สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,ชาวเล,สภาวะอนามัย,เกาะหลีเป๊ะ,จ.สตูล
Author ยงยุทธ พินิตอังกูร และคณะ
Title การศึกษาสภาวะอนามัยของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 57 Year 2530
Source การอบรมนักวิจัยส่วนภูมิภาค ศูนย์การฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ นครศรีธรรมราช
Abstract

ผลจากการศึกษาจะพบได้ว่า ด้านพฤติกรรมอนามัยชาวเลนั้น ยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ เนื่องจากพฤติกรรมของชาวเลที่ยังคงใช้น้ำจากน้ำตกอาดัง โดยมิได้นำมาต้มหรือฆ่าเชื้อ, การกำจัดขยะมูลฝอยใช้วิธีเผา, การขับถ่ายอุจจาระยังนิยมถ่ายในป่าเป็นส่วนมาก เป็นต้น ด้วยปัญหาข้างต้นยังส่งผลให้พบว่ายุง และหนู ถือเป็นสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญสู่ชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ นอกจากนี้ชาวเลหลีเป๊ะยังไม่นิยมการฝากครรภ์ ยังคงทำคลอดโดยผ่านหมอตำแยที่ผ่านการอบรมเท่านั้น เป็นต้น จากข้อสรุปข้างต้นนี้ทำให้ได้ทราบถึงสภาพทั่วไป และปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่เกิดขึ้นในกลุ่มชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประกอบการวางแผนพัฒนา และแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขของชาวเลได้ (หน้า 37-41)

Focus

เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านสภาวะอนามัย เพื่อใช้สำหรับการวางแผนพัฒนางานสาธารณสุข หรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล (หน้า 3)

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ชาวเล เป็นชื่อที่คนไทยเรียกกลุ่มคนที่มีชีวิตเร่ร่อนและอาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ และในบริเวณชายฝั่งของแหลมมลายู รวมทั้งแกะหลีเป๊ะ แต่หากพิจารณารูปร่างและหน้าตาของชาวเลแล้วนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับชาวมลายู ซึ่งจะมีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผิวดำ ตาดำ ผมหยิกหยอย เป็นต้น แต่มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเองอีกด้วย (หน้า 6-7) ชาวเลในประเทศไทยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 3 กลุ่ม คือ มาลัดกา ลิงกาและมาซิงหรือสิงห์ (หน้า 8) ซึ่งบ่งบอกที่มาจากแหล่งต่างๆ ปัจจุบันชาวหลีเป๊ะ เรียกตัวเองว่า “ไทยใหม่” หรือ “ชาวเล” ซึ่งชาวหลีเป๊ะนี้จะไม่ชอบให้ผู้คนเรียกตัวเองว่า “ชาวน้ำ” (หน้า 15)

Language and Linguistic Affiliations

แต่เดิมภาษาบนเกาะหลีเป๊ะถือกำเนิดมาจาก ภาษาของชาวเลบนเกาะกุลนุงยาไร ทั้งนี้เพราะจากข้อมูลที่ศึกษาพบว่า ผู้ที่มาอยู่บนเกาะหลีเป๊ะเป็นคนแรก คือ นายฮีรี ซึ่งเป็นชาวเกาะกุลนุงยาไร ประเทศอินโดนีเซียนั่นเอง และต่อมาเริ่มมีคนอพยพจากหมู่เกาะต่างๆ ทั้งทางพม่าและไทยเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ภาษาของคนเหล่านี้ได้มีการผสมผสานขึ้นเป็นระบบใหม่ และในที่สุดทำให้ชาวเลเกาะหลีเป๊ะมีลักษณะเอกลักษณ์เฉพาะด้านภาษาที่น่าสนใจ (หน้า 16)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

บรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวเลมาจากไหนไม่มีหลักฐานชัดเจน มีข้อสันนิษฐานที่หลากหลายและถูกเรียกด้วยชื่อต่างๆ ในท้องถิ่นต่างๆ สำหรับชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะมีบรรพบุรุษจากอินโดนีเซียและแกะอื่นๆ ใกล้เคียง เดิมเกาะหลีเป๊ะเป็นเกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ จนกระทั่งคุณฮีรี เข้ามาจับจองพื้นที่เป็นคนแรก มีการปลูกต้นไม้ต่างๆ ปลูกต้นมะพร้าว ต่อมาเริ่มมีผู้คนจากเกาะต่างๆ พากันอพยพมาอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะกันมากขึ้นด้วยเพราะทำเลที่เหมาะสม เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะอพยพมาจากเกาะลันตา แต่ก็ยังมีบางส่วนที่อพยพมาจากเกาะสอง และเกาะสิเหร่เช่นกัน (หน้า 15)

Settlement Pattern

ชาวเกาะหลีเป๊ะ จะมีการสร้างบ้านเรือนแบบบ้านไม้ยกพื้นสูงลักษณะง่ายๆ โดยการนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใบหวาย, ใบจาก และไม้ไผ่ เป็นต้น การสร้างบ้านลักษณะเช่นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยเพื่อหลีกหนีภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมได้ และบ้านของชาวเลนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่กระจายตัวมากนัก ทั้งนี้ด้วยปัจจัยข้อพื้นที่ที่มีข้อจำกัด (หน้า 17) แต่อย่างไรก็ตาม ในบางส่วนและบางช่วงเวลาของชาวเลนั้น จะอาศัยอยู่บนเรือด้วน (หน้า 13)

Demography

ประชากรของชาวเลเกาะหลีเป๊ะหมู่ที่ 7 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูลมีประมาณ 338 คน อยู่ในบ้าน 60 หลังคาเรือน เป็นชาย 174 คน และเป็นหญิง 164 คน ซึ่งแต่ละหลังคาเรือนจะมีสมาชิกโดยเฉลี่ยประมาณ 6 คน (หน้า 21)

Economy

โดยทั่วไปชาวเลจะมีอาชีพหลักคือ การทำประมง ซึ่งชาวเลที่ค่อนข้างมีฐานะจะมีเรือหาปลา และอุปกรณ์การจับสัตว์น้ำต่างๆ เป็นของตัวเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วชาวเลจะรับจ้างทำประมงในเรือของพวกนายทุน หรือไม่ก็เช่าเรือของพวกนายทุนที่เป็นบุคคลภายนอกชุมชน ซึ่งลักษณะการทำประมงของชาวเลนั้น ปกติจะทำกันเพื่อยังชีพไปวันๆ หนึ่งเท่านั้น เนื่องจากชาวเลไม่มีอุปกรณ์สำหรับเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ตนหามาได้ จึงทำให้ต้องรีบขายสัตว์ที่จับมาได้ภายในวันนั้นๆ ทันที แม้จะถูกกดราคาก็ตาม (หน้า 13)

Social Organization

แต่เดิมนั้นชาวเลจะมีโต๊ะหมอ ซึ่งจะเป็นผู้นำชุมชนที่ได้รับความเชื่อถือจากชาวเลมากและในเวลาเดียวกันยังเป็นผู้นำในการทำพิธีต่างๆ และเป็นหมอรักษาคนเจ็บอีกด้วย แต่ปัจจุบันบทบาทของโต๊ะหมอเริ่มลดน้อยลง ทั้งนี้เพราะทางราชการได้มีการกำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านและสารวัตรกำนันขึ้น เพื่อให้มีบทบาทมาแทนที่โต๊ะหมอ โดยผู้นำเหล่านี้นั้นจะถูกคัดเลือกทั้งจากชาวเล และจากทางราชการเช่นกัน นอกจากนี้กลุ่มอิทธิพลอีกพวกหนึ่งของชาวเลคือ บรรดาเหล่านายทุน พ่อค้า และเจ้าของที่ดิน เพราะชาวเลต้องซื้อของใช้ต่างๆ จากร้านค้า เช่าเรือ ขายสัตว์น้ำให้แก่บุคคลดังกล่าว ซึ่งจะพบได้ว่าจากการติดต่อกับสังคมภายนอก เริ่มมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของชาวเลมากขึ้นตามไปด้วย (หน้า 13-14)

Political Organization

ผู้นำชุมชน จะมีบทบาทสำคัญในกลุ่มชาวเล ซึ่งชาวเลมักจะเลียนแบบผู้นำ อีกทั้งผู้นำยังสามารถวางกฎระเบียบต่างๆ ใช้ในกลุ่มชาวเลได้ด้วย การทะเลาะวิวาทใดๆ ที่เกิดขึ้น คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านจะมีหน้าที่ไกล่เกลี่ย เป็นต้น (หน้า 28)

Belief System

ชาวเลมีคติความเชื่อเรื่องผี และวิญญาณหลังความตาย จะเห็นได้จากพิธีฝังศพเหมือนกันกับสังคมอื่นๆ และยังมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยอีกด้วย อาทิเช่น -เมื่อมีบาดแผล ห้ามรับประทานปลาที่ตัวลื่นๆ หรือไม่มีเกล็ด เพราะจะทำให้แผลหายยาก -กินรากไม้ต่างๆ ซึ่งเชื่อว่า บำรุงกำลัง และแก้ปวดเมื่อยได้ -กินว่าน โดยเชื่อว่า ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก เป็นต้น (หน้า 27-28)

Education and Socialization

โดยปกติชาวเลที่แต่งงานแล้วจะแยกตัวออกไปตั้งบ้านเรือนต่างหาก และหากครอบครัวใดเหลือเพียงพ่อและแม่โดยลำพังไม่มีคนดูแล การแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่นั้นจะต้องไม่ห่างไกลจากบริเวณชุมชนมากนัก ในเรื่องการแบ่งหน้าที่การทำงานนั้น ฝ่ายชายจะมีหน้าที่ออกไปทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ส่วนฝ่ายหญิงนั้นจะดูแลบ้าน และลูก ในส่วนของเด็กชาวเลทั้งหญิงและชาย จะถูกฝึกให้เรียนรู้ธรรมชาติในทะเล ส่วนความรู้เฉพาะทางสำหรับเด็กชายที่จะถูกฝึกนั้นจะเน้นให้เรื่องให้รู้จักชีวิตสัตว์ในทะเล เพื่อทำหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวในคราวที่ตนนั้นโตเป็นหนุ่มต่อไป ส่วนเด็กหญิงจะได้รับการฝึกหัดเกี่ยวกับงานบ้าน เป็นต้น (หน้า 13) สำหรับการศึกษาของเด็กชาวเลนั้น โดยทั่วไปผู้ปกครองไม่ค่อยสนใจส่งลูกเข้าเรียน เนื่องจากจะต้องเป็นแรงงานให้กับครอบครัวในการช่วยที่บ้านทำมาหากิน (หน้า 14)

Health and Medicine

ในเบื้องต้นนั้นหากชาวเลมีอาการป่วยไข้ที่ไม่ทราบสาเหตุ และรักษาไม่หาย แม้จะส่งตัวไปรักษาที่สถานีอนามัยก็ตาม ชาวเลก็จะใช้วิธีทางไสยศาสตร์ โดยให้โต๊ะหมอ (หมอผี) เป็นผู้รักษาแทน ซึ่งจะให้สมุนไพรและเวทย์มนต์คาถาต่างๆ แต่หากท้ายที่สุดยังรักษาไม่หาย ชาวเลจะส่งผู้ป่วยเข้าไปรักษายังโรงพยาบาลจังหวัดสตูลทันที (หน้า 28)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สภาพโดยรวมทั่วไปของชาวเลนั้น นับว่าเป็นศิลปะแบบพื้นบ้าน ที่จะเน้นเพื่อความอยู่รอด มากกว่าความสวยงาม ดังนั้นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย จะมีการตกแต่งแบบง่ายๆ ลักษณะเลียนแบบต่อๆกันมาของบ้านชาวเกาะธรรมดาทั่วๆ ไป ใช้วัสดุท้องถิ่นนำมาก่อสร้าง เป็นต้น สำหรับเครื่องใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่ จะได้รับอิทธิพลจากสังคมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสังคมภายนอกนั่นเอง (หน้า 18)

Folklore

ชาวเลจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อตั้งแต่เกิดจนตาย เช่นเดียวกันกับชนชาติสังคมอื่นๆ ทั่วไป อีกทั้งยังมีเทศกาลเฉพาะสำหรับชาวเลอีกด้วยคือ เทศกาลลอยเรือ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว และเทพเจ้าที่นับถือ นอกจากนี้ในพิธีดังกล่าวยังมีหมอผีมาทำนายอนาคตของแต่ละครอบครัว และในเรื่องการทำมาหากินของชาวเลในหมู่บ้าน เป็นต้น (หน้า 25-27)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้มีการนำเสนอข้อมูลด้วยการใช้ตารางและแผนภูมิเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย ตาราง : -ตารางที่ 1 จำนวนชาวเลเกาะหลีเป๊ะเดือนเมษายน 2530 จำแนกตามอายุและเพศ (หน้า 21) -ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ตั้งแต่วัยเรียน จำนแนกตามระดับการศึกษา (หน้า 240 -ตารางที่ 3 การเลี้ยงสัตว์ และการกำจัดมูลสัตว์ของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ (หน้า 29) -ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามแหล่งน้ำดื่ม (หน้า 29) -ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามจำนวนภาชนะใส่น้ำดื่ม (หน้า 30) -ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามวิธีการกำจัดขยะ (หน้า 31) -ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามความถี่ในการกำจัดขยะ (หน้า 31) -ตารางที่ 8 การกำจัดแมลง และสัตว์นำโรคของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ (หน้า 32) -ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามวิธีคุมกำเนิด (หน้า 32) -ตารางที่ 10 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามการฝากครรภ์ (หน้า 33) -ตารางที่ 11 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วย (หน้า 34) -ตารางที่ 12 จำนวนและร้อยละของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามการมีส่วนร่วมในงานสาธารณสุข (หน้า 35) แผนภูมิ : -แผนภูมิที่ 1 แสดงร้อยละของประชากรเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามอายุและเพศ (หน้า 22) -แผนภูมิที่ 2 แสดงจำนวนหัวหน้าครัวเรือนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามอาชีพหลัก (หน้า 23) -แผนภูมิที่ 3 แสดงจำนวนหัวหน้าครัวเรือนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จำแนกตามอาชีพรอง (หน้า 23) -แผนภูมิที่ 4 แสดงจำนวนและร้อยละของช่องทางที่ชาวเลเกาะหลีเป๊ะใช้ในการรับข่าวสาร จำแนกตามชนิดของช่องทาง (หน้า 25)

Text Analyst สุพรรณิการ์ เอี่ยมแสนสุข Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG อูรักลาโว้ย, ชาวเล, สภาวะอนามัย, เกาะหลีเป๊ะ, จ.สตูล, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง