สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยุ้งข้าว ความเชื่อ สังคม เศรษฐกิจ ไทยเบิ้ง มอญ นครราชสีมา
Author จารุวัฒน์ นนทชัย
Title ยุ้งข้าว : และสื่อสัญลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  Total Pages 210 Year 2558
Source มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract

เนื้อหาของงานเขียนศึกษาเรื่อง ความเป็นมา ความเชื่อและรูปแบบของยุ้งข้าว โดยศึกษาในสองกลุ่มชาติพันธุ์ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง บ้านโคกสระน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์มอญ บ้านพระเพลิง  ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา  ในกลุ่มไทยเบิ้ง ได้ศึกษาจำนวน ยุ้ง 23หลัง และกลุ่มมอญ อีก5หลัง นอกจากนี้ยังมีที่เก็บข้าวที่สานด้วยไม้ไผ่ที่มีขนาดความจุข้าวเปลือกที่น้อยกว่ายุ้งได้กล่าวถึงในงานเขียน ได้กล่าวถึงไทยเบิ้งว่า เป็นกลุ่มที่มาจากภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก โดยได้มาตั้งรกรากที่ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ตั้งแต่หลังสมัยกรุงศรีอยุธยาแตก ไทยเบิ้งมีความเป็นอยู่และภาษาพูดใกล้เคียงกับคนภาคกลาง สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับยุ้ง ไทยเบิ้งเชื่อว่ายุ้งเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะเศรษฐกิจ หากใครมียุ้งข้าวขนาดใหญ่ก็แสดงถึงฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในอดีตมีความเชื่อเรื่องข้าวเพราะมีความเป็นอยู่แบบสังคมชาวนาที่นับถือแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆ เช่นการเอาข้าวเข้าออกจากยุ้ง ความเชื่อเรื่องคนที่เกิดปีนักษัตรที่เป็นสัตว์กินพืชห้ามนำข้าวออกจากยุ้ง ส่วนคนมอญบ้านพระเพลิงได้อพยพมาอยู่ที่บ้านพระเพลิงตั้งแต่ พ.ศ. 2318สมัยกรุงธนบุรี กลุ่มคนมอญมีความเป็นอยู่แบบสังคมชาวนา มีความเชื่อเรื่องแม่โพสพ และความเชื่อเกี่ยวกับข้าวว่าเป็นเครื่องค้ำประกันความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว ให้มีอยู่มีกิน นอกจากนี้ยุ้งข้าวยังเป็นที่เก็บข้าวเปลือกที่เหลือกินเพื่อนำไปใช้นำเงินมาใช้ยามจำเป็นอีกด้วย  นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มยังมีการออกแบบยุ้งกันเอง ที่เน้นความทนทาน ส่วนใหญ่แล้วยุ้งจะมาจากการขอแรงญาติพี่น้องมาช่วยกันสร้าง จึงทำให้สังคมของมอญและไทยเบิ้งมีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน

Focus

          เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และสภาพปัจจุบันของยุ้งข้าวกลุ่มชาติพันธุ์ และเพื่อศึกษารูปแบบและสื่อสัญลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา (หน้า บทคัดย่อ,8,11)

Theoretical Issues

แนวคิดทฤษฎี
         ในการศึกษาเรื่องยุ้งข้าว รูปแบบและสื่อสัญลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้นำแนวคิดและทฤษฎีมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาดังนี้
ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่นิยม
           ที่อธิบายว่า ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่นิยม วางอยู่บนพื้นฐานปรัชญาปฏิฐานนิยม และอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิชามานุษยวิทยาที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่ปฏิเสธ (หน้า 47)แนวคิดทางทฤษฎีแบบวิวัฒนาการและแนวคิดมาร์กซ์ อิทธิพลของแนวคิดแบบหน้าที่นิยมมีผลทำให้เกิดการเน้นที่การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสถาบันต่างๆ ในสังคมเพื่อทราบว่ามีหน้าที่อย่างไรในการช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้ จึงเป็นที่มาของการไม่ให้ความสนใจศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมและสถาบันในสังคม ตลอดจนความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงของสังคม  แนวคิดนี้มีวิธีการมองปัญหาในลักษณะภาพรวมทั้งหมดของสังคมหรือชุมชน แต่โดยเหตุผลที่ปฏิเสธแนวความคิดทางทฤษฎีแบบวิวัฒนาการ จึงไม่สนใจว่าสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับสังคมอื่นอย่างไร  (หน้า 48)
 
ทฤษฎีสัญลักษณ์สัมพันธ์
           เป็นการอธิบายการจัดการระเบียบทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ทฤษฎีนี้สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งในบุคคลและสถาบัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมต่อความเข้าใจเรื่องของทฤษฎีสัญลักษณ์สัมพันธ์ เน้นถึงการกระทำระหว่างกันของปัจเจกบุคคล  ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มบุคคลและสถาบัน โดยมีการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน  เมื่อบุคคลมีความคิดริเริ่มการสร้างสรรค์ย่อมจะกระทำให้การกระทำในลักษณะใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และเมื่อได้วิเคราะห์การกระทำระหว่างกันจะเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (สมศักดิ์  ศรีสันติสุข และคณะ,2552) (หน้า 57)
 
กรอบแนวคิดในการวิจัย
           ในการศึกษามีกรอบแนวคิดเพื่อทราบถึง รูปแบบ และสื่อสัญลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ มีประวัติความเป็นมา รูปแบบ และสื่อสัญลักษณ์ของยุ้งข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง และกลุ่มชาติพันธุ์มอญ  ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา (หน้า 10 ตารางหน้า 11)

Ethnic Group in the Focus

ไทยเบิ้ง
          กลุ่มชาติพันธุ์ไทย หรือไทยโคราช หรือไทยเบิ้ง เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา และในตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัยกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่มีความโดดเด่น รวมกับคนไทยที่อยู่ในภาคกลาง กับภาคตะวันออก และคนโคราชนั้นไม่ใช่คนลาว (หน้า 77) จากหลักฐานที่ผู้เขียนกล่าวถึงระบุว่า  ทางการไทยในอดีตได้รวบรวมประชาชนที่อยู่ภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี  ระยอง  ชลบุรี  ปราจีนบุรี และจากนครนายก ให้ไปตั้งที่อยู่อาศัยอยู่เมืองนครราชสีมา กับเมืองพิมาย นอกจากนี้หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก ก็มีคนไทยที่หลบหนีความเดือดร้อนจากสงครามไปตั้งบ้านเรือนอยู่เพิ่มเติม  หลังจากที่พระเจ้าธนบุรีตี กองกำลังเจ้าพิมายได้สำเร็จ แต่ก็ไม่ได้รวบรวมผู้คนมาอยู่ที่กรุงธนบุรี แต่ให้อยู่ที่เดิม ฉะนั้นแล้วคนเหล่านี้จึงกลายเป็นบรรพบุรุษของคนที่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมาในทุกวันนี้  และเมื่ออยู่ต่อมาได้เกิดการผสมกลมกลืนกับความเชื่อแบบเก่าที่อยู่ในพื้นที่จนต่อมาได้เกิดประเพณีใหม่ กระทั่งเป็น “วัฒนธรรมโคราช” ตัวอย่างเช่น สำเนียงโคราช ที่ใกล้เคียงกับคนที่อยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันออกเช่น ระยอง จันทบุรี  ปราจีนบุรี กับนครนายก เมื่อประมาณ 50ปีที่ผ่านมา ที่พูดจาด้วยเสียงแบบยานคาง ที่ไม่แตกต่างจากสำเนียงแบบโคราช  นอกจากนี้เพลงโคราชก็มีฉันทลักษณ์กับลีลาเหมือนกับเพลงพาดความ  เพลงฉ่อย นอกจากนี้คนโคราชก็กินข้าวเจ้า (หน้า 77) กินหมาก ไว้ผมสั้นเกรียน  นุ่งผ้าโจงกระเบน  และสร้างวัดแบบอยุธยา (หน้า 78)
           ในกลุ่มไทยเบิ้ง หรือไทยโคราช ที่อยู่ตำบลนกออก กลุ่มนี้พูดโคราช ทำนา นับตั้งแต่สงครามเจ้าาอนุวงศ์ ในตำบลนกออก เว้นแต่บ้านพระเพลิง ตำบลนกออก หมู่ 2ที่เป็นมอญ แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าากลุ่มไทยเบิ้งหรือมอญที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชนนี้ก่อนกัน ซึ่งในพื้นที่ศึกษานี้มีไทยเบิ้งจำนวนมากที่สุด (หน้า 78) (หน้า 40)
 
มอญ
           กลุ่มชาติพันธุ์มอญ บ้านพระเพลิงโยกย้ายมาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2318ในสมัยกรุงธนบุรี  หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานครัวเรือนมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยมีพระมหาโยธา(เจ่ง) เป็นผู้นำ โดยแบ่งให้พระยานครราชสีมานำคนมอญมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา โดยให้ครอบครัวมอญอยู่ที่ลำพระเพลิง  อำเภอปักธงชัย กับเมื่อทำสงครามสู้กับกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ         พ.ศ. 2336  (หน้า 78) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย)นำกองทัพมอญมาร่วมรบกับกองทัพของไทย เมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว ชาวมอญเห็นว่าเมืองปักธงชัย มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมาตั้งบ้านเรือนที่นี่ (หน้า 41)
           ส่วนบันทึกความเป็นมาของการตั้งหมู่บ้าน พระเพลิง ระบุไว้ว่า มอญที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในจังหวัดนครราชสีมานั้น ได้โยกย้ายที่อยู่มาตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) เข้ามาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ครั้งนั้นมีพระศรีราชรามัญเป็นหัวหน้า ในครั้งนั้นเมื่อกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ได้มาตีเมืองพิษณุโลก  กองทัพเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีพระยานครราชสีมาได้นำทัพไปสมทบกับทัพหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรี หลังจากสงครามได้ยุติลง พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้พระราชทานครัวมอญให้เป็นของขวัญตอบแทนความดีความชอบ  ส่วนการเดินทางในสมัยนั้น ได้ใช้เส้นทางเมืองปราจีนบุรี โดยมีพระศรีราชรามัญ หัวหน้ากองส่วนทองเป็นผู้นำของครัวมอญมาตั้งบ้านเรือนอยู่  บ้านพระเพลิง  ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลานานกว่า สองร้อยปี (หน้า 4) ทุกวันนี้มอญยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาษามอญ  การไหว้ผี การเล่นสะบ้า ที่บ้านท่าโพธิ์ บ้านสำราญเพลิง  ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย ทำนา ทำสวนและปั้นเครื่องดินเผา   (หน้า 79)
 
กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว
            ในพื้นที่ตำบลนกออก นอกจากไทยเบิ้ง คนมอญ ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ที่ได้ย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหม่ที่เข้ามาภายหลังและมีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มไทยเบิ้ง และกลุ่มมอญ  (หน้า 79)
            กลุ่มนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ลาว, ลาวเวียง,ไทยลาว และไทยอีสาน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมากลุ่มนี้มีจำนวนประชากรเป็นอันดับสอง ส่วนกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือกลุ่มไทยโคราช กลุ่มไทยลาวอยู่มากในพื้นที่อำเภอ    บัวใหญ่  ปักธงชัย  สูงเนิน นอกจากนี้ยังอยู่ในบางพื้นที่ของอำเภอประทาย  ห้วยแถลง  ชุมพวง กับอำเภอสีคิ้ว  คนไทยอีสานมีประเพณีวัฒนธรรมและภาษาคล้ายกับคนอีสานที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ  (หน้า 41) 

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของไทยเบิ้ง หรือไทยโคราช
          เนื่องจากการอยู่ร่วมกันของหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นจึงมีการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ภาษาไทยโคราชนั้นมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยภาคกลาง แต่สำเนียงเพี้ยน และพูดมีเสียงเหน่อ  มีคำภาษาอีสานปะปนจึงทำให้แตกต่างจากภาษาไทยภาคกลาง ในพื้นที่ศึกษา ไทยเบิ้งหรือไทยโคราชในตำบลนกออก ทั้งหมดพูดภาษาไทยโคราช (หน้า 78)
 
ภาษามอญบ้านพระเพลิง
            มอญยังคงอนุรักษ์ภาษาพูดของกลุ่มตนเอาไว้ ในกลุ่มที่มีอายุ 60ปีขึ้นไปยังสามารถพูดภาษามอญ  ส่วนคนมอญที่เป็นหนุ่มสาวรุ่นใหม่ พูดภาษาไทยคาราชสำเนียงมอญบ้านพระเพลิง  (หน้า 79)

Study Period (Data Collection)

          เดือนมีนาคม 2555-พฤษภาคม 2556 (หน้า 71)   

History of the Group and Community

ตำบลนกออก
           กลุ่มไทยเบิ้งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในตำบลนกออก มีบรรพบุรุษอพยพมาจากภาคตะวันออกและจากภาคกลางยุคหลังกรุงศรีอยุธยาแตก (หน้า 77)  ส่วนกลุ่มมอญบ้านพระเพลิงอพยพมาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี(หน้า 78)

Settlement Pattern

บ้าน
          ไทยเบิ้งมีความเชื่อว่า ไม่ควรนำไม้ยุ้งข้าวมาสร้างหรือต่อเติมบ้านเรือน เพราะเชื่อว่าถ้านำไม้ยุ้งข้าวมาสร้างบ้านจะทำให้พบแต่ความเดือดร้อน อยู่อย่างไม่มีความสุข (หน้า 174) 

Demography

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
           กลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในครั้งนี้ คือคนที่เกี่ยวข้องกับยุ้งข้าวประกอบด้วย ผู้รู้เกี่ยวกับความเป็นมา รูปแบบและสื่อสัญลักษณ์ของยุ้งข้าว ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เช่น นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5คน, กลุ่มผู้ปฏิบัติ เช่นคนที่ทำนา ผู้นำการประกอบพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับยุ่งข้าว จำนวน 20คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เช่นชาวนา ชาวนากลุ่มชาติพันธุ์มอญ  กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว และ กลุ่มไทยเบิ้ง  ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา อีก 20คน  (หน้า 70)  ส่วนประชากร ตำบลนกออกในเขต อบต.มี 6,073คน  มี จำนวนครัวเรือน 1,600  หลังคาเรือน  (หน้า 46)
 
ประชากรมอญ
          ในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อพ.ศ.2446ในสมัยรัชกาลที่ 5มอญมีประชากร 2,249คน ซึ่งในขณะนั้นในจังหวัดนครราชสีมามีประชากรทั้งหมด 402,668คน  (หน้า 41) 

Economy

          ยุ้งข้าวเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสถานะและความมั่นคงของชาวนา เพราะหากชาวนามียุ้งข้าว ย่อมเป็รเครื่องหมายว่ามีข้าวรับประทาน และมีไว้ขายหากมีความจำเป็นต้องใช้เงิน เมื่อข้าวหมดก็เอามาสีใหม่ (หน้า 81,82)

Belief System

นายสมคิด  ปอนเกษม  เจ้าของยุ้ง2หลัง          
             เป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ที่กล่าวว่า  วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง ที่เป็นการถือฤกษ์ แต่ไม่ทำพิธีเซ่นไหว้ เช่นในวันที่เอาข้าวขึ้นยุ้ง เพียงแต่กล่าวว่า ขอให้ข้าวที่นำมาขึ้นยุ้งในปีนี้ มีผลิตผลมากมาย ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ในการทำนาทุกปี นอกจากนี้ยังนับถือแม่โพสพแต่ไม่มีรูปเคารพ หรือเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประจำที่ยุ้ง เนื่องจากถือเรื่องความสะดวกในการทำนา เนื่องฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเหมือนเช่นอดีต ดังนั้นยุ้งทั้งสองหลังจึงไม่พบตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประจำยุ้งทั้งสองหลัง  (หน้า 87)
              
นายเม่า  จันทร์สระน้อย          
            ความเชื่อที่ยังปฏิบัติได้แก่ ตอนที่นำข้าวมาขึ้นยุ้ง ก็จะให้ผู้ที่สูงวัยที่สุดในบ้านเป็นคนกล่าว คำบูชาแม่โพสพ เมื่อกล่าวนะโมครบสามจบแล้ว ก็จะบนบานคำที่เป็นมงคลเกี่ยวกับการทำนาเพื่อขอให้มีข้าวจำนวนมากนำมาใส่ยุ้งไม่อดอยาก ให้มีความอุดมสมบูรณ์  เมื่อถึงสามค่ำ ในเดือนสาม ชาวบ้านจะนำข้าวออกจากยุ้งเพื่อประกอบพิธีเรียกขวัญ การทำพิธีนี้จะทำเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น เพื่อความเป็นศิริมงคล ถือเป็นฤกษ์ที่ดี ในการทำนาปีต่อไป  นอกจากนี้ความเชื่อเรื่องนำข้าวออกจากยุ้ง เจ้าของยุ้งจะไม่ให้คนที่เกิดปีนักษัตรที่กินพืช (ข้าว) เป็นคนที่เอาข้าวออกจากยุ้ง ได้แก่ คนที่เกิดปีชวด ปีฉลู  ปีระกา  ปีวอก ปีมะแม  (หน้า 92)
              ส่วนสื่อสัญลักษณ์ที่พบในยุ้งคือเมล็ดข้าว (หรือแม่โพสพ) เพราะทุกครั้งที่คนในบ้านขึ้นยุ้ง ออกจากยุ้ง จะต้องกราบไหว้เพื่อแสดงความเคารพ (หน้า 92)
 
นางสมพิศ  ชิดสระน้อย          
             เจ้าของยุ้งไม่ยึดถือปฏิบัติตามความเชื่อ และไม่ได้บอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับยุ้งข้าว (หน้า 95)
 
นางชัง  มูลครบุรี เจ้าของยุ้ง (ซงเหวียน)       
            ยึดถือความเชื่อที่ว่า วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง นอกจากนี้ยังถือฤกษ์ยามตอนเอาข้าวเข้าออกจากยุ้ง คือเมื่อถึงเดือนสามจะเอาข้าวออกจากซงเหวียน แล้วทำพิธีเรียกขวัญข้าว และจะไม่อนุญาตให้คนที่เกิดปีนักษัตรที่กินพืชเป็นคนเอาข้าวออกจาก  ซงเหวียน  (หน้า 98)
 
นายโชติ  มูลกระโทก         
           มีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมในนา อาทิเช่น ไหว้แม่โพสพ การแรกนา  การถือฤกษ์ในการทำนาเหมือนปู่ ย่า ตา ยาย  สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับยุ้ง นายโชติยังมีความเชื่อ แต่ไม่ได้ทำเหมือนในอดีต  แต่มุ่งที่ความสะดวก โดยมีความเห็นว่า ยุ้งข้าวเป็นที่เก็บข้าวเปลือก  นอกจากนี้ ขนาดของยุ้งยังเป็นสิ่งบ่งบอกถึงฐานะของผู้เป็นเจ้าของยุ้งอีกด้วย (หน้า 100)
 
นางภา ศรีสระน้อย       
          เจ้าของยุ้งเชื่อว่า ในช่วงสามค่ำเดือนสาม ชาวนาจะนำข้าวออกจากยุ้ง แล้วประกอบพิธีเรียกขวัญ  ซึ่งเป็นการถือฤกษ์งามยามดี ในการทำนาปีต่อไป นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในการเลือกวันเกี่ยวข้าว เช่น “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง”  นอกจากนี้ยังเชื่อเรื่องการนำข้าวออกจากยุ้งว่า  ห้ามคนที่เกิดในปีนักษัตรที่กินพืช (ข้าว) เป็นคนเอาข้าวออกจากยุ้ง ได้แก่ ปีชวด ปีฉลู ปีระกา ปีวอก ปีมะแม  (หน้า103ตารางหน้า 148)  และไม่มีสื่อสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่เป็นตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำยุ้งข้าว (หน้า 103)
 
นายมี  วิเวก      
           ไม่มีสื่อสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่เป็นตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำยุ้ง  แต่นับถือแม่โพสพซึ่งหมายถึงเทวดาประจำต้นข้าว  ปัจจุบันชาวนาบ้านโคกสระน้อยส่วนใหญ่จะไม่สนใจเรื่องพิธีกรรม แต่ให้ความสำคัญกับผลผลิต ส่วนความเชื่ออื่นๆเช่น  “วันศุกร์ขึ้นลาน  วันอังคารขึ้นยุ้ง” นอกจากนี้การเอาข้าวออกจากยุ้งเพื่อนำมาจำหน่าย หรือบริโภค ได้แก่ช่วงขึ้นสามค่ำ เดือนสามออกใหม่ก็จะนำข้าวในยุ้ง มาทำขวัญข้าวที่วัด ส่วนความเชื่อเรื่องการเอาข้าวออกจากยุ้ง ชาวนาจะไม่ให้คนที่เกิดปีสัตว์กินพืช   เอาข้าวออกจากยุ้งอย่างเด็ดขาด ได้แก่ คนที่เกิดปีชวด ปีฉลู  ปีเถาะ  ปีมะเมีย ปีมะแม ปีระกา ปีกุน ส่วนปีที่อนุญาตให้นำข้าวและตักข้าวออกจากยุ้งได้ได้แก่ คนที่เกิด ปีขาล     ปีจอ  ปีมะโรง  ปีมะเส็ง  (หน้า 106  ตารางหน้า 149)
 
นายบุญ  เพียรกระโทก  เจ้าของยุ้ง(ซงเหวียน)  สื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ไม่มี (หน้า 108)
 
นายนาท  พะนะจะโป๊ะ         
           เจ้าของยุ้งมีความเชื่อ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับฤกษ์ยามในการ  ทำนา กับการนำข้าวขึ้นยุ้งและออกยุ้ง เช่นคำกล่าวที่ว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน  วันอังคารขึ้นยุ้ง” โดยจะเลือกเอาวันที่เป็นมงคล เอาข้าวขึ้นยุ้ง นอกจากนี้ยังประกอบพิธีเรียกขวัญข้าวในวันขึ้น สามค่ำ  เดือนสามออกใหม่  เจ้าของยุ้งไม่มีรูปเคารพภายในยุ้ง ส่วนความเชื่อของไทยเบิ้งในชุมชนที่พบเห็นเช่น การอัญเชิญ แม่โพสพมาประจำที่ยุ้งเพื่อความเป็นศิริมงคล  การทำขวัญยุ้ง ด้วยการกล่าวบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำยุ้ง  กับการเอาหุ่นฟางตัวแทนของปู่ย่าตายาย “ตาปุก ยายปุ้ย” มาสถิตภายในยุ้งเพื่อคุ้มครองป้องกันเมล็ดข้าวในยุ้ง ซึ่งทุกวันนี้สื่อสัญลักษณ์ดังกล่าวบางส่วนได้สูญหายเพราะขาดผู้สืบทอด  (หน้า 111)
 
นายเปลี่ยน  ทูนเกษม          
           เจ้าของยุ้ง มีความเชื่อเรื่องการนำข้าวออกยุ้งคือ “ ออกใหม่สามค่ำ เดือนสาม”  และจะนำข้าวจำนวนหนึ่งเพื่อไปร่วมพิธีที่วัดเพื่อเรียกขวัญข้าว ส่วนสื่อสัญลักษณ์ความเชื่อไม่พบในยุ้งข้าว  (หน้า 114)
 
นางแตง  ปะระมัดสระน้อย         
           ไม่พบสื่อสัญลักษณ์ความเชื่อให้เห็นในยุ้งข้าว เพราะไม่ได้ทำนามานานแล้ว ยุ้งหลังนี้หากมีคนสนใจก็จะขายในราคา สี่พันถึงหนึ่งหมื่นบาท (หน้า 117) 
 
นายอำนาจ  ไขสระน้อย           
            เจ้าของยุ้งไม่ถือปฏิบัติทางความเชื่อ ถือเอาความสะดวกเป็นสำคัญ และไม่พบสื่อสัญลักษณ์ในยุ้งข้าว  (หน้า 120)
 
นายสร้อย  ชาญฉิมพลี        
            ความเชื่อเกี่ยวกับยุ้งที่พบมีดังนี้  ตำแหน่งที่ตั้งของยุ้ง อย่าให้เงาของบ้านมาทับยุ้ง หรือเงาของยุ้งไปทับบ้าน กับไม่ให้นำไม้ของยุ้งมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย เนื่องจากเชื่อว่า การนำไม้ยุ้งข้าวมาปลูกสร้างบ้านเรือนจะทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างยากเย็น ยุ่งเหยิงคล้ายชื่อของยุ้งข้าวที่ออกเสียงสำเนียงในชุมชนที่ศึกษาว่า “ยุ่งเข่า” (หน้า 124) และมีความเชื่อเกี่ยวกับเลือกเอาวันที่เป็นมงคลในการเกี่ยวข้าวที่กล่าวว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง”  ที่เป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย  หลังจากที่มีการเอาข้าวขึ้นยุ้งนั้นมีความเชื่อว่า คนที่สามารถตักข้าวออกจากยุ้งได้ต้องเป็นคนที่เกิดปีนักษัตรกินเนื้อ  และไม่ให้คนที่เกิดปีนักษัตรกินพืชเอาข้าวออกจากยุ้งอย่างเด็ดขาด (หน้า 124)
            ส่วนสัญลักษณ์ที่พบในยุ้งข้าวคือ กระดองเต่า ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อว่า การเอากระดองเต่า มาเป็นภาชนะตักข้าว เช่นการตักข้าวขึ้นยุ้ง การตักข้าวไปบริโภค หรือนำไปจำหน่าย เชื่อว่า ข้าวจะอยู่นานขึ้น การตักข้าวด้วยกระดอง เต่านี้เจ็ดรอบ ก่อนเอาไปใส่ภาชนะอื่น เนื่องจากคนในอดีตเห็นว่า เต่าคือสัตว์มงคล กินอยู่ไม่รีบเร่ง เป็นต้น (หน้า 124)
 
นายเกิด  ผิวสระน้อย เจ้าของยุ้งสองหลัง     
           เจ้าของไม่ทำพิธีกรรมตามความเชื่อ แต่มีความเชื่อว่าการมีข้าวอยู่ในยุ้งเสมอนั้น สื่อถึงความสมบูรณ์พูนสุข ยุ้งก็คล้ายกับที่เก็บทรัพย์สินส่วนตัว ส่วนสื่อสัญลักษณ์ที่พบในยุ้งทั้งสองหลังได้แก่ “กระดองเต่า” ที่เป็นภาชนะ ตักข้าว  (หน้า 127) สื่อความหมายว่ากินอย่างแช่มช้าเหมือนเต่า  การมีความสมบูรณ์พูนสุข เหมือนรูปร่างของกระดองเต่าที่ตักข้าวเปลือก เพราะเชื่อว่า หากนำกระดองเต่ามาตักข้าวจะไม่ขาดตกบกพร่อง เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ (หน้า 128)
 
นางอัด  แขสระน้อย          
            ไม่พบสื่อสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับยุ่งข้าว แต่เจ้าของมีความเชื่อเรื่องฤกษ์ในการขนข้าวที่ว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน  วันอังคารขึ้นยุ้ง” และความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้าม  (หน้า 131) ไม่ให้นำไม้ยุ้งมาปลูกสร้างบ้าน เนื่องจากเชื่อว่าไม้ยุ้งไม่ใช่ไม้มงคล ถึงจะไม้ไม้เนื้อแข็งทนทาน และในสมัยก่อน คนในหมู่บ้านมักทำหุ่นฟาง “ตาปุก กับ ยายปุ้ย” โดยการนำฟางมามัดตกแต่งเป็นรูปผู้ชายกับผู้หญิงที่กำลังนั่ง เนื่องจากเชื่อว่าจะเป็นการป้องกันสัตว์ขึ้นมากินข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้ง เช่นหนู ซึ่งทุกวันนี้พบว่าไม่มีใครทำหุ่นตาปุก กับยายปุ้ยกันแล้ว (หน้า132)
 
นางสุดใจ  ช่วยสระน้อย         
            ไม่พบสื่อสัญลักษณ์เกี่ยวกับยุ้งข้าว เจ้าของมีความเชื่อเรื่องฤกษ์การขนข้าวขึ้นยุ้งที่ว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง” และความเชื่อเรื่อง ไม่ให้เอาไม้ยุ้งมาสร้างบ้าน เพราะเชื่อว่าไม้ยุ้งไม่ใช่ไม้มงคล ถึงแม้ว่าจะเป็นไม้เนื้อแข็งทนทาน  (หน้า 135)
 
นางสนิท  แทนสระน้อย         
            เจ้าของยุ้งมีความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามที่ว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง” เพราะสมัยปู่ย่า ตายาย จะเลือกวันดีเป็นวันเอาข้าวขึ้นยุ้ง และทำพิธีเรียกขวัญข้าวในวันขึ้นสามค่ำ เดือนสามออกใหม่ โดยจะทำพิธีในครอบครัว โดย ตาจะเป็นผู้นำในพิธีเรียกขวัญข้าว ซึ่งทุกวันนี้การประกอบพิธีเรียกขวัญข้าวยังทำกันอยู่ แต่เปลี่ยนไปประกอบพิธีที่วัดของหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละครอบครัวจะเอาข้าวออกจากยุ้งคนละถัง นำไปรวมกันเพื่อประกอบพิธีเรียกขวัญ ให้เกิดความอยู่ดีกินดีแก่การทำนาในปีถัดไป นอกจากนี้ไม่พบรูปเคารพในยุ้งข้าว  แต่เจ้าของยุ้งมองว่า ยุ้งข้าวคือสื่อสัญลักษณ์แทนความอุ่นใจ มั่นคงในชีวิตของคนทำนา  ฉะนั้นการที่มีข้าวเก็บในยุ้งจึงสื่อถึงความมั่นคง ไม่อดอยากปากหมองเบิกบานเพราะมีข้าวบริโภคทั้งปี ฉะนั้นข้าวจึงเสมือนดั่งที่เก็บทรัพย์สินของครอบครัว      (หน้า 138)   
 
นางจันทร์  แววจะโป๊ะ         
            ในอดีตครอบครัวมีความเชื่อกับคำกล่าวที่ว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน        วันอังคารขึ้นยุ้ง” กับประกอบพิธีเรียกขวัญข้าวในวันขึ้นสามค่ำ เดือนสามออกใหม่ โดยจะทำพิธีในครอบครัว โดยตา ยาย เป็นผู้นำในการประกอบพิธี ซึ่งจะทำพิธีภายในครอบครัว ระยะเวลาในการทำพิธี ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จก่อนเที่ยง ถือว่าเป็นฤกษ์ดีในการทำนากับการเก็บข้าวในยุ้ง ทุกวันนี้พิธีกรรมเกี่ยวกับยุ้งข้าวได้ปรับเปลี่ยน คือเปลี่ยนไปทำพิธีที่วัด ซึ่งแต่ละบ้านจะเอาข้าวจากยุ้งบ้านละถังไปร่วมทำพิธี ฉะนั้นจึงไม่มีรูปเคารพหรือสัญลักษณ์ภายในยุ้งเหมือนในอดีต แต่มีความเห็นว่า ยุ้งข้าวที่มีขนาดใหญ่รวมทั้งการใช้ไม้อย่างดีในการสร้างยุ้งแสดงถึงฐานะ ความร่ำรวยที่มีมากกว่าครอบครัวที่มียุ้งขนาดเล็ก  (หน้า 141)
 
นางวิไล   พันธุ์สระน้อย        
              ไม่พบสื่อสัญลักษณ์เกี่ยวกับยุ้งข้าว เจ้าของยุ้งมีความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามในการขนข้าวขึ้นยุ้งที่ว่า “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง” และหากจะเอาข้าวออกจากยุ้ง เชื่อว่า คนที่นำข้าวออกจากยุ้งต้องไม่เป็นคนที่เกิดปีนักษัตรกินข้าว  นอกจากนี้การเอากระดองข้าวมาเป็นภาชนะตักข้าวเพราะเชื่อว่า  การนำกระดองเต่ามาตักข้าวนั้น จะทำให้ข้าวที่ตักไม่มีบกพร่อง เหมือนกับรูปร่างของกระดองเต่าที่โค้ง ซึ่งสื่อถึงความสมบูรณ์พูนสุข แต่ทุกวันนี้กระดองเต่าที่ใช้ตักข้าวได้หาย ดังนั้นจึงไม่นำกลับมาใช้ (หน้า 144)
 
 
นายจำลอง  สระพะจะโป๊ะ         
              ไม่มีสื่อสัญลักษณ์เกี่ยวกับยุ้ง แต่มีความเชื่อเกี่ยวกับการขนข้าวออกจากยุ้งที่ว่า “ออกใหม่สามค่ำ เดือนสาม” และ “วันดับห้ามตักข้าว”และจะเขียนคำนี้ไว้บนกระดาษแปะไว้ที่ประตูยุ้ง เพื่อเตือนความทรงจำ นอกจากนี้ ก่อนตักข้าวให้ไหว้ข้าวก่อนเพราะเกรงว่าแม่โพสพจะแค้นเคือง และการตักข้าวไม่ให้ตักข้าวออกจนหมดเกลี้ยง  ต้องหลงเหลือไว้เป็นขวัญยุ้งบ้าง  (หน้า 146 ตารางหน้า 150) 
 
          มอญ ยุ้งจำนวน 5หลัง
         ศึกษายุ้งข้าวกลุ่มมอญ บ้านพระเพลิง หมู่ 2ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา จำนวนห้าหลัง ผลการศึกษามีดังนี้ (หน้า  151)
 
นายชุม  กรีจังหรีด     
            ความเชื่อ ประกอบด้วย ความเชื่อในการทำขวัญข้าว หลังจากหว่านข้าวเรียบร้อยแล้ว เพราะเชื่อว่าต้นข้าวเป็นแม่โพสพ ถ้าต้นข้าวหักล้ม ต้องทำพิธีเรียกขวัญโดยเร็ว  และความเชื่อเกี่ยวกับยุ้งข้าวจะเลือกวันดีเพื่อขนข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง คือ “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง” และ “คนที่เกิดปีที่เป็นสัตว์กินพืชไม่ให้ตักข้าว”  นอกจากนี้ในอดีตมีการยกศาลแผง (ตาแหลว) เอามาปักข้างยุ้งข้าว เพื่อเป็นการคุ้มครองดูแลข้าวในยุ้งให้ปลอดภัย  นอกจากนี้ในยุ้งยังมีการทำหุ่นฟาง “ตาปุก ยายปุ๋ย”เพื่อเฝ้าข้าว แต่ทุกวันนี้ได้มีการยกเลิกในหลายพิธี ฉะนั้นจึงไม่พบสื่อสัญลักษณ์ความเชื่อในยุ้งข้าวเหมือนในอดีต  (หน้า 153  ตารางหน้า 167)
 
 นายประคอง  ผันสำโรง      
            สื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ประกอบด้วย เลือกวันดี สำหรับขนข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง กับการตักข้าวออกยุ้ง คนเกิดปีที่สัตว์กินพืช ไม่ให้ตักข้าว กับไม่ตักข้าววันดับ (หน้า 156)
 
นายชิน  วิจิตรสระน้อย       
             สื่อสัญลักษณ์ความเชื่อ นับถือแม่โพสพ และเลือกวันดีสำหรับการขนข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง “วันศุกร์ขึ้นลาน วันอังคารขึ้นยุ้ง”  (หน้า 159)
 
นางสงบ  บัวผันสระน้อย        
            สื่อสัญลักษณ์ความเชื่อไม่ระบุไว้  (เรื่องและภาพหน้า 162) 
 
นางลำพอง  ศิริสระน้อย        
            สื่อสัญลักษณ์ ความเชื่อ นับถือแม่โพสพ ไหว้ตาแฮก กับทำขวัญข้าวมีความเชื่อตามคำกล่าวที่ว่า  “วันศุกร์ขึ้นลาน  วันอังคารขึ้นยุ้ง” กับ“เดือนสามออกใหม่สามค่ำ”กับ “ไม่ให้คนเกิดปีสัตว์กินพืชขึ้นไปตักข้าวในยุ้ง”  (หน้า 165ตารางหน้า 167)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ยุ้งข้าว ในการศึกษาเรื่องยุ้งข้าวได้แบ่งตามช่วงเวลาดังนี้
1)       ยุ้งที่มีช่วงเวลาของการปลูกสร้างตั้งแต่ 50ปีขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มยุ้งข้าว
“โบราณ หรือยุ้งข้าวเก่า” (หน้า 81)
2)       ยุ้งที่มีช่วงระยะเวลาการสร้างจาก 31-50ปี ถือว่าเป็นกลุ่มยุ้งข้าว “กลาง”
3)       ยุ้งที่สร้างระหว่าง 30ปี ที่ถือว่าเป็นยุ้งข้าว “ใหม่” (หน้า 81)
 
ผลการศึกษายุ้งข้าวมีดังนี้
        ไทยเบิ้งทั้งหมด 23หลัง   ศึกษายุ้งที่บ้านนกออก หมู่ 10   บ้านโคกสระน้อย   หมู่ 3บ้านสระน้อย หมู่ 4กับหมู่ 5 ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา  ศึกษาถึงความเป็นมา ตำแหน่งปลูกสร้าง  รูปแบบ  โครงสร้าง  ประโยชน์ และสื่อสัญลักษณ์ในคติความเชื่อ ผลการศึกษาพบว่า (หน้า 84)
 
นายสมคิด  ปอนเกษม เจ้าของยุ้งหลังที่ 1 และ2     
           เจ้าของมียุ้งข้าวสองหลัง หลังแรกเป็นหลังขนาดใหญ่ สร้างเมื่อครั้งพ่อยังมีชีวิตอยู่ มีอายุใช้งานกว่า 100ปี ปรับปรุงซ่อมแซมเกือบทั้งหลังเมื่อประมาณ 20ปีที่แล้ว ยุ้งหลังนี้เป็นมรดกที่พ่อยกให้ ใช้เก็บข้าวไว้กินและพันธุ์ข้าว เพื่อไว้ปลูกในปีต่อไป กับข้าวที่เก็บไว้ขายที่เก็บไว้จากการทำนาปีก่อน  (หน้า 86) กับมีห้องเก็บข้าวเหนียวแยกออกจากข้าวขายกับข้าวกิน เนื่องจากว่าข้าวเหนียวเป็นข้าวที่ใช้ทำบุญ นำไปทำขนมเมื่อมีงานตามประเพณีต่างๆ แต่ทุกวันนี้ห้องเล็กเก็บข้าวเหนียวด้านหน้าชานไม่ได้ใส่ข้าว เพราะไม่ปลูกข้าวเหนียวแต่เปลี่ยนมาปลูกข้าวเจ้า ดังนั้นจึงใช้เก็บอุปกรณ์ กับเครื่องมือ และพันธุ์ข้าว  วัสดุที่สร้างยุ้งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่นเสา และฝายุ้ง ส่วนสังกะสีเป็นสังกะสีมุงใหม่ (หน้า 87) ส่วนหลังที่สองมีขนาดเล็กกว่าหลังแรก สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  สร้างมาแล้ว 20ปี  การก่อสร้างยุ้งทั้งสองหลังนั้นขอแรงงานจากญาติพี่น้อง และบ้านใกล้เรือนเคียง การก่อสร้างใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจึงเสร็จสมบูรณ์  (หน้า 87)
             ยุ้งทั้งสองตั้งที่ทิศเหนือของเรือนพักอาศัย โครงสร้างเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประโยชน์ใช้สอยเป็นที่เก็บอุปกรณ์การเกษตร สื่อสัญลักษณ์ความเชื่อ เลือกวันดีสำหรับการขนข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง (หน้า 85,ตารางหน้า 148)
 
นายเม่า  จันทร์สระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 3     
           เป็นยุ้งขนาดเล็ก ทำด้วยไม้มีอายุใช้งานกว่า 30ปี ใช้เป็นที่เก็บข้าวเปลือกจากการทำนาจากที่ดิน 9ไร่ ปัจจุบันเจ้าของยุ้งได้ยกยุ้งให้กับลูกชายเพราะอยู่ในวัยชรา ทำนาไม่ได้แล้ว  (หน้า 91)
           ตั้งทางทิศเหนือของตัวบ้าน ห่างจากบ้าน สามเมตร  (หน้า 92) 
           รูปแบบ ลักษณะยุ้งเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงป้าน ด้านบนสอบ ด้านล่างป้านออก จำนวนสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว  ยกพื้นจากดินถึงระดับเอว (หน้า 92)  
            โครงสร้าง เสาเป็นไม้เนื้อแข็ง จำนวนเก้าต้น พื้นเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังจากปูพื้นแล้วก็ตีไม้ไผ่ผ่าซีกทับรอยต่อ กันข้าวเปลือกไหลออกจากยุ้ง (หน้า 92) โครงสร้างหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง มุงสังกะสี (หน้า 93) ประตูสร้างเป็นวงกบมีร่องทั้งสองด้าน จากนั้นเวลาปิดก็มีแผ่นไม้สอดจากด้านบนลงทางด้านล่างทีละแผ่น  (หน้า 93)
 
นางสมพิศ  ชิดสระน้อย เจ้าของยุ้งหลังที่      
           ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้าน เพิ่งสร้างได้ประมาณ 1ปี ค่าก่อสร้างประมาณหนึ่งหมื่นบาท ในช่วงก่อสร้างไม่ได้ประกอบพิธีใดๆ (หน้า 94)
           รูปแบบ ลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว พื้นสูงจากดินสูงเท่าเอว หันประตูไปทางทิศตะวันตก ทางหน้ายุ้งมีชานยื่นออกมา (หน้า 95)
           โครงสร้าง เสา 6ต้น เป็นเสาคอนกรีตต่อไม้เนื้อแข็ง (หน้า 95) พื้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ตีทับรอยต่อของไม้กระดานเพื่อกันไม่ให้ข้าวเปลือกไหลออกนอกยุ้ง (หน้า 95)  ฝาเป็นสังกะสีทั้งหลัง (หน้า 95) หลังคา  โครงสร้างหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง มุงสังกะสี (หน้า 95)
        ประโยชน์ใช้สอยเป็นที่เก็บอุปกรณ์เพาะปลูก เครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือทำนาต่างๆ สื่อสัญลักษณ์และความเชื่อไม่ระบุ (เรื่องและภาพหน้า 94-96)
 
นางชัง  มูลครบุรี  เจ้าของยุ้งหลังที่ 5(ซงเหวียน)
             เจ้าของมีที่นาจำนวน 5ไร่  ยุ้งข้าวบรรจุได้ 35ถุง อายุการใช้งาน 20ปี สานด้วยไม้ไผ่ ทาด้านในและด้านนอกด้วยแกลบผสมมูลวัว มูลควาย กับดินปลวกเพื่อกันช่องว่างของไม้ไผ่ ยุ้งแบบนี้เรียกว่า “ซงเหวียน” ยุ้งข้าวแบบนี้ชาวนาจะสร้างไว้ใช้ชั่วคราว โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีที่นาไม่มาก ไม่ต้องใช้คนสร้างเยอะ สามารถทำคนเดียวก็ได้เช่นกัน เพราะเป็นเหมือนเครื่องจักสานอื่นๆ   (ดูภาพประกอบ หน้า 97)    
            ตั้งอยู่ด้านหน้าของตัวบ้าน  (หน้า 98)
            รูปทรงกลมสานด้วยไม้ไผ่     ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50เมตร สูง 1.20เมตร ด้านล่างปล่อยโล่ง ส่วนด้านบนเป็นช่อง เรียกว่า ปากที่นำข้าวเข้าออก ตั้งอยู่บนพื้นที่ยกสูงจากพื้นดิน มีหลังคาคลุมด้านบน (หน้า 98)         สื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ เลือกวันสำหรับขนข้าวขึ้นยุ้งหรือออกยุ้ง      (หน้า 97)
 
นายโชติ  มูลกระโทก  เจ้าของยุ้งหลังที่ 6      
            ตั้งอยู่ทางทิศเหนือด้านข้างของบ้าน อายุการใช้งาน 20ปี บรรจุข้าวได้จำนวน 70ถุง เป็นยุ้งที่ได้รับมรดกจากพ่อ ยุ้งเป็นไม้เก่าทั้งหลัง เสาเป็นไม้เนื้อแข็ง ก่อสร้างเอง (เรื่องและภาพหน้า 99)
            โครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว เสาเป็นไม้แบบเหลี่ยม จำนวนแปดต้น (หน้า 100) พื้นเป็นไม้เนื้อแข็งตีทับรอยต่อของกระดานพื้นด้วยไผ่ผ่าซีกขนาดสองนิ้ว เพื่อป้องกันข้าวเปลือกไหลออกตามรอยต่อของยุ้งข้าว (หน้า 100) ฝาเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดหนึ่งคูณหกนิ้ว ยาว 2.50เมตรตีทับด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกกว้างสองนิ้ว เพื่ออุกรอยต่อป้องกันข้าวรั่วจากยุ้ง (หน้า 100) หลังคา โครงสร้างเป็นไม้เนื้อแข็ง มุงสังกะสี (หน้า 101)
            ประโยชน์อื่นที่ใช้เช่น เก็บไม้เก่า เครื่องมือช่าง ด้านข้างเก็บผลผลิตด้านการเกษตร  เช่น หอม กระเทียม นอกจากนี้ยังต่อหลังคาถึงตัวบ้านเพื่อใช้เป็นที่เก็บ รถมอเตอร์ไซค์  ส่วนสื่อสัญลักษณ์ได้แก่ แม่โพสพ (หน้า 99-101)
 
นางภา  ศรีสระน้อย เจ้าของยุ้งหลังที่ 7 
            เป็นยุ้งข้าวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ทั้งหลัง สร้างเอง มีอายุการใช้งานมาไม่น้อยกว่า 35ปี ยุ้งเป็นมรดกที่ได้รับจากพ่อ ยุ้งเป็นไม้เก่าเนื้อแข็ง สร้างโดยขอแรงจากญาติพี่น้อง ใช้เก็บข้าวเปลือก จากเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 7ไร่ (หน้า 102)     
            ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ทางด้านหน้าของบ้าน  ห่างจากตัวบ้านสามเมตร (หน้า 103)
              รูปแบบ  เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเล็กสองห้องช่วงเสา  มีห้องขนาดเล็กไว้เก็บข้าวเหนียวทางด้านหน้าหนึ่งห้อง สูงจากพื้นดินหนึ่งเมตร พื้นถึงขื่อสูงสามเมตร กว้าง 2.20เมตร ยาว 3.60เมตร หลังคาทรงจั่ว    (หน้า 103)
            โครงสร้าง         เสาเป็นไม้เนื้อแข็ง หกต้น เจาะเสาเป็นรูเพื่อสอดคาน และบากหัวเสาทางด้านบนไว้สำหรับวางขื่อ (หน้า 103) คานเป็นไม้เนื้อแข็ง จำนวนสามตัว ขนาดสามคูณแปดนิ้ว  ยาว 3.6 เมตร แล้วสอดปลายทั้งสองด้านใส่รูเสาที่เจาะ (หน้า 103) พื้น เป็นไม้เนื้อแข็งหลังจากที่ปูเรียบร้อยแล้วจะตีรอยต่อด้วยไม้ขนาดหนึ่งคูณสองนิ้ว กันไม่ให้ข้าวไหลออกจากรอยต่อของพื้น (หน้า 103) ฝาเป็นไม้เนื้อแข็ง ขนาดหนึ่งคูณแปดนิ้ว ยาว 2.30เมตร หลังจากกั้นฝาก็จะตีทับรอยด้วยไม้เนื้อแข็งกว้างสองนิ้ว เพื่อกันข้าวไหลออกนอกยุ้งข้าว  (หน้า 104) หลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง มุงสังกะสี (หน้า 104) ประตูวงกบเป็นไม้ขนาดสามคูห้านิ้ว  แล้วเจาะเป็นร่องทั้งสองด้านไว้สอดแผ่นไม้ จากด้านบนลงด้านล่างทีละแผ่น  ถ้ามีข้าวในยุ้งมากก็จะสอดไม้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ป้องกันไม่ให้ข้าวไหลออกจากยุ้ง (หน้า 104)  
            ประโยชน์ใช้สอยอื่น เป็นที่เก็บอุปกรณ์การเกษตร และข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน  ส่วนความเชื่อนั้นเกี่ยวกับการเรียก ขวัญข้าว         (หน้า102-104ตารางหน้า 148)
 
นายมี  วิเวก เจ้าของยุ้งหลังที่ 8  
            เป็นยุ้งเล็กๆ เป็นไม้ทั้งหลัง มีอายุงานกว่า 20ปี (หน้า 105) การสร้างได้จ้างช่างประจำหมู่บ้านและญาติพี่น้องมาช่วยสร้าง (หน้า 106)    
            ตั้งอยู่ทิศเหนือของบ้าน  ประตูยุ้งหันไปทางทิศใต้ (หน้า 106)
            รูปแบบลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาดสองห้องช่วงเสา จากพื้นถึงขื่อเป็นหนึ่งห้องช่วงเสา สูงจากพื้นถึงยุ้ง 1.25เมตร และสูงจากพื้นถึงขื่อสองเมตร  กว้างสองเมตร ยาวสามเมตร หลังคาทรงจั่วของเสาเป็นร่องขนาด สองคูณแปดนิ้ว เสาด้านบนเป็นร่องเพื่อวางขื่อ (หน้า 106)            
             โครงสร้าง     เสาเป็นไม้กลมหกต้น ขนาดแปดคูณแปดนิ้ว ยาว 3.75เมตร กับยาว 1.50เมตรฝังไว้ในดินเพื่อรับน้ำหนักเป็นเสาคู่กลางยุ้งสามตัว  เจาะเสาเป็นรูเพื่อสอดคาน บากด้านข้าง (หน้า 106)คานเป็นไม้ขนาดสองคูณแปดนิ้ว ยาวสองเมตร จำนวนสามตัว วางในร่องเสา แล้วสอดปลายทั้งสองข้างในรูเสาที่เจาะ (หน้า 106) พลึงหรือ กะทอด เป็นไม้ขนาด สองคูณสิบนิ้ว ยาว 3.50เมตร จำนวนสามตัว วางบนคานด้านในของเสาแล้วให้อีกส่วนยื่นออกไปทางด้านหน้าของยุ้ง    (หน้า 106) ตง เป็นไม้ขนาด สองคูณสี่นิ้ว ยาว 3.50เมตร จำนวนห้าตัว วางบนคานแล้วให้ปลายอีกด้านหนึ่งยื่นไปทางด้านหน้า แล้วปูด้วยไม้กระดานพื้นเป็นชานยุ้งข้าว (หน้า 106)
             พื้น  เป็นไม้ขนาดหนึ่งคูณเจ็ดนิ้ว ยาว สองเมตร ปูแล้วตีทับรอยต่อของพื้นด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดหนึ่งคูณสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่ว(หน้า 107)  คร่าว เป็นไม้ขนาดสองคูณสี่นิ้ว ยาว 3.50เมตร จำนวนหกตัว กับขนาด 2.40เมตร อยู่ทางด้านหลังสามตัว กับอยู่ทางด้านหน้าใต้ประตูยุ้งสี่ตัว ทำเป็นวงกบประตู (หน้า 107)  ฝาเป็นไม้ขนาด หนึ่งคูณแปดนิ้ว ยาว 2.30เมื่อ หลังจากที่กั้นแล้วก็จะทับด้วยไม้เนื้อแข็งกว้างสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วออกจากยุ้ง (หน้า 107) หลังคา เป็นไม้ประกอบด้วย ขื่อ ขนาดสองคูณหกนิ้ว ยาว 2.50เมตรจำนวนสามตัว สะยัว หรือสกัดยาว สองเมตร อีกหกตัว ดั้งขนาด 0.50นิ้ว สามตัวแปรขนาดสองคูณสี่นิ้ว ยาวสี่เมตรอีกหกตัว หลังคามุงสังกะสี      (หน้า 107) หน้าจั่ว ตีฝาด้วยไม้ขนาด หนึ่งคูณสามนิ้ว เว้นเป็นช่องอากาศกว้างสี่นิ้ว (หน้า 107) ประตู เป็นวงกบไม้แข็งขนาด สามคูณห้านิ้ว เจาะร่องทั้งสองด้านไว้สอดไม้ จากบนลงด้านล่างครั้งละแผ่น  ประตูแบบนี้มีข้อดีคือหากมีความเยอะก็จะสอดแผ่นไม้ขึ้นสูงเรื่อยๆ เพื่อกันข้าวรั่วออกจากยุ้ง (หน้า 107)  ประโยชน์ใช้สอยไม่ได้ระบุ ส่วนความเชื่อนับถือแม่โพสพ (เรื่องและภาพหน้า 105-107ตารางหน้า 149)
 
นายบุญ  เพียรกระโทก เจ้าของยุ้งหลังที่ 9(ซงเหวียน)
            ซงเหวียนนี้เป็นมรดกที่ได้รับการตกทอดมา สารใช้งานมานานกว่า 20ปี ทุกวันนี้ไม่มีใครสานซงเหวียนแล้ว เพราะสานลำบาก เก็บข้าวได้ไม่มากเท่ากับยุ้ง และทุกวันนี้คนบ้านนกออกทำนามากกว่าในอดีต ดังนั้นจึงบรรจุข้าวไว้ในยุ้ง ส่วนซงเหวียนชาวนาที่อยู่ตำบลนกออก และชุมชนใกล้เคียงเรียกว่าเป็นยุ้งโบราณ บางครั้งก็ฌรียกว่า “จาด” บางครั้งก็เรียกว่า “ทองเหรียญ”        (หน้า 108)       
            ตั้งไว้บนชานบ้าน แล้วต่อหลังคาทางด้านข้างของบ้านเพื่อเป็นที่เก็บซงเหวียน สูงจากพื้นดิน 1.20 เมตร ส่วนปากซงเหวียน หันไปทางทิศใต้  (หน้า 108)
            รูปแบบ  ลักษณะทรงกลมสานด้วยไม้ไผ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50เมตร สูง 1.20เมตร ทาผิวด้านในและด้านนอกโดยใช้แกลบผสมกับมูลโค  มูลกระบือ กับดินปลวก เพื่อปิดร่องผิวไม้ไผ่ ส่วนปากเพื่อเก็บข้าวจะอยู่ทางด้านข้าง (หน้า 109)
            โครงสร้าง   ตั้งไว้สูงกว่าพื้นดิน 10 ถึง 15เซนติเมตร เพื่อวาง ซงเหวียนไว้ทางด้านบน มุงหลังคาด้วยสังกะสี (หน้า 109)
            ประโยชน์และความเชื่อไม่ระบุ (หน้า 108,109)
 
 
นายนาท  พะนะจะโป๊ะ เจ้าของยุ้งหลังที่ 10   
           ยุ้งเป็นมรดกที่ได้รับจากพ่อ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 150ปี ทุกวันนี้ไม่ได้ทำนาเพราะอายุมาก แต่ยังมียุ้งเก็บข้าว เพราะมอบที่นาให้กับลูกเป็นคนทำนา เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็จะแบ่งข้าวกับลูกเพื่อขายและกินในครัวเรือน วัสดุเป็นไม้ทั้งหลัง สร้างโดยใช้แรงงานญาติพี่น้อง (หน้า 110)   
           ตั้งอยู่บริเวณบ้าน โดยอยู่ห่างไปทางทิศเหนือ บริเวณหลังยุ้งเป็นลานกว้างใช้สำหรับตากข้าว ยุ้งหันหน้าไปทางทิศใต้ (หน้า 111)   
           รูปแบบลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวนสามห้องช่วงเสา ด้านบนสอบ ส่วนด้านล่างป้านออก ยกพื้นสูงจากดินถึงระดับเอว พื้นถึงขื่อสูง 2.50เมตร กว้างสามเมตร ยาว 4.50เมตรหลังคาทรงจั่ว ด้านหน้ายุ้งมีชาน (หน้า 111)
            โครงสร้าง  เสาเป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10นิ้ว ยาว 4.80เมตร จำนวน 8ต้น เสาแต่ละต้นเจาะรูเพื่อใส่คาน และบากร่องเพื่อใส่คร่าว และมีเสาค้ำขนาดแปดคูณแปดนิ้ว ยาว 1.20เมตรแล้วบากปลายเป็นร่องรับตรงกลางของคาน อีกสี่ต้น (หน้า 111)  คานเป็นไม้เนื้อแข็ง ขนาดสองคูณแปดนิ้ว ยาวสามเมตร จำนวนสี่ตัว ปลายทั้งสองสอดในรูเสา (หน้า 111) พลึงหรือกระทอด เป็นไม้ขนาดสองคูณ 12นิ้ว ยาวห้าเมตร มีสองตัว วางบนคานด้านในของเสาแล้วให้ปลายอีกข้างยื่นมาทางด้านหน้าของยุ้งข้าว (หน้า 111) ตงเป็นไม้ ขนาดสองคูณสี่นิ้ว ยาวห้าเมตร มีห้าตัว วางบนคานแล้วให้ปลายอีกด้านยื่นออกไปทางด้านหน้าแล้วปูไม้กระดานไม้เป็นพื้นชานยุ้ง (หน้า 111) เป็นไม้ขนาดหนึ่งคูณแปดนิ้ว ยาว 2.80เมตร ปูเรียบติดกันแล้วทับด้วยไม้ขนาดหนึ่งคูณสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหล (หน้า 111)
            คร่าวเป็นไม้ขนาด สองคูณห้านิ้ว ยาว 4.50เมตร จำนวน 6ตัว ยาว 2.80 เมตร  จำนวน 4ตัว และยาวหนึ่งเมตรอีก สี่ตัว เพื่อยึดวงกบทางด้านหน้า (หน้า 112) ฝา  เป็นไม้ขนาด หนึ่งคูณแปดนิ้ว ยาว 2.80เมตร กั้นตามแนวความสูงของเสาเรียงติดกัน ตีทับปิดด้วยไม้ขนาดหนึ่งคูณสองนิ้ว     (หน้า 112) 
             หลังคา  โครงหลังคาเป็นไม้ประกอบด้วย ขื่อขนาดสองคูณหกนิ้ว  ยาวสามเมตร จำนวน 4ตัว วางในร่องปลายเสาที่เจาะ ส่วนปลายยิ่นออกไปข้างละครึ่งเมตร  สะยัวหรือสกัด ยาว 2.50เมตร อีก 8ตัว  แปรขนาดสองคูณสี่นิ้ว ยาว 6.25เมตร จำนวนแปดตัว มุงสังกะสี (หน้า 112)
             หน้าจั่วเป็นไม้ขนาดหนึ่งคูณหกนิ้ว ปิดด้านหน้าและด้านหลังจั่ว (หน้า 112) ประตู ทำวงกบมีร่องทั้งสองข้างขนาด 3.5นิ้ว เจาะร่องลึกหนึ่งนิ้ว ทั้งสองด้านแล้วมีแผ่นไม้จริงขนาดหนึ่งคูณหกนิ้ว ยาว0.80เมตร สอดจากด้านบนลงล่างทีละแผ่น (หน้า 112)   
            ประโยชน์ใช้สอยอื่น เป็นที่เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์เพาะปลูก (หน้า 112)  ส่วนสื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ถือฤกษ์ยามในการทำนา และการนำข้าวขึ้นยุ้ง และออกจากยุ้งข้าว   (หน้า 111)
 
 
นายเปลี่ยน  ทูนเกษม  เจ้าของยุ้งหลังที่ 11
            สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง วัสดุที่ใช้ส่วนมากนำมาจากยุ้งหลังเดิม การปลูกสร้างขอแรงญาติพี่น้องมาช่วยกันใช้เวลาประมาณ สองถึงสามเดือนจึงแล้วเสร็จ  (เรื่องและภาพหน้า 113)
          ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านหน้าของบ้าน ประตูยุ้งหันไปทางทิศตะวันตก (หน้า 114)
          รูปแบบ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว สูงจากพื้นดินถึงพื้นเสา หนึ่งเมตรครึ่ง จากพื้นยุ้งถึงขื่อ 2.50เมตร กว้าง 2.50เมตร สร้างตามยาวทางเหนือ  มีชานยื่น 0.60เมตร (หน้า 114)
            โครงสร้าง  เสามีหกต้น  เป็นเสาไม้กลม ยาวห้าเมตร เสาฝังในดิน 0.75เมตร เจาะรูเพื่อสอดคาน ปลายเสาบากเป็นร่องเพื่อวางขื่อ (หน้า 114) พื้นเป็นไม้ขนาด หนึ่งคูณแปดนิ้ว ยาว 2.50เมตร ปูพื้นเรียงติดกัน ตีด้วยไม้ขนาดหนึ่งคูณสองนิ้วเพื่อกันข้าวไหลออกจากยุ้ง  (หน้า 114) หลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง มุงสังกะสี (หน้า 114) ประตูยุ้ง ตรงวงกบเป็นร่องทั้งสองด้าน เวลาปิดจะมีแผ่นไม้สอดจากด้านบนลงด้านล่างทีละแผ่น (หน้า 115)  
            ประโยชน์ใช้สอยอื่น เป็นที่เก็บมะพร้าวแห้งและเครื่องมือเพาะปลูก ส่วนด้านความเชื่อนั้นถือฤกษ์ยามในการนำข้าวขึ้นยุ้งและออกยุ้ง (หน้า 113-115)
 
นางแตง  ปะระมัดสระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 12
             อายุของยุ้งประมาณ 20ปี โดยรื้อมาจากยุ้งหลังเก่า ทุกวันนี้นางแตงไม่ได้ทำนาเพราะว่าชรามากแล้ว จึงให้ลูกทำนาแทน แล้วแบ่งข้าวมาเก็บไว้ที่ยุ้ง การปลูกสร้างยุ้งมาจากการขอแรงงานจากญาติๆ  (หน้า 116)
        ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของบ้าน ประตูยุ้งข้าวหันไปทางทิศใต้ (หน้า 117)
             รูปแบบ เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองช่วงเสา ยกพื้นเตี้ยๆ สูงจากพื้นดิน 60เซนติเมตร สูงจากพื้นถึงขื่อ 2.20เมตร กว้าง 2.80เมตร ยาวสามเมตร ด้านหน้ายุ้งมีชาน (หน้า 117)
             โครงสร้าง    เสาเป็นไม้ขนาด 8คูณ8นิ้ว ยาวสามเมตร จำนวน 4ต้น แต่ละต้นเจาะรูขนาด 2คูณ8นิ้วเพื่อใส่คานและเจาะรูร่องขนาด 3คูณ3นิ้วเสาละสามร่องสำหรับใส่คร่าว (หน้า 117) คาน  เป็นไม้ขนาด 2คูณ 8นิ้ว ยาว 3.50เมตร จำนวนสามตัวสอดไว้ในรูเสาที่เจาะ (หน้า 117) พื้น   เป็นไม้ขนาด 1x8 นิ้ว ยาว 2.20เมตร ปูพื้นชิดติดกัน ระหว่างรอยต่อทับด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหล (หน้า 117)  ฝา เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 1.70เมตร หลังจากที่กั้นแล้วก็ตีทับรอยต่อด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อปิดช่องว่าง (หน้า 117)  หลังคา  โครงหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วยขื่อขนาด 2.60นิ้ว  ยาว 2.20เมตร จำนวนสามตัว ปลายทั้งสองข้างวางไว้ในร่องที่ปลายเสาบากเอาไว้  สะยัว ขนาด 2x 6นิ้ว ยาวสองเมตร จำนวนหกตัว  แปรขนาด 2x4นิ้ว ยาวห้าเมตร จำนวน 6ตัว มุงสังกะสี (หน้า 117) ประตู  วงกบมีร่องทั้งสองข้าง เมื่อจะปิดก็จะสอดไม้จากด้านบนลงด้านล่างทีละแผ่น หากจะเปิดก็ถอดออกทีละแผ่นเช่นกัน (หน้า 117)
         ส่วนประโยชน์และสื่อสัญลักษณ์ไม่ระบุ (เรื่องและภาพหน้า 116-118) 
 
นายอำนาจ  ไขสระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 13 และ 14 (ยุ้งสองหลัง)  
            มีที่นาจำนวน 7ไร่ มียุ้งข้าวสองหลัง  หลังแรกเป็นยุ้งเก่ามรดกที่ได้รับจากแม่ มีเสา 9ต้น  ขนาดสองห้องช่วงเสา เก็บข้าวได้ 30ถุง  (ภาพหน้า 118 เรื่องหน้า 119)   หลังที่สอง เป็นยุ้งขนาดเล็กสร้างใหม่ เป็นสังกะสีขนาดสองห้องช่วงเสา ใช้ยุ้งข้าวเก็บข้าวไว้กินในครัวเรือน ส่วนหนึ่งนำไปจำหน่ายในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล    (หน้า 119)  ที่ตั้ง อยู่ด้านทิศเหนือของบ้าน  ประตูยุ้งข้าวหันไปด้านทิศตะวันตก (หน้า 120)
             หลังแรก 
              รูปแบบ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวนสามห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว กว้าง 2.50เมตร ยาว 4.20เมตร สูงจากพื้นดินถึงพื้นยุ้ง 1.50เมตร จากพื้นยุ้งถึงขื่อ 2.10เมตร ยุ้งข้าวยาวไปตามทิศตะวันออก ทำเป็นเพิงต่อจากตัวยุ้งทั้งสองข้าง (หน้า 120)
              โครงสร้าง  เสา เป็นเสาต่อระหว่างเสาซีเมนต์ ขนาด 8x8 นิ้ว ยาวสองเมตร กับไม้ขนาด 8x8ยาว 2.30เมตร หกต้น เสาแต่ละต้นจะเจาะเพื่อวางคร่าว (หน้า 120)  คาน  เป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาว 2.75เมตร สามตัว วางระหว่างเสาปูนกับเสาไม้ที่ต่อ และใช้น็อตยึดต้นละสองตัว แล้วให้คานพ้นจากยุ้งข้างละ 0.1เมตร  (หน้า 120) กะทอด เป็นไม้ขนาด2x10นิ้ว ยาวห้าเมตร มีสองตัว วางบนคานด้านในของเสา แล้วให้ปลายอีกด้านยื่นไปทางด้านหน้าของยุ้ง  (หน้า 120) ตง  เป็นไม้ขนาด 3x4นิ้ว ยาวห้าเมตร สี่ตัว  วางบนคานแล้วให้ปลายอีกด้าน ยื่นออกจากตัวยุ้ง เพื่อประกอบเป็นชานยุ้ง  (หน้า 121) พื้น เป็นไม้ขนาด 1x7นิ้ว ยาวสองเมตร ปูพื้นชิดติดกัน จากนั้นก็ตีทับรอยต่อด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อกันไม่ให้ข้าวเปลือกรั่วไหลออกจากยุ้ง (หน้า 121) คร่าว เป็นไม้ขนาด 2x4นิ้ว ยาว 4.20เมตร มี 6ตัว (หน้า 121) ฝา  เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.10เมตร กั้นทางตั้งตามเสา แล้วให้ขอบเหลื่อมกันแผ่นละหนึ่งนิ้ว (หน้า 121)  หลังคา โครงหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วยขื่อ ขนาด 2.6นิ้ว  ยาว 2.50เมตร สามตัว สะยัวขนาด 2x6นิ้ว ยาว 2.10เมตร หกตัว  ดั้งขนาด 2x6นิ้ว ยาวครึ่งเมตร สามตัว แปร ขนาด 2x4นิ้ว ยาว 6.50เมตร จำนวนแปดตัว มุงสังกะสี  (หน้า 121) หน้าจั่ว  ปิดด้วยไม้ขนาด 1x8นิ้ว ตีเว้นช่องว่าง (หน้า 121) ประตู  ทำเป็นวงกบและทำร่องทั้งสองข้าง เวลาปิดจะมีแผ่นไม้สอดจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง  (หน้า 122)
          ประโยชน์ใช้สอยอื่น ต่อเติมบริเวณด้านข้างยุ้งหลังคาเป็นคอกเลี้ยงวัว (หน้า 122)
 
             หลังที่สอง 
              รูปแบบ  รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวนสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว กว้าง 2.20เมตร  ยาว 3.60เมตร สูงจากพื้นดินถึงยุ้งข้าว 1.50เมตร จากพื้นยุ้งถึงขื่อ 2.20เมตร  (หน้า 120)
              โครงสร้าง  เสา  เป็นเสาปูนซีเมนต์ ต่อกับไม้ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 2.40เมตร จำนวน หกต้น (หน้า 120)  คาน  ทำคานคู่ด้วยไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาว 2.20เมตร สี่คู่ ประกบที่ปลายเสาปูน ใช้น็อตยึดต้นละสองตัว  (หน้า 120)  กะทอด เป็นไม้ ขนาด 2x6นิ้ว ยาวสี่เมตร สองตัว โดยให้ปลายด้านหนึ่งยื่นไปทางด้านหน้ายุ้ง (หน้า 120) ตง เป็นไม้ขนาด 2x6นิ้ว ยาวสี่เมตร มีสี่ตัว วางบนคานไม้ให้ปลายไม้ยื่นออกจากยุ้ง เพื่อทำเป็นชาน  (หน้า 121) พื้น  ทำด้วยไม้ขนาด 1x7 นิ้ว ยาวสองเมตร ปูเรียงชิดติดกัน แล้วตีทับรอยต่อระหว่างแผ่นไม้ ด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อป้องกันข้าวรั่วไหลออกนอกยุ้ง       (หน้า 121) คร่าว  ไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาว 3.50เมตร จำนวนแปดตัว  ยาวสองเมตร จำนวนหกตัว และยาว 0.70เมตร อีกสี่ตัว (หน้า 121) ฝา เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.10เมตร  (หน้า 121)
             หลังคา  โครงหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วย ขื่อขนาด 2.5นิ้ว ยาว 2.20เมตร จำนวนสี่ตัว  สะยัวยาวสองเมตร จำนวนแปดตัว  ดั้งยาว 0.45เมตร สี่ตัว แปรขนาด 2x4นิ้ว ยาว 4.75เมตร แปดตัว มุงสังกะสี (หน้า 121)  
             หน้าจั่ว  ปิดด้วยไม้ขนาด 1x8นิ้ว ตีตามแนวนอน (หน้า 121) ประตู ทำเป็นวงกบมีร่องทั้งสองข้าง ตอนปิดจะมีแผ่นไม้สอดจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง (หน้า 122)
             ประโยชน์ใช้สอยอื่นไม่พบนอกจากใช้เก็บข้าวเปลือก  (หน้า 122)
 
นายสร้อย  ชาญฉิมพลี  เจ้าของยุ้งหลังที่ 15
            เป็นยุ้งเล็กๆ เป็นยุ้งเก่าที่ได้รับมรดกจาก ตั้งอยู่ไกลจากบ้านประมาณห้าเมตร อายุยุ้งข้าวสร้างมาแล้ว 15 ปี เป็นที่เก็บข้าวเปลือกจากนาที่ทำประมาณห้าไร่  วัสดุที่นำมาสร้างส่วนมากเป็นไม้เก่าจากยุ้งหลังที่รื้อ ไม้ที่สร้างอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยปี รวมกับวัสดุใหม่ที่ซื้อในภายหลัง  กี่ก่อสร้างใช้แรงงานญาติและสมาชิกในครอบครัว       (หน้า 123) 
            ที่ตั้ง  ห่างจากบ้านไปทางทิศตะวันออก บริเวณหน้ายุ้งเป็นลานกว้างขวาง ยุ้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ (หน้า 124)
            รูปแบบ  ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวนสองห้องช่วงเสา ตัวยุ้งข้าวสูงจากพื้นดินในระดับเอว ยุ้งข้าวสูง 70เซนติเมตร จากพื้นถึงขื่อสูง 2.20เมตร กว้างสองเมตร ยาวสามเมตร หลังคาทรงจั่ว มีชานยื่นทางหน้ายุ้ง 60เซนติเมตร (หน้า 124)
            โครงสร้าง   เสาเป็นเสาต่อกับเสาปูนซีเมนต์ ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 1.20เมตร ต่อกับเสาไม้ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 2.80เมตร  โดยให้คานอยู่ตรงกลางระหว่างรอยต่อของเสา ยึดด้วยน๊อตต้นละสองตัว เสามีทั้งหมดหกต้น (หน้า 124) คาน เป็นไม้ขนาด 2x7นิ้ว  ยาว 2.40เมตร จำนวนสามตัว เป็นแบบคานคู่ทั้งหมดสี่คู่ วางตรงกลางระหว่างเสาปูนกับเสาไม้ ประกบที่ปลายเสาปูนแล้วใช้น๊อตยึดเพื่อความมั่นคง (หน้า 124) พื้น เป็นไม้เนื้อแข็งขนาด 1x7นิ้ว ยาว 2.40เมตร ปูพื้นชิดกันแล้วตีทับด้วยไม้ ขนาด 1x2นิ้ว ปิดทับรอยแยกกันข้าวรั่วไหล (หน้า 125) ฝา เป็นไม้ขนาด 1x7นิ้ว ยาว 2.20เมตร กั้นตามแนวความสูงของเสา และระหว่างฝาภายในยุ้ง ตีทับด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้วเพื่อป้องกันข้าวไหลออกจากยุ้ง   (หน้า 125) หลังคา โครงหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วย ขื่อขนาด 3x5นิ้ว ยาว 2.20เมตร จำนวนสามตัว วางในร่องปลายเสาที่เจาะ  สะยัวหรือสกัด ขนาด 2x5นิ้ว ยาวสองเมตร จำนวน 6ตัว อกไก่ ขนาด 2x6นิ้ว ยาว 3.20เมตร วางกลางขื่อ ส่วนนี้ทำหน้าที่แทนดั้ง  แปร มีขนาด 2x4นิ้ว ยาว 4.50เมตร มี หกตัว มุงด้วยสังกะสี  (หน้า 125) หน้าจั่ว ตีปิดด้วยไม้เว้นช่องเพื่อเป็นช่องลม (หน้า 125) ประตู ทำเป็นร่องทั้งสองด้าน  เมื่อจะปิดก็จะวางแผ่นไม้สอดจากด้านบนลงด้านล่างทีละแผ่น (หน้า 125)
            ประโยชน์ใช้สอยอื่น ด้านหลังต่อเติมเป็นเพิงสังกะสี เป็นที่เก็บเครื่องมือเพาะปลูกและเมล็ดพันธุ์   (หน้า 125)  ส่วนสื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ถือข้อห้ามต่างๆตามปู่ย่า ตา ยาย (หน้า 123-126)
 
นายเกิด  ผิวสระน้อย เจ้าของยุ้งหลังที่ 16 กับ 17 (มียุ้งสองหลัง)  
            เป็นเจ้าของยุ้งสองหลังคือยุ้งเก่าขนาดสามห้องช่วงเสา กับยุ้งขนาดสองห้องช่วงเสา  อายุของยุ้งหลังแรกประมาณ 20ปี สร้างด้วยไม้ทั้งสองหลัง ซื้อวัสดุในการก่อสร้างเป็นเงินประมาณ สี่หมื่นบาท การก่อสร้างขอแรงญาติๆ และสมาชิกในครอบครัวช่วยกัน  (ภาพหน้า 126 เรื่องและภาพหน้า 127)
           ตำแหน่งที่ตั้ง   ยุ้งทั้งสองหลังสร้างอยู่ในบริเวณบ้าน  ยุ้งหลังแรกตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของบ้าน ส่วนบุ้งหลังที่สองตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้าน  ยุ้งหันหน้าเข้าหากันและตั้งห่างจากบ้านประมาณสี่เมตร (หน้า 128)
          ยุ้งหลังแรก
           รูปแบบ     ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสามห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว  กว้างสองเมตรครึ่ง ยาว 4.50เมตร พื้นยุ้งสูงจากพื้นดิน 1.50เมตร ประตูหันไปทาง    ทิศเหนือ มีชานยื่นทางด้านหน้ายุ้ง (หน้า 128)
           โครงสร้าง      เสา เสายุ้งต่อระหว่างเสาซีเมนต์ ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 2.25 เมตร  เสาไม้มีขนาด 8x8 นิ้ว ยาว 2.50เมตร  การต่อจะใช้คานพาดหัวเสาปูนซีเมนต์ จากนั้นจะนำเสาไม้ยึดด้วยน๊อตที่เสาปูนซีเมนต์ กับเสาไม้ทั้งสองต้น จากนั้นจะใช้น๊อตยึดที่คานเสาไม้ ต้นละสองตัว ทั้งหมดแปดต้น เสาปูนต่อไม้ ทั้งหมด 16ต้น  (หน้า 128) พื้น ทำด้วยไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.50เมตร ปูเรียงติดกัน แล้วตีทับด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว ยาว 2.50เมตร เพื่อกันข้าวรั่วไหล (หน้า 129) ฝา  เป็นไม้ขนาด 1x7นิ้ว ยาวสองเมตร  กั้นด้านตั้งเรียงติดกัน จากนั้นก็ทับด้านในของรอยต่อ ด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อปิดช่องว่างของแต่ละแผ่น (หน้า 129)
            หลังคา โครงสร้างเป็นไม้ ประกอบด้วยขื่อขนาด 2x5นิ้ว ยาว สองเมตรครึ่ง จำนวนสี่ตัว สกัดยาวสองเมตรครึ่ง จำนวนแปดตัว ดั้งยาว ครึ่งเมตร แปรขนาด 2x4นิ้ว  ยาว 5.75เมตร แปดตัว มุงสังกะสี (หน้า 130) 
            หน้าจั่ว ตีปิดด้วยไม้แล้วเว้นเป็นช่องลม  (หน้า 130) ประตู  ทำเป็นวงกบมีร่องทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้จากด้านบนลงสู่ด้านล่าง ทีละแผ่น (หน้า 130)
            ประโยชน์ใช้สอยอื่น    บริเวณใต้ถุนยุ้งปล่อยโล่ง ไม่ระบุข้อมูลการใช้อื่นๆว่าใช้ทำอะไรบ้าง (หน้า 130)
 
          ยุ้งหลังที่สอง
          รูปแบบ      เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สองห้องช่วงเสา สูงจากพื้นถึงคานสองเมตร  จากคานถึงขื่อ 2.50เมตร กว้าง 2.20เมตร  ยาว 3.50เมตร ประตูหันไปด้านทิศใต้ มีชานยื่นทางหน้ายุ้ง (หน้า 128)
           โครงสร้าง      เสา เสาเก่าเป็นไม้ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง สิบนิ้ว  เจาะดูเพื่อสอดคาน บริเวณเหนือคาน บากครึ่งวงกลมถึงปลายเสา แล้วเจาะร่องเพื่อใส่คร่าว ทั้งหมดหกต้น ภายหลังได้เปลี่ยนเสาในส่วนล่างต่อกับเสาปูน ขนาด 8x8นิ้ว ยาวหนึ่งเมตรครึ่ง กับเสาไม้เหนือดิน หนึ่งเมตร (หน้า 128) พื้น  เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.20เมตร ปูพื้นชิดกัน แล้วปิดช่องว่างโดยการตีไม้ขนาด 1x2นิ้ว ยาว 2.20เมตร  (หน้า 129) ฝา  กั้นด้วยไม้ขนาด 1x7  นิ้ว ยาว 2.80เมตร กั้นตามความสูงของเสาโดยเรียงติดกัน แล้วตีทับด้วยไม้ขนาด 1x2 นิ้ว  เพื่อกันช่องว่างไม่ให้ข้าวเปลือกในยุ้งรั่วไหล (หน้า 129)
            หลังคา   โครงสร้างเป็นไม้ประกอบด้วยขื่อ ขนาด 3x5นิ้ว ยาวสามเมตร วางที่ปลายเสาที่เจาะรู  จำนวนสามตัว สกัดยาวสองเมตรครึ่ง ยาว 2.40เมตร อีกหกตัว ตั้งยาว 60เซนติเมตร สามตัว แปรยาว 4.75เมตร แปดตัว อกไก่ขนาด 2x7นิ้ว ยาว 4.75เมตร  วางบนดั้งสำหรับพาดสกัด มุงสังกะสี (หน้า 130)
             หน้าจั่ว ตีด้วยไม้แล้วเว้นเป็นช่องลมเท่าๆ กัน (หน้า 130)  ประตู     วงกบมีร่องทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้ลงทีละแผ่น (หน้า 130)   
      ประโยชน์อื่นๆ ด้านหลังยุ้งต่อเป็นครัวทำกับข้าว หุงหาอาหาร (หน้า 130)
           สื่อสัญลักษณ์ กระดองเต่า และถือความเชื่อว่ายุ้งข้าวคือความอุดมสมบูรณ์ (หน้า 127-130 ตารางหน้า 149)
 
นางอัด  แขสระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 18
            ยุ้งข้าวเป็นยุ้งขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานประมาณ 30ปี ยุ้งนี้สร้างขึ้นใหม่จากไม้ของยุ้งหลังเก่า ที่พ่อให้เป็นมรดก ดังนั้นจึงไม่ต่อเติมห้องเก็บข้าวเหนียว ไม้ที่สร้างยุ้งเป็นไม้เก่าทั้งหมด และสร้างเอง  (หน้า 131)      
           ที่ตั้ง      อยู่ด้านทิศเหนือด้านข้างของบ้าน   ประตูยุ้งหันไปทางด้านทิศตะวันตก (หน้า 132)
            รูปแบบ    รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวนสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว ยกพื้นสูงจากพื้นดินสูงเท่าเอว และทางด้านหน้ายุ้งทำเป็นชาน          (หน้า 132)
            โครงสร้าง       เสาเป็นเสาแบบเหลี่ยม จำนวนหกต้น วางบนเสากลมที่ฝังอยู่ในดิน  เจาะเสาทะลุเพื่อสอดคาน ระยะจากพื้นถึงขื่อสูง สองเมตรครึ่ง  ส่วนบริเวณหัวเสาจะบากเพื่อวางขื่อ (หน้า 132) พื้นเป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาว 2.40เมตร  หลังจากที่ปูพื้นก็จะตีด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขนาดสองนิ้ว เพื่อกันไม่ให้ข้าวไหลออก  (หน้า 132) ฝา เป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง หลังจากที่กั้นแล้วก็จะตีทับด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก กว้างสองนิ้วเพื่อกันข้าวรั่วไหล (หน้า 132)
             โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วยขื่อขนาด 2.6 นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่งจำนวนสามตัว  ปลายทั้งสองด้านวางในร่องที่บากปลายเสา  สะยัว ขนาด 2x6 นิ้ว ยาวสองเมตร (หน้า 132)มีหกตัว ดั้งขนาด 2x6นิ้ว ยาวครึ่งเมตร แปรขนาด 2x3นิ้ว ยาวห้าเมตร มีหกตัว หลังคามุงสังกะสี  (หน้า 133)
              หน้าจั่ว ไม่กั้นไม้แต่จะติดตาข่ายเพื่อกั้นไม่ให้นกมาจิกข้าวภายในยุ้ง (หน้า 133) ประตู  วงกบมีร่องทั้งสองด้าน  เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้ จากด้านบยลงสู่ด้านล่างทีละแผ่น (หน้า 133)  
           ประโยชน์ใช้สอยอื่น เป็นที่เก็บไม้เก่า   และอุปกรณ์ช่าง  และอื่นๆ (หน้า 133)
            ส่วนสื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ถือฤกษ์ยามในการนำข้าวขึ้นยุ้งและออกยุ้ง (เรื่องและภาพหน้า 131-133 ตารางหน้า 150)
 
นางสุดใจ  ช่วยสระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 19 
           เป็นเจ้าของยุ้งข้าวขนาดเล็ก  มีอายุการใช้งานประมาณสิบเจ็ดปี ยุ้งข้าวหลังนี้ เมื่อก่อนเคยมีห้องที่ใช้เก็บข้าวเหนียว แต่ทุกวันนี้ไม่ได้ปลูกข้าวเหนียวเหมือนเมื่อก่อน ยุ้งสร้างด้วยไม้เก่าทั้งหลัง  ซึ่งเป็นยุ้งเก่าที่ได้รับมรดกจากพ่อ  ยุ้งต่อเติมและสร้างเองทั้งหลัง  (เรื่องและภาพ หน้า 134)   
              ที่ตั้ง  ทิศเหนือ ด้านข้างของบ้าน ประตูยุ้งหันไปทางทิศตะวันตก (หน้า 135)        
           รูปแบบ     เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว  ยกพื้นสูงจากพื้นดินสูงขนาดเท่ากับเอว ยุ้งมีชานทางด้านหน้า    (หน้า 135) 
           โครงสร้าง    เสา เป็นเสาไม้แบบเหลี่ยม แปดต้น วางบนเสากลมที่ฝังไว้ในดิน  ตัวเสาจะเจาะเป็นรูเพื่อสอดคาน  จากพื้นถึงขื่อสูงสองเมตรครึ่ง แล้วบากหัวเสาทางด้านบนเพื่อวางขื่อ (หน้า 135)  คาน  เป็นไม้ขนาก 2x7นิ้ว ยาว สองเมตรครึ่ง มีสามตัว โดยจะสอดปลายทั้งสองด้านไว้ในรูเสาที่เจาะ  (หน้า 135)  พื้นเป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาว 2.40เมตร  หลังจากที่ปูพื้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะตีทับด้วยซีกไม้ไผ่ ขนาดสองนิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวรั่วไหล (หน้า 135)  ฝา เป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง เมื่อกั้นแล้วก็จะตีทับด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก กว้างสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหล  (หน้า 135)
             หลังคา  โครงเป็นไม้ ประกอบด้วยขื่อ ขนาด 2.6 นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง จำนวนสามตัว  ปลายทั้งสองข้างวางลงในร่องที่บากที่ปลายเสา  สะยัวขนาด 2x6 นิ้ว ยาวสองเมตร (หน้า 135) จำนวนหกตัว ดั้งขนาด 2x6นิ้ว ยาวครึ่งเมตร  แปรขนาด 2x3นิ้ว ยาวห้าเมตร จำนวนหกตัว หลังคามุงสังกะสี (หน้า 136) 
            หน้าจั่ว  ตีด้วยไม้เว้นเป็นช่องเอระบายอากาศ (หน้า 136) ประตู วงกบเป็นร่องทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็จะมีแผ่นไม้สอดจากด้านบนลงด้านล่าง (หน้า 136)
           ประโยชน์อื่นใช้เก็บไม้เก่ากับเครื่องมือช่าง  กระบุงมะพร้าว และด้านข้างของยุ้ง เป็นที่เก็บพืชผักต่างๆ เช่น หอม  กระเทียม  นอกจากนี้ยังได้ต่อหลังคาไปถึงตัวบ้าน   เพื่อเป็นที่เก็บรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น (หน้า 136) ความเชื่อถือฤกษ์ยามในการนำข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง (หน้า 134-136)
 
นางสนิท  แทนสระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 20
            มียุ้งเล็กๆ หนึ่งหลัง ตั้งอยู่ทางด้านหลัง  ยุ้งหลังนี้เป็นมรดกที่ได้รับจากพ่อ อายุไม้ที่สร้างยุ้งประมาณ 50ปี  ปลูกสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ. 2545 วัสดุที่นำมาสร้างเป็นไม้จากยุ้งหลังเก่า สร้างรวมกับวัสดุที่ซื้อใหม่ การสร้างใช้แรงงานญาติและสมาชิกในครอบครัว(เรื่องและภาพหน้า 137)
            ที่ตั้ง   ยุ้งตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้าน ห่างจากตัวบ้านไปทางทิศใต้หันหน้ายุ้งไปทางทิศเหนือ (หน้า 138)   
            รูปแบบ    เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา  ยกพื้นสูงจากพื้นดินสูงขนาดเอว จากพื้นถึงขื่อสูง 2.20เมตร  กว้างสองเมตร  ยาวสามเมตร หลังคาทรงจั่ว ด้านหน้ายุ้งมีชาน    (หน้า 138)
            โครงสร้าง      เสาต่อระหว่างเสาซีเมนต์ ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 1.20เมตร ต่อกับเสาไม้ขนาด 7x7นิ้ว ยาว 2.20เมตร ส่วนที่ปลายปูนใช้คานสองตัว ยึดด้วยน๊อตสองตัว เสาไม้ต่อจากคานด้านนอกของเสาปูน เสาทั้งหกต้น บริเวณปลายเสาบากเป็นร่องเพื่อวางขื่อ (หน้า 138)  คาน  เป็นไม้ขนาด 3x4นิ้ว ยาว 2x3เมตร สามตัว เป็นแบบคานคู่ ทั้งหมดสี่คู่ ประกบที่ปลายเสาปูน กับโคนเสาไม้แล้วใช้น๊อตยึดไว้ (หน้า 138) พื้น เป็นไม้ ขนาด1x7นิ้ว ยาว สองเมตร ปูพื้นติดกันไม่ให้ข้าวรั่วไหล (หน้า 138) ฝาเป็นไม้ขนาด 1x7นิ้ว ยาว 2.20เมตร กั้นตามแนวความสูงองเสา เรียงติดกัน  (หน้า 139) 
            หลังคา โครงสร้างเป็นไม้ ประกอบด้วยขื่อ ขนาด 2x6นิ้ว ยาวสามเมตร สามตัว วางในช่องปลายเสาที่เจาะไว้ ปลายแต่ละข้างยื่นออกไปข้างละครึ่งเมตร  สะยัวหรือสกัดยาว สองเมตร มีหกตัว  อกไก่ขนาด 2x6นิ้ว ยาว 3.20เมตร  วางกลางขื่อ แทนดั้ง  แปรขนาด 2x4นิ้ว ยาว 4.50 เมตร จำนวน8ตัวมุงสังกะสี (หน้า 139)
             หน้าจั่ว  ตีด้วยไม้เว้นเป็นช่องเพื่อระบายลม  (หน้า 139)  ประตู ทำเป็นวงกบมีร่องทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็มีแผ่นไม้สอดลงจากบนลงล่างทีละแผ่น (หน้า 139)  
            การใช้ประโยชน์อื่นๆ ใต้ถุนยุ้งทำเป็นเล้าไก่ ส่วนด้านข้างเก็บเครื่องมือทำนาและอุปกรณ์เครื่องใช้อื่นๆ ส่วนความเชื่อจะถือฤกษ์ยามในการนำข้าวขึ้นยุ้ง และออกยุ้ง (เรื่องและภาพหน้า 137-139) 
 
นางจันทร์  แววจะโป๊ะ เจ้าของยุ้งหลังที่ 21
            เป็นยุ้งเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับตัวบ้าน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551ไม้ที่นำมาสร้างเป็นไม้จากยุ้งหลังเก่า บวกกับวัสดุที่ซื้อใหม่ การก่อสร้างขอแรงญาติพี่น้องและคนในครอบครัวช่วยกันสร้าง (เรื่องและภาพ หน้า 140)
            ที่ตั้ง  ยุ้งตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้าน ห่างจากตัวบ้านไปทางทิศเหนือ ยุ้งข้าวหันไปทางทิศเหนือ (หน้า 141)
            รูปแบบ   รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวนสองห้องช่วงเสา เป็นยุ้งไม่สูง กพื้นจากพื้นดินในระดับเอว  จากพื้นถึงขื่อสูง 2.20 เมตร  กว้าง สองเมตร  ยาวสามเมตร หลังคาทรงจั่ว มีชานยื่นทางหน้ายุ้ง 60 เซนติเมตร  (หน้า 141)
             โครงสร้าง   เสา ต่อกับเสาปูน ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 1.20เมตร ต่อกับเสาไม้ขนาด 8x8นิ้ว ยาว 2.40เมตร ให้คานอยู่ตรงกลางของรอยต่อของเสา แล้วใช้น๊อตยึดเสาละสองตัว ทั้งหมดมีหกต้น  (หน้า 141) คาน  ขนาด 2x8นิ้ว ยาว 2x40เมตร มีสามตัว เป็นแบบคานคู่ (หน้า 141)  ตง เป็นไม้ขนาด 3x5นิ้ว ยาว 4.80เมตร มีสี่ตัววางบนคาน ให้ปลายยื่นไปทางด้านหน้า ปูพื้นเป็นชานยุ้ง (หน้า 141) พื้น เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้วยาว 2.80 เมตร ปูเรียงติดกันแล้วตีทับด้วยไม้ ขนาด 1x2นิ้ว ทับช่องโหว่ (หน้า 142) คร่าว   เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาวสี่เมตร ยาวสองเมตร สามตัว กับยาว 60 เซนติเมตรอีก 10ตัว  (หน้า 142)  ฝา เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.20เมตร กั้นตามแนวสูงฝาชิดติดกัน ฝาด้านในยุ้งตีปิดด้วยไม้ขนาด 1x2 นิ้ว  กันไม่ให้ข้าวรั่วไหล   (หน้า 142)  
            หลังคา  โครงหลังคาเป็นไม้ประกอบด้วย ขื่อขนาด 2x6นิ้ว ยาว 3.20เมตร จำนวนสามตัว วางในร่องปลายเสาที่เจาะ  สะยัว หรือ สกัดยาวสองเมตร มีหกตัว  อกไก่ขนาด 2x6นิ้ว ยาว 3.20เมตร วางกลางขื่อ ส่วนนี้ทำหน้าที่แทนดั้ง  แปรขนาด 2x4นิ้ว  ยาว 4.50เมตร มีแปดตัว มุงสังกะสี  (หน้า 142)  หน้าจั่ว ตีปิดด้วยไม้ขนาด 1x3นิ้ว   (หน้า 142)  ประตู วงกบมีร่องทั้งสองข้าง เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้ลงจากด้านบนลงล่างทีละแผ่น (หน้า 142)
            ประโยชน์อื่นๆ เป็นที่เก็บเครื่องไม้เครื่องมือเพาะปลูก ความเชื่อ ถือฤกษ์ยามในการนำข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง (หน้า 142)
 
นางวิไล  พันธุ์สระน้อย  เจ้าของยุ้งหลังที่ 22   
            ยุ้งหลังนี้เจ้าของลืมปี พ.ศ.ที่สร้าง แต่มีการซ่อมแซมเป็นช่วงๆ เมื่อยุ้งข้าวชำรุด เช่นเปลี่ยนหลังคา  การปลูกสร้างใช้แรงงานญาติพี่น้อง เจ้าของยุ้งบอกว่า ในอนาคตอาจไม่มีใครสร้างยุ้งไว้เก็บข้าว เพราะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่  การรับซื้อและขายข้าว การรับจำนำข้าวของรัฐบาล  นอกจากนี้ยังมีชาวนาจำนวนมากปลูกข้าวไว้ขายอย่างเดียว  ซึ่งไม่เหมือนกับในอดีต ที่ชาวนาจะเก็บข้าวไว้กินในครัวเรือน และจะเก็บข้าวส่วนหนึ่งไว้ขายเมื่อถึงคราวจำเป็น (เรื่องและภาพ หน้า 143) นอกจากนี้ยังนิยมขายยุ้งให้กับคนที่อยู่ในเมือง ที่ชอบเอาไม้ไปทำบ้าน หรือประดับร้านอาหาร  ฉะนั้นจึงมีชาวบ้านนกออกหลายหลังไม่ได้ให้ความสำคัญกับยุ้งข้าวเหมือนในอดีต (หน้า 144)         
           ที่ตั้ง  ยุ้งข้าวตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออก บริเวณทางด้านหลังของบ้าน ประตูยุ้งหันไปทางทิศเหนือ  (หน้า 144)
           รูปแบบ ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา  ยกพื้นสูงถึงเอว 1.20เมตร  ความสูงจากพื้นถึงขื่อ 2.20เมตร  กว้าง  2.80เมตร ยาวสามเมตร ด้านหน้ายุ้งมีชาน (หน้า 144)
           โครงสร้าง      เสา เป็นเสาไม้แบบกลม หกต้น เจาะเสาเป็นรูทะลุแล้วสอดกะทอด จากพื้นถึงขื่อสูง สองเมตรครึ่ง แล้วบากหัวเสาด้านบนเป็นร่องเพื่อวางขื่อ (หน้า 144)   ไม่มีคานยุ้ง (หน้า 144)  กะทอด เป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาว 4.65เมตร  จำนวนสามตัว  สอดเสาที่เจาะ   บางส่วนยื่นไปทางด้านหน้ายุง ประมาณ 80เซนติเมตร ประกอบเป็นชานยุ้ง (หน้า 144)  ตง เป็นไม้ขนาด 3x4นิ้ว  ยาว 4.60เมตรมี 4ตัว วางบนคาน บางส่วนยื่นออกจากตัวยุ้งเพื่อประกอบเป็นชานยุ้ง  (หน้า 144)  พื้น  เป็นไม้ขนาด x8นิ้ว  ยาว 2.80เมตร  ปูพื้นติดกัน แล้วตีทับด้วยไม้ขนาดสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหล (หน้า 144) คร่าว  เป็นไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาวสี่เมตร มีหกตัว ยาว 2.80เมตร จำนวน 4 ตัว ยาวหนึ่งเมตรอีก หกตัว ประกบกับวงกบประตูยุ้ง (หน้า 144)  ฝา  เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว สองเมตรครึ่ง หลังจากที่กั้นฝา ก็จะตีทับด้วยไม้กว้างสองนิ้ว เพื่อกันไม่ให้ข้าวรั่วไหลออกจากยุ้ง      (หน้า 145)  
           หลังคา  โครงหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วย ขื่อ ขนาด 2.6นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง สามตัว ปลายทั้งสองข้างวางลงในร่องที่บากปลายเสา  สะยัวขนาด 2x6นิ้ว ยาวสองเมตร อีกหกตัว  ดั้งขนาด 2x6นิ้ว ยาว ครึ่งเมตร  แปรขนาด 2x3นิ้ว ยาวห้าเมตร อีกหกตัว มุงหลังคาด้วยสังกะสี  (หน้า 145) 
            หน้าจั่ว ตีไม้ขนาด 1x8นิ้ว แนวนอนปิดจั่ว  (หน้า 145) ประตู ทำเป็นวงกบมีร่องทั้งสองข้าง เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้จากด้านบนลงด้านล่าง (หน้า 145)
           ประโยชน์อื่นเป็นที่เก็บผลิตผลทางการเกษตรเช่นหัวหอม กระเทียม เลี้ยงไก่  ความเชื่อถือข้อห้ามต่างๆ ตามปู่ ย่า ตา ยาย  (หน้า 143-145)
 
นายจำลอง  สระพะจะโป๊ะ เจ้าของยุ้งหลังที่ 23
              อายุของยุ้งประมาณ 27ปี วัสดุที่นำมาสร้างรื้อมาจากยุ้งเก่า หลังแต่งงานมีครอบครัว การสร้างยุ้งขอแรงจากญาติพี่น้อง   (เรื่องและภาพ หน้า 146)
            ที่ตั้ง   ยุ้งตั้งอยู่บริเวณทางด้านหลังของบ้าน  บริเวณหน้ายุ้งเป็นลานกว้าง  ประตูยุ้งข้าวหันไปทางทิศใต้ (หน้า 146)  
            รูปแบบ    ยุ้งมีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา ยุ้งยกพื้นสูงจากพื้นดินถึงเอวประมาณ 60เซนติเมตร  จากพื้นถึงขื่อ 2.20เมตร กว้าง 2.80เมตร ยาวสามเมตร มีชานด้านหน้าของตัวยุ้ง (หน้า 147)
             โครงสร้าง       เสาต่อกับปูนซีเมนต์ขนาด 8x8นิ้ว จำนวนสี่ต้น ยาวเหนือพื้น 60เซนติเมตร  กับเสาไม้ขนาด 8x8นิ้ว  ยาวสองเมตร ต่อกับเสาปูนในส่วนคานที่บากต่อกันนั้นยึดด้วยน๊อต จำนวนสองตัว (หน้า 147)  คาน เป็นไม้ ขนาด 2x8 นิ้ว ยาวสามเมตรจำนวนสามตัว  (หน้า 147)  กะทอด  เป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาวสี่เมตร จำนวนสองตัว วางบนคานด้านในเสา อีกด้านยื่นไปทางหน้ายุ้ง ประมาณ 80เซนติเมตร ประกอบเป็นชานของยุ้ง   (หน้า 147) ตง  เป็นไม้ขนาด 3x4นิ้ว ยาวสี่เมตร มีสี่ตัว วางบนคาน ส่วนหนึ่งยื่นไปทางด้านหน้า เพื่อประกอบเป็นชานยุ้ง (หน้า 147)  พื้น เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.20เมตร  ปูติดกันแล้วตีไม่ขนาด 1x2นิ้วทับช่องว่างเพื่อป้องกันข้าวรั่วไหลจากยุ้ง  (หน้า 147)  คร่าว  เป็นไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาว 3.50เมตร หกตัว  ยาว 2.20เมตร จำนวนสี่ตัว  ยาว 80 เซนติเมตร  อีกหกตัว วางประกบกับวงกบประตูของยุ้งข้าว (หน้า 147)   ฝา    เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว  ยาว 1.70เมตร  หลังจากที่กั้นเรียบร้อยแล้วก็จะตีทับด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหล  (หน้า 147)  
             หลังคา  เป็นโครงไม้ ประกอบด้วยขื่อ ขนาด 2.6  นิ้ว  ยาว 2.20เมตร มีสามตัว  ปลายทั้งสองด้านวางในร่องที่ปลายบากไว้  สะยัวขนาด 2x6นิ้ว ยาว สองเมตร จำนวนหกตัว  แปรขนาด 2x4นิ้ว ยาวห้าเมตร จำนวนหกตัว  หลังคามุงสังกะสี  (หน้า 147)
             หน้าจั่ว ปล่อยโล่งระบายอากาศ (หน้า 147) ประตู  เป็นวงกบมีร่องทั้งสองข้าง เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้ลงจากด้านบนลงด้านล่าง  (หน้า 147)   
            ประโยชน์อื่น เป็นที่เก็บผลิตผลด้านการเกษตร และเป็นที่พักผ่อน ส่วนความเชื่อถือฤกษ์ยามในการนำข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง (หน้า 146-147 ตารางหน้า 150)
 
          มอญ ยุ้งจำนวน 5หลัง
            ศึกษายุ้งข้าวกลุ่มมอญ บ้านพระเพลิง หมู่ 2ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา จำนวนห้าหลัง โดยศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ตำแหน่งปลูกสร้าง  รูปแบบ โครงสร้าง ประโยชน์ใช้สอย สื่อสัญลักษณ์ และความเชื่อ ผลของการศึกษามีดังนี้ (หน้า  151)
 
นายชุม  กรีจังหรีด เจ้าของยุ้งหลังที่ 1
             เจ้าของมีที่นา 20ไร่ มีข้าวเก็บไว้ในยุ้งประมาณ 30กระสอบ ยุ้งเป็นยุ้งเก่า    ยกมาสร้างใหม่ เมื่อก่อนตั้งอยู่บริเวณหน้าบ้านทางทิศเหนือ แล้วรื้อมาปลูกบริเวณสวนหลังบ้านใกล้กับที่นา เพราะบริเวณที่ดินเดิม ลูกสาวกับลูกเขยได้สร้างบ้านบริเวณนั้น   (เรื่องและภาพหน้า 152)
            ที่ตั้ง  ยุ้งข้าวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ด้านหลังของบ้าน ติดที่นา บริเวณหน้ายุ้งเป็นลาน ส่วนประตูยุ้งหันหน้าไปทางทิศใต้ (หน้า 153)
            รูปแบบ  ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา  ยุ้งยกสูงจากพื้นดิน 1.60เมตร  จากพื้นถึงขื่อ 2.20เมตร  กว้าง 2.80เมตร  ยาวสามเมตร ทางหน้ายุ้งมีชาน  (หน้า 153)
            โครงสร้าง  
            เสา เป็นไม้กลม ขนาด 8x12นิ้ว จำนวนหกต้น ฝังอยู่ในพื้นดิน     60เซนติเมตร  ยาว 3.40เมตร  บากเสาเพื่อวางกระทอด  (หน้า 153) คานเป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาวสามเมตร มีสามตัว ส่วนปลายยื่นออกจากยุ้ง (หน้า 153) กระทอด เป็นไม้ขนาด 8x12 นิ้ว ยาวสี่เมตร มีสามตัว วางบนคานด้านในของเสา ส่วนหนึ่งยื่นไปทางด้านหน้าของยุ้งประมาณหนึ่งเมตรเพื่อทำเป็นชานยุ้ง (หน้า 153)  ตง มีขนาด 3x4นิ้ว มีสี่ตัว วางบนคาน อีกส่วนยื่นทางด้านหน้าเช่นเดียวกับกะทอด สำหรับทำเป็นชานยุ้งข้าว  (หน้า 153) พื้น  เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.20เมตร ปูพื้นติดกัน แล้วตีทับด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อปิดช่องว่าง กันข้าวไม่ให้รั่วออกทางรอยต่อ (หน้า 153)  คร่าว เป็นไม้เนื้อแข็งขนาด 2x3นิ้ว ยาว สามเมตรครึ่งมีหกตัว  ยาว 2.20เมตรมีสามตัว ยาว 80เซนติเมตร อีก 6ตัว วางประกบกับวงกบของประตูยุ้งข้าว (หน้า 153) ฝา เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 1.70เมตร เมื่อกั้นแล้วตีทับด้วยไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหลจากยุ้ง  (หน้า 154) 
            หลังคา   โครงหลังคาเป็นไม้ ประกอบด้วย  ขื่อขนาด 2.6 นิ้ว ยาว 2.20เมตร มีสามตัว ปลายทั้งสองข้างวางในร่องที่บากที่ปลายเสา  สะยัว ขนาด 2x6นิ้ว ยาวสองเมตร มี หกตัว  แปรขนาด 2x4นิ้ว ยาวห้าเมตร มี หกตัว มุงสังกะสี (หน้า 154)   หน้าจั่ว  ตีด้วยไม้ขนาด 1x7นิ้ว เว้นช่องลมให้อากาศระบาย (หน้า 154)  ประตู ทำเป็นวงกบมีร่องทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้ลงทีละแผ่นจากบนลงล่าง (หน้า 154)
            ประโยชน์อื่นใช้ใต้ถุนยุ้งเป็นคอกเลี้ยงไก่ (หน้า 154)
             สื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ประกอบด้วยทำขวัญข้าว เลือกวันดี สำหรับการขนข้าวขึ้นยุ้งและออกยุ้ง  (หน้า 152-154 ตารางหน้า 167)
 
นายประคอง  ผันสำโรง เจ้าของยุ้งหลังที่ 2  
            ขนาดของยุ้งเก็บข้าวได้ประมาณ 30ถุง  ยุ้งนี้พ่อแม่ยกให้เป็นมรดกหลังจากแต่งงาน อายุของไม้เกิน 70ปีขึ้นไป ยุ้งมีความเก่าเจ้าของจึงต้องซ่อมเป็นประจำทุกปี หากผุพังไปมากกว่านี้ เจ้าของยุ้งตั้งใจว่าจะไม่สร้างใหม่แต่จะเปลี่ยนวิธีเก็บข้าวโดยใส่กระสอบเก็บไว้ในบ้าน เนื่องจากวัสดุสร้างยุ้งมีราคาสูง (หน้า 155)
            ที่ตั้ง  ยุ้งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ทางด้านหลังของบ้าน  ประตูยุ้งหันไปทางทิศตะวันตก หน้ายุ้งเป็นลานโล่ง (หน้า 155)
            รูปแบบ  ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองช่วงช่วงเสา ยกพื้นสูงจากพื้นดิน 1.20เมตร  สูงจากพื้นถึงขื่อ 2.20เมตร  กว้าง 2.80เมตร ยาว สามเมตร มีชานหน้ายุ้ง  (หน้า 156)
            โครงสร้าง    
            เสา  เป็นไม้ 8x12นิ้ว หกต้น ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 60เซนติเมตร ยาว 3.40เมตร แล้วบากเสาเพื่อสอดกะทอด (หน้า 156) คาน  เป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว  ยาวสามเมตร มีสามตัว ให้ปลายยื่นออกจากยุ้ง (หน้า 156) กระทอด เป็นไม้ขนาด 8x12นิ้ว ยาวสี่เมตร มีสามตัว วางบนคานด้านในของเสา อีกส่วนยื่นไปทางหน้ายุ้งหนึ่งเมตร เพื่อทำเป็นชานยุ้ง  (หน้า 156)  ตง   เป็นไม้ขนาด 3x4 เมตร ยาวสี่เมตร มีสี่ตัว  วางบนคาน อีกด้านยื่นไปทางหน้ายุ้ง สำหรับทำเป็นชานยุ้ง  (หน้า156) พื้น  เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 2.20เมตร ปูพื้นเรียบติดกัน แล้วตีไม้ขนาด 1x2นิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วไหล  (หน้า 156)  คร่าว   ส่วนนี้เป็นไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาว 3.50เมตร จำนวนหกตัว ยาว 2.20เมตร มีสามตัว ยาว 80เซนติเมตร มี หกตัว วางประกบกับวงกบประตูยุ้งข้าว  (หน้า 156)  ฝา  เป็นไม้ขนาด 1x8นิ้ว ยาว 1.70เมตร หลังจากกั้นแล้วตีทับด้วยไม้ ขนาด 1x2นิ้วเพื่อปิดช่องว่าง  ( หน้า 156)
            หลังคา     โครงหลังคาเป็นไม้ประกอบด้วย ขื่อขนาด 2.6นิ้ว ยาว 2.20เมตร มีสามตัว ปลายทั้งสองด้านวางที่ปลายเสาที่บาก  สะยัว ขนาด 2x6นิ้ว ยาวสองเมตร มีหกตัว แปรขนาด 2x4นิ้ว ยาวสี่เมตร มีหกตัว มุงสังกะสี (หน้า 157) หน้าจั่ว   ตีด้วยไม้ขนาด 1x7นิ้ว ตีเป็นช่องให้ลมผ่านได้ (หน้า 157)  ประตู  วงกบมีร่องทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็จะสอดไม้ลงจากด้านบนลงด้านล่างทีละแผ่น  (หน้า 157) 
            ประโยชน์อื่นเป็นที่เก็บเครื่องมือเพาะปลูก ส่วนสื่อสัญลักษณ์และความเชื่อ ประกอบด้วย เลือกวันดี สำหรับขนข้าวขึ้นยุ้ง ออกยุ้ง กับการตักข้าวออกยุ้ง คนเกิดปีที่สัตว์กินพืช ไม่ให้ตักข้าว กับไม่ตักข้าววันดับ (หน้า 155-157)
 
นายชิน  วิจิตรสระน้อย เจ้าของยุ้งหลังที่ 3
             เป็นยุ้งเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของบ้าน อายุการใช้งานของยุ้งประมาณ 20ปี  ยุ้งเก็บข้าวได้ประมาณ 35กระสอบ ยุ้งเป็นไม้เก่าทั้งหลัง เจ้าของสร้างด้วยตนเอง(เรื่องและภาพ หน้า 158)
             ที่ตั้ง    ยุ้งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก ทางด้านข้างของบ้าน (หน้า 159)
             รูปแบบ   ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวนสองห้องช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว สร้างสูงจากพื้นดินระดับเอว มีชานทางด้านหน้า (หน้า 159)
              โครงสร้าง
              เสา    เป็นเสาแบบเหลี่ยม มีแปดต้น วางบนเสากลมที่ฝังอยู่ในดินเหนือพื้น แล้วเจาะเจนทะลุเพื่อสอดคาน จากพื้นถึงขื่อสูงสองเมตรครึ่ง แล้วบากหัวเสาด้านบนเป็นร่องเพื่อวางขื่อ  (หน้า159)  คาน  เป็นไม้ขนาด 2x7นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง มีสามตัว แล้วสอดปลายทั้งสองด้านไว้ในช่องเสาทีเจาะ (หน้า 159) กะทอด เป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาวสี่เมตรครึ่งมีสามตัว วางบนคานติดเสาด้านใน และอีกส่วนยื่นไปทางด้านหน้ายุ้ง         70เซนติเมตร  เพื่อทำเป็นชานยุ้ง  (หน้า 159)  ตง  เป็นไม้ขนาด 2x5นิ้ว ยาว 4.75เมตร มีสี่ตัว วางบนคาน อีกส่วนยื่นมาทางหน้ายุ้งเช่นเดียวกับกะทอด เพื่อทำเป็นนอกชานของยุ้งข้าว (หน้า 159)  พื้น   เป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาว 2.40เมตร เมื่อปูเรียบร้อยแล้วก็ตีทับด้วยซีกไม้ไผ่ขนาดสองนิ้ว เพื่อกันไม่ให้ข้าวรั่วจากยุ้ง (หน้า 159)  คร่าว  เป็นไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาวสี่เมตร มีหกตัว ยาว 2.40เมตร มีหกตัว และอยู่ทางด้านหลังอีกสี่ตัว  ด้านหน้า ใต้ประตูยุ้งสองตัว  กับยาว 80เซฯติเมตรอีกสี่ตัว วางประกบกับวงกบของประตูยุ้งข้าว (หน้า 159)  ฝา  เป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง หลังจากที่กั้นฝาก็จะตีไม้ไผ่ผ่าซีกกว้างสองนิ้วทับช่องว่างกันข้าวรั่ว (หน้า 160)
            หลังคา  โครงเป็นไม้ ประกอบด้วย  ขื่อ ขนาด 2.6นิ้ว  ยาวสองเมตรครึ่ง มีสามตัว ปลายทั้งสองด้านวางลงในร่องที่ปลายเสาที่บาก  สะยัว ขนาด 2x6นิ้ว ยาวสองเมตรมีหกตัว  ดั้งขนาด 2x6นิ้วยาว ครึ่งเมตร  แปรขนาด 2x3นิ้ว ยาวห้าเมตร มีหกตัว มุงหลังคาด้วยสังกะสี  (หน้า 160)
             หน้าจั่ว  ตีแผ่นไม้ เปิดเป็นช่องเพื่อให้ลมเข้าออกยุ้ง (หน้า 160) ประตู วงกบทำเป็นร่องทั้งสองด้าน เมื่อปิดจะสอดแผ่นไม้จากด้านบนลงด้านล่างครั้งละแผ่น เวลาเปิดก็จะเปิดแผ่นไม้ออกเช่นกัน (หน้า 160)
             ประโยชน์อื่น เป็นที่เก็บไม้เก่า เครื่องมือช่าง กับผลิตผลที่ปลูก ส่วนสื่อสัญลักษณ์ความเชื่อ นับถือแม่โพสพ และเลือกวันดีสำหรับการขนข้าวขึ้นยุ้ง  ออกยุ้ง  (หน้า 158-160)
 
นางสงบ  บัวผันสระน้อย เจ้าของยุ้งหลังที่ 4
           ยุ้งข้าวเป็นยุ้งที่ได้รับเป็นมรดกมีอายุ 100กว่าปี การก่อสร้างได้ขอแรงญาติพี่น้อง และเพื่อบ้านมาช่วยก่อสร้าง นอกจากนี้ยังได้ช่างของหมู่บ้านชี้แนะกับวางผังในตอนสร้างยุ้งอีกด้วย  (เรื่องและภาพ หน้า 161)
            ที่ตั้ง  ยุ้งตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ด้านข้างของบ้าน ห่างจากบ้านประมาณห้าเมตร ประตูยุ้งข้าวหันไปทางทิศใต้ ด้านหน้ายุ้งเป็นลานตากข้าว        (หน้า 162)
             รูปแบบ     เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวนสองห้องช่วงเสา  กว้าง 2.20เมตร ยาวสี่เมตร  ลักษณะข้างล่างกว้างข้างบนสอบเข้าหากันเพื่อรับน้ำหนัก หลังคาทรงจั่ว ยกพื้นสูงจากพื้นดิน 1.50เมตร ด้านหน้ายุ้งเป็นชาน        (หน้า 162)
             โครงสร้าง     
เสา   เป็นไม้แบบเหลี่ยม ส่วนปลายกลมเรียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางเก้านิ้ว มีหกต้น วางบนเสาซีเมนต์ที่ฝังในดิน แล้วเจาะเสาเป็นช่องเพื่อสอดคานยุ้ง ความสูงจากพื้นถึงขื่อสูง สองเมตรครึ่ง บากหัวเสาเป็นร่องสำหรับวางขื่อ (หน้า 162)  คาน   ไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาวสามเมตร ส่วนปลายสอดเข้าไปในช่องเสาที่เจาะแล้วให้ปลายยื่นออกไปอีกสองด้านอีกสามตัว  (หน้า 162) กะทอด    เป็นไม้ขนาด 2x8 นิ้วยาว ห้าเมตรมีสามตัววางบนคานติดกับเสาด้านในของยุ้ง  (หน้า 162)  ตง     เป็นไม้ขนาด 4x4นิ้วยาวห้าเมตรมีสี่ตัว วางบนคาน (หน้า 162) พื้น    เป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาว 2.40เมตร แล้วต่อพื้นไปทางด้านหน้าเพื่อเป็นชานยุ้ง หลังจากปูเรียบร้อยแล้ว ก็ตีทับด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขนาดสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วออกจากช่องไม้ (หน้า 162)  คร่าว     เป็นไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาว 4.40เมตร มีหกตัว ยาว  2.40เมตร มีหกตัว และอยู่ทางด้านหลังอีกสามตัว ด้านหน้าใต้ประตูยุ้งข้าว ยาว 80เซนติเมตร อีกหกตัว  วางประกบกับวงกบของประตูยุ้งข้าว (หน้า 162)  ฝา     เป็นไม้ขนาด 1x6นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง หลังจากที่กั้นแล้วก็จะตีด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ขนาดความกว้างสองนิ้ว เพื่อกันข้าวรั่วจากยุ้ง (หน้า 162)
           หลังคา     โครงเป็นไม้ ประกอบด้วย ขื่อขนาด 2.6 นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง มีสามตัว ปลายทั้งสองข้างวางในร่องเสาที่บาก  สะยัว ขนาด 2.6นิ้ว ยาวสองเมตร (หน้า 162) มีหกตัว  ด้งขนาด 2x6 นิ้วยาว ครึ่งเมตร  แปรขนาด 2x3 นิ้ว ยาว ห้าเมตรมีหกตัว มุงด้วยสังกะสีเพื่อป้องกันแดดฝน (หน้า 163)
            หน้าจั่ว    ตีไม้ตามแนวนอน บนจั่วเปิดเป็นช่องให้ลมผ่านเข้าออก (หน้า 163)  ประตู  วงกบมีร่องทั้งสองด้าน  เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้จากบนลงล่างทีละแผ่น เมื่อจะเปิดก็ถอดออกทีละแผ่นเช่นกัน  (หน้า 163)  ส่วนประโยชน์ใช้สอยและสื่อสัญลักษณ์ความเชื่อไม่ระบุไว้(เรื่องและภาพหน้า 161-163)
 
นางลำพอง  ศิริสระน้อย เจ้าของยุ้งหลังที่ 5
           ยุ้งข้าวเป็นมรดก มีอายุของการใช้งานประมาณ 50กว่าปี วัสดุที่ใช้เป็นไม้เก่าของยุ้งหลังเดิม ซึ่งยุ้งหลังเก่ามีขนาดสี่ห้องช่วงเสา (เรื่องและภาพ หน้า 164) แต่หลังจากที่มีการแบ่งที่ดินของพี่น้องในครอบครัว ก็ยกยุ้งใหม่ให้แต่มีขนาดเล็กลงเหลือเพียงสองห้องช่วงเสา  เนื่องจากต้องปรับให้เหมาะสมกับนาที่พ่อแบ่งให้เป็นมรดก ส่วนการสร้างได้ใช้แรงของญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน (หน้า 165)
            ที่ตั้ง  ยุ้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้าน  ห่างจากบ้านห้าเมตร  บริเวณหน้ายุ้งเป็นลานสำหรับตากข้าวเปลือก ส่วนประตูยุ้งหันไปทางทิศเหนือ (หน้า 165)
            รูปแบบ    ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสองห้องช่วงเสา  สูงจากพื้นดินถึงพื้นยุ้งหนึ่งเมตรครึ่ง  จากพื้นยุ้งถึงขื่อ สูงสองเมตรครึ่ง กว้างสองเมตรครึ่ง ยาวสามเมตรครึ่ง ยาวไปตามทิศตะวันออก ตะวันตก หลังคาทรงจั่ว (หน้า 165)
            โครงสร้าง
            เสา    เป็นเสาไม้แบบเหลี่ยม ปลายกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 8x8นิ้ว ยาวสี่เมตรครึ่ง มีหกต้น วางบนฐานปูนซีเมนต์ที่ฝังในดิน เจาะเสาเป็นรูแล้วสอดคาน  บริเวณหัวเสาบากเป็นร่องเพื่อวางขื่อ (หน้า 165)  คาน     เป็นไม้ขนาด 2x8นิ้ว ยาวสองเมตรครึ่ง  สอดปลายทั้งสองไว้ในช่องเสาที่เจาะจำนวนสามตัว (หน้า 165)  กะทอด  เป็นไม้ขนาด 2x8 นิ้ว ยาว 4.25เมตร มีสามตัววางบนคานติดเสาด้านใน  (หน้า 165) ตง  เป็นไม้ขนาด 4x4นิ้ว ยาว 4.25เมตร วางบนคาน จากนั้นก็ให้ส่วนปลายยื่นออกไปทางด้านหน้า ปูพื้นเป็นชานยุ้ง  (หน้า 165)  พื้น    เป็นไม้ขนาด 1x7นิ้ว ยาว 2.20 เมตร ปูพื้นติดกัน แล้วตีทับช่องว่างด้วยไม้ขนาด 1x2 นิ้ว เพื่อกันไม่ให้ข้าวเปลือกไหลออกจากช่องว่างของไม้  (หน้า 165) คร่าว    เป็นไม้ขนาด 2x3นิ้ว ยาวสามเมตรครึ่ง มีหกตัว ยาว 2.20เมตร มีสี่ตัวและยาว 80เซนติเมตรมีสองตัว (หน้า 166) ฝา ทำจากไม้ขนาด 1x6นิ้ว  ยาวสองเมตรครึ่ง  หลังจากที่กั้นก็จะตีทับรอยต่อด้วยไม้ขนาด1x2 นิ้ว เพื่อทับช่องว่างกันข้าวรั่วไหล  (หน้า 166)
            หลังคา  ประกอบด้วยขื่อ ขนาด 2.6นิ้ว ยาว 2.20เมตร มีสามตัว ปลายทั้งสองวางที่รอยบากของเสา สะยัวขนาด 2x6นิ้ว ยาว 2.10เมตร มี หกตัว ดั้งขนาด 2x6นิ้ว ยาว  50 เซนติเมตร   แปร ขนาด 2x4นิ้ว ยาว 5.25เมตร  มีแปดตัว  มุงหลังคาด้วยสังกะสี (หน้า 166)
            หน้าจั่ว    ตีไม้กั้นตามแนวนอน ส่วนด้านบนจั่วปล่อยเป็นช่องลม (หน้า 166)  ประตู   ทำเป็นวงกบทั้งสองด้าน เมื่อจะปิดก็จะสอดแผ่นไม้ลงทีละแผ่น ตอนเปิดยุ้งก็ถอดแผ่นไม้ทีละแผ่นเช่นเดียวกัน (หน้า 166)
            ประโยชน์อื่นเป็นที่เก็บเครื่องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านการเพาะปลูกต่างๆ  สื่อสัญลักษณ์ ความเชื่อ นับถือแม่โพสพ ไหว้ตาแฮก กับทำขวัญข้าว  (หน้า 164-166 ตารางหน้า 167) 

Folklore

แถน 
          ตามความเชื่อแล้ว แถนเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งบนโลก  ดังนั้นคนจึงให้ความเคารพนับถือแถน เช่นเมื่อประสบกับอุปสรรคในการดำเนินชีวิตก็ขอให้แถนช่วยเหลือ เช่นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย ลาว ที่มีงานบุญบั้งไฟเพื่อส่งข่าวถึงแถน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง การจัดบุญบั้งไฟต้องใช้ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน เพราะมีขั้นตอนต่างๆที่คนหนึ่งคนไม่อาจทำได้ ต้องช่วงกันหลายคนงานบุญจึงจะสำเร็จ (หน้า 171)
 
แม่โพสพ
          คือเทพธิดาประจำข้าว ข้าวมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของคนทุกคน ดังนั้นคนก็ต้องดูแลข้าว  เนื่องจากข้าวนั้นมีขวัญอาศัยอยู่ ถ้าขวัญไม่อยู่หรือขวัญไม่พึงพอใจก็อาจทำให้คนได้รับความเดือดร้อนเจ็บไข้ได้ป่วย ฉะนั้นคนก็ต้องดูแลขวัญข้าวอย่างดีที่สุด (หน้า 172) แม่โพสพเป็นผีหรือเทวดาพื้นเมือง รูปแม่โพสพเป็นหญิงนั่งพับเพียบแบบไทย (หน้า 173)  

Map/Illustration

ตาราง
          ระยะเวลาในการทำวิจัย (หน้า 71) แผนดำเนินการวิจัย (หน้า 73) สรุปผลการศึกษายุ้งข้าวกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้ง  บ้านโคกสระน้อย  บ้านสระน้อย  บ้านนกออก อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา (หน้า 148) สรุปผลการศึกษายุ้งข้าวกลุ่มชาติพันธุ์  บ้านพระเพลิง  หมู่ 2  ตำบลนกออก  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา (หน้า 169)
 
แผนที่   จังหวัดนครราชสีมา (หน้า 37) อำเภอปักธงชัย (หน้า 76) ตำบลในพื้นที่อำเภอปักธงชัย (หน้า 77)
 
ภาพ
          กรอบแนวคิดของการวิจัย (หน้า 11) ยุ้งข้าวนายสมคิด ปอนเกษม หลังที่ 1(หน้า 85) ยุ้งข้าวของนายสมคิด หลังที่ 2(หน้า 86) ยุ้งข้าวนายเม่า จันทร์สระน้อย  (หน้า 91) ยุ้งข้าวนางสมพิศ  ชิดสระน้อย (หน้า 94ยุ้งข้าวนางชัง  มูนครบุรี (หน้า 97)  ยุ้งข้าวนายโชติ  มูลกระโทก (หน้า 99) ยุ้งข้าวนางภา  ศรีสระน้อย (หน้า102) ยุ้งข้าว นายมี  วิเวก (หน้า 105) ยุ้งข้าวนายบุญ  เพียรกระโทก (หน้า 108) ยุ้งข้าวนายนาท    พะนะจะโป๊ะ (หน้า 110) ยุ้งข้าวนายเปลี่ยน  ทูนเกษม (หน้า 113) ยุ้งข้าวนางแตง  ปะระมัดสระน้อย (หน้า 116) ยุ้งข้าวนายอำนาจ  ไขสระน้อย หลังที่ 1(หน้า 118) และหลังที่ 2(หน้า 119) ยุ้งข้าวนายสร้อย  ชาญฉิมพลี (หน้า 123) ยุ้งนายเกิด  ผิวสระน้อย  หลังที่ 1(หน้า 126) และหลังที่ 2(หน้า 127)  ยุ้งข้าวนางอัด  แขสระน้อย (หน้า 131)   ยุ้งข้าวนางสุดใจ  ช่วยสระน้อย (หน้า 134)
              ยุ้งข้าวนางสนิท  แทนสระน้อย (หน้า 137) ยุ้งข้าวนางจันทร์  แววจะโป๊ะ   (หน้า 140) ยุ้งข้าวนางวิไล  พันธุ์สระน้อย (หน้า 143) ยุ้งข้าวนายจำลอง  สระพะจะโป๊ะ (หน้า 146) ยุ้งข้าวนายชุม  กรีจังหรีด (หน้า 152) ยุ้งข้าวนายประคอง  ผันสำโรง      (หน้า 155) ยุ้งข้าวนายชิน  วิจิตสระน้อย (หน้า 158) ยุ้งข้าวนางสงบ  บัวผันสระน้อย  (หน้า 161) ยุ้งข้าวนางลำพอง  ศิริสระน้อย (หน้า 164)  ยุ้งข้าวกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง  บ้านโคกสระน้อย และโครงคร่าว ประกบรัดอยู่ภายนอกฝาประตูชักไม้ มีแผ่นไม้เสียบไว้สูง  แสดงว่ามีข้าวในยุ้งจำนวนมาก (หน้า 203)  ยุ้งข้าวกลุ่มชาติพันธุ์มอญ  บ้านพระเพลิง (หน้า 203)  ยุ้งข้าวกลุ่มไทยเบิ้ง  บ้านนกออก ที่ใช้ตอม่อเสาปูนซีเมนต์ เป็นโครงสร้างเสารับพื้นยุ้ง  (หน้า 204) แม่โพสพ (หน้า 204)  “ตาปุกยายปุ๋ย”หุ่นฟางตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ปกปักรักษาแม่โพสพ  (หน้า 204)
             กระดองเต่า ภาชนะตักข้าวของไทยเบิ้ง  สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ (หน้า 205)  วันศุกร์ขึ้นลาน  วันอังคารขึ้นยุ้ง ความเชื่อดั้งเดิมของชาวนาบ้านนกออก  (หน้า 205)  หุ่นตาปุกที่ชาวนาวางไว้ในยุ้งข้าว (หน้า 205) สัญลักษณ์แม่โพสพและตาแหลว (หน้า 205) ประตูยุ้งข้าวของชาวไทยเบิ้ง บ้านนกออก ที่มีป้ายคำเตือน “วันดับ ห้ามตัก”  (หน้า 206) กระดองเต่า ภาชนะตักข้าว บ้านนกออก  (หน้า 206) ยุ้งข้าวของชาวไทเบิ้ง บ้านนกออก (หน้า 206) ยุ้งข้าวของชาวไทเบิ้ง บ้านนกออกใช้วัสดุสังเคราะห์ที่หาซื้อได้ในปัจจุบัน และมีราคากว่าไม้ (หน้า 206)  ยุ้งข้าวของชาวไทเบิ้งบ้านนกออกแบบมีห้องเก็บข้าวเหนียวด้านหน้า ขนาด 4ห้องเสา, ขนาด 2ห้องเสา (หน้า 207)  ซงเหวียน ยุ้งข้าวของไทเบิ้ง (หน้า 207)  ซงเหวียนยุ้งข้าวของไทเบิ้ง แบบวางบนด้านข้างของเรือนพักอาศัย (หน้า 207) ชุมชนมอญบ้านพระเพลิง หมู่ 2ตำบลนกออก (หน้า 208) 
          ยุ้งข้าวมอญบ้านพระเพลิง ถูกยกและต่อขึ้นใหม่ เนื่องจากพื้นที่เดิมต้องใช้สำหรับการสร้างบ้าน (หน้า 209) ยุ้งข้าวมอญ บ้านพระเพลิง ที่ไม่ได้ใช้งาน (หน้า 209) ยุ้งข้าวมอญ บ้านพระเพลิง ที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ด้านข้างเป็นเพิง ร้านขายอาหาร   (หน้า 210)  ยุ้งข้าวมอญ บ้านพระเพลิง 3ห้องเสา  พบเพียงหนึ่งหลังในบ้านพระเพลิง แสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว (หน้า 210)   

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 06 ต.ค. 2563
TAG ยุ้งข้าว, ความเชื่อ, สังคม, เศรษฐกิจ, ไทยเบิ้ง, มอญ, นครราชสีมา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง