สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,ความเป็นอยู่,ประเพณี,วัฒนธรรม,เครื่องปั้นดินเผา,นนทบุรี
Author อลิสา รามโกมุท
Title เกาะเกร็ด : วิถีชีวิตชุมชนมอญริมแม่น้ำเจ้าพระยา
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 101 Year 2542
Source กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2542
Abstract

มอญ ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอันโดดเด่น ครั้งหนึ่งชนชาติมอญเคยมีดินแดนเป็นของตนเอง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสหภาพพม่า แต่ความจำเป็นบางอย่างทำให้ต้องอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา และแม้จะเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย รวมถึงแม้กระแสสังคมเมืองจะเข้ามาในกลุ่มชนของตน จนได้รับผลกระทบให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ต้องมีการแข่งกัน อีกทั้งกระทบไปถึงทัศนคติค่านิยมดั้งเดิมไปบ้างก็ตาม ท้ายที่สุดก็ยังคงสามารถประพฤติปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี ซึ่งชุมชนมอญเกาะเกร็ด ถือเป็นตัวอย่างชุมชนมอญแห่งหนึ่ง ที่ยังคงมีการอนุรักษ์รักษาประเพณีวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป (หน้า 93-98)

Focus

วิถีชีวิตของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเกาะเกร็ด มีความน่าสนใจสมควรแก่การศึกษาค้นคว้า และรวบรวมไว้ เนื่องจากยังคงมีวิถีชีวิตที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเช่นเมื่อครั้งตั้งถิ่นฐานแต่แรกเริ่ม และยังคงสามารถรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ชุมชนมอญเกาะเกร็ด ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Language and Linguistic Affiliations

ในปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษามอญน้อยลง โดยมากจะเป็นมอญสูงอายุที่ยังคงพูดภาษามอญระหว่างกันอยู่บ้าง แต่สำหรับการอ่านและเขียนภาษามอญนั้น จะยังคงมีใช้บ้างในเฉพาะบางกลุ่มอาทิเช่น นักวิชาการ, ผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมมอญ และพระสงฆ์เชื้อสายมอญบางรูป เป็นต้น (หน้า 34)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

เกาะเกร็ดเป็นชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเกาะแห่งนี้เกิดขึ้นจากการขุดขยายคลองลัดเกร็ดน้อยที่อยู่เหนือบ้านปากเตร็จ เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดในการเดินทางโดยเรือขึ้นล่องระหว่างกรุงศรีอยุธยา กับปากน้ำ หรือปากทะเลสู่อ่าวไทย เกาะเกร็ดนี้แต่เดิมเรียกว่า เกาะศาลากุน จนเมื่อปากเกร็ดได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเกาะมาเป็น เกาะเกร็ด มอญเกาะเกร็ดนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองเมาะตะมะ นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี และเมืองอื่นๆ ในดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรมอญในประเทศพม่าอีกด้วย (หน้า 1-3) ชุมชนมอญปากเกร็ดนี้ ยังเป็นชุมชนริมน้ำแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญในอดีต ทั้งนี้เพราะเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้ด่านปากเกร็ด และด่านขนอน ซึ่งเป็นด่านสำหรับตรวจและเก็บภาษีสินค้าที่ขึ้นล่องผ่านด่าน อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้ปากคลองลัดเกร็ดซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวใหญ่ ที่มีเรือสามารถจอดพักได้ ด้วยเหตุนี้ชุมชนปากเกร็ดจึงพัฒนาเป็นชุมชนใหญ่เรื่อยมา จนเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่ชาวไทย และชาวต่างประเทศโดยเฉพาะที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา (หน้า 10 – 11)

Settlement Pattern

การตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชากรบริเวณเกาะเกร็ด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหมือนวิถีชีวิตชาวไทยทั่วไปที่นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้น้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค รวมไปถึงการใช้เป็นเส้นทางคมนาคม นอกจากนี้อีกลักษณะหนึ่งของการตั้งบ้านเรือนของมอญเกาะเกร็ด คือ การตั้งบ้านเรือนแบบกระจายตามพื้นที่เกษตรกรรม หรือริมทางเดินสาธารณะใกล้กับสถานที่ที่สำคัญต่างๆ เป็นต้น (หน้า 9)

Demography

ประชากรบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งสิ้นประมาณ 5,946 คน โดยเป็นชายประมาณ 2,890 คน และหญิงประมาณ 3,056 คน ซึ่งประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะเกร็ดนั้นมีมากมายหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ไทย, จีน, มอญ และพวกที่นับถือศาสนาอิสลาม จากการศึกษาพบว่า ประชากรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่ที่ 1, 6 และ 7 จะเป็นเชื้อชาติมอญร้อยละ 43 ของประชากรทั้งหมด สำหรับหมู่ที่ 2, 3, 4 และ 5 เป็นประชากรเชื้อชาติไทย และจีน ซึ่งมีถึงร้อยละ 42 ของประชากรทั้งหมด อีกร้อยละ 15 ที่เหลือนั้นเป็นประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่จะตั้งบ้านเรือนอยู่เฉพาะบริเวณริมแม่น้ำ (หน้า 5-7)

Economy

ส่วนใหญ่สภาพเศรษฐกิจของตำบลเกาะเกร็ดปัจจุบัน มักจะขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร ซึ่งโดยทั่วไปประชาชนบนเกาะเกร็ดจะเป็นชาวสวนที่เน้นการทำสวนผลไม้ยืนต้นเป็นหลัก และทำสวนผัก รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม ที่จะเน้นเฉพาะอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งอุตสาหกรรมที่สร้างชื่อเสียงให้เกาะเกร็ดเป็นที่รู้จักคือ การผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่างๆ ทั้งเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และของที่ระลึกต่างๆ นอกจากนี้ยังมีประชากรบางส่วนที่มีอาชีพทำงานด้านหัตกรรมสานเข่งปลาทู รวมไปถึงการมีอาชีพค้าขายที่จะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรไปขายทั้งในและนอกชุมชน (หน้า 9)

Social Organization

ไม่ได้ระบุ

Political Organization

ไม่ได้ระบุ

Belief System

มอญถือว่าเป็นชนชาติที่ได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับผีมากชาติหนึ่ง ที่ยึดถือปฎิบัติตามคติความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัดจะสังเกตได้ว่าวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวมอญจะต้องมีผีเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ซึ่งจะเห็นได้จากการแสดงความนับถือผีในลักษณะการเคารพบูชา การละเว้นการกระทำต่างๆ อันเป็นการไม่เคารพผีที่ตนนับถือ หรือทำให้ผีไม่พอใจ เป็นต้น จากคติความเชื่อและการนับถือผีของมอญข้างต้น จึงทำให้เกิดประเพณีการรำผี หรือประเพณีการรำเจ้าพ่อเกิดขึ้น (หน้า 54-55) นอกจากนี้มอญยังมีประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ คือ - พิธีกรรมเกี่ยวกับการทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นวิถีชีวิตประจำวันและเป็นรายได้หลักของมอญเกาะเกร็ด การทำพิธีบูชาผีจึงเป็นการเพื่อขอให้ผีช่วยบันดาลให้เครื่องปั้นดินเผาได้ผลดีไม่เกิดความเสียหาย พิธีกรรมเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาของมอญเกาะเกร็ดมี 2 พิธีคือ พิธีไหว้เตา เป็นพิธีบูชาเตา โดยในวันปิดปากเตาเจ้าของเตาจะนำเครื่องไหว้คือ ดอกไม้ ธูปเทียน ทองคำเปลว ข้าวคลุกถั่วงา วางไว้ปากเตาใกล้ช่องฟืนเป็นการบูชาเตาหรือแม่ย่านางเตา หลักจากนั้นทุกเย็นจะต้องจุดธูปเทียนไหว้เตาทุกวันจนถึงวันเปิดเตา พิธีเซ่นเตา เป็นพิธีบูชาเตาหรือแม่ย่านางเตาในขณะที่เร่งไฟ โดยมีเครื่องบูชา 3 ประเภท คือ เสื้อผ้า เครื่องหอม อาหาร โดยเจ้าของเตาจะนำผ้าไปพาดไว้ที่เตา ดอกไม้ธูปเทียนวางบูชาปีกหูช้างทั้งสองข้างและปากเตา พรมน้ำอบและเจิมแป้งที่เตาพร้อมกับอธิษฐานให้เครื่องปั้นที่เผาในเตานี้ได้ผลดี วางเครื่องบูชาไว้สักพัก จึงถือว่าเสร็จพิธี โดยมีความเชื่อว่าพิธีดังกล่าวเกิดจากในอดีตเจ้าของเตาต้องการให้มีผีเฝ้าเตาไม่ให้เครื่องปั้นเกิดความเสียหาย จึงมีการจับเด็กใส่เข้าไปในเตาเพื่อกลายเป็นผีเตา จึงเกิดพิธีเพื่อบูชาผีเตาขึ้นในเวลาต่อมา โดยเดิมนั้นเจ้าของเตาจะต้องทำพิธีไหว้เตาและพิธีเซ่นเตาทุกครั้งที่มีการเผาเครื่องปั้น แต่ในปัจจุบันเพียงนำดอกไม้และธูปปักไว้ที่หน้าเตาเพื่อเป็นการไหว้เตาเท่านั้น (หน้า 14-32) - พิธีต่างๆ ในวัฎจักรชีวิต มอญเกาะเกร็ดมีระเบียบแบบแผนประเพณีกำหนดไว้ทุกช่วงสำคัญของชีวิต ซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การเกิด มอญมีประเพณีปฏิบัติตั้งแต่การตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด ซึ่งขณะตั้งครรภ์ผู้หญิงมอญจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อห้ามหลายประการ โดยมอญเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิตดวงชะตาชีวิตของมนุษย์โดยเขียนไว้ที่หน้าผาก เมื่อเด็กเกิดมาจึงต้องมีการจัดทำพิธีเพื่อเป็นการบอกกล่าวให้ผีเรือนทราบว่ามีเด็กเกิดใหม่และเป็นสิริมงคลต่อเด็กด้วย การโกนผมไฟ มีการทำพิธีเมื่อเด็กครบ 3 เดือนจะโกนผมออกไม่หมดเหลือไว้เล็กน้อย จากนั้นปั้นดินเป็นลูกเล็กๆ วางรวมกับผมที่โกนออกและหญ้าแพรกห่อด้วยใบบอนแล้วนำไปฝังไว้ใต้ต้นโพธิ์ การโกนจุก เด็กหญิงและชายมอญจะโกนจุกในระหว่างที่เด็กมีอายุเป็นเลขคี่ เริ่มตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป แต่มีข้อแม้ว่าระหว่างที่แม่เด็กกำลังตั้งครรภ์โกนจุกไม่ได้ การโกนจุกจะทำที่วักโดยพระสงฆ์จะโกนให้เด็กผู้ชาย มัคนายกโกนให้เด็กผู้หญิง การบวช เด็กผู้ชายต้องทำพิธีอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี ถือเป็นการทำขวัญครั้งที่ 2 โดยการบวชนาคก่อนวันบวชเป็นพระภิกษุ 1 วัน วันบวชเป็นพระภิกษุก็ทำพิธีในพระอุโบสถเป็นการเสร็จพิธี การปลูกบ้าน มอญส่วนใหญ่เริ่มด้วยการปลูกเรือนหอซึ่งจะต้องเตรียมปลุกให้เสร็จก่อนแต่งงาน โดยก่อนจะปลุกบ้านจะต้องดูรูปร่างที่ดินที่จะปลูกบ้าน รวมถึงวันปลูก ทิศทางและลักษณะบ้านเรือนด้วย เพราะมีความเชื่อว่าหากสามารถปลูกบ้านตามข้อกำหนดที่มีก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขและความเจริญด้วย การแต่งงาน ประเพณีแต่งงานของมอญเกาะเกร็ดมีลักษณะคล้ายกับประเพณีแต่งงานของไทยมาก เพียงแต่จะไม่ทำบุญเลี้ยงพระในวันแต่งงานเพราะถือว่าการแต่งงานไม่ใช่กิจของสงฆ์ การทำศพ หากเสียชีวิตปกติญาติจะอาบน้ำเย็นและน้ำอุ่น รีดเอาของเสียออกจากร่างกายแล้วแต่งตัวให้ศพตามประเพณี แล้วนำไปประกอบพิธีตามศาสนา ส่วนการตายแบบไม่ดีจะไม่มีการเผาต้องฝังอย่างเดียวและต้องรีบฝังอย่างเร่งด่วน ไม่มีการทำบุญเลี้ยงพระ จะทำทานด้วยอาหารดิบ งานศพพระสงฆ์ การปลงศพพระภิกษุโดยเฉพาะพระชั้นผู้ใหญ่จะมีการสร้างปราสาทเป็นที่ประดิษฐานศพและจุดไฟโดยการจุดจากลูกหนูแทน และยังมีประเพณีการแย่งศพซึ่งเกิดจากต้องการทำนายชะตาบ้านเมืองในอดีต มอญร้องไห้ กระทำในพิธีฌาปนกิจศพพระภิกษุสงฆ์หรือผู้สูงอายุมากๆ โดยหญิงสูงอายุชาวมอญจะทำหน้าที่ร้องดอดครวญพรรณนาถึงคุณงามความดีของผู้ตาย (หน้า 57-70) - ประเพณีทางศาสนาและเทศกาล นอกจากนี้มอญยังมีพระเพณีเกี่ยวเนื่องในศาสนาที่มีการสืบปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่สำคัญหลายประเพณี คือ วันอัฏฐมีบูชา ชาวมอญมีประเพณีการทำบุญในวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้ารัยกว่า “จอง เฟี๊ยจย๊าจก์กรอย” เป็นการทำบุญต่อเนื่องจากวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 จะมีการมีเทศน์พระปฐมสมโพธิ และมีการเลี้ยงพระจนถึงวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 วันออกพรรษา จะมีการทำบุญในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยในวันนี้มอญจะทำบุญตักบาตรที่ริมน้ำหน้าวัดสำคัญ ชาวมอญเรียกว่า “ตักบาตรพระร้อย” หรือ “ตักบาตรเรือ” และมีกี่จัดการละเล่นสนุกสนานทั้งวันทั้งคืน นอกจากประเพณีเนื่องในศาสนาแล้วมอญยังมีประเพณีการทำบุญเนื่องในเทศกาลต่างๆ ด้วย สงกรานต์ ในเทศการสงกรานต์มอญเกาะเกร็ดมีกิจกรรมที่ปฏิบัติตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนวันสงกรานต์จนถึงวันสงกรานต์หลายประเพณี เช่น ส่งขนมกะละแม หุงข้าวแช่และแห่ข้าวแช่ สรงน้ำพระ แห่หงส์ธงตะขาบ ก่อเจดีย์ทราย แห่ปลา แห่น้ำหวาน ทำบุญกลางบ้านและการตักบาตรน้ำผึ้ง โดยมีการทำบุญเนื่องในเทศการสงกรานต์ถึง 3 วัน ดดยเทศการสงกรานต์เป็นการทำบุญที่สำคัญที่สุดของชาวมอญ (หน้า 71-98) จากผลการศึกษาจะพบว่า วิถีชีวิตของชาวมอญแต่ละชุมชนจะมีความเชื่อและข้อปฏิบัติตามประเพณีต่างๆ เกือบจะเหมือนกันทุกประการ ยกเว้นแต่ข้อปฏิบัติปลีกย่อยในบางประเพณีเท่านั้น แต่ปัจจุบันสังคมมอญต่างๆปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมลดลง เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป มอญรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เห็นว่า คติความเชื่อและประเพณีบางอย่างเป็นเรื่องล้าสมัยและทำให้เลิกปฏิบัติไป ส่วนประเพณีพิธีกรรมบางอย่างที่ถือปฏิบัติอยู่นั้น ก็ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปให้เหมาะสมกับสภาพสังคมมากขึ้น (หน้า 14 -32 และ หน้า 57 – 90)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุ

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ชุมชนมอญเกาะเกร็ด เป็นแหล่งวัฒนธรรมมอญที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมหลายด้าน อาทิเช่น ด้านนาฎดุริยางคศิลป์ ด้านหัตถศิลป์ และด้านวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งมอญเกาะเกร็ดนี้จะมีชื่อเสียงเด่นในเรื่องการรำมอญ การบรรเลงดนตรีปี่พาทย์มอญ และการทำเครื่องปั้นดินเผา โดยการทำเครื่องปั้นดินเผาของมอญเกาะเกร็ดนี้ จะมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเครื่องปั้นที่ใดๆ อีกด้วย โดยเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ดจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อเครื่องดินไม่เคลือบ มีความพรุนตัวมาก (Earthenware) สีส้มอ่อนจนถึงสีแดง และแต่เดิมนั้นเครื่องปั้นดินเผาของเกาะเกร็ด จะทำจากดินเหนียวที่เกาะเกร็ดผสมกับทรายแม่น้ำที่หาได้ทั่วไปในแม่น้ำเจ้าพระยา และเผาในเตาเผาแบบประทุนที่ชาวบ้านเรียกว่า “เตาหลังเต่า” สำหรับปัจจุบันนี้เนื่องด้วยดินเหนียวที่มีคุณภาพบริเวณเกาะเกร็ดเริ่มหายากมากขึ้น ช่างปั้นจึงต้องสั่งซื้อมาจากนอกเกาะเกร็ด และส่วนใหญ่จะไม่เผาในเตาเผาแบบประทุนแบบเดิม ทั้งนี้เพราะเตาเริ่มเก่าและชำรุดมากยากแก่การบูรณะหรือสร้างขึ้นใหม่ ช่างปั้นจึงเปลี่ยนเป็นใช้เตาลักษณะแบบ “เตาจีน” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เตาแมงป่อง” ซึ่งจะใช้เผากระถาง หรือของขนาดใหญ่ และ “เตาถัง” ที่จะใช้สำหรับเผาเครื่องปั้นดินเผาขนาดเล็ก เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องอาหารพื้นบ้านของชาวมอญ และการแต่งกายยังเป็นอีกจุดหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวมอญได้เป็นอย่างดีเช่นกัน (หน้า 15 และ 32 – 54)

Folklore

แม้ปัจจุบันมอญจะไม่มีประเทศเป็นของตนเอง ต้องอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศอื่นๆ ก็ตาม แต่ชาวมอญถือได้ว่าเป็นชนชาติที่ยึดถือและปฏิบัติตามคติความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติตนอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตที่เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์, การเกิด, การโกนจุก, การบวช, การแต่งงาน จนถึงการทำศพ อีกทั้งการปฏิบัติประเพณีอย่างเคร่งครัดของมอญเกาะเกร็ดนั้น ยังแสดงให้เห็นในประเพณีเนื่องในเทศกาลต่างๆ , เนื่องในวันสำคัญพุทธศาสนา และเนื่องในความเชื่อเรื่องผี และสิ่ง ลี้ลับ เป็นต้น (หน้า 56)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้ระบุ

Social Cultural and Identity Change

สภาพสังคมมอญเกาะเกร็ดแต่เดิม จะเป็นสังคมที่ค่อนข้างสงบ ประชาชนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย แต่เมื่ออำเภอปากเกร็ดฝั่งแผ่นดินใหญ่เริ่มพัฒนา ก็ส่งผลให้เกาะเกร็ดเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามไปด้วย รวมไปถึงในเรื่องคติค่านิยมความเชื่อดั้งเดิมของชาวมอญ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าคติความเชื่อดั้งเดิมนั้นเป็นสิ่งที่งมงายไร้เหตุผล โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องผี จึงเลิกปฏิบัติกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีการอนุรักษ์ประเพณีบางอย่างที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา จากกระแสวัฒนธรรมของสังคมเมือง และภาวะเศรษฐกิจที่แปรเปลี่ยนดังกล่าว นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้สภาพสังคมที่เคยสงบมีวิถีชีวิตที่ราบเรียบของชุมชนมอญเกาะเกร็ดกำลังจะหมดไป กลายเป็นสังคมที่ต้องแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดเหมือนเช่นสังคมเมืองมากขึ้น (หน้า 93-98)

Other Issues

ไม่ได้ระบุ

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้มีการนำเสนอข้อมูลด้วยการใช้ตารางและรูปภาพเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย ตาราง : -ตารางที่ 1 แสดงเนื้อที่ และจำนวนครัวเรือนของตำบลเกาะเกร็ด (หน้า 7) รูปภาพ : -ภาพที่ 1 เส้นทางการเดินเรือจากปากอ่าว ถึงกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพ.ศ. 2228 – 2229 (หน้า 1) -ภาพที่ 2 ชุมชนมุสลิมที่เกาะเกร็ด (หน้า 5) -ภาพที่ 3 ชุมชนชาวไทย และชาวมอญที่เกาะเกร็ด (หน้า 5) -ภาพที่ 4 แผนผังเกาะเกร็ดในปัจจุบัน (หน้า 6) -ภาพที่ 5 สภาพแวดล้อมวิถีชุมชนเกาะเกร็ดในปัจจุบัน (หน้า 8) -ภาพที่ 6 แผนที่เขียนโดยชาวฮอลันดา เมื่อพ.ศ. 2193 แสดงแม่น้ำเจ้าพระยา และสถานที่สำคัญสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่ปากอ่าวไทย ถึงกรุงศรีอยุธยา (หน้า 10) -ภาพที่ 7 ปลายคลองลัดเกร็ดน้อยตรงมุมวัดปรมัยยิกาวาส หรือวัดปาดอ่าว (หน้า 11) -ภาพที่ 8 หม้อน้ำดินเผาสลักลายของเกาะเกร็ด (หน้า 14) -ภาพที่ 9 เครื่องปั้นดินเผาสลักลายของเกาะเกร็ด (หน้า 16) -ภาพที่ 10 โรงปั้นครกในปัจจุบัน (หน้า 16) -ภาพที่ 11 การนวดดินและการปั้นภาชนะดินเผา โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องทุ่นแรง (หน้า 17) -ภาพที่ 12 การปั้นครก (หน้า 20) -ภาพที่ 13 การปั้นดินเผาขนาดเล็ก (หน้า 20) -ภาพที่ 14 การขึ้นรูป (หน้า 21) -ภาพที่ 15 การแกะสลักลาย (หน้า 21) -ภาพที่ 16 ลักษณะเตาถัง (หน้า 23) -ภาพที่ 17 เตาประทุน หรือเตาหลังคาเต่าของเกาะเกร็ดที่เลิกใช้งานแล้ว (หน้า 23) -ภาพที่ 18 การเผาเครื่องปั้นในเตาถัง โดยใช้เศษกระเบื้องปิดคลุมขณะเผา (หน้า 23) -ภาพที่ 19 ช่องใส่ฟืน ที่แนวสันหลังคาเตาจีน (หน้า 23) -ภาพที่ 20 ลักษณะเตาเผาแบบประทุน (หน้า 24) -ภาพที่ 21 การจัดเรียงของเข้าเตาเผา (หน้า 25) -ภาพที่ 22 ปีกนก หรือหูช้างของเตาหลังเต่า (หน้า 25) -ภาพที่ 23 ทางมะพร้าวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในปัจจุบัน (หน้า 26) -ภาพที่ 24 กระถางที่เผาสุกแล้วในเตาจีน พร้อมที่จะนำออกจากประตูเตา (หน้า 26) -ภาพที่ 25 ช่องระบายความร้อนที่ท้ายเตา (หน้า 27) -ภาพที่ 26 การปิดปากเตาเผา (หน้า 27) -ภาพที่ 27 การขนภาชนะดินเผาที่สุกแล้วออกจากเตาเผา เรียกว่า ออกเตา (หน้า 27) -ภาพที่ 28 ช่องวางดอกไม้ ธูป เทียน สำหรับบูชาเตา (หน้า 29) -ภาพที่ 29 การไหว้เตาในปัจจุบัน (หน้า 30) -ภาพที่ 30 การจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ดในปัจจุบัน (หน้า 31) -ภาพที่ 31 เครื่องเคาะจังหวะของวงดนตรีมอญ ที่ทำจากไม้ไผ่ท่อนยาว และวงปี่พาทย์มอญ (หน้า 37) -ภาพที่ 32 นางปรุง วงศ์จำนงศ์ ครูสอนมอญรำที่เกาะเกร็ด (หน้า 40) -ภาพที่ 33 มอญรำ หรือ รำมอญ (หน้า 41) -ภาพที่ 34 การใช้มือดีดลูกสะบ้า เป็นท่าหนึ่งของการเล่นสะบ้าของชาวมอญเกาะเกร็ด (หน้า 42) -ภาพที่ 35 การเล่นสะบ้าด้วยท่าต่างๆ ของเด็กชาวมอญชุมชนวัดม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี (หน้า 42) -ภาพที่ 36 อาหารมอญ (หน้า 48) -ภาพที่ 37 ข้าวแช่ อาหารที่นิยมทำรับประทานในเทศกาลสงกรานต์ (หน้า 48) -ภาพที่ 38 ต้นหน่อกะลา ที่ชาวมอญเกาะเกร็ดนิยมนำมาทำประกอบอาหารต่างๆ (หน้า 50) -ภาพที่ 39 หญิงชาวมอญสาธิตการประกอบอาหาร โดยใช้หน่อกะลาเป็นส่วนประกอบ (หน้า 50) -ภาพที่ 40 การแต่งกายของหญิงชายชาวมอญ (หน้า 53) -ภาพที่ 41 เครื่องประดับมวยผมของหญิงชาวมอญ เรียกว่า กะหล่ำ (หน้า 54) -ภาพที่ 42 ศาลเจ้าพ่อเกษแก้วไชยฤทธิ์ (หน้า 55) -ภาพที่ 43 การบวช (หน้า 59) -ภาพที่ 44 เรือนไทย และเรือนฝากระดานของชาวไทย และชาวมอญที่เกาะเกร็ด (หน้า 61) -ภาพที่ 45 โจ้ง-เนียะ หรือ เตียงชนะ (หน้า 64) -ภาพที่ 46 เปิง-หะ-มาว ในพิธีศพชาวมอญเกาะเกร็ดในปัจจุบัน (หน้า 65) -ภาพที่ 47 เชิงตะกอนในอดีตก่อนที่จะมีการสร้างเมรุเผาศพ (หน้า 66) -ภาพที่ 48 ปราสาทเผาศพพระไตรสรณธัช (มาลัย บุปผทาโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวา (หน้า 69) -ภาพที่ 49 ประชาชนนำอาหารไปใส่บาตรในเรือ และใส่บาตรที่ลูกศิษย์วัดนำขึ้นมารับบนฝั่ง ในประเพณีตัดบาตรเรือที่หน้าวัดปรมัยยิกาวาส (หน้า 73) -ภาพที่ 50 พระสงฆ์จากวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้อำเภอปากเกร็ด นั่งเรือมาบิณฑบาตในประเพณีตักบาตรเรือที่หน้าวัดปรมัยยิกาวาส (หน้า 74) -ภาพที่ 51 เรือที่นำพระสงฆ์มาบิณฑบาตในประเพณีตักบาตรเรือที่เกาะเกร็ด (หน้า 75) -ภาพที่ 52 ประเพณีทำบุญเลี้ยงพระในวันออกพรรษาที่วัดปรมัยยิกาวาส (หน้า 76) -ภาพที่ 53 ประเพณีตักบาตรดอกไม้ที่วัดปรมัยยิกาวาส (หน้า 77) -ภาพที่ 54 โรงทานสำหรับทำบุญเลี้ยงพระ และเลี้ยงข้าวแช่ (หน้า 80) -ภาพที่ 55 หม้อข้าวแช่ และสำรับข้าวแช่ (หน้า 80) -ภาพที่ 56 ขบวนแห่ข้าวแช่ (หน้า 81) -ภาพที่ 57 กับข้าวแช่หรือเครื่องเคียงของข้าวแช่ (หน้า 81) -ภาพที่ 58 บ้านสงกรานต์ (หน้า 82) -ภาพที่ 59 หัวหน้าครอบครัวจุดธูปเชิญท้าวกบิลพรหมลงมาเสวยข้าวแช่ (หน้า 82) -ภาพที่ 60 หญิงชาวมอญเตรียมน้ำไปสรงพระพุทธรูปและพระสงฆ์ที่วัดปรมัยยิกาวาส (หน้า 83) -ภาพที่ 61 แห่พระพุทธรูปมาสู่โรงพิธี (หน้า 83) -ภาพที่ 62 โรงพิธีสรงน้ำพระ (หน้า 84) -ภาพที่ 63 น้ำที่ประชาชนเทผ่านรางจะไหลลงมารดองค์พระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ในโรงพิธี (หน้า 84) -ภาพที่ 64 ประชาชนเทน้ำผ่านรางสรงให้ไหลลงมารดองค์พระสงฆ์ (หน้า 84) -ภาพที่ 65 ขบวนแห่หางหงส์ธงตะขาบ (หน้า 85) -ภาพที่ 66 เสาหงส์ซึ่งจะตั้งอยู่ประจำวัดของมอญ (หน้า 86) -ภาพที่ 67 หางหงส์ หรือธงตะขาบ ที่นำไปผูกไว้ที่เสาหงส์ หลังจากที่ขบวนแห่มาถึงวัด (หน้า 86) -ภาพที่ 68 ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายในช่วงสงกรานต์ (หน้า 87) -ภาพที่ 69 ชาวมอญทุกเพศทุกวัยจัดขบวนแห่น้ำหวาน ไปถวายพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ (หน้า 89) -ภาพที่ 70 ชาวมอญจะนำน้ำผึ้งรินใส่บาตร หรือภาชนะที่ทางวัดจัดไว้โดยเฉพาะ (หน้า 90) -ภาพที่ 71 ชาวมอญตักบาตรอาหารคาวหวานและข้าวต้มลูกโยนในวันประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง (หน้า 91)

Text Analyst สุพรรณิการ์ เอี่ยมแสนสุข Date of Report 18 พ.ค. 2559
TAG มอญ, ความเป็นอยู่, ประเพณี, วัฒนธรรม, เครื่องปั้นดินเผา, นนทบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง