สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวครั่ง,ลายผ้ามัดหมี่,ภาคกลาง
Author พัชราณี วัฒนชัย
Title การศึกษาวิเคราะห์ลวดลายผ้ามัดหมี่ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวครั่ง ลาวขี้คั่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 361 Year 2545
Source หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเอกศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract

ผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง แสดงออกถึงภูมิปัญญาที่สืบเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษและยังเป็นเครื่องสะท้อนวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน นอกจากนั้นแล้วยังเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์อีกด้วย เช่น ลาวครั่งอพยพจากเทือเขาภูคัง หลวงพระบางในสมัยธนบุรี มีวัฒนธรรมการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ โดยสีซึ่งใช้ย้อมผ้านั้นจะใช้สีจากครั่งเป็นสีหลัก จึงทำให้ถูกเรียกว่า ลาวครั่ง กระบวนการมัดหมี่จะเป็นการย้อมสีเพียงครั้งเดียว จากนั้นจึงจะทอด้วยกี่ ไม่ว่าจะเป็นกี่มือแบบพื้นบ้านหรือกี่กระตุก จึงจะได้เป็นเนื้อผ้าออกมา ประกอบกับมีกระบวนการออกแบบและผลิตลวดลายต่างๆ มาเป็นระยะเวลาอย่างยาวนาน จึงทำให้ผ้าที่ได้มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ตน แต่ปัจจุบันกระแสความนิยมในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สิ่งที่ใช้ในการย้อมผ้าเปลี่ยนแปลงไปด้วย ช่างทอจะนิยมใช้สีสังเคราะห์มากกว่าครั่ง เพราะหาซื้อได้ง่ายและสีไม่ตก ะนอกจากนี้ลวดลายดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปและสูญหายเป็นจำนวนมากเนื่องจากกระแสนิยมทางสังคมที่เน้นการทอผ้าเชิงพาณิชย์เป็นหลัก (หน้า 329-330)

Focus

การจำแนกความแตกต่างของลวดลายผ้าและการใช้สีที่ทอโดยกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง 5 จังหวัด คือ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Ethnic Group in the Focus

คนไทยเชื้อสายลาวครั่งในภาคกลาง สืบเชื้อสายมาจากชาวลาวที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่แถบเทือกเขาภูคังในหลวงพระบาง และได้ถูกอพยพมาอยู่ที่เวียงจันทร์ และต่อมาได้ถูกอพยพเข้ามาอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี เชื่อกันว่าคนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีอุปนิสัยที่ชอบอยู่เป็นอิสระและมีความอดทนต่อสภาพภูมิประเทศ ถูกเรียกชื่อตามถิ่นฐานที่พวกเขาตั้งหลักแหล่ง เช่น “ลาวด่าน” ซึ่งเป็นกลุ่มลาวครั่งที่อยู่ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย หรือ “ลาวโนนปอแดง” อยู่ในเขตอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และ ลาวหนองเหมือด เป็นต้น (หน้า ๘)

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีภาษาประจำท้องถิ่นเป็นของตนเอง และมีขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและศิลปะที่เป็นรูปแบบเดียวกัน รวมถึงระบบเทคโนโลยี ระบบสังคม ระบบความรู้สึก ระบบความเชื่อ ซึ่งสืบทอดผ่านภาษาประจำท้องถิ่นเฉพาะของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง (หน้า๙)

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง เมษายน 2543 – เมษายน 2544

History of the Group and Community

กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง มีประวัติการย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลทางการเมือง และสงครามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวลาวได้อาศัยอยู่กันเป็นชุมชนตามเชื้อสายแยกจากชุมชนชาวไทย และมีการขยายตัวของประชากร เกิดการขยายชุมชนออกไป ส่วนวิถีการดำเนินชีวิตมีทั้งสิ่งที่ยังคงอยู่ และเปลี่ยนแปลงไป คนไทยเชื้อสายลาวครั่งก็เป็นหนึ่งในชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ลาวได้อพยพเข้ามาภายหลังการปราบกบฏ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะช่วงกรุงธนบุรีและในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและความเป็นมาในอดีตนั้น การที่ลาวถูกกวาดต้อนเข้ามาจึงส่งผลให้หันมาเลี้ยงครั่งตามความถนัดคนไทยจึงเรียกลาวกลุ่มนี้ว่า ลาวครั่ง หรือลาวขี้ครั่ง (หน้า 6-8)

Settlement Pattern

ในอดีตนั้นกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งได้อพยพมาจากเวียงจันทร์ บริเวณเทือกเขาภูคังหลังการปราบกบฏ ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ทำไร่เลื่อนลอย เมื่อต้องเผชิญภัยพิบัติ ก็จะอพยพหาแห่งที่อยู่ใหม่ โดยอพยพมายังประเทศไทยในจังหวัดต่างๆ ของประเทศ เช่น กาญจนบุรี พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี เป็นต้น (หน้า 8)

Demography

ไม่ปรากฏข้อมูล

Economy

ไม่ปรากฏข้อมูล

Social Organization

ไม่ปรากฏข้อมูล

Political Organization

ไม่ปรากฏข้อมูล

Belief System

คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ส่วนใหญ่แล้วนับถือศาสนาพุทธ และพราหมณ์ นอกจากนั้นแล้วยังมีความเชื่อในเรื่องภูตผี โดยเฉพาะภูตผีที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษ และสิ่งลี้ลับในธรรมชาติ และยังเชื่ออีกว่าภูตผีนั้นมีอิทธิพลต่อการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และการทำมาหากินของกลุ่มตนด้วย โดยจะมีพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภูตผีมากมาย และบางพิธีกรรมยังสืบเนื่องเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ เช่น การทอดกฐินหรือผ้าป่า ซึ่งหญิงลาวครั่งที่มีความสามารถในการทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย มักจะทอผ้าเพื่อถวายวัดในช่วงดังกล่าว

นอกจากนั้นแล้วยังได้มีพิธีกรรมซึ่งเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมการทอผ้าและวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม จนกลายเป็นรูปแบบของประเพณีซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งเองเช่น ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ (หน้า 9-10) ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ – มีการทำพิธีช่วงก่อนสุดท้ายสงกรานต์ โดยการแห่ธงที่สมมุติขึ้นมา ทำจากเสื่อ สบงพระ ผ้าเช็ดตัว พรม ฯลฯ เสาธงเป็นไม่ไผ่เกลาอย่างดี ทาด้วยขมิ้นเหลือง โดยวัดจะกำหนดวันแห่งธง หมู่บ้านต่างๆ ก็จะรวมตัวกันเพื่อทำการประดับธงโดย ต้นอ้อย ด้ายสำลีย้อมสีต่างๆ ตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อประชันกับหมู่บ้านอื่น ขบวนธงทุกหมู่บ้านจะทยอยเข้าวัดโดยมีมโหรีนำขบวน มีการฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนาน เมื่อถึงวัดก็จะแห่ธงรอบศาลาการเปรียญ เมื่อแห่รอบโบสถ์แล้วก็นำเสาธงไปปักตั้งเป็นแถว หางธงของหมู่บ้านใดทำได้สวยงามที่สุด และพุ่มหางธงด้ายที่ทำด้วยธนบัตร กรรมการวัดจะนับว่าพุ่มธงของหมู่บ้านใดจะได้เงินมากก็จะได้รางวัล วันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็จะนำอาหารมาที่วัดเพื่อฉลองธงสงกรานต์ (หน้า 9-10) ประเพณีใต้น้ำมัน วันออกพรรษา – ประเพณีออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ โดยมีการทำบุญตักบาตรเทโวหรือตักบาตรดาวดึงส์ หรือเรียกอีกอย่าง “ใต้น้ำมัน” ซึ่งจัดขึ้นตอนกลางคืนออกพรรษา ๑ วัน บริเวณลานวัดเป็นที่จัดเตรียมงานโดยการปักเสา ๔ เสา นำทางมะพร้อมและดอกไม้มาประคับตกแต่งให้สวยงาม กลางซุ่มประมาณ ๕๐ เซนติเมตร จะนำกระดานซึ่งมีชาวเล็กๆ หรือจานขนมวางตรงกลาง ในจานมีด้านหรือสายสิญจน์ที่พันกันเป็น ๔ แฉก เรียกว่า “ตีนกา” มาวางไว้ กลางคืนชาวบ้านจะนำน้ำมันมะพร้อม พร้อมด้ายหรือสายสิญจน์ที่เตรียมไว้มารวมกัน เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์จะเอาน้ำมันมะพร้าวเทใส่จานทุกจานแล้วจุดไฟ หลังจากนั้นชาวบ้านก็เอาตีนกาใส่ลงไปในจานที่มีน้ำมันติดไฟ (หน้า 10)

Education and Socialization

การสืบทอดความรู้ของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งนั้นใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิม เช่น การประกอบอาชีพ การเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีทางสังคม แต่อย่างไรก็ดีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งก็ได้ผสมกลมกลืนกับกลุ่มคนไทยเชื้อสายไทยในถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้เคียงอย่างแยกไม่ออก คนไทยเชื้อสายลาวครั่งจึงมีการรวมกลุ่มกันเพื่อตั้งกลุ่มชุมชนผู้เฒ่าเชื้อสายลาวครั่งให้เป็นสถาบันทางสังคมที่คอยอบรมลูกหลาน สั่งสอนวัฒนธรรม อนุรักษ์ประเพณีเฉพาะของท้องถิ่นที่ยังคงมีอยู่ให้ได้รับการสืบสานต่อไปเช่น ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ ประเพณีใต้น้ำมันวันออกพรรษา ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประเพณีเลี้ยงพ่อเฒ่า (หน้า 8-10) หรือแม้กระทั้งการทอผ้าซึ่งกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งส่วนใหญ่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของตน (หน้า12)

Health and Medicine

ไม่ปรากฏข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้เขียนได้กล่าวถึงลวดลายของผ้าที่พบในกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับชุมชน ผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งจึงมิใช่แค่เครื่องนุ่งห่มเท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งที่แสดงถึง สถานะ บทบาท สัญลักษณ์ และความเชื่อในท้องถิ่นหรือสังคมของลาวครั่งที่สะท้อนผ่านลวดลายผ้าเป็นสื่อสัญลักษณ์ในการแสดงออกและถ่ายทอดความคิดจากรุ่นสู่รุ่น (หน้า 13) โดยกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งเรียกผ้าของตนว่า “ผ้าลาว“ ซึ่งรูปแบบของผ้าลาวนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลกับผ้าพื้นบ้านบริเวณภาคเหนือหรือล้านนาและบริเวณภาคอีสานด้วย (หน้า 2) ผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีวัฒนธรรมอยู่ ๒ กลุ่มหลัก กลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า ลาวครั่ง ,ลาวกา อีกกลุ่มหนึ่งเป็นลาวเวียงหรือลาวเวียงจันทน์ ส่วนลาวครั่งมาจากภูคังแถวๆ หลวงพระบาง เป็นการอพยพลงมายังจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งและลาวเวียงมีวัฒนธรรมการทอผ้าคล้ายกัน ต่างกันแค่ลวดลายจำเพาะ อย่างมัดหมี่ลายหงส์หลังหักสลับขิด มัดหมี่ลายขอโคมเหลือง ลายนาคก้นป่องสลับนาคเป็นลายผ้าทอมัดหมี่ของลาวเวียง แต่หากเป็นผ้าทอมัดหมี่ของลาวครั่งลวดลายเด่นชัด คือมัดหมี่สะเภา หมี่รวด หมี่รวงใหญ่ ส่วนตีนตกจะมีลายขออีโง้ง ลายกาบขอขื่น ลายอีป้าลืมผัว ผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง นิยมใช้สีแดงย้อมจากครั่งเป็นโครงสีหลักเติมแต่ลวดลาดที่มองคล้ายเคลื่อนไหมอย่างอิสระด้วยสีส้มหมากสุกและสีเหลืองดอกคูนเจิดจ้า เอกลักษณ์ที่ถือเป็นส่วนต่างจากที่อื่นอยู่ที่สีสันอันร้อนแรง และกระบวนการมัดหมี่จะเน้นการย้อมสีเพียงครั้งเดียวแล้ว “แจะ” สีด้วยไม่จุ่มตกแต่งลวดลายเส้นใยให้มีสีสันซับซ้อนยิ่งขึ้น จากการค้นคว้าของผู้เขียน ทำให้ทราบข้อมูลได้ว่าเอกลักษณ์ของผ้าซิ่นของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีความโดดเด่น แบ่งตามลักษณะการทอเป็น ๒ ลักษณะ คือการทอซิ่นหมี่รวด และการทอผ้าซิ่นหมี่คั่น ซึ่งลักษณะของผ้าซิ่นมีความแตกต่างกันจากกรรมวิธีการทอผ้าที่เห็นได้ชัด ดังนั้นลวดลายที่ปรากฏจึงเป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากวิถีชีวิตมนุษย์ ได้กำหนดแบบแผนที่สืบทอดกันมาแต่บรรพชนตั้งแต่ลักษณะนิสัย แนวความคิด ค่านิยม และภูมิปัญญาที่ได้สั่งสมกันมา การทอผ้าซิ่นมัดหมี่จึงมีลวดลายสีสันอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แม้ว่าวัฒนธรรมจากสังคมสมัยใหม่จะเปลี่ยนไปตามกระแสของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม แต่ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านก็ยังคมมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต เป็นเสมือนการบันทึกเรื่องราวถ่ายทอดแต่ชนรุ่นหลังให้ได้เล็กเห็นคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมที่แท้จริง (หน้า 23 ) มัดหมี่ หมายถึง ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าหลังจากการมัดลายที่ด้ายด้วยเชือกก่อนนำไปย้อมสี จึงเป็นเสมือนเป็นเทคนิคการทอผ้าชนิดหนึ่งที่รู้จักกันทั่วไปว่า “มัด-ย้อม” ซึ่งเป็นวิธีการมัดย้อมเส้นไหมให้เกิดลวดลาย ด้วยหลักการที่ว่าส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีย้อมใช้เชือกมัดเป็นข้อๆ ให้แน่น ถ้าลวดลายซับซ้อนช่วงมัดจะถี่ ถ้ามีหลายสีจะต้องใดและย้อมหลายครั้ง การกำหนดตำแหน่งที่มัดขึ้นอยู่กับลวดลายที่ออกแบบไว้ แล้วนำเส้นไหมที่มัดแล้วไปย้อมสี แล้วนำมามัดแล้วย้อมอีก เพื่อให้เกิดลวดลายและสีสันที่ต้องการบนผืนผ้า เมื่อย้อมเสร็จแก้เชือกที่มัดอยู่ออก นำไหมมากรอเข้าหลอดเวลาทอก็เอาหลอกที่กรอไว้พุ่งไปก็จะได้ลายไปในตัว มัดหมี่มีสามชนิดคือ ๑. มัดหมีเส้นยืนจะกำหนดความยาวของผ้าบนหลักหมีด้ายเส้นยืน พบเฉพาะลายที่ไม่ซับซ้อน ๒. ๒. มัดหมีด้ายเส้นพุ่ง กำหนดความยาวของผ้าบนหลักหมี่ด้ายเส้นพุ่ง สำหรับการมัดหมีเส้นพุ่งสามารถทำซ้ำๆ หลายครั้ง จึงสามารถทอผ้าได้ไม่จำกัดความยาว เหมาะสำหรับการทอผ้าฝ้ายหรือเส้นใยจากพืชอื่นๆ ดังนั้นสีที่ย้อมมักเป็นสีธรรมชาติ ๓. ผ้ามัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน เป็นเทคนิคการผสมผสานมัดหมี่ด้ายเส้นพุ่งและด้ายเส้นยืนบนผ่าผืนเดียวกัน ลักษณะเฉพาะของผ้ามัดหมี่ คือ รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามลวดลายที่ถูกมัดโดยเชือกที่ไม่ติดสี การเลื่อมล้าในตำแหน่งของเส้นด้าย (หน้า 23-25) กระบวนการทอผ้าซิ่นและผ้ามัดหมี่ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ในอดีตมีขั้นที่ซับซ้อนกว่าปัจจุบัน เพราะวัตถุดิบทุกอย่างต้องผ่านมือผู้ทอทุกขั้นตอน แต่ในปัจจุบันผู้ทอใช้วิธีซื้อฝ้ายสำเร็จ เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากเป็นการทอเพื่อการค้ามากขึ้น อุปกรณ์สำคัญประกอบด้วย กง หลา หลักด้าย และกี่กระตุก การทอหรือขิดของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีจุดเด่นอยู่ ๓ ลักษณะคือ การทอแบบยกดอก เป็นการทอฝ้ายธรรมดาใช้เส้นพุ่งกับเส้นยืนคนละที ลักษณะกี่ทอจะเน้นไปที่ตะกอหากต้องการดอกเล็กก็ใช้ตะกอน้อย และหากต้องการดอกใหญ่ก็ใช้ตะกอมาจากการทอผ้าจก หากต้องการตั้งแต่ ๘ ตะกอขึ้นไปผู้ทอจะใช้วิธีจกแทน การทอไหมมัดหมี่โดยการซื้อเส้นไหมสำเร็จนำมามัดและย้อมสีการมัดและย้อมส่วนใหญ่เป็นลายเรขาคณิต การะบวนการทอโดยการนำด้ายที่ผ่านการจัดเป็นไจมาใส่ในหลา แล้วดึงปลายด้ายม้วนเข้าที่กงปล่อยให้ผ่านไปยังหลอดด้าย หมุนแกนเหล็กให้ด้ายวิ่งไปพันรวมอยู่ที่หลอด จนได้จำนวนตามต้องการแล้วนำไปปักในแกนหลักด้ายเป็นแถว ก่อนจะขมวดปลายด้ายจากทุกหลอดมารวมกันแล้วใช้มือเกี่ยวเส้นด้ายสลับกันไป เมื่อครบแล้วนำไปยึดไว้ที่หลักด้านล่างก่อนจะเดินได้ จนได้ความยาวที่ต้องการ นำด้ายไปหวีม้วนเรียงใส่ที่ใบพัดหรือโม่เล่ก่อนเรียงเส้นด้ายใส่ในฟืมที่ละเส้นคนครบ เมื่อเตรียมการเสร็จแล้ว จึงเริ่มกระบวนการทอโดยการประสานระหว่างเท้าและมือที่สัมพันธ์กัน โดยใช้เท้าเหยียบแผ่นไม้ด้านล่างและใช้มือซ้ายกระตุกกระสวยให้วิ่งตามรางพร้อมๆ กับใช้มือดึงฟืม (หน้า 26-27) โครงสร้างของผ้าซิ่นของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งประกอบด้วย ส่วนหัวซิ่น ส่วนตัวซิ่นและส่วนชายซิ่น เป็นการต่อด้วยผ้าตีนจกสีแดงเป็นหลัก ผ้าซิ่นบ้านทัพหลวงมีการแบ่งผ้ามัดหมี่ออกเป็น ๓ ชนิดคือ ซิ่นหมีรวด ซิ่นหมี่คั่น และซิ่นหมีตา การทอผ้าในปัจจุบันใช้กี่มือแบบพื้นเมืองและกี่มือแบบกระตุก ตัวซิ่นที่พบนิยมใช้วัสดุจากเส้นใยฝ้ายโดยการย้อมสีสังเคราะห์ เทคนิคในการมัดย้อมสีผ้ามัดหมี่ชีวิธี “แจะ” คือการย้อมสีหลักเพียงสีเดียว ส่วนอื่นใช้ไม้จุ่มสีมาแต้มตามตำแหน่งลวดลาย ลักษณะลวดลายจำแนกออกเป็น ๕ แบบคือ ลักษณะลวดลายสัตว์พบมากที่สุด รองลงไปตามลำดับได้แก่ ลักษณะลวดลายเรขาคณิต ลักษณะลวดลายเบ็ดเตล็ด ลักษณะลวดลายที่ประยุกต์ขึ้นมาใหม่ ลักษณะลวดลายพันธุ์ไม้ ลักษณะลวดลายเรขาคณิต (หน้า 308 -328)

Folklore

ชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งมีประเพณีใต้น้ำมันวันออกพรรษา ซึ่งมาจากตำนานความเชื่อที่ว่าในอดีตกาลพระพุทธเจ้าได้เกิดเป็นลูกของกาเผือกคู่หนึ่ง พระพุทธเจ้าและพี่ชาย ๓ คนน้องชาย ๑ คนได้มาอาศัยอยู่ในไข่ของกาเผือกคู่ กาเผือกได้ทำรังอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งขณะที่แม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่ ได้เกิดพายุจนรังถูกลมพัดรังพังตกลงแม่น้ำ ไข่ ๕ ฟองของกาเผือกก็ลอยลงแม่น้ำไปติดอยู่ที่ชายตลิ่งต่างที่กัน ได้มีแม่ไก่ วัว เต่า ราชสีห์ งู นำเอาไข่ไปฟักและเลี้ยงดูจนโตเป็นหนุ่มทั้ง ๕ จึงออกเดินทางหาความสัจจริงบำเพ็ญเพียรในป่าและพี่น้องมาพบกันโดยบังเอิญต่างร่วมกันแสวงหาสัจธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าระลึกชาติเก่าๆ ที่เคยเกิดมา นึกถึงพ่อแม่กาเผือก พระองค์จึงทำพิธีเอาด้ายมาปั่นเป็นรูปตีนกา แล้วเอาลอยในน้ำมันมะพร้าว จุดไฟสว่างไสวเป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณ (หน้า10)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งแต่งงานกับทั้งคนเชื้อสายลาวครั่งด้วยกันเองและแต่งงานกับคนไทยแต่สิ่งสำคัญก็คือลูกหลานคนไทยเชื้อสายลาวครั่งยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติลาวครั่งผ่านวัฒนธรรมการทอผ้าที่มีลวดลายเป็นของตนเอง (หน้า 23)

Social Cultural and Identity Change

แม้ว่าผ้าทอของลาวครั่งจะเป็นสิ่งซึ่งบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของลาวครั่ง อันสะท้อนถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ หรือแม้กระทั่งความเชื่อและค่านิยมก็ตาม แต่ด้วยเงื่อนไขทางสังคมซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ทำให้อุดมคติและวิถีชีวิตชุมชนที่เกี่ยวกับการทอผ้าจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปด้วย ชุมชนหลายชุมชนได้เลิกการผลิตผ้าไป คงเหลือแต่บางชุมชนเท่านั้นที่สามารถแข่งขันและยืนอยู่ในระบบธุรกิจได้ (หน้า 43) โดยมีปัจจัยต่างๆ หลายประการด้วยกันซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ขึ้น เช่น ปัจจัยในทางเศรษฐกิจที่ชาวลาวครั่งหันมาทอผ้าเพื่อการค้ามากขึ้น โดยมิได้ให้ความสำคัญกับลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มตนมากนัก ประกอบกับการทอผ้าเป็นอาชีพที่มีรายได้ต่ำจึงทำให้ลาวครั่งบางส่วนหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ และนอกจากนั้นการที่ลวดลายผ้าเป็นไปตามกระแสกลุ่มชนและเศรษฐกิจ ทำให้ลวดลายดั้งเดิมถูกละเลย หรือสูญหายไปในที่สุด (หน้า 329-330)

Other Issues

การอนุรักษ์ผ้าทอ ผ้าทอเป็นศิลปะ หัตถกรรม และวัฒนธรรมพื้นบ้านอันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสิ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ของอารยะธรรมในชุมชนของสังคมนั้นๆ เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สืบต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งหากปล่อยประละเลย หรือขาดการอนุรักษ์เอาใจใส่แล้ว ก็ย่อมจะเสื่อมสลายหรือเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด โดยมีปัจจัยทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นตัวกำหนด อันทำให้รูปแบบทางวัฒนธรรมของผ้าทอนี้สูญหายหรือเปลี่ยนแปลงไปด้วย (หน้า 1-2) ประเด็นในเรื่องปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมงานทอผ้าของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งได้แก่ การที่กระแสความนิยมของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งลดน้อยลง โดยกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งหันมาทอผ้าเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยไม่ได้มีการอนุรักษ์ลวดลายแบบดั้งเดิมเอาไว้เป็นการทอผ้าตามกระแสตลาด ประกอบกับชาวบ้านบางกลุ่มได้หันไปประกอบอาชีพอื่นๆ จึงทำให้ลวดลายดั้งเดิมสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงไป และการที่ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่แก้ไขปัญหาจากองค์กรทางภาครัฐหรือเอกชนอย่างแท้จริง ทำให้วัฒนธรรมการทอผ้าของกลุ่มคนเชื้อสายลาวครั่งเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด (หน้า 329-330)

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้รูปภาพ เพื่อแสดงตัวอย่างลายผ้าที่ได้มาจากการสำรวจเพื่อรวบรวมบันทึกไว้ในงานศึกษาชิ้นนี้ และได้ใช้ตารางเพื่อแสดงจำนวนลายผ้าที่นำมาศึกษาเพื่อให้ชัดเจนต่อการจำแนกประเภท (หน้า ๕๑ - ๓๖๐) และนอกจากนี้ผู้เขียนได้ใช้ภาพวาดประกอบ แสดงลักษณะการต่อลวดลายผ้า (หน้า๑๖)

Text Analyst วรพจน์ กันธาเดช Date of Report 27 พ.ค. 2562
TAG ลาวครั่ง, ลายผ้ามัดหมี่, ภาคกลาง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง