สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,วิถีชีวิต,ภาษา,โครงสร้างกายภาพ,หัตถกรรม,น่าน
Author J.J. Boeles
Title Second Expedition to the Mrabi of North Thailand (“Khon Pa”)
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 27 Year 2506
Source Journal of the Siam Society, Vol. LI part 2, 133 – 160.
Abstract

ผู้เขียนพบว่ามลาบรีเป็นชนเผ่าที่อาจสืบทอดมาจากชนผิวเหลืองยุคโบราณซึ่งมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความจำกัดของเวลาทำให้ผู้เขียนไม่อาจหาข้อสรุปจากการศึกษาได้มากนัก แต่ผู้เขียนก็ยังสามารถสรุปลักษณะเด่นของชาวมลาบรีได้ดังนี้
1) มลาบรีไม่รู้จักวัฒนธรรมยุคหิน เพราะพวกเขาไม่มีเครื่องมือหินชนิดใดเลย
2) มลาบรีไม่สามารถใช้หูกทอผ้าแบบมือ จึงไม่อาจผลิตเครื่องแต่งกายได้
3) มลาบรีไม่ทำเกษตรกรรม
4) มลาบรีไม่สร้างบ้าน
5) มลาบรีม่สวมใส่เครื่องประดับ

John H.Brandt ตั้งข้อสังเกตว่าพวกเขาอาจเป็นชนกลุ่มเร่ร่อนเก็บของป่าเหมือนชาว Negrito แม้ว่ามลาบรีจะไม่มีความสามารถในทักษะบางด้านแต่พวกเขาก็ประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจในทักษด้านงานหัตถกรรมและศิลปะการตกแต่งบางอย่าง นอกจากนี้พวกเขายังมีภาษาพูดเป็นของตนเอง มีพิธีกรรมการเต้นรำ และระบบความคิดความเชื่อเฉพาะ จึงทำให้ไม่อาจสรุปว่าพวกเขามีลักษณะเป็นคนป่าเถื่อน (หน้า 150–153)

Focus

การศึกษาเกี่ยวกับ 1) การวิจัยด้านมานุษยวิทยากายภาพ โดยการตรวจเลือด ตรวจร่างกาย และการตรวจสอบรักษาทางการแพทย์ต่อชาวมลาบรี ทั้งนี้เพื่อวิจัยหาลักษณะของกลุ่มชนและความแตกต่างระหว่างชาวมลาบรีกับชนต่างกลุ่ม (หน้า 135–136) 2) การศึกษาด้านภาษาศาสตร์ว่าชาวมลาบรีใช้ภาษาใดเป็นภาษาพูดบ้าง ภาษาของชาวมลาบรีมีความเหมือนหรือแตกต่างกับภาษาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างไร ตลอดจนพิจารณาว่าภาษาที่ชาวมลาบรีใช้ในบทเพลงและการประกอบพิธีกรรม เพื่อวิเคราะห์หาลักษณะทั่วไปในภาษาและหาข้อบัญญัติในคำศัพท์ของชาวมลาบรี (หน้า 135, 146, 3) การศึกษาด้านวัตถุทางวัฒนธรรมของชาวมลาบรี อาทิ งานหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องแต่งกายและสภาพที่อยู่อาศัยของชาวมลาบรี ทั้งในด้านทักษาะการผลิต เทคนิควิธีที่ใช้ รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยที่มีต่อวัตถุทางวัฒนธรรมชิ้นนั้น ๆ เพื่อให้ทราบวิถีการดำเนินชีวิต ประวัติความเป็นมาตลอดจนระบบความคิดความเชื่อของชาวมลาบรี (หน้า 138–145) นอกจากนี้ยังศึกษาเพื่อหารายละเอียดในวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ของชาวมลาบรีด้วย เช่น อาหาร ความเชื่อ โครงสร้างทางสังคม เพื่อนำมาเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับประกอบการทำความเข้าใจในกลุ่มชนชาวมลาบรีให้ชัดเจนขึ้น

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนศึกษากลุ่มที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่า คนป่า ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าบริเวณดอยทอง จ.น่าน (หน้า 136) มีจำนวนสมาชิกประมาณ 40 คน (หน้า 153) โดยจากคำบอกเล่าของไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ทำให้ทราบว่าคนป่าเหล่านี้เรียกตนเองว่า “มลาบรี” คำว่า มลา แปลว่า คน ส่วน บรี แปลว่า ป่า จึงแปลตรงตัวกับคำว่า คนป่าหรือคนที่มาจากป่า ส่วนม้งเรียกพวกเขาว่า “มังกู” แต่ชื่อที่คนไทยมักเรยกขานพวกเขาคือ ผีตองเหลือง (หน้า 134)

Language and Linguistic Affiliations

มลาบรีส่วนใหญ่ใช้ภาษาพูดหลายภาษาหรืออย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาไทยวนและภาษามลาบรี นอกจากนี้ยังมีภาษาขมุ (หน้า 146) ซึ่งในภาษาขมุนี้มีคำศัพท์หลายคำที่มีความหมายตรงกันกับคำศัพท์ในภาษามลาบรี โดยภาษาทั้งสองกลุ่มอยู่ในตระกูลออสโตร – เอเชียติค เหมือนกันด้วย (หน้า 144) สำหรับลักษณะการออกเสียงนั้น มลาบรีใช้ทั้งภาษาที่มีระดับเสียงสูงต่ำ เช่น ภาษาไทยวน และภาษาที่ไม่มีระดับเสียงสูงต่ำ เช่น ภาษามลาบรี ภาษาขมุ (หน้า 135, 144)

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 โดยคณะวิจัยของสยามสมาคม

History of the Group and Community

ประวัติความเป็นมาของชาวมลาบรียังไม่มีความชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่าพวกเขาอาจเป็นชนพื้นเมืองจากยุคโบราณที่ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบันหรืออาจเป็นชนผิวเหลืองในสมัยโบราณซึ่งเดินทางมายังดินแดนที่เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน จนกระทั่งเข้ามาในประเทศไทยในที่สุด (หน้า 153)

Settlement Pattern

มลาบรีเป็นชนเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์ (หน้า 137) พวกเขาจะเร่ร่อนไปในป่า ไม่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร เมื่อได้ไปสำรวจที่พักของมลาบรีทำให้ผู้เขียนพบว่าพวกเขานอนบนใบไม้ที่ยังสด โดยภายในที่พักจะแบ่งเป็นที่นอนแยกกันเป็นแห่ง ๆ ตามแต่ละครอบครัวที่มาอยู่รวมกัน (หน้า 148) นอกจากนี้ยังไม่มีการพบที่กำบังใด ๆ ในที่พักของพวกเขา แต่ถ้าเป็นฤดูฝนมลาบรีจะสร้างเพิงบังฝนขึ้นมา และเมื่อใดก็ตามที่เครื่องกำบังของพวกเขาเหี่ยวเฉาลง มลาบรีก็จะโยกย้ายไปยังถิ่นอื่น ๆ (หน้า 144) โดยสถานที่ใหม่ที่พวกเขาจะย้ายไปนั้นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตรอดของกลุ่มด้วย (หน้า 153)

Demography

ยังไม่อาจระบุจำนวนประชากรที่แน่นอนของมลาบรีทั้งหมดให้ชัดเจนได้ แต่จากจำนวนมลาบรีที่ป่าดอยทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ในการศึกษามีประมาณ 35–40 คน (หน้า 153) โดยจะแบ่งย่อย ๆ ออกเป็นกลุ่มครอบครัวได้อีก (หน้า 148)

Economy

มลาบรีดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นหลัก รวมทั้งการค้าขายแบบแลกเปลี่ยนสิงค้ากับชาวม้ง (หน้า 136) โดยสินค้าส่งออก เช่น ตระกร้าหวายแบบมีฝาปิด และเสื่อที่จักสานจากหวาย (หน้า 138) นอกจากนี้มลาบรียังดำรงชีพด้วยการขออาหารและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จากคนต่างถิ่นด้วย (หน้า 136)

Social Organization

ลักษณะองค์กรทางสังคมยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งนัก เนื่องจากคณะวิจัยยังไม่มีโอกาสได้พบกับหญิงสาวและเด็กเล็กๆ มลาบรีเลย อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ระบุถึงความชัดเจนในโครงสร้างทางสังคมของมลาบรีไว้หลายประการ อาทิ เป็นสังคมชายเป็นใหญ่ มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงานข้างฝ่ายชาย แต่งงานกันภายในกลุ่ม และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับผู้หญิงมากนักสังเกตจากการไม่ระบุนามของหญิงในผังเครือญาติ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า อาจจะไม่มีการแบ่งงานกันทำตามเพศที่ชัดเจนเนื่องจากแม้ผู้ชายจะมีความสามารถในการล่าสัตว์และมีความชำนาญในการประกอบอาหารด้วยเช่นกัน (หน้า 148–149)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

มลาบรีนับถือผีและวิญญาณ ซึ่งมีทั้งดีและร้าย พวกเขาไม่สวมใส่เครื่องรางใด ๆ แต่มีรอยสักซึ่งผู้เขียนวิเคราะห์ว่าอาจมีความสำคัญในเชิงไสยศาสตร์ทำนองเดียวกับการสักยันต์ที่เชื่อว่ามลาบรน่าจะได้รับมาจากเมืองสายะบุรีในประเทศลาว นอกจากนี้มลาบรียังเชื่อในอานุภาพทางไสยศาสตร์ของหอกด้วย (หน้า 146) ผู้เขียนยังได้ระบุถึงข้อห้ามประการสำคัญในหมู่มลาบรี คือ การไม่ยอมดูเงาสะท้อนของตนเองในกระจก โดยผู้เขียนวิเคราะห์ว่าอาจมาจากทรรศนะต่อโลกแบบปิดของชาวมลาบรี (หน้า 147) อีกประการหนึ่งคือ มลาบรีมองโลกแบบแนวราบ ไม่มีเรื่องโลกหน้า โดยแสดงออกผ่านทางงานศิลปะ (หน้า 148) มลาบรีมีพิธีกรรมการเต้นรำประกอบการปรบมือและร้องเพลงเพื่อแสดงความขอบคุณหรือความกตัญญูด้วย (หน้า 146, 136)

Education and Socialization

ความรู้ที่มลาบรีสืบทอดส่งต่อกันมาเป็นความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เช่น ทักษะในการทำงานหัตถกรรม การประกอบอาหาร หรือทักษะในการเก็บของป่าล่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งความรู้และทักษะเหล่านี้มีทั้งส่วนที่เป็นของมลาบรีแต่เดิมและส่วนที่พวกเขารับมาจากชนเผ่าอื่นผ่านการค้า (หน้า 138) กระบวนการขัดเกลาทางสังคม อีกลักษณะหนึ่งที่มลาบรีได้รับจากโลกภายนอกคือ เรื่องอาหารการกิน เนื่องจากแม้ว่ามลาบรีจะกินอาหารที่ได้จากป่า แต่พวกเขาก็ไม่ปฏิเสธที่จะกินอาหารหลากหลายประเภทที่ได้รับมาจากชนต่างเผ่าเช่นกัน (หน้า 145)

Health and Medicine

เมื่อเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นในหมู่มลาบรี พวกเขาจะดื่มเหล้ากลั่นแบบท้องถิ่นซึ่งได้รับมาจากม้ง อย่างไรก็ตามผู้เขียนระบุว่า มลาบรีไม่ค่อยประสบปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยมากนัก (หน้า 146) Bernatzik กล่าวว่าชนเผ่านี้มีลักษณะความผิดปกติทางต่อมไทรอยด์อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำท่ผิดสุขลักษณะตามความเชื่อประจำเผ่า (หน้า 145) Dr.Flatz ยังตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ชายมลาบรีดูแข็งแรงและสุขภาพดีทว่าผู้หญิงกลับดูอ่อนแอและเหมือนขาดอาหาร แต่ยังไม่พบคำตอบ (หน้า 148)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

มลาบรีมีทักษะในการผลิตงานหัตถกรรมทั้งที่เป็นทักษะดั้งเดิมและได้รับมาจากชนเผ่าอื่น ซึ่งผู้เขียนได้สรุปออกมาเป็น 5 ด้าน คือ การจักสาน การแกะสลัก การผูกเงื่อน การทอและการตีเหล็ก โดยมลาบรีนำทักษะเหล่านี้มาผลิตงานหัตถกรรมหลายอย่าง เช่น ตะกร้าแบบมีฝาปิด ย่ามสะพายหลัง เสื่อ (หน้า 137–143) นอกจากนี้มลาบรียังนิยมนำต้นไผ่มาผลิตเป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท เช่น ภาชนะประกอบอาหารและบรรจุน้ำ กล้องยาเส้นและขลุ่ย เป็นต้น (หน้า 137-144) โดยมลาบรีมักจะสร้างลวดลายลงบนเครื่องใช้เหล่านั้นด้วย ซึ่งลวดลายส่วนมากก็จะจำกัดอยู่ที่รูปร่างของต้นไม้ เทือกเขา ลำธาร และดวงอาทิตย์ ที่ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าเป็นการสะท้อนมุมมองต่อโลกมลาบรี (หน้า 147) สำหรับศิลปะการแสดงนั้น มลาบรีมีความสามารถในการเต้นรำแสดงความขอบคุณ รวมทั้งการเป่าขลุ่ยและการร้องเพลง (หน้า 136, 146) ผู้เขียนอธิบายลักษณะการแต่งกายของผู้ชายมลาบรีว่า พวกเขาสวมใส่เพียงผ้าเตี่ยวที่ทำจากเศษผ้าขี้ริ้วผืนเดียวเท่านั้น แม้ว่าอากาศจะหนาวเย็นแต่มลาบรีก็ไม่ได้หาเครื่องนุ่งห่มมาปกปิดกาย อย่างไรก็ตามเมื่อคณะของผู้เขียนเสนอให้ผ้าห่มฝ้ายแก่พวกเขา มลาบรีก็รับมาด้วยความเต็มใจ (หน้า 133) นอกจากนี้ผู้เขียนยังพบรูที่ติ่งหูของผู้ชายมลาบรีบางคน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับจุกอุดหูที่เป็นเครื่องประดับหูชนิดหนึ่ง แต่ผู้เขียนก็ไม่พบจุกอุดหูดังกล่าวแต่อย่างใด

Folklore

ไม่ระบุ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มลาบรีมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับม้ง โดยที่มลาบรีตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ (หน้า 136) ต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างมลาบรีกับขมุที่มีลักษณะของความเท่าเทียมกันและการหยิบยืมทางวัฒนธรรมบางอย่างมาใช้ร่วมกันด้วย เช่น การนอนบนใบไม้ ภาษาพูด เป็นต้น (หน้า 135, 143, 146) อย่างไรก็ตามมลาบรียังคงเป็นชนเผ่าซึ่งถูกดูถูกจากชนต่างเผ่าเสมอ สังเกตจากการที่คนไทยเรียกพวกเขาว่า “ผีตองเหลือง” ทำให้มลาบรีไม่พอใจนักเพราะพวกเขาเป็นคนไม่ใช่ผี (หน้า 134) นอกจากนี้ผู้เขียนยังตั้งข้อสังเกตว่า มลาบรีอาจมีความสัมพันธ์กับชนเผ่าอื่น ๆ อีก เช่น อาข่า ลาว โดยสะท้อนผ่านทางงานหัตถกรรมและศิลปะบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องศึกษากันต่อไป

Social Cultural and Identity Change

ในอดีตมลาบรีมักจะถูกสงสัยว่าเป็นคนหรือผีกันแน่ ทำให้มลาบรีจำนวนมากถูกสังหารด้วยปืน ทำให้พวกเขาหวาดกลัวมนุษย์คนอื่นมาก (หน้า 153) อย่างไรก็ตามในภายหลังสังคมรอบข้างมีความเข้าใจในตัวมลาบรีมากขึ้น ส่งผลให้พวกเขากล้าออกมาพบปะผู้คนต่างเผ่ามากขึ้นและไม่แสดงความหวาดกลัวอีกต่อไป (หน้า 136) นอกจากนี้มลาบรียังแสดงว่าเป็นคนที่สามารถยอมรับวัฒนธรรมจากต่างถิ่นได้อย่างค่อนข้างดีอีกด้วย เช่น การแต่งกาย อาหารการกิน เป็นต้น

Other Issues

ผู้เขียนได้มุ่งหวังที่จะศึกษาเรื่องราวของมลาบรีต่อไปในประเด็นเหล่านี้ 1) การเปรียบเทียบภาษามลาบรีกับภาษาตระกูลมอญ – เขมร 2) การขยายขอบเขตการวิจัยเลือดของชาวมลาบรี 3) การหาข้อกำหนดเรื่องระบบโครงสร้างของเสียงในภาษาของมลาบรี 4) การอธิบายเทคนิคในงานหัตถกรรมของมลาบรีเปรียบเทียบกับของชนเผ่าอื่นที่เกี่ยวข้อง 5) การศึกษาโครงสร้างสังคมและรูปแบบพฤติกรรมของมลาบรี 6) การศึกษาเรื่องทางจิตวิทยาและระบบความคิดความเชื่อของมลาบรี 7) การศึกษาเรื่องทัศนคติของชาวมลาบรีต่อโลกภายนอกและต่อชนเผ่าอื่น ๆ (หน้า 152)

Map/Illustration

ผู้เขียนได้แสดงแผนที่ตำแหน่งที่พักของมลาบรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่ศึกษาภาคสนาม ตลอดจนภาพถ่ายชาวมลาบรีในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ในพิธีกรรมการเต้นรำเพื่อแสดงความขอบคุณ เป็นต้น ภาพถ่ายงานหัตถกรรมของมลาบรี รวมทั้งภาพวาดเพื่อให้เห็นรายละเอียดทักษะที่ใช้ในงานหัตถกรรมแต่ละประเภท และการเปรียบเทียบลวดลายในงานศิลปะของมลาบรีและของชนเผ่าอื่น ๆ

Text Analyst วรวรรณ กัลยาณมิตร Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มลาบรี มราบรี, วิถีชีวิต, ภาษา, โครงสร้างกายภาพ, หัตถกรรม, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง