สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,การเกษตร,ระบบเศรษฐกิจ,น่าน
Author นิพัทธเวช สืบแสง
Title การเกษตรแบบยังชีพของชาวขมุ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 12 Year 2525
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา กองสงเคราะห์ชาวเขา
Abstract

ผู้เขียนพบว่าลักษณะการเกษตรของชุมชนขมุมีปัจจัยที่กำหนดไม่ให้ระบบการเกษตรของชุมชนก้าวจากการเกษตรแบบยังชีพไปสู่การเกษตรในระบบตลาด ได้แก่ ปัจจัยทางด้านนิเวศวิทยากายภาพ อันเนื่องมาจากหมู่บ้านได้ก่อตั้งมากว่า 80 ปี ทำให้พื้นที่ถูกใช้เป็นเวลานานและทำให้ความสมบูรณ์ลดลง ปัจจัยที่สอง คือปัจจัยด้านประยุกต์วิทยาทางการเกษตร ชาวขมุใช้วิธีการที่เรียกว่า “ไร่หมุนเวียน” คือ เมื่อทำการเกษตรอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งผลผลิตที่ได้มีแนวโน้มจะลดลงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุน และมีปัญหาอื่นๆ ก็จะปล่อยให้พื้นที่มีการพักตัวชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนพื้นที่กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ก็จะหวนกลับมาใช้พื้นที่นั้นอีก ประกอบกับชาวขมุใช้ที่ดินเพื่อปลูกข้าวเพื่อบริโภค ไม่ได้ใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ จึงทำให้ที่ดินซึ่งถือเป็นระบบเศรษฐกิจไม่ถูกทำลาย (หน้า 3-5, 7)

Focus

ผู้เขียนต้องการศึกษาลักษณะการเกษตรแบบยังชีพของชาวขมุ วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบการเกษตรแบบยังชีพ และปัจจัยที่กำหนดลักษณะการเกษตรแบบยังชีพ รวมถึงข้อจำกัดที่ไม่ให้ระบบการเกษตรของชาวขมุก้าวจากการเกษตรแบบยังชีพก้าวไปสู่การเกษตรระบบตลาด (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ขมุในหมู่บ้านน้ำสอดใต้ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

Language and Linguistic Affiliations

ไม่ได้กล่าวถึง

Study Period (Data Collection)

พฤศจิกายน 2524-มิถุนายน 2525 (หน้า 1)

History of the Group and Community

หมู่บ้านนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 80 ปี ทั้งนี้อาศัยการประมาณการจากเหตุการณ์ในหมู่บ้านที่ชาวขมุในหมู่บ้านน้ำสอดใต้เคยถูกเกณฑ์ไปรบในกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ เมื่อปีพ.ศ. 2445 แต่หมู่บ้านน้ำสอดใต้ก็ยังไม่ได้เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ของชาวขมุในเขตอำเภอทุ่งช้าง เพราะหมู่บ้านที่เก่าแก่มากที่สุด คือ หมู่บ้านที่ขมุบ้านวังหมอ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และบ้านภูดำ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่านแยกตัวออกมารวมเป็นบ้านน้ำสอดใต้ในปัจจุบัน (หน้า 3)

Settlement Pattern

ไม่ได้กล่าวถึง

Demography

บ้านน้ำสอดใต้มีชาวขมุอาศัยทั้งสิ้น 31 ครัวเรือน เป็นครอบครัวขยาย 3 ครัวเรือน อีก 28 ครัวเรือนเป็นครอบครัวเดี่ยวทั้งสิ้น (หน้า 9)

Economy

สภาพการประกอบการเกษตรของขมุมีลักษณะแบบยังชีพ คือ ปลูกพืชส่วนใหญ่เน้นไปในเรื่องพืชเพื่อการบริโภค เช่น ปลูกข้าว เผือก มัน และเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ เช่น พริก ตะไคร้ มะแข่นหรือมะแขว่น นอกจากนี้มีพืชจำพวกพืชไร่และไม้ยืนต้นบ้าง เช่น ข้าวโพด กล้วย มะม่วง (หน้า 1) ปัจจัยที่กำหนดรูปแบบระบบการเกษตรแบบยังชีพของขมุ ได้แก่ 1.) ปัจจัยด้านนิเวศวิทยากายภาพ เนื่องจากหมู่บ้านได้ก่อตั้งมากว่า 80 ปี โดยไม่มีการอพยพโยกย้ายเลย พื้นที่ประกอบการเกษตรย่อมถูกใช้มาเป็นเวลานาน และทำให้ความอุดมสมบูรณ์ลดลง จึงทำให้ผลผลิตข้าวตกต่ำ (หน้า 3-4) 2.) ปัจจัยด้านประยุกต์วิทยาทางการเกษตร ขมุใช้วิธีการที่เรียกว่า “ไร่หมุนเวียน” หรือการเกษตรแบบตัดฟัน โค่น เผาแล้วทำการเกษตรอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งผลผลิตที่ได้มีแนวโน้มว่าจะลดลงมากไม่คุ้มกับการลงทุน และปัญหาอื่นๆ ก็จะปล่อยให้พื้นที่มีการพักตัวระยะหนึ่ง จนพื้นที่กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ก็จะกลับมาใช้พื้นที่นี้อีก ซึ่งเป็นการเกษตรที่ย้ายพื้นที่เพื่อการเกษตรเท่านั้นแต่ไม่มีการย้ายชุมชน ถึงแม้ว่าขมุจะได้รับความกระทบกระเทือนจากปัญหาที่ดินซึ่งขาดความอุดมสมบูรณ์ แต่ผลกระทบก็ไม่รุนแรง เพราะขมุใช้ที่ดินในปริมาณที่น้อยกว่า เนื่องจากไม่ได้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด ฝ้าย ที่ต้องอาศัยที่ดินเป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจการตลาด แต่ขมุผลิตไม้เลื่อยหรือไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง ระบบเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างที่ดิน สัตว์ป่า และป่าไม้ คือใช้ที่ดินเป็นแหล่งปลูกข้าวเพื่อบริโภค สัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีน และป่าไม้เป็นแหล่งรายได้ การเกิดปัญหาขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก็ไม่กระทบกระเทือนต่อระบบเศรษฐกิจของขมุมากนัก ตราบใดที่ปัญหายังไม่รุนแรงถึงขั้นทำลายทั้งระบบ ดังนั้น การใช้ประยุกต์วิทยาทางการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน เป็นข้อจำกัดประการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเกษตรแบบตลาด เพราะการใช้ที่ดินหมุนเวียนเป็นเวลานานไม่อาจรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เช่นเดิม และในระยะยาวขีดความสามารถในการใช้ที่ดินจะไม่มีการเพิ่มขึ้นมีแต่ลดลง เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด แต่ต้องรักษาที่ดินไว้ใช้ให้ได้นานที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ชุมชนที่มีวิถีการผลิตแบบไร่หมุนเวียนได้ปรับวิถีการดำรงชีพของตนเองไม่ให้พึ่งพิงอยู่กับที่ดินประการเดียว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชนแบบไร่หมุนเวียน จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ เช่น ที่ดิน สัตว์ป่า และการรับจ้างแรงงาน (หน้า 4-8) 3.) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ขมุนิยมการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว (monogamy) และตั้งครัวเรือนแบบครอบครัวเดี่ยว (nuclear family) การที่ขมุมีขนาดครอบครัวเล็กจึงอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถแบ่งแยกแรงงานไปประกอบการเกษตรอย่างอื่น นอกจากการปลูกข้าว ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเกษตรแบบตลาดของขมุไม่สามารถพัฒนาไปได้มากนัก (หน้า 9) ขมุสืบเชื้อสายทางบิดา แต่ขอบเขตของการสืบเชื้อสายมีลักษณะที่แคบ คือ สามารถสืบสาวไปได้เพียง 2 ชั่วรุ่น คือ รุ่นพ่อแม่และรุ่นปู่ย่า ดังนั้น เมื่อพิจารณาโครงสร้างทางด้านครอบครัวและโครงสร้างทางสังคม จะเห็นได้ว่าความหมายของ “สังคม” ของขมุใช้ระบบเครือญาติ และถิ่นที่อยู่ควบคู่กันไปในการกำหนดความเป็นสมาชิกของสังคม ขนาดของครัวครัวจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่กำหนดขนาดกิจกรรมและผลตอบแทนในการเกษตร และในขณะเดียวกันการจัดระเบียบทางสังคมก็เป็นตัวกำหนดทางเลือกในการใช้รูปแบบการเกษตร ขมุมีทางเลือกในการอพยพน้อย จึงน่าจะทำให้ขมุต้องพยายามใช้ที่ดินให้ได้นานที่สุด ซึ่งก็คือ การใช้ประยุกต์วิทยาทางการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน (หน้า 11)

Social Organization

การจัดระเบียบทางสังคมของชาวขมุนั้นจำกัดอยู่แต่ในระดับหมู่บ้าน ชุมชนขมุในแต่ละหมู่บ้านมักจะแยกออกเป็นอิสระต่อกัน การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างชาวขมุส่วนใหญ่จะมีเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้กันเท่านั้น ความรู้สึกในความเป็นพวกเดียวกันมักจะใช้พื้นที่ที่อาศัยเป็นเกณฑ์มากกว่าที่จะใช้ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ (หน้า 9) โดยชาวขมุมีการสืบเชื้อสายทางบิดา มีการสืบสายตระกูลในระดับบนเพียง 2 ชั่วรุ่นอายุคน คือ รุ่นพ่อ-แม่ (โย่ง-มะ) และรุ่นปู่-ย่า (ต๊ะ-ยะ) ส่วนรุ่นอายุที่เหนือขึ้นไปเรียก “ต๊ะ-ยะ” ทั้งสิ้น (หน้า 11)

Political Organization

ไม่ได้กล่าวถึง

Belief System

ไม่ได้กล่าวถึง

Education and Socialization

ไม่ได้กล่าวถึง

Health and Medicine

ไม่ได้กล่าวถึง

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้กล่าวถึง

Folklore

ไม่ได้กล่าวถึง

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้กล่าวถึง

Social Cultural and Identity Change

ไม่ได้กล่าวถึง

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst นันทนิตย์ อนุศาสนะนันทน์ Date of Report 25 ก.ค. 2559
TAG ขมุ, การเกษตร, ระบบเศรษฐกิจ, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง