สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยวน ตนเมือง ไทยวน ,พิธีกรรมเข้าทรง,พ่อผีพญาสี่เขี้ยว,บ้านสีคิ้ว,นครราชสีมา
Author สุดาพร หงษ์นคร
Title ประเพณีพิธีกรรมการเข้าทรงพ่อพญาสี่เขี้ยวของชาวไทยยวนบ้านสีคิ้ว ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 344 Year 2539
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษาเน้นมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ไทยยวนสีคิ้วเป็นกลุ่มไทยยวนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานการอพยพเคลื่อนย้ายนั้นไม่ปรากฏ มีเพียงคำบอกเล่าจากร่างทรงพ่อพญาสี่เขี้ยวเท่านั้น พ่อพญาสี่เขี้ยวมีฐานะเป็นเสื้อบ้านเสื้อเมือง ผีบรรพบุรุษที่ไทยยวนสีคิ้วเคารพนับถือร่วมกัน พิธีกรรมการเข้าทรงของพ่อพญาสี่เขี้ยวเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษกับพุทธศาสนา พิธีกรรมดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตไทยยวนสีคิ้ว พิธีกรรมที่หน้าที่และบทบาทในสังคมไทยยวนสีคิ้ว เช่นการควบคุมคนในสังคมให้ประพฤติดี อยู่ในกรอบศีลธรรม ควบคุมคนผ่านพ่อพญาสี่เขี้ยวในฐานะเสื้อบ้านเสื้อเมืองที่ปกครองลูกบ้านหลานเมืองอย่างพ่อปกครองลูก ในขณะเดียวกันความเชื่อดังกล่าวยังเป็นเครื่องยึดโยงคนในสังคมไทยยวนสีคิ้วให้เกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีรากทางประวัติศาสตร์เช่นกัน ด้วยความสำคัญหลายประการของพ่อพญาสี่เขี้ยว ไทยยวนสีคิ้วจึงจัดงานเลี้ยงพ่อพญาสี่เขี้ยวขึ้นทุกปีช่วงวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 มีการเซ่นสังเวย การเฉลิมฉลองและการแสดงมากมายที่บ่งบอกความเป็นไทยยวนสีคิ้ว เช่น การฟ้อนรำ ฟ้อนดาบ ด้วยเหตุนี้การเข้าทรงพ่อผีพญาสี่เขี้ยวซึ่งเป็นพิธีกรรมทางความเชื่อจึงมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของไทยยวนสีคิ้วสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน

Focus

เน้นการศึกษาองค์ประกอบ ขั้นตอน ประเพณีพิธีกรรมการเข้าทรงพ่อผีพญาสี่เขี้ยวของไทยยวนบ้านสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีพิธีกรรม การทรงเจ้าเข้าผีกับวิถีชีวิตของไทยยวนบ้านสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (หน้า 7, 8 )

Theoretical Issues

ผู้เขียนวิเคราะห์ให้เห็นบทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมเข้าทรงพ่อผีพญาสี่เขี้ยวว่ามีหน้าที่ควบคุมสมาชิกในสังคมให้อยู่ในศีลธรรม และเป็นกลไกในการสร้างความสมานฉันท์ของกลุ่ม (ดู Abstract ประกอบ)

Ethnic Group in the Focus

ไทยยวนบ้านสีคิ้ว หมายถึง คนไทยโยนกหรือไทยล้านนา ในภาคเหนือของประเทศไทย แต่ด้วยเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองในยุคสมัยแห่งอดีตกาล จึงได้ปรากฏว่ามีไทยยวนตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกันที่บ้านสีคิ้ว ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และผู้คนกลุ่มนี้ยังคงเรียกตนเองว่า "คนยวน" จนปัจจุบัน (หน้า 10, 11, 84, 85)

Language and Linguistic Affiliations

ไทยยวนสื่อสารกันด้วยภาษาไทยยวนที่มีสำเนียงพูดห้วนกว่าทางเชียงใหม่ ไทยยวนบ้านสีคิ้วสำเนียงการพูดของตนเรียกว่า "ฟู่ยวน" ที่หมายถึงการพูดยวน ขณะเดียวกันภาษาไทยยวนของไทยยวนบ้านสีคิ้วจะมีบางคำที่รับมาจากภาษาไทยอีสาน ภาษาไทยโคราชและภาษาไทยภาคกลางเข้ามาปะปนมาก จนทำให้คำภาษาไทยยวนพื้นเมืองหลายคำตายไป (หน้า 85, 106)

Study Period (Data Collection)

เดือนมีนาคม พ.ศ.2537 เป็นต้นมา (หน้า 8)

History of the Group and Community

ผู้เขียนได้อ้างงานศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาของสรัสวดี อ๋องสกุล ว่าดินแดนล้านนาในปัจจุบันหมายถึง บริเวณ 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ที่มีประชากรคนพื้นเมืองเป็น "คนยวน" หรือ "โยนก" แต่เหตุแห่งการสงครามในสมัยก่อน เมื่อโจมตีบ้านเมืองได้จะมีการกวาดต้อนไพร่พลของข้าศึกมายังดินแดนของตนเพื่อเป็นกำลังพลทั้งทางด้านการปกครอง และเศรษฐกิจ จากหลักฐานจารึกพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ระบุถึงรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เสวยราชสมบัติครั้งที่ 2 ได้มีการยกไปตีเมืองเชียงใหม่ และกวาดต้อนลาว (ครอบครัวไทยยวน) ลงมาพระนครเป็นจำนวนมาก โดยคำว่า "ลาว" ในทัศนะของคนภาคกลางหมายถึงคนไทยในภาคเหนือตลอดจนชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ ในภาคเหนือ เช่น ไทยลื้อ ไทยยอง ฯลฯ บรรดาพวกไทยยวนถูกกวาดต้อนอพยพไปทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จันทบุรี) ก็ได้ผสมสืบเผ่าพันธุ์กับชาวพื้นเมืองสืบเชื้อสายมาจนทุกวันนี้ สงครามการสู้รบทำให้พวกไทยยวนถูกกวาดต้อนอพยพบ่อยครั้งกระจายอยู่ที่ต่าง ๆ นอกดินแดนล้านนา รวมทั้งไทยยวนบ้านสีคิ้ว ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงหรือสนับสนุนได้ว่าคนไทยยวนบ้านสีคิ้วมาจากไหน มาตั้งหลักแหล่ง ณ ที่ปัจจุบันได้อย่างไร แต่จากการสอบถามผู้อาวุโสหลายท่านได้คำตอบตรงกันว่า ตั้งมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย และบางท่านยังกล่าวว่าไทยยวนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มากับพ่อพญาสี่เขี้ยว จากล้านนานานมาแล้วจนไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ (หน้า 77, 78, 85)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานจะตั้งตามแนวขนานของสายน้ำลำตะคอง ในแนวตะวันตกสู่ตะวันออก หมู่บ้านทางตะวันตกเรียกว่า "บ้านใต้" หมู่บ้านทางตะวันออกเรียกว่า "บ้านเหนือ" ส่วนอีกฝั่งของลำตะคองเป็นพื้นที่นา ซึ่งชาวบ้านจะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มจัดพื้นที่รอบชุมชนเป็นพื้นที่ทางการเกษตร การติดต่อกันระหว่างบ้านเหนือและบ้านใต้จะผ่านเส้นทางคมนาคมและการแต่งงานระหว่างสองบ้าน อาชีพที่ชาวบ้านยังชีพคือการทำไร่ทำนาเป็นหลัก เมื่อถึงฤดูทำนาก็จะออกไปปลูกกระท่อมที่ปลายนาอาศัยตลอดฤดูกาลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว เมื่อต้องเดินทางไปกลับทุกวัน บ่อยครั้งจึงได้ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งถาวรอยู่ที่ทุ่งนา ต่อมาเมื่อเพิ่มจำนวนบ้านเรือนมากขึ้นกลายเป็นหมู่บ้านคือ บ้านโนนกุ่ม และบ้านถนนคด (หน้า 85, 86) (ลักษณะบ้านเรือนดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

ไทยยวนสีคิ้วนิยมอยู่รวมกันเป็นสังคมใหญ่ เมื่อหมู่บ้านขยายตัวมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นมีประชากรมากขึ้น จึงมีไทยยวนกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว แต่บริเวณที่ไทยยวนสีคิ้วอยู่กันมากที่สุดมีดังนี้ - หมู่ที่ 2 บ้านใต้ 188 หลังคาเรือน ประชากรรวม 788 คน (ชาย 345 คน หญิง 443 คน) - หมู่ที่ 4 บ้านเหนือ 246 หลังคาเรือน ประชากรรวม 1,131 คน (ชาย 488 คน หญิง 643 คน) - หมู่ที่ 5 บ้านสีคิ้ว 125 หลังคาเรือน ประชากรรวม 572 คน (ชาย 248 คน หญิง 324 คน) - หมู่ที่ 6 บ้านโนนกุ่ม 353 หลังคาเรือน ประชากรรวม 1,164 คน (ชาย 570 คน หญิง 594 คน) - หมู่ที่ 9 บ้านกลาง 108 หลังคาเรือน ประชากรรวม 498 คน (ชาย 230 คน หญิง 268 คน) - หมู่ที่ 11 บ้านถนนคด 96 หลังคาเรือน ประชากรรวม 443 คน (ชาย 213 คน หญิง 230 คน) (หน้า 92)

Economy

ไทยยวนบ้านสีคิ้วยึดอาชีพการทำไร่ทำนาเป็นหลักและนิยมปลูกพืชผักสวนครัว ทำสวนผลไม้พื้นบ้านนานาชนิดไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน หรือใช้แลกเปลี่ยนกันในชุมชน การทำนานิยมทำเพียงครั้งเดียวตามฤดูกาล โดยเริ่มต้นฤดูกาลเมื่อพิธีการเลี้ยงพ่อพญาสี่เขี้ยวประจำปีผ่านไป แต่ก่อนที่ชาวนาจะเริ่มลงมือหว่านกล้า ชาวนาจะต้องไปทำระหัดวิดน้ำเข้านา โดยทำฝายกั้นน้ำลำตะคอง เปิดให้น้ำไหลได้ช่องทางเดียว ปล่อยน้ำขังในนาเป็นอาทิตย์ แล้วจึงปรับพื้นที่เพื่อหว่านกล้า ส่วนที่เหลือเตรียมไถดะ ไถแปรปลูกข้าวต่อไป พอดำนาเสร็จจะเริ่มลงมือปลูกพืชไร่ประเภทถั่วลิสง มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคภายในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ไก่ เพื่อขาย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณบ้านสีคิ้วเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสีคิ้วและสถานที่สำคัญทางราชการหลายแห่ง ทำให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเจริญเติบโต มีทั้งตลาดสดและร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งเป็นจำนวนมาก (หน้า 86, 91, 94, 96)

Social Organization

เดิมไทยยวนสีคิ้วนิยมอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่อันประกอบไปด้วย พ่อแม่ลูกและเครือญาติที่อยู่ร่วมกันในชายคาเดียว แต่ปัจจุบันนิยมแยกเป็นครอบครัวเดี่ยว มีเพียงพ่อแม่ลูก ซึ่งปลูกบ้านในที่ดินผืนเดียวกับบ้านพ่อแม่ ดังนั้นความสัมพันธ์ภายในครอบครัวจึงเป็นความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ ที่ได้จากการแต่งงานกันของคนสองตระกูล มีการเคารพกันตามความอาวุโส และการเรียงลำดับญาติซึ่งบ่งบอกถึงความสำคัญและฐานะของบุคคลนั้น ๆ เมื่อหนุ่มสาวเข้าสู่วัยอันสมควรแก่การมีครอบครัว ฝ่ายชายจะไปแอ่วสาว อันเป็นประเพณีของไทยยวนที่บิดามารดาของฝ่ายหญิงจะให้เสรีภาพในการเลือกคู่ครองแก่ลูกสาว การแอ่วสาวนั้นจะไม่ไปแต่หัวค่ำเพราะอาจเป็นการรบกวนเจ้าของบ้าน โดยการแอ่วสาวนั้นฝ่ายชายจะไม่มีการล่วงเกินฝ่ายหญิงใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าถูกเนื้อต้องตัวถือว่า "ผิดผี" จะต้อง "เสียผี" ตามประเพณี ถ้าหนุ่มทำผิดผีแล้วสาวยินดีแต่งงานด้วยเรียกว่า "ใส่เอา" ถ้าสาวไม่ยินดีแต่งงานด้วยเรียกว่า "ใส่ไม่เอา" เมื่อใส่เอาแล้วจะประกอบพิธีแต่งงาน ฝ่ายเจ้าสาวจะเตรียมข้าวปลาอาหารรับแขก ฝ่ายชายจะเตรียมขันหมากอันประกอบไปด้วย ดาบ 1 เล่ม ขันหมาก 1 ชุด หีบไม้ 1 ใบ ผ้าห่มใหญ่ 1 ผืน และเงินใสผีตามที่ตกลงไว้ หลังจากมีครอบครัวและมีลูกแล้ว เมื่อลูกโตเป็นวัยรุ่นจะช่วยเหลืองานทางครอบครัว ลูกชายจะติดตามพ่อไปดูแลไร่นา ส่วนลูกสาวจะฝึกทอผ้าประเภทต่าง ๆ และเมื่อลูกชายมีอายุครบบวชเรียนจะต้องบวชเรียนก่อนมีครอบครัว โดยไทยยวนสีคิ้วจะถือว่าการบวชเรียนลูกชายเป็นอานิสงส์สูงสุดในชีวิต ชายผ้าเหลืองจะส่งให้ดวงวิญญาณของบุพการีไปสู่สวรรค์ ในขณะเดียวกันความเชื่อในพ่อพญาสี่เขี้ยวก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของไทยยวนสีคิ้ว ชาวบ้านเกิดการรวมตัวเกิดความสามัคคีภายใต้ความเชื่อเรื่องเดียวกัน การเข้าทรงการทำนาย พิธีกรรมต่าง ๆ ภายใต้ความเชื่อพ่อพญาสี่เขี้ยวทำให้ชาวบ้านประพฤติดีอยู่ในกรอบศีลธรรมเป็นการจัดระเบียบสังคมทางหนึ่ง (หน้า 94, 96-97, 99)

Political Organization

กลุ่มไทยยวนส่วนใหญ่จะรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเดียวกันในตำบลสีคิ้ว ซึ่งมี 15 หมู่บ้าน มีไทยยวนอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านใต้หมู่ที่ 2 บ้านเหนือหมู่ที่ 4 บ้านสีคิ้วหมู่ที่ 5 บ้านโนนกุ่มหมู่ที่ 6 บ้านกลางหมู่ที่ 9 บ้านถนนคดหมู่ที่ 11 แต่ละหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขและประสานงานระหว่างอำเภอกับชุมชน ยกเว้นหมู่ที่ 2 ไม่มีผู้ใหญ่บ้านเพราะเป็นที่ตั้งของที่ทำการกำนันตำบลสีคิ้ว ดังนั้น กำนันจึงทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 อีกตำแหน่ง นอกจากการปกครองอันมาจากระบบการปกครองจากส่วนกลางแล้ว การปกครองที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อก็มีบทบาทสำคัญในหมู่บ้าน ความเชื่อเรื่องพ่อพญาสี่เขี้ยวมีหน้าที่บทบาทในการควบคุมความประพฤติของคนในชุมชน พ่อพญาสี่เขี้ยวในฐานะเสื้อบ้านเสื้อเมืองเปรียบเสมือนผู้ปกครองภายใต้ระบบพ่อปกครองลูก ที่จะดูแลลูกบ้านหลานเมืองทุกเรื่องให้ทำสิ่งที่ถูกที่ควร ผ่านพิธีกรรมการทรงเจ้าเข้าผี ผ่านระบบความคิดการปกครองเมืองสี่เขี้ยวที่มีพ่อพญาสี่เขี้ยวเป็นผู้ปกครอง (หน้า 93-94, 344)

Belief System

ไทยยวนบ้านสีคิ้วมีความเชื่อในพุทธศาสนาทุกหมู่บ้าน จะมีวัดเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้านในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเชื่อในเรื่องผีสางเทวดา เคารพในเรื่องผีบรรพบุรุษ ทั้งผีบรรพบุรุษที่สืบทอดโดยสายเลือด และผีบรรพบุรุษผู้นำกลุ่มชน คือพ่อพญาสี่เขี้ยว ซึ่งมีฐานะเป็นเสื้อบ้านเสื้อเมือง พ่อพญาสี่เขี้ยวเป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ เป็นร่างเทพสามารถสถิตอยู่ได้ใน 32 ชั้นฟ้า 35 ชั้นดิน สามารถดลบันดาลให้ผู้บนบานศาลกล่าวประสบผลสำเร็จตามปรารถนา พระองค์แยกร่างออกเป็น 4 องค์คือ - องค์พญาร่มแก้ว อายุ 1,000 ปี รักษาเมืองทางทิศเหนือ (ศาลหัวบึง) - องค์พญาร่มเขียว อายุ 1,500 ปี รักษาเมืองทางทิศใต้ (ศาลบ้านโนนกุ่ม) - องค์พญาร่มขาว อายุ 1,200 ปี รักษาเมืองทางทิศตะวันออก (ศาลบ้านบุ่งลำใย) - องค์พญาแสนคำรามสิริชัยโย อายุ 2,600 ปี รักษาเมืองทางทิศตะวนตก (ศาลพ่อพญาสี่เขี้ยว) ทั้งนี้ เรื่องความเชื่อของไทยยวนสีคิ้วมีอยู่ 2 ระดับ คือระดับแรกเป็นการนับถือผีระดับบ้าน เนื่องจากเชื่อว่าเมื่อบุคคลในบ้านตายไปแล้ววิญญาณจะวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองทุกคนในบ้าน ชาวบ้านจะ "ตานขันข้าว" คือการนำอาหารหวานคาวจัดลงสำรับถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นิยมตานขันข้าวในทุกๆ วันสำคัญทางศาสนา ผีบรรพบุรุษในระดับบ้านเรียกว่า "ผีปู่ย่า" ผู้ที่อยู่ร่วมวงศ์ตระกูลเดียวกันจะจัดพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าร่วมกันในช่วงระหว่างเดือน 6 ของทุกปี ระดับที่สองเป็นการนับถือระดับเมืองผีบรรพบุรุษบ้านเมืองของไทยยวนสีคิ้วคือ "พ่อพญาสี่เขี้ยว" หรือดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของ "เจ้าพญาแสนคำรามสิริชัยโย" เจ้าเมืองเชียงแสนเมื่ออดีตกาลที่ไทยยวนบ้านสีคิ้วเชื่อว่าพระองค์ท่านทรงเป็นผู้นำลูกบ้านหลานเมืองจากเชียงแสนมาตั้งรกรากที่บ้านสีคิ้วในปัจจุบัน พ่อพญาสี่เขี้ยวดำรงสภาวะเป็นกายทิพย์ อันเนื่องจากการสั่งสมบารมีในภพวิญญาณหลายชั่วกัป หลายชั่วกัลป์ เมื่อถึงวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี พระองค์จะเสด็จลงมาร่วมงานเลี้ยงพ่อพญาสี่เขี้ยวประจำปี ที่บริเวณสี่แยกตลาดสดอำเภอสีคิ้ว ในภาคเช้าจะมีการจัดเครื่องเซ่นสังเวย แล้วเชิญพ่อพญาสี่เขี้ยวประทับทรงรับเครื่องสังเวย พร้อมทั้งทำนายเหตุการณ์บ้านเมือง ส่วนในภาคค่ำมีพิธีสวดมนต์และก่อพระทราย ในการติดต่อสื่อสารกับมนุษย์พระองค์จะทำผ่านร่างทรง ผู้ที่จะเป็นร่างทรงต้องเป็นผู้ที่ผีหรือจิตวิญญาณเลือกเอง โดยเลือกจากผู้คนในท้องถิ่นที่เคยมีกรรมผูกพันกันมาเมื่ออดีตชาติ ถ้าร่างทรงคนไหนปฏิบัติดีก็จะอยู่จนผู้นั้นสิ้นอายุขัย ถ้าหากปฏิบัติไม่ดำไม่เหมาะสมก็จะไม่อยู่ด้วย ร่างทรงของพ่อพญาสี่เขี้ยวมีทั้งหมด 7 คน ร่างทรงปัจจุบันคนที่ 7 ชื่อนางประทวน แกตขุนขาด คนที่เป็นร่างทรงนั้นต้องรักษาศีล เช่น ห้ามหลีกเลี่ยงเมื่อลูกบ้านหลานเมืองมาขอ ห้ามหลีกเลี่ยงเมื่อลูกบ้านหลานเมืองมาขอความช่วยเหลือ ห้ามกินอาหารที่บ้านงานศพ ห้ามกินไข่ ต้องถือปฏิบัติธรรม ให้จัดตั้งสักการะบูชาครูให้สวยงาม ปัจจุบันพ่อพญาสี่เขี้ยวลงประทับทรงทุกวันที่ลูกบ้านหลานเมืองมาหา ยกเว้นวันพระวันเดียว เพราะในวันพระดวงวิญญาณพ่อพญาสี่เขี้ยวต้องไปปฏิบัติธรรม การสักการะหรือบนบานนั้นต้องสักการะด้วย ดอกไม้ขาว เทียน 1 คู่ และธูป 9 ดอก และเมื่อสัมฤทธิ์ผลตามที่บนบานไว้ต้องรีบมาแก้บน เพราะพ่อพญาสี่เขี้ยวจะพูดเสมอว่าเป็นคนต้องมีสัจจะ โดยในการเข้าทรงนั้นเมื่อดวงวิญญาณพระองค์ประทับร่างทรงแล้วจะทักทายด้วย "คำยวน" หรือที่ไทยยวนสีคิ้วเรียกว่า "ฟู่ยวน" พระองค์พูดภาษาไทยได้บ้างแต่จะมีภาษาไทยเหนือแทรกตลอด จึงทำให้ลูกบ้านหลานเมืองรู้สึกเป็นกันเองสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจ ทำให้เกิดความผูกพันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวที่ชาวบ้านเคารพอยู่เสมอ (หน้า 88, 135-136, 139 -144, 156, 276)

Education and Socialization

ลูกหลานในหมู่บ้านสีคิ้วนิยมเรียนที่โรงเรียนไทยวัฒนาประชารัฐ ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และโรงเรียนมงคลกุลวิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนแห่งแรกของบ้านสีคิ้ว ที่จัดสอนในระดับประถมศึกษา เด็ก ๆ ที่บ้านโนนกุ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านโนนกุ่มและเด็ก ๆ บ้านถนนคดเรียนที่โรงเรียนบ้านถนนคด ส่วนในระดับมัธยมศึกษาจะมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนบ้านสีคิ้ว "สวัสดิ์ผดุงวิทยา" หรือโรงเรียนมัธยมศึกษาใกล้บ้าน จนกระทั่งจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ ปีที่ 6 แล้วจึงเข้าไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาในตัวจังหวัดนครราชสีมา (หน้า 93)

Health and Medicine

บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านสีคิ้วมีสถานบริการทางด้านสาธารณสุขทั้งของรัฐและเอกชนอย่างทั่วถึง มีโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง 1 แห่ง สถานีอนามัยอำเภอ 1 แห่ง คลีนิคแพทย์เอกชน 1 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 10 แห่ง ร้านขายยาแผนโบราณ 1 แห่ง นอกจากการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการรักษาด้วยการแพทย์แผนโบราณผ่านความเชื่อ โดยพ่อพญาสี่เขี้ยว ซึ่งจะรักษาโรคเช่นโรคปวดตามข้อต่างๆ ปวดขา ปวดท้อง เป็นต้น การให้บริการเริ่มขึ้นเมื่อผู้มารับบริการยกขัน 5 ถวายพ่อพญาสี่เขี้ยว แล้วพ่อพญาสี่เขี้ยวกล่าวถวายขัน 5 สักการะครูบาอาจารย์ จากนั้นให้ผู้ป่วย ยื่นมือให้ดู พระองค์จะวินิจฉัยโรคจากการตรวจเส้นลายมือ เช่น โรคปวดท้อง วิธีการรักษาเริ่มจากใช้มือกดเบาๆ เป่า 3 ครั้ง ทำการถูนวดบริเวณท้องผู้ป่วย พร้อมกับพร่ำเป่ามนต์คาถาเป็นระยะ ๆ แล้วเอาเทียนจุ่มลงไปในน้ำปูน นำมาขีดเขียนลงที่ท้องพร้อมพร่ำคาถา อมน้ำปูนเป่าลงบริเวณท้อง 3 ครั้ง เอาหมากพลูบุหรี่รวมกันในมือวนไปมาบนตัวผู้ป่วยตั้งแต่หัวจรดเท้า ปากพร่ำเรียกให้ผีร้ายออกไปจากร่าง ให้ผีร้ายมารับเครื่องเซ่น จากนั้นให้ญาติผู้ป่วยเอาเครื่องเซ่นไปวางไว้ข้างทางแพร่ง ต่อมาทำน้ำทิพย์ (น้ำมนต์) ให้ผู้ป่วยดื่ม (หน้า 93, 225)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เรือนไทยยวนหรือเรือนกาแล เป็นบ้านเรือนทรงไทยหลังคาแหลมแบบทรงจั่วแต่มีความลาดเอียงน้อยกว่า มีกาแลติดบนยอดหลังคา ตัวเรือนเป็นทรงสูงสร้างด้วยไม้ฝาเรือนเป็นฝาปะกน บ้านทรงไทยยวนนิยมตั้งเสาเรือนและตัวบ้านเป็นทรงตรง บ้านแต่ละหลังจะมีชานเป็นตัวเชื่อม บันไดสร้างยื่นออกไปจากตัวบ้านเป็นบันไดถาวรมีหลังคาคลุม ในส่วนการแต่งกายนั้น ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่นยวนแล้วใช้ผ้าแพรคาดอก ต่อมาเปลี่ยนเป็นเสื้อคอกลม แขนกระบอกตามสมัยนิยม ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งกางเกง "ลดป๊ก" ขายาว (ทางล้านนาเรียกว่า เตี่ยวสะตอ) และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนยาวมีผ้าสไบพาดไหล่ เรื่องอาหารนั้นไทยยวนสีคิ้วจะปรุงอาหารโดยใช้พืชผักที่ขึ้นในท้องถิ่น เช่น ยำเตา (ยำเทา - เทาเป็นตะไคร้นำจืดชนิดหนึ่ง) แกงบะหอย (หอยจูบ) ลาบจิ๊น (ลาบเนื้อ) (หน้า 89, 102, 104)

Folklore

ตำนานเกี่ยวกับพ่อพญาสี่เขี้ยวนั้นได้มาจากการบอกเล่าจากดวงวิญญาณพ่อพญาสี่เขี้ยวที่ประทับร่างทรง เล่าว่า พ่อพญาสี่เขี้ยวเป็นเจ้าเมืองเชียงแสนในอดีตเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ในสมัยที่ยังไม่มีการรวมเป็นอาณาจักร "โยนกนครไชยศรีราชธานีศรีช้างแสน" พระองค์ประสูตเมื่อ จ.ศ.23 สวรรคตเมื่อ จ.ศ.115 พระบิดามีเชื้อสายยักษ์ พระมารดามีเชื้อสายนาคราช ในยุคสมัยนั้นเชียงแสนเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อุดมสมบูรณ์ ปกครองโดยพ่อปกครองลูก ต่อมาเกิดสงครามจากการโจมตีของฝรั่งเศส ทำให้บ้านเมืองแตกพ่าย เจ้าฟ้าทัตตาเทวัญ (พ่อพญาสี่เขี้ยว) จึงพาลูกบ้านหลานเมืองอพยพเดินทางหาที่ตั้งหลักแหล่งใหม่ จนกระทั่งมาเจอที่ปัจจุบันบริเวณริมลำตะคอง ต่อมาพระองค์นิมิตถึงพระอินทร์ พระองค์จึงรักษาเพศพรหมจรรย์แต่เกิดความต้องการเสวยเนื้อสัตว์อย่างมาก ระหว่างทางกลับเมืองเห็นหนุ่มสาวคู่หนึ่ง พระองค์จึงสั่งให้จับนำมาเสวย เมื่อเสวยเนื้อมนุษย์เข้าไปพระองค์กลายร่างเป็นยักษ์จนประชาชนหวาดกลัว หาทางจัดการจนเมื่อจัดการสำเร็จกลายร่างเป็นเจ้าฟ้าทัตตาเทวัญ เมื่อประชาชนเห็นเข้าเกิดเสียใจ จัดการฝังพระศพและถวายนามว่า "เจ้าพญาแสนคำรามสิริชัยโย" แต่เนื่องจากตอนเป็นยักษ์มีเขี้ยวงอก ชาวบ้านจึงเรียกว่า "พ่อพญาสี่เขี้ยว" จนทุกวันนี้ (หน้า 127-129, 132)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทยยวนสีคิ้วจะเรียกตัวเองว่า "คนยวน" ไม่เรียกว่า "คนเมือง" เหมือนทางเชียงใหม่ ในขณะเดียวกันพิธีทรงเจ้าเข้าผีของดวงวิญญาณพ่อพญาสี่เขี้ยว เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ตอกย้ำความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวนสีคิ้วที่มีความผูกพันกับพ่อพญาสี่เขี้ยว ในฐานะเสื้อบ้านเสื้อเมือง งานพิธีกรรมดังกล่าวเป็นการแสดงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวนสีคิ้ว ที่มีจุดร่วมทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน ความรู้สึกร่วมกัน บ่งบอกอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ยังคงดำรงอยู่ผ่านพิธีกรรมการทรงเจ้าเข้าผีพ่อพญาสี่เขี้ยว (หน้า 85, 293, 294)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ภาคอีสาน (หน้า 53) แผนที่จังหวัดนครราชสีมา (หน้า 59) แผนที่อำเภอสีคิ้ว (หน้า 67) แผนที่ไทยยวนนอกดินแดนล้านนา (หน้า 81) แผนที่หมู่บ้านไทยยวนสีคิ้ว (หน้า 87) ตารางจำนวนประชากรไทยยวนบ้านสีคิ้ว (หน้า 92) ตารางคำลำดับเครือญาติไทยยวนบ้านสีคิ้ว (หน้า 95-96) ตารางหมวดคำภาษาไทยยวนบ้านสีคิ้ว (หน้า 106-109) ตารางข้อแตกต่างระหว่างศาสนากับไสยศาสตร์ (หน้า 115) แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์พุทธศาสนากับการทรงเจ้าเข้าผี (หน้า 126) - แผนผังประวัติพ่อพญาสี่เขี้ยว (เสวยภพมนุษย์) (หน้า 130) - แผนผังประวัติพ่อพญาสี่เขี้ยว (เสวยภพวิญญาณ) (หน้า 135) - แผนผังบ้านร่างทรง (หน้า 158) - แผนผังการจัดตำหนักคุณครูบาอาจารย์ของพ่อพญาสี่เขี้ยว (หน้า 61) - แผนผังการจัดที่สักการะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หน้า 167) - แผนผังการบริหารบ้านเมืองสี่เขี้ยว (หน้า 174) - แผนผังการจัดการเครื่องเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณพ่อพญาสี่เขี้ยวในงานเลี้ยงประจำปี (หน้า 198) - ตารางวันขึ้นหรือแรมที่ต้องห้าม (ดิถีต้องห้าม) (หน้า 208) - ตารางสรุปองค์ประกอบขั้นตอนประเพณีพิธีกรรมการเข้าทรงพ่อพญาสีเขี้ยวของชาวไทยยวนบ้านสีคิ้ว (หน้า 270 - 271)

Text Analyst อินทิรา วิทยสมบูรณ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ยวน ตนเมือง ไทยวน, พิธีกรรมเข้าทรง, พ่อผีพญาสี่เขี้ยว, บ้านสีคิ้ว, นครราชสีมา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง