สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Infographics

นโยบายการใช้ Infographic ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาติพันธุ์ศึกษา
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาติพันธุ์ศึกษา เป็นการทำข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านชาติพันธุ์ได้ง่ายขึ้น โดยผ่านการนำเสนอข้อมูลแบบ Infographic โครงการฯ ได้เลือกข้อมูลที่เห็นว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานที่น่าสนใจและได้อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัย วิทยานิพนธ์และบทความจากผู้ที่ศึกษาด้านชาติพันธุ์

อย่างไรก็ดี เนื่องจากชาติพันธุ์ศึกษามีความเป็นพลวัต เป็นเรื่องผู้คน สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนอยู่โดยตลอด ดังนั้นผู้ใช้ข้อมูลควรแสวงหาความรู้จากเอกสารอื่นประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพลวัตด้านชาติพันธุ์ศึกษาอย่างรอบด้าน

โครงการฯ ได้กำหนดข้อปฏิบัติในการใช้ข้อมูลตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์(Creative common) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ มีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ โดยหากจะมีการนำข้อมูล Infographic ไปใช้ ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังต่อไปนี้ คือ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง โดยเอกสาร/ข้อมูล ที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

มอแกน
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

มอแกน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกรัฐเรียกรวมกับ อูรักลาโว้ย และมอแกลน ว่า "ชาวเล" ในภาษาอังกฤษจะเรียกชาวมอแกนว่า sea nomads หรือ sea gypsies ซึ่งเป็นการเรียกตามการดำเนินชีวิตแบบเร่ร่อนในทะเล

อ่านรายละเอียด >>

อูรักลาโว้ย
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

อูรักลาโว้ย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกรัฐเรียกรวมกับ มอแกน และมอแกลน ว่า "ชาวเล" อูรักลาโว้ย หมายถึง คนทะเล ซึ่งมาจากคำว่า โอรัง หมายถึง คน และ ละวุ้ย หมายถึง ทะเล

อ่านรายละเอียด >>

มอแกลน
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

มอแกลน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกรัฐเรียกรวมกับ มอแกน และอูรักลาโว้ย ว่า "ชาวเล" มอแกลน กระจายอยู่ในอำเภอต่างๆของจังหวัดพังงา เช่น คุระบุรี อ.ตะกั่วป่า และ อ.ท้ายเหมือง

อ่านรายละเอียด >>

ชาวเล
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

ชาวเล เป็นชื่อเรียกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐเรียก กลุ่มอูรักลาโว้ย มอแกน และมอแกลน รวมไว้ด้วยกัน ทั้ง 3 กลุ่มนี้ มีวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในการหาอยู่หากินกับทะเลที่ใกล้เคียงกัน อาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด คือ ภูเก็ต กระบี่ พงงา สตูลและระนอง

อ่านรายละเอียด >>

ประเพณีการสวมห่วงทองเหลือง จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มกะยันที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

ประเพณีการสวมห่วงทองเหลือง จำกัดอยู่ในกลุ่มกะยันที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ ในอดีตหญิงกะยันสูงอายุบางคน ต้องแบกน้ำหนักห่วงทองเหลืองมากถึง 20- 35 กิโลกรัม แต่หญิงกะยันยุคใหม่ที่ได้รับการศึกษา มองว่าห่วงทองเหลือเป็นพันธนาการทางการเมืองมากกว่าจะเป็นเรื่องศาสนาและความเชื่อ

อ่านรายละเอียด >>

ผู้หญิงกะยัน
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

การใส่ห่วงทองเหลืองของผู้หญิงกะยัน ทำให้หญิงกะยันในห้วยปูแกง จ. แม่ฮ่องสอน เป็นผู้นำรายได้หลักในครอบครัว ด้วยการนั่งให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป ขายผ้าทอมือ และสินค้าต่างๆ ทำให้หลายครอบครัวส่งเสริมให้ลูกสาวหาเงินเข้าครอบครัวด้วยการใส่ห่วงทองเหลือง

อ่านรายละเอียด >>

ผู้ลี้ภัยชาวกะยัน
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

ผู้ลี้ภัยชาวกะยัน ลี้ภัยเข้ามาอยูาในประเทศไทยทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ ปลายปี พ.ศ. 2527 ด้วยเหตุผลหลัก 5 ประการ ได้แก่ 1. หนีการกวาดล้างของทหารพม่า 2.นโยบายการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. กะยันชักชวนกันเข้ามาเอง 4. เข้ามาหาที่ทำกินใหม่ 5. ลี้ภัยการเมือง

อ่านรายละเอียด >>

ที่มาของคำว่า กะเหรี่ยง
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

คำเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ "กะเหรี่ยง" มีการเรียกชื่อจากหลากหลายภาษาและจากหลากหลายกลุ่มชน คำว่า karen เป็นคำในภาษาอังกฤษ ได้มาจากชื่อเรียกกะเหรี่ยงเป็นภาษาพม่าว่า kayin มีข้อสังเกตว่าชื่อ kayin ในภาษาพม่าแตกแขนงมาจากรากศัพท์ yine มีความหมายว่า ป่าเถื่อน ดุร้าย หรือ yin หรือ yen มีความหมายว่า ก่อน หรือ อันดับแรก

อ่านรายละเอียด >>

กลุ่มคนที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงในประเทศไทย หมายถึง 4 กลุ่มชน
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

กะเหรี่ยงในประเทศไทย หมายถึง กลุ่มชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ปกาเกอญอ หรือสกอ จกอ 2. โพล่ง โผล่ง โพล่ว โปว์ 3. ปะโอ หรือ ตองสู 4. กะยา

อ่านรายละเอียด >>

ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์กี่กลุ่ม
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ในทางมานุษยวิทยามีแนวทางในการจำแนกกว้างๆ 2 แนวทาง คือ การจำแนกด้วยชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่าประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ไม่น้อยกว่า 62 กลุ่ม และแนวทางการจำแนกตามแนวทางภาษาศาสตร์ พบว่า ในประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ มากกว่า 70 กลุ่ม

อ่านรายละเอียด >>

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง