สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปะโอ,การตั้งบ้านเรือน,ตำนาน,ภาษา,การฝังศพ,แม่ฮ่องสอน
Author บุญช่วย ศรีสวัสดิ์
Title ต่องสู้
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปะโอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 5 Year 2545
Source ชาวเขาในไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2506 โดยสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)
Abstract

ต่องสู้หรือกะเหรี่ยงดำเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งไม่ยอมรับว่าตนเป็นกะเหรี่ยง มักอยู่ปะปนกับไทยใหญ่และไทยเขินตามจังหวัดชายแดน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามเนินเขา ชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนมักเข้าใจว่าเป็นกะเหรี่ยง นิยมแต่งกายด้วยชุดสีดำ ชายแต่งกายคล้ายไทยใหญ่ หญิงแต่งกายคล้ายกะเหรี่ยง พูดภาษาใกล้เคียงกับภาษากะเหรี่ยง มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณรอบทะเลสาบอินเลรัฐฉานตอนใต้ของพม่า ต่องสู้นับถือผีเรือนและผีหมู่บ้านทั้งยังเชื่อถือโชคลาง นิยมเกี้ยวพาราสีด้วยการร้องเพลง และนิยมฝังศพมากกว่าเผา เชื่อว่าเมื่อตายไปดวงวิญญาณ "เล่" จะลอยไปอยู่บนยอดเขาหลอยมอ ยอดสูงอยู่ทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่รวมดวงวิญญาณ บ้านต่องสู้จะมีแท่นบูชาผีบรรพบุรุษ ขนบธรรมเนียมของต่องสู้คล้ายคลึงกับกะเหรี่ยงเผ่าบวอย

Focus

เน้นศึกษาสภาพวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่องสู้ในประเทศไทย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เน้นศึกษาสภาพวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่องสู้ในประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีรายละเอียด

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

ต่องสู้ มีประวัติเล่าว่า แต่เดิมต่องสู้เป็นพลเมืองตะโถ่ง (สะทุ่ง) เหนือเมืองมอละแม่ง ปากแม่น้ำสาละวิน ในปี พ.ศ.1600 พระเจ้าอน่อรถ่า (อโนรธา) กษัตริย์พม่าแห่งกรุงปะก่าน (พุกาม) มีพระราชสาส์นไปขอพระไตรปิฎกภาษามคธจากกษัตริย์มอญคือ พระเจ้ามนูหะ เมื่อไม่ยอมให้ก็ยกกองทัพไปตีเมือง แล้วกวาดต้อนผู้คนมาเป็นเชลยให้สร้างเจดีย์ในเมืองพุกาม ภายหลังพระเจ้าอน่อรถ่าปล่อยเชลยให้อยู่รอบทะเลสาบอินเล ปะปนผสมกลมกลืนกับชนเผ่าอื่นจนกลายเป็นชาวต่องสู้ (ต่องโย) ในจุลศักราช 1231 ต่องสู้ได้ร่วมกับไทยลื้อในสิบสองปันนา ยกพวกไปตีเมืองไลของพวกไทยขาวในสิบสองจุไทย (ปัจจุบันอยู่ในเขตเวียดนามเหนือ) บางตำนานเล่าว่า พระเจ้ามนูหะกษัตริย์มอญครองเมืองตะโถ่ง ปกครองพวกต่อสู้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบอินเล ต่อมาเมื่อพ่ายศึกพม่าก็แตกหนีไปอาศัยอยู่ตามป่าตามเขา (หน้า 96-97)

Settlement Pattern

ต่องสู้ ในรัฐฉาน (ไทยใหญ่) มักตั้งบ้านเรือนตามป่าตามเขา บ้านเรือนแถบเมืองสะทุ่ง เมืองหลอยโหลง สะอาดสะอ้านกว้างขวางใหญ่โต (หน้า 97) ถิ่นเดิมของต่องสู้ตั้งบ้านเมืองอยู่รอบทะเลสาบอินเลแห่งมะเยลัต รัฐฉานทางตอนใต้ของพม่า หลอยโหลงและสะทุ่งเป็นเมืองที่มีชาวเมืองต่องสู้อยู่มากที่สุด นอกจากนี้ต่องสู้ยังตั้งถิ่นฐานตามเมืองต่าง ๆ เช่น ท่าน้ำคำ หลอยมอ ว่านเหย่น จำมกา หลอยอ้าย และอยู่กันอย่างประปรายบริเวณสองฟากของแม่น้ำป๋อนในรัฐฉาน (ไทยใหญ่) ลงมาถึงเขตรัฐกะยาในพม่า (หน้า 96)

Demography

ต่องสู้ได้อพยพมาอยู่ในหมู่บ้านเมื่อประมาณ 15 ปีมาแล้ว โดยที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่รอบทะเลสาบอินเล รัฐฉานตอนใต้ของพม่า เมืองที่มีต่องสู้อยู่มากที่สุดคือ เมืองหลอยโหลงและเมืองสะทุ่งซึ่งถือเป็นเมืองของต่องสู้แท้ เมืองอื่นที่ตั้งอยู่ประปราย สองฝั่งแม่น้ำป๋อนในรัฐฉาน (ไทยใหญ่) เรื่อยลงมาถึงรัฐกะยาในพม่า (หน้า 96)

Economy

ต่องสู้ในรัฐฉาน (ไทยใหญ่) ประกอบอาชีพทำไร่ ปลูกข้าว ยาสูบ พริก ถั่ว มันฝรั่ง ฝ้าย และพืชผักต่าง ๆ อาชีพที่ขึ้นชื่อคือการปลูกต้นปอหมันเพื่อนำไปมวนบุหรี่ ส่งใบไปขายที่พม่า (หน้า 97)

Social Organization

ตามประเพณีในเวลากลางคืน ชายหนุ่มมักออกร้องเพลงเกี้ยวพาราสีหญิงสาว หากทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจจะเป็นคู่สามีภรรยา ชายหนุ่มจะมอบสิ่งของประดับกายอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ให้ หลังสู่ขอแล้วก็ถึงกำหนดแต่งงาน เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะมานั่งคู่กันบนเรือนคอยรับเมี่ยงจากผู้เฒ่าที่นับถือ และนำข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนมองให้บิดามารดา ผู้เฒ่าจะผูกข้อมือเรียกขวัญอวยพรให้คู่บ่าวสาว ชาวบ้านจะนำของขวัญมามองให้ เจ้าภาพนิยมเลี้ยงตอบแทนด้วยสุราอาหาร (หน้า 97-98)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ต่องสู้ นับถือผีเรือน ผีหมู่บ้านและมีพิธีเลี้ยงผี นอกจากนี้ยังเชื่อถือโชคลาง เช่น ในวันเริ่มแผ้วถางป่า ปลูกข้าวไร่จะไม่ยอมให้น้ำ ไฟ สิ่งของหรืออาหารแก่ผู้มาขอ เมื่อเก็บข้าวใหม่ได้ก็จะเชิญผีไร่ให้ไปกินข้าวในยุ้งที่หมู่บ้าน (หน้า 97) นอกจากนี้ยังมีประเพณีฝังศพผู้ตาย โดยชาวบ้านญาติพี่น้องจะมาร่วมกันร้องเพลงเต้นรำรอบ ๆ หลุมศพ มีการเตรียมเสบียงอาหารในการเดินทางให้ผู้ตายนำไปเมืองผี ด้วยการฆ่าไก่ผูกติดกับข้อเท้าศพ พร้อมใส่สิ่งของต่าง ๆ เช่น มีดสั้น กล้องยาสูบ ดาบ หน้าไม้ลงไปในโลงศพ ต่องสู้ เชื่อว่าเมื่อตายไป วิญญาณ (เล่) จะลอยไปสู่ภูเขายอดสูงสุดทางทิศตะวันตกไปอยู่บนยอดเขาหลอยมอซึ่งเป็นที่รวมวิญญาณทุกดวง นาน ๆ ครั้งผีหรือดวงวิญญาณจะกลับมาเยี่ยมบ้าน จึงตั้งแท่นบูชาผีบรรพบุรุษ มีถ้วยดินใส่ข้าวสุกและน้ำวางไว้ตามประเพณี (หน้า 98-99)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของต่องสู้ พวกผู้ชายนิยมแต่งกายคล้ายไทยใหญ่ นุ่งกางเกงขายาวก้นหย่อนสีขาว-ดำสวมเสื้อแขนยาวผ่ากลาง หญิงแต่งกายคล้ายกะเหรี่ยง คอรูปตัววี แขนเสื้อซ้อนกันสองตอน มีสีดำเป็นพื้นขลิบด้วยลายทางสีแดง ผ้านุ่งสีดำสั้นแค่เข่า โพกผ้าดำหรือสีขาวมีพู่สีห้อย นิยมใช้เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ ตุ้มหู สร้อยคอทำจากโลหะเงิน บางกลุ่มสวมกำไลทองเหลืองเป็นเกลียวซ้อนกันใต้เข่า ต่องสู้ในไทยไม่นิยมประดับประดานัก ต่องสู้มีการร้องเพลงเกี้ยวพาราสีกัน โดยฝ่ายชายจะเป่าขลุ่ยร้องเพลงในเวลากลางคืนเป็นสัญญาณว่าชายหนุ่มกำลังเที่ยวหาหญิงสาวออกมาร่วมสนทนา (หน้า 97-98)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ต่องสู้หรือกะเหรี่ยงดำ มักเรียกตนเองว่า "โปว์" หรือ "พะโอ" แต่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นกะเหรี่ยง ชาวพม่าเรียก "ต่องตู่" หมายถึง คนดอยหรือชาวเขา ต่องสู้ในประเทศไทยมีขนบธรรมเนียมต่างจากต่องสู้ในพม่า แต่จะคล้ายคลึงกับกะเหรี่ยงเผ่าบวอย ไม่มีข้อมูลบ่งบอกถึงรูปร่างลักษณะด้านชาติพันธุ์ (หน้า 95, 99)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ศมณ ศรีทับทิม Date of Report 05 ก.ย. 2555
TAG ปะโอ, การตั้งบ้านเรือน, ตำนาน, ภาษา, การฝังศพ, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง