สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Infographics

นโยบายการใช้ Infographic ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาติพันธุ์ศึกษา
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาติพันธุ์ศึกษา เป็นการทำข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านชาติพันธุ์ได้ง่ายขึ้น โดยผ่านการนำเสนอข้อมูลแบบ Infographic โครงการฯ ได้เลือกข้อมูลที่เห็นว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานที่น่าสนใจและได้อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัย วิทยานิพนธ์และบทความจากผู้ที่ศึกษาด้านชาติพันธุ์

อย่างไรก็ดี เนื่องจากชาติพันธุ์ศึกษามีความเป็นพลวัต เป็นเรื่องผู้คน สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนอยู่โดยตลอด ดังนั้นผู้ใช้ข้อมูลควรแสวงหาความรู้จากเอกสารอื่นประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพลวัตด้านชาติพันธุ์ศึกษาอย่างรอบด้าน

โครงการฯ ได้กำหนดข้อปฏิบัติในการใช้ข้อมูลตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์(Creative common) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ มีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ โดยหากจะมีการนำข้อมูล Infographic ไปใช้ ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังต่อไปนี้ คือ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง โดยเอกสาร/ข้อมูล ที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

ภูมิปัญญาสุขภาพกับชาติพันธุ์
โพสต์เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560

สุขภาพและความเจ็บป่วย มีการให้ความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มสังคม โดยประกอบขึ้นจาก 4 ปัจจัย 1.องค์ความรู้ 2.ปัจเจกบุคคล 3.สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม 4.ระบบบริการสุขภาพ

อ่านรายละเอียด >>

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : สถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลง
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : สถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลักดังนี้ 1.สถานการณ์ ปัญหา ความเปลี่ยนแปลง 2.การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่าย

อ่านรายละเอียด >>

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : วรรณกรรม ศิลปะการแสดง
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : วรรณกรรม ศิลปะการแสดง โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1.วรรณกรรม 2.ดนตรีและศิลปะการแสดง

อ่านรายละเอียด >>

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม โดยแบ่งออกเป็น 7 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1.การก่อตัวของศาสนาและความเชื่อ 2.วิวัฒนาการทางศาสนา 3.การเผยแพร่ศาสนา 4.การรับอิทธิพลทางศาสนาและการปรับตัวทางวัฒนธรรม 5.ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ 6.ประเพณี 7.พิธีกรรม

อ่านรายละเอียด >>

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : เศรษฐกิจ
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : การเมืองและการปกครอง โดยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1.การประกอบอาชีพ 2.ที่ดิน แรงงาน ผลผลิต 3.พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง 4.เศรษฐกิจกับการท่องเที่ยว

อ่านรายละเอียด >>

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : การเมืองและการปกครอง
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : การเมืองและการปกครอง โดยแบ่งออกเป็น 6 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1.ประวัติความเป็นมาและการตั้งถิ่นฐาน 2.ประวัติการปกครองของกลุ่มชาติพันธุ์ 3.การอพยพเข้ามาในประเทศไทย 4.การจัดระเบียบชั้นทางสังคม 5.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 6.ความขัดแย้ง ความร่วมมือ การแข่งขัน

อ่านรายละเอียด >>

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : สังคมและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

ประเด็นงานวิจัยทางชาติพันธุ์ : สังคมและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1.อัตลักษณ์และตัวตน 2.สภาพแวดล้อมทางสังคม 3.ครอบครัวและระบบเครือญาติ

อ่านรายละเอียด >>

สถิติจำนวนงานวิจัยทางชาติพันธุ์
โพสต์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559

สถิติจำนวนงานวิจัยที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้ตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

อ่านรายละเอียด >>

มโนทัศน์ กลุ่มชาติพันธุ์ หลังจากทศวรรษ 1947
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

หลังจากทศวรรษของ 2490 เป็นต้นมา มโนทัศน์ “กลุ่มชาติพันธุ์” ได้แพร่หลายในสาขาชาติพันธุ์วิทยาหรือมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม และสาขาวิชาอื่นๆ ในสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยา จิตวิทยา และรัฐศาสตร์ (Zenner 1996:303) จากข้อสังเกตของ Zenner (1996) มโนทัศน์อื่นๆ ที่ได้เคยใช้กันก็ยังมีใช้อยู่ควบคู่กันไป แต่ใช้กันน้อยลงด้วยเหตุผลต่างๆ อย่างเช่น คำว่า “เผ่าพันธุ์” (tribe) กลายเป็นคำที่มีนัยยะของการไร้อารยธรรม และสะท้อนอคติแบบจักรวรรดินิยมตะวันตก เพราะคำว่า “tribe” มาจากคำว่า “tribu” ซึ่งหมายถึง คนป่าเถื่อนที่อยู่นอกอาณาจักรแห่งอารยธรรม ส่วนคำว่า “ethnic group” หรือกลุ่มชาติพันธุ์ จะมีความหมายที่เป็นกลางมากกว่ากล่าวคือ ไม่ได้บ่งบอกประเภทหรือระดับคุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่เหนือกว่าหรือต่ำกว่า เพียงแต่บ่งบอกว่าเป็นกลุ่มชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในระยะแรกการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์เป็นการจำแนกโดยนักมานุษยวิทยาหรือนักภาษาศาสตร์ เช่น ในงาน “Ethnic Groups of Mainland Southeast Asia” ของ LeBar, Hickey and Musgrave (1960) ที่จำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกณฑ์ความแตกต่างและความสัมพันธ์ทางภาษา

อ่านรายละเอียด >>

มโนทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์ 1
โพสต์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556

มโนทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) เป็นมโนทัศน์สำคัญมโนทัศน์หนึ่งที่นักมานุษยวิทยาใช้ในการจำแนกกลุ่มชนต่างๆซึ่งแพร่หลายในสาขาวิชามานุษยวิทยาตั้งแต่ทศวรรษของ 2490 เป็นต้นมา ก่อนหน้านี้นักมานุษยวิทยาให้ความสำคัญกับการจำแนกแบบแผนพฤติกรรมมนุษย์หรือที่นักมานุษยวิทยาเรียกว่า “วัฒนธรรม” มากกว่าการจำแนกตัวกลุ่มชนเอง นักมานุษยวิทยาบางกลุ่มในอังกฤษเริ่มให้ความสนใจในการจำแนกประเภทกลุ่มชน อย่างเช่น การใช้มโนทัศน์ “tribe” (แปลว่าเผ่าพันธุ์ หรือชนเผ่าในภาษาไทย) และตามมาด้วยการใช้มโนทัศน์อื่นๆ โดยนักมานุษยวิทยาอเมริกัน อย่างเช่น “band” (แปลว่า “กลุ่มชนเร่ร่อน”ในภาษาไทย) หรือ “peasant” (แปลว่า “ชาวนาชาวไร่” ในภาษาไทย) เพื่อให้เห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนในเชิงวิวัฒนาการ

อ่านรายละเอียด >>

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง