สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject วัฒนธรรมอาหาร,จีนฮ่อ,การข้ามพรมแดน,ชาติพันธุ์,ศาสนา,กาดบ้านฮ่อ
Author นิรันดร์รักษ์ ปาทาน
Title อาหารในกาดบ้านฮ่อ: การข้ามพรมแดนทางอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และศาสนา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 
Total Pages 132 Year 2558
Source วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการพัฒนาสังคม) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ มุ่งศึกษาประเด็นเกี่ยวกับอาหารที่จำหน่ายในกาดบ้านฮ่อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีประเด็นสำคัญในการศึกษา คือ
การทำความเข้าใจต่ออัตลักษณ์ชาติพันธุ์และศาสนาที่แสดงออกผ่านรสชาติผักดอง ที่มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมจากการเดินทางไกลของชาวจีนยูนนานจากเมืองจีนจนถึงประเทศไทย โดยมีข้อค้นพบว่า ผักดองจีนฮ่อที่ได้เดินทางผ่านพื้นที่วัฒนธรรมที่หลากหลาย ได้ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรสชาติของผักดองตามพื้นที่วัฒนธรรมการบริโภคไปด้วย แต่ยังคงสงวนรสชาติของความเป็นยูนนานดั้งเดิมอยู่ ฉะนั้นจึงมีการผสมระหว่างรสชาติดั้งเดิมกับรสชาติในวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันลูกค้าที่ซื้อได้ใช้ประสบการณ์จากรสชาติดั้งเดิมหรือรสชาติที่ตนเคยนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อผักดอง ทั้งนี้ในกระบวนการซื้อขาย พบว่า อัตลักษณ์ทางศาสนาและชาติพันธุ์นั้นเกิดความลื่นไหล เช่น มุสลิมจีนยูนนานที่ต้องการรสชาติดั้งเดิมของผักดองที่มีส่วนผสมของเหล้าต้องยอมละเลยกับหลักศาสนา
ประเด็นที่สอง คือ การสำรวจเส้นทางของอาหาร ในกรณีศึกษาเนื้อกังปา พบว่า เนื้อกังปาเป็นวัฒนธรรมอาหารของชาวอินเดีย และเดินทางมากับการอพยพ ผ่านพม่าและเข้าสู่ประเทศไทย คนเหล่านี้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงวัวและนิยมบริโภคเนื้อวัว กระทั่งเกิดเส้นทางการค้าขายวัว จากอินเดีย พม่า ถึงประเทศไทย บนเส้นทางนี้เกิดการปฏิสัมพันธ์ต่อรองหลากหลายกลุ่มทั้งชาวมุสลิมสายอินเดียปาทาน กลุ่มชาติพันธุ์ และเจ้าหน้าที่รัฐ ในพื้นที่ชายแดน จนในที่สุดมีการนำวัวมาขายในกาดงัว (ตลาดวัว) ที่เชียงใหม่ สุดท้ายวัวที่ทำเนื้อกังปาต้องผ่านกระบวนการเชือดตามวิธีอิสลาม กระทั่งกลายเป็นเนื้อกังปาที่ขายในกาดบ้านฮ่อ และแสดงถึงอาหารที่เป็นอัตลักษณ์มุสลิมที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอินเดียกับจีนยูนนาน (หน้า จ-ฉ)

Focus

งานศึกษาชิ้นนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มพ่อค้าชาติพันธุ์ในกาดบ้านฮ่อ โดยเน้นผู้ค้าและผู้ซื้อผักดองชาวไทยเชื้อสายจีนยูนนานเป็นหลัก รวมทั้งทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิม เจ้าหน้าที่รัฐ นายทุนและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกทั้งศึกษาถึงวิธีการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดของการค้าผักดองจีนฮ่อระหว่างผู้ค้ากลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ในด้านภาษา องค์ความรู้การผลิตผักดองจีนฮ่อ และการใช้อัตลักษณ์ทางศาสนาในการแสวงหาลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เชิงอัตลักษณ์เพื่อการต่อรองหรือช่วงชิงเชิงพื้นที่ตลาด (หน้า 5-6)

Theoretical Issues

งานศึกษาชิ้นนี้ ได้ใช้งานของ Inbal Ester Circurel (2012) ที่ศึกษาชาติพันธุ์คาเรท (Karait) ซึ่งเป็นชาวยิวอีกกลุ่มหนึ่งที่อพยพจากอียิปต์มาสู่ดินแดนอิสราเอล แต่การเข้ามาในดินแดนอิสราเอลของคนเหล่านี้ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นผู้นับถือศาสนายิว เนื่องจากชาวคาเรทมีวัฒนธรรมบริโภคอาหารที่แตกต่างไปจากความเคร่งครัดทางอาหารของชาวยิวเยรูซาเล็ม ทำให้ชาวยิวในเยรูซาเล็มไม่เข้าร่วมบริโภคอาหารกับชาวคาเรท และได้กลายเป็นประเด็นการกีดกันทางชาติพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวคาเรทต้องยอมปรับตัวและละทิ้งวิธีการปรุงอาหารของตน ให้เป็นไปตามหลักการศาสนาที่ว่าด้วยการบริโภคของชาวยิวแรบไบ ซึ่งการปรับตัวเช่นนี้ทำให้ชาวยิวแรบไบ (กลุ่มผู้นำศาสนา) ยอมรับและอนุญาตให้เข้าร่วมในพิธีกรรมศาสนา
 
นอกจากนี้ งานที่กล่าวถึงการปรับตัวของอาหาร ในงานศึกษาของบุศรินทร์ ที่ศึกษากลุ่มไทใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ ที่ชี้ว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีส่วนในการกำหนดรสชาติอาหารใหม่ แต่ก็ไม่ละทิ้งรสชาติดั้งเดิมไป ถึงแม้จะมีการปรับขั้นตอนการปรุงอาหารก็ตาม ซึ่งวิธีการปรับขั้นตอนอาหารนี้ จะคล้ายกับงานที่อธิบายการปรับตัวในการปรุงอาหารของชาวคาเรทในอิสราเอล จากงานศึกษาทั้งสองชิ้นข้างต้น จึงเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายการปรับตัวทางอาหาร โดยเฉพาะ “ผักดอง” ของชาวจีนฮ่อมุสลิมในตลาดบ้านฮ่อ (หน้า 8-10)
 
ทั้งนี้ยังใช้แนวคิดการเมืองเชิงพื้นที่ ที่ใช้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในการต่อรอง เพื่อทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกาดบ้านฮ่อ ที่พลวัตจากการเป็นตลาดเล็ก ๆ ของชาวจีนฮ่อ กระทั่งกลายเป็นพื้นที่ตลาดชาติพันธุ์ที่เป็นแหล่งรวมของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าจากหลากหลายชาติพันธุ์ในเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ค้าชาติพันธุ์ในตลาดบ้านฮ่อ โดยมุ่งศึกษาการต่อรอง กลยุทธ์ความรู้ในการขายและทำผักดอง โดยเฉพาะกระบวนการเหล่านี้ได้ใช้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ศาสนาในการแสวงหาและดึงดูดพร้อมกันนั้นยังเป็นการกีดกัน แย่งชิงและสร้างความได้เปรียบต่อคู่แข่ง นอกจากนี้ในงานชิ้นนี้ ยังศึกษาเรื่องราวของการขายเนื้อกังปา ที่มีที่มาจากต่างชาติ จนกระทั่งเดินทางมาสู่การเป็นอาหารที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ (หน้า 29-30)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มผู้ค้ามุสลิมจีนยูนนาน ที่ขายผักดอง เนื้อกังปา บนพื้นที่กาดบ้านฮ่อ ตรงข้ามมัสยิดบ้านฮ่อ ไนท์บาซาร์ (หน้า 33)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มี

Study Period (Data Collection)

ไม่มีระบุช่วงเวลา
การศึกษาได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากงานศึกษา เอกสาร บทความ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ และการลงพื้นที่ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ค้าและกลุ่มผู้ซื้อ ที่ครอบคลุมในด้านประวัติศาสตร์ ลักษณะการค้าขาย และการทำผักดองและด้านอื่น ๆ โดยจะมีการจดบันทึก ถ่ายภาพพื้นที่และผู้คน (หน้า 35-36)

History of the Group and Community

ชาวจีนมุสลิมยูนนานหรือที่รู้จักในชื่อ “จีนฮ่อ” เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน และต้องแตกกระจายอพยพไปตามที่อื่น ๆ หลังจากการเข้ามาปราบปรามของของราชสำนักแมนจู ชาวจีนฮ่อส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานตามลุ่มน้ำสาละวิน และส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในยูนนาน ชาวจีนฮ่อเหล่านี้ได้เป็นที่รู้จักในนามของ “พ่อค้าวัวต่าง ม้าต่าง” ที่นำสินค้ามาค้าขายไปตามเมืองต่าง ๆ ในทางภาคเหนือของไทย พม่า และยูนนาน กลุ่มเหล่านี้ได้เป็นที่รู้จักของชาวเชียงใหม่ มาอย่างยาวนานร้อยกว่าปี โดยกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งแคมป์ที่อำเภอฟ้าฮ่าม คือ
 
1. กลุ่มพ่อค้าที่มาจากเมืองแรม มีหัวหน้า คือ เลาเตา และได้แต่งงานกับคนพื้นเมือง
2. กลุ่มที่สองที่เดินทางเข้ามาปักหลักและมีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคมมุสลิมจีนเชียงใหม่ คือ กลุ่มปะซาง (พ่อเลี้ยงเลานะ) กลุ่มนี้ในช่วงแรกได้ตั้งแคมป์ที่ทุ่งเวสาลี ถนนโชตนา จากนั้นเมื่อได้รวมกลุ่มกับชาวปากีสถาน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งชุมชนมัสยิดช้างเผือก ในบริเวณประตูช้างเผือกด้านนอก ความสัมพันธ์บนการค้าดำเนินอย่างต่อเนื่อง ชาวจีนฮ่ออีกกลุ่มที่เป็นกองคาราวานใหญ่ นำโดย นายจิ้งชงหลิ่ง ท่านผู้นี้ได้เข้ามาค้าขายในเมืองเชียงใหม่และเมืองใกล้เคียง กระทั่งได้สร้างคุณงามความดีต่อเจ้าเมืองเชียงใหม่ จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยงานราชการเป็น “ขุน” จวงเลียง กลุ่มนี้ อาศัยอยู่บริเวณตลาดไนท์บาซาร์
 
นอกจากนี้ กลุ่มสุดท้ายที่เข้ามาในประเทศไทย เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1949 หลังจากการพ่ายแพ้ของกลุ่มก๊กมินตั๋งต่อพรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่มเหล่านี้ได้ตั้งชุมชนในพื้นที่ชายแดนประเทศไทยที่ติดกับประเทศพม่า และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะไทยไว้วางใจให้กลุ่มนี้เป็นผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อชี้ให้เห็นการเข้ามาของกลุ่มจีนฮ่อที่มีหลากหลายกลุ่มและเข้ามาต่างช่วงเวลา ตั้งแต่การเข้ามาเพื่อการค้าและการหนีปัญหาการเมืองในประเทศจีน แต่ความน่าสนใจคือ คนเหล่านี้ได้ถูกนิยามในชื่อว่า “ฮ่อ” ซึ่งไม่ใช่ชื่อเดิมของชาวจีนยูนนานมุสลิม แต่ชื่อจีนฮ่อ ได้ถูกนิยามจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเส้นทางการค้าทางไกล จนกลายเป็นชื่อเรียกหรือนิยามชาวจีนที่เดินทางทางบก  (หน้า 37-39)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนฮ่อหรือจีนยูนนาน สามารถแบ่งกลุ่มและช่วงเวลาของการเดินทางค้าขาย จนกระทั่งมีการตั้งถิ่นฐานยังพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคเหนือ เช่น 1.กลุ่มพ่อค้ายูนนานจากแม่ซ่าซุน เมืองต๋าไปยี ที่เดินทางจากยูนนาน เชียงตุงพม่า และได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เชียงรายเป็นบางส่วน และเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอำเภอดอยสะเก็ดและตลาดสันทรายน้อย ในจังหวัดเชียงใหม่ 2. กลุ่มพ่อค้าจากเมืองแรม ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยลักษณะเป็นการตั้งแคมป์ ที่ชุมชนท่ากระดาษ อำเภอฟ้าฮ่าม จังหวัดเชียงใหม่ 3. กลุ่มท่านนะปะซาง (พ่อเลี้ยงเลานะ) เข้าตั้งแคมป์ในพื้นที่ทุ่งเวสาลี ฝั่งตะวันออกของถนนโชตนา จนในที่สุดมีการปักหลัก ไม่ได้เดินทางค้าขายไปยังพื้นที่อื่น ๆ อีกต่อไป 4.กลุ่มผู้อพยพจีนคณะชาติ ที่อพยพเข้ามาจากความพ่ายแพ้ให้กับกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ และเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย โดยเฉพาะมีปรากฏชุมชนในเขตอำเภอฝาง เชียงราย (หน้า 38-39)
 
แต่ปัจจุบันที่ปรากฏให้เห็นชุมชนของชาวจีนฮ่อในเขตอำเภอเมืองอย่างโดดเด่น โดยมีประวัติการตั้งถิ่นฐานที่สัมพันธ์กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ คือ การตั้งถิ่นฐาน ในทำเลที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ดังที่งานชิ้นนี้ ระบุว่า ชาวจีนฮ่อมุสลิมได้รับพระราชทานที่ดิน 5 ไร่จากเจ้าแก้วนวรัฐ และผู้นำจีนฮ่อขุนจวงเลียงได้สร้างเรือน ในปี พ.ศ. 2433 เรือนแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งรวมของชาวจีนฮ่อที่เป็นพ่อค้าวัวต่าง และบางหลายคนได้ปลูกบ้านในบริเวณใกล้เคียงเรือนขุนจวงเลียง และมีการสร้างมัสยิดในพื้นที่ตรงข้ามกับเรือนหลวง ปัจจุบันพื้นที่ตรงนี้อยู่ด้านหลังตลาดไนท์บาร์ซาและมีพื้นที่ใกล้เคียงกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในซอยเจริญประเทศ ซอย 1 (หน้า 47)

Demography

ไม่มี

Economy

การอพยพของชาวจีนยูนนานเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ มีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจทางการค้า ตั้งแต่การค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เจ้าของภัตตาคาร นอกจากนี้คนเหล่านี้ยังเข้าถึงการศึกษาระดับสูง มีมาตรฐานในการครองชีพที่ทันสมัย สมาชิกมีอิทธิพล สมาคม และมีแหล่งซื้ออาหารเพื่อบริโภค คือ ตลาดบ้านฮ่อ และย่านช้างคลาน (หน้า 43)
 
นอกจากนี้ในงาน ได้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ และแหล่งรายได้ของชาวจีนฮ่อ โดยกล่าวว่า เดิมที่ชาวจีนฮ่อเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าทางไกล มีอาชีพเป็นพ่อค้า และเมื่อปักหลักบนพื้นที่เชียงใหม่คนกลุ่มนี้ได้เข้าสู่ระบบการค้าขายบนพื้นที่ตลาดในเมืองเชียงใหม่ นั่นคือ การขายของหน้าบ้านขุนจวงเลียงในทุกวันศุกร์ เนื่องจากมุสลิมต้องรวมตัวกันเพื่อประกอบศาสนกิจในทุกวันศุกร์ มีมุสลิมจำนวนมากมาร่วมกันละหมาด พร้อมกันนั้นเกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนกันก่อนจะมีการละหมาดของช่วงเที่ยง
 
โดยพ่อค้ามุสลิมเหล่านี้ ได้นำอาหาร จำพวกผักผลไม้ เนื้อกังปา (เนื้อน้ำค้าง) ผักดองจีนฮ่อ มาขายในพื้นที่ หลังจากการค้าขายได้สร้างรายได้ที่ดี มีการชักชวนผู้ค้าจากบนดอยให้เข้ามาขายสินค้า คนเหล่านี้ มาจากอำเภอฝาง ดอยอ่างขาง อำเภอเชียงดาว และกลายเป็นแหล่งรวมของพ่อค้าแม่ค้าชาวจีนฮ่อ ตลาดแห่งนี้ จึงเรียกว่า “กาดจีนฮ่อ” หรือเรียกว่าตลาดชาวเขา ฉะนั้นชาวจีนฮ่อที่อยู่ในละแวกเมืองเชียงใหม่ ได้ใช้พื้นที่กาดจีนฮ่อในการแลกซื้อสินค้าและเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ เช่น พืชผักผลไม้เมืองหนาว เช่น แตงกวาแม้ว อโวคาโด เมล็ดพืชพันธุ์ชนิดต่าง ๆ อาหารจำพวกถั่ว ถั่วเน่า ขนมจีนพม่า ข้าวปุกงาดำราดน้ำอ้อย อาหารจีนยูนนาน เนื้อน้ำค้าง บาเยีย ซาโมซา ข้าวแรมฟืน สินค้าอาหารสำเร็จรูป ยาสมุนไพร และอื่น ๆ อีกมากมาย (หน้า 33-34)

Social Organization

สังคมจีนฮ่อมุสลิม ให้ความสำคัญกับเครือญาติที่เป็นฝ่ายพ่อหรือให้ความสำคัญกับผู้ชายเป็นใหญ่ ภายในครอบครัวจะมีระบบกงสี การสร้างสานสัมพันธ์มิตรสหายและจะให้ความเคารพผู้อาวุโส มีการแต่งงานภายในกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ และให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของกลุ่ม จึงทำให้ชาวจีนฮ่อมุสลิมมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (หน้า 42-43)
 
นอกจากในงานชิ้นนี้ ได้อธิบายขนบธรรมเนียมในระบบความสัมพันธ์ในครอบครัวของชาวจีนฮ่อ ผ่านการทำผักดองของลูกสะใภ้ชาวจีนยูนนาน การทำผักดอง ถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวจีนฮ่อที่ลูกสะใภ้ทุกคนจะต้องแสดงฝีมือให้กับครอบครัวฝ่ายสามีได้ลิ้มรส และหากสามารถทำอาหารได้รสชาติดี จะทำให้แม่สามีภูมิใจและสามารถโอ้อวดคุณสมบัติของลูกสะใภ้ได้ แต่หากรสชาติออกมาไม่ค่อยดี ก็จะทำให้แม่สามีเสียหน้าได้ ฉะนั้น การเป็นลูกสะใภ้จีนฮ่อจะต้องทำอาหารหรือทำผักดองให้อร่อย นอกจากนี้ยังต้องรับผิดชอบงานบ้านทั้งหมด เพื่อเป็นการเอาใจแม่สามี ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดำเนินไปอย่างราบรื่น สิ่งเหล่านี้ คือ ระบบความสัมพันธ์ในครอบครัวของชาวจีนฮ่อระหว่างลูกสะใภ้กับแม่สามี (หน้า 59)

Political Organization

งานชิ้นนี้ ได้อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคม การควบคุม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ
 
1. กฎระเบียบและการควบคุมทางสังคม ศาสนา เช่น กรณีการค้าขายของมุสลิมนั้นจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติหรือมีขั้นตอนของกระบวนการผลิตทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามหลักการศาสนาอิสลาม (ฮาลาล) ด้วยเหตุนี้คนที่ขายเนื้อกังปา หรือ ขายผักดอง จำต้องใช้เนื้อวัวที่ศาสนาอิสลามอนุมัติในการซื้อขายเท่านั้น หรือข้อห้ามใช้เหล้าในการผสมอาหาร แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าเนื้อกังปาที่เป็นพุทธนั้นไม่มีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เช่นนี้ ฉะนั้นสามารถนำเนื้อจากที่อื่นได้ แต่ของพ่อค้ามุสลิมจึงต้องสั่งซื้อเนื้อจากพ่อค้าวัวมุสลิม ซึ่งพ่อค้าวัวมุสลิมมีอยู่หลายรายที่ผูกขาดการค้าเนื้อในเชียงใหม่ จึงเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจและความสัมพันธ์ต่างตอบแทนระหว่างกัน (หน้า 88) นอกจากนี้ในงานยังระบุถึงความสัมพันธ์และกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรมศาสนาที่กำหนดการซื้อขาย เช่น ผู้ซื้อมุสลิมจำเป็นต้องบริโภคเนื้อที่ศาสนาอิสลามอนุมัติเท่านั้น ฉะนั้นศาสนาจึงเป็น “พรมแดนกั้น” การซื้อขายของมุสลิมต่อสินค้าของกลุ่มศาสนาอื่น แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นพืชผัก ผลไม้หรือสินค้าประเภทน้ำ มุสลิมสามารถซื้อในร้านของศาสนิกอื่นได้
 
2. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพ่อค้ามุสลิม นายหน้า เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ซื้อวัว กรณี เกิดขึ้นบนเส้นทางการค้าวัว ตั้งแต่กระบวนการนำเข้าวัวจากอินเดียสู่พม่า ข้ามแม่น้ำสาละวินมายังฝั่งประเทศไทย ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าวัว ระหว่างพื้นที่ชายแดน เช่น แม่ฮ่องสอน อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด ตำบลแม่สลิด แต่ส่วนมากจะนำเข้าวัวผ่านด่านแม่ฮ่องสอน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จำนวนน้อย ทำให้มีการตรวจสอบไม่ทั่วถึงและง่ายในการกลยุทธ์ต่อรองผลประโยชน์ระหว่างกันได้ จึงพบว่า การตรวจสอบและเก็บภาษี ในอาณาบริเวณเช่นนี้ จึงเกิดการต่อรองและการใช้อำนาจต่าง ๆ เช่น การให้สินบนเจ้าหน้าที่ การใช้กฎหมาย การกดราคาค่าวัวตามสถานการณ์ (หน้า 92-94)
 
แต่เมื่อวัวได้เดินทางเข้าเขตไทย ทางภาคเหนือ มีเครือข่ายของกลุ่มพ่อค้าวัวมุสลิมปาทานที่นำวัวจากอำเภอแม่สะเรียงมาสู่เมืองเชียงใหม่ บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้ผูกขาดการขายเนื้อวัวในจังหวัดเชียงใหม่ คือ ลุงใหญ่ เป็นเชื้อสายปาทาน ที่มีความเชี่ยวชาญในการเลือกวัว ชำแหละ และมีอำนาจในการต่อรองกับพ่อค้าวัวและเจ้าหน้าที่รัฐ ลุงใหญ่มีโรงเชือดวัว ระดับใหญ่ที่ส่งขายในตลาดตามจังหวัดเชียงใหม่ และลุงใหญ่ยังผูกขาดการจัดหาวัวในเทศกาลเชือดพลีของมุสลิมเชียงใหม่ ซึ่งต้องใช้วัวหลายร้อยตัว สิ่งเหล่านี้คือ อาจเรียกได้ว่าความสัมพันธ์บนตัววัว หรือ วัว ตัวหนึ่งสามารถอธิบายความซับซ้อนของระบบความสัมพันธ์ ความขัดแย้ง การต่อรองและเทคนิคต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ (หน้า 88-90)

Belief System

อัตลักษณ์ทางศาสนาของจีนฮ่อมุสลิม นับถือศรัทธาในศาสนาอิสลาม โดยยึดโยงกับสายสำนักทางศาสนา 3 สาย คือ สายฮานาฟี สายดะวะฮ์ตับลีฆ สายสาลาฟี โดยในแต่ละสายจะมีความแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย แต่มุสลิมจีนยูนนานส่วนมากจะนับถือสำนักสายฮานาฟี ซึ่งอยู่กลุ่มซุนนี่ และเป็นสายที่มาจากบรรพบุรุษที่ถือกันมาอย่างยาวนาน และการถือสายฮานาฟี มีเครือข่ายสัมพันธ์กับชาวจีนมุสลิมในประเทศจีน โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน ปัจจุบันมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารมัสยิดบ้านฮ่อ ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลมุสลิมทั้งหมดในเชียงใหม่ (หน้า 45)

Education and Socialization

การสืบทอดวัฒนธรรม ความรู้ ในงานชิ้นนี้ ได้ระบุ ถึงการส่งทอดภูมิปัญญาในการทำผักดองให้กับลูกสาว เกิดขึ้นภายในครอบครัวและถือว่าเป็นหน้าที่ตามธรรมเนียม โดยเฉพาะในหมู่ลูกสาวจีนฮ่อทุกคน จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการทำผักดอง เพราะตามขนบธรรมเนียมของชาวจีนฮ่อ ลูกสะใภ้จำเป็นต้องทำอาหารรสชาติดี เพื่อ “เอาใจแม่สามี” (หน้า 59)

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของผู้หญิงมุสลิม แสดงออกถึงความแตกต่างผ่านการสวมหิญาบคลุมผม ส่วนผู้ชายมีการสวมหมวกกาปีเยอะห์ ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์การเป็นมุสลิม (หน้า 83, 88)

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

อัตลักษณ์ชาติพันธุ์จีนฮ่อมุสลิม บนพื้นที่กาดบ้านฮ่อ มีการแสดงออกทางอัตลักษณ์ค่อนข้างชัดเจน เช่น แม่ค้าที่เป็นมุสลิมจะสวมคลุมหิญาบ และขายอาหารฮาลาล (อาหารที่อนุมัติทางศาสนา) ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าผู้ซื้อเป็นมุสลิมแต่ก็มีคนจีนหรือจีนฮ่อพุทธและกลุ่มอื่น ๆ  การปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่จึงตั้งอยู่บนลักษณะการค้าขาย เช่น ระหว่างผู้ค้ากับผู้ค้า เช่น มีการแยกโซนพื้นที่แผงขาย มีโซนของชาวพุทธ โซนมุสลิม โซนผัก โซนขายสินค้าทั่วไป สำหรับโซนมุสลิมจะสังเกตได้จากสัญลักษณ์ดาวเดือนหรือจันทร์เสี้ยวที่แสดงถึงศาสนาอิสลามหรือแสดงผ่านอัตลักษณ์การแต่งกาย ผู้ชายสวมหมวก ผู้หญิงสวมหิญาบหรือผ้าคลุมผม  และสำหรับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ โดยส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในฐานะเป็นลูกค้าประจำ (หน้า 50-53)
 
นอกจากนี้ ในงานยังกล่าวถึง การดำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ศาสนา เช่น ในกรณีของชาวจีนฮ่อมุสลิมชื่อพี่เต่า ที่มีความเคร่งครัดกับหลักคำสอนศาสนาอิสลาม การเลือกซื้อผักดองของเขา จึงขับเน้นตามหลักการและข้อห้าม คือ การซื้อผักดองที่ปราศจากการผสมกับเหล้า เพราะเหล้าเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม กรณีนี้จึงเป็นลักษณะหนึ่งของการรักษาอัตลักษณ์ทางศาสนา อย่างไรก็ตามการหมักผักดองแบบดั้งเดิมของจีนฮ่อนั้นมีเหล้าเป็นส่วนผสม และรสชาติแบบดั้งเดิมเช่นนี้ เป็นที่นิยมบริโภคของชาวจีนฮ่อและฮ่อมุสลิม ด้วยเหตุนี้ทำให้มุสลิมบางคนยังเลือกซื้อแบบผักดองดั้งเดิมมาบริโภค ซึ่งคนเหล่านี้จะมีชุดการตีความศาสนาที่แตกต่างกันจากกรณีเช่นนี้ จึงพบว่า ถึงแม้หลักคำสอนที่ห้ามการดื่มเหล้า แต่การใช้เหล้าเป็นส่วนผสมในเมนูอาหาร เช่น ผักดอก จึงเกิดความลื่นไหลในการตีความข้อห้ามศาสนา เพื่อบริโภคผักดองที่เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของตน (หน้า 83-84,123)

Social Cultural and Identity Change

1. การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของกาดบ้านฮ่อ ทำให้เกิดผลการขยายตัวของกลุ่มพ่อค้าและลูกค้าในตลาด กล่าวคือ ก่อนหน้านั้นตลาดบ้านฮ่อ เป็นพื้นที่ตลาดเล็กของกลุ่มชาติพันธุ์ ขายของไม่กี่ชนิดให้กับผู้ซื้อที่มาประกอบศาสนกิจ แต่ปัจจุบันพื้นที่ตลาด ได้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูป มีการประชาสัมพันธ์ของสื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดกลุ่มผู้ซื้อที่แตกต่างมากขึ้น นอกจากภายใต้การเข้ามาบริหารของกาแลไนท์บาซาร์ (หน้า 55)
 
2. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาหาร คือ “การห้ามใส่เหล้าเป็นส่วนผสมในการหมักผักดอง” สมัยบรรพบุรุษที่ชาวจีนฮ่อมุสลิม นิยมทำผักดองที่ใช้เหล้าเป็นส่วนผสมในการหมัก ซึ่งเป็นสูตรดั้งเดิมที่ได้รับความนิยม แต่ปัจจุบัน การเผยแพร่และการเข้าถึงหลักคำสอนศาสนา ทำให้ชาวจีนฮ่อมุสลิมได้ตีความวัฒนธรรมอาหารแบบดั้งเดิมใหม่ ด้วยการยกเลิกการปรุงอาหารที่มีส่วนผสมจากเหล้าหรือสิ่งที่เป็นข้อห้ามในอิสลาม (หน้า 78)

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Google Map

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD/@18.7864342,98.9992897,17z/data=!3m1!4b1!4m5!3m4!1s0x30da3aa5fc214337:0xbc89d827d17442d0!8m2!3d18.7864342!4d99.0014784

Map/Illustration

ภาพประกอบ

2.1 ภาพบริเวณทางด้านหน้าของกาดบ้านฮ่อ (หน้า 50)
2.2 ภาพที่ชี้ให้เห็นพัฒนาการของกาดบ้านฮ่อโดยการสร้างถนนและการจัดโซนตลาดให้ความชัดเจนรวมทั้งการปรับภูมิทัศน์ของตลาดให้ดีขึ้น (หน้า 51)
2.3 ผู้ค้าชาวมุสลิมะห์ในโซนอิสลามที่สามารถสังเกตได้ง่ายผ่านการแต่งตัวโดยคลุมหิญาบ (หน้า 52)
2.4 แม่ค้าในโซนพืชผักที่นำพืชผักเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ขายแบบแบกับดิน (หน้า 53)
2.5 ภาพสินค้าชาติพันธุ์ชนิดต่าง ๆ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ (หน้า 54)
2.6 ภาพโซนสินค้าที่ประกอบด้วยสินค้าชนิดต่าง ๆ ในกาดบ้านฮ่อ (หน้า 57)
3.1 ผักดองจีนฮ่อหลากหลายชนิดที่ขายในกาดบ้านฮ่อ (หน้า 59)
4.1 ภาพเนื้อกังปาที่ห้อยแขวนเพื่อขายในกาดบ้านฮ่อ (หน้า 87)
4.2 บรรยากาศของฟาร์มของพ่อเลี้ยงติ๊บ (หน้า 94)
4.3 ภาพเจ้าหน้าที่รัฐกำลังทำการตรวจสอบจำนวนการขนส่งวัวและควาย บริเวณริมแม่น้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 95)
4.4 ตารางแสดงผลการปฏิบัติงานของด่านกักสัตว์แม่ฮ่องสอนประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 (หน้า 96)
4.5 ภาพการขนส่งวัวผ่านเรือขนส่งข้ามฟากชายแดนไทย-พม่า บริเวณแม่น้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 97)
4.6 ภาพแผนที่ แสดงช่องทางด่านกักสัตว์ทั้งหมดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 98)
4.7 ภาพกาดงัว (ตลาดวัว) บริเวณส่วนจำหน่ายอาหารและของใช้ทั่วไป (หน้า 104)
4.8 ภาพบรรยากาศของตลาดวัวที่ผู้ค้าและผู้ขายมักจะมาคัดเลือกซื้อวัวอยู่เป็นประจำ (หน้า 105)
4.9 วัวบราห์มันในกาดวัว (หน้า 106)

Text Analyst อัสรี มาหะมะ Date of Report 15 ม.ค. 2564
TAG วัฒนธรรมอาหาร, จีนฮ่อ, การข้ามพรมแดน, ชาติพันธุ์, ศาสนา, กาดบ้านฮ่อ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง