สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กูย,เศรษฐกิจ,สตรี,สุรินทร์
Author สมเกียรติ อินทอำภา
Title บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีชาติพันธุ์ไทย-กูย บ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 68 Year 2543
Source สาขาวิชาไทยคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

เป็นการศึกษาบทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีชาติพันธุ์ไทย-กูย บ้านตรึม อำเภอศีรขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามจากผู้รู้และสตรีวัยแรงงานจำนวน 100 ครอบครัว โดยผลการศึกษาพบว่า สตรีชาติพันธุ์ไทย-กูยมีบทบาทเชิงเศรษฐกิจแบบยังชีพ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผลิตเพื่อบริโภคของครอบครัวเป็นหลัก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว สตรีมีบทบาทเชิงเศรษฐกิจแบบการค้าซึ่งเป็นกิจกรรมหรือการผลิตที่เน้นเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ได้แก่ การทำนา การเลี้ยงสัตว์ คือ วัว ควาย และหมู การรับจ้างตัดอ้อย การทอผ้าไหม ขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช้แรงงานมาก สตรีจะเข้าไปมีบทบาทในการตัดสินใจ นอกจากนั้นประเพณีการแต่งงานของชาติพันธุ์ไทย-กูย ภายหลังการแต่งงานฝ่ายชายจะย้ายไปอยู่กับฝ่ายหญิง ทำให้สตรีมีอำนาจควบคุมปัจจัยการผลิต จึงมีผลต่อการมีบทบาทในการกำกับดูแลเศรษฐกิจของครอบครัว ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงบทบาทสตรีเชิงเศรษฐกิจ สามารถนำไปพัฒนาและส่งเสริมอาชีพสตรีในแต่ละชุมชนให้มีความสำคัญต่อการหารายได้ให้ครอบครัวต่อไป (ดูบทคัดย่อ)

Focus

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีชาติพันธุ์ไทย-กูย บ้านตรึม อำเภอศีรขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้คือ "ไทย-กูย" โดยศึกษาที่หมู่บ้านตรึม อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์

Language and Linguistic Affiliations

ในประเทศไทยมีผู้สันนิษฐานว่าประชาชนที่ใช้ภาษากูยหรือส่วยมีประมาณ 150,000 คน โดยเฉพาะสุรินทร์มีประมาณกว่า 100,000 คน นับว่าเป็นจุดรวมใหญ่ของชาวไทยที่พูดภาษาส่วยหรือภาษากูย (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

กูยหรือกวยเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนเหนือของเมืองเสียมราฐ-กำปงธม อพยพเข้าสู่ประเทศไทยก่อนที่ชาวไทยและเขมรเข้ามาอยู่บริเวณดังกล่าวเสียอีก บางส่วนเข้าไปในพื้นที่เขมรตอนเหนือติดกับเขตแดนประเทศลาว บริเวณอัตปือ แสนแป หลังจากนั้นจึงอพยพจากเมืองดังกล่าวบริเวณฝั่งแม่น้ำโขงแดนลาวตอนใต้ อพยพข้ามเทือกเขาพนมดงรักเข้ามาอยู่ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีและตอนใต้ของ จ.ร้อยเอ็ด ถิ่นฐานเดิมของกูย จ.สุรินทร์อยู่ในแขวงอัตปือ แสนแป และจำปาศักดิ์ ทางตอนใต้ของลาว ชาวกูยอพยพเข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากไม่พอใจผู้ปกครองบ้านเมือง จึงได้อพยพตามกองทัพไทยที่ไปรบกับลาวมา โดยมาอาศัยเขต จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ บุรีรัมย์ สำหรับประวัติของบ้านตรึม งานวิจัยระบุว่าก่อตั้งมานานแล้ว แต่ไม่ทราบปีพุทธศักราชแน่ชัด มีผู้สันนิษฐานว่า ชาวบ้านตรึม อพยพมาจากบ้านสามมีได อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรก ได้เลือกเอาชัยภูมิที่มีต้นไม้ และป่าไม้ เพื่อประโยชน์ต่อการทำมาหากินและนำไม้มาทำบ้านเรือน ชาวบ้านตรึมสมัยก่อนเลือกที่ตั้งหมู่บ้านที่มีต้นตรมอยู่มาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบ้านตรมตามชื่อของต้นไม้ ชาวบ้านสมัยนั้นเรียกว่าบ้านตรมมาโดยตลอด จากนั้นทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านตรึมจนปัจจุบันนี้ (หน้า 15-16)

Settlement Pattern

ส่วยอาศัยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของ จ.สุรินทร์ โดยเฉพาะเขต อ.รัตนบุรี ท่าตูม ศีรขรภูมิ สังขะ นอกจากนี้ยังมีอยู่บ้างใน จ.ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี มหาสารคาม และนครราชสีมา (หน้า 6) ลักษณะการตั้งบ้านเรือน ของหมู่บ้านตรึมจะแยกกระจายเรียงรายไปตามถนนและตั้งบ้านเรือนเป็นกระจุก มีส่วนน้อยที่มีรั้วรอบขอบชิด ส่วนใหญ่มักปล่อยโล่งเพื่อไปมาหาสู่กันได้สะดวก เป็นการแสดงถึงความเป็นพี่น้องกัน ส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูงและมีบ้าน 2 ชั้นรูปทรงสมัยใหม่บ้าง บ้านที่มีใต้ถุนก็จะทำที่เลี้ยงวัว ควาย บางบ้านจะมีกี่ทอผ้าเพื่อทอในฤดูแล้ง สำหรับบ้าน 2 ชั้นสมัยใหม่จะสร้างคอกวัวและควายไว้หลังบ้านหรือข้างบ้าน ถนนในหมู่บ้านตรึมจะเป็นถนนคอนกรีตสร้างรอบหมู่บ้านและภายในหมู่บ้าน บางเส้นยังเป็นลูกรังอยู่ มีถนนติดกับหมู่บ้านอื่น ๆ ด้วย (หน้า 18)

Demography

จากข้อมูล ปี พ.ศ. 2544 ประชากรของบ้านตรึมมีทั้งหมด 320 ครอบครัว ประชากรทั้งหมดมี 1,518 คน โดยหมู่ที่ 1 มีทั้งหมด 200 ครอบครัว แยกเป็นผู้ชาย 516 คน ผู้หญิง 534 คน รวม 1,050 คน หมู่ 16 มีทั้งหมด 120 ครอบครัว แยกเป็นผู้ชาย 206 คน ผู้หญิง 262 คน รวม 468 คน เฉลี่ยแล้วแต่ละครอบครัวมีสมาชิก 4 คน (หน้า 19)

Economy

ชาวบ้านตรึมประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก แบ่งออกเป็น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมภายในครอบครัวและค้าขาย ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ปลูกพืชผัก พืชสวนไว้เป็นอาหาร เช่น กล้วย มะละกอ และพืชผักอื่นๆ สภาพเศรฐกิจของชาวบ้านตรึมจะทำเพื่อยังชีพและเพื่อการค้า มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 40,000 บาทต่อปี แต่ละครอบครัวมีหนี้สินประมาณครอบครัวละ 25,000 บาท (หน้า 28-30 และดูวิถีเศรษฐกิจของชุมชนบ้านตรึมในรอบ 1 ปี ได้ที่หน้า 31-34, หน้า 60)

Social Organization

ครอบครัวของคนไทย-กูย มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวรวม แต่โดยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวเสียส่วนมาก ; เมื่อลูกสาวแต่งงานแล้ว จะต้องอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายหญิงก่อนเพื่อเป็นแรงงานแก่ญาติฝ่ายหญิง และรับการอบรมการครองเรือนในครอบครัวต่อไป ระหว่างนี้ต้องทำงานอย่างขยันขันแข็งอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ การแยกตั้งครอบครัวใหม่ ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บ้านเรือนของพ่อแม่ฝ่ายหญิงหรือลานบ้านเดียวกัน การออกเรือนไปอยู่ตามลำพังหรืออยู่กับญาติฝ่ายชายหรือหญิงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพครอบครัวทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีลูกสาวหรือลูกชายคนเดียวต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า กรณีเช่นนี้คู่สมรสต้องเลือกไปอยู่อาศัยตามสภาพที่จำเป็นดังกล่าว หมู่บ้านตรึมมีการจัดองค์กรในหมู่บ้านที่ชาวบ้านหรือหน่วยราชการตั้งขึ้นมา ดังนี้ 1) ศูนย์สงเคราะห์ประจำหมู่บ้านตรึม 2) สหกรณ์กลุ่มออมทรัพย์สตรี 3) กลุ่มธนาคารข้าวประจำหมู่บ้านตรึม 4) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 5) คลังยาสัตว์ (หน้า 22-23)

Political Organization

ตำบลตรึมเป็นตำบลหนึ่งใน 15 ตำบลของ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 18 หมู่บ้าน เดิมตำบลตรึมเป็นตำบลใหญ่มีบ้านมากมาย ปัจจุบันได้แยกหมู่บ้านออกไปเป็นตำบลใหญ่ 1 ตำบล คือตำบลนารุ่ง บ้านตรึมยกฐานะเป็นหมู่บ้านขึ้นกับ อ.ศรีขรภูมิ ต่อมาทางราชการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ยกบ้านตรึมและบริวารให้เป็นตำบลตรึม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่ที่ 1 ตำบลตรึม ผู้ปกครองคนแรกคือ หลวงอาวุธ ดัชถุยาวัตร จากนั้นมีผู้ปกครองมาตลอด 12 คน แต่ละคนได้รับเลือกเป็นกำนันทั้งหมด ต่อมาปี พ.ศ. 2527 ทางราชการแบ่งเขตการปกครองใหม่ แยกบ้านตรึมออกเป็นหมู่ที่ 16 เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ต่อมาปี พ.ศ. 2542 มี พรบ. กระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ทำให้ตำบลตรึมต้องมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และมีการเลือกตั้งสมาชิกอบต. (หน้า 21-22)

Belief System

กูยเชื่อว่าบรรพบุรูษที่ตายแล้วจะกลับมาเกิดในตระกูลเดิม ดังนั้น การตั้งชื่อลูกหลานมักตั้งตามชื่อปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้ว กูยไม่นิยมการเผาศพเพราะเชื่อว่าการเผาศพจะทำให้วิญญาณผู้ตายร้อนรน จึงนิยมฝังและกระทำกันเองโดยไม่มีพระภิกษุ โดยจะหันศรีษะศพไปทางทิศตะวันตกและนิยมฝังในไร่นาของผู้ตาย แต่ปัจจุบันกูยก็หันมานิยมเผาศพตามธรรมเนียมพุทธศาสนา (หน้า 6) สำหรับชาวบ้านตรึมจะนับถือศาสนาพุทธ เคารพและนับภือพระภิกษุสามเณร ซึ่งมี 8 รูปในวัดตรึม เวลาทำพิธีกรรมทางศาสนาและวันสำคัญๆ จะทำกันที่ต้นมะขามใหญ่กลางหมู่บ้านที่สร้างศาล ปู่ ตา เนื่องจากชาวบ้านตรึมเชื่อเรื่องตะกวดที่เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จึงสร้างศาลปู่ ตา ไว้ใต้ต้นมะขามให้เป็นที่อยู่ของตะกวด ประเพณีของไทย-กูย บ้านตรึม สะท้อนถึงการสืบต่อมาจากอดีตถึงปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1) ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต 2) ประเพณีพิธีกรรมในรอบปี ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวพันกับชีวิตของกูยตั้งแต่เกิดจนตาย ประเพณีที่สำคัญมีดังนี้ 1. ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด มีความเชื่อตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด เชื่อพิธีสะเดาะเคราะห์โดยการรดน้ำมนต์จากพระเพื่อคุ้มครองไม่ให้เกิดอันตรายกับเด็กในครรภ์และแม่เด็ก มีข้อห้ามหลายอย่างสำหรับแม่เด็กที่กำลังตั้งครรภ์ เช่น ห้ามนั่งขวางประตู ห้ามนั่งตรงบันได เพราะเชื่อว่าทำให้คลอดลูกยาก ห้ามดูจันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกพิการหรือไม่สมประกอบ ในสมัยก่อนจะใช้หมอตำแยทำคลอดแล้วจะนำรกไปฝังไว้ใต้บันไดบ้านพร้อมก่อไฟหรือคุมด้วยหนามที่ปากหลุมเพื่อป้องกันผีปอบ ไทย-กูยเชื่อว่าคนที่เป็นผีปอบจะไม่กล้าลอดบันไดและกลัวไฟ ส่วนเสียมที่ใช้ขุดหลุมฝังรกต้องนำไปซ่อนให้มิดชิดจนกว่าจะอยู่ไฟเสร็จ ขณะอยู่ไฟ แม่ลูกอ่อนห้ามกินเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ปัจจุบันไทย-กูย นิยมไปคลอดที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลมากกว่าให้หมอตำแยคลอด 2. ประเพณีเกี่ยวกับการบวช ไทย-กูยกำหนดว่าชายที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไปควรอุปสมบท พิธีกรรมเกี่ยวกับการบวชที่ขาดไม่ได้คือ การเซ่นสรวงบูชาบรรพบุรุษช่วงการทำขวัญนาค มีการจัดสำรับ ข้าวปลา อาหาร และจุดเทียน เซ่นไหว้บอกกล่าวผีบรรพบุรุษ 3. ประเพณีการสมรสของไทย-กูย คล้ายกับคนไทยทั่วไป มีการเกี้ยวพาราสี พ่อแม่จะไม่ยุ่งเกี่ยว จนกว่าจะสู่ขอกัน การสู่ขอของฝ่ายหญิงจะเรียกค่าสินสอดตามฐานะของฝ่ายชาย หรือถ้าเป็นคนต่างบ้านจะเรียกสูงกว่าบ้านเดียวกัน พิธีแต่งงานจะกระทำกันในเดือนคู่ คือ เดือน 2, 4, 6, 8 และ 12 โดยเฉพาะเดือน 4 และ 6 นิยมแต่งกันมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงก่อนทำนาเหมาะแก่การหาลูกเขยมาช่วยทำนา สถานที่แต่งงานจะใช้ลานบ้านผู้หญิง พิธีเริ่มในตอนเช้าเมื่อขบวนเจ้าบ่าวแห่ไปบ้านเจ้าสาว จะกั้นประตูเพื่อเรียกค่าผ่านประตู เมื่อเจ้าบ่าวขึ้นบ้านเจ้าสาวแล้วจะเรียกขวัญและให้ศีลให้พรอย่างง่ายๆ แต่ทุกครั้งเมื่อมีการสมรสจะต้องเชิญบรรพบุรุษมารับเครื่องเช่นไหว้ เป็นการแสดงความยินดีกับลูกหลาน 4. ประเพณีเกี่ยวกับการตาย คล้ายคลึงกับชาวอีสานทั่วไป เช่น อาบน้ำศพ หวีผมและนุ่งผ้าให้คนตายโดยเอาชายพกไว้ข้างหลัง ญาติพี่น้องขอขมาผู้ตาย แจ้งผู้ใหญ่บ้านแล้วยิงปืน 1 นัด เพื่อให้ชาวบ้านทราบว่ามีคนตายในหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือกัน ประเพณีของไทย-กูยสมัยก่อน เมื่อมีคนตายในหมู่บ้าน ชาวบ้านจะไม่ทอผ้า ไม่นำฟืนเข้าบ้าน และทอผูกจนกว่าจะนำศพไปฝังหรือนำไปเผาให้เรียบร้อย ถ้าเป็นศพที่ตายตามปกติจะฝังไว้ 1-2 ปี จึงจะเอาขึ้นมาทำบุญตามประเพณี แต่หากเป็นการตายอย่างผิดปกติวิสัย เช่น ถูกยิงตาย คลอดลูกตาย จะเผาแล้วประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ปัจจุบันชาวบ้านตรึมนิยมเผาศพ ไม่ฝังเหมือนสมัยก่อน จะเผาในที่นาหรือสวนของผู้ตาย กระดูกของผู้ตายบางส่วนจะนำไปใส่โกฐหรือบรรจุไว้ตามกำแพงวัด ประเพณีพิธีกรรมในรอบปี ลักษณะการจัดพิธีกรรมในรอบปีจะเป็นไปในรูปของฮีต 12 ของลักษณะประเพณีอีสานทั่วๆ ไป มีพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดกฐิน ชาวบ้านจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดและอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว โดยเฉพาะผีปู่ ย่า ตา ยาย (หน้า 24-27)

Education and Socialization

บ้านตรึมมีโรงเรียนตั้งอยู่ในหมู่บ้านทางทิศตะวันตก คือ โรงเรียนบ้านตรึม (วิทยานุเคราะห์) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ มีครูทั้งหมด 14 คน เป็นครูชาย 5 คน ครูหญิง 9 คน สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาคือโรงเรียนตรึมวิทยา อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ม.1 - ม. 6 มีครูทั้งหมด 22 คน เป็นครูชาย 8 คน ครูหญิง 14 คน มีนักเรียนจากตำบลตรึมและตำบลใกล้เคียงมาศึกษาในโรงเรียนทั้งสอง นอกจากนี้หมู่บ้านตรึมยังมีศูนย์การเรียนชุมชนประจำหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้รับความรู้และข่าวสารจากการอ่านหนังสือพิมพ์ และมีศูนย์อบรมในศูนย์การเรียนชุมชนของหมู่บ้าน (หน้า 19-20 )

Health and Medicine

การรำผีมอเป็นการรักษาผู้ป่วยของส่วย ซึ่งเชื่อว่าอาการป่วยไข้เป็นการกระทำของภูตผี จึงรำผีมอขึ้นเพื่ออ้อนวอนให้สิ่งเหล่านั้นพอใจ ใช้ท่ารำง่ายๆ ประกอบทำนองดนตรี โดยเชื่อว่าผีมอเป็นผู้พารำ ไม่มีท่ารำแน่นอน ผู้รำอยู่ในอาการเคลิบเคลิ้ม (หน้า 7) เมื่อชาวบ้านตรึมเจ็บป่วยเล็กน้อยจะไปรักษาที่สถานีอนามัยหัวแรตที่ห่างออกไป 2 กม. แต่หากอาการหนักจนสถานีอนามัยรักษาไม่ได้ก็จะไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีขรภูมิห่างออกไป 8 กม. (หน้า 23)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กูยเรียกตัวเองว่ากูยหรือกวย หมายถึง คน คนไทยเรียกว่า "ส่วย" โดยคำว่า "ส่วย" เริ่มใช้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากการส่งส่วยเป็นเครื่องราชบรรณาการเป็นประจำทุกปีในรูปผลผลิตจากป่าจึงทำให้คนไทยอีสานเรียกไทย-กูย ว่าส่วย (หน้า 8)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาบทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีบ้านตรึมพบว่า บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีแบบยังชีพ มีดังนี้ 1) บทบาทของสตรีในการปลูกผัก 2) บทบาทเชิงเศรษฐกิจในการเลี้ยงเป็ดและเลี้ยงไก่ 3) บทบาทเชิงเศรษฐกิจในการเลี้ยงปลา บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีแบบการค้า มีดังนี้ 1) บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีในการทำนา 2) บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีในการเลี้ยงสัตว์ 3) บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีในการรับจ้างตัดอ้อย 4) บทบาทเชิงเศรษฐกิจของสตรีในการทอผ้าไหม โดยที่ทั้ง 2 บทบาท สตรีของหมู่บ้านตรึมเข้าไปเกี่ยวข้องแตกต่างกันไป (ดูหน้า 36-58 และ หน้า 61-65)

Map/Illustration

ตาราง จำนวนประชากรแยกตามอายุในหมู่บ้านตรึม (หน้า 19) อัตราการรู้หนังสือของชาวบ้านตรึม (หน้า 20) เศรษฐกิจของชุมชนในบ้านตรึมรอบ 1 ปี (หน้า 33) บทบาทสตรีในกิจกรรมการปลูกผัก (หน้า 37) บทบาทของสตรีบ้านตรึมในกิจกรรมการทำนา (หน้า 42) บทบาทของสตรีในกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ (หน้า 49) จำนวนชาวบ้านตรึมที่ไปรับจ้างตัดอ้อย (หน้า 52) บทบาทสตรีในกิจกรรมรับจ้างตัดอ้อย (หน้า 53) บทบาทสตรีในกิจกรรมทอผ้าไหม (หน้า 55) ภาพ แผนที่อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 17) ตะกวดที่พบได้มากในบ้านตรึม (หน้า 27) การเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้านตรึม (หน้า 48) การเก็บใบหม่อน (หน้า 56) การเลี้ยงหนอนไหม (หน้า 57) การทอผ้าไหมของสตรีบ้านตรึม (หน้า 58)

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG กูย, เศรษฐกิจ, สตรี, สุรินทร์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง