สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี มราบรี,คนป่า,ประวัติความเป็นมา,วิถีชีวิต,การแต่งกาย
Author บุญช่วย ศรีสวัสดิ์
Title ผีตองเหลือง
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 23 Year 2545
Source ชาวเขาในไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2506 โดยสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)
Abstract

ยุมบรีเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในป่าลึก และมักโยกย้ายถิ่นอยู่เสมอ การนำใบตองมาใช้มุงเพิงพักเมื่อเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก็ย้ายที่ตั้งใหม่ทำให้ถูกเรียกว่า "ผีตองเหลือง" ยุมบรีมีภาษาเป็นของตนเอง เป็นภาษาจำกัดถ้อยคำ ฟังคล้ายภาษาข่ามุและละว้า มักใช้ชีวิตอยู่กินอย่างเรียบง่ายด้วยการหาของป่า เก็บพืชผักผลไม้และล่าสัตว์ป่า ไม่นิยมสะสมอาหาร นุ่งห่มเปลือกไม้ปกปิดเฉพาะที่ลับ บ้างก็นุ่งห่มผ้าเก่า ๆ ระบบครอบครัวของยุมบรียึดระบบผัวเดียวเมียเดียว ยุมบรีนับถือผีป่าซึ่งสิงสถิตตามต้นไม้ใหญ่ มีการเซ่นผีในแต่ละปี มีการผูกข้อมือเรียกขวัญเมื่อเจ็บป่วย ยุมบรีมีสุขอนามัยไม่ดีนัก เนื่องจากไม่ค่อยรักษาความสะอาดของเสื้อผ้าและร่างกาย ผู้ชายสักหมึกตามร่างกายเป็นอักขระพื้นเมืองเหนือ เชื่อว่าช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือสัตว์มีพิษ และช่วยให้คงกระพัน อาวุธที่ถนัดในการล่าสัตว์คือ กล้องไม้ซางเป่าลูกดอกคล้ายพวกเซียมังและซาไก

Focus

เน้นศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมแบบหาของป่า ล่าสัตว์ของพวกยุมบรี

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ยุมบรี (ผีตองเหลือง)

Language and Linguistic Affiliations

ยุมบรี (ผีตองเหลือง) มีภาษาเป็นของตนเอง เป็นภาษาจำกัดถ้อยคำ ฟังคล้ายภาษาข่ามุและละว้า มีคำว่า โต๊ก" นำหน้านาม พูดจาด้วยประโยคสั้น ๆ น้ำเสียงไม่อ่อนหวานและไม่ค่อยมีเสียงวรรณยุกต์ เป็นตอนและขาดห้วง ไม่มีตัวหนังสือใช้ ยุมบรีมักหลงลืมภาษาดั้งเดิมของตน ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาข่ามุเป็นภาษากลาง รองลงมาคือภาษาชาวเหนือแบบโบราณ (ภาษาไทยยวน) ผสมกับภาษาลาวในประเทศลาว ยุมบรีแถบจังหวัดน่าน สามารถพูดภาษาพื้นเมืองโบราณของชาวน่านและภาษาข่ามุได้ มักเรียกผู้ชายว่า "พ่อ" และเรียกผู้หญิงว่า "แม่" โดยไม่ใส่ใจเรื่องอายุ ชื่อของแต่ละคนมักใช้ชื่อตามภาษาเหนือสั้น ๆ พยางค์เดียว ไม่มีนามสกุลใช้ (หน้า 180,184-185, 191,193)

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

ยุมบรีมีประวัติความเป็นมาไม่แน่ชัด บ้างเชื่อว่าแต่เดิมยุมบรีเป็นชาวบ้านที่กระทำผิดทางอาญา เมื่อกลัวโทษประหารก็หนีไปหลบซ่อนตัวตามป่า สร้างเพิงพักชั่วคราวด้วยใบตองพอใบตองเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ยุมบรีกลัวคนสังเกตเห็นก็อพยพโยกย้าย ที่อยู่ใหม่ไปเรื่อย ๆ ภายหลังมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ก็แบ่งออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจายไปในแถบภาคเหนือของลาวและไทย (หน้า 181)

Settlement Pattern

ยุมบรีนิยมใช้ใบตองมุงหลังคาเพิงที่พัก พอใบตองเริ่มแห้งเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองก็ย้ายที่อยู่ใหม่ (หน้า 173) ไม่นิยมปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ถาวร เพียงใช้ไม้พาดกับกอไผ่หรือต้นไม้ แล้วตัดใบลาน ใบก้อแกง หรือใบต๋าวมุงหลังคา ที่นอนใช้ใบไม้ปูกับพื้นดิน บางกลุ่มอาศัยนอนข้างกองไฟ ไม่สร้างเพิง ในฤดูฝนมักหาเพิงผาหรือชะง่อนหินเป็นที่อยู่จนหมดฤดูฝนจึงอพยพเร่ร่อนไปยังถิ่นอื่น (หน้า 185 )

Demography

ยุมบรีแต่ละกลุ่มมีจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 15-25 คน (หน้า 179) จำนวนประชากรยุมบรีค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ ผู้สูงอายุมีอายุไม่เกิน 60 ปี มีเด็กรอดชีวิตเติบโตเป็นผู้ใหญ่เพียง 20% เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ ภัยอันตรายจากชาวเขาเผ่าอื่น รวมถึงภัยจากสภาพแวดล้อม (หน้า 192)

Economy

ยุมบรีแต่ละกลุ่มมีจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 15-25 คน (หน้า 179) จำนวนประชากรยุมบรีค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ ผู้สูงอายุมีอายุไม่เกิน 60 ปี มีเด็กรอดชีวิตเติบโตเป็นผู้ใหญ่เพียง 20% เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ ภัยอันตรายจากชาวเขาเผ่าอื่น รวมถึงภัยจากสภาพแวดล้อม (หน้า 192)

Social Organization

ระบบครอบครัวของยุมบรียึดระบบผัวเดียวเมียเดียว ชายเผ่าตองเหลืองเป็นคนซื่อสัตย์ ผู้ชายมักหึงหวงผู้หญิงของตนและซ่อนผู้หญิงและเด็กไว้ไม่ให้พบปะคนภายนอก ผู้ชายยุมบรีรักบุตรและเทิดทูนภรรยาเยี่ยงนาย ไม่ยอมให้ภรรยาทำงานการอะไร เพียงแต่มีหน้าที่ดูแลบุตรและคอยต้อนรับสามีเมื่อกลับจากป่า ไม่ต้องทำอาหาร ซักเสื้อผ้า ปัดกวาดเรือนหรือเลี้ยงอาหารสัตว์ หญิงตองเหลืองจึงมีชีวิตที่ค่อนข้างสุขสบายและ เป็นใหญ่ภายในบ้าน ไม่ต้องวิตกกังวลว่าสามีจะไปยุ่งกับหญิงอื่น หนุ่มสาวยุมบรีมีอิสระในการเลือกคู่ครอง หากเกี้ยวพาราสีกันแล้วถูกใจก็มักจูงกันไปหาความสุข การแต่งงานเป็นเรื่องง่าย เพียงนำอาหารมาเลี้ยงกันระหว่างสองครอบครัว และมีเพื่อนฝูงมิตรสหายมาร่วมยินดี ด้วยการเลี้ยงฉลองรอบกองไฟ ผู้เฒ่าของเผ่าจะประกาศความเป็นสามีภรรยาในที่ชุมนุม หลังจากเป็นสามีภรรยากันแล้ว ภรรยาต้องอพยพติดตามกลุ่มของสามีไปทุกหนแห่ง ไม่ปรากฏว่ามีการหย่าร้างหรือผิดคู่ ชีวิตคู่สิ้นสุดลงต่อเมื่อตายจากกัน (หน้า 184, 191-192)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ยุมบรีนับถือผีป่าซึ่งสิงสถิตตามต้นไม้ใหญ่ ในปีหนึ่ง ๆ มีการเซ่นผีภูเขาหลวงด้วย หมูป่า เป็ด หรือสัตว์ที่ล่ามาได้ หรืออาจใช้เผือกมันผลไม้เป็นเครื่องเซ่น ไม่มีผีเรือนเนื่องจากมักโยกย้ายถิ่นอยู่เสมอ (หน้า 191,192)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ยุมบรีมีการผูกข้อมือเรียกขวัญเมื่อเจ็บป่วย โรคที่พบบ่อยในหมู่ผีตองเหลืองเช่น โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน คุดทะราด ได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าทำร้าย เช่น หมีข่วน เสือคาบไปกิน งูพิษกัด บ้างก็ถูกชาวเขาเอายาพิษโรยตามแหล่งน้ำ ถูกยิงด้วยปืนผาหน้าไม้ (หน้า 192) ยุมบรีมีสุขอนามัยไม่ดีนัก เนื่องจากไม่ชอบอาบน้ำ ไม่นิยมซักเสื้อผ้า มีเหาและขี้รังแค นิยมก่อไฟผิงเสื้อผ้าให้แห้งเมื่อเปียกชื้น (หน้า 190)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ยุมบรีไม่ได้ปลูกฝ้ายหรือปั่นทอผ้าขึ้นใช้เอง ใช้เปลือกไม้ก้องปกปิดที่ลับ แล้วใช้เชือก หรือเถาวัลย์คาดเอวยึดเปลือกไม้ขนาดกว้างประมาณคืบเศษไว้ เปลือยร่างกายท่อนบน ไม่นิยมนุ่งห่มประดับร่างกายมากนัก ไม่ชอบคนโพกผ้า สวมเสื้อผ้าหลายชิ้นสวมหมวก แต่งหน้าทาปาก บ้างก็นุ่งห่มผ้าเก่าโดยใช้ผ้าพันโอบบริเวณของลับแต่เห็นสะโพกกับต้นขา ผู้หญิงสวมผ้าซิ่นเก่าสั้นแค่เข่า มักเปลือยอกไม่นิยมสวมเสื้อ นอกจากเมื่ออากาศหนาว ชายมักสวมกางเกงทับผ้าเตี่ยวผืนเล็กอีกชั้นหนึ่ง เมื่อออกมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ (หน้า 183-184) ผู้ชายยุมบรีบ้างก็สักหมึกที่หน้าอก ไหล่ เอวหรือข้างหลังเป็นอักขระพื้นเมืองเหนือ ซึ่งชาวบ้านเป็นผู้สักให้เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือสัตว์มีพิษ และเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องความคงกระพัน (หน้า 182 -183) ดนตรีของยุมบรี เป็นการร้องเพลงตามทำนองและการเป่าใบไม้เลียนเสียงสัตว์ป่า มีการเคาะไม้ ปรบมือให้จังหวะและเต้นรำตามจังหวะเพลง ซึ่งมีทำนองคล้ายของชาวเมืองน่านโบราณ (หน้า 185)

Folklore

ยุมบรีมีเรื่องเล่าจากชาวลาวว่า แต่เดิมยุมบรีหรือผีตองเหลืองเป็นข่าพวกหนึ่ง ซึ่งไม่มีความรู้ในการเพาะปลูกอยู่ในถิ่นเดียวกับข่ามุและข่าเม่ด วันหนึ่งข่าตองเหลืองเข้าไปในหมู่บ้านข่ามุ เห็นข่ามุนำข้าวเปลือกมาตำเป็นข้าวสาร หลามใส่กระบอกรับประทาน ข่ามุยื่นให้ตองเหลืองชิมดูจนติดใจ ตองเหลืองก็ขอพันธุ์ข้าวมาปลูก แต่เนื่องจากตน ขาดความรู้จึงเพาะปลูกไม่ขึ้น ก็พาลโกรธข่ามุจึงคอยลักเอาข้าวในไร่ข่ามุข่าเม่ดแทน ข่ามุโกรธที่พวกตองเหลืองมาลักขโมยข้าวไร่จึงยกพวกไปฆ่าฟันพวกตองเหลือง บางส่วนต้องอพยพหลบหนีไปอยู่ที่อื่น ข่าเม่ดได้ทราบข่าวว่าตองเหลืองมีนิสัยขี้ขโมย ก็ขับไล่ไม่ให้อยู่ ข่าตองเหลืองกลัวตายก็กลายเป็นพวกไม่เข้าหน้ามนุษย์ อาศัยเพิงพักชั่วคราวมานับแต่นั้น และสั่งห้ามมิให้บุตรภรรยารับประทานข้าวเด็ดขาด เพราะถือว่าข้าวเป็นต้นเหตุทำให้พวกตนถูกฆ่าตาย ต้องออกเร่ร่อนไปเรื่อย (หน้า 181-182)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ยุมบรีมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับชาวเอเชียปกติ กล่าวคือ มีผิวสีน้ำตาลอ่อนแต่ค่อนไปทางเหลือง ผิวสีไม่คล้ำอย่างพวกข่ามุและละว้า ค่อนข้างเตี้ย บ้างผิวขาวเหลืองแบบชาวเหนือ หญิงหน้าตาสะสวย ชายรูปร่างล่ำสันแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ อกนูน ไม่อ้วนพลุ้ยหรือผอมบาง มีใบหน้ารูปไข่ คิ้วหนา นัยน์ตาสองชั้นไม่มีแววดุร้าย จมูกโด่งนูน ริมฝีปากไม่หนา คางแหลมเล็ก ฟันสีมอ ผมดำเส้นหนาไม่หยิกงอ ผู้ชายนิยมเจาะหู (หน้า 182)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ผีตองเหลืองที่ศูนย์อนุรักษ์ป่าไม้ จ.น่าน (หน้า 176) กล้องยาสูบ มีดพร้าและมะขมของผีตองเหลือง (หน้า 193) ผีตองเหลือง (หน้า 194,195,196,197)

Text Analyst ศมณ ศรีทับทิม Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG มลาบรี มราบรี, คนป่า, ประวัติความเป็นมา, วิถีชีวิต, การแต่งกาย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง