สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มุสลิม,ชีวิต,อัตลักษณ์,กะเทย,ปัตตานี
Author สมฤดี สงวนแก้ว
Title กระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์ "กระเทย" ในสังคมมุสลิม
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 108 Year 2546
Source คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

งานวิจัยเรื่อง "กระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์ "กะเทย" ในสังคมมุสลิม" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงขั้นตอนที่ต่อเนื่องต่าง ๆ ของการพัฒนาและดำเนินไปสู่เอกลักษณ์ "กะเทย" โดยอธิบายถึงเงื่อนไขและประสบการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ตลอดจนอธิบายถึงการเปิดเผยตัวและการใช้ชีวิตของกะเทยในสังคมไทยมุสลิม (หน้า (1)) โดยใช้กรอบความคิดพื้นฐานทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์ และแนวคิดเกี่ยวกับความเบี่ยงเบนจากทัศภาพเชิงสัมพัทธ์ (relative) เป็นแนวคิดหลักในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ากระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์กะเทยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ (หน้า95) ขั้นตอนที่ 1 การรับรู้ความแตกต่าง : รับรู้ว่าตนแตกต่างจากเด็กผู้ชายคนอื่น ขั้นตอนที่ 2 การมีเอกลักษณ์ส่วนบุคคลเป็นกะเทย ขั้นตอนที่ 3 การเปิดเผย ขึ้นตอนที่ 4 การใช้ชีวิตและการปรับตัวของกะเทยในสังคมของคนรักต่างเพศ

Focus

ผู้ศึกษาให้ความสนใจที่จะอธิบายถึงการเปิดเผยตัว และการธำรงเอกลักษณ์ "กะเทย" ในสังคมมุสลิม ตลอดจนขั้นตอนที่ต่อเนื่องต่าง ๆ ของการพัฒนาและการดำเนินไปสู่เอกลักษณ์ "กะเทย" รวมถึงอธิบายเงื่อนไข และประสบการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาการ (หน้า 8)

Theoretical Issues

การศึกษากระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์ "กะเทย" ในสังคมมุสลิม โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์เป็นกรอบแนวความคิดพื้นฐาน ซึ่งได้มุ่งจุดสนใจไปที่กะเทย และพฤติกรรมของกะเทยในฐานะที่เป็นความเบี่ยงเบนทางสังคม และผู้ชมทางสังคมที่เป็นผู้ประทับตราต่อพวกเขาว่าเป็นกะเทยมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบทบัญญัติทางศาสนา และบรรทัดฐานทางสังคม ดังนั้นผู้ชมจึงมีปฏิกิริยาต่อกะเทยในทางลบด้วยการประณาม ดูถูก เหยียดหยาม กะเทยจึงนิยามตัวเองว่าเป็นผู้เบี่ยงเบน และกะเทยจึงต้องเข้าไปผูกพันกับการกระทำนั้นและ ค่อย ๆ ซึมซับความเบี่ยงเบนนั้นจนเกิดการยึดมั่นในเอกลักษณ์กะเทย (หน้า 99) จากการศึกษาวิจัยนี้ทำให้เห็นว่า การใช้แนวคิดทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์นั้น ทำให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์โดยผ่านการปฏิสังสรรค์ตีความกับบุคคลอื่น ๆ ในบริบทต่าง ๆ อันส่งผลต่อการพัฒนาและการธำรงเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน 1.) การรับรู้ความแตกต่างว่าตนเองแตกต่างจากเด็กผู้ชายคนอื่น 2.) การมีเอกลักษณ์ส่วนบุคคลเป็นกะเทย 3.) การเปิดเผยตัว 4.) การใช้ชีวิตและการปรับตัวของกะเทยในสังคมของคนรักต่างเพศ (หน้า 95)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ชายที่มีลักษณะปรากฏทางกาย และพฤติกรรมการแสดงออกในแบบผู้หญิง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 8 คน ทั้งหมดอาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มนั่นคือ กลุ่มอายุ 25-39 ปี จำนวน 5 คน และกลุ่มอายุ 19-24 ปี มีจำนวน 3 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 คน จากทั้งหมดเป็นผู้ประกอบอาชีพแล้ว โดยแต่ละกลุ่มจะมีภูมิหลังด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอยู่ในระดับเดียวกัน (หน้า 45)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ นับตั้งแต่การค้นพบกลุ่มตัวอย่างซึ่งใช้ระยะเวลา 4 เดือน คือเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2544 - เดือนกุมภาพันธ์ 2545 และระยะเวลาในการสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 1 ปี นับจากเดือนมีนาคม 2545 - เดือนมีนาคม 2546 โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อให้ข้อมูลจากจุดยืนของกะเทย และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทปบันทึกเสียงและการจดบันทึก (หน้า 51)

History of the Group and Community

สังคมโดยทั่วไปแบ่งคนออกเป็น 2 เพศ นั่นคือ เพศหญิงและเพศชาย ซึ่งทั้งสองเพศนี้ก็จะมีบทบาททางเพศที่บรรทัดฐานทางสังคมได้กำหนดไว้มาเป็นตัวชี้นำและกำกับพฤติกรรม ว่าพฤติกรรมหรือการกระทำใดที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับเพศใด หากบุคคลใดมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมและผิดไปจากที่สังคมกำหนด ก็จะถูกลงโทษด้วยวิธีการหรือมาตรการที่แตกต่างกันไปในแต่ะกลุ่มหรือสังคม เช่น การตำหนิ ติเตียน และการประณาม เป็นต้น เช่นเดียวกันกับสังคมมุสลิม ที่แบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ เพศชายและเพศหญิง โดยจะได้รับการอบรมสั่งสอนถึงพฤติกรรมและการกระทำทางเพศที่เหมาะสม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จากครอบครัว โรงเรียนสอนศาสนา และจากการปฏิสังสรรค์ทางสังคม และแน่นอนว่าหากบุคคลใดที่มีพฤติกรรมและการกระทำทางเพศที่เบี่ยงเบนหรือละเมิดบรรทัดฐานทางเพศของสังคมมุสลิม ก็จะได้รับการลงโทษ ในแต่ละพฤติกรรมหรือการกระทำที่เป็นการละเมิดบรรทัดฐานทางสังคมอิสลามจะถูกกำหนดระดับความรุนแรงของบาปไว้แตกต่างกัน แต่จะไม่สามารถจำแนกถึงลำดับขั้นของความบาปไว้อย่างชัดเจน แต่จะทราบกันก็จากการอบรมขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่ในวัยเด็ก เช่น การละเลยไม่ทำละหมาด 1 ครั้ง ใน 1 วัน ถือว่าบาป แต่การนินทาผู้อื่นหนึ่งครั้งถือว่าบาปยิ่งกว่าหรือหากเป็นการร่วมประเวณีกับเพศเดียวกันถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์ การลงโทษในทางสังคมย่อมตามมาอย่างแน่นอนซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกัน (หน้า 11-12)

Settlement Pattern

เนื่องจากการศึกษากระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์ "กะเทย" ในสังคมมุสลิม เป็นการศึกษาเพียงเฉพาะกลุ่มกะเทยในสังคมมุสลิม จึงไม่สามารถระบุการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มกะเทยได้ เพราะกะเทยเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยจากมุสลิมทั้งหมด และสภาพสังคมมุสลิมไม่เอื้ออำนวยให้กะเทย ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ได้แสดงตัวออกมาอย่างเปิดเผยมากนัก ผู้ศึกษาจึงบอกแต่เพียงกว้าง ๆ ว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี (หน้า 45)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ในเมืองปัตตานี เป็นสังคมของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนไทยพุทธและคนไทยมุสลิม หรือเรียกได้ว่า เป็นลักษณะสังคมกึ่งพุทธและกึ่งมุสลิม เป็นลักษณะของสังคมเปิด ซึ่งส่งผลให้มีรูปแบบการดำเนินชีวิตในสังคมที่สลับซับซ้อน และแตกต่างไปจากหลักการทางศาสนาที่เป็นกรอบในการปฏิบัติของตน อาทิเช่น การใช้ชีวิตของกะเทย ซึ่งในสังคมเมืองที่สมาชิกแต่ละคนต่างคนต่างอยู่ทำให้มุสลิมคนอื่น ๆ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความเบี่ยงเบนและการละเมิดบรรทัดฐานทางเพศของบุคคลได้ หรือแม้แต่การแต่งกายของมุสลิมทั้งชาย และหญิงในเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากข้อกำหนดทางศาสนาก็เป็นเรื่องที่มุสลิมคนอื่น ๆ ต่างเพิกเฉยต่อการติเตียนพฤติกรรมเหล่านั้น เพราะลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นแบบต่างคนต่างอยู่นั่นเอง ซึ่งต่างกับสังคมมุสลิมในชนบทซึ่งนอกจากจะไม่ปรากฏลักษณะความหนาแน่นและความแตกต่างในเชื้อชาติศาสนาของสมาชิกแล้ว การดำเนินชีวิตก็ยังเป็นไปในแบบเรียบง่าย อีกทั้งรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมของสมาชิกในชุมชนเป็นไปในลักษณะใกล้ชิด สมาชิกทุกคนในชุมชนสามารถจะตรวจสอบพฤติกรรมของกันและกันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอื้อให้พฤติกรรมหรือรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากข้อกำหนดดำรงอยู่ได้ หรือถ้าหากดำรงอยู่ได้ก็ไม่มีพื้นที่ให้ความแตกต่างดังกล่าวได้แสดงตัวได้เด่นชัดมากพอเท่ากับสังคมเมือง (หน้า7)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

สังคมมุสลิมเป็นสังคมที่มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติทางศาสนา ความยึดมั่นผูกพันต่อบทบัญญัติทางศาสนาทำให้สังคมมุสลิมมีความโดดเด่นในวัฒนธรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ซึ่งหลักการสำคัญที่สามารถยึดโยงมุสลิมแต่ละคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ได้แก่ หลักความเชื่อมั่น ซึ่งประกอบไปด้วยหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ หลักปฏิบัติสำหรับมุสลิมทุกคนนั้น ได้แก่ 1. การกล่าวคำปฏิญาณตนว่าเชื่อในองค์อัลลอฮ.เพียงองค์เดียว 2. การทำละหมาด ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติทุกวัน ๆ ละ 5 เวลา 3. การถือศีลอด มุสลิมได้ถูกกำหนดให้ถือศีลอดในเดือนรอมฏอน (เดือนที่ 9 ของปีจันทรคติตามปฏิทินอิสลาม) ปีละหนึ่งครั้ง ครั้งละประมาณ 1 เดือน 4. การจ่ายซากาต หรือการบริจาคทาน 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการไปประกอบศาสนกิจยังนครมักก๊ะฮ. นอกจากหลักการดังกล่าวแล้วศาสนาอิสลามยังมีบทบัญญัติของการประพฤติปฏิบัติ หรือตัวบทกฎหมายที่ประกอบด้วยแนวทางและวิธีการซึ่งเป็นรายละเอียดในการดำเนินชีวิตของมุสลิมทุกคนอันประกอบไปด้วย แนวทางการใช้ชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนบุคคล และการใช้ชีวิตในลักษณะที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันในหลาย ๆ ด้าน โดยไม่สามารถแยกออกจากันได้โดยเด็ดขาด (หน้า3-5)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

จากปฏิกิริยาของสังคมในเชิงลบที่ไม่ยอมรับกะเทย (social disapproval) และการควบคุมทางสังคม (social control) ที่เข้มงวด ส่งผลให้กะเทยมีพื้นที่ที่จำกัดในการแสดงออก หรือไม่สามารถเปิดเผยต่อสังคมได้เต็มที่ ดังนั้นกะเทยจึงต้องหาสถานที่ที่ทำให้ตนเองมีความรู้สึกในทางบวกต่อการยึดมั่นในเอกลักษณ์กะเทย สำหรับชีวิตทางเพศสัมพันธ์ของพวกเขานั้นถูกสังคมพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศซึ่งผิดทั้งหลักศาสนาและบรรทัดฐานทางสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่กะเทยจะต้องปกปิดความสัมพันธ์ทางเพศต่อชุมชนและกลุ่ม "คนนอก" อย่างเข้มงวด เพื่อลดและหลีกเลี่ยงการประทับตราซ้ำจากสังคม ถึงการมีพฤติกรรมรักร่วมเพศของเขาซึ่งกะเทยได้เลือกสรรกลยุทธต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งกลยุทธนั้นได้แก่การปกปิดการมีเพศสัมพันธ์กับเพศชายด้วยกัน (หน้า88) และเป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมมุสลิมเป็นสังคมที่มีความเคร่งครัดในเรื่องศาสนา โดยเฉพาะเรื่องเพศซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาว่าด้วยเรื่องเพศนั้นมีกล่าวไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการประพฤติ และการปฏิบัติตนของชายและหญิงมุสลิมว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใดไม่ควรทำ ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้สามารถสะท้อนจุดยืนของศาสนาอิสลามในการปฏิเสธพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศไปจากบัญญัติทางศาสนาได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบ "กะเทย" ซึ่ง "ผู้ชมทางสังคม" มุสลิมประทับตราว่า เป็นผู้ที่เบี่ยงเบนทางเพศ เกิดขึ้นและสามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมมุสลิมปัจจุบัน จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 8 กรณี ซึ่งแต่ละกรณีได้ถ่ายทอดถึงประสบการณ์ชีวิตของตนเองในวัยเด็กที่มีอิทธิพลต่อการเป็นกะเทย ส่งผ่านมาสู่การยอมรับความหมายของกะเทยในเวลาต่อมา และจะกล่าวถึงโลกของกะเทย หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมโดยมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มกะเทย ซึ่งทำให้พวกเขาเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตในแบบกะเทย ภาษาต่าง ๆ ตลอดจนช่วยทำให้พวกเขามีความรู้สึกต่อเอกลักษณ์ของเขาเป็นไปในทางบวกมากขึ้น จนส่งผลให้พวกเขามีความยึดมั่นต่อเอกลักษณ์กะเทยจนกลายเป็นเสมือน "สถานภาพหลัก" (master status) ของเขาในที่สุด (หน้า 65-66)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

สำหรับสังคมมุสลิมซึ่งเป็นสังคมที่มีความเคร่งครัดทางศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องเพศ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ที่มีเอกลักษณะกะเทยนั้นจะถูกปฏิเสธ และได้รับปฏิกิริยาในเชิงลบจากผู้ชมทางสังคมที่ร่วมอยู่ในการปฏิสังสรรค์ทางสังคม กลยุทธ์การปรับตัวที่กะเทยนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมมุสลิม ก็คือ การลดลักษณะความเป็นหญิง และเนื่องจากการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศชายด้วยกัน เป็นสิ่งที่ถูกมองว่าผิด บาป ในสังคมมุสลิมดังนั้นกะเทยจึงต้องปกปิดการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน เพื่อลดภาวะความคับข้องใจจากการถูกประทับตราว่าเป็นผู้เบี่ยงเบนจากสังคม (หน้า 97)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst วศิน เชี่ยวจินดากานต์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มุสลิม, ชีวิต, อัตลักษณ์, กะเทย, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง