สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มันนิ มานิ กอย คะนัง(ซาไก),ชอง,ยีน,ความสัมพันธ์ทางกายภาพ,ตรัง,จันทบุรี
Author เยาวลักษณ์ วิลัย
Title ลักษณะแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอี-โกลบินในชนเผ่าซาไกและชาวชอง
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มานิ มานิค โอรังอัสลี อัสลี จาไฮ, ชอง ตัมเร็จ สำแร, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 97 Year 2538
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาลัยมหาบัณฑิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ศึกษาตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจชนิดของฮีโมโกลบินซึ่งกลุ่มที่เป็นประชากรศึกษาเป็นซาไก 20 คนจากอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังและชอง 76 คนที่อยู่ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจากการศึกษาตัวอย่างเลือดระบุว่าซาไกมีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชองกับชาวเขมรมีต้นกำเนิดเดียวกันคือมาจากคนเขมรส่วนน้อยหรือการแต่งงานข้ามกลุ่มกับคนไทย ซึ่งสันนิษฐานว่าชองมีต้นกำเนิดอย่างน้อยสองต้นกำเนิด (หน้า88,89)

Focus

ศึกษาความถี่ยีนบีตาอีโกลบินในชนเผ่าซาไก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังกับชาวชอง ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี และศึกษาลักษณะแฮปโพลไทป์ของยีนบีตา-โกลบินในทั้งสองชนเผ่าโดยใช้เทคนิคซีอาร์เพื่อบอกถึงต้นกำเนิดหรือความสัมพันธุ์ของชาติพันธุ์ระหว่างกลุ่มชนต่างๆ (หน้า 2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ซาไก (Sakai tribe) มีชื่อเรียกต่างๆ อาทิเช่น เซมัง โอรังอัสลี ดนัง เงาะป่า และซาไก สำหรับสาเหตุที่คนเรียกว่า ”เงาะป่า” สันนิษฐานว่า เนื่องมาจากซาไกผมหยิกคล้ายเปลือกเงาะและตั้งถิ่นที่อยู่ในป่าเขา นักวิชาการได้มีความคิดเห็นเกี่ยวกับซาไกหลายอย่างเช่นความคิดเห็นของ องอาจ รุ่งจันทร์ฉาย ระบุว่าซาไกคือชนชาติเชื้อสายนิกริโต ตระกูลออสโตร-เอเซียติก (Austro-Asiatic) ซึ่งอยู่ในภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่อพยพถิ่นที่อยู่จากอินเดียยุคโบราณโยกย้ายเข้ามาตกที่อยู่อาศัยบริเวณแหลมมลายู ในเวลาต่อมาเมื่อชาวมลายูได้ย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ก็ได้ปราบปรามโดยได้บังคับให้อยู่ในการปกครองโดยได้เรียกชาติพันธุ์นี้ว่า “ซาไก” อันแปลว่า “ไพร่ คนใต้ปกครอง ผู้ไม่มีวัฒนธรรม” สำหรับนักวิชาการบางส่วนระบุว่าซาไกมีเชื้อสายของนิกริโตที่เป็นชาติพันธุ์ซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียในหลายพื้นที่โดยได้แบ่งกลุ่มที่มีเชื้อสายนิกริโตออกเป็นกลุ่มย่อยดังนี้ 1) African Negroid กลุ่มนี้ตั้งรกรากอยู่ทวีปอัฟริกา 2) Oceanic Negroid กลุ่มนี้เป็นนิกริโตซึ่งเป็นลูกผสมในกลุ่มมองโกลอยด์ (Mongoloid) ออสตราลอยด์(Australojd) และนิกรอยด์ (Negroid) กลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับพวกนิกรอยด์ ชาติพันธุ์นี้สันนิษฐานว่าอยู่ในอาณาจักรฟูนัน ประเทศจีน พวก Cuci กับพวก EUO ที่ตั้งถิ่นที่อยู่ในภูเขา Quang –binh ประเทศเวียดนาม (หน้า 1, 4 รูปภาพซาไก หน้า 8) ชอง (Chong tribe) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตร-เอเชียติก ตระกูลมอญ-เขมร (หน้า 9) เมื่อก่อนจะอยู่ในบริเวณที่เป็นป่าเขากับบริเวณที่เป็นป่าระหว่างหุบเขาในเขตภาคตะวันออกเช่น ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรีและในพื้นที่ของประเทศกัมพูชา ทุกวันนี้ชองอาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรีมากที่สุดโดยจะอยู่เป็นจำนวนมากในอำเภอมะขามกับอำเภอโป่งน้ำร้อน ชองมีลักษณะรูปร่างเล็กผิวสีดำแดง เส้นผมหยิกหยอง ใบหน้าทรงสี่เหลี่ยม ขากรรไกรกว้าง จมูกแบน ริมฝีปากหนา ตาโปน (หน้า 10) (หน้า 12)(หน้า 86) (รูปภาพหน้า 14)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาซาไก อยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร บางครั้งเรียกว่ากลุ่มภาษาออสโตร -เอเซียติก (หน้า 9) ภาษาชอง ไม่มีภาษาเขียนมีเฉพาะภาษาพูด (หน้า 9)ทุกวันนี้ชองยังคงรักษาภาษาพูดเช่นชองที่อยู่ตำบลคลองพลูกับตำบลตะเคียนทอง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (หน้า 12)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน

History of the Group and Community

ประวัติของซาไก ในยุคไพลไตซีน หรือประมาณ 11,000 ปีที่ผ่านมากลุ่มออสตราลอยด์ สาขาย่อยนิกริโต ซึ่งเป็นชาติพันธุ์เดียวกับ “เงาะ” ที่อยู่ในภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดพันลุง ตรังของไทย ได้อพยพมาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบชายฝั่ง จากนั้นคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในภายหลังได้คุกคามจนซาไกต้องไปอยู่ในเขตป่าเขา ทั้งนี้เมื่อประมาณ 25 ปีที่ผ่านมา จะมีเงาะตั้งที่อยู่อาศัยในบริเวณเทือกเขาบรรทัดในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล พัทลุงและอยู่ในเขตจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในพ.ศ. 2520 มีคนพบซาไกอยู่ในพื้นที่จังหวัดสตูลที่อำเภอทุ่งหว้า และในจังหวัดยะลาในอำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตงระหว่างเขตแดนไทยกับประเทศมาเลเซีย (หน้า 4) ประวัติของชองในจังหวัดจันทบุรี งานเขียนระบุว่า ชองเคยอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีมาเนิ่นนานแล้วแต่ในภายหลังได้อพยพเข้าไปอยู่ในป่าเมื่อคนไทยได้เข้ามาปกครองเมืองจันทบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในทุกวันนี้ชองจะตั้งที่อยู่อย่างหนาแน่นในอำเภอมะขามกับอำเภอโป่งน้ำร้อน (หน้า 10 แผนที่หน้า 11) ซึ่งจากพงศาวดารจังหวัดจันทบุรีระบุว่า พ.ศ.900 -1800 จันทบุรีมีชื่อว่าเมืองควนบุรีบริเวณเมืองตั้งอยู่เชิงเขาสระบาป เมื่อพ.ศ.1900-200 ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่บริเวณบ้านหัววังซึ่งอยู่เหนือวัดจันท์ กระทั่ง พ.ศ.1973 พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ในเวลานั้นจันทบุรีมีฐานะเป็นเมืองขึ้น พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงครั้งที่ 2 แก่พม่า พระเจ้าตากสินจึงยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีเพื่อรวบรวมไพร่พลไปปราบพม่ากระทั่งสามารถกู้เอกราชได้สำเร็จ จากนั้นมาชองจึงย้ายที่อยู่ไปตั้งรกรากในพื้นที่อำเภอมะขาม โดยส่วนมากจะอยู่บริเวณลุ่มน้ำจันทบุรีเช่นหมู่บ้าน พญาบน แตงเม วังแซ้ม ขนุน ทุ่งสะพาน พลวง กระทิงดินแดง ทุ่งตาอิน ลำพัง พังแลง ตะเคียนทอง น้ำขุ่น เป็นต้น (หน้า 12 แผนที่หน้า 13)

Settlement Pattern

ไม่มี

Demography

ซาไก เคยมีผู้พบเห็นซาไกที่อยู่ในหลายพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ว่ามีประมาณ 200คน (หน้า 5) ประชากรในการศึกษามี 20 คนอยู่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง (หน้า 44) ชอง ประชากรศึกษามี 76 คนอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (หน้า 44)

Economy

ไม่มี

Social Organization

ซาไก สังคมของซาไกมักมีการอพยพที่อยู่บ่อยครั้งการย้ายที่อยู่จะมีหลายสาเหตุเช่น หากมีคนตายก็จะย้ายอย่างเร่งด่วนบางครั้งหากบริเวณที่อยู่เกิดความแห้งแล้งอาหารหายากก็จะอพยพไปอยู่ที่อื่น นอกจากนี้ซาไกยังรักความสงบไม่ชอบติดต่อกับคนต่างถิ่นหากเห็นก็จะหลบหน้าไม่ยอมพูดคุยด้วย (หน้า 5,6,89) ชอง ไม่มีข้อมูล

Political Organization

เมื่อพ.ศ.2520 กองกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำการสู้รบกับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้จู่โจมทางอากาศจึงมีซาไกเสียชีวิตมากมาย ดังนั้นซาไกในจังหวัดพัทลุงและตรังจึงโยกย้ายไปอยู่ในบริเวณที่มีความปลอดภัยในพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลและยะลา ส่วนซาไกอีกจำนวนหนึ่งได้อพยพเข้าไปอยู่ในพื้นที่ประเทศมาเลเซีย (หน้า 4)

Belief System

ประเพณีของชอง ไม่ได้ระบุรายละเอียดเพียงแต่บอกว่าประเพณีบางอย่างชองยังคงรักษาและสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้อาทิ ประเพณีแต่งงานลูกสาวคนโต ประเพณีการเล่นผีหิ้ง และอื่นๆ (หน้า 9,10,87)

Education and Socialization

ไม่มี

Health and Medicine

ผลการศึกษา จากตัวอย่างเลือดทั้ง 2 กลุ่มคือซาไก 20 คน ที่อยู่ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง กับชอง 76 คนที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้ 1 ) ผลการตรวจหาชนิดของฮีโมโกลบิน โดยวิธีเซลลูโลส อะซีเตท อิเลคโตรโฟเรซีสแล้วตรวจวัดด้วยวิธีไมโครคอลัมน์ โครมาโตกราฟี พบว่า ชอง 76 คน มีปริมาณฮีโมโกลบินชนิด A2A 2.08-3.3 จำนวน 14 คนหรือ 18.4 % ปริมาณฮีโมโกลบิน EA ปริมาณ 25.7-35.4 จำนวน 33 คน หรือ 43.4% ปริมาณฮีโมโกลบิน EE ปริมาณ 75.3-83.3 จำนวน 29 คนหรือ 38.2 % ซาไก ปริมาณฮีโมโกลบิน A2A ปริมาณ 2.13-3.43 จำนวน 19 คน หรือ 95 % ปริมาณฮีโมโกลบินชนิด EA 30.24 จำนวน 1 คน หรือ % (ตารางหน้า 64) 2 ) ผลการตรวจสอบยีน HbE โดยวิธีเอเอสพีซีอาร์ โดยสุ่มตรวจจากชองทั้ง 3 กลุ่ม (ชนิด A2A, EA และ EE) เพื่อตรวจหายีนบีตาอีโกลบินโดยแยกเป็น 5 คน,21 คนและ 17 คนตามอันดับโดยพบว่าคนที่มีชนิดของฮีโมโกลบินเป็น EA หรือ EE นั้นสามารถเห็นชิ้นส่วนดีเอ็นเอขนาด 400 คู่เบสบนแผ่น agarose gel(12 %) แต่ในรายที่ชนิดของฮีโมโกลบินเป็น A2A จะไม่พบแถบชิ้นส่วน DNA ขนาด 400 คู่เบสเลย ส่วนซาไก พบคนที่มี HbE ชนิด EA 1 คน เมื่อนำมาตรวจหายีนบีตาอีโกลบินนั้นสามารถเห็นชิ้นส่วนดีเอ็นเอขนาด 400 bp บนแผ่นเจล อิเลคโตรโฟเรซีส (หน้า 65) 3) ผลการศึกษาลักษณะแฮปโพลไทป์ภายในกลุ่มยีนบีตา-โกลบิน พบว่า ซาไกยีนบีตาอี 1 โครโมโซม โดยมีแฮปโพลไทป์เป็นเฮเทอโรไซโกตจึงสามารถบอกได้ว่ายีนบีตาอีในซาไกมีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอง ยีนบีตาอีที่พบส่วนมากอยู่บนโครโมโซมชนิด FW3 จากการศึกษาบอกว่ายีนบีตาอีในชองกับชาวเขมรมีต้นกำเนิดเดียวกันโดยมียีนบีตาอีส่วนน้อยที่พบอยู่บนโครโมโซมชนิด FW2 เชื่อว่าเป็นยีนบีตาอีที่มาจากคนเขมรส่วนน้อยหรือการแต่งงานข้ามกลุ่มกับคนไทย (หน้า 88) ซึ่งจากการทดลองเชื่อว่ายีนบีตาอีโกลบินในชองมีอย่างน้อย 2 ต้นกำเนิด (หน้า 89)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง จำนวนร้อยละของผู้ที่มี HbE ที่สำรวจในประชากรไทยแหล่งต่างๆ (หน้า 22) แสดงค่าคงที่ทางกายภาพ (หน้า 41) แสดงลำดับเบสของไพรเมอร์ในการทำ ASPCR (หน้า 52) แสดงนิวคลีโอไทด์ของไพรเมอร์และตำแหน่งของยีนภายในกลุ่มยีนบีดา-โกลบิน (หน้า 57) แสดงเอนไซม์ตัดจำเพาะและบัฟเฟอร์สำหรับการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (หน้า 60) แสดงผลการตรวจชนิดของฮีโมโกลบินในชาวชอง,ซาไก (หน้า 64) แสดงผลการศึกษาในซาไกและชาวชอง,เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ (หน้า 70,84) รูป กลุ่มชนเผ่าซาไก (หน้า 8) จันทบุรีบางส่วนแสดงพื้นที่ที่ชาวชองเคยอาศัยอยู่ (หน้า 13) ชาวชอง ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (หน้า 14) แสดงกลุ่มยีนบีตา-โกลบิน ,กราฟแสดงการสังเคราะห์สายโพลีเปปไทด์ชนิดต่างๆของโมเลกุลฮีโมโกลบินตามระยะการเจริญเติบโต (หน้า 15) แสดงหลักการของโพลีเมอเรสเชนรีแอคชั่น (หน้า 19) ไดอะแกรมแสดงหลักการของ ASPCR(หน้า 24,27) โครงสร้างของยีนบีตา-โกลบิน (หน้า 52) แสดงตำแหน่งในกลุ่มยีนบีตา-โกลบิน (หน้า 56) การตรวจยีนบีตาอี (หน้า 66) แสดงผลการศึกษา (หน้า 68,69,72-76)แสดงผลการศึกษาในชนเผ่าซาไก,ชอง (หน้า 77-79)พงศาวลีแสดงการถ่ายทอดฮีโมโกลบินในชนเผ่าซาไก (หน้า 83) ไดอะแกรมแสดงการเกิด crossin-over ของโครโมโซมที่มี frameworks เหมือนกัน (หน้า 85) แผนภูมิ ขั้นตอนการศึกษา (หน้า 45) ขั้นตอนการเตรียมจีโนมิค ดีเอ็นเอ (หน้า 50) แสดงขั้นตอนการทำ ASPCR (หน้า 54) แสดงขั้นตอนการทำพีซีอาร์ (หน้า 59) แผนที่ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง (หน้า 7) ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (หน้า 11)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 28 มิ.ย 2560
TAG มันนิ มานิ กอย คะนัง(ซาไก), ชอง, ยีน, ความสัมพันธ์ทางกายภาพ, ตรัง, จันทบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง