สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยมุสลิม,โรงงานอุตสาหกรรม,หลักปฏิบัติ,ศาสนาอิสลาม,บทบาทสตรี,นครศรีธรรมราช
Author รัศมี มะห์มูดีย์
Title ผลกระทบของการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อสตรีมุสลิม ศึกษากรณีชุมชนบ้านคลองดิน นครศรีธรรมราช
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 61 Year 2536
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้าน ที่มีผลต่อหญิงมุสลิมในหมู่บ้านคลองดินที่เข้าไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เข้ามาตั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ผลกระทบที่คนในหมู่บ้านได้รับมีหลายด้าน เช่น ปัญหามลพิษ ปัญหาด้านสังคม เช่น ปัญหาชู้สาว คนมีเวลาประกอบพิธีทางศาสนาน้อยลง เป็นต้น และมีการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ มากขึ้น เช่น แต่ก่อนชาวบ้านมีฐานะยากจน ก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และผู้หญิงมีอำนาจในการตัดสินใจในครอบครัวมากขึ้นเพราะมีกำลังอำนาจทางเศรษฐกิจเพราะไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น

Focus

ศึกษาถึงผลกระทบของการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่มีต่อความเชื่อ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ของสตรีมุสลิมในหมู่บ้านคลองดิน ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ที่มีจำนวน 157 ครอบครัวโดยเน้นครอบครัวที่มีสตรีเข้าไปทำงานในโรงงาน 78 ครอบครัว (วัตถุประสงค์ของการวิจัย หน้า 2)

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ทำการศึกษาวิจัยโดยใช้ 2 วิธี ได้แก่ 1. ค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Study) ความเชื่อ และคำสอน หลักการปฏิบัติตัว ของสตรีมุสลิม ตลอดจนหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลาม จากคัมภีร์อัลกุรอาน และอัล หะดีษ ของศาสดานบีมูฮัมหมัด 2. การวิจัยภาคสนาม (Field Work) 2.1 สังเกตโดยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ( Participant Observation) สังเกตพฤติกรรมของผู้หญิงที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม 2.2 สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) โดยสัมภาษณ์ ผู้นำศาสนา ผู้หญิงและญาติพี่น้องที่ทำงานโรงงาน (หน้า 2, 4) ผลการศึกษาไม่มีข้อสรุปเชิงทฤษฎี อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาสรุปได้ว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้เคียงเปิดโอกาสให้สตรีมุสลิมที่มีการศึกษาตามระบบการศึกษาของไทย ได้เข้าไปทำงานตามโรงงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแต่งกาย ซึ่งแตกต่างไปจากสตรีมุสลิมที่ไม่ได้ออกไปทำงาน และนำไปสู่ความขัดแย้งในการตีความข้อปฏิบัติทางศาสนา แต่ความขัดแย้งนี้มักจะไม่ปรากฏชัดเจนเป็นความรุนแรง

Ethnic Group in the Focus

มุสลิม บ้านคลองดิน ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช (บทคัดย่อ, บทนำ หน้า 2) และเน้นครัวครัวที่มีสตรีมุสลิมทำงานในโรงงาน 78 ครอบครัว (หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

ส่วนมากจะพูดภาษามลายูพื้นเมือง ภาษาจะมีเฉพาะภาษาพูด ส่วน ภาษาเขียน ผู้อาวุโสบางคนเท่านั้นที่เขียนตัวหนังสือเหล่านี้ได้ เมื่อพบกับคนนอกหมู่บ้าน หรือคนต่างศาสนา มุสลิมจะพูดภาษาปักษ์ใต้ สำหรับมุสลิมที่รับราชการ เมื่ออยู่บ้านจะพูดภาษามลายู เจอกับคนนอกหมู่บ้าน ก็จะพูดปักษ์ใต้และเมื่อทำงานราชการก็จะพูดภาษาไทยภาคกลาง (หน้า 7, 8 ตัวอย่างภาษา หน้า 25)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

บรรพบุรุษของชุมชนบ้านคลองดิน ถูกกวาดต้านมาเป็นเชลย เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2328 โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรฯ ยกทัพไปปราบพม่า ในตอนใต้ แล้วจึงเลยไปตีเมืองปัตตานี และได้กวาดต้อน มุสลิม มาไว้ที่กรุงเทพ และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนหนึ่งได้กวาดต้อนมาไว้ภาคใต้ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช มุสลิม ได้ถูกกวาดต้อนมาที่ จ.นครศรีธรรมราช อีก 2 ครั้งใน สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2374 และ พ.ศ. 2381 เมื่อเกิดความไม่สงบที่ เมืองไทรบุรี ปัตตานี และเมืองอื่นๆ ทางภาคเหนือของ มาเลเซีย (หน้า 5)

Settlement Pattern

ลักษณะบ้าน มุสลิมบ้านคลองดิน จะไม่มีรูปแบบบ้านเฉพาะของตัวเอง คือจะสร้างบ้านแบบเรียบง่าย แยกได้คร่าวๆ ดังนี้ 1. บ้านไม้ เมื่อก่อนนี้บ้านส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้ แต่ทุกวันนี้ไม้หายาก และ มีราคาแพงจึงไม่ค่อยนิยมสร้างกัน 2. บ้านปูนชั้นเดียว บางครอบครัว รื้อบ้านหลังเดิมมาสร้างบ้านที่ทำจากปูนซีเมนต์ โดยจะสร้างเพียงชั้นเดียวเป็นบ้านติดดิน สำหรับบ้านหลังเก่า อาจจะเหลือเอาไว้บางครอบครัว ก็จะใช้พื้นที่ของบ้านหลังเดิม เป็นห้องครัวทำอาหาร 3. บ้านสองชั้น ตัวบ้านด้านบนจะกั้นด้วยไม้ และด้านล่างจะทำจากปูนซีเมนต์ 4. กระต๊อบ คนที่ยังไม่มีเงินเป็นจำนวนมากก็จะสร้างบ้านหลังเล็กๆหรือ กระต๊อบอยู่ชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเป็นคู่สามี ภรรยา ที่เพิ่งแต่งงานใหม่ ยังไม่มีบ้านที่มั่นคง เมื่อแต่งงานแล้วก็จะสร้าง กระต๊อบอยู่ใกล้ๆ บ้านพ่อแม่ อย่างไรก็ดี บ้านแบบนี้ยังเป็นที่นิยมของคนที่ยังไม่แต่งงาน เช่น คนหนุ่ม หรือวัยรุ่น ก็มักจะสร้างบ้านแบบนี้ เพราะจะสะดวกเมื่อเพื่อนมาเยี่ยมที่บ้าน บางครั้งก็จะนอนพักค้างคืนด้วยกัน การออกมาอยู่กระต๊อบต่างหาก ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงดังรบกวน พ่อแม่ ที่อยู่บ้านหลังใหญ่ (หน้า 6)

Demography

ประชากรในบ้านคลองดิน โดยมากจะเป็นมุสลิม มีทั้งหมด 157 ครอบครัว เป็นผู้หญิง 865 คน ผู้ชาย 756 คน รวมทั้งสิ้น 1621 คน (สำรวจปี 2432) นอกจากนี้ยังมีนักเรียนต่างถิ่น จากอำเภอ และ จังหวัดอื่น มาเรียนศาสนา ที่ปอเนาะ ในหมู่บ้าน หลายร้อยคนในแต่ละปี (ดูตารางหน้า 7)

Economy

การผลิต เพาะปลูก ชาวบ้านคลองดินจะทำอาชีพเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ เช่น สวนผลไม้ ปลูกเงาะ ทุเรียน มังคุด กระท้อน นอกจากนี้ ก็ปลูกผักสวนครัวไปขายที่ตลาด ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน แค่ 3 กิโลเมตร ก็เป็นอาชีพที่ชาวบ้านทำกันมาก เช่น ปลูก บวบ ชะอม มะนาว ตะใคร้ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วในหมู่บ้านยังมีผู้ทำสวนยางพาราอีก 3 หมู่บ้าน (หน้า 15) นาข้าว ในอดีตมุสลิม บ้านคลองดิน จะปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักของครอบครัว แต่ทุกวันนี้ได้ลดจำนวนลง เพราะ เริ่มมีการขายเมืองและมีความเจริญเข้ามาในหมู่บ้าน จึงทำให้การทำนาลดลง ข้าวที่ปลูกโดยมากจะเป็นข้าวเจ้า และจะแบ่งที่เอาไว้ปลูกข้าวเหนียว เพื่อนำไปทำขนมเวลาทำบุญ สำหรับการทำนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ นาปรัง เป็นนาที่อยู่ใกล้ชลประทาน จะลงกล้า ในเดือน5 และจะดำ ในเดือน 7 ในเดือน 10 ถึงเดือน 11 ก็จะเก็บเกี่ยวข้าว นาปี จะทำนาตามฤดูกาล ลงกล้าในเดือน 8 - 9 เดือน 12 หรือเดือนอ้าย ก็เก็บเกี่ยวผลผลิต อัตราค่าจ้างในการทำนามีดังนี้ ในหมู่บ้านจะมีรถไถนา ขนาดเล็ก 8 คัน - ค่าไถนา ไร่ละ 250 บาทต่อไร่ (ปี 2533) การหว่านกล้า ของนาจะหว่านเอง - ถอนกล้า 100 กล้า ค่าจ้าง 200 บาท ดำนา 100 กล้า จ้าง 300 บาท พื้นที่ 1 ไร่ ใช่กล้า 20-30 กล้า - การเก็บเกี่ยว 100 เลียง ( 2 กำมือ ) จ้าง 200 -250 บาท - กรณีที่ผู้รับจ้างมารับจ้าง ไม่รับเงินแต่จะรับค่าแรงงเป็นข้าว จะจ้างโดย ถ้าเก็บเกี่ยวได้ 20 เลียง ผู้มารับจ้างจะได้ 5 เลียง ถ้านา 1 ไร่ ก็จะได้ข้าว 80-100 เลียง - ถ้าเจ้าของนาให้คนอื่นทำ ก็จะแบ่งข้าวคนละครึ่งของจำนวนผลผลิต แต่เจ้าของนาจะต้องซื้อปุ๋ยใส่นา (หน้า 13,14) รายได้จากโรงงาน รายได้ในโรงงานไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนว่าจะทำได้มากได้น้อย เช่นโรงงานทำผักกาดเค็ม ชาวบ้านจะมีรายได้โดยดูจากหัวผักกาดที่ทำ ทำมากก็ได้มาก ทำน้อยก็ได้น้อย ถ้าไม่มีวัตถุดิบก็ไม่มีงาน รายได้เฉลี่ยต่อคนประมาณ 40-60 บาท ต่อวัน ส่วนโรงงานไอศกรีม โรงงานแพปลา จะมีรายได้เฉลี่ย 60-70 บาท ต่อวัน ส่วนโรงงานท่อคอนกรีต คนงานส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย และ ทำงานหนัก คนงานมีรายได้ต่อวัน 100 บาทต่อวัน อนึ่ง เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านคลองดินมีฐานะยากจน มีรายได้จากการทำอวนและทำงานอื่นๆ เฉลี่ยคนละ 400-500 บาทต่อเดือน เมื่อมีโรงงานเข้ามาตั้งในหมู่บ้าน เช่นโรงงานทำผักกาดเค็ม ชาวบ้านมีรายได้เฉลี่ย 2 พัน ถึง 2 พันห้าร้อยบาท (หน้า 42-46) การแลกเปลี่ยน - ผูกอวน นายหน้าจะนำอวนมาให้ผู้รับทำ ผูกที่บ้าน โดยจะผูกต่อจากที่เครื่องจักร ทำมาแล้วในขั้นหนึ่ง เรียกว่า "ผูกสามชั้น" กับ "ผักทั้ง" การผูกจะได้วันละ หนึ่งหัว คิดเป็นเงิน ประมาณ 18-22 บาท (หน้า 14-15 ดูรูปหน้า 17-18) - ทำถม เป็นงานละเอียดจะทำที่บ้าน หรือบ้านผู้จ้างก็ได้ ค่าจ้างคิดค่าแรง ทองหนักหนึ่งบาท ค่าจ้าง 25 บาท วันหนึ่งจะได้ค่าแรง 40 ถึง 50 บาทต่อวัน (หน้า 15 ดูรูปหน้า 16) - เฝ้านากุ้ง อาชีพนี้ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นผู้ชายทำโดยจะไปรับจ้างต่างหมู่บ้าน หรือที่อำเภออื่น การทำนากุ้งไม่ได้ระบุว่าจ้างกันเท่าไหร่ แต่สังเกตจากผู้รับจ้างนำเงินมาใช้จ่ายคิดว่าน่าจะมีรายได้ดีพอสมควร เช่น บางคนนำเงินมาซื้อรถมอเตอร์ไซด์ สร้างบ้าน เลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านยังประกอบอาชีพรับจ้างอื่นๆ เช่น ตีเหล็ก ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ขายของชำ หรือรับราชการ ฯลฯ (หน้า 15,19) การบริโภค เมื่อคลอดลูกได้ 7 วันจะทำบุญเลี้ยงอาหาร หรือ "สสือแกเกาะฮ" ถ้าเป็นลูกผู้ชายจะฆ่าแพะ 2 ตัว ถ้าเป็นลูกสาว จะฆ่าแพะ 1 ตัว แต่ถ้าพ่อแม่ยากจน จะยกเลิกหารฆ่าแพะทำอาหารก็ได้ (หน้า 32-33)

Social Organization

การเรียนศาสนาอิสลาม จะมีความสำคัญโดยจะช่วยควบคุมคนในชุมชน และศาสนา ได้กำหนดให้เห็นความสำคัญของระบบ เครือญาติ เพราะศาสนาสอนให้ทุกคนมีความเชื่อว่า มุสลิมทุกคนเป็นพี่น้องกัน ในสังคมบ้านคลองดินจะไม่มีเรื่องทะเลาะกันรุนแรง เพราะถ้าทะเลาะกันก็จะมี ผู้หลักผู้ใหญ่ที่คนในชุมชนนับถือเตือนว่า เป็นมุสลิมด้วยกันและมีบรรพบุรุษเดียวกันเป็นต้น หากโกรธกัน ก็โกรธได้ แต่ให้โกรธได้ 3 วันแล้วให้มาปรับความเข้าใจกัน สังคมบ้านคลองดิน จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น ถ้าบ้านไหนยากจนไม่สบาย ขาดเงินรักษา คณะกรรมการประจำมัสยิดก็จะทำหนังสือเชิญมุสลิมในหมู่บ้าน มาร่วมดื่มน้ำชา กาแฟ ที่ร้านกาแฟ และช่วยกันบริจาคช่วยเหลือคนที่ ตกทุกข์ได้ยาก (หน้า 13,19, 20 ตัวอย่างจดหมายเชิญ หน้า 21, 22) ระบบครอบครัว (Family) แบ่งเป็น 2 อย่างได้แก่ 1. ครอบครัวเดี่ยว (nuclear family) ได้แก่ พ่อ แม่ และลูก โดยมีสมาชิก 2 รุ่นอายุ (Generation) ครอบครัวแบบนี้ มี 80% ของหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะสร้างใกล้กับ บ้านของพ่อแม่ของตน หรือถ้าไม่มีเงินสร้างบ้านที่มั่นคง ก็จะสร้างกระต๊อบ อยู่ใกล้บ้านของพ่อแม่ ซึ่งส่วนมากจะเป็นพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการใช้จ่ายบางครั้ง ยังต้องพึ่งพิงพ่อแม่อยู่ 2. ครอบครัวรวม (The stem family) ในหมู่บ้านมี 15 % ในครอบครัวมีสมาชิกอยู่ 3 รุ่น (Generation) ได้แก่ ปู่ ย่า ตายาย พ่อ แม่ และลูก หากคนในครอบครัวแต่งงาน ก็จะรับลูกเขย หรือ ลูกสะใภ้ เข้ามาอยู่ในบ้าน ในครอบครัวพ่อจะมีอำนาจมากที่สุด รองลงมาคือแม่ ลูกชายจะมีอำนาจมากกว่าลูกสาว แต่เมื่อผู้หญิงไปทำงานมากขึ้น ผู้หญิงจึงมีอำนาจในการตัดสินใจปัญหาต่างๆ ในครอบครัวได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ศาสนาอิสลาม อนุญาตให้ผู้ชายมีเมียได้ 4 คน แต่ถ้ามีเมียมากกว่าหนึ่งคนก็ต้องให้ความยุติธรรมแก่ภรรยาอย่างเท่าเทียมกัน ถ้าทำไม่ได้ก็ควรมีเมียคนเดียว (หน้าและแผนภาพ 23, 24, 41) การแบ่งมรดก ศาสนากำหนดให้ แบ่งมรดกครึ่งหนึ่งของลูกชาย ให้กับลูกสาว เพราะถือว่า ลูกชายต้องเลี้ยงดูเมียและลูก สำหรับการแบ่งมรดกโต๊ะอิหม่ามจะเป็นผู้ดูแล (หน้า 36)

Political Organization

การปกครองแบ่งออกเป็น 2 อย่าง 1. ผู้นำทางศาสนา โดยมีโต๊ะอิหม่าม เป็นประธาน และคอเต๊บ บิหลั่น เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการ 15 คน ทำหน้าที่ช่วยเหลือดูแลทุกข์สุข ของคนในชุมชน โดยใช้หลักศาสนา เช่น ปัญหามรดก หรือเรื่องชู้สาว และอื่นๆ สำหรับหน้าที่ในมัสยิดได้แก่ ดูแลมัสยิด ทำเอกสารบัญชี และทะเบียนวาระระเบียบปฏิบัติต่างๆ 2. ผู้นำอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธาน และคณะกรรมการ 7 คน ทำหน้าที่ติดต่อกับทางราชการ ทั้งนี้ กลุ่มคณะกรรมการที่ปกครองทั้งทางศาสนา และอย่างเป็นทางการจะไม่มีผู้หญิงเป็นคณะกรรรมการแต่อย่างใด เพราะหน้าที่ของผู้หญิงจะอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 13, 40)

Belief System

บ้านคลองดิน มีมุสลิม 95% โดยจะทำพิธีทางศาสนา ที่ มัสยิด มุวะห์ฮิดีน เมื่อก่อนนี้ คนในหมู่บ้านนับถือศาสนาอิสลามทุกคน กระทั่งปี พ.ศ. 2532 ชาวบ้านที่นับถือศาสนาอื่น ได้อพยพเข้ามาซื้อที่ดิน และตั้งบ้านเรือน ใน หมู่บ้าน ประมาณ 8 % มุสลิมบ้านคลองดิน ได้รับการปลูกฝังความเชื่อทางศาสนา โดย นายอับดุลลอฮ อามีนี นักวิชาการศาสนาชาวอินโดนีเซีย ที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านคลองดิน เมื่อ พ.ศ. 2470 ทั้งนี้มุสลิมมีความศรัทธาต่อศาสนา โดยมีความศรัทธาพื้นฐาน หรือ รุกนอีมาน 6 ข้อสำคัญคือ 1. อัลลอฮ - นับถือพระองค์สูงสุดเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนจะมีความปลอดภัย และเป็นเครื่องรับประกันว่า จะไม่ถูกลงโทษทั้งในโลกนี้ หรือ ใน ปรโลก 2. มาลาอิกะฮ หรือ เทวทูต อัลลอฮ สร้างมาลาอิกะฮ มาจากลำแสง ไม่มีเพศ ไม่กินอาหาร และอยู่เหนือธรรมชาติ จะกระทำตามคำสั่งของอัลลอฮ ทุกอย่างโดยจะขัดขืนไม่ได้ และจะนำคำสอนของอัลลอฮ มาบอก นบี รวมทั้งบันทึกความประพฤติของมนุษย์ ทั้งทำดีและเลว เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเวลาตาย 3. คัมภีร์ของอัลลอฮ หรือคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เก็บรวบรวมคำสอน ของอัลลอฮ ที่ พระองค์ ได้มอบแก่มนุษย์ผ่านนบี(ศาสดา) ในสมัยต่างๆ ในภาษาอาหรีบเรียกว่า "กิตาบ" เนื้อหาในคัมภีร์จะแก้ไขไม่ได้ 4. บรรดารอซูล หรือศาสนฑูต ซึ่งเป็นผู้ที่อัลลอฮ มอบหมายให้เป็นผู้เผยแพร่คำสอน มีทั้งหมด 25 ท่าน โดยมีนาบีมูฮัมหมัด เป็นคนสุดท้าย นาบี ทั้ง 25 ท่านประกอบด้วย นาบีอาดัม นาบีอดีรีส นาบีนุฮ นาบีฮูด นาบีศออิห นาบีอิบรอฮีม นาบีอิสมาอีส นาบีลูฏ นาบีอิสฮาก นาบียะอกูบ นาบียูซูฟ นาบีมูซา นาบีฮารูน นาบีซุอัยย์ นาบีซะการียา นาบียะหยา นาบีดาวูด นาบีสุลัยมาน นาบีอิยยาส นาบีอัยยูบ นาบีอัลนะสะอ นาบียูนูส นาบีซุลกิฟลิ นาบีมูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) นาบีทั้งหมดได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ 5. วันอาดิเราฮ หรือวันสุดท้ายของโลก บางครั้งก็เรียกว่า "วันกิยามะฮ์" แปลว่า วาระสุดท้าย วันสุดท้าย หรือ วันสุดท้ายของโลก ซึ่งเป็นวันที่คนที่ตายไปแล้ว จะฟื้นคืนชีพเพื่อ ตัดสินการทำดีทำชั่ว ใน "วันกิยามะฮ์" สำหรับบริเวณที่คนตายแล้วฟื้นจะต้องไปคือ "โลกอลัมบัรซัค" ที่อยู่ระหว่างกลางของโลกนี้และโลกหน้า 6. การกำหนดสภาวะของอัลลอฮ ทั้งนี้อัลลอฮจะให้คนมีอิสระในการเลือก ที่จะกระทำ หรือไม่กระทำอะไรก็ได้ โดยให้คนเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำของตนเอง ทั้งนี้การกระทำทั้งดีและชั่วจะได้รับการตอบแทนในโลกนี้ และในโลกหน้า การปฏิบัติตัว 5 อย่าง (รูกนอิสลาม) ของมุสลิมประกอบด้วย 1. การปฏิญาณตน คือการยอมรับอัลลอฮเพียงพระองค์เดียว โดยไม่นับถือพระเจ้าองค์อื่น และยอมรับนบีมูฮัมหมัด เป็น รอซูล หรือ ศาสนทูต ของอัลลอฮ เพื่อให้คนรู้จักกับพระองค์ 2. การนมาซ (ละหมาด) ดั้งเดิมเป็นเป็นภาษาอาหรับ เรียก "อัส-เศาะลาต" หมายถึง "การขอพร" หรือ "ดุอาฮ์" การนมาซมีความสำคัญ ศาสนาอิสลามถือว่าเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนกับพระเจ้า แม้ไม่สบายก็ต้องปฏิบัติ เช่นนั่งทำไม่ได้ก็ให้นอน นมาซ การนมาซถ้าเป็นผู้ชาย หากไปนมาซที่สุเหร่าจะได้บุญ 27 เท่า ส่วนผู้หญิงโดยมากจะนมาซที่บ้าน การนมาซมี 5 เวลา คือ - ย่ำรุ่ง ( นมาซ ซุบหิ) ปฏิบัติ 2 ร็อกอะฮ์, บ่าย (นมาซ ซุอริ) ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์, เย็น (นมาซ อัศร) ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์, พลบค่ำ (นมาซ มักริ) ปฏิบัติ 3 ร็อกอะฮ์, กลางคืน (นมาซ อิซา) ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์ การทำนมาซต้องทำความสะอาดชำระสิ่งสกปรก หรือ นะญิส ได้แก่ อุจจาระ ปัสสาวะ ระดู เลือดหลังการคลอดลูก น้ำเมือกของอวัยวะเพศ ขณะนมาซต้องแต่งกายมิดชิด หันหน้าไปทางประเทศซาอุดิอาระเบีย อันเป็นที่ตั้งของหินสีดำ 3. การถือศีลอด จะทำในเดือนรอมฎอน (เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติอิสลาม) คนที่ถือศิลอดต้องบรรลุนิติภาวะ และมีร่างกายแข็งแรง ส่วนคนป่วย คนสูงอายุ หญิงมีประจำเดือน คนเดินทางไกล คนทำงานหนัก หญิงที่ให้นมลูก จะถือศีลอดชดใช้ให้ ทำบุญให้ทานกับคนยากจน การถือศิลอดจะทำตั้งแต่ตะวันขึ้นกระทั่งตะวันตกดิน มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำจัดความตระหนี่และความเห็นแก่ตัว 4. บริจาคซากาต การบริจาคแบ่งเป็น 2 อย่าง การบริจาคที่ศาสนาบังคับเรียกว่า ซากาต ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ หมายถึงการทำให้บริสุทธิ์ หมดมลทิน ความเจริญงอกงาม ส่วนการบริจาคที่ไม่บังคับคือ "เศาะดะเกาะฮ" และในบ้านคองดินจะมีการการบริจาคอีกอย่างหนึ่งคือ เศาะดะเกาะฮ์ญาริ คือ การบริจาคให้สาธารณะ - สำหรับการบริจาคนั้นมุสลิมคนใดเมื่อมีเงินครบ ตามจำนวนใน 1 ปี จะต้องทำบุญบริจาค 2.5 % ให้แก่คนยากจน คนที่เป็นหนี้มากๆแต่ต้องทำงานสุจริต เป็นต้น สำหรับการบริจาคในช่วงถือศิลอดคือ "ซากาต พิฏเราะอ์" โดยมากจะเป็นข้าวหรือเงิน โดยจะมอบให้ผู้มีสิทธิ์รับบริจาค - เศาะดะเกาะฮ์ คือ การบริจาคที่ไม่บังคับ จะทำกันตลอดปีเพื่อช่วยมุสลิมที่ยากจนหรือเดือดร้อน - เศาะดะเกาะฮ์ญาริ คือ การบริจาคให้สาธารณะ เช่น การสร้างถนน สะพาน สำหรับคนที่มีสิทธิรับบริจาค ได้แก่ คนอนาถา (ฟะกีร) ได้แก่ คนจน เช่น กรรมกรแบกหาม แม่หม้าย ลูกกำพร้า,ผู้เก็บรวบรวมซากาต จะได้รับค่าตอบแทน คนที่เพิ่งเข้ารับศาสนาอิสลาม หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเข้ารับศาสนาอิสลาม การไถ่ทาสหรือเชลยให้เป็นอิสระ ผู้เป็นหนี้จากการทำงานสุจริต การบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ และ ผู้เดินทางกลับบ้านเกิดของตน 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ ภาษาอาหรับ "ฮัจญ์" แปลว่า การออกเดินทาง พิธีนี้จะประกอบพิธีที่ นครเมกกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 1-13 เดือนซุลฮิจ ญะญ์ หรือเดือน 12 ของปีทางศาสนาอิสลาม การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ส่วนใหญ่จะไปทั้งสามี ภรรยา โดยจะใช้เงินเก็บของตนเองและเงินที่ลูกหลานและญาติบริจาคใช้จ่าย เป็นค่าเดินทาง ผู้ชายที่กลับมาจากการประกอบพิธีฮัจญ์ มุสลิมจะเรียก "ฮัจญี" นำหน้าชื่อ ผู้หญิงจะเรียกว่า "ฮัจญะ" อนึ่ง ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช มีมัสยิดที่จดทะเบียน 97 แห่ง อยู่ ใน 10 อำเภอจากทั้งหมด 16 อำเภอ กับ 2 กิ่งอำเภอ สำหรับ อ.เมือง มีมัสยิด 38 แห่งด้วยกัน (บทนำ, หน้า 6, 7, 26-32, 36) มุสลิม เชื่อว่า ถ้า พ่อ แม่ ที่ไม่ส่งเสริมให้ลูก เรียนศาสนา จะเป็นบาปมาก(หน้า 10) การแต่งงาน ผู้หญิงมุสลิมมีสิทธิ์แต่งงานเมื่อมีประจำเดือน และพ่อแม่ไม่มีอำนาจบังคับ ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของลูกสาว การแต่งงานจะประกอบไปด้วยคู่สมรสฝ่ายหญิง, ชาย ผู้ปกครองที่เป็นชายอย่างต่ำ 2 คน พิธีนิกะฮการแต่งงาน ส่วนใหญ่ประกอบที่บ้านฝ่ายหญิง ในช่วงกลางคืนหลังเลิกงาน โดยจะเชิญโต๊ะอิหม่ามมาร่วมงาน ส่วนฝ่ายชายจะเชิญญาติเพื่อไปเป็นพยานการแต่งงาน จำนวนหนึ่ง ส่วนสินสอดจะไม่เรียกเป็นจำนวนมาก เพราะศาสนากำหนดว่า ผู้หญิงที่รับสินสอดน้อยที่สุดเป็นผู้ประเสริฐ (หน้า 33, 34) การหย่า เป็นสิ่งที่ศาสนารังเกียจ แต่จะเป็นผลดีต่อสามีภรรยา เพราะถ้าทนอยู่ด้วยกันก็จะทำให้เกิดความเกียจชังกันมากขึ้น การหย่าจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาของมุสลิม แต่มีข้อห้ามหลายอย่าง เช่น ห้ามหย่าตอนหญิงมีประจำเดือน ไม่ให้สาบานว่าจะหย่า ถ้าหย่าเกิน 3 ครั้งกับภรรยา ต้องทำพิธีนิกะฮ (แต่งงาน) อีกครั้ง (หน้า 34,35) การตายมุสลิมถือว่า เป็นเรื่องปกติ ทุกคนจะถูกพระเจ้าเรียกกลับ คนที่ป่วยหนักหรือใกล้ตาย จะถูกสอนให้กล่าวว่า "ลา อิลาฮะอิล อัลลอฮ" หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ เมื่อก่อนนี้ ถ้าผู้ใหญ่ตาย จะตีกลอง 5 ครั้ง เด็กตี 3 ครั้ง แต่ทุกวันนี้ยกเลิกพิธีนี้แล้ว ถ้าชาวบ้านรู้ว่ามีคนตายก็จะกล่าวว่า "อินนาลินลาฮิ วะอิน นาลิลาฮิลอญิอุน" หมายถึง แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ และแท้จริงยังพระองค์ คือสถานที่ ที่เราจะต้องกลับคืนไปสู่ (หน้า 35)

Education and Socialization

ในหมู่บ้านแบ่งการเล่าเรียน เป็น 2 อย่างคือ 1. การเรียนภาคบังคับของรัฐบาล ทุกวันนี้เด็กในหมู่บ้านจะเรียนจนจบชั้น ป.6 โดยจะไปเรียนที่หมู่บ้านใกล้เคียงที่อยู่ห่างหมู่บ้าน 1 กิโลเมตร สำหรับการเรียนในชั้น มัธยม หรือ อุดมศึกษา จะมีผู้เข้าเรียนน้อยมาก เนื่องจากว่าทางบ้านยากจนไม่มีเงินส่งเสียลูกหลานให้เรียนได้ในระดับสูงๆ ในอดีตการศึกษาภาคบังคับของรัฐบาล มักจะไม่ได้รับความสนใจ ดังจะเห็นได้จาก ปัจจุบันยังมีผู้ใหญ่และวัยรุ่นในหมู่บ้าน เป็นจำนวนมาก ที่ไม่เคยเข้าศึกษาภาคบังคับของรัฐบาล 2. การเรียนศาสนา - เด็กมุสลิมจะเริ่มศึกษาศาสนาตั้งแต่เล็กๆ และจะเรียนรู้เพิ่มเติมในช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เมื่อไม่ต้องเรียนที่โรงเรียนในภาคบังคับ การเรียนศาสนานั้น ผู้ปกครองจะให้ความสำคัญมาก และจะสนับสนุนลูกหลานให้เรียนศาสนา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม เช่นการละหมาดได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติตัวที่ดีงามตามหลักศาสนา - สำหรับผู้ใหญ่จะเรียนศาสนาในวันศุกร์ การเรียนจะแบ่งเป็น 2 เวลา ได้แก่ช่วงเช้า โต๊ะอิหม่ามจะสอนศาสนา แก่กลุ่มผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว ความรู้ที่สอน จะเป็นการสอนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในคัมภีร์อัล กุนอาน และ อัล หะดีษ ของศาสดามูฮัมหมัด โดยจะเรียนประมาณ 2 ชั่วโมง - ส่วนกลุ่มผู้ชายจะเรียนศาสนาในช่วงบ่าย หลังจากที่ละหมาด เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม มุสลิมบ้านคลองดินถือว่า การเรียนศาสนามีความสำคัญ มากกว่าการเรียนในโรงเรียนของรัฐบาล เพราะการเรียนศาสนานั้น มุสลิมเชื่อว่าจะเป็นกุญแจไปสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า ฉะนั้นแล้วหากครอบครัวหรือบุคคลใด ไม่เรียนศาสนา ก็จะถูกสังคมคว่ำบาตร และคนในชุมชุน และ ผู้นำศาสนาจะไม่ช่วยเหลือ หรือ ดูแล ครอบครัว หรือ บุคคลดังกล่าว อนึ่ง ในหมู่บ้านจะมีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม หรือ ปอเนาะ ได้แก่ โรงเรียน อัล-มูวะห์ฮิดีน อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีโรงงานมาตั้งในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ทำให้มีการส่งเสริมการศึกษาในภาคบังคับของรัฐบาลมากขึ้น เพราะชาวบ้านมีฐานะที่ดีขึ้น อีกทั้งโรงเรียนเบญมราชูทิศ โรงเรียนประจำจังหวัด ได้ให้โอกาสแก่นักเรียนที่บ้านอยู่รอบๆโรงเรียนไม่เกิน 1 กิโลเมตร ได้เข้าเรียนโดยไม่ต้องสอบเข้า นักเรียนในบ้านคลองดินจึงมีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนของรัฐบาลมากขึ้น และผู้ปกครองก็ให้ความสนับสนุนลูกหลานให้เรียนมากขึ้น จากแต่ก่อนเด็กผู้หญิงในหมู่บ้านจะไม่ชอบเรียนต่อก็เปลี่ยนทัศนคติด้านการศึกษา (บทคัดย่อ หน้า 6, 8,10,13 ,49 ดูรูปหน้า 9, 11,12 , ตารางสถิติการเรียน หน้า 10)

Health and Medicine

น้ำดื่ม : ส่วนมากจะใช้น้ำบ่อ บริโภคและอุปโภค แต่จะไม่ชอบดื่มน้ำฝน (หน้า 7) ส้วม : จะสร้างส้วมไว้ในตัวบ้าน บางบ้านก็จะสร้างไว้นอกบ้าน และยังมีหลายครอบครัวที่ยังไม่สร้างส้วมใช้ (หน้า 7) หญิงมีครรภ์ แต่ก่อนจะห้ามไม่ให้นั่งทับธรณีประตู เพราะเชื่อว่าจะทำให้คลอดลูกลำบาก ห้ามใส่ไม้ฟืนทางด้านหางหรือทางด้านเล็ก เพราะเวลาคลอดลูกจะเอาเท้าออกมาก่อน ไม่ให้อาบน้ำตอนกลางคืน เพราะคิดว่าน้ำจะออกมาเวลาคลอด (หน้า 32)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย ตามหลักศาสนาอิสลาม มีจุดประสงค์ 2 อย่างคือ เพื่อปกปิดร่างกาย และเพื่อความสวยงาม - ผู้หญิง จะแต่งด้วยชุด "ฮิญาบ" นุ่งโสร่งสวมเสื้อแขนยาวใช้ผ้าคลุมหัวเปิดไว้เฉพาะใบหน้า บางคนก็ปิดหน้า เหลือไว้เฉพาะตา ชุดที่สวมต้องปกปิดร่างกายอย่างมิดชิด ไม่ให้เห็นรูปร่างอันจะเป็นการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ห้ามทำศัลยกรรมร่างกาย ห้ามสักร่างกาย ถอนขนคิ้ว หรือใส่วิกผม เป็นต้น ทั้งนี้ผู้หญิงอาจจะเปิดเผยใบหน้าให้บุคคลใกล้ชิดเห็นได้ สามี ลูก พ่อ แม่ พี่น้องและญาติผู้หญิง เป็นต้น แต่ทุกวันนี้หญิงมุสลิมในหมู่บ้าน จะมีการแต่งกายที่ขัดแย้งกันมากขึ้น เพราะตั้งแต่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งในหมู่บ้าน ก็มีชาวบ้านส่วนหนึ่งรณรงค์ให้ผู้หญิงแต่งชุด "ฮิยาบ" ปกปิดร่างกายด้วยผ้าคลุมหัวและนุ่งโสร่ง แต่ ผู้หญิง อีกกลุ่มก็จะแต่งตัวตามสมัยนิยม เพราะได้รับอิทธิพลการแต่งตัวสมัยใหม่เพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง ทำให้การแต่งกายในหมู่บ้านไม่กลมกลืนกัน - ผู้ชาย การแต่งตัวจะต้องปกปิดสะดือ ถึงหัวเข่า ห้ามสวมใส่ผ้าไหม และสวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ (หน้า 36, 37, 51 )

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ผู้หญิงมุสลิมจะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเพราะไม่สามารถ ประกอบกิจกรรมบางอย่างในสังคมเช่นผู้ชาย และมีข้อห้ามต่างๆ มากมายจนไม่อาจมีความเป็นอิสระดังเช่นผู้หญิงต่างศาสนา แต่หญิงมุสลิมเชื่อว่าทุกอย่างกำหนดโดยพระเจ้า และเมื่อทำตามหลักคำสอนของศาสนา ถ้าตายไปก็จะมีความเสมอภาคกับผู้ชาย (หน้า 40)

Social Cultural and Identity Change

แต่ก่อนสตรีมุสลิม อยู่แต่กับบ้านและเคร่งศาสนา กระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง เมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรม เข้ามาก่อตั้งในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อปี พ.ศ.2532 จึงทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป เช่น ไม่มีเวลาทำ นมาซหรือ นมาซ ไม่ครบวันละ 5 เวลา บางคนก็ทำผิดหลักศาสนา เช่น รับประทานอาหารที่โรงงานในเวลากลางวัน ในช่วงที่ถือศีลอด และมีผู้หญิงมุสลิมในหมู่บ้านเป็นจำนวนมากเข้าไปทำงานในโรงงาน (บทนำ, 48, 49)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ผลกระทบด้านต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม หลังจากมีโรงงานเข้ามาตั้งในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียงได้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้าน ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหามลพิษ น้ำเน่าเสีย กลิ่นเหม็นในโรงงานอุตสาหกรรมรบกวนชาวบ้าน เมื่อคนมารวมกันมากๆ ในโรงงาน ก็เกิดปัญหาทางด้านสังคมและทำผิดหลักศาสนา เช่น ปัญหาชู้สาวระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือลูกจ้างด้วยกัน การทะเลาะวิวาท เวลาในการประกอบพิธีทางศาสนาน้อยลง เช่น นมาซ (ละหมาด) ไม่ครบ 5 เวลา บางรายไม่ทำตามคำสอนของศาสนา เช่นกินข้าวในช่วงถือศีลอด เป็นต้น ส่วนในด้านการศึกษา จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด เพราะผู้ปกครองส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนในระดับที่สูงๆ มากขึ้น เพราะมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งแตกต่าง จากแต่ก่อนที่คนในหมู่บ้านไม่ค่อยสนับสนุนให้ลูกหลานเรียนหนังสือ เพราะมีฐานะยากจน จากความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านได้นำความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมาสู่หมู่บ้าน อาทิเช่น กลุ่มผู้นำศาสนา ได้หวั่นเกรงต่อการขยายวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่มาจากเมือง ดังนั้นจึงรณรงค์ให้ผู้หญิงในหมู่บ้านแต่งตัวมิดชิดถูกต้องตามหลักศาสนา จึงมีความขัดแย้งในหมู่บ้านในเรื่องการแต่งตัว เพราะบางคนจะแต่งด้วยชุดสมัยนิยม แต่บางคนจะแต่งชุด "ฮิญาบ" แม้ว่าจะเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนระบุว่า การแต่งตัวที่ถูกต้องมิดชิดตามหลักศาสนานั้น ส่วนหนึ่งก็นำเงินรายได้จากการขายแรงงานในโรงงานมาตัดชุด อย่างไรก็ดี จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้มุสลิมบ้านคลองดิน หันมามองวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น เช่น การรณรงค์ให้คนมาใส่ใจต่อหลักศาสนา เพื่อป้องกันความเปลี่ยนแปลงที่ตามมาจากผลกระทบ ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้ามาตั้งในพื้นที่ที่มุสลิมบ้านคลองดินอยู่อาศัย (หน้า 42-58)

Map/Illustration

รูปภาพ การศึกษาศาสนาจะเริ่มที่บ้านตนเอง หรือบ้านญาติ (หน้า 9) หญิงมุสลิมจะมาเรียนศาสนา ทุกวันศุกร์ที่มัสยิด (หน้า 11) การเรียนศาสนา ในโรงเรียนสอนศาสนา (หน้า 12) สาวมุสลิมรับจ้างทำเครื่องถมที่บ้าน (หน้า 16) เด็กหญิงรับจ้างทำอวนในวันหยุด (หน้า 17) หญิงสูงอายุ รับจ้างทำอวน (หน้า 18) ชุด "ยูเบาะ" ของหญิงมุสลิม แผนภาพ ครอบครัวเดี่ยว (หน้า 23) ครอบครัวขยาย (หน้า 24) ตาราง จำนวนประชากร 157 ครอบครัว (หน้า 7) การศึกษาสายสามัญของหญิงมุสลิม อายุ 25-50 ปี จากการสุ่มตัวอย่าง 78 คน (หน้า 10) เวลาทำงานของผู้หญิงในอดีต (หน้า 47) เวลาทำงานของหญิงมุสลิมในโรงงาน (หน้า 48)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ไทยมุสลิม, โรงงานอุตสาหกรรม, หลักปฏิบัติ, ศาสนาอิสลาม, บทบาทสตรี, นครศรีธรรมราช, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง