สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย    

 

รายชื่องานวิจัยด้านชาติพันธุ์ในฐานข้อมูล จำนวน 1377 รายการ

 

 

  Author Title Source Year
61. ขวัญชีวัน บัวแดง พื้นที่พรมแดนแม่น้ำเมยกับความสัมพันธ์ชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง-คนเมือง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
62. สมทรง บุรุษพัฒน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง,สุมิตรา สุรรัตน์เดชา และคณะ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยโซ่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
63. ปนัดดา บุญยสาระนัย และหมี่ยุ้ม เชอมือ ลาหู่ หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
64. ประสิทธิ์ ลีปรีชา การค้าขายข้ามพรมแดนกับอัตลักษณ์ม้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
65. ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, ฤชุ สิงคเสลิต และรัศมี เอื้ออารีย์ไพศาล เค่งและเพลงในพิธีตฺจอ ผลี่ของชนเผ่าม้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
66. สุพจน์ ทองเนื้อขาว พิธีกรรมหลังความตายของชนเผ่าม้ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: รูปแบบและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1975 ถึงปีคริสตศักราช 2012 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
67. จารุวัฒน์ นนทชัย ยุ้งข้าว : และสื่อสัญลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558
68. สุนทร พรรณรัตน์ เหวียต เกี่ยว : อัตลักษณ์และกระบวนการปรับปรนในการดำเนินชีวิต CARE ในภาคอีสาน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2558
69. สรรเกียรติ กุลเจริญ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558
70. อิสระ ชูศรี ชอุง ภาษาพลัดถิ่นจากกัมพูชา ที่กาญจนบุรี อิสระ ชูศรี.ชอุง ภาษาพลัดถิ่นจากกัมพูชา ที่กาญจนบุรี. หน้า 66-73. ใน วัฒนธรรม ปีที่ 54 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร 2558
71. เบญจวรรณ สุขวัฒน์ การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน : การต่อรองเพื่อสิทธิทางการเป็นพลเมืองทางวัฒนธรรม ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ไทศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2558
72. อัสรี มาหะมะ “จราเมาะห์อากามา” (การบรรยายศาสนา): ความหมาย และขบวนการเคลื่อนไหวทาง ศาสนาของชาวมลายูมุสลิมสายจารีต วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558
73. ศศิภา คำก่ำ วิถีการดำรงชีวิตและความแตกต่างทางสังคมของคนขมุในการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณชายแดนไทย-ลาว สาขาชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558
74. เกียรติศักดิ์ บังเพลิง ชุมชนชาติพันธุ์ “บรู” ร่วมสมัยบนพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว: วิถีชีวิตและการปรับตัวทางวัฒนธรรม ดุษฎีนิพนธ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชามานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558
75. นิรันดร์รักษ์ ปาทาน อาหารในกาดบ้านฮ่อ: การข้ามพรมแดนทางอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และศาสนา วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการพัฒนาสังคม) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558
76. ธิตินัดดา จินาจันทร์ กลุ่มชาติพันธุ์ในนิทานพื้นบ้านล้านนา โครงการวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558
77. อุไร ยังชีพสุจริต การช่วงชิงความทรงจำทางสังคมในชุมชนม้งดอยยาว-ดอยผาหม่น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558
78. สกุลกร ยาไทย เศรษฐกิจการเมืองของความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศในบริบทความขัดแย้งทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กรณีศึกษาค่ายอพยพนุโพ จังหวัดตาก วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2558
79. อุบล สวัสดิ์ผล, ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ชูพักตร์ สุทธิสา กลุ่มชาติพันธุ์กูย: วิถีการดำรงชีวิตของแรงงานอพยพตัดอ้อยภายใต้อุตสาหกรรมน้ำตาลไทย วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2558) หน้า 147-182 2558
80. มยุรี ถาวรพัฒน์ ภาษาอึมปี้ (Mpi) - 2558


 


 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง