สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ผู้ไท,โส้,ประเพณี,วัฒนธรรม,สกลนคร
Author สุรัตน์ วรางค์รัตน์
Title การศึกษาเปรียบเทียบประเพณีวัฒนธรรมของชาวผู้ไทย - ชาวโซ่ ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอพรรณานิคมและอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 116 Year 2541
Source สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสกลนคร
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมของผู้ไทยในอ.พรรณานิคม และโซ่ใน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร ในประเด็นประวัติความเป็นมา ระบบความเชื่อทางศาสนา ประเพณีการแต่งงานและระบบเครือญาติ ความเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลและประเพณีในการทำศพ ผลการวิจัยพบว่าผู้ไทยและโซ่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยได้ก่อตั้งชุมชนกระจัดกระจายบริเวณพื้นที่ จ.นครพนมและ จ.สกลนคร ผู้ไทยและโซ่มีความเชื่อหลายอย่างคล้ายกันคือการนับถือผีที่เชื่อว่าสิ่งนอกเหนือธรรมชาติมีอำนาจให้คุณและโทษแก่มนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติเหล่านี้ได้จึงต้องเซ่นสรวงบูชาเพื่อให้ประโยชน์แก่ตน ความเชื่อตามหลักพุทธศาสนาที่เชื่อว่าเป็นเครื่องมือทำให้เกิดความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ความเชื่อตามแบบคติพราหมณ์เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช การสู่ขวัญผู้ที่จะจากบ้านหรือกลับบ้าน การรับขวัญผู้เจ็บป่วย ผู้ไทยและโซ่เชื่อว่าการผิดจารีตประเพณีเป็นการผิดผี ทำให้ผีโกรธและลงโทษครอบครัว แต่ถ้าบูชาอย่างถูกต้อง ผีนั้นก็จะให้ประโยชน์มากกว่าโทษ พิธีกรรมงานศพของผู้ไทยและโซ่ประกอบด้วยพิธีกรรมย่อย มีความหมายซ่อนอยู่ในตัวของมันเอง เช่น การอาบน้ำศพสะอาดถือเป็นการชำระมลทินให้ผู้ตาย การจัดพิธีสวดพระอภิธรรมหรือสวดยอดมุขของผู้ไทยมีความหมายคล้ายพิธีซางกมูทของโซ่ที่ต้องการให้วิญญาณอยู่ในอาการสงบ ส่วนความแตกต่างในพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องวิญญาณที่แตกต่างกัน การโปรยข้าวตอกตามเส้นทางไปสู่ป่าช้าของผู้ไทยหมายถึงการไม่กลับมาอีก แต่โซ่เชื่อว่าข้าวตอกจะช่วยบอกเส้นทางกลับบ้าน ผู้ไทยจะทำบุญให้ผู้ตายไปสู่สุคติ แต่โซ่จะเรียกวิญญาณผู้ตายให้กลับมาอยู่ในบ้านเพื่อเป็นผีบ้านผีเรือนคุ้มครองลูกหลาน พิธีกรรมการแต่งงานของผู้ไทยและโซ่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน เริ่มตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว การสู่ขอ การหมั้นและการแต่งงาน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องฤกษ์งามยามดี ความเชื่อเรื่องขวัญ ความถูกต้องในพิธีกรรมจะทำให้เกิดความรุ่งเรือง ในตัวพิธีกรรมจะมีคำสอนในตัวของมันเอง ระบบครอบครัวของผู้ไทยและโซ่เป็นวงจร 2 แบบ เริ่มจากการเป็นครอบครัวเดี่ยวเมื่อหนุ่มสาวแต่งงานกันและมีบุตร บุตรแต่งงานก็อาจนำเอาสามีภรรยามารวมอยู่ในบ้านทำให้เกิดครอบครัวขยายหลังจากนั้นคู่สมรสจึงออกไปปลูกบ้านตั้งครอบครัวของตนโดยอิสระ โดยปลูกบ้านบริเวณใกล้เคียงกับบ้านของพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดบ้านเล็กในเขตบ้านใหญ่ (Multi - household Compound) เกิดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ แรงงาน ผู้ไทยและโซ่เลื่อมใสการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านตามวิธีทางไสยศาสตร์ ด้วยความเชื่อที่ว่าความเจ็บป่วยเกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติ การแก้ไขก็ต้องใช้อำนาจเหนือธรรมชาติเช่นเดียวกัน และบุคคลที่จะรักษาได้ต้องเป็นผู้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติได้ บุคคลผู้นั้นคือหมอไสยศาสตร์ซึ่งจะรักษาไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน

Focus

ศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมของผู้ไทยใน อ.พรรณานิคม และโซ่ ใน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร เน้นการศึกษาโครงสร้างของสังคมจากความเชื่อและพิธีกรรมของผู้ไทยและโซ่ทั้ง 2 กลุ่ม (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่ปรากฏ

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาผู้ไทยใน อ.พรรณานิคม และโซ่ ใน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร (หน้า 4-5)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้ไทยพูดภาษาตระกูล "ไทยกะได" (Tai-Kadai) (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

ไม่ปรากฏ

History of the Group and Community

ประวัติความเป็นมาของผู้ไทย 1. มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่สิบสองจุไทย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำดำ อาจแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ไทยบริเวณเมืองไล ดินแดนแถบนี้ได้รับอารยธรรมจากจีนเรียกผู้ไทยกลุ่มนี้ว่า "ผู้ไทยขาว" (2) กลุ่มผู้ไทยบริเวณเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูในปัจจุบัน ผู้ไทยกลุ่มนี้มีผิวคล้ำจึงเรียกว่า "ผู้ไทยดำ" 2. การอธิบายการอพยพของผู้ไทยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) ผู้ไทยอพยพจากเมืองแถง (น้ำน้อยอ้อยหนู) สิบสองจุไทมายังเชียงขวาง เพราะความแห้งแล้งที่เกิดจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอดอยากขาดแคลนไปทั่ว นอกจากนี้ยังเกิดจากความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูและผู้นำชาวผู้ไทย (2) การอพยพจากเมืองแถงไปเมืองวังคำของเมืองลาว จากที่ดินที่ไม่สามารถทำมาหากินได้ (3) การอพยพจากเมืองวังไปสู่บ้านพังพร้าว (อ.พรรณานิคม) เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2384 จากศึกสงครามระหว่างเวียงจันทร์กับกองทัพไทย ทำให้ผู้ไทยในเมืองวังรวมกำลังกันต่อสู้ก่อนจะอพยพเข้าไปในดินแดนญวณ ปล่อยให้กองทัพไทยบุกทำลายจนเสียหาย เมื่อกลับมาที่เมืองวังอีกครั้งจึงถูกเจ้าเมืองสกลนครเกลี้ยกล่อมให้อพยพข้ามโขงมาอยู่ที่สกลนคร ประวัติความเป็นมาของโซ่ ถิ่นฐานของโซ่ไม่ปรากฏแน่ชัดเพราะลักษณะของโซ่ที่มักไม่ค่อยออกมาเผชิญกับสังคมภายนอก อย่างไรก็ตามโซ่บางส่วนระบุว่าตนเองย้ายมาจากเมืองมหาชัยกองแก้ว บางส่วนก็ระบุว่ามาจากอู่เมืองวังหรือเมืองบ้ำ โดยการอพยพเข้าสู่เมืองสกลนครเป็นเพราะภัยของสงครามระหว่างกองทัพไทยและเวียงจันทร์โดยถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึก (หน้า 6-27)

Settlement Pattern

ไม่ปรากฏ

Demography

ไม่ปรากฏ

Economy

ไม่ปรากฏ

Social Organization

พิธีกรรมการแต่งงาน ของผู้ไทยและโซ่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน เริ่มตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว การสู่ขอ การหมั้นและการแต่งงาน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องฤกษ์งามยามดี ความเชื่อเรื่องขวัญ ความถูกต้องในพิธีกรรมจะทำให้เกิดความรุ่งเรือง ในตัวพิธีกรรมจะมีคำสอนในตัวของมันเอง เช่น การให้เจ้าบ่าวเหยียบก้อนหินที่ปูใบตองเพื่อให้คู่สมรสมีจิตใจเยือกเย็นหนักแน่น การป้อนไข่ ป้อนข้าว หมายถึง การรู้จักแบ่งปันแม้จะมีสิ่งของเพียงเล็กน้อยก็ตาม นอกจากนี้ยังมีคำสอนที่เป็นคำพูดทั้งคำผะหยาและคำกล่าวธรรมดาซึ่งเป็นคำสอนที่มีคุณค่าต่อชีวิตสมรสและเกิดความเป็นปึกแผ่นในครอบครัว "หมอล่าม" และ "หมอสื่อ" เป็นบุคลที่คู่สมรสเกรงใจและให้ความเคารพ เป็นผู้ไกล่เกลี่ยหาทางออกยามที่เกิดความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส ประเพณีและพิธีกรรมการแต่งงานของผู้ไทยและโซ่มีทั้งส่วนที่คล้ายกันและแตกต่างกัน เช่น โซ่จะให้ความสำคัญกับฝ่ายแม่มากกว่าผู้ไทย และจะเห็นได้จากการไหว้บรรพบุรุษที่ฝ่ายชายจะนับถือผีฝ่ายภรรยา ระบบครอบครัว ของผู้ไทยและโซ่เป็นวงจร 2 แบบ เริ่มจากการเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) ที่เมื่อหนุ่มสาวแต่งงงานกันและมีบุตร เมื่อบุตรแต่งงานก็อาจนำเอาสามีภรรยามารวมอยู่ในบ้านทำให้เกิดครอบครัวขยาย (Extended family) หลังจากนั้นคู่สมรสจึงออกไปปลูกบ้านตั้งครอบครัวของตนโดยอิสระ โดยปลูกบ้านบริเวณใกล้เคียงกับบ้านของพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดบ้านเล็กในเขตบ้านใหญ่ (Multi-household Compound) เกิดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ แรงงาน (หน้า 55-78)

Political Organization

ไม่ปรากฏ

Belief System

ผู้ไทยและโซ่มีความเชื่อหลายอย่างคละกันไป คือ (1) ความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ คือการนับถือผี เชื่อว่าสิ่งนอกเหนือธรรมชาติมีอำนาจให้คุณและโทษแก่มนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติเหล่านี้ได้จึงต้องเซ่นสรวงบูชาเพื่อให้ประโยชน์แก่ตน (2) ความเชื่อตามหลักพุทธศาสนา เชื่อว่าพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทำให้เกิดความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (3) ความเชื่อตามแบบคติพราหมณ์ เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสต่างๆ เช่นงานแต่งงาน งานบวช การสู่ขวัญผู้ที่จะจากบ้านหรือกลับบ้าน การรับขวัญผู้เจ็บป่วย เป็นต้น ผู้ไทยและโซ่เชื่อว่าการผิดจารีตประเพณีเป็นการผิดผี ทำให้ผีโกรธและลงโทษครอบครัว แต่ถ้าบูชาอย่างถูกต้อง ผีนั้นก็จะให้ประโยชน์มากกว่าโทษ เช่น ผีมเหสักข์ที่คุ้มครองคนที่เชื่อให้ประสบแต่ความสุขปราศจากอันตราย จึงต้องเซ่นไหว้ผีมเหสักข์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ความเชื่อเรื่องผีนาซึ่งเป็นผีที่อยู่ตามทุ่งนา หากทำพิธีถูกต้องก็จะช่วยคุ้มครองให้ต้นข้าวอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น ในที่นี้จะสรุปรายละเอียดความเชื่อเรื่องผีของผู้ไทยและโซ่ดังนี้ 1.ผีมเหสักข์ โซ่เชื่อว่ามีวิญญาณอยู่ทุกแห่งในโลกนี้ทั้งตามก้อนหิน บ้านเรือน ต้นไม้ มีพิธีกรรมบูชาผีมเหสักข์ทุกปีในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เพื่อให้ผีบันดาลความสุขให้ ส่วนผู้ไทยก็เชื่อเช่นเดียวกับโซ่ว่าผีมเหสักข์จะบันดาลความสุขมาให้ 2.ผีนา โซ่และผู้ไทยจะจัดพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีนาในช่วงเริ่มฤดูฝน เรียกตรงกันว่า "ผีตาแฮก" คือเลี้ยงผีครั้งแรกก่อนทำนา 3.ผีเรือน เมื่อตั้งหมู่บ้านแล้วชาวบ้านจะตั้งศาลที่เรียกว่า "ศาลปู่ตา" หรือ "ปู่ตาบ้าน" แล้วจะเชิญบรรพบุรุษของผีทุกชนิดมา ศาลจะตั้งอยู่ทางเข้าหมู่บ้านและมีผู้ดูแลเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผีปู่ตากับชาวบ้านเรียกว่า "เฒ่าจ้ำ" 4.ผีวงศ์ โซ่เชื่อเรื่องผีตระกูลหรือผีวงศ์มากกว่าผู้ไทย ผีวงศ์ของโซ่ถือฝ่ายแม่เป็นหลัก เป็นผีของวงศ์ตระกูลเป็นที่นับถือของครอบครัว (หน้า 31-51) ความเชื่อเรื่องวิญญาณของโซ่ วิญญาณของโซ่เรียกว่า "เยียง" เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติเช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ และร่างกายของมนุษย์ก็มีวิญญาณเช่นกับที่มีอยู่ในธรรมชาติ โซ่เชื่อว่าเมื่อตายแล้วแม้วิญญาณจะสิ้นชีวิตไปด้วยแต่จะไม่แตกสลาย ยังคงวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ศพ จนกว่าจะเผาหรือฝังแล้ว วิญญาณจึงจะล่องลอยเพื่อหาที่อยู่อาศัยใหม่ แม้จะเผาศพแล้วโซ่ยังต้องเรียกวิญญาณผู้ตายให้กลับมาที่บ้านด้วยการทำพิธีกรรมโดยผู้รู้ ที่อยู่ของวิญญาณจะอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของเรือน การดำเนินพิธีกรรมงานศพของโซ่จะมีพิธีที่เรียกว่า "ซางกมูท" หมายถึง การจัดพิธีเกี่ยวกับผู้ตายให้เรียบร้อยก่อนนำศพไปเผา โซ่เชื่อว่าการตายด้วยอาการธรรมชาติถือว่าเป็น "ผีดิบ" การทำพิธีซางกมูทก็เพื่อทำให้ "ผีดิบ" เป็น "ผีสุก" ไม่เช่นนั้นญาติพี่น้องก็จะได้รับอันตรายจากผีดิบ เช่น เกิดการเจ็บป่วย (หน้า 104-105, 107-110) ความเชื่อเรื่องวิญญาณของผู้ไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเชื่อว่าวิญญาณกับร่างกายแยกจากกัน เมื่อตายแล้ววิญญาณจะไปสู่สถานที่ที่แตกต่างกันตามการกระทำของแต่ละคน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มศิษย์ของ อ.มั่น ภูริทัตโต และ อ.ฝั้น อาจาโร ที่ไม่เชื่อในชีวิตหลังความตาย การหลุดพ้นกรรมที่ประเสริฐคือการไม่ต้องเกิดอีกต่อไป พิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพของผู้ไทยจะมีพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการแยกกันระหว่างผู้ที่ตายและผู้ที่อยู่ ช่วงที่นำศพไปยังป่าช้าจะโปรยข้าวตอกเพื่อให้ผู้ตายไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องวิญญาณของผู้ไทยที่ไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย (หน้า 105-106, 111-115)

Education and Socialization

ไม่ปรากฏ

Health and Medicine

แม้ชุมชนผู้ไทยและชุมชนโซ่จะอยู่ใกล้โรงพยาบาลที่เป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์แบบสมัยใหม่ แต่ชาวบ้านก็ยังคงเลื่อมใสการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านตามวิธีทางไสยศาสตร์ ด้วยความเชื่อที่ว่าความเจ็บป่วยเกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติ เกิดจากผีซึ่งเป็นอำนาจลึกลับ การแก้ไขก็ต้องใช้อำนาจเหนือธรรมชาติเช่นเดียวกัน และบุคคลที่จะรักษาได้ต้องเป็นผู้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติได้ บุคคลผู้นั้นคือหมอไสยศาสตร์ซึ่งใช้วิธีรักษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมีทั้งโรคทางกาย (Somatic Diseases) และโรคทางจิต (Psychic Diseases) โรคทางกายที่นิยมรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์คือโรคที่เกี่ยวกับกระดูก รักษาโดย "หมอดูก" ใช้การนวด และสมุนไพรและคาถาอาคมประกอบการรักษา ส่วนโรคทางจิต (การเซื่องซึมผิดปกติ พูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ มีลักษณะที่เรียกว่า "ผีเข้า" อยู่เสมอ และอาการของโรคจิตทุกชนิด) ก็รักษาด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการขาดแคลนจิตแพทย์ในโรงพยาบาลด้วย (หน้า 79-102)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ปรากฏชัดเจน

Folklore

ผู้ไทยเชื่อว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับข่าแจะ ลาวพุงขาว ฮ่อ แกวหรือญวน ที่อยู่ในผลน้ำเต้าเดียวกัน เมื่อแตกออกจากผลน้ำเต้าแล้วต่างเผ่าต่างออกไปตั้งบ้านเมืองของตัวเอง (หน้า 7-8)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ปรากฏ

Social Cultural and Identity Change

ความเชื่อเรื่องผีของผู้ไทยและโซ่เริ่มลดน้อยลง เช่น ความเชื่อเรื่องผีมเหสักข์ที่จะพบได้ในกลุ่มคนวัยกลางคนขึ้นไปเท่านั้น หมู่บ้านบางแห่งก็ไม่มีพิธีเลี้ยงผีมเหสักข์อีกต่อไป (หน้า 42-43) เช่นเดียวกับพิธีกรรมการเลี้ยงผีนาก็เริ่มลดน้อยลงเช่นเดียวกัน (หน้า 45)

Map/Illustration

รายงานการวิจัยชิ้นนี้เน้นไปที่ภาพประกอบงานวิจัยที่ช่วยสร้างความเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ของงานวิจัยให้มากยิ่งขึ้น เช่น ภาพการแต่งกายของสาวผู้ไทยและสาวไทโซ่ในภาคอีสานเมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสานปลาย พ.ศ.2449 - 2450 (หน้า 28) ภาพแสดงชาวไทยโซ่ที่กุสุมาลย์แสดงพิธีรักษาคนป่วยด้วยการเหยาและการแสดงโซ่ทั่งบั้ง (หน้า 54)

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG ผู้ไท, โส้, ประเพณี, วัฒนธรรม, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง