สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะยาห์ กะเรนนี บเว(กะเหรี่ยง),ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่ ,ผู้ลี้ภัย,การย้ายถิ่น,พรมแดน,การไร้สัญชาติ,พม่า,ไทย
Author Cark Grundy- Warr and Elaine Wong Siew Yin
Title Geographies of Displacement: The Karenni and The Shan Across The Myanmar -Thailand Border
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, กะแย กะยา บเว, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 30 Year 2545
Source Singapore Journal of Tropical Geography, Department of Geography, National University of Singapore, and Blackwell Publishing Ltd. Singapore
Abstract

รายงานชิ้นนี้กล่าวถึง ปัญหาเรื่องผู้อพยพพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ตามบริเวณพรมแดน รอยต่อไทย – พม่า โดยยกตัวอย่างกะเหรี่ยงและชาน เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการ และแบบแผนการบังคับให้เกิดการย้ายถิ่น อันเป็นผลสืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองและชาติพันธุ์ โดยเฉพาะในแง่ความปรารถนาของระบอบทหารพม่า ในเรื่องเอกภาพของชาติใน “พื้นที่ของชาติ” มีส่วนสำคัญทำให้ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ดังกล่าวต้องอพยพโยกย้าย หรือกลายเป็นผู้พลัดถิ่น บ้างก็ตกเป็นผู้อพยพไร้สัญชาติ หรือจัดตั้งกองกำลังชาติพันธุ์ที่ท้าทายอำนาจรัฐบาลทหารพม่า ถือเป็นหัวใจสำคัญในการวิเคราะห์เรื่องการบังคับให้ย้ายถิ่นข้ามพรมแดนรัฐชาติ ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ (หน้า 93)

Focus

เน้นศึกษากระบวนการและแบบแผนการอพยพโดยการใช้กำลังบังคับในพื้นที่บริเวณ พรมแดนระหว่างไทย-พม่า โดยเน้นการพิจารณาถึงอิทธิพลของความปรารถนาให้ ชาติมีเอกภาพของรัฐบาลทหารพม่า ที่มีต่อการใช้กำลังบังคับหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย ให้ย้ายถิ่นในบริเวณดังกล่าวและทำให้กลุ่มชนดังกล่าวต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทย (หน้า 93)

Theoretical Issues

ผู้เขียนกล่าวอ้างอิงสั้นๆ ถึง ประเด็นทางทฤษฎีและการแสวงหาความจริงจากภายนอกเกี่ยวกับ “สถานที่ตั้ง” เอกลักษณ์ในเรื่องของ “แผ่นดินถิ่นเกิด” และ “ความเป็นพลเมือง” ซึ่งนักภูมิศาสตร์นำมาใช้เป็นแนวทางกำหนดลักษณะ “ภูมิรัฐศาสตร์” ในแง่กายภาพบนแผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งและเส้นแบ่งพรมแดน

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนไทย - พม่าซึ่งมีทั้งพม่า กะเรนนี คะฉิ่น ชาน ฉิ่น มอญ โรฮิงยา (หน้า 96 - 97)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

ก่อนยุคที่มีการแบ่งพรมแดนชัดเจนตายตัว พื้นที่สูงของพม่าเป็นบริเวณที่ปกครอง แบบชนเผ่า มีความสัมพันธ์กันในลักษณะข้ามวัฒนธรรม มีลักษณะเฉพาะทาง การเมืองของแต่ละเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครองและมักจะเกิดการล่วงล้ำอธิปไตยหรือรุกรานกันอยู่บ่อยครั้ง มีข้อโต้แย้งว่า การตีเส้นแบ่งพรมแดนตายตัวและการสร้างนิยามรูปร่างทางภูมิศาสตร์ของชาติ ส่งผลต่อชุมชนที่มีรัฐบาลมาก่อนหน้านั้นหลายแห่ง เนื่องจากชุมชนซึ่งเป็นชนเผ่าเล็ก ๆ เหล่านี้ ไม่มีการคงอยู่ที่ชัดเจนบนแผนที่ทางการเมืองสมัยใหม่ และไม่มีประวัติศาสตร์ผ่านบันทึกเอกสารเป็นของตนเอง ตัวอย่างชุมชนรัฐบาลที่เป็น “เสียงเงียบ” คือ พื้นที่บริเวณข้ามเขตสาละวิน รวมถึงคะยาห์ กะเหรี่ยงและรัฐชาน เมื่ออังกฤษเข้ามาผนวกดินแดนแถบพม่าตอนบน หลังจากได้รับชัยชนะในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 3 ในปี 1886 (หน้า 98) กฎหรือนโยบายเกี่ยวกับการเป็นอาณานิคมถูกนำมาใช้ทางอ้อม บริเวณพื้นที่เขตแดนรัฐอาณานิคมพม่ามีขนาดเกินกว่า 1 ใน 3 ของพม่า เป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ในกรณีของรัฐชานและรัฐกะเหรี่ยง ได้มีการถืออภิสิทธิ์ตามประเพณี นิยมคล้ายคลึงกันกับรัฐสุลต่านซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติของมหาราชาแห่งอินเดีย มีการปกครองตนเอง ซึ่งทำให้อิสระอย่างน้อยในหลักการ เป็นการยากที่อำนาจส่วนกลางจะยื่นมือเข้าไปครอบงำกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นอิสระ และเคลื่อนไหวต่อต้านในพื้นที่ชายแดนที่เต็มไปด้วยหุบเขา แต่การทำสนธิสัญญาแบ่งพรมแดนระหว่างอังกฤษกับไทยในปี ค.ศ.1894 ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในบริเวณนี้ซึ่งเคยเดินทางติดต่อไปมาหาสู่กันในเวลาต่อมา แต่ในระยะแรกการกำหนดพรมแดนตายตัวแบบรัฐประชาชาติดังกล่าว มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติการควบคุมน้อยมากทั้งโดยไทยและพม่า ยังเป็นพื้นที่เปิดซึ่งวีซ่า หนังสือเดินทาง และด่านศุลกากรไม่มีความหมาย แม้เมื่อเร็ว ๆ นี้เองพรมแดนของชาน (รัฐฉาน) และกะเรนนีก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ที่เป็นชาติพันธุ์ในท้องถิ่นและพวกปะโอในรัฐฉาน (หน้า 98)

Settlement Pattern

สภาพภูมิศาสตร์และพื้นที่ที่แตกต่าง บางส่วนบริเวณรอยต่อตะเข็บพรมแดนระหว่างประเทศฝั่งตะวันออกระหว่างไทย – พม่า เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือ ค่ายผู้อพยพของพวกกะเหรี่ยงและชาน มีการนำข้อมูลมาวาดแผนผังฐานข้อมูล เกี่ยวกับกระบวนการและรูปแบบการอพยพพลัดถิ่น อย่างไรก็ดี ยังมีเรื่องของการจำกัดการเข้าถึงบางสถานที่ ภายในอาณาบริเวณแคว้นกะเหรี่ยง คะยาห์และชาน เมื่อมีการผลักดันคนออกนอกพื้นที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่เขตทหารที่มีการต่อสู้กันอย่างหนัก (หน้า 94-95)

Demography

รายละเอียดส่วนหนึ่งระบุว่า ประชากรอย่างน้อย 20 ล้านคน ใน 35 ประเทศ กลายเป็นผู้อพยพพลัดถิ่นในบ้านเกิดของตนเอง (IDPS) จากผลการสำรวจของ US. Committee For Refugees, ปี1998 มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน รวมถึง ผู้อพยพพลัดถิ่น ซึ่งอยู่ภายใต้อาณัติขององค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) (บทนำ) ตามรายงานก่อนหน้านั้นขององค์การสหประชาชาติ นับแต่ปี 1988 ประชากรกว่า 1 ล้านคนถูกผลักดันให้ออกนอกพื้นที่ โดยไม่มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับคนในเมือง หมู่บ้าน หรือแม้แต่ตามค่ายผู้อพยพลี้ภัยที่หน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ (UN. Economic and Social Council, 1987) ในปี 1998 กลุ่มวิจัยด้านชาติพันธุ์ในพม่าพบว่ากลุ่มประชากรที่เป็นผู้อพยพพลัดถิ่นบริเวณฝั่งตะวันออกของพม่ามีอยู่ประมาณ 30% ของประชากรกะเหรี่ยง 480,000 คนในชนบท รวมถึงผู้อพยพลี้ภัยข้ามพรมแดนภายในประเทศไทย เนื่องจากยังมีผู้อพยพในบริเวณพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงในพรมแดนด้านตะวันตก มีผู้อพยพ Rohingya (มุสลิม) ประมาณ 260,000 คน ในเขตบังคลาเทศ เป็นผู้พลัดถิ่น 15 เมืองจาก 17 เมืองใหญ่ในรัฐอารากัน (Arakan) ในที่สุดผู้อพยพจำนวนมากต้องถูกส่งตัว กลับภูมิลำเนาเดิม โดยมีการรับรองเรื่องเงื่อนไขความปลอดภัย (หน้า 96) มีผู้ลี้ภัยประมาณ 116,000 คนที่ลงทะเบียนว่าเป็นผู้ลี้ภัยได้รับการช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัย พม่าก็มีจำนวนมาก (ไม่มีเอกสารลงทะเบียน) ที่ทำงานและอาศัยในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่ยอมรับ “ผู้ลี้ภัย” อย่างเป็นทางการ ค่ายผู้ลี้ภัยจึงถูกเรียกว่า “ค่ายพักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนพลัดถิ่นที่หนีจากการสู้รบ” และอยู่ภายใต้การดูแล ของกระทรวงมหาดไทย โดยยอมให้กลุ่มเอ็นจีโอเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้วย ปัญหา ที่เกิดขึ้นก็คือ เป็นการยากที่จะแยกแยะคนพลัดถิ่นจากการเป็นผู้อพยพแบบอื่นข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมาย เช่น การใช้กำลังเข้ามาโจมตีค่ายอพยพ หรือหมู่บ้านในฝั่งไทยหรือการเข้ามาค้ายาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาต่อสถาบันสำคัญที่ทำงานเกี่ยวกับความ มั่นคงปลอดภัยตามแนวชายแดนของไทย เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน กองทัพและ สภาความมั่นคง

Economy

มีข้อแตกต่างอย่างมากเกี่ยวกับประสบการณ์ของการพลัดถิ่น ซึ่งถูกตีตราว่าเป็น “ผู้ลี้ภัย” ในค่ายพักอาศัยและกลายเป็นเสมือนบุคคลไร้สัญชาติ หรือ “ผู้อพยพผิดกฎหมาย” แม้ว่าผู้อพยพชานจะได้รับการปฏิบัติที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ทางการไทยยังได้อ้างถึงผู้อพยพส่วนใหญ่จากพม่า (เมียนม่าร์) โดยเรียกว่าเป็น “คนพลัดถิ่น” หรือ “ผู้อพยพ” และไม่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าผู้อพยพที่อยู่ในค่ายเป็น “ผู้ลี้ภัย” แม้จะมีข้อแตกต่างระหว่าง “ผู้อพยพผิดกฎหมาย” ซึ่งเข้ามาหางานทำในระบบเศรษฐกิจไทย และถูกเรียกว่าเป็น “ผู้อพยพทางเศรษฐกิจ” ส่วนผู้ลี้ภัยในค่ายถูกเรียกว่า “ผู้อพยพทางการเมือง” งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ยังไม่มีการจัดประเภทผู้อพยพอย่างชัดเจนเป็นระบบ ผู้อพยพชานไร้สัญชาติหลายรายเป็น “ผู้อพยพทางเศรษฐกิจ” หนีจากปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศ แบบเดียวกับที่พวกกะเรนนี (คะยาห์) เป็นผู้อพยพทางการเมือง เหตุผลประการหนึ่งซึ่งเป็นข้อแตกต่างอย่างเป็นทางการ คือ ประเทศไทยก็เผชิญกับปัญหา ชนกลุ่มน้อยไร้สัญชาติซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บนพื้นที่เขาอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว (หน้า 111)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ตามความเป็นจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิทัศน์ของสองฝั่งเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงเรื่องการหยุดยิง กับกองกำลังติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยในเขตพื้นที่ซึ่งมี “กองกำลังกบฏดำเนินการอยู่” ซึ่งกลุ่มเหล่านี้รู้สึกผิดหวังกับการใช้ความรุนแรง และปฏิบัติการที่เรียกว่า “ Border Area Development Program” (BADP) เขตพื้นที่โครงการพัฒนาตามแนวตะเข็บชายแดน โดยมีจุดประสงค์ทางการเมืองเพื่อรวมชาติให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง มุมมองของทางการ เกี่ยวกับการหยุดยิงที่ได้รับการสนับสนุนในหนังสือพิมพ์และโรงพิมพ์ของย่างกุ้งที่ถูกควบคุมโดยรัฐ เน้นประเด็นไปที่บทบาทเชิงเดี่ยวของ SPDC และ Tatmadaw ซึ่งยังคงถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหลักในการ “รวมประเทศเข้าด้วยกัน” ในการนำ “เผ่าพันธุ์ของชนในชาติ” ที่หลากหลายกลับคืนสู่กรอบของกฎหมายเมื่อคราวที่พันโทขิ่นยุ่น ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลทหารพม่าได้ไปเยือน Loikaw รัฐคะยาห์ในปี 1993 ได้กล่าวว่า กองกำลังติดอาวุธได้ต่อสู้กับรัฐบาลพม่ามาเป็นเวลากว่า 40 ปีควรที่จะไตร่ตรองอย่างจริงจังเสียทีว่าน่าจะวางอาวุธและสงบศึกได้แล้ว (หน้า 99) ในความเป็นจริงนับแต่มีประกาศอิสรภาพ เมื่อปี 1948 อาณาบริเวณพรมแดนที่กว้างใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การดูแลของชาติพันธุ์ที่แตกต่างหลากหลายในรูปขององค์กรทางการเมืองซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะปกครองตนเองมาโดยตลอด หรือร่วมกับรัฐบาลพม่าใน รูปของสหภาพ พรมแดนตะวันออกมีกลุ่มกะเหรี่ยง KNU (Karen National Union) ในรัฐกะเหรี่ยง (หรือ Kawthoolei ตามพรมแดนของไทย) คะฉิ่น KIO (Kachin Independence Organization) ในรัฐคะฉิ่น (ที่ต่อกับเขตแดนของจีนและอินเดีย) พรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNNP) กลุ่มต่อต้านหลักๆ ในรัฐคะยาห์ / กะเหรี่ยง (พรมแดนไทย) และกลุ่มต่อต้านอื่น ๆ ในรัฐชาน (พรมแดนไทย ลาว กัมพูชา) ทั้งหมด นี้มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มีคณะรัฐมนตรี กองทัพ โรงเรียนและส่วนประกอบอื่นๆ ที่บ่งถึงความเป็นรัฐหรือแคว้น โดยมีด่านศุลกากรตามพรมแดนทำหน้าที่เก็บภาษี ไม่ใช่รัฐบาลพม่า ลักษณะพื้นที่ภูมิการเมืองดังกล่าวที่มีกองกำลังชาติพันธุ์ท้าทายอำนาจ รัฐพม่าเป็นหัวใจสำคัญในการวิเคราะห์การบังคับให้ย้ายถิ่นข้ามพรมแดนรัฐชาติ และต้องพิจารณาเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ร่วมด้วย (หน้า 97-98)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

Plate 1. ทหารฝึกหัดของกองกำลังรัฐฉาน (SSA) ปฏิบัติการในรัฐฉานตอนใต้ใกล้กับบริเวณแถบชายแดนไทย ทหารที่อยู่ในแคมป์ภายในเขตชาน มีสมาชิกครอบครัว ที่ถูกสังหารโดย Tatmadaw ระหว่าง 1996 – 1998 ในรัฐฉานตอนกลาง (Figure 2) ภาพโดย Dean Chapman, 2000 (หน้า 97) Figure 1: แผนที่แสดงอาณาเขตของหมู่บ้านที่ถูกผลักดันออกจากพื้นที่ระหว่าง The Pon และแม่น้ำสาละวิน ในเดือน พ.ค. – มิ.ย. 1996 แหล่งที่มา : ตรวจสอบจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนของกะเหรี่ยง (KHRG) ที่สอดส่องและ รายงานบริเวณพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย (หน้า 103) Figure 2 : บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการผลักดันให้ออกนอกพื้นที่ในตอนกลาง ของรัฐชาน 1996 – 1998 แหล่งที่มา : มูลนิธิสิทธิมนุษยชนชาน (SHRF, 1998a) Grundy – Warr and Wong (หน้า 104) Plate 2 Amputees กับหลักสูตรฝึกอบรมใน จ.แม่ฮ่องสอน เรียนรู้การประดิษฐ์ กิ่งไม้ นอกจากไม้ค้ำยันรักแร้ ทั้งหมดเป็นกลุ่มสู้รบของกองทัพกะเหรี่ยงมาก่อน เป็นผู้ที่ถูกกลุ่ม Tatmadaw และกองทัพชนกลุ่มน้อย ฝึกให้กล้าหาญหนักแน่น อยู่ตามบริเวณพรมแดน ภาพโดย Dean Chapman , ปลายปี 1990 (ดู Chapman1998 ; Grundy – Warr et al.,2002) (หน้า 105) Figure 3: Patterns & Types of Displacement experienced with forced Relocations รูปแบบและชนิดของประสบการณ์การอพยพออกนอกพื้นที่ (การเป็นผู้อพยพ) แหล่งที่มา : เปรียบเทียบตรวจสอบจากงานวิจัยภาคสนาม (Grundy – Warr, 2001) (หน้า 106)

Text Analyst ศมน ศรีทับทิม Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG คะยาห์ กะเรนนี บเว(กะเหรี่ยง), ไต คนไต ไตโหลง ไตหลวง ไตใหญ่, ผู้ลี้ภัย, การย้ายถิ่น, พรมแดน, การไร้สัญชาติ, พม่า, ไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง