สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ชอุง, อูด, ชอง, ข่าสอูด, เขมรดง, กาญจนบุรี
Author อิสระ ชูศรี
Title ชอุง ภาษาพลัดถิ่นจากกัมพูชา ที่กาญจนบุรี
Document Type บทความ Original Language of Text ไทย
Ethnic Identity ซะโอจ ซะอูด, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 8 Year 2558
Source อิสระ ชูศรี.ชอุง ภาษาพลัดถิ่นจากกัมพูชา ที่กาญจนบุรี. หน้า 66-73. ใน วัฒนธรรม ปีที่ 54 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2558. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร
Focus

ที่มาของชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์

Ethnic Group in the Focus

ชอุง ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอสรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  ชาวพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆ เรียกพวกเขาว่า อูด หรือ เขมรดง  ขณะที่ ในพระราชนิพนธ์เสด็จประภาษไทรโยค ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีข้อความที่กล่าวถึง ข่าสอูด ซึ่งน่าจะหมายถึงกลุ่มชาวอูด เช่นเดียวกับในบทความของ ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี ที่กล่าวถึงชาวอูดที่จังหวัดกาญจนบุรี  อย่างไรก็ดี  คำเรียกชื่อ ข่าสอูดนั้น มาจากคำว่าสโอจ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศกัมพูชา  ซึ่งถูกกวาดต้อนมายังประเทศไทยเมื่อครั้งสงครามไทยและเวียดนาม ในสมัยรัชกาลที่ 3 (68-70)

Language and Linguistic Affiliations

ในมิติภาษาศาสตร์นั้นมีความคล้ายคลึงกับภาษาชอง ที่จังหวัดจันทบุรี ในแง่ของคำศัพท์และระบบเสียง และมีความคล้ายคลึงกับภาษาชอุงในประเทศกัมพูชา

History of the Group and Community

ชาวชอุง ที่บ้านนา สันนิษฐานว่าเคลื่อนย้ายมาจากกัมพูชาสมัยสงครามไทย เวียดนามที่มีการกวาดต้อนชาวกัมพูชามาทั้งบางบกและทางเรือ  ยุคนั้น ชาวสโอจ หรือชอุ้งในกัมพูชาไม่ใคร่จะพอใจรูปแบบการปกครองของเขมร จึงมาขอความคุ้มครองจากกองทัพไทยที่ตั้งอยู่ที่เมืองโจดก ในเวียดนามใต้  กระนั้น พวกเขาได้ถูกส่งมายังประเทศไทยโดยทางเรือ ขึ้นบกที่ราชบุรี และถูกโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานทางด้านเหนือตามลำน้ำแควใหญ่ ในจังหวัดกาญจนบุรี (70) 

Economy

พื้นที่ไม่สามารถทำนาได้เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดเอียงเนินเขา และเป็นดินลูกรัง  (68)

Social Organization

มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในชุมชนจัดสรรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวอูดที่บ้านทุ่งนา มีอัตลักษณ์ หรือรูปลักษณ์ภายนอกคล้ายคลึงกับชาวชองที่บ้านมะขาม จังหวัดจันทบุรี (69)

Social Cultural and Identity Change

ชาวชอุงมีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยในการพูดคุยในชีวิตประจำวัน  มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงควบกล้ำในพยัญชนะต้น และเสียงพยัญชนะท้ายคล้ายกับภาษาไทย 

Critic Issues

ปัจจุบัน ภาษาชอุงเหลือน้อย และเสี่ยงจะสูญหาย และยังไม่มีการจดบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการศึกษาต่อในอนาคต 

Map/Illustration

- บ้านของพวกชอุงที่เวียลริญ จังหวัดกไปงโสม ประเทศกัมพูชา (66)
- ครอบครัวชอุงที่กกำปงโสม (69)
- ชายชาวชอุงที่กำปงโสม (70)
- สตรีชาวชอุงบ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี (71)
- ผู้เขียน (ขวาสุด) กับมิตรชาวชอุงที่ใต้ถุนเรือน (72)
- ศาลอารักษ์ บ้านทุ่งนา (73)

Text Analyst ศิราพร ทิพย์รัตน์ Date of Report 22 มี.ค 2565
TAG ชอุง, อูด, ชอง, ข่าสอูด, เขมรดง, กาญจนบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง