สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
249 results found. Sorted by date | title

  Author Title Source Year
181. พระนิคม กิจฺจสาโร, พระสุชาติ สุวฑฺฒโก, พระสุนทร ชยธมฺโม, พระบุญชัย ธนปญฺโณ, พระชาญวิทย์ ชยธมโม, พระสุธวัฒน์ สุขวฑฺฒโก, พระช่วยทำบุญ อธิญฺโญ, วัชระ พิริยะวรคุณ, บุญสม ปิ่นเพชรกุล การฟื้นฟูความสัมพันธ์ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอ ต.บ้านจันทร์ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2548
182. Yoko Hayami, Susan M. Darlington The Karen People of Burma and Thailand Endangered People of Southeast and East Asia: Struggles to Survive and Thrive. ed. by Leslie Sponsel 2543
183. เพชร ธุระวร, นิรมล นะซอ, วันดี นะซอ โครงการกระบวนการพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาด้านการย้อมสีด้ายด้วยวัสดุธรรมชาติของผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอ ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2544
184. สุภาค์พรรณ ขันชัย การประเมินความต้องการของชุมชนบริเวณพื้นที่รองรับผู้หนีภัยชายแดนไทย-พม่า: กรณีศึกษาอําเภอท่าสองยางและอําเภอพบพระ จังหวัดตาก สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546
185. มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, กนก ฤกษ์เกษม, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม, ชัยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี, สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์, เบญจพรรณ ชินวัตร, พรเพ็ญ วิจักษณ์ประเสริฐ การศึกษาความยั่งยืนของระบบเกษตรที่สูง ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2537
186. มนตรี นามมงคล, อุบล หมุดธรรม, เพชรา ปาสรานันท์ การสำรวจภาวะสุขภาพจิตชาวไทยภูเขา ศูนย์สุขภาพจิตเขต 10 จังหวัดเชียงใหม่ 2542
187. Carl Grundy-Warr, Elaine Wong Siew Yin Geographies of Displacement: The Karenni and the Shan across the Myanmar-Thailand Border Singapore Journal of Tropical Geography, Department of Geography, National University of Singapore, and Blackwell Publishing Ltd. Singapore 2545
188. Christina Lammert Fink Imposing Communities: Pwo Karen Experiences in Northern Thailand Graduate Division of the University of California at Berekley 2537
189. สุทธารี ลิ่มโอภาสมณี สภาวะเศรษฐกิจสังคมและการพัฒนาหมู่บ้าน สาธิตแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2517
190. สุริยา รัตนกุล, สมทรง บุรุษพัฒน์ สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท 2538
191. อุดม เจริญนิยมไพร, จันทนี พิเชษฐ์กุลสัมพันธ์, วิลาวัลย์ ธาราวโรดม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนตามจารีตประเพณีของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชนม้งและกะเหรี่ยง สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(IMPECT) 2549
192. พรปริญญา สุขสวัฒนา, บุญถิ่น อินดาฤทธิ์ ศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชของชาวเขาเผ่าม้งและเผ่ากะเหรี่ยง ณ ลุ่มแม่น้ำกลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2537
193. กวีพันธุ์ ฟองคำ การสร้างหน่วยการเรียนรู้เรื่อง พิธีกรรมผูกข้อมือของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2547
194. สมเกียรติ ทองมี การเปรียบเทียบทัศนคติของชาวเขาเผ่าม้งกับเผ่ากะเหรี่ยงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในตำบลแม่แดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2540
195. ศรินทิพย์ หมั้นทรัพย์ กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์และการปรับเปลี่ยนบทบาทหญิงชายในชุมชนปกาเกอะญอ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2543
196. สมาน รวยสูงเนิน การสำรวจการใช้ไม้ฟืนของชาวเขาเผ่าต่างๆ ฝ่ายวิจัย กองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ 2523
197. ผะอม นะมาตร์, อัญชัน สวัสดิโอ, ระเบียบ สุภวิรี, โกวิท แก้วสุวรรณ รายงานการวิจัยเรื่องผ้าและการสืบทอดความรู้เรื่องผ้า: กรณีศึกษากะเหรี่ยงโปว์ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร 2544
198. ชมพูนุท โพธิ์ทองคำ การตั้งชื่อของชาวกะเหรี่ยงโปตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ 2541
199. Yoko Hayami Mobility and Interethnic Relationships among Karen Women and Men in Northwest Thailand : Past and Present Inter – Ethnic Relations in the Making of Mainland southeast Asia.Vol.1, Compiled by Hayashi, Yukio, pp. 288 - 308, Center for Southeast Asian Studies Kyoto University. 2541
200. โยธิน บุญเฉลย การใช้บริการสาธารณสุขของครัวเรือนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลักสูตรปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยประชากรและสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 2534

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง