สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,พิธีแก็ลมอ,ความเชื่อ,สุรินทร์
Author อิศราพร จันทร์ทอง
Title บทบาทหน้าที่ต่อชุมชนและวิถีชีวิตในพิธีแก็ลมอของชาวกูย บ้านสำโรงทาบ ในด้านระบบความเชื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนที่ทำการศึกษา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 157 Year 2537
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

บทบาทของพิธีแก็ลมอแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือระดับปัจเจกบุคคลและระดับชุมชน และสามารถแบ่งการประกอบพิธีกรรมออกเป็น 2 ลักษณะคือ ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมจะประกอบไปด้วยสมาชิกกลุ่มผีมอด้วยกันเท่านั้นและความสนุกสนานรื่นเริงเป็นการร่วมกันทั้งหมดโดยอาศัยแคนเป็นเครื่องดนตรีหลัก ในพิธีแก็ลมอยังมีการตีความระบบสัญลักษณ์ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตในด้านการประกอบอาชีพ ถึงแม้วัฒนธรรมเมืองจะมีบทบาทต่อคนรุ่นใหม่แต่ พิธีแก็ลมอยังคงบทบาทสำคัญต่อระบบความเชื่อของกลุ่มชนอย่างสืบเนื่องเห็นได้จากการการประกอบพิธีกรรมที่ปรากฏอยู่ จึงเสมือนภาพสะท้อนที่ต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

Focus

บทบาทหน้าที่ของพิธีแก็ลมอในวิถีชีวิตของกูยที่บ้านสำโรงทาบ

Theoretical Issues

พิธีแก็ลมอมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นที่พึ่งทางใจของปัจเจกบุคคลในยามเจ็บป่วย เพราะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างกำลังใจ (หน้า 132) นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมสังคม ซึ่งทำพร้อมกันไปกับการปรับไหมคนที่ทำผิด สำหรับผู้หญิงพิธีนี้ช่วยลดความเครียดซึ่งเกิดขึ้นจากการถูกกดขี่ (หน้า 136)

Ethnic Group in the Focus

กูย (บ้านสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2537 ผู้วิจัยได้เข้าไปอยู่ในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีทางมานุษยวิทยา ด้วยการเข้าไปมีมีส่วนร่วมทั้งจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ ทางตรงและทางอ้อม วิธีทางมานุษยวิทยาที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสมมุติฐาน คือ แนวคิดทฤษฎีหน้าที่นิยม(Functionalism) แนวคิดวิเคราะห์ด้านสัญลักษณ์และแนววิเคราะห์ด้านการแสดงและสื่อความหมายทางคติชนวิทยา (หน้า 6)

History of the Group and Community

กูยหรือส่วย เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มชนที่ไม่มีตัวหนังสือเขียนจึงไม่มีหลักฐานที่บันทึกว่ากูยมีความเป็นมาอย่างไร มีเพียงเรื่องเล่าสืบกันมา จึงไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่นอนว่าแต่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ แห่งใดแต่ก็มีผู้ใฝ่รู้หลายท่านหาคำตอบและได้แสดงทัศนะไว้ต่าง ๆ นานา กล่าวโดยสรุป กลุ่มกูยเดิมมีถิ่นฐานอยู่แถบนี้แล้ว แต่ต่อมากลุ่มกูย อีกส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษในเวลาต่อมา เส้นทางที่อพยพมานั้นพอสันนิษฐานได้ว่าคงเลียบลำน้ำมูลมาเรื่อย ๆ (หน้า 8,12) ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ มี 12 หมู่บ้านพูดภาษากูยเกือบทั้งหมดแต่หมู่ที่ 10 มีพูดภาษาลาวอยู่บ้าง บ้านสำโรงทาบ ตั้งตามชื่อของต้นสำโรง เดิมบ้านสำโรงทาบอยู่ที่เซาะตี (บ้านกล้วย) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร มีเรื่องเล่าว่าบ้านเก่าเกิดโรคระบาด ลมพายุพัดบ้านพังเสียหาย ผู้คนล้มตายจำนวนมาก กอปรกับมิได้ทำนามาหลายปี เนื่องด้วยสภาวะแห้งแล้งติดต่อกันหลายปีและความเชื่อที่ว่าวัดอยู่ทางทิศตะวันตกไม่เป็นมงคลจึงต้องปรับเปลี่ยนที่ตั้งของหมู่บ้านและวัดดังที่เห็นในปัจจุบัน บ้านสำโรงทาบ เดิมขึ้นตรงต่อมณฑลอุบลราชธานี ต่อมาขึ้นตรงต่ออำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ แต่ปัจจุบันบ้านสำโรงทาบแบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.2527 (หน้า 13,15)

Settlement Pattern

กูยบ้านสำโรงทาบจะตั้งเรือนในบริเวณที่ใกล้เคียงกันซึ่งเดิมเป็นครอบครัวรวม (Stem Family) เมื่อมีบุตรสาวแต่งงานจะต้องแยกเรือนออกไป แต่อยู่ในบริเวณเรือนพ่อแม่ ลักษณะดังกล่าวทำให้ทราบว่าเรือนที่ตั้งบริเวณใกล้เคียงกันมีความสัมพันธ์กันในสายตระกูล (หน้า 17) การสร้างบ้านเรือนหรือ "ดุง" ของกูยมีลักษณะของเรือนไม้เสา 9 ต้นแบ่งเป็น 3 ห้องใต้ถุนสูงใช้ทำเป็นที่เลี้ยงสัตว์ เรือนในอดีตจะใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติสร้างเรือนด้วยภูมิปัญญาอันเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของกลุ่มชน วัสดุที่ใช้สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมและลักษณะของครอบครัว ถ้าสมาชิกในครอบครัวมากจะปลูกสร้างบ้านในลักษณะเรือนแฝด 2-3 หลัง มีจั่ว 2-3 จั่วมีบันไดทางขึ้นเพียงบันไดเดียว มีช่องลมรอบบ้านเพียงเจาะช่องเล็ก 1-2 ช่องสำหรับมองออกไปข้างนอกแต่ไม่นิยมทำหน้าต่าง ไม่นิยมปลูกเรือนหันทางทิศตะวันตก (หน้า 30)

Demography

มิได้กล่าวถึงจำนวนประชากรในหมู่บ้านที่ชัดเจน กล่าวแต่บุคคลากรในโรงเรียนบ้านสำโรงทาบว่ามีอาจารย์ใหญ่ ครูจำนวน 24 คน มีภารโรง 2 คน มีนักเรียนประมาณ 280 คน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2536) (หน้า 29)

Economy

ในอดีตการคมนาคมยังไม่สะดวก ชาวบ้านจะผลิตเพื่อยังชีพและแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่ออุปโภคเท่านั้น ชาวบ้านชาวสำโรงทาบเป็นสังคมเกษตรกรรมมีอาชีพในการทำนาเป็นหลักข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวจ้าวเป็นหลักเพราะกูยบริโภคข้าวจ้าว ส่วนข้าวเหนียวจะปลูกในปริมาณที่น้อยเพื่อทำขนมหรือทำอาหารเพื่อประกอบพิธี เมื่อรูปแบบของการพึ่งพาหมดไป ระบบทุนนิยมแผ่เข้าไปในชุมชนกูย รูปแบบการกู้ยืมข้าวเปลือกก็เปลี่ยนวิธี จากยืมข้าวเพื่อบริโภค เป็นการยืมข้าวไปขายเพื่อให้ได้เงินมาจับจ่ายแทน แต่ปัจจุบันการกู้ยืมดังกล่าวเปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็นการขายข้าวล่วงหน้า นอกจากปลูกข้าวแล้ว ในอดีตยังมีการปลูกฝ้ายเพื่อใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ฝ้ายที่เหลือจะไว้สำหรับแลกข้าวและเครื่องบริโภคต่างๆ และปลูกครั่งสำหรับการย้อมผ้าไหมอีกด้วย ความต่างด้านเศรษฐกิจของกูยบ้านสำโรงทาบจะไม่ต่างกันมาก เพราะชาวบ้านมีอาชีพทำนา มีร้านค้าภายในหมู่บ้านประมาณ 15 ร้าน นอกจากนั้น เป็นร้านค้าขนาดย่อยจำหน่ายเฉพาะสินค้าที่ใช้บริโภคประจำวันเท่านั้น อาชีพหนึ่งที่กูยถือเป็นภารกิจทุกปีคือการขายแรงงานยังภาคตะวันออกแถบจังหวัด ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราเพื่อรับจ้างตัดอ้อยได้ค่าแรงโดยเฉลี่ย 3,000 - 5,000 บาทต่อปี (หน้า 21, 23-25)

Social Organization

การเลือกคู่ครองของกูยในอดีตหนุ่มสาวจะเลือกคู่ที่ถูกใจและพอใจเอง เมื่อชอบพอกันแล้วจึงบอกบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ที่เรียกว่า "นายใจ" (เฒ่าแก่) มาทาบทาม เมื่อเป็นที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วจึงหาฤกษ์ทำพิธี แม้รูปแบบการแต่งงานจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร สิ่งหนึ่งที่กูยยังยึดถือปฏิบัติไม่เคยละทิ้งคือ "ยะจู๊ฮ" (ผีบรรพบุรุษ) จากการศึกษาคำเรียกระบบเครือญาติของกูย บ้านสำโรงทาบพบว่าลักษณะโครงสร้างและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในกลุ่มเครือญาติยังแสดงถึงการสืบทอดอำนาจด้วย ภรรยาจะได้รับการยอมรับจากสามีและจากสังคมภายในชุมชนสูง ส่วนชายโสดนั้นจะยกหน้าที่ให้แม่ดูแล ลักษณะของกูยบ้านสำโรงทาบมีทั้งครอบครัวเดี่ยว (Neuclear Family) และครอบครัวรวม (Stem Family) หลังจากการแต่งงานของกูยตามอุดมคติ ฝ่ายชายจะไปอยู่บ้านพ่อแม่ของฝ่ายหญิง (Matrilocal Residence) (หน้า 31-35)

Political Organization

เดิมบ้านสำโรงทาบขึ้นตรงต่อมณฑลอุบลราชธานีมีผู้นำหมู่บ้านตอนนั้นคือ หลวงพิบูลย์บุราคร เป็นกำนันคนแรกมีพระครูบริคุตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดและเจ้าคณะอำเภอ ต่อมาขึ้นตรงต่ออำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันบ้านสำโรงทาบแบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2527(หน้า15) สังคมของบ้านสำโรงทาบภรรยาจะได้รับการยอมรับจากสามีและจากสังคมภายในชุมชนสูง (หน้า 33)

Belief System

กูยบ้านสำโรงทาบเป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งที่มีความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณค่อนข้างสูงพิธีกรรมของกูยจำแนกได้ 2 ลักษณะใหญ่คือ พิธีกรรมส่วนรวมของชุมชนและพิธีกรรมเฉพาะกลุ่มสายตระกูล พิธีกรรมส่วนรวมของชุมชนมักจะสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพของกลุ่ม ส่วนพิธีกรรมเฉพาะกลุ่มสายตระกูลโดยมากเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือความวิตกกังวลอันเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถค้นพบได้ (หน้า 41) พิธีกรรมส่วนรวมของชุมชน - พิธีเกี่ยวกับชีวิต ระยะตั้งครรภ์ ในช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์กูยเชื่อว่า ห้ามนั่งขวางประตู เพราะเชื่อว่าจะคลอดลูกยาก ห้ามออกมาดูจันทรุปราคาหรือสุริยุปราคาเพราะเชื่อว่าลูกที่เกิดมาจะพิการ ห้ามทำให้คลอดลูกยากข้อห้ามเหล่านี้จะมีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นหลัก การคลอด ทำโดยหญิงผู้มีประสบการณ์ (เมะตะม็อบ) สถานที่ทำคลอดมักอยู่ในตัวเรือนที่มิดชิด ห้ามผู้ชายเข้าไปเกี่ยวข้อง (ปัจจุบันพบการคลอดในลักษณะดังกล่าวในครอบครัวที่มีฐานะะยากจน) เมื่อเลิกการอยู่ไฟแล้วต้องบอกกล่าวยะจู๊ฮโดยมีหมากพลูหรือกรวยใบตองมาใช้ในพิธีถือว่าเป็น "ครูกำเนิด" เป็นสิ่งมงคลจะช่วยคุ้มครองและบันดาลโชคให้กับเจ้าของตลอดไป - พิธีแต่งงาน ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปจากอดีตแต่ก็ยังคงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะของกลุ่มชน ในอดีตหนุ่มสาวจะเลือกคู่ที่ถูกใจและพอใจเอง เมื่อชอบพอกันแล้วจึงบอกบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ที่เรียกว่า นายไจ (เฒ่าแก่) มาทาบทาม เมื่อเป็นที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วจึงหาฤกษ์ทำพิธีโดยกำหนดในเดือนที่เป็นเลขคู่ มีการตกลงเรื่องสินสอด ในพิธีมีครูบา (พราหมณ์) สวดทำขวัญเป็นภาษาลาว งานแต่งจะจัด 2 วันติดต่อกันวันแรกเรียกว่า งัยโร๋ม (วันรวม) วันที่สองเรียกว่างัยซัด (วันแต่ง) - พิธีขึ้นบ้านใหม่ การลงเสาเอกถือเป็นสิ่งสำคัญมาก มีการนิมนต์พระมาสวดกงพลี (สวดถอน) ผู้หญิงห้ามเข้าไปในบริเวณหรือบ้านที่กำลังปลูกสร้างเด็ดขาดเมื่อสร้างเสร็จเจ้าของบ้านจะเอาบันไดพาดขึ้นทางทิศตะวันตกและเชิญแขกขึ้นบ้านแล้วชักบันไดเปลี่ยนไปไว้ทางทิศตะวันออก การขึ้นบ้านใหม่นี้เจ้าของบ้านจะถือโอกาสทำบุญเลี้ยงพระไปด้วย - พิธีศพ มีการต้มน้ำอุ่นผสมขมิ้นมาอาบน้ำและแต่งตัวให้ศพ แล้วจัดศพนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก เจ้าโคตรจะต้องจัดหมากพลู บุหรี่และเทียน 1 คู่ไปบอกกล่าวยะจู๊ฮให้รับวิญญาณและดูแลผู้ตายในภพอื่นด้วยและโปรดอโหสิกรรมทุกอย่างแก่ผู้ตาย หลังจากนี้ มีการประกอบพิธีทางพุทธศาสนาปะปนกันไป ในสังคมของกูยบ้านสำโรงทาบการปลงศพนิยมฝังไว้สักระยะหนึ่งจึงจะนำขึ้นมาเผา (หน้า 42-58) - พิธีกรรมในรอบปี พิธีแซนยะจู๊ฮ เป็นการบรวงสรวงผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยะจู๊ฮเพรียม (ผีประจำหมู่บ้านหรือผีปู่ตา) หรือยะจู๊ฮดุง (ผีบรรพบุรุษในสายตระกูล) มีความผูกพันกับการทำนาซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิม - พิธีเซ็าะพาแทน น่าจะหมายความว่า "ขึ้นฟ้าไปหาแถน" เป็นพิธีบรวงสรวงผีมอประจำปีเป็นการแสดงความเคารพและการเอาใจใส่ต่อผีมอทั้งนี้เพื่อมิให้ผีมอต้องมารบกวนบุคคลในสายตระกูล พิธีกรรมเฉพาะกลุ่มสายตระกูล - พิธีสะเดาะเคราะห์ กูย เรียกว่า เญียกะเวียยหรือซีเขราะห์ จัดขึ้นเพื่อสร้างกำลังใจและเรียกขวัญ - พิธีอืมโปล เป็นการหาสาเหตุของความเจ็บป่วยที่แพทย์ปัจจุบันวิเคราะห์หาสมมุติฐานของโรคได้ การถือผีในชุมชน ปัจจุบันยังมีการถือปฏิบัติกันอยู่โดยเฉพาะผีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและสวัสดิภาพของกลุ่มคนในสังคม สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ ยะจู๊ฮเพรียม (ปู่ตา) ยะจู๊ฮดุง (ผีบรรพบุรุษ) ผีออ (ผีเร่ร่อนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในร่างของกลุ่มคนในสายตระกูลไม่เลือกว่าเป็นเพศใด) และผีมอ (ผีเร่ร่อนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในร่างของผู้หญิงคนใดคนหนึ่งในสายตระกูล (ยะจู๊ฮ)) ทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวพอจะจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือผีที่ควบคุมในสังคมได้และผีที่ไม่สามารถควบคุมได้การสื่อสารในพิธีจะเป็นภาษาลาวทั้งสิ้น พิธีแก็ลมอ เป็นพิธีบำบัดโรคด้วยความเชื่อดั้งเดิมของกูยและเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วย นอกจากเป็นพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นเพื่อการแก้บนของกูยที่ได้สัญญากับผีมอว่าหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือหายจากโรคภัยไข้เจ็บก็จะจัดพิธีแก็ลมอเพื่อบรวงสรวงผีมอให้เกิดความพอใจแล้วยังเป็นการสร้างความศรัทธาและตอกย้ำความเชื่อแก่กลุ่มชนอีกด้วย (หน้า 130) พิธีแก็ลมอแบ่งการประกอบพิธีกรรมออกเป็น 2 ลักษณะคือ ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมจะประกอบไปด้วยกลุ่มผีมอด้วยกันเท่านั้นและความสนุก สนานรื่นเริงเป็นกันร่วมกันทั้งหมดโดยมีแคนเป็นเครื่องดนตรีหลัก พิธีแก็ลมอยังมีระบบสัญลักษณ์ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตในด้านการประกอบอาชีพ (หน้า 85-103)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

กูยจะจัดพิธีแก็ลมอ เพื่อบำบัดโรคตามความเชื่อดั้งเดิมของกูยและเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วย โดยสัญญากับผีมอว่าหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือหายจากโรคภัยไข้เจ็บก็จะจัดพิธีแก็ลมอเพื่อบรวงสรวงผีมอให้เกิดความพอใจ (หน้า130)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย เสื้อ "ฮับแก็บ" ทำด้วยผ้าไหมยกดอก (อือฉิกแก็บ) ตัดเป็นเสื้อแขนยาวคอกลม กระเป๋าเจาะข้างขวาในอดีตจะติดกระดุมเงินก้อน จะใส่เฉพาะคนที่แต่งงานแล้ว สาว ๆ จะไม่นิยมสวมใส่เพราะคนที่สวมใส่ "ฮับแก็บ" บ่งบอกถึงสถานภาพของการแต่งงาน ข้อจำกัดนี้ไม่รวมถึงผู้หญิงที่สูงอายุ จากบทความหรืองานศึกษาวิจัยที่ผ่านมามักจะสรุปว่ากูยนิยมใส่เสื้อผ้าสีดำ จะสวมใส่ทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอมงคล เพราะคนที่มี "ฮับแก็บ" ใส่บ่งบอกถึงความเป็นคนที่ขยัน มีฝีมือในการทอผ้า กูยในอดีตจะย้อมสีผ้าด้วยครั่ง เพราะสีของครั่งจะให้ทั้งความเงางาม เนื้อผ้านุ่มและทำให้เส้นไหมเหนียว คงทน ไม่ตกสี ยิ่งซักยิ่งดีแม้จะดูเก่าแต่ก็ยังไม่เปลื่อยยุ่ย กรรมวิธีในการย้อมผ้าสีดำของกูยอีกวิธีหนึ่งคือนำผลมะเกลือมาโขลกกับครกไม้แช่น้ำจนเน่าเปื่อยแล้วนำผ้าลงไปแช่แล้วนำไปตาก 2-3 ครั้งจนกว่าผ้าที่นำมาย้อมดำสนิท ( หน้า 24-26)

Folklore

นิทานปรัมปรากล่าวถึงเหตุผลที่กูยไม่มีตัวอักษรใช้เพราะว่า ครั้งหนึ่งเทพเจ้ามีบัญชาให้มนุษย์ไปรับเอาตัวหนังสือ พวกกูยก็ได้เดินทางไปรับเอาพร้อมกับกลุ่มชนอื่นเช่นกัน โดยจารใส่หนังควาย เมื่อได้มาแล้วจึงเดินทางกลับ พอมาถึงกลางทาง เกิดกระหายน้ำจึงวางหนังควายที่จารหนังสือไว้บนโขดหิน สุนัขจึงกินหนังควายหมดไป ครั้นเห็นสุนัขกินหนังควายหมดจึงพูดว่า "อาจอจาฌิม" (สุนัขกินหมด) กูยจึงไม่มีตัวหนังสือตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (นางเลา บุราคัม ผู้เล่า - หน้า 8)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มกูยและเยอนั้นมีการติดต่อกับกลุ่มชนชาวลาว คำยืนยันที่พอเชื่อถือได้จากสัมภาษณ์นายดำ แหวนเงิน ชาวบ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มกูยที่ครอบครัวของตนอพยพมาจากฝั่งลาว ยังมีการประกอบพิธีกรรมบางประการคล้ายกันต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย (หน้า 12) เพราะชนทั้ง 2 กลุ่มนี้ต่างมีวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยเฉพาะความเชื่อในอำนาจลี้ลับที่ไม่สามารถรับรู้ได้ (หน้า 131-132)

Social Cultural and Identity Change

หากพิจารณาถึงสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชนในเชิงพลวัตแล้วจะเห็นได้ว่ากูยต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะหาร่องรอยความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่บริสุทธิ์ไม่ได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การแต่งงานข้ามกลุ่มวัฒนธรรม การรับเอาระบบความเชื่อหรือประเพณีและวัฒนธรรมบางประการของลาว จนกลายเป็นจารีตถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเพราะระบบความเชื่อของกลุ่มชนทั้งหลายนี้มีแนวปฏิบัติและบทบาทต่อสังคมคล้ายกัน เป็นต้น (หน้า 12) ในอดีต ชาวบ้านจะผลิตเพื่อยังชีพและแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่ออุปโภคเท่านั้น เมื่อรูปแบบของการพึ่งพาหมดไป ระบบทุนนิยมแพร่ขยายเข้าไปในชุมชนกูยรูปแบบการกู้ยืมข้าวเปลือกก็เปลี่ยนวิธี จากยืมข้าวเพื่อบริโภค เป็นการยืมข้าวไปขายเพื่อให้ได้เงินมาจับจ่ายแทน แต่ปัจจุบันการกู้ยืมดังกล่าวเปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็นการขายข้าวล่วงหน้า (หน้า 23) ในอดีตการคลอดทำโดยหญิงผู้มีประสบการณ์ (เมะตะม็อบ) สถานที่ทำคลอดมักอยู่ในตัวเรือนที่มิดชิดปัจจุบันจะพบการคลอดในลักษณะดังกล่าวในครอบครัวที่มีฐานะะยากจนไม่สามารถไปรับบริการทางการแพทย์สมัยใหม่ได้ (หน้า 45)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ สภาพบ้านเรือนของกูยแบบเก่า(22), บ้านเรือนของกูยที่มีฐานะดี บ้านทรงสมัยใหม่(22), สถานีขนส่งสำโรงทาบ, สถานีรถไฟสำโรงทาบ(27), โรงเรียนบ้านสำโรงทาบ(บริคุตต์วิทยาคุณ)(29), วัดเกตุวราราม(30), พิธีแซนยะจู๊ฮดุง(ผีบรรพบุรุษ)(43), แห เครื่องป้องกันวิญญาณร้าย(45), การอยู่ไฟหลังคลอด(47), พิธีแต่งงานของกูย(48),เครื่องไหว้ที่ฝ่ายเจ้าสาวเตรียมไว้(49), เครื่องเซ่นผีในงานแต่งงาน(52), เหนียกมะฮากำลังป้อนอาหารแก่คู่บ่าวสาว(54), การปลูกบ้านของกูย(56), ภาพจำลองวงตุ้มมุง(59), เฒ่าจ้ำกำลังทำพิธีเซ่นเหล้าแก่ยะจู๊ฮ(62), ยะจู๊ฮเพรียม(ปู่ตาเดิม)(64), ยะจู๊ฮเพรียม(ปู่ตาตั้งใจ), หมอนที่แสดงถึงที่อยู่ของยะจู๊ฮ(ผีบรรพบุรุษ) (65), หิ้งมอ(70), การประกอบพิธีเซ็าะฮ์พาแทน(71), พิธีสะเดาะเคราะห์ของกูย(74), นายเทื้อน มณีล้ำ ครูบาออ, หิ้งผีออ(83), ต้นดอกไม้(ขัลปีล) ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม(84), ครูบามอ นางสุด วิยาสิงห์(87), กูยกำลังทำความสะอาดหิ้งมอ(88), ครื่องประกอบต่างๆ ของหิ้งมอ(91), ขันหมากเบ็ง, ญีงกอาฮ(92), คนป่วยเข้าพิธีแก็ลมอ(นางอาน บุญคำ)(94), ญาติและเพื่อนบ้านมาช่วยเตรียมงาน(95), ผู้ชายกำลังแกะสลัก แกะสลักช้าง, ม้า(97), ครูบาใหญ่กำลังเริ่มพิธี(98), ครูบาใหญ่ หิ้งกลางปะรำพิธีและเครื่องประกอบพิธีอื่นๆ (99),บรรดาผีกำลังร่ายรำด้วยความสนุกสนาน(101), ลักษณะของแพ และผีมอกำลังตัดแพ อืมหละ(ชำระ)(102), พิธีชำระ(อืมหละ)(103), การออกไปตามช้าง, ม้า(กะโปนอาจีง)(106), พิธีอือเถิจโรง(107), ผีมอกำลังนำอาวุธต่างๆ ยิง ฟัน กล้วย ข้าวต้ม(109), โคตรใหญ่กำลังทำพิธีเซ่นผีมอ(110), การจัดที่อยู่ของหิ้งมอ(101) แผนผัง แผนผังแสดงจังหวัดและอำเภอที่มีหมู่บ้านกูย(11), ตำบลสำโรงทาบ(14),หมู่บ้านสำโรงทาบ(16), การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในของกูย ก.(19), การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในของกูย ข.(20), การสืบทอดอำนาจของสังคมกูย(32), แสดงเครือญาติของกูยบ้านสำโรงทาบ(34), แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติของกูย(37),แสดงการเชื่อมโยงระหว่างครอบครัวกับบ้านยะจู๊ฮ(66), แสดงความสัมพันธ์ทางยะจู๊ฮของกูย(67)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG กูย, พิธีแก็ลมอ, ความเชื่อ, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง