สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี, มราบรี,พันธุกรรม,เชื้อชาติ,การตรวจทางการแพทย์,ภาคเหนือ,น่าน
Author Gebhard Flatz
Title The Mrabri : Anthropometric Genetic and Medical Examination
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 14 Year 2506
Source Journal of Siam Society, part 2, pp. 161–177
Abstract

จากการตรวจสอบมลาบรีจำนวน 18 คน ในทางการแพทย์ ผู้เขียนพบว่า มลาบรีอาจเป็นชนผิวเหลืองยุคโบราณเนื่องจากลักษณะทางกายภาพบ่งชี้ว่าพวกเขาอาศัยอยู่ในอนุทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาช้านานแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องหาหลักฐานทางภาษามายืนยันข้อสรุปดังกล่าวต่อไป (หน้า 171) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับยัมบรีในงานของ Bernatsik แล้วผู้เขียนวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นชนกลุ่มเดียวกันกับมลาบรี แต่อาจมีลักษณะบางประการต่างกันบ้างเนื่องจากระยะห่างของเวลาที่ทำวิจัย (หน้า 170) ผู้เขียนยังระบุว่ามลาบรีคงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตำนานการปล่อยทาสเข้าป่าของเจ้าเมืองน่าน เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับว่ามลาบรีลดระดับวิวัฒนาการของตนเองลง ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ (หน้า 171) อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตว่ามลาบรีอาจสูญพันธุ์ไปในเวลาไม่ช้า เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มว่าอาจรวมหรือผสมผสานเข้ากับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ม้ง ละหู่ จนกระทั่งกลายเป็นคนไทยไปในที่สุด (หน้า 175)

Focus

การศึกษามลาบรี ณ บ้านขุนสะท้าน จ.น่าน โดยวิธีการทางการแพทย์ เช่น การตรวจเลือด การตรวจลักษณะทางกายภาพ จากกลุ่มตัวอย่างชาวมลาบรีจำนวน 18 คน เพื่อหาข้อมูลด้านเชื้อชาติว่าชาวมลาบรีเป็นชนผิวเหลืองยุคโบราณที่อพยพมาเมื่อหลายพันปีก่อนหรือไม่ มีความเกี่ยวข้องกับชาวเนกริโตหรือไม่ ตลอดจนการตรวจสอบตำนานที่ว่ามลาบรีมีต้นกำเนิดมาจากทาสที่ถูกเจ้าเมืองน่านปล่อยเข้าป่าว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน (หน้า 161)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ตลอดบทความผู้เขียนพยายามศึกษามลาบรีที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 18 คนจากจำนวนทั้งหมด 24 คน ณ บ้านขุนสะท้าน จ.น่าน (หน้า 161) โดยมีการเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ เช่น ลักษณะของจมูก ดวงตากับชนกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ไทน้อย ม้ง รวมทั้งเปรียบเทียบกับชาวเยอรมันอันเสมือนเป็นตัวแทนของชาวยุโรปด้วย (หน้า 162–163)

Language and Linguistic Affiliations

ในบทความยังไม่มีข้อยุติว่ามลาบรีพูดภาษาในตระกูลใด แต่มีข้อเสนอว่าหากสามารถทำการตรวจสอบทางภาษาได้ว่าภาษาของพวกเขาอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติค (มอญ – เขมร) ก็อาจทำให้ข้อสรุปที่ว่ามลาบรีเป็นชนผิวเหลืองยุคโบราณและอาศัยในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากว่า 2,000 ปีแล้วมีความเป็นไปได้ (หน้า 171)

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 โดยทีมงานวิจัยของสยามสมาคม

History of the Group and Community

ผู้เขียนได้ทำการตรวจสอบด้วยเทคนิคทางการแพทย์แล้วทำให้พอสรุปได้ในระดับหนึ่งว่า มลาบรีอาจเป็นชนผิวเหลืองยุคโบราณที่อพยพสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันเมื่อนานมาแล้ว อีกทั้งลักษณะทางกายภาพของมลาบรี โดยเฉพาะลักษณะของจมูกที่มีปีกจมูกกว้างซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มชนที่อาศัยแถบศูนย์สูตรมาเป็นเวลานาน จึงทำให้ทราบว่ามลาบรีอาศัยในบริเวณนี้มาเป็นเวลานานแล้ว (หน้า 173) นอกจากนี้บทความยังได้โต้แย้งกับตำนานต้นกำเนิดของมลาบรีที่ว่ามาจากทาสที่ถูกเจ้าเมืองน่านปล่อยเข้าป่าว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากตามปกติมนุษย์คงจะไม่ลดวิวัฒนาการของตนลงมาจนกลายเป็นคนป่าเช่นมลาบรี (หน้า 171) อีกประการหนึ่งจากผลที่ได้ผ่านการตรวจสอบทางการแพทย์พบว่ามลาบรีและเนกริโตไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันในทางพันธุกรรมดังที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ (หน้า 174)

Settlement Pattern

จากผลการตรวจสอบทางการแพทย์พบว่ามลาบรีทุกคนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีภาวะหัวใจเต้นช้า อันเนื่องมาจากการที่ต้องใช้แรงกายมาก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกลุ่มชนที่ต้องเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์เช่นพวกเขา (หน้า 165) ตลอดจนสภาพผิวหนังที่มีรอยไหม้บริเวณหลังของสมาชิกกลุ่มตัวอย่างประมาณ 4 – 5 คนนั่นแสดงว่าสภาพที่อยู่อาศัยของพวกเขามีกองไฟอยู่ใกล้ ๆ และอาจเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ตัวได้ในขณะนอนหลับ (หน้า 166)

Demography

ไม่สามารถกำหนดจำนวนประชากรที่แท้จริงของมลาบรีได้ แต่อนุมานว่าพวกเขาน่าจะมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณไม่เกิน 100 คน อย่างไรก็ตามผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า มลาบรีน่าจะมีจำนวนมากกว่านี้ ด้วยเหตุที่มลาบรีมีการแต่งงานภายในกลุ่ม ดังนั้นหากประชากรจำนวนน้อย การแต่งงานภายในสายเลือดเดียวกันจะมีสูง ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ตามมาจนส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรได้ แต่จากการตรวจเลือดพบว่าผู้ที่มีลักษณะของโรคทางพันธุกรรมอันเกิดจากพ่อแม่มีสายเลือดเดียวกันนั้นไม่มากนัก จึงเป็นไปได้ว่ามลาบรีจะมีจำนวนมากกว่าที่คาดไว้ (หน้า 172) นอกจากนี้ผู้เขียนยังพบปัญหาตรงที่ไม่อาจสรุปเกี่ยวกับอายุที่แท้จริงของชาวมลาบรีได้ โดยที่มลาบรีซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างมีอายุประมาณ 25–35 ปี ในการวิจัยครั้งนี้ได้พบหญิงชาวมลาบรีที่อายุมากที่สุดด้วย คือ 50 ปีส่วนผู้ชายที่อายุมากที่สุดมีอายุประมาณ 45–55 ปี อีกทั้งยังไม่มีการพบทารกหรือเด็กเล็ก ๆ เลย (หน้า 166)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

โดยทั่วไปแล้วมลาบรีที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขนขาที่พัฒนาไปได้สูงสุด อันเนื่องมาจากกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายมาก อย่างไรก็ตามชาวมลาบรีหลายคนมีภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อประเภทมาลาเรีย เชื้อรา ภาวะม้ามโต แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังมีภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านทานโรคจากไวรัสอันก่อให้เกิดภาวะตกเลือดหรือโรคไข้เลือดออกได้ จึงทำให้มลาบรีมีอัตราการอยู่รอดได้ตามสมควร อีกประการหนึ่งผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า มลาบรีมีสุขภาพฟันที่ดีอย่างประหลาด แม้แต่คนชราก็ยังสามารถใช้ฟันกรามบดเคี้ยวอาหารได้ดี (หน้า 164–170)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากการตรวจสอบทางการแพทย์ที่พยายามจะตอบคำถามต่อข้อสังเกตที่ว่า มลาบรีเป็นชนผิวเหลืองยุคโบราณหรือไม่นั้น ยังทำได้เพียงแค่การยืนยันว่าพวกเขาเป็นมองโกลอยด์เท่านั้น แต่การสรุปว่าเป็นชนผิวเหลืองโบราณอาจต้องหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์กันต่อไปเนื่องจากอาจมีปัญหาด้านการยอมรับ (หน้า 173) นอกจากนี้จากการวัดขนาดร่างกายและการตรวจสอบด้านต่าง ๆ ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมลาบรีและลาวกับม้งได้ โดยแสดงผ่านทางลักษณะของกะโหลกและจมูกของมลาบรี 2–3 คนที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างเด่นชัด (หน้า 174) Bernatsik ยังได้พูดถึงการข่มขืนหญิงมลาบรีโดยชนต่างเผ่า ซึ่งนับว่าเป็นวีธีการหนึ่งอันก่อให้เกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานทางชาติพันธุ์กับละหู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่อาจส่งผลให้มลาบรีต้องสูญพันธุ์ไปได้ในที่สุดด้วย (หน้า 175)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ผู้เขียนได้แสดงรูปวาดเพื่อเปรียบเทียบลักษณะจมูกของมลาบรีกับม้ง ไทน้อยและเยอรมัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างของจมูกอันมีความเกี่ยวพันกับความเป็นมองโกลอยด์และการอาศัยอยู่ในแถบศูนย์สูตรมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของมลาบรีในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะพิเศษที่ปรากฏในกลุ่มมลาบรีด้วย

Text Analyst วรวรรณ กัลยาณมิตร Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มลาบรี, มราบรี, พันธุกรรม, เชื้อชาติ, การตรวจทางการแพทย์, ภาคเหนือ, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง