สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เหวียต เวียดนาม อัตลักษณ์ กระบวนการปรับปรน ภาคอีสาน ประเทศไทย
Author สุนทร พรรณรัตน์
Title เหวียต เกี่ยว : อัตลักษณ์และกระบวนการปรับปรนในการดำเนินชีวิต CARE ในภาคอีสาน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 214 Year 2558
Source วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ชาวเวียดนามอพยพเริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยสาเหตุมาจากถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในฐานะเชลยศึก และอพยพเข้ามาเพื่อลี้ภัยทางการเมืองและศาสนา เวียดนามที่ลี้ภัยทางการเมืองและศาสนาเดินทางเข้ามาโดยผ่านประเทศลาว และมาอาศัยอยู่ในบริเวณฝั่งแม่น้ำโขง ที่เมืองท่าอุเทน ไชยบุรี หนองคาย นครพนม นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ ชาวเหวียต เกี่ยวที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เหวียต เกี่ยว เก่า และเหวียต เกี่ยว เมื่ออพยพมีการสร้างบ้านเป็นกระต๊อบ กระท่อมหรือ โรงนา ฝาสานด้วยไม้ไผ่ฉาบปูน พื้นอัดด้วยดิน บางกลุ่มสร้างบ้านเป็นตึกแถวประตูด้านหน้าเป็นบานพับ หรือเพี้ยม การแต่งกายคล้ายกับคนจีน นุ่งกางเกงขายาวทั้งชายหญิง เสื้อผ่าข้างยาวคลุมเข่า พูดภาษาเวียดนาม รับประทานอาหารที่มีรสจืดมีผักเป็นเครื่องเคียง นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ เชื่อในเรื่องผี วิญญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติมีการเคารพนับถือเทพเจ้า มีการทรงเจ้า ร่างทรง มีประเพณีพิธีกรรมการแต่งงานและพิธีศพที่เป็นของตนเอง
สภาพปัจจุบันและปัญหาในการดำเนินชีวิตของชาวเหวียต เกี่ยวในภาคอีสาน ปัจจุบันมีการตั้งบ้านเรือนเป็นอาคารพาณิชย์ ตึกแถว สร้างบ้านตามสมัยนิยม มีการพูดภาษาเวียดนาม ภาษาไทยภาษาไทยอีสาน และภาษาต่างประเทศ แต่งกายตามสมัยนิยม นิยมแต่งชุดประจำชาติ คือ ชุดอ่าว หญ่าย ตามเทศกาลรื่นเริง รับประทานอาหารเวียดนาม อาหารไทย อาหารไทยอีสาน อาหารจีนและอาหารฝรั่ง การนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ เชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผี วิญญาณ มีการทรงเจ้าเข้าร่างทรง มีประเพณีปีใหม่ญวนหรือตรุษญวน พิธีกงเต๊ก พิธีกรรมงานศพ ส่วนปัญหาที่พบคือ บ้านเรือนแบบเก่าเริ่มหายไป คนรุ่นใหม่ไม่พูดภาษาเวียดนาม มีการแต่งกายตามสมัยนิยม นำชุดอ่าว หญ่ายนำไปใช้ในเทศกาลอื่น มีการดัดแปลง ตกแต่งให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้น ไม่นิยมรับประทานอาหารเวียดนาม มีการแยกกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนาระหว่างพุทธกับคริสต์ เชื่อในเรื่องภูตผีปีศาจบูชา เทพเจ้าทำให้สังคมไม่ยอมรับ ว่าเป็นสิ่งไร้สาระ การทรงเจ้า ร่างทรงเริ่มสูญหายไปไม่มีผู้สืบทอดมีการจัดประเพณีเฉพาะกลุ่มของตัวเอง สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไปทำให้รับประเพณีของชาติอื่นเข้ามาผสมกับประเพณีดั้งเดิม
ส่วนอัตลักษณ์และกระบวนการปรับปรนในการดำเนินชีวิตของชาวเหวียต เกี่ยว ในภาคอีสาน
พบว่า มีการสร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยให้เหมือนคนไทย พูดภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น แต่งกายเป็นคนไทย รับประทานอาหารไทยและไทยอีสาน ทำบุญใส่บาตรตามศาสนาพุทธ เข้าร่วมประเพณีและพิธีกรรมกับชาวไทยอีสาน เพื่อให้การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างผสมกลมกลืนโดยสรุป อัตลักษณ์และกระบวนการปรับปรนในการดำเนินชีวิตของชาวเหวียต เกี่ยวในภาคอีสาน ด้านตั้งบ้านเรือน ภาษา การแต่งกาย อาหาร ศาสนา ความเชื่อ ประเพณีและ
พิธีกรรม เป็นแนวทางและรูปแบบในการดำเนินชีวิตของชาวไทยเชื้อชาติอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

Focus

          ศึกษาประวัติและความเป็นมา สภาพปัจจุบันและปัญหาในการดำเนินชีวิต และอัตลักษณ์และกระบวนการปรับปรนในการดำเนินชีวิตของชาวเหวียต เกี่ยวในภาคอีสาน

Theoretical Issues

          ผู้ศึกษาประยุกต์แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ การย้ายถิ่นและการปรับตัวเป็นแนวทางการศึกษาภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลเพื่อพรรณาสภาพและปัญหาในการดำเนินชีวิต  ตลอดจนเชื่อมโยงให้เห็นกระบวนการปรับตัวของกลุ่มคนเวียดนาม

Ethnic Group in the Focus

          ชาวเวียดนามในไทย

Language and Linguistic Affiliations

          ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม การเขียนจะใช้ตัวอักษรที่พัฒนาและดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีนที่เรียกว่า จื๋อโนม (Chu Ngu) แต่ในปัจจุบันใช้ตัวเขียนเป็นตัวอักษรละตินที่เรียกว่า กว็อกหงือ (Guoc Ngu) นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาท้องถิ่นและเนื่องจากเวียดนามเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อน จึงยังคงมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสอยู่บ้างชาวเหวียต เกี่ยว ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสานในอดีตจะเขียน อ่าน พูดภาษาไทยไม่ได้ จะพูดคุยภาษาเวียดนามในกลุ่มเวียดนามเท่านั้น 

Study Period (Data Collection)

          งานภาคสนามราว ปี พ.ศ. 2556-2558  

History of the Group and Community

          ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานส่วนหนึ่งเป็นคนชาวเหวียต เกี่ยว ที่อพยพมานานกว่า 100 ปี นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ และบางกลุ่มนับถือศาสนาคริสต์ ชาวเหวียต เกี่ยวเหล่านี้ได้ผสมกลมกลืนเข้ากับชาวไทยอีสาน เข้ากับชุมชนท้องถิ่นจนเกือบหมดสิ้นชาวเหวียต เกี่ยวกลุ่มนี้จะได้รับสัญชาติไทย ชาวเหวียต เกี่ยว ที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานแบ่งออกได้สอง ประเภท คือ เหวียต เกี่ยว เก่า และเหวียต เกี่ยว อพยพ กล่าวคือเหวียต เกี่ยว เก่า เป็นกลุ่มที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทยนานแล้วและส่วนใหญ่จะเกิดและโตในประเทศไทยเกือบทั้งสิ้น ในอดีตจะกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน ชาวเหวียต เกี่ยว กลุ่มนี้ทางรัฐบาลจะให้ลงชื่อทำหนังสือสำคัญประจำคนต่างด้าว แล้วแต่ความประสงค์และสมัครใจ ส่วนเหวียต เกี่ยว อีกกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่อพยพมาจากแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เนื่องจากในปี พ.ศ. 2488-2489 ฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามและลาวสำเร็จ วันที่ 21 มีนาคม 2489 เหวียต เกี่ยว ได้พากันข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งนครพนม ชาวเหวียต เกี่ยวเหล่านี้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดฮาตินห์ และกวางบินประเทศเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งชาวเหวียต เกี่ยว อพยพเดินทางกลับเวียดนาม โดยการส่งกลับแบ่งเป็น 2 รอบรอบแรกสามารถส่งชาวเหวียต เกี่ยวอพยพกลับโดยทางเรือของจีนได้เพียงบางส่วน รอบสองต้องหยุดลง เนื่องจากจากเกิดการปะทะกันระหว่างกองทัพสหรัฐอเมริกากับเวียดนามเหนือ ส่งผลให้ชาวเหวียต เกี่ยวอพยพตกค้างอยู่ส่วนหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจำนวนชาวเหวียต เกี่ยว จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว นับจากนั้นมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปีแล้ว ชาวเหวียต เกี่ยวอพยพได้เคลื่อนไหวและร้องต่อรัฐบาลให้สัญชาติไทยแก่ชาวญวนอพยพตลอดเวลา ปรากฏว่าส่วนหนึ่งที่เป็นชาวเหวียต เกี่ยวรุ่นลูกรุ่นหลานที่เกิดในเมืองไทยได้รับสัญชาติไทยหมดแล้ว คงเหลือเพียงชาวเหวียต เกี่ยวที่เป็นรุ่นพ่อรุ่นแม่บางส่วนที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย (หน้า, 135-146) 

Settlement Pattern

          ด้วยสาเหตุที่จีนเข้าปกครองเวียดนามมานานนับพันปี ทำให้ชาวเวียดนามรับเอาลักษณะการปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมาจากคนจีน เมื่ออพยพถิ่นฐานมาอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทย ชาวเหวียต เกี่ยว บางกลุ่มจึงเอารูปแบบของการปลูกสร้างบ้านที่อยู่อาศัย ลักษณะการสร้างบ้านเรือนจะคล้ายตึกดินของจีน สร้างเป็นห้องๆ แบบห้องแถวร้านค้าทั่วไปในปัจจุบัน มีประมาณ 4-5 ห้อง เป็นตึกชั้นเดียวไม่นิยมยกพื้น แต่จะใช้วิธีอัดพื้นดินให้แน่นหรือไม่ก็อัดพื้นดินด้วยอิฐ ผนังของบ้านจะสานด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดธรรมดาแล้วฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ด้านหน้ามีทั้งแบบเปิดโล่งตลอดแนว โดยมีประตูหลายบานที่เรียกว่า บานเพี้ยม และแบบมีประตูบานเดียวบางกลุ่มก็สร้างบ้านเป็นกระท่อมหรือโรงนา สร้างด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือใบจาก ยกพื้นปูด้วยไม้ สร้างห้องน้ำ ห้องส้วมไว้นอกบ้านบริเวณพื้นที่ว่างรอบๆ บ้านจะปลูกพืชผักไว้รับประทานในครัวเรือน (หน้า, 146-148)

Economy

          จากความขยัน อดทน ตรากตรำทำงานหนักเป็นลักษณะพิเศษของชาวเหวียต เกี่ยว การประกอบอาชีพของชาวเหวียต เกี่ยว จึงมีแค่การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาดกลาง รวมทั้งการประกอบธุรกิจการค้า ในระยะแรกของชาวเหวียต เกี่ยว อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสานจะประกอบอาชีพเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ สุกร ส่งขายตลาดและชำแหละเนื้อสุกร โค กระบือขาย ระยะต่อมาชาวเหวียต เกี่ยว ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น ช่างไม้ช่างปูน ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างเสริมสวย เป็นต้น และประกอบอาชีพธุรกิจการค้าทุกประเภทจนกลายเป็นผู้ประกอบการค้าทุกชนิดจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ชาว เหวียต เกี่ยวในภาคอีสานยังมีเครือข่ายธุรกิจการค้ากับกลุ่มชาวเหวียต เกี่ยว ในภาคใกล้เคียงอย่างแน่นแฟ้น (หน้า, 147-192)

Social Organization

          โครงสร้างทางสังคม ชาวเหวียต เกี่ยว มีระบบครอบครัวหรือระบบเครือญาติที่แน่นแฟ้น มีความเคารพผู้อาวุโสและบรรพบุรุษ สมาชิกในครอบครัวมีความรักและผูกพันกันอย่างดียิ่ง มีความภาคภูมิใจในชีวิตครอบครัวของตนสูง รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ซึ่งเป็นพื้นฐานของชาวเหวียต เกี่ยว ที่มีความรักชาตินอกจากนี้ ชาวเหวียต เกี่ยวในอีสานมีการจัดตั้งขบวนการปกครองควบคุมกันเองขึ้นอย่างเป็นความลับเพื่อรวมกลุ่มกัน (หน้า. 147-192)

Belief System

          ความเชื่อทางศาสนา ชาวเหวียต เกี่ยว มีคติธรรมความเชื่อและศาสนาเหมือนกับชาวเอเชียทั่วไป กล่าวคือ มีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ (Super Nature) มีการประกอบพิธีกรรมตามคติธรรมความเชื่อที่น่าสนใจคือ “หมอจิ๋น” เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการปัดรังควานของผีภัยให้ออกจากร่างกายของผู้ป่วยและเป็นการส่งเสริมสิ่งดีงามให้แก่ผู้คนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกันกับคนไทยในท้องถิ่น หากแต่แตกต่างกันในเรืองการประกอบพิธีกรรม ส่วนศาสนาชาวเหวียต เกี่ยว นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ 

Education and Socialization

          เดิม เหวียต เกี่ยวมีการเรียนเขียนอ่านหนังสือและอักษรเวียดนาม (อักษรโรมัน) ให้ได้ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ทุกรุ่นทุกวัย มีการเรียนการสอนภาษาเวียดนามให้แก่บุตรหลาน แต่เป็นไปอย่างลับ ๆ ไม่มีโรงเรียน สถานศึกษาที่แน่นอน ครูผู้สอนจะเดินเท้าเปล่าไปสอนตามบ้านเรือนของชาวเหวียต เกี่ยว

Health and Medicine

          การรักษาพยาบาล ชาวเหวียต เกี่ยว มีความรู้และความสามารถที่ค่อนข้างพิเศษใน การรักษาพยาบาล กล่าวคือ เมื่อชาวเหวียต เกี่ยว คนใดมีอาการไข้จะมีหมอยากลางบ้านเข้ามารักษาให้โดยใช้สมุนไพรและการใช้ภูมิปัญญาจากการสังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น การตรวจจับชีพจรจะรู้ว่ามีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคอะไร ขณะเดียวกันจะใช้ยาปฏิชีวนะควบคู่กันไปด้วยแต่เน้นการรักษาด้วยสมุนไพรเป็นหลัก ในกรณีที่เกินความสามารถของหมอกลางบ้านแล้วจะจัดส่งโรงพยาบาลของรัฐ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

          มีการแต่งกายแตกต่างจากผู้คนในท้องถิ่น คือเด็กหญิงจะสวมกางเกงขาก๊วย เสื้อแขนสั้น-ยาว ตัดเย็บด้วยผ้าต่วนหรือผ้าแพรบางมีสีฟ้า สีดำ ไม่มีสี ไม่มีลวดลาย จะสวมเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงิน ผู้ชายสวมใส่กางเกงขาสั้น เสื้อยืดคอกลม หรือเสื้อเชิ้ตติดกระดุมสีดำ ขาว หรือสีอื่นๆ ตามความพอใจ เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มจะแต่งตัวเหมือนชายไทยทั่วไป และเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือเรียกว่าวัยชรา จะสวมกางเกงขาสั้น เสื้อยืดคอกลมหรือเสื้อกล้าม จะสวมเสื้อขาวแขนยาว กางเกงสีดำหรือน้ำเงิน ในงานพิธีกรรมต่างๆ (หน้า, 143-144)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

         กระบวนการในการปรับปรนเพื่อการดำเนินชีวิตของชาวเหวียต เกี่ยวในภาคอีสานมีการปรับปรนอัตลักษณ์ด้านการตั้งบ้านเรือน ด้านภาษา ด้านการแต่งกาย ด้านอาหารด้านศาสนาด้านความเชื่อ และด้านประเพณีและพิธีกรรม เพื่อให้มีการดำเนินชีวิตร่วมกับสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยอีสานได้อย่างผสมกลมกลืน (หน้า, 193-196)

Social Cultural and Identity Change

          ปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวเหวียต เกี่ยว ในภาคอีสานได้เปลี่ยนแปลงไปทุกด้านและพยายามปรับตัวให้เป็นคนไทยมากที่สุด ด้วยเหตุปัจจัยอยู่สองประการ คือ ประการแรกเป็นปัจจัยภายในซึ่งเกิดจากชาวเหวียต เกี่ยว รุ่นใหม่หรือคนไทยใหม่เริ่มปฏิเสธความเป็นชาวเหวียต เกี่ยว พูดภาษาน้อยลงหรือไม่พูดเลย มีการดำเนินชีวิตแบบคนไทยทุกประการ มีการศึกษา และเรียนรู้สังคมไทยรวมทั้งคนรุ่นใหม่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย จึงเกิดความรู้สึกว่าเขาคือคนไทยเช่นเดียวกัน อักทั้งชาวเหวียตเกี่ยว รุ่นเก่า ได้ลดจำนวนลงเพราะเหตุจากการเสียชีวิต จึงมีสถานะทางสังคมชาวเหวียต เกี่ยว น้อยลงตามไปด้วย ประการที่สอง เป็นปัจจัยภายนอกเกิดจากสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของไทยครอบงำจนกลายเป็นความเคยชินหรือกลืนชาวเหวียต เกี่ยว รุ่นใหม่ไปหมด รวมทั้งการมีพระราชบัญญัติสัญชาติ ปี พ.ศ. 2535 นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ชาวเหวียต เกี่ยว มีความภาคภูมิใจที่ถือว่าตนเองเป็นคนไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ชาวเหวียต เกี่ยว ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีการปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตของชุมชนที่เข้าไปอาศัยอยู่ไม่ว่าเรื่องการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน การใช้ภาษา อาหาร ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม อีกทั้งจากการถูกจำกัดพื้นที่อยู่อาศัยและจำกัดสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดินและโรงเรือน ชาวเหวียต เกี่ยว ต้องรับจ้างปลูกพืชผักสวนครัวตามที่ดินของชาวบ้านที่เป็นคนไทยอาศัยอยู่ในกระต๊อบหรือโรงนาที่อยู่รอบเขตเทศบาลเมือง มีปัญหาด้านการศึกษาเพราะต้องใช้หลักฐานหลายอย่างที่ชาวเหวียต เกี่ยว ไม่มี เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน จึงทำให้เด็กชาวเหวียต เกี่ยว ที่ต้องการเรียนต่อต้องหาทางให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย การห้ามประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ซ่อมวิทยุ ซ่อมไฟ ซ่อมรถ ฯลฯ แม้กระทั่งการเรียนภาษาเวียดนามก็ไม่สามารถเรียนได้ รวมทั้งไม่สามารถสอน ภาษาเวียดนามแก่ลูกหลานได้ อีกทั้งปัญหานโยบายกดดันและมาตรการที่เข้มงวดของรัฐบาลไทย เหล่านี้คือปัญหาของชาวเหวียต เกี่ยว ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสานตั้งแต่เริ่มต้น (หน้า, 193-198; 1989-200)

Map/Illustration

ภาพ
          ภาพการตกแต่งหน้าศพของชาวเวียดนาม หน้า 20
          ภาพขาหมูต้มจิ้มกับน้ำจิ้มแหมะ หน้า 22
          ภาพแผ่นปิดฝาหลุมศพ หน้า 26
          ภาพรถเข็นที่มีรูปผู้ตาย กระถางธูป ป้ายวิญญาณ ถาดผลไม้ แจกันดอกไม้ ตะเกียง เกิมอุ๊บ และที่ท้ายของรถจะติด หลา-เจี่ยว หน้า 31
          ภาพการไว้ทุกข์ของลูกชายมีผ้าคาดศีรษะมัดเป็นปมปล่อยชายให้ห้อยไปข้างหลัง หน้า 35
          ภาพโครงสร้างและตำแหน่งการปกครองของคณะสงฆ์อนัมนิกาย หน้า 79
          ภาพลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดญวน หน้า 81
          ภาพรูปแบบของทฤษฎีการกระทำอาสานิยม หน้า 99
          ภาพลักษณะบ้านเรือนของชาวเหวียต เกี่ยว ในอดีต หน้า 146
          ภาพการแต่งกายของชาวเวียดนามในอดีต หน้า 147
          ภาพการแต่งชุดอ่าว หญ่าย ในโอกาสสำคัญของผู้หญิงเหวียต เกี่ยว ในชุมชนเทศบาลนครอุดรธานี หน้า 149
          ภาพศาลเจ้า เตริ่น ฮึง ด่าว จังหวัดอุดรธานี หน้า 155
          ภาพสิ่งของจำลองที่ใช้ในพิธีกงเต๊กของชุมชนเหวียต เกี่ยว ในเทศบาลนครอุดรธานี หน้า 158
          ภาพขบวนแห่ศพของชาวเหวียต เกี่ยว ในชุมชนเทศบาลนครอุดรธานี หน้า 159
          ภาพการแต่งชุด เอ๋า หญ๋าย ของชาวเหวียต เกี่ยว ในชุมชนเทศบาลเมืองหนองคาย หน้า 163
          ภาพหิ้งบูชาบรรพบุรุษของชาวเหวียต เกี่ยว ในชุมชนเทศบาลเมืองหนองคาย หน้า 166
          ภาพบ้านเรือนของชาวเหวียต เกี่ยว ในชุมชนเทศบาลเมืองนครพนมจังหวัดนครพนม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ หน้า   182
          ภาพชุมชนชาวเหวียต เกี่ยว บริเวณหอนาฬิกา ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม หน้า 183

แผนที่
          ภาพแผนที่แสดงเขตเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี หน้า 126
          ภาพชุมชนเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี หน้า 126
          ภาพแผนที่เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย หน้า 127
          ภาพแผนที่เทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร หน้า 29
          แผนที่เทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม หน้า 131

ตาราง  
          ตารางสรุปสภาพปัจจุบันและปัญหาของชาวเหวียต เกี่ยว ในการดำเนินชีวิตในภาคอีสาน  หน้า 190 
          ตารางการปรับปรนของชาวเหวียต เกี่ยว ในการดำเนินชีวิตในภาคอีสาน หน้า 197

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG เหวียต, เวียดนาม, อัตลักษณ์, กระบวนการปรับปรน, ภาคอีสาน, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง