สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,ภาษา,ระบบเสียง,คำระบบเครือญาติ,เรือน,การรักษาโรค,เพลง,แพร่,น่าน
Author คารม ไปยะพรหม
Title Anthropological linguistics in Mlabri
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
Total Pages 203 Year 2533
Source ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เสนอการศึกษาวิจัยภาษามลาบรีในสามประเด็น ประเด็นที่หนึ่งเกี่ยวกับระบบเสียง ซึ่งประกอบด้วย - ทำนองเสียง พบว่ามลาบรีมีรูปแบบทำนองเสียงเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น คือ ทำนองเสียงสูง-ต่ำ และทำนองเสียงสูง - คำ มีชนิดของการสร้างคำอยู่ 4 ชนิด คือ คำผสม,คำเติม,คำยืม และคำที่สร้างขึ้นเอง ชนิดของคำ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ คำเดียว, คำพ้องเสียง, คำพ้องความหมาย และคำใกล้เคียง - พยางค์ โครงสร้างของพยางค์ ประกอบด้วยสระและพยัญชนะ มีรูปแบบของพยางค์อยู่3รูปแบบ ได้แก่ พยางค์นำ,พยางค์หลัก,พยางค์รอง - หน่วยเสียง คือหน่วยพื้นฐานของพยางค์ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน แต่สามารถอธิบายการออกเสียงได้ หน่วยเสียงแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ พยัญชนะ และแบ่งออกเป็นพยัญชนะ 32 ตัว สระ10 ตัว และสระควบ 4 ตัว การออกเสียง สระจะเป็นส่วนสำคัญของการออกเสียงเสมอ ในภาษามลาบรีจะไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นและเสียงยาว แต่จะปรับการออกเสียงสั้นยาวตามพยางค์เปิดและพยางค์ที่เน้นหนัก ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับลักษณะทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งประกอบด้วย - ระบบเครือญาติ มลาบรีเป็นชุมชนเล็กๆ ที่เกิดขึ้นด้วยการรวมตัวกันของหลายๆครอบครัวซึ่งเกี่ยวดองกันทางสายเลือด - บ้าน มลาบรีสร้างบ้านง่ายๆ ด้วยวัสดุหาง่ายเช่นไม้ไผ่ กิ่งไม้ และปูหลังคาด้วยใบกล้วยหรือใบปาล์ม สูงแค่นั่งได้พอดี หลังคาลาดลงจนจรดพื้นดินด้านหนึ่ง และปูพื้นด้วยใบไม้แห้งหรือไม้ไผ่ - ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่เรียบง่ายสะท้อนรูปแบบสังคมวัฒนธรรมของมลาบรีได้เป็นอย่างดี เช่น ใบหอกและเสียมซึ่งทำจากโลหะนั้น มลาบรีใช้วิธีหาซื้อโลหะมาจากเผ่าอื่น แล้วนำมาเผาไฟจนอ่อนตัวแล้วทุบให้ขึ้นรูป เมื่อได้รูปที่ต้องการแล้วก็จุ่มน้ำให้แข็งตัว หน้าไม้ ปืนและมีดจะได้มาจากการติดต่อกับกลุ่มอื่นๆ เช่น ขมุ ม้ง หรือเย้า โดยได้เป็นค่าตอบแทนจากการทำงาน นอกจากนี้ยังมีเครื่องใช้ง่ายๆ ที่มลาบรีทำขึ้นเองได้ เช่น กล้องยาสูบ ที่ใส่เกลือ กระเป๋าสาน ฯลฯ - การรักษาโรค มลาบรีนับถือผี เมื่อมีคนเจ็บป่วย ผู้ป่วยก็จะทำการเซ่นไหว้ผีตนนั้นเพื่อขอขมา นอกจากนี้มลาบรียังใช้การรักษาด้วยสมุนไพรมากพอๆ กับการบูชาผี - เพลง มลาบรีจะร้องรำทำเพลงเมื่อทำการล่าสัตว์สำเร็จหรือมีงานเทศกาล เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการร่อนเร่พเนจร ความขัดสน ความทุกข์ทรมานในชีวิตของพวกเขา และมักจะเน้นเรื่องความแตกต่างระหว่างมลาบรีกับเผ่าอื่นๆ ประเด็นที่สาม เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างภาษาและมานุษยวิทยา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการสร้างคำ โดยอาศัยแนวเทียบกับสภาพแวดล้อมทางมานุษยวิทยาและสังคม

Focus

การศึกษาเน้นในสองประเด็นหลัก ประเด็นแรก เกี่ยวกับระบบเสียง ซึ่งประกอบด้วย ทำนองเสียง คำ พยางค์ และหน่วยเสียง ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับลักษณะทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งประกอบด้วย ระบบเครือญาติ บ้าน ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรคและเพลง ประเด็นที่สาม เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างภาษาและมานุษยวิทยา (หน้า 4-5)

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี หรือที่รู้จักกันในชื่อผีตองเหลือง

Language and Linguistic Affiliations

ภาษามลาบรีเป็นภาษาสาขา Khumic ของตระกูลภาษา Mon-khmer ในตระกูลภาษา Austroasiatic (หน้า 2-3) มีชนิดของคำคล้ายคลึงกับกลุ่มภาษาตระกูล Mon-khmer ทั่วๆไป คือ คำผสม คำเติม คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น และคำที่สร้างขึ้น (หน้า 195) 1. ทำนองเสียง มลาบรีมีรูปแบบทำนองเสียงเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น คือ ทำนองเสียงสูง-ต่ำ และทำนองเสียงสูง ทั้งสองรูปแบบสามารถสังเกตได้จากพยางค์ที่ถูกขยายให้ยาวขึ้นของคำสุดท้าย - ทำนองเสียงสูง-ต่ำ จะใช้ในการสั่ง, การแสดงการยินยอม และการถาม - ทำนองเสียงสูง จะใช้ในการปฏิเสธ และคำถาม****** 2. การเน้นเสียง มลาบรีมีระดับการเน้นเสียงในแต่ละพยางค์ 3 ระดับ ได้แก่ เน้นหนัก เน้นเบา และไม่เน้น มีรูปแบบการเน้น 3 รูปแบบ ได้แก่ - พยางค์เดียว เน้นหนัก - สองพยางค์ มี 2 แบบคือ เน้นเบา-เน้นหนัก และ ไม่เน้น-เน้นหนัก - สามพยางค์ มี 3 แบบคือ ไม่เน้น-เน้นเบา-เน้นหนัก, เน้นเบา-ไม่เน้น-เน้นหนัก และ เน้นเบา-เน้นเบา-เน้นหนัก อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเน้นเสียงแบบสามพยางค์ในภาษา มลาบรีอยู่น้อยมาก 3. พยางค์ - โครงสร้างของพยางค์ ประกอบด้วยสระและพยัญชนะ มีรูปแบบของพยางค์อยู่ 3รูปแบบ ได้แก่ พยางค์นำ คือพยางค์ที่มีหน่วยเดียวและไม่เน้นเสียง สามารถเชื่อมกับพยางค์อื่นกลายเป็นพยางค์เดียวได้เมื่อพูดเร็วๆ พยางค์หลัก เป็นพยางค์ที่เน้นเสียงหนักเสมอ และทุกๆ คำจะต้องมีพยางค์หลักอยู่ด้วย พยางค์รอง เป็นพยางค์ที่ไม่เน้นเสียงในคำที่มีสองพยางค์ และเป็นพยางค์ที่เน้นเบาในคำที่มีสามพยางค์ พยางค์รองจะเป็นพยางค์แรกทั้งในคำที่มีสองพยางค์และสามพยางค์ พยางค์รองไม่สามารถเชื่อมกับพยางค์หลักเป็นพยางค์เดียวได้ แต่พยางค์รองอาจไม่ออกเสียงได้เมื่อพูดเร็วๆ 4. หน่วยเสียง คือหน่วยพื้นฐานของพยางค์ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน แต่สามารถอธิบายการออกเสียงได้ หน่วยเสียงแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ พยัญชนะ และสระ - ภาษามลาบรีประกอบด้วยพยัญชนะ 32 ตัว สระ10 ตัว และสระควบ 4 ตัว 5. การออกเสียง เกี่ยวกับการออกเสียงนั้น สระจะเป็นส่วนสำคัญของการออกเสียงเสมอ ในภาษามลาบรีจะไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นและเสียงยาว แต่จะปรับการออกเสียงสั้นยาวตามพยางค์เปิดและพยางค์ที่เน้นหนัก 6. ระบบคำ การสร้างคำในภาษามลาบรีนั้นเป็นรูปแบบเดียวกับภาษาอื่นๆ ในตระกูลภาษาม้ง-เขมร มีชนิดของการสร้างคำอยู่ 4 ชนิด คือ - คำผสม - คำเติม - คำยืม - คำที่สร้างขึ้นเอง ชนิดของคำ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ - คำเดียว รวมทั้งคำที่มีหลายพยางค์ มีความหมายเดียว - คำพ้องเสียง คือคำที่มีหลายความหมาย - คำพ้องความหมาย คือคำที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน - คำใกล้เคียง คือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน (หน้า 16-102)

Study Period (Data Collection)

ในระหว่าง พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ. 2532 ผู้เขียนออกเก็บข้อมูลรวมห้าครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาระหว่างหนึ่งสัปดาห์ถึงหนึ่งเดือน (หน้า5)

History of the Group and Community

จากหลักฐานต่างๆ พอจะสรุปได้ว่ามลาบรีเดิมตั้งหลักแหล่งอยู่ริมแม่น้ำโขง ที่ไชยบุรีประเทศลาว มีการค้นพบมลาบรีในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดชัยภูมิ เลย และเชียงราย ในปัจจุบันพบว่ามีชาวมลาบรีใน 18 หมู่บ้านใน 4 อำเภอของจังหวัดแพร่ และน่าน (หน้า 1-2)

Settlement Pattern

มลาบรีไม่ได้ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งที่แน่นอน พื้นที่ที่มลาบรีเลือกจะไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนัก แต่ก็จะไม่ใกล้กับชุมชนอื่นๆ เพราะมลาบรีไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่ม (หน้า 124,199-200)

Demography

ในปี พ.ศ.2525 พบว่ามีมลาบรีในประเทศไทย 138 คน แต่คาดว่าน่าจะยังมีมลาบรีอีกเพียงเล็กน้อยที่ยังไม่ถูกค้นพบ เพราะมลาบรีมีอัตราการเสียชีวิตสูงด้วยไข้มาลาเรีย ภาวะขาดสารอาหารของทารก และโรคอื่นๆ เช่นในปี พ.ศ.2530 มีมลาบรีตาย 4 คนด้วยไข้มาลาเรีย ภาวะขาดสารอาหาร และถูกปืนลั่น นอกจากมลาบรีที่พบในประเทศไทยแล้ว ยังพบมลาบรีกว่า 250 คนในแถบภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศลาว (หน้า 2) มลาบรีแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยครอบครัวย่อยๆ 3-4 ครอบครัว แต่ละครอบครัวจะมีสมาชิก 4-5 คน เมื่อเมื่อสมาชิกในครอบครัวแต่งงานก็ต้องแยกออกไปตั้งบ้านใหม่ (หน้า121)

Economy

แต่เดิมมลาบรีดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่า อพยพโยกย้ายถิ่นไปเรื่อยๆเพื่อค้นหาพื้นที่ที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ แต่ถ้าไม่มีเส้นทางเดิน มลาบรีก็จะบุกเบิกเส้นทางเองโดยการถางทางเฉพาะต้นไม้เล็กๆ พอให้เดินไปได้ ถ้าหากมีเด็กอ่อนอยู่ด้วยการอพยพจะเดินทางไม่เกินวันละ 15 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และเดินขึ้นเขาลงห้วยได้รวดเร็วมากด้วยเท้าเปล่า แต่ในปัจจุบันมลาบรีจำเป็นต้องตั้งหลักแหล่งใกล้ๆ กับม้ง ทั้งนี้เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปมากจนทรัพยากรร่อยหรอลง มลาบรีจึงต้องดำรงชีพด้วยการรับจ้างม้งทำการเกษตรแลกกับสิ่งของเล็กๆน้อยๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น เสื้อผ้า ข้าว เกลือ และหมู เมื่อเสร็จงานก็จะโยกย้ายหานายจ้างม้งใหม่ๆ (หน้า 124,199-200)

Social Organization

โครงสร้างสังคมของมลาบรีคือระบบเครือญาติ เป็นชุมชนเล็กๆ ที่เกิดขึ้นด้วยการรวมตัวกันของหลายๆ ครอบครัวซึ่งเกี่ยวดองกันทางสายเลือด ข้าวของเครื่องใช้เป็นของส่วนรวมใช้ร่วมกันได้ สำหรับมลาบรีแล้ว ญาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และเชื่อว่าหากใครคนใดในกลุ่มไปมีลูกกับเผ่าอื่นๆ จะถูกผีฟ้าลงโทษต่างๆ นาๆ และจะไม่ตั้งชื่อเด็กที่เกิดกับเผ่าอื่นด้วยภาษามลาบรี เมื่อสืบย้อนไปไม่เกิน 3 รุ่น จะพบว่ามลาบรีทุกคนเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน แต่มลาบรีบางกลุ่ม โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ จะสืบย้อนลำดับญาติตัวเองขึ้นไปได้ไม่เกิน 4 รุ่น ทั้งนี้เป็นเพราะแต่ละคนมีความเป็นปัจเจกสูงและไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ (หน้า 103-120)

Political Organization

ผู้หญิงมีสถานะต่ำกว่าผู้ชาย มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมน้อยมากและไม่มีผู้นำที่แน่นอน (หน้า196)

Belief System

มลาบรีนับถือผีและเชื่อในไสยศาสตร์ มีผีหลายๆ ชนิดในธรรมชาติ เช่น ผีเล็กๆ ผีคนตาย ผีรุ้ง ผีดินเกลือ ผีลม ผีแผ่นดิน ผีฟ้าผ่า ผีฟ้า ผีบรรพบุรุษ มีพิธีบูชายัญสำหรับผีต่างๆ มลาบรีเชื่อว่าหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะผีลงโทษ ผีสามารถลงโทษพวกเขาได้หลายวิธี เช่น อาการเจ็บป่วย แมลงสัตว์กัดต่อย หรือถูกกิ่งไม้ตีหรือขีดข่วน (หน้า 170)

Education and Socialization

ในสังคมมลาบรี ระบบเครือญาติและชีวิตประจำวันจะเป็นสร้างรูปแบบพฤติกรรมและบทบาทหน้าที่ให้กับเด็ก เช่น เด็กผู้ชายต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากบิดาหรือญาติเกี่ยวกับวิธีล่าสัตว์ การใช้ชีวิตในป่า เรียนรู้พืชพรรณชนิดต่างๆ และความรู้ต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนรู้วิธีทำอาหาร วิธีหาสัตว์เล็กๆ มาประกอบอาหาร วิธีสร้างบ้าน นอกจากนี้มลาบรียังสอนภาษาให้กับเด็ก นอกจากนี้มลาบรียังสามารถเรียนรู้ภาษาอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วยการติดต่อสื่อสารกับคนภายนอก มลาบรีส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาคำเมืองและภาษาม้งได้ บางส่วนสามารถพูดภาษาขมุหรือเย้าได้ดี พวกเขาเรียนรู้ภาษาเหล่านี้ได้จากการรับจ้างคนเหล่านี้ทำการเกษตรหรือแลกเปลี่ยนสินค้า (หน้า 127-128)

Health and Medicine

มลาบรีนับถือผี เมื่อมีคนเจ็บป่วย ผู้ป่วยจะถูกผู้เฒ่าผู้แก่ซักถามว่าไปทำอะไรมาก่อนที่จะเจ็บป่วย จากนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะบอกว่าเจ็บป่วยเพราะผีชนิดใดลงโทษ ผู้ป่วยก็จะทำการเซ่นไหว้ผีตนนั้นเพื่อขอขมา สำหรับผู้ป่วยอาการหนักอาจเลื่อนการเซ่นไหว้ออกไปได้ แต่จะต้องทำพิธีทันทีที่อาการดีขึ้น ถ้าไม่ทำจะต้องถูกผีลงโทษอย่างรุนแรง นอกจากนี้มลาบรียังใช้การรักษาด้วยสมุนไพรมากพอๆ กับการบูชาผี เท่ากับว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งทางใจและทางกาย มลาบรีไม่ชอบอาบน้ำเพราะเชื่อว่าจะทำให้ผีน้ำโกรธ หากอาบน้ำจะต้องเจ็บป่วยจากการดื่มน้ำไม่ช้าก็เร็ว มลาบรีหาน้ำด้วยการขุดหลุมในบริเวณที่ชื้นแฉะ เมื่อมีน้ำขังในหลุมก็จะตักไปใช้ ด้วยวิธีนี้ สิ่งที่อยู่รอบๆ หลุมจะเป็นเครื่องกรองได้ ในกรณีที่ป่วย ผู้ป่วยจะอาบน้ำต้มสมุนไพรในถังไม้ไผ่ หรือดื่มเมื่อปวดท้อง หากผู้ป่วยยังไม่หายภายในหนึ่งวัน บลาบรีเชื่อว่าผียังไม่หายโกรธผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยจะทำพิธีบูชาผีฟ้าซึ่งเป็นผีที่ยิ่งใหญ่เหนือผีทั้งมวลด้วยการสร้างแท่นบูชาที่ทำจากไม้ไผ่ บนแท่นบูชาจะประกอบด้วยดอกไม้ หัวเผือก เศษผ้า และไข่ จากนั้นผู้เฒ่าก็จะสวดภาวนา ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยบางคนก็หายป่วย (บางคนก็ตาย) จากนั้นมลาบรีก็จะย้ายที่ใหม่เพราะเชื่อว่าไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้อีกแล้ว ในกรณีที่ทำพิธีบูชายัญด้วยหมู มลาบรีจะตัดแบ่งหมูออกเป็นส่วนๆ และเซ่นไหว้ผี หลังจากนั้นก็จะแบ่งเนื้อหมูให้ครอบครัวอื่นๆ และจะย้ายบ้านในวันรุ่งขึ้น (หน้า 170-181)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ข้าวของเครื่องใช้ที่เรียบง่ายสะท้อนรูปแบบสังคมวัฒนธรรมของมลาบรีได้เป็นอย่างดี บ้านของมลาบรีสร้างง่ายๆ พอที่เป็นที่กำบังกายเพราะต้องอพยพโยกย้ายหาทรัพยากรใหม่ๆ สร้างด้วยวัสดุหาง่ายเช่นไม้ไผ่ กิ่งไม้ และปูหลังคาด้วยใบกล้วยหรือใบปาล์ม สูงแค่นั่งได้พอดี หลังคาลาดลงจนจรดพื้นดินด้านหนึ่ง และปูพื้นด้วยใบไม้แห้งหรือไม้ไผ่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หอกสำหรับล่าสัตว์ และเสียมขุดดิน โดยใบหอกและเสียมซึ่งทำจากโลหะนั้น มลาบรีใช้วิธีหาซื้อโลหะมาจากเผ่าอื่น แล้วนำมาเผาไฟจนอ่อนตัวแล้วทุบให้ขึ้นรูป เมื่อได้รูปที่ต้องการแล้วก็จุ่มน้ำให้แข็งตัว สันนิษฐานว่ามลาบรีไม่น่าจะเคยหลอมโลหะได้เอง มลาบรีได้หน้าไม้ ปืนและมีดมาจากการติดต่อกับกลุ่มอื่นๆ เช่นขมุ ม้ง หรือเย้า โดยได้เป็นค่าตอบแทนจากการทำงาน นอกจากนี้ยังมีเครื่องใช้ง่ายๆ ที่มลาบรีทำขึ้นเองได้ เช่น กล้องยาสูบ ที่ใส่เกลือ กระเป๋าสาน ฯลฯ (หน้า 130-170)

Folklore

มลาบรีจะร้องรำทำเพลงเมื่อทำการล่าสัตว์สำเร็จหรือมีงานเทศกาล เพลงที่ร้องมีทั้งภาษามลาบรีและภาษาลาว ทั้งนี้มลาบรีอาจได้รูปแบบเพลงมาจากเพลงลาวที่เรียกว่า “หมอลำ” เพราะมลาบรีเคยอยู่ในประเทศลาวมาก่อนที่จะอพยพมาประเทศไทย เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการร่อนเร่พเนจร ความขัดสน ความทุกข์ทรมานในชีวิตของพวกเขา และมักจะเน้นเรื่องความแตกต่างระหว่างมลาบรีกับเผ่าอื่นๆ (หน้า 181-183)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ระบุ

Social Cultural and Identity Change

เนื่องจากผืนป่าถูกรุกล้ำจนทรัพยากรเริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ วิถีชีวิตของมลาบรีจึงเปลี่ยนแปลงไป จากที่สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่ต้องติดต่อกับชนเผ่าอื่นๆ ก็ต้องติดต่อกับชนเผ่าอื่นๆ เพื่อรับจ้างทำนาหรือไร่ข้าวโพดเพื่อแลกกับสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะการติดต่อกับม้ง ผลที่ได้คือมลาบรีรู้จักการปลูกข้าวและข้าวโพด การเลื่อยไม้ การใส่เครื่องประดับ การปรุงอาหารด้วยหม้อ การใส่เสื้อผ้าแบบม้ง นับวันมลาบรีจะถูกกลืนกลายกับม้งมากขึ้นเรื่อยๆ (หน้า 198)

Other Issues

ไม่ระบุ

Map/Illustration

ผู้เขียนได้แสดงแผนที่ของจังหวัดน่าน (หน้า 13) แผนที่แสดงพื้นที่ที่ทำการศึกษา (หน้า15) และแผนที่แสดงเส้นทางอพยพ (หน้า 201) นอกจากนี้ยังมีตารางต่างๆ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า (หน้า 42,43,44,60) และรูปภาพแสดงวิถีชีวิตของมลาบรี (หน้า 8,10,11,91,105,107,108,110,113,123,129,130,136,138,140,143,144,145,147,149,151,154,158,159,162,163,165,166,169,173,175)

Text Analyst อภิชน รัตนาภายน Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มลาบรี มราบรี, ภาษา, ระบบเสียง, คำระบบเครือญาติ, เรือน, การรักษาโรค, เพลง, แพร่, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง