่มีการกระจายความหนาแน่นตามลำดับคือ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอศรีณรงค์ อำเภอสังขะ อำเภอจอมพระ และอำเภอท่าตูม การกระจายภาษากูยรองลงมาคือ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 124,938 คน อำเภอที่มีการกระจายความหนาแน่นตามลำดับคือ อำเภอปรางค์กู่ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอไพรบึง (หน้า 158)

Economy

ในอดีตกูยได้พัฒนาทำมาหากินจากการทำไร่เลื่อนลอย มาปลูกข้าว รับเทคนิคการตีเหล็กและถลุงเหล็กตามแบบอินเดียมาตั้งแต่พุทธกาล นอกจากนี้ อาชีพการเลี้ยงไหมจัดว่าเป็นอาชีพสำคัญของกูย ที่บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กูยที่นี่ใช้หนองน้ำธรรมชาติในการบริโภคและทำการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ในการบริโภคนั้นกูยบ้านจันลา ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี นิยมบริโภคข้าวเหนียวซึ่งแตกต่างจากกูยในจังหวัดสุรินทร์นิยมบริโภคข้าวเจ้า (หน้า153, 160-161)

Social Organization

กูยมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วยการแต่งงานกับคนเขมรและลักษณะวัฒนธรรมทางแม่ของคนเขมรและกูยนั้นคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะสถาบันครัวเรือนคือให้ผู้หญิงมีบทบาทเกี่ยวพันกับทรัพย์สินในครัวเรือนมากกว่าชาย โดยในการแต่งงานก็จะมีการทำพิธีกรรมรับลูกเขย ลูกสะใภ้ที่ศาลปะกำแบบกูย หรือกูยที่บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีการสร้างเครือข่ายในชุมชน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ยังเป็นคตินิยมของชาวบ้านในการสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายในชุมชน (หน้า 155,157,160)

Political Organization

ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หัวหน้ากูยเขตอีสานใต้ได้ปรับตัวด้วยการช่วยเหลือทหารพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโดยการออกติดตามจับช้างเผือกที่ได้แตกโรงหนีเข้าป่าทางเขตเมืองพิมายด้านตะวันออกจนสำเร็จ นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนถึงบทบาทของผู้นำกูยในเขตอีสานใต้ เพราะผู้นำกูยสามารถสร้างความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวง และได้เลื่อนเป็นพระ เช่นยกบ้านคูปะทาย เป็นเมืองสุรินทร์ ให้หลวงสุรินทร์ภักดีเป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีนรงค์จางวาง ยกบ้านลำดวนเป็นเมืองขุขันธ์ ให้หลวงแก้วสุวรรณเป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน บทบาทหน้าที่สำคัญคือ การจัดหาส่วยส่งให้แก่ทางราชการ ได้แก่ ม้า งาช้าง นอแรด ขี้ผึ้ง ผู้นำเมืองกูยยังได้ร่วมกันสร้างรัฐสยามด้านความมั่นคงกับรัฐสยามคราวเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้นำกูย เช่น กูยบ้านตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ผู้นำที่มีความเชื่อต่อศาลปู่ตาสามารถแสดงความสัมพันธ์ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับพุทธ พราหมณ์ ผี จะได้รับการตั้งเป็นผู้นำหมู่บ้านทั้งทางการและผู้นำแบบธรรมชาติ หรือบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้นำของกูยเรียกว่า "โขด" จะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ชรา ที่ถือเป็นคตินิยมของชาวบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายในชุมชน (หน้า 154-155, 159-160)

Belief System

กูยมีความเชื่อในศาลผีปะกำ และบางกลุ่มเชื่อเกี่ยวกับผีปู่ตาตะกวด คือสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เช่นบ้านตรึม ความเชื่อตะกวดเป็นสัญลักษณ์ผีบรรพบุรุษที่คุ้มครองลูกหลานกูยให้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กูยบ้านตรึมเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุหลายร้อยปี เชื่อว่าต้นไม้มีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงได้ เกิดแก่เจ็บตาย กิ่งก้านสาขาเปรียบเสมือนลูกหลาน ที่ประกอบกันขึ้นเป็นต้นไม้ เมื่อกิ่งไม้แก่ตาย หรือหักลงมาตามธรรมชาติ ชาวบ้านจะทำบุญเผ่ากิ่งไม้แล้วนำขี้เถ้าเผาไปไว้ในพื้นที่วัด (หน้า 153, 159)

Education and Socialization

ในเอกสารรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา รัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงครองราชย์สมบัติ พ.ศ. 2467-2475) กล่าวว่า "? พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์ เป็นเขมรเป็นพื้น เช่น บุรีรัมย์ นางรอง มีลาวเจือปนเป็นส่วนน้อยกับมีชาติส่วย (กูย) อีกพวกหนึ่งพูดภาษาของตนเองต่างหาก?" ในเรื่องภาษาเขมรสอบสวนได้ความว่า วิชชาหนังสือขอมสูญแล้วไม่มีใครเรียน และไม่มีที่เรียน เพราะโรงเรียนสอนภาษาไทยอย่างเดียว เวลานี้มีแต่คนแก่ ๆ เท่านั้นที่รู้ภาษาขอม (หน้า 156)

Health and Medicine

เอเจียน แอมอนิเย ชี้ให้เห็นว่ากูยนั้นมีภูมิปัญญาทางด้านสุขภาพ ความเชื่อในเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ การใช้ทุนทางธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ จังหวัดสุรินทร์มีพิธีกรรมการละเล่นเพื่อคุ้มครองคุ้มกันโรคที่เรียกว่า "แกลมออะจีง" (เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการเข้าทรง) (หน้า 164)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ภูมิปัญญาของกูยทางด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ขวานสัมฤทธิ์ การจักสาน การทอผ้า ปั้นหม้อ มีวัฒนธรรมพื้นบ้านของกูยที่มีการละเล่นผีมอ มีการละเล่นทุกปีผู้ชายเป่าแคน ตีกลอง ผู้หญิงเล่นเข้าทรง ฟ้อนรำ ผู้ร่วมพิธีกรรมและการละเล่นราว 20 กว่าคน และจะมีชาวบ้านมาร่วมพิธีกรรมอีกหลายคน จุดประสงค์ในการละเล่นคือ "ต้องการให้เห็นเหตุการณ์ที่เหนือธรรมชาติ แสดงออกให้สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่อย่างปกติสุข เช่น ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ไม่มีโรคเบียดเบียนชาวบ้าน" (หน้า 161-163)

Folklore

ไม่ได้ระบุตำนานเรื่องเล่าของพวกกูย แต่ได้กล่าวถึงเรื่องเล่าของพวกเยอ ที่บ้านปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับตำนานของปราสาทเยอที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดปราสาทเยอเชื่อว่าคนแปดศอกเป็นผู้สร้างปราสาท เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีการสละเรี่ยไรเงินทำบุญให้กับองค์ปราสาท แต่มีสามีภรรยาครอบครัวหนึ่งไม่มีเงินเสียสละทำบุญ ขณะที่ภรรยาออกไปหาของป่า สามีก็ยกบุตรสาว 2 คน เพื่อให้ทานให้กับองค์ปราสาท และถูกปิดไว้กับอง ๕ ปราสาท ได้กลายเป็นตำนานเล่าขานมาจนทุกวันนี้ นอกจากตำนานแล้วยังมีคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นความเป็นมาของกูย กล่าวคือ "ไทยกินเหล็ก เจ๊ก (ชาวจีน) กินนา คบกับเจ็ก เป็นเด็กเลี้ยงควาย คบกับแกว (เวียตนาน) ว่าวแล้วว่าวอีก คบกับเขมร เวรบอแล้ว คบกับลาว สาวได้สาวเอา คบกับส่วย (กูย) ไม่รวยไม่เลิก"

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กูยเรียกตัวเองว่า "กูย หรือ กวย" แล้วแต่ภาษาถิ่นที่ตนพูด หมายถึงคน ภาษาอังกฤษเขียนว่า KUI หรือ KUY คนไทยโดยทั่วไปจะรู้จักคนกลุ่มนี้ในชื่อ ส่วย หรือเขมรป่าดง กูยต้องส่งส่วยให้เป็นเครื่องราชบรรณาการเป็นประจำทุกปีในรูปของผลผลิตจากป่า จึงทำให้ชาวไทยและชาวลาว เรียกกูยว่า ส่วย กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในเขตอีสานใต้จะมองว่ากูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ชีวิตค่อนข้างจะสกปรกมาก มีวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าลาวและเขมร นอกจากนี้ เจริญ ไวรวัจนกุล ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ในอีสานใต้เป็นกลุ่มสามสายเลือดที่เคลื่อนย้ายมาอยู่ร่วมกันในอีสานใต้ ได้แก่ สายอัตปือ แสนปาง สายจำปาศักดิ์ และสายนครวัด มาหล่อหลอมเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มสามชาติพันธุ์ ปัจจุบันกูยยังมีความสัมพันธ์ติดต่อกับกลุ่มชาติพันธุ์กูยในกัมพูชาในฐานะพี่น้อง โดยติดต่อกันตามช่องเขาพนมดงรัก (หน้า 152, 157, 162, 164)

Social Cultural and Identity Change

การปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453) ส่งผลต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตแดนรัฐสยาม เพราะทรงมีนโยบายให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นไทย โดยผ่านการศึกษาทำให้เกิดผลกระทบต่ออัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2487 มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับไทยในเรื่องการส่งข้าวจำนวน 1,500,000 ตัน ให้แก่อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า ปริมาณข้าวจำนวนดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจการผลิตแบบการค้าแพร่กระจาย ชาวบ้านเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องการผลิตเพื่อการค้าคู่กับการผลิตเพื่อบริโภค มีการสร้างเส้นทางหลวงเชื่อมโยงจังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งตัดผ่านชุมชนกูย เขมรและลาวในท้องที่อำเภอเกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ การสร้างทางหลวงผ่านก็มีกลุ่มชาวเขมรจากเมืองสุรินทร์และชาวลาวจากอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์เข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกัน กลุ่มกูยได้ปรับตัวด้วยการพุดภาษาลาวและเขมร มีการสร้างความสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานระหว่างกลุ่ม ในขณะเดียวกัน การผลิตแบบค้าขายทำให้กูยปรับเปลี่ยนโลกทัศน์หันมาใช้รถไถในการผลิต ใส่ปุ๋ยเคมี เรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต โดยการครอบงำของระบบทุนนิยม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในประเพณีคล้องช้าง จากวัฒนธรรมกลายมาเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมในฐานะคนเลี้ยงช้างและฝึกช้าง (หน้า 155-157, 162-164)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG กูย, การปรับตัว, อีสานใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง