สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทยพวน,พิธีบุญกำฟ้า,สิงห์บุรี
Author ยุรี ใบตระกูล
Title พิธีบุญกำฟ้าของลาวพวน : กรณีศึกษาหมู่บ้านพวน ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 144 Year 2537
Source หลักสูตรมานุษยวิทยาหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

พิธีบุญกำฟ้าเป็นพิธีกรรมโบราณที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของลาวพวนที่คงอยู่ สัญลักษณ์ในพิธีกรรมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์ โดยพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้าง และการจัดระเบียบทางสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และพิธีกรรมยังสะท้อนให้เห็นโครงสร้างทางเครือญาติและการตั้งถิ่ฐานบ้านเรือนหลังการสมรส และการให้ความสำคัญกับญาติทางฝ่ายหญิงเป็นหลัก อีกทั้งพิธีกรรมยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อที่ประกอบด้วยพุทธศาสนา ลัทธิพราหมณ์ และความเชื่อดั้งเดิม นอกจากนี้พิธีกรรมยังมีบทบาทในการยึดเหนี่ยวให้ลาวพวนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน

Focus

ศึกษารายละเอียดของพิธีบุญกำฟ้า และผลที่มีต่อการจัดระเบียบสังคมของลาวพวน ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของพิธีในฐานะที่เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของลาวพวน (หน้า 5)

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้อาศัยแนวทฤษฎีโครงสร้างการหน้าที่ของ Dukheim และแนวคิดสัญลักษณ์นิยมของ Victor Turner โดยผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นว่า พิธีบุญกำฟ้า ของลาวพวนในชุมชนบ้านพวนสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของลาวพวนที่ผูกพันอยู่กับการเพาะปลูก ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก แต่ลาวพวนมองธรรมชาติเหล่านี้ว่ามีพลังอำนาจในรูปลักษณ์ของผี วิญญาณ และเทพารักษ์ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือให้สามารถประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกได้ หากได้มีการเซ่นไหว้และบูชาอย่างเหมาะสม (หน้า 91) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำพิธีบุญกำฟ้าที่บูชาและขอบคุณผีฟ้าซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่น รวงข้าว เคียว เกวียน ไซ เป็นสัญลักษณ์ของการเกษตรกรรม ส่วนเครื่องที่นำมาบวงสรวงจะเป็นพืชผลการเกษตร เช่น กล้วย มะพร้าว และส้ม สื่อถึงความต้องการความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ กฎเกณฑ์พฤติกรรมในระหว่างพิธีกรรมเป็นความประณีต เรียบร้อย และความสมานฉันท์ของชุมชน ซึ่งตอกย้ำด้วยการเผาข้าวหลามกินร่วมกันเป็นสัญลักษณ์ของความเหนียวแน่น พิธีบุญกำฟ้าจึงทำหน้าที่สำคัญในชุมชนคือ สนองตอบต่อความจำเป็นของสมาชิก และสืบทอดความคิด ความเชื่อ และสะท้อนวิถีชีวิตดั้งเดิม ส่งเสริมความสมานฉันท์ของชุมชน (หน้า 92-99)

Ethnic Group in the Focus

ลาวพวน

Language and Linguistic Affiliations

ปัจจุบัน ลาวพวนจะพูดภาษาพวนกันเฉพาะในหมู่ลาวพวนด้วยกัน โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ เมื่อมีการติดต่อกับคนภายนอกจะใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร เด็กรุ่นใหม่จึงพูดภาษาพวนปนกับภาษาไทย (หน้า 50)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ประวัติความเป็นมาของบ้านพวนไม่ปรากฏแน่ชัด มีเพียงการเล่าต่อ ๆ กันมาว่าเป็นลาวพวนที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ พวนที่ตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านนี้จะเรียกบ้านพวนว่า บ้านเญ่อ (บ้านใหญ่) มีการแบ่งเป็นคุ้มบ้าน 6 คุ้ม ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่า บ้านพวน เป็นชื่อที่ทางการตั้งขึ้น เมื่อมีถนนตัดผ่านหมู่บ้านจึงถูกแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน ส่วนที่แยกออกมาเรียกกันว่า บ้านเม่อ (หน้า 21)

Settlement Pattern

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของบ้านพวนจะปลูกติดกัน มีรั้วแบ่งอาณาเขตของตน แต่ละอาณาเขตจะประกอบไปด้วยกลุ่มเครือญาติ 2 - 4 หลังคาเรือน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านทรงธรรมดา มีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวมุงด้วยหลังคาสังกะสี มีใต้ถุนบ้านไว้เป็นที่พักผ่อน เก็บอุปกรณ์ทำนาทำไร่ บ้านเรือนจะกระจุกและกระจายตัวระหว่างริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองส่งน้ำ ในชุมชนมีโรงเรียน สถานีอนามัย สำนักงานสุขาภิบาล และสำนักงานประถมศึกษา (แผนที่หน้า 19, 20)

Demography

หมู่บ้านพวนประกอบด้วย 287 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 1577 คน เป็นชาย 730 คน และหญิง 847 คน ประชากรในหมู่บ้านมีทั้งคนลาว ไทย และจีน คนพวนเป็นคนท้องถิ่นในหมู่บ้าน ส่วนคนไทยและจีนเข้ามาโดยการแต่งงานกับคนพวนในหมู่บ้าน (หน้า 22)

Economy

ในอดีตพวนจะประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ซึ่งพวนถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของกลุ่ม ปัจจุบันเมื่อสภาพเศรษฐกิจของหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่จึงหันมาประกอบอาชีพอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพรับราชการร้อยละ 33.45 รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้างร้อยละ 31.36 อาชีพค้าขายร้อยละ 14.29 และอาชีพเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 12.19 ส่วนอาชีพทำนาเหลือเพียง ร้อยละ 8.17 เท่านั้น (หน้า 23-24)

Social Organization

ในอดีตลักษณะครอบครัวของพวนจะเป็นครอบครัวแบบขยาย (Extended) ในครอบครัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 ชั่วคนขึ้นไป ลาวพวนจะนิยมแต่งงานในหมู่พวกเดียวกัน พิธีการแต่งงานของลาวพวนจะไม่มีการแห่ขันหมาก แต่จะมีการ แห่เขย ไปบ้านเจ้าสาว แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานโดยการให้ความสำคัญทางฝ่ายหญิง แต่หากลูกสาวคนเล็กแต่งงานและนำสามีเข้ามาอยู่ในบ้าน ลูกสาวคนโตก็จะต้องแยกครอบครัวของตนจึงทำให้เกิดครอบครัวเดี่ยวขึ้น แม้ว่าการแต่งงานจะยึดการตั้งถิ่นฐานของฝ่ายหญิงเป็นหลัก แต่ฝ่ายหญิงก็ต้องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของสามี ทำให้เกิดนามสกุลซึ่งมิได้มีต้นตระกูลอยู่ในบ้านพวน อย่างไรก็ตามแม้ว่าหนุ่มสาวหลายคู่จะแต่งงานกับคนนอกกลุ่มมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ในระดับครอบครัวยังคงมีความผูกพันกันเหมือนเดิม ด้วยการนำบุตรมาให้ตายายหรือเครือญาติทางฝ่ายหญิงเลี้ยงดู (หน้า 33)

Political Organization

การปกครองของหมู่บ้านพวนจะมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่สืบเชื้อสายพวนเป็นหลัก ซึ่งจะเลือกจากความสามารถในการทำงานติดต่อกับทางการ และให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้าน การเลือกผู้นำจะไม่คำนึงถึงเพศ ในปัจจุบันหมู่บ้านพวนจึงมีผู้ใหญ่บ้านที่เป็นคนพวน และมีกำนันผู้หญิงที่เป็นคนพวนด้วย ภายในหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีทั้งกลุ่มที่เป็นทางการ เช่น กลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มร่วมสุขพัฒนา กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน และกรรมการวัด (หน้า 22)

Belief System

ลักษณะของพวนโดยทั่วไปเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา มีการทำบุญที่วัดอย่างสม่ำเสมอ ในหมู่บ้านพวนมีวัดอยู่ 2 แห่งคือ วัดอุตตมะพิชัย และวัดกุฎีทองซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีบุญกำฟ้า นอกจากชาวบ้านจะนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่แล้ว ภายในหมู่บ้านยังมีความเชื่อในเรื่องผีต่าง ๆ ลาวพวนเป็นผู้ยึดมั่นในขนบประเพณี และถือเป็นเครื่องเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ลาวพวน ประเพณีบางอย่างจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับประเพณีของไทย เช่น การบวช การตาย ส่วนประเพณีที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของลาวพวน ได้แก่ ประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะกัน ประเพณีบุญข้าวหลาม ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีทำบุญหมู่บ้าน ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีบ้องไฟ บุญเข้าพรรษา ประเพณีสาร์ทพวน ถือเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีเทศน์มหาชาติ ประเพณีตักบาตรเทโว ประเพณีกวนข้าวทิพย์ โดยมีความเชื่อว่าการบริโภคข้าวทิพย์จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเอง และเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับตนเองด้วย ประเพณีลงข่วง เป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะพูดคุยกัน ประเพณีบุญกำฟ้า เป็นพิธีกรรมโบราณพิธีกรรมเดียวที่มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของลาวพวน โดยเฉพาะในด้านความอุดมสมบูรณ์และเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของลาวพวนที่ยังคงอยู่ หากปีใดไม่จัดงานบุญกำฟ้าขึ้น พวนเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดความแห้งแล้งและเกิดฟ้าผ่าขึ้นในหมู่บ้าน พิธีกำฟ้าถือปฏิบัติมาตั้งแต่อยู่เมืองลาว ลาวพวนจะทำบุญกำฟ้าหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ยึดเอาวันที่ได้ยินเสียงฟ้าร้องครั้งแรกเป็นวันกำฟ้า อย่างไรก็ดีลาวพวนที่หมู่บ้านพวนจะยึดเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ทุกปี เป็นวันกำฟ้าเพราะเป็นฤดูกาลที่ว่างจากงาน ถือเป็นการเฉลิมฉลองภายหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว และเป็นการเตรียมฤดูกาลเพาะปลูกครั้งต่อไป การประกอบพิธีบุญกำฟ้าแยกตามความเชื่อออกเป็น 3 ส่วนคือ พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อทางพุทธศาสนาคือ พิธีบุญ ที่กระทำโดยพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี พิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องการนับถือผีคือ การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ผีในเครื่องมือเครื่องใช้ การแห่แม่โพสพ ประกอบพิธีโดยชาวบ้าน และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์คือ การบวงสรวงเทวดาประกอบพิธีโดยผู้อาวุโสของหมู่บ้านที่รู้เรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรม ก่อนถึงวันประกอบพิธีกรรมคือในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 พวกผู้ชายพวนจะเข้าไปตกแต่งสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม และทำการสร้างศาลเพียงตา จัดลานเผาข้าวหลามทิพย์ และจัดเตรียมสถานที่สำหรับพระสงฆ์ที่จะมาเทศน์ ในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ก่อนที่จะถึงวันกำฟ้า เรียก วันสุกดิบ ชาวบ้านจะมีพิธีที่สำคัญในการทำบุญกำฟ้า 4 อย่างคือ พิธีแห่แม่โพสพ พิธีบวงสรวงเทวดา พิธีเปิดงานกำฟ้า และพิธีบูชาแม่เตาไฟและบันได นอกจากนี้ยังต้องมีการเผาข้าวหลามเพื่อที่จะนำข้าวหลามไปประกอบพิธีร่วมกันที่วัด เช้าของวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ถือว่าเป็นวันกำฟ้า ซึ่งจะมีพิธีกรรมที่สำคัญ 2 อย่างคือ พิธีตักบาตรข้าวหลาม และการเซ่นไหว้ศาลบรรพบุรุษ ในวันกำฟ้าพวนจะถือเป็นวันที่ทุกคนหยุดงานพักผ่อนอยู่กับบ้าน ห้ามจับอุปกรณ์การเกษตร และห้ามจับของมีคม (หน้า 54-55, 58-60, 63, 66)

Education and Socialization

ในหมู่บ้านมีโรงเรียนประจำหมู่บ้านจำนวน 2 แห่ง เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนอีกแห่งหนึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนระดับการศึกษาของประชาชนในหมู่บ้านพวนนี้ ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาความเจริญทางด้านการศึกษาได้เข้าสู่หมู่บ้านมากขึ้น เด็กรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา และเกือบทุกครอบครัวจะมีลูกหลานเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งในจังหวัดและในกรุงเทพฯ (หน้า 22-23)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของลาวพวนทั้งชายและหญิงจะแบ่งเป็นชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และชุดที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานประเพณี พิธีต่าง ๆ ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าชายหญิงในรุ่นปัจจุบันจะแต่งกายเหมือนคนในเมืองทั่วไป ส่วนชายสูงอายุจะใส่กางเกงยาวแค่น่อง เสื้อคอกลมมีผ้าขาวม้าคาดเอว ส่วนหญิงสูงอายุจะสวมเสื้อคอกระเช้า นุ่งผ้าถุงลายดอก สำหรับงานประเพณีต่าง ๆ ชายสูงอายุจะใส่กางเกงผ้าพื้นสีเข้มขายาว เสื้อเชิ้ตสีขาวและมีผ้าขาวม้าคาดเอว หญิงวัยกลางคนจะนุ่งผ้าถุงสีฉูดฉาดมีเชิง และใส่เสื้อลูกไม้สีต่างๆ ส่วนหญิงชราจะใส่เสื้อลูกไม้สีขาวแขนยาวหรือแขนสั้น ผ้าถุงลายดอก มีผ้าพื้นขาวห่มเฉียงทับเสื้อ ส่วนในงานพิธีบุญกำฟ้าพวนไม่ว่าจะเป็นคนแก่ สาว หรือเด็ก จะมีการแต่งกายที่พิเศษกว่างานบุญอื่นๆ ด้วยการแต่งชุดพื้นบ้านในอดีต เครื่องใช้ไม้สอยของลาวพวนส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเป็นเครื่องสานที่ทำด้วยไม้ไผ่ และเครื่องใช้บางชนิด ได้แก่ ไซ ข้อง หมวกชาวนา เกวียน ลาวพวนจะนำมาใช้ในการประกอบพิธีบุญกำฟ้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ (หน้า 50-53)

Folklore

หนังสือพวนเก่าแก่ได้บันทึกตำนานและมูลเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าว่า เจ้าผู้ครองเมืองพวนได้ร่วมกับเจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทร์ ทำศึกกับเมืองหลวงพระบางและได้ชัยชนะ เจ้าเมืองพวนจึงไม่เคารพต่อเจ้าเมืองเวียงจันทร์ดังที่เคยปฏิบัติมา จึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตด้วยหอก แต่เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้น ด้ามหอกได้ถูกฟ้าผ่าขาดสะบั้นลง เจ้าเมืองเวียงจันทร์จึงให้เจ้าเมืองพวนกลับไปครองนครตามเดิม ประชาชนสันนิษฐานว่าฟ้าคงมีเทพเจ้าคุ้มครองป้องกันผู้ที่ไม่มีความผิด จึงนำเครื่องเซ่นสังเวยมาบูชา โดยกำหนดวันเกิดฟ้าผ่านั้นเป็นวันจัดงานซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ ของทุกปี ไทยพวนบ้านบางน้ำเชี่ยวได้สืบเชื้อสายต่อมาจึงยึดถือการจัดงานประเพณีตามบรรพบุรุษ อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า พระมหากษัตริย์พวนพระองค์หนึ่งประชวรหนัก โหรทำนายว่าต้องถือศีลกินเพลถึง 7 วัน จึงจะหายจากโรคได้ และในขณะเดียวกันพสกนิกรจะต้องหยุดประกอบกิจการงานและสิ่งเอิกเกริกทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ เป็นวาระครบรอบปีของเหตุการณ์นั้นมาถึง พวนจึงมีพิธีกำฟ้าและพากันหยุดงานการทั้งปวงเป็นประเพณีสืบต่อมาทุกปีจนบัดนี้ (หน้า 56)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ประเพณีบุญกำฟ้า ถือเป็นกลไกที่ช่วยสร้างพลังยึดเหนี่ยวในกลุ่มลาวพวนผู้มีเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แม้ว่าพวนจะอพยพไปอยู่ในท้องถิ่นอื่น ๆ หรือไปทำงานในที่ต่างๆ แต่เมื่องถึงฤดูกำฟ้าพวนจะกลับมายังบ้านเดิมของตนเพื่อทำบุญตักบาตรและเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและประกอบพิธีร่วมกันทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวในหมู่ลาวพวนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น (หน้า 98)

Social Cultural and Identity Change

จากความเจริญที่เข้ามาสู่หมู่บ้าน ส่งผลให้หมู่บ้านลาวพวนเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตการดำรงชีพของชาวบ้านในด้านต่าง ๆ และในส่วนของพิธีกรรมก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน ประเพณีโบราณที่พวนเคยยึดถือปฏิบัติกันมาบางประเพณีได้สูญหายไปตามสภาพสังคม เช่น พิธีบุญข้าวจี่ บุญข้าวหลาม บุญหมู่บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ บางประเพณีที่ยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่ขั้นตอนของพิธีกรรมได้ถูกตัดทอนลงไปมาก เช่น ประเพณีสาร์ทพวน ประเพณีสงกรานต์ แม้ว่าพิธีกรรมต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปแต่พิธีบุญกำฟ้าถือว่าเป็นพิธีกรรมโบราณพิธีกรรมเดียวของลาวพวนที่ยังคงอยู่ในสังคม และถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของลาวพวนที่ยังคงอยู่ (หน้า 67)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงที่ตั้งบ้านเรือนของหมู่บ้านพวน ตำบลบางน้ำเชี่ยว (หน้า 19) แผนผังแสดงบริเวณวัดกุฎีทองที่ประกอบพิธีบุญกำฟ้า ปี 2535 (หน้า 103) แผนผังแสดงบริเวณวัดกุฎีทองที่ประกอบพิธีบุญกำฟ้า ปี 2536 (หน้า 104)

Text Analyst ปนัดดา ปิ่นแก้ว Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, พิธีบุญกำฟ้า, สิงห์บุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง