สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,ลื้อ, ขมุ, ม้ง, เมี่ยน,ลัวะ,วัฒนธรรม,ความเชื่อ,ประเพณี,เศรษฐกิจ,น่าน
Author ชนัญ วงษ์วิภาค
Title ชาวน่าน คนหมู่มาก และคนกลุ่มน้อย ในเมืองน่าน
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, ม้ง, กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
 
Total Pages 116 Year 2530
Source กรมศิลปากร จัดพิมพ์ เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
Abstract

กล่าวถึงคนเมืองซึ่งเป็นคนหมู่มากที่อาศัยในจังหวัดน่าน และชาติพันธุ์อื่นที่เป็นคนกลุ่มน้อย ได้แก่ ลื้อ ถิ่น ขมุ ม้ง เมี่ยน และผีตองเหลือง โดยได้ถ่ายทอดสภาพความเป็นอยู่ ความเชื่อ วัฒนธรรมความเชื่อ ประเพณีและสังคมของชาติพันธุ์ดังกล่าวว่ามีความเป็นอยู่และความเป็นมาอย่างไร และนำเสนอสภาพแวดล้อมต่างๆ ของจังหวัดน่าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดน่าน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

 

Focus

นำเสนอเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ในคนที่อยู่อาศัยในจังหวัดน่าน โดยพิจารณาสภาพท้องถิ่นและนำเสนอสภาพความเป็นอยู่ของคนเมืองที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ และชนกลุ่มน้อย เช่น ลื้อ ขมุ ถิ่น ผีตองเหลือง ม้ง และเมี่ยน (บทนำหน้า 7, 8)

 

Theoretical Issues

ไม่มี

 

Ethnic Group in the Focus

คนเมือง คนเมืองที่งานเขียนกล่าวถึง คือ ประชาชนบ้านดู่ใต้ หมู่ 1, 2 และ 10 ตำบลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (หน้า 31) ลื้อ คือกลุ่มภาษาตระกูลไทลาว สันนิษฐานว่าที่อยู่เดิม อาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้ ทุกวันนี้ลื้ออยู่ในหลายพื้นที่ เช่น ในประเทศจีน พม่า ลาว และภาคเหนือของไทย เช่น จังหวัดพะเยา เชียงราย ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน ในจังหวัดน่าน อยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอ ท่าวังผา อ.ปัว อ.เชียงกลาง อ.ทุ่งช้าง กิ่งอำเภอสันติสุข กิ่งอำเภอบ้านหลวง อ.แม่จริม (หน้า 41) ถิ่น สันนิษฐานว่า ถิ่นสืบเชื้อสายมาจากมอญ เขมร ในไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ถิ่นไพร 2. ถิ่นมาด์ล 3. ถิ่นอะจูล กลุ่มนี้อพยพมาอย่ที่บ้านจูล อ.ปัว จ.น่าน สำหรับคนในพื้นที่มักเรียกถิ่นว่า "ลัวะ" บางแห่งจะเรียกว่า "ชาวดอย" ทั้งนี้ยังมีนักวิชาการส่วนหนึ่งได้แบ่งถิ่นออกตามสำนวนภาษา ได้แก่ กลุ่ม "คนไปร" กับ "คนมัล" ซึ่งเชื่อว่า เมื่อก่อนนี้ทั้งสองกลุ่มอยู่เผ่าเดียวกันแต่ในภายหลัง ได้แยกเป็น 2 ตระกูล ดังนั้นจึงทำให้ทั้งสองกลุ่มเหมือนกัน (หน้า 51) ขมุ คือกลุ่มที่มีภาษาอยู่ในตระกูลมอญ–เขมร ในประเทศลาวจะเรียกขมุว่า "ข่า" ในเวียดนามจะเรียกว่า "มอย" เชื่อกันว่าขมุอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้ว สำหรับหลักฐานของจังหวัดน่าน ระบุว่าขมุเข้ามาตั้งรกรากอยู่อาศัยเป็นเวลากว่า 150 ปี (หน้า 61) ม้ง กลุ่มชาติพันธุ์นี้อยู่จังหวัดน่านก่อนที่จะอพยพไปอยู่ในเขตภูเขา และที่ราบเชิงเขาของจังหวัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก จากข้อสันนิษฐาน ม้งน่าจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียมาอยู่ในจีน และสร้างบ้านเรือนอยู่ลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือฮวงโห เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อน เมื่อถูกจีนรุกรานจึงอพยพออกจากบริเวณลุ่มน้ำเหลือง ในช่วง ค.ศ.18–19 (หน้า 72) เมี่ยน เมื่อก่อนตั้งที่อยู่อาศัยในมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทิศตะวันออกของจีน เมื่อจีนรุกรานจึงอพยพเข้าไปในเวียดนาม ภาคเหนือของลาว และทิศตะวันออกของพม่า อย่างไรก็ดีทุกวันนี้ยังมีเมี่ยนอยู่ในจีนเป็นจำนวนมาก คือ ประมาณ หนึ่งล้านสามแสนคน (พ.ศ. 2526) (หน้า 85 ภาพหน้า 84) ผีตองเหลือง กลุ่มที่อยู่ในภาคเหนือของไทย เมื่อก่อนนี้เคยอยู่ในจังหวัดสายะบุรี ประเทศลาว ทุกวันนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง อ.ร้องกวาง อ.สอง ของจังหวัดแพร่ และในจังหวัดน่าน ในพื้นที่ อำเภอเมือง และ อ.สา ผีตองเหลืองเป็นชาติพันธุ์ที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า หากินโดยการล่าสัตว์ (หน้า 93 ภาพหน้า 92)

 

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลื้อ คล้ายกับภาษาภูไท บางครั้งก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตภาษาถิ่นไทลื้อ เหมือนภาษาคำเมือง กับภาษาลาว เชื่อว่าตัวอักษรของไทลื้อน่าจะรับมาจากอักษรธรรมลานนา (หน้า 42) ภาษาถิ่น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ "ไปร" และ "มัล" ในถิ่นมัล จะสามารถพูดภาษาคำเมืองได้ดี และผู้ชายสามารถพูดคำเมืองได้มากกว่าผู้หญิง (หน้า 52) ภาษาเมี่ยน ได้รับอิทธิพลทางภาษาจากจีน เป็นคำโดด มีเสียงสูง ใช้อักษรจีนเป็นภาษาเขียน เพราะไม่มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง ในบางพื้นที่ก็ใช้ภาษาจีนฮ่อด้วย เมี่ยนที่อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงรายสามารถพูดภาษามูเซอร์ จีนฮ่อ และภาษาลาว สำหรับเมี่ยนในจังหวัดน่าน พูดภาษาคำเมืองกับภาษาไทย เนื่องจากเยาวชนลูกหลานของเมี่ยนได้เรียนหนังสือในโรงเรียน (หน้า 85)

 

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

 

History of the Group and Community

ประวัติการอพยพของขมุ รายงานระบุว่าในอดีตเจ้าเมืองน่านได้ยกกองทัพไปตีเมืองสิบสองปันนา และได้กวาดต้อนขมุเพื่อนำมาสร้างกำแพงเมือง และในระหว่าง พ.ศ. 2423 – 2433 บริษัทไม้ขอยุโรปได้เข้ามาทำสัมปทานป่าไม้ และต้องการแรงงานในการตัดไม้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นขมุจากลาวจึงอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก บางส่วนเมื่อทำงานได้ค่าแรงแล้วก็เดินทางกลับบ้านในประเทศลาว บางส่วนก็แต่งงานกับคนในพื้นที่ (หน้า 61)

 

Settlement Pattern

บ้านลื้อ ชอบสร้างบ้านใต้ถุนสูง มีหลายทรงเช่นทรงปั้นหยา ทรงหน้าจั่ว และทรงมะนิลา มุงหลังคาด้วยหญ้าคา "แป้นเกล็ด" หรือกระเบื้องไม้ และดินขอ หรือกระเบื้องดินเผา โดยจะสร้างหลังคาคลุมบันได บ้านแบบเดิมจะตั้งเตาไฟไว้ที่บริเวณหน้าห้องนอน ถัดจากระเบียงบ้านจะตั้งร้านน้ำ พื้นกับฝาบ้านกั้นด้วยไม้ฟาก บ้านไม่มีหน้าต่าง ส่วนประกอบ โครงบ้าน และบันได ทำด้วยไม้ไผ่ (หน้า 44) ยุ้งข้าวจะสร้างติดกับบ้าน สำหรับลานดินหน้าบ้าน หรือเรียกว่า “ข่วงบ้าน“ จะปลูกดอกไม้อย่างสวยงาม (หน้า 44 ภาพครัวไฟหน้า 43) บ้านถิ่น เป็นบ้านที่สร้างใต้ถุนสูง เสาบ้านทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ฝาบ้านและพื้นจะกั้นด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา หรือใบก้อ การสร้างหลังคานิยมมุงมาคลุมตัวบ้าน หากมองในระยะทางไกลๆ จะมองไม่เห็นตัวบ้าน (เรื่องและภาพหน้า 52) เครื่องเรือนต่างๆ จะมัดด้วยไม้ไผ่ หวาย หรือ เถาวัลย์ ในพื้นที่ใต้ถุนบ้านจะเก็บฟืน หรือวางครกกระเดื่องตำข้าว หือทำเล้าเลี้ยงหมู และอื่นๆ (หน้า 53) บ้านขมุ ชอบสร้างบ้านคร่อมพื้นดิน บ้านจะสร้างเหมือนกับบ้านของชาวน่าน บ้านจะสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังค้วยหญ้าคาหรือหวาย ยอดจั่วหน้าบ้าน และท้ายบ้าน ทำเป็น “กาแล“ ซึ่งเรียกเป็นคำพื้นบ้านว่า “ก๊าบกริอ๊าก“ สำหรับบ้านที่สร้างยกพื้นสูงจะทำฝาและพื้นบ้านด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา ใบหวาย สังกะสี ในพื้นที่บ้านจะกั้นห้องนอนตามยาว เท่ากับจำนวนคนในบ้าน นอกชานจะเว้นเอาไว้ ห้องรับแขกจะอยู่บริเวณประตูเข้าออก (เรื่องและแผนผัง หน้า 62) เตาไฟทำไว้ 2 แห่ง เตาแรกจะใช้หุงข้าว เป็นห้องผีเรือนไม่ให้คนภายนอกครอบครัวเข้ามา ส่วนอีกเตาอยู่ในห้องครัวเป็นเตาใช้ประกอบอาหาร ประตูบ้านเป็นแบบบ้านสองประตู และบ้าน สามประตู ทำไว้ทางด้านหน้าของบ้าน ประตูด้านหลังในวันเลี้ยงผีเรือนจึงจะเปิดประตู (หน้า 62 ภาพหน้า 63) บ้านม้ง บ้านสร้างคร่อมพื้นดิน บ้านทำด้วยไม้เนื้ออ่อน หรือกั้นฝาเรือนด้วยไม้ไผ่ เสาบ้านเป็นไม้เนื้อแข็ง บ้านไม่สร้างหน้าต่าง มุงหลังคาด้วยแฝก หรือใบก้อ มุงเกือบถึงพื้นดิน ด้านหน้าของตัวบ้านทำเป็นที่รับแขก ทำเป็นแคร่ที่ลานดิน เตาไฟตั้งอยู่ด้านใน โดยทำเป็นที่นอนบนแคร่ (เรื่องและผังบ้าน หน้า 73 ภาพหน้า 78) บ้านเมี่ยน สร้างบ้านเป็นบ้านชั้นเดียวติดพื้นดิน ฝาบ้านกั้นด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา ใบตองตึง หรือกระเบื้องไม้ ด้านซ้ายกับด้านขวาของบ้านทำประตูไว้สองฟาก เรียกว่า "ประตูชาย" จะเปิดเข้าออกไปห้องรับแขก "ประตูหญิง" จะเปิดเข้าในห้องครัว ส่วนประตูที่สาม “ประตูใหญ่ หรือ ประตูผี“ คือประตูที่ใช้ทำพิธีต่างๆ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลพระภูมิ สำหรับห้องนอนจะขึ้นอยู่กับจำนวนของคนในบ้าน ในบ้านจะทำเตาไฟเอาไว้ 2 แห่ง เตาแรกเอาไว้ทำกับข้าว อีกเตาจะเอาไว้เพื่อต้มข้าวหมู (หน้า 85-86)

 

Demography

ประชากรในจังหวัดน่านมีทั้งหมด 410,448 คน เพศชาย 209,203 คน และเพศหญิง 201,276 คน (สำรวจปี พ.ศ.2527) ประชากรประกอบด้วยชาติพันธุ์ต่างๆ เช่นไทยยวน หรือ คนเมือง ไทลื้อ ม้ง เมี่ยน ถิ่น ขมุ ผีตองเหลือง (หน้า 11) คนเมือง บ้านดู่ใต้ หมู่ 1, 2 และ 10 ตำบลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีจำนวนหลังคาเรือน 410 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 550 คน เป็นชาย 260 คน หญิง 290 คน (สำรวจ พ.ศ. 2527) (หน้า 31) ลื้อ ศูนย์สงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน ได้สำรวจเมื่อ พ.ศ.2527 ระบุว่า มีลื้ออยู่ในจังหวัดน่าน จำนวน 616 คน (หน้า 41) ถิ่น ประชากรถิ่นในจังหวัดน่าน มีจำนวน 7,071 คน (สำรวจ ปี พ.ศ. 2527) สำหรับถิ่นบ้านป่ากลาง มีจำนวนประชากร 2,368 คน ชาย 437 คน หญิง 428 คน เด็กชาย 211 คน เด็กหญิง 216 คน (หน้า 51) ขมุ มีประชากรอยู่ในจังหวัดต่างๆ ดังนี้ จ.เชียงใหม่ มีจำนวน 800-1,000 คน จ.เชียงราย 1,500-2,000 คน จ.ลำปาง 500 – 1,000 คน และที่อื่น 200-300 คน (หน้า 61) จ.น่านมีจำนวนประชากร 5,986 คน (พ.ศ. 2527) (หน้า 62) ม้ง หรือ แม้ว มีจำนวนประชากรใน จ.น่าน 9,095 คน (สำรวจปี พ.ศ. 2527) จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2526 ระบุว่า มีม้งอยู่ในไทยจำนวน 245 หมู่บ้าน มีประชากรรวม ประมาณ 58,000 คน (หน้า 72)

 

Economy

เศรษฐกิจของจังหวัดน่าน ประชากรในจังหวัดประกอบอาชีพหลายอย่าง เช่นเพาะปลูก สำหรับเนื้อที่เพาะลูกมีเนื้อที่ทำนาดำ จำนวน 157,349 ไร่ พื้นที่เพาะปลูกข้าวไร่ จำนวน 193,000 ไร่ สำหรับพืชอื่นที่ปลูกเช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง กระเทียม ฝ้าย และอื่นๆ อาชีพอื่นเช่น เลี้ยงสัตว์ เช่นเลี้ยง เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย ทำประมง ทอผ้า ตีเหล็ก จักสาน ปั้นเครื่องปั้นดินเผา ค้าขาย รับจ้าง และอื่นๆ (เรื่องและภาพ หน้า 12-23) อาชีพของลื้อ อาทิการเพาะปลูก เช่น ปลูกข้าว ยาสูบ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ผัก ผลไม้ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ และอื่นๆ นอกจากนี้ยังเก็บของป่า และล่าสัตว์ นำของป่าจำพวกเนื้อเก้ง เนื้อกวาง หมูป่า ปลาตากแห้ง น้ำผึ้ง หน่อไม้ สมุนไพร ไปขายในตัวเมือง (หน้า 44-47) อาชีพของถิ่น ทำไร่เลื่อนลอยเป็นหลัก พืชที่ปลูกเช่น ข้าวเหนียว ในอดีตกลุ่มที่อยู่บนเขาสูงจะปลูกฝิ่น นอกจากนี้ยังปลูกพืชผักต่างๆ และเลี้ยงสัตว์ เพื่อเอาไว้ทำอาหารและเลี้ยงผี อาชีพอื่นเช่นรับจ้างดายหญ้า ถางป่า เกี่ยวข้าว (หน้า 53-55) อาชีพของม้ง ปลูกข้าวเป็นหลัก และปลูกพืชอื่น ได้แก่ ข้าวโพด ฝิ่น ผักต่างๆ เช่น มัน พริก ถั่ว น้ำเต้า ฟักทอง และเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู เป็ด ไก่ ห่าน ม้า ล่อ และอื่นๆ นอกจากนี้ยังหาของป่า และล่าสัตว์ (หน้า 74) อาชีพของเมี่ยน ทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าวไร่ไว้กินและขาย และปลูกผักต่าง ทำอาชีพอื่น เช่น ตีเหล็ก นอกจากนี้ยังเลี้ยงสัตว์และทอผ้าขาย (หน้า 87-88) อาชีพของผีตองเหลือง เลี้ยงชีพโดยเก็บของป่าและล่าสัตว์เป็นหลัก อาหารหลักได้แก่ หัวมัน เช่น มันเล็ก มันสี เก็บผักป่าเอาไว้กิน เช่น ผักค๊าก ผักโยน ว๊อกแว่ม ฯลฯ ผลไม้ป่า เช่น กล้วย มะขามป้อม มะม่วง และอื่นๆ (หน้า 95–98)

 

Social Organization

การแต่งงานของคนเมือง การแต่งงานจะไม่มีสินสอด หากหนุ่ม สาว ตกลงจะแต่งงานฝ่ายชายจะให้ “สามเฒ่า เจ๊แก่ “ ไปเจรจาสู่ขอ คนที่ไปจะเป็นผู้ชายจำนวน 3 คน และหญิงจำนวน 7 คน สำหรับการสู่ขอไม่มีสินสอด ฝ่ายชายจะยื่นข้อแลกเปลี่ยน โดยเสนอ ที่จะซ่อมแซมบ้านให้ เนื่องจากจะไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง (หน้า 35) เมื่อถึงวันที่ตกลงกันไว้ ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว ก็จะจัด ดอกไม้ ธูปเทียนไปบ้านเจ้าบ่าว เพื่อขอมาเป็นลูกเขย และจะพาเจ้าบ่าวไปรับประทานอาหาร และขอพรจากญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง และทำพิธี "ไขว่ผี" โดยฝ่ายหญิงจะบอกผีเรือนว่าจะมีผู้เข้ามาอยู่ในบ้านด้วย เมื่อแต่งงานแล้ว จะอยู่บ้านฝ่ายหญิง เมื่อพอจะมีฐานะก็จะแยกบ้านมาสร้างบ้านของตนเองในบริเวณที่อยู่ใกล้กัน (หน้า 35) สังคมของขมุ ความสัมพันธ์แบบญาติพี่น้อง แบ่งออกเป็น 3 อย่างได้แก่ 1.ญาติทางสายเลือด 2.ญาติที่สมมุติขึ้น 3.ญาติจากการแต่งงาน การแต่งงาน หากหนุ่มสาวตกลงที่จะแต่งงานกัน ฝ่ายชายก็จะไปสู่ขอ ของที่จะนำไปสู่ขอ เช่น เหล้า 1 ไห ของหมั้นประกอบด้วย ผ้าซิ่น 1 ผืน เสื้อ 1 ตัว ถุงย่าม 1 ใบ กำไลคล้องแขนและคอ ในระหว่างสู่ขอ ฝ่ายหญิงจะถามฝ่ายชายว่าจะปรับเป็นเงินเท่าไหร่ หากทำตัวไม่ดีในอนาคต เงินนี้ก็จะเป็นเหมือนเครื่องรับประกันสถานภาพการแต่งงานของทั้งสอง สำหรับค่าอื่นๆ ได้แก่ ค่าสินสอด และค่าเข้าผี จำนวน 63 บาท เมื่อสู่ขอกันแล้ว ก็ถือว่าทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน (หน้า 66) สังคมของม้ง ในครอบครัวผู้ชายที่อาวุโสที่สุดจะเป็นหัวหน้าครอบครัว หากพ่อ แม่ เสียชีวิต ลูกชายคนโตก็จะมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไปโดยทั่วไปม้งจะมีภรรยาคนเดียว แต่ถ้ามีมากกว่า 1 คน ก็จะไม่มีข้อห้าม การเลือกคู่ครองจะต้องไม่แต่งงานกับคนที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน (หน้า 77-78) สังคมของเมี่ยน ครอบครัวของเมี่ยน เป็นครอบครัวใหญ่ ในครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ที่ยังไม่ได้แต่งงาน และที่สมรสแล้ว ครอบครัวเมี่ยนแต่ละครอบครัว จะมีสมาชิกเฉลี่ย ครอบครัวละ 20 คน ครอบครัวที่มีลูกแต่งงานแล้ว จะแบ่งที่ให้ลูกทำกินต่างหาก แต่จะแบ่งข้าวเข้ากับส่วนรวมเพื่อหุงกินด้วยกัน ในสังคมเมี่ยน ผู้ชายจะเป็นผู้นำครอบครัว และทำหน้าที่เลี้ยงดูคนในครอบครัว เช่น หาของป่า ล่าสัตว์ (หน้า 88) ผีตองเหลือง ครอบครัวของผีตองเหลือง เมื่อแต่งงานแล้วจะมีทั้งคู่สามี ภรรยา ที่อยู่ครอบครัวของสามีและฝ่ายครอบครัวภรรยา ผีตองเหลืองส่วนใหญ่จะมีคู่ครองมากกว่า 1 คน ส่วนใหญ่จะแยกทางกับคู่สมรสคนเดิมแล้วไปแต่งงานใหม่ ครอบครัวแต่ละครอบครัวมักจะแยกออกมาสร้างเพิงพักของตนเองต่างหาก แต่ยังคงหากินร่วมกัน (หน้า 100)

 

Political Organization

การปกครอง จังหวัดน่าน แบ่งเป็น 8 อำเภอ กับ 3 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ.นาน้อย อ.เวียงสา อ.เมือง อ.แม่จริม อ.ท่าวังผา อ.ปัว อ.เชียงกลาง อ.ทุ่งช้าง กิ่งอำเภอนาหื่น กิ่งอำเภอบ้านหลวง กิ่งอำเภอสันติสุข (หน้า 11)

 

Belief System

ศาสนาและความเชื่อ นับถือศาสนาพุทธ และผี เทวดา ไสยศาสตร์ (หน้า 11) ในจังหวัดมีวัดจำนวน 256 แห่ง กับสำนักสงฆ์ จำนวน 124 แห่ง และมีวัดศาสนาคริสต์ จำนวน 12 แห่ง (หน้า 12) ประเพณีของคนเมือง ในงานเขียนได้กล่าวถึงงานศพ เมื่อมีคนเสียชีวิตเจ้าภาพก็จะสร้าง “เรือนทาน“ หรือ “ห่อผ้า“ เพื่อเก็บของกินของใช้ต่างๆ เช่น ข้าวเหนียว นมกระป๋อง กล้วย เมี่ยง หมาก พริก และอื่นๆ เมื่อจัดงานเรียบร้อยแล้วก็จะนำของในเรือนทาน และเรือนทานแห่งนั้นถวายวัด แขกที่มาร่วมงานจะนำข้าว ฟืน และเงินมาทำบุญ ซึ่งส่วนใหญ่จะช่วยคนละ 3 บาท (หน้า 33, 34) ความเชื่อของลื้อ นับถือศาสนาพุทธและนับถือผี สำหรับประเพณีของลื้อได้แก่ งานวันสงกรานต์ และจะจัดพิธีตามวันต่างๆ เช่น วันสังขารล่อง วันเน่า วันพญาวัน วันปากปี (หน้า 47) ความเชื่อและพิธีกรรมของถิ่น เชื่อเรื่องผีเช่นหากมีคนป่วยหรือข้าวในไร่แห้งเหี่ยวก็เชื่อว่า มีคนทำผิดผี ดังนั้นจึงทำให้ผีโกรธ นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆ เช่น ในวันศีล ไม่ให้ทำงานในไร่ ห้ามจับหรือฆ่าหมูและห้ามตัดไม้ไผ่เข้าหมู่บ้าน (หน้า 54, 55) ความเชื่อของขมุ เชื่อเรื่องผี ผีที่นับถือมีทั้งผีระดับบุคคล อาทิ ผี ปะกุ๋น หรือผีเรือน ที่อยู่ในห้องตั้งเตาไฟหุงข้าว กับผีระดับชุมชน เช่น ผีโสลก ผีเมือง (หน้า 68-70) ความเชื่อของม้ง เชื่อเรื่องวิญญาณ เคารพวิญญาณของบรรพบุรุษและสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น ท้องฟ้า ลม แม่น้ำ ป่า และบ้านที่อยู่อาศัย และเชื่อว่าเมื่อตายแล้วคนจะไปอยู่อีกโลก เพื่อรอการกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง (หน้า 81) ความเชื่อของเมี่ยน มีความเชื่อสองอย่างผสมกันคือ ลัทธิบูชาผีและวิญญาณบรรพบุรุษ กับลิทธิเต๋า ที่รับความเชื่อมาจากจีน เมี่ยนนับถือผีบรรพบุรุษและเทพในลัทธิเต๋า เมื่อประกอบพิธีจะนำภาพของเทพเหล่านี้มาเข้าร่วมพิธีทุกองค์ (หน้า 90) ความเชื่อของผีตองเหลือง นับถือวิญญาณบรรพบุรุษ และผีหลวง หากเจ็บป่วยก็จะทำพิธีเซ่นไหว้ผี เช่น พิธี "แปงไข้แปงหนาว" โดยจะหาดอกไม้ และเนื้อมาจัดพิธี เมื่อเสร็จพิธีก็จะเผาแคร่ที่ตั้งเครื่องเซ่น และย้ายที่อยู่ใหม่เพราะเชื่อว่าที่อยู่เดิมมีสิ่งไม่ดีอยู่ในนั้น (หน้า 104)

 

Education and Socialization

ประชากรในจังหวัดโดยมากได้รับการศึกษาภาคบังคับ ในจังหวัดมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ และเทศบาล จำนวน 394 แห่ง สถาบันการศึกษาสังกัดกรสามัญศึกษา (ระดับชั้นมัธยมต้น กับมัธยมปลาย) จำนวน 16 แห่ง สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา 2 แห้ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคน่าน และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเกษตรน่าน (หน้า 11)

 

Health and Medicine

สมุนไพรของผีตองเหลือง เมื่อเป็นไข้ป่าจะนำต้นสะอาลมาต้มจากนั้นก็จะนำมาพอกบนหัว และต้นซิมปิ๊คมีคุณสมบัติแก้พิษตะขาบ และงู โดยจะนำกิ่งไม้มาฝนกับหินแล้วนำน้ำไปปิดแผลที่งูกัด และหากปวดหัวก็จะต้มต้นป๊าบกินก็จะทำให้อาการปวดหัวทุเลาลง (หน้า 96)

 

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของลื้อ ผู้หญิงสูงอายุ สวมเสื้อปักมีสาบหน้าเฉียงผูกติดกับด้ายด้านซ้ายกับด้านขวา เสื้อเป็นสีดำ หรือสีคราม กระดุมเป็นเงิน ตัวเสื้อเองลอยและรัดรูป นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง ผ้าซิ่นมักใส่สีสด หากเป็นคนสูงอายุมากใส่สีดำเป็นพื้น หากเป็นสาวก็จะใส่สีสวยสดไว้ผมตามสมัย คนสูงอายุจะโพกหัวด้วยผ้าสีขาว หรือสีชมพู ห้อยชายผ้าไว้ทางด้านซ้าย เกล้าผมเป็นรูปวงกลม ซึ่งเรียกว่า “มวยหว่อง“ เจาะหูใส่ลานเงิน สวมกำไลเงิน (หน้า 42-43) ผู้ชาย ในอดีตในช่วงหน้าร้อนมักไม่ค่อยสวมเสื้อ และสักตามลำตัว กางเกงจะสวมกางเกงขาก๊วย หรือชื่อ "เตี่ยวสะตอ" ถ้าสวมเสื้อจะเป็นเสื้อเอวลอย ประดับด้วยแถบสี เสื้อกับกางเกง โดยมากเป็นสีดำหรือคราม ชอบโพกหัวด้วยผ้าขาวห้อยชายผ้าไว้ทางด้านซ้าย (หน้า 46, 48-49) การแต่งกายของถิ่น ผู้สูงอายุมักจะแต่งตัวด้วยเครื่องแต่งกายที่ประดับด้วยลวดลายต่างๆ ชอบสีแดง เหลือง และดำ เป็นต้น (หน้า 52) การแต่งกายขมุ ผู้หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกยาวถึงข้อมือ เสื้อยาวถึงเอว ผ่าเสื้อทางด้านหน้า ชอบใส่สีดำ คอเสื้อและปลายแขนเสื้อประดับด้วยผ้าสี หากร่ำรวยก็จะนำเหรียญเงิน หรือเหรียญสตางค์แดงมาร้อยห้อยตั้งแต่คอจนถึงชายเสื้อ สวมผ้าซิ่นเช่น สีดำ หรือแดง ประดับด้วยกำไลคอ หรือแขน ทำด้วยเงินและอลูมิเนียม เมื่อก่อนนี้การไว้ผมชอบไว้ผมยาวแล้วเกล้าผม โพกหัวด้วยผ้า ผู้ชาย ชอบสักตามลำตัว หากสวมเสื้อจะสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าคล้ายกับผ้าโจงกระเบน เมื่อก่อนผู้ชายจะไว้ผมยาวเกล้าผมเอาไว้ โพกหัวด้วยผ้าเจาะหูเสียบด้วยดอกไม้แดง (หน้า 63) การแต่งกายม้ง ผู้ชายและผู้หญิงสวมเสื้อสีดำเป็นพื้น ผู้ชาย สวมเสื้อรัดรูปเสื้อสั้นครึ่งท่อนแขนยาวจรดข้อมือ เสื้อผ่าด้านซ้ายด้านข้างตั้งแต่ต้นคอ ผู้ชายสวมกางเกงหลวมๆ สีดำคล้ายกับกางเกงจีน ผูกเอวด้วยผ้าสีแดง คาดด้วยเข็มขัดเงิน ชอบสวมหมวกจีน ผ้าสีดำ ยอดหมวกเป็นผ้าสีแดง ผู้หญิง สวมกระโปรงสั้นทอด้วยผ้าใยกัญชาสีขาว ไม่ค่อยมีลวดลาย บางรายจะสวมโลหะเงินแท่งกลมเล็กยาวโค้งจากหัวลงมาทางด้านหลัง สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือ ด้านหลังปกผ้าลายสี่เหลี่ยมประมาณ 1 คืบ สวมกำไล ตรงกลางประดับด้วยผ้าสีขาว ขลิบขอบเสื้อ 2 ถึง 3 นิ้ว โพกหัวด้วยผ้าสีครามหรือดำ มักคาดเอวด้วยผ้าสีแดง (หน้า 74) การแต่งกายของเมี่ยน ผู้หญิง โพกหัวด้วยผ้าสีแดงหรือสีน้ำเงินหรือดำ ปลายผ้าโพกหัวประดับลวดลวดลายต่างๆ สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงินหรือดำ ยาวจรดข้อเท้า ผ่าด้านหน้า บริเวณคอประดับด้วยไหมพรมสีแดง ยาวจนถึงบริเวณหน้าท้อง และผ่าด้านข้างทั้งสองข้างตั้งแต่เอวลงมา สวมกางเกงสีน้ำเงินเข้ม ด้ายหน้าปักด้วยผ้าสีต่างๆ คาดเอวด้วยผ้าสีแดง สวมกำไลและเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน และประดับผ้าโพกหัวด้วยสร้อย ผู้ชาย สวมกางเกงสีดำเหมือนกับกางเกงจีน ขลิบบริเวณขาด้วยผ้าสีแดง สวมเสื้อสีดำอกไขว้ ประดับด้วยกระดุมบริเวณคอยาวถึงเอว สวมเสื้อยาว กระดุมกลมทำด้วยเงิน (หน้า 87)

 

Folklore

ตำนานของขมุ สันนิษฐานว่า ขมุเคยมีความยิ่งใหญ่มาก่อน อีกทั้งยังเคยสร้างบ้านเมืองอยู่อย่างมั่นคง สำหรับคนลาวที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออก เชื่อว่าขมุเป็นต้นตระกูลของคนที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นดังกล่าว รวมทั้งมีอำนาจเหนือกว่าผีทั้งหลาย นอกจากนี้ขมุยังมีหน้าที่สำคัญในการประกอบพิธีบางส่วนในราชสำนักของหลวงพระบางกับนครน่าน ซึ่งจากหลักฐานในกำแพงเมืองเชียงใหม่ระบุว่าเมื่อก่อนนี้ ขมุเคยมีวัฒนธรรมที่เจริญเป็นอย่างมาก (หน้า 61)

 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ระบุ

 

Social Cultural and Identity Change

กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมเช่น ม้งได้ขยายพื้นที่เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เข้าใกล้ที่อยู่ของผีตองเหลือง นอกจากนี้ผีตองเหลืองก็ได้ติดต่อชาติพันธุ์อื่นมากขึ้น เพื่อที่จะหาเครื่องอุปโภคและบริโภคต่างๆ (หน้า 105–113)

 

Critic Issues


 

Other Issues


 

Map/Illustration

แผนที่ จังหวัดน่าน (หน้า 9) ภาพ แม่น้ำน่าน (หน้า 11) ไร่ตามไหล่เขา, นาดำในพื้นที่ราบ (หน้า 13) ปลูกผักและพืชล้มลุกตามชายฝั่งแม่น้ำ (หน้า 14) จับปลากลางลำน้ำน่านที่บ้านคั่งถี่ (หน้า 15) ผู้หญิงช่อนกุ้งและปลาในนาด้วยสวิง, เครื่องมือจับกุ้ง ปู ปลา (หน้า 16) เครื่องมือทอผ้า (หน้า 18) การทอผ้า,ซิ่นปลัด ซิ่นน้ำไหล และซิ่นม่าน(พม่า) (หน้า 19) ฟืมทอผ้า (หน้า 20) ครกไม้ (หน้า 21) หม้อน้ำ กระทะ ทัพพี (หน้า 22) ไถนา (หน้า 29) แอกกับคันไถ คราดไม้ (หน้า 30) ดำนา วีข้าว เก็บเกี่ยวข้าว (หน้า 32) งานศพ (หน้า 33) งานสืบชะตา (หน้า 34) พิธีเลี้ยงผีหลวง, ทานสลาก (หน้า 37) ไทลื้อ (หน้า 40) ครัวไฟ (หน้า 43) เครื่องมือล่า จับสัตว์ (หน้า 45) บ้านเรือน (หน้า 52) ครกตำข้าว (หน้า 59) ขมุ (หน้า 60, 69) บ้านขมุ(หน้า 63) ม้ง (แม้ว)(หน้า 71) นอกบ้าน ผิงแดดตอนเช้า (หน้า 77) ในบ้าน (หน้า 78) หิ้งผี (หน้า 81) เมี่ยน (เย้า) (หน้า 84) ลานดินหน้าบ้าน (หน้า 89) ผีตองเหลือง (หน้า 92) โครงสร้างบ้าน (หน้า 94) การใช้ไม้ไผ่ (หน้า 96) ครอบครัวของเฒ่าแปง (หน้า 102) เตาก้อนเส้า แม่บ้านถิ่นหุงข้าว (หน้า 108) ลื้อต้มข้าวให้หมู (หน้า 109) เตาอั้งเหล็ก อั้งโล่ที่ซื้อจากเมือง (หน้า 111) เข้าทรงผีย่าหม้อนึ่ง (หน้า 112) ตาราง การทำนา (หน้า 26) การทำไร่ข้าว (หน้า 27) การทำไร่ข้าวโพด (หน้า 28) การทำไร่ถั่วเขียว (หน้า 28-29) ปฏิทินประเพณีไทยวนจังหวัดน่าน (หน้า 38) ภาษากรุงเทพฯ, ล้านนา, ลื้อ, ยอง (หน้า 42) ปฏิทินประเพณีพื้นบ้านถิ่น (หน้า 56) อาชีพในรอบปี (หน้า 65) การแบ่งงานตามเพศ (หน้า 67, 68, 75) การใช้เตาชนิดต่างๆ ของชาวน่าน (หน้า110) แผนผัง บ้านขมุ (หน้า 62) บ้านม้ง (หน้า 73) บ้านเมี่ยน (หน้า 86) ตัวอย่างการเรียกชื่อของผีตองเหลือง (หน้า 103)

 

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG มลาบรี มราบรี, ลื้อ, ขมุ, ม้ง, เมี่ยน, ลัวะ, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, ประเพณี, เศรษฐกิจ, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง