สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวครั่ง,คำศัพท์,ภาษา,สังคม,นครปฐม
Author ศิริกุล กิติธรากุล
Title ความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับการเลือกใช้ศัพท์ของชุมชนลาวครั่ง ที่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวครั่ง ลาวขี้คั่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 98 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

เนื้อหาของงานเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการเลือกใช้ศัพท์ภาษาลาวครั่งและศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยหรือกลุ่มวัยรุ่นมีการเลือกใช้ศัพท์ภาษาลาวครั่งน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้สูงอายุมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากกว่ากลุ่มคนที่มีอายุน้อย เนื่องจากว่ากลุ่มคนที่มีอายุน้อยเป็นกลุ่มที่ต้องไปเรียนภายนอกชุมชนสำหรับการเลือกใช้ศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐานนั้นพบว่า กลุ่มที่เรียนในระดับชั้น ม.ปลายมีการเลือกใช้ศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยฉบับมาตรฐานมากกว่ากลุ่มที่เรียนต่ำกว่าชั้น ป.5และกลุ่มที่เรียนระหว่างชั้น ป.5-ม.3 เนื่องจากว่ากลุ่มที่เรียนในระดับชั้น ม.ปลายได้ติดต่อกับชุมชนภายนอกและไปเรียนภายนอกชุมชนมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

Focus

เพื่อวิเคราะห์ความถี่ของการใช้คำศัพท์ลาวครั่ง และคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐานและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกใช้คำศัพท์กับปัจจัยทางสังคม อาทิเช่น ความใกล้ชิดชุมชนซึ่งสัมพันธ์กับอายุและการศึกษาของผู้พูดภาษาลาวครั่งที่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนไทยเชื้อสายลาวครั่งที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม (หน้า 4,5)

Language and Linguistic Affiliations

คำศัพท์ภาษาลาวครั่ง ที่งานเขียนได้กล่าวถึงนี้เป็นคำศัพท์ภาษาลาวครั่งที่คนไทยเชื้อสายลาวครั่งใช้เป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวันที่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม (หน้า 5,15) คำว่าลาวครั่ง หรือ “ลาวขี้คั่ง” มาจากคำว่า “ครั่ง”(ที่ใช้ผนึกเอกสาร) บรรพบุรุษลาวครั่งถูกอพยพมาจากหลวงพระบาง ในสมัยก่อนเมื่อตอนกองทัพสยาม ได้ยกไปตีเมืองเวียงจันทน์หลวงพระบางและเมืองอื่นๆ ของลาวและได้ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม (หน้า 8) ผู้วิจัยได้อ้างงานอื่นที่ศึกษาเสียงภาษาลาวซึ่งได้แบ่งออกเป็นภาษาย่อยได้ดังนี้ 1) ภาษาลาวโซ่ง 2 ) ภาษาลาวใต้ 3) ภาษาลาวเวียง 4 ) ภาษาลาวครั่ง (หน้า 13) สำหรับภาษาลาวครั่ง มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง และเสียงพยัญชนะมี 20 หน่วยเสียง ซึ่งสามารถเป็นพยัญชนะต้นได้ 20 หน่วยเสียง กับเป็นพยัญชนะท้ายได้จำนวน 7 หน่วยเสียง ไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ หน่วยเสียงสระมีจำนวน 18 หน่วยเสียง โดยแบ่งเป็นสระสั้นกับสระยาว 9 คู่ และสระประสมสองเสียงมีจำนวน 14 เสียง และสระประสมสามเสียงมี 3 เสียง (หน้า 13,14) การเลือกใช้ศัพท์ลาวครั่ง สำหรับการวิจัยในงานเขียนได้ใช้หน่วยอรรถจำนวน 34 หน่วยอรรถ ซึ่งหน่วยอรรถที่ใช้ในการศึกษาได้คัดมาจากวิทยานิพนธ์ของกาญจนา พันธุ์ค้า (พ.ศ 2523 ) กันทิมา วัฒนะประเสริฐและสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ (พ.ศ.2531) ในการศึกษาได้แยกการเลือกใช้ศัพท์ออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ คำศัพท์ลาวครั่ง และคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน (หน้า 42,3) ในการศึกษาระบุว่า ความถี่ของจำนวนครั้งในการเลือกใช้ศัพท์ลาวครั่งและคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน มีการเลือกใช้ศัพท์ทั้งหมด 2,516 ครั้ง พบว่าผู้บอกภาษาได้เลือกใช้ศัพท์ลาวครั่งจำนวน 1,001 ครั้ง หรือ 39.78 % ส่วนผู้เลือกใช้คำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐานจำนวน 1,515 ครั้ง หรือ 60.22 % สำหรับผลที่ออกมาเช่นนี้ผู้เขียนสันนิษฐานว่า เป็นเพราะมีการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ และคนในชุมชนได้ติดต่อกับคนนอกชุมชนมากขึ้นประกอบกับการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ใช้ภาษามาตรฐานในการเรียนการสอนในโรงเรียน ดังนั้นจึงทำให้มีผู้เลือกใช้ศัพท์ภาษาลาวครั่งเป็นจำนวนที่น้อยกว่าคำศัพท์ที่ยืมจากภาษาไทยมาตรฐาน (หน้า 43) หน่วยอรรถที่ใช้ในการศึกษาได้คัดมาจากวิทยานิพนธ์ของกาญจนา พันธุ์ค้า (พ.ศ 2523 ) กันทิมา วัฒนะประเสริฐและสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ (พ.ศ.2531) (หน้า 18)โดยผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเอาไว้หลายอาทิเช่น หน่วยอรรถ “ผึ้ง” ศัพท์ลาวครั่ง mim5 คำศัพท์ไทยมาตรฐาน ผึ้ง หน่วยอรรถ “ทำ” ศัพท์ลาวครั่ง het3 คำศัพท์ไทยมาตรฐาน ทำ หน่วยอรรถ “ฝรั่ง” ศัพท์ลาวครั่ง si:1 da2 คำศัพท์ไทยมาตรฐาน ฝรั่ง และคำอื่นๆ (ตัวอย่างดูที่หน้า 19,20 ภาคผนวก ก หน้า 82, 83 ภาคผนวก ง หน้า 97,98)

Study Period (Data Collection)

เมษายน-มิถุนายน 2538 (หน้า 21)

History of the Group and Community

บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายลาวที่อยู่ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร และอื่นๆ เมื่อก่อนตั้งรกรากอยู่ในประเทศลาว ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลังจากที่ไทยยกทัพไปทำสงครามกับลาวและได้กวาดต้อนคนลาวหลายกลุ่มเข้ามาในประเทศไทย ในการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้ย้ายเข้ามาแบ่งเป็น 3 ครั้งคือ ในสมัยพระเจ้าตากสิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (หน้า 7) ในงานเขียนได้ระบุว่ากลุ่มคนลาวที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ยังไม่ทราบหลักฐานอย่างชัดเจนว่าอพยพมาจากเมืองใดแต่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าลาวเวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่าน่าจะหมายถึงคนลาวที่ย้ายครอบครัวมาจากเวียงจันทน์และเมืองสำคัญต่างๆ ในช่วงที่ไทยยกทัพไปทำสงครามกับลาวเมื่อครั้งอดีต (หน้า 8)

Settlement Pattern

ไม่มี

Demography

ประชากรหมู่บ้านหนองกระพี้ หมู่บ้านหนองกระพี้หมู่ 4 มีประชากรทั้งหมด 649 คน แบ่งเป็นเพศชาย 330 คน เพศหญิง 319 คน จำนวนครัวเรือน 113 ครัวเรือน , หมู่ 5 มีประชากรรวม 685 คน แบ่งเป็นเพศชาย 341 คน และเพศหญิง 344 คน มีจำนวนครัวเรือน 131 ครัวเรือน รวมประชากรทั้งสองหมู่มีทั้งหมด 1,334 คน และจำนวนครัวเรือนรวม 244 ครัวเรือน (หน้า 8)

Economy

เศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและมีอาชีพเกษตรกรรม โดยแบ่งได้ดังนี้ รับจ้าง 36.05 % เลี้ยงสัตว์ 32.18 % ทำนา 15.11 % ทำไร่ 14.34 % ค้าขาย 2.32 % (ตารางหน้า 8)

Social Organization

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นจะมีความใกล้ชิดชุมชนน้อยกว่า ผู้บอกภาษาที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้กลุ่มคนที่มีอายุน้อยไม่ค่อยจะมีความใกล้ชิดชุมชนเนื่องจากว่าต้องเดินทางไปเรียนภายนอกชุมชน แต่กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ยังอยู่ในชุมชนที่อยู่เช่นเดิม (หน้า 29 ตารางหน้า 28,53) และมีความผูกพันกับชุมชน มีอะไรก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีความใส่ใจในด้านการพัฒนาชุมชนมากกว่าคนที่มีอายุน้อย (หน้า 74) สำหรับการเลือกใช้ศัพท์ลาวครั่งนั้นพบว่า คนที่เลือกใช้ลาวครั่งส่วนมากจะเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากกว่าคนที่ไม่ค่อยมีความใกล้ชิดกับชุมชน และเป็นเช่นนี้ในทุกกลุ่มอายุ (หน้า 61)

Political Organization

ไม่มี

Belief System

ไม่มี

Education and Socialization

ในการศึกษาเรื่องความใกล้ชิดชุมชนของผู้พูด ผู้เขียนได้ทำการแบ่งกลุ่มผู้บอกภาษาในชุมชนออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ,กลุ่ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และกลุ่มที่เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (หน้า 28) จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนที่มีอายุน้อยซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้เรียนหนังสือ ในระดับชั้นสูงๆ จะมีความใกล้ชิดกับชุมชนน้อยเพราะต้องเดินทางไปศึกษาภายนอกชุมชน ตัวอย่างเช่น กลุ่มที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีความใกล้ชิดชุมชนน้อยกว่ากลุ่มที่เรียนต่ำกว่าระดับชั้น ป.5 (หน้า 30) การเลือกใช้ศัพท์ลาวครั่ง พบว่า กลุ่มคนที่เรียนต่ำกว่าชั้น ป.5 มีการเลือกใช้ศัพท์ภาษาลาวครั่งมากที่สุดคิดเป็น 58.02 % และกลุ่มที่เรียนระหว่างชั้น ป.5-ม.3 เลือกใช้ศัพท์ลาวครั่งคิดเป็น 32.35 % และกลุ่มที่เรียนในระดับชั้น ม.ปลาย เลือกใช้ศัพท์ลาวครั่งเพียง 31.86 %ซึ่งเป็นกลุ่มที่เลือกใช้ศัพท์ลาวครั่งน้อยที่สุด (หน้า 46 ตารางหน้า 45) การเลือกใช้ศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน พบว่ากลุ่มที่เรียนชั้น ม.ปลาย เป็นกลุ่มที่เลือกใช้ศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุดคิดเป็น 68.14 % และกลุ่มที่เรียนระหว่างชั้น ป.5-ม.3 เลือกใช้ศัพท์ไทยมาตรฐานคิดเป็น 67.65 %และกลุ่มที่เรียนต่ำกว่าชั้น ป.5 มีการเลือกใช้ศัพท์ไทยมาตรฐานคิดเป็น 41.98 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้น้อยที่สุด สำหรับสาเหตุที่กลุ่มเรียนในระดับชั้นม.ปลายใช้ศัพท์ไทยมาตรฐานมากเพราะว่าได้รับการศึกษาและติดต่อกับชุมชนภายนอกมากกว่ากลุ่มอื่นๆ (หน้า 46,47,54)

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มี

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง จำนวนประชากรบ้านหนองกระพี้ ,อาชีพ (หน้า 8) ความใกล้ชิดของชุมชนของผู้พูด (หน้า 25) อายุของผู้พูด (หน้า 26) การศึกษา (หน้า 28) การศึกษาเมื่อควบคุมตัวแปรอายุ (หน้า 34) จำแนกตามอายุเมื่อควบคุมตัวแปรการศึกษา (หน้า 38) การเลือกใช้ศัพท์ลาวครั่ง (หน้า 43,44,45) การเลือกใช้ศัพท์จำแนกตามการศึกษา (หน้า 51) จำแนกตามอายุ (หน้า 55) ความใกล้ชิดชุมชนกับการเลือกใช้ศัพท์,แยกตามอายุ,แยกตามการศึกษา (หน้า 59,61,64) ภาพ กราฟแสดงความใกล้ชิดชุมชนของผู้พูด (หน้า 26) อายุ (หน้า 28) การศึกษา (หน้า 30) การศึกษา ป.5-ม.3 (หน้า 36) ม.ปลาย (หน้า 36) จำแนกตามอายุเมื่อควบคุมตัวแปรการศึกษา (หน้า 40) การเลือกใช้ศัพท์ (หน้า 45) การเลือกใช้ศัพท์กับอายุ, การศึกษา (หน้า 46,48,53,57) การเลือกใช้ศัพท์, แยกตามอายุ , แยกตามการศึกษา (หน้า 61,63,66)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 27 พ.ค. 2562
TAG ลาวครั่ง, คำศัพท์, ภาษา, สังคม, นครปฐม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง