สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอแกน,ชาวเล,พื้นที่อนุรักษ์,โครงการนำร่องอันดามัน,หมู่เกาะสุรินทร์,พังงา
Author โครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์
Title คนพื้นเมืองกับพื้นที่อนุรักษ์
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอแกน บะซิง มาซิง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 82 Year 2546
Source โครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ยูเนสโก, โครงการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและเกาะขนาดเล็ก ยูเนสโก, สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาลยูเนสโก, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

หนังสือ "คนเมืองกับพื้นที่อนุรักษ์" เป็นการสรุปย่อโครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์ ที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาทางเลือกการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้การดำรงอยู่ของชุมชนและวัฒนธรรมมอแกนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและบ้านของมอแกน โดยเนื้อหาในหนังสือเป็นการสรุปกิจกรรมที่ทางโครงการฯได้ดำเนินการไปหลายโครงการ และมีเนื้อหาในแง่มุมต่างๆ ของมอแกนสอดแทรกอยู่ในหนังสือด้วย ทั้งประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต สุขภาพ ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพสังคมของมอแกนที่เปลี่ยนแปลงไป

Focus

สรุปย่อโครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์ โดยศึกษาผ่านชุมชนมอแกน

Theoretical Issues

ไม่ปรากฏ

Ethnic Group in the Focus

ไม่ปรากฏ

Language and Linguistic Affiliations

ชาวเล (มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย) ทั้ง 3 กลุ่มพูดภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน แต่ละกลุ่มจะมีภาษาย่อยของตนเองที่เป็นภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนหรือการบันทึกที่เป็นตัวอักษร เมื่อชาวเลตั้งถิ่นฐานถาวรจึงหันมาซึมซับวัฒนธรรมและภาษาไทยมากขึ้น เด็กชาวเลอูรักลาโว้ยรุ่นใหม่ในชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต เปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยปักษ์ใต้ในการติดต่อสื่อสาร ส่วนเด็กมอแกนเองเมื่อเข้ามาสู่การเรียนการสอนในระบบโรงเรียนก็หันมาใช้ภาษาไทย และเปลี่ยนจากที่เคยร้องเพลงมอแกนมาร้องเพลงยอดนิยมภาษาไทยแทน (หน้า 15, 42)

Study Period (Data Collection)

ไม่ปรากฏชัดเจน

History of the Group and Community

ในประเทศไทยมีชาวเล 3 กลุ่มคือ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย (หน้า 7, 15) โดยมอแกนหรือที่รู้จักกันในนามของชาวเลกลุ่มหนึ่งหรือ "ยิปซีทะเล" เป็นเผ่าเร่ร่อนทางทะเลที่อาศัยอยู่ตามเกาะและชายฝั่งของอันดามันมาเป็นเวลาร้อยๆ ปีมาแล้ว มีวิถีชีวิต ภาษาและวัฒนธรรมที่ต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย (หน้า 3, 15)

Settlement Pattern

ปัจจุบันชาวเลส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ไม่อพยพบ่อยครั้งเหมือนในอดีต โดยมอแกลนกระจายตัวตามหมู่บ้านใน จ.พังงา และภูเก็ต อูรักลาโว้ย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ บริเวณชายฝั่งหรือเกาะในจ.ภูเก็ต กระบี่และสตูล (หน้า 15-16) ส่วนวิถีชีวิตของมอแกนเป็นแบบกึ่งเร่ร่อน เดินทางทางทะเลบ่อยครั้ง มอแกนส่วนหนึ่งเริ่มตั้งหลักแหล่งอย่างถาวร โดยเฉพาะที่หมู่เกาะสุรินทร์ซึ่งห่างจากชายฝั่ง อ.คุระบุรี จ.พังงา ไปประมาณ 60 กม. มอแกนตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ก่อนที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติด้วยซ้ำ การตั้งถิ่นฐานบนเกาะสุรินทร์มีไม่น้อยกว่า 4 ชั่วอายุคน มอแกนที่หมู่เกาะสุรินทร์ประมาณ 150 คน จะสร้างบ้านไม้ใต้ถุนสูงบนชายหาด โยกย้ายหมู่บ้านเป็นครั้งคราวเมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น (หน้า 7, 16-17, 40, 45) ไม้ที่มอแกนตัดมาเพื่อทำเสาบ้านมีลำต้นตรงเส้นรอบวงขนาด 16-35 เซนติเมตร ความยาวของเสาบ้านอยู่ระหว่าง 3.5-6.5 ฟุต เป็นไม้ขนาดไม่ใหญ่เพื่อสะดวกต่อการตัดและการขนย้าย บ้านของมอแกนสร้างจากวัสดุที่หาได้ในธรรมชาติ มอแกนจะซ่อมแซมบ้านประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง (หน้า 35)

Demography

มอแกลน มีประชากรประมาณ 2,500 คน กระจายตัวตามหมู่บ้านในจ.พังงาและภูเก็ต อูรักลาโว้ย มีประชากรประมาณ 4,000 คน ถือว่าเป็นชาวเลกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มอแกน มีประชากรในเขตประเทศไทยประมาณ 400 คน และในเขตประเทศเมียนมาร์อีกประมาณ 2,000 - 3,000 คน (หน้า 16) สำหรับประชากรมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์มีจำนวนขึ้นลงระหว่าง 130-200 คน เพราะบางครอบครัวยังอพยพโยกย้ายไปมา อัตราการเกิดสูง แต่อัตราการตายของเด็กทารกก็สูงเช่นเดียวกัน ผู้ชายมอแกนมีอายุไม่ยืนเพราะการติดสารเสพติด (ยาเส้น เหล้าขาว สารกระตุ้น) ซึ่งต้องเพิ่มปริมาณการใช้เพื่อให้ทำงานได้มากขึ้น ประชากรหญิงมอแกนจึงมีมากกว่า และทำให้เป็นแม่หม้ายที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูสมาชิกครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น (หน้า 20-21, 40)

Economy

มอแกนเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ทำมาหากินและพึ่งพิงเกาะสุรินทร์ก่อนที่จะถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ดำรงชีพด้วยทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล เน้นการยังชีพโดยหาอาหารจากธรรมชาติ เช่น แทงปลา งมหอยทะเล ต่อมาเมื่อมอแกนถูกดึงเข้ามาในระบบค้าขายแลกเปลี่ยน ข้าวจึงกลายเป็นอาหารหลัก เมื่อหมู่เกาะสุรินทร์กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มอแกนได้รับอนุญาตให้ขายสินค้าที่หาได้จากทะเลแก่นักท่องเที่ยว เช่น เปลือกหอยและสัตว์ทะเล โดยเงินที่ได้จะนำไปซื้อสิ่งของที่จำเป็นจำพวกข้าวสาร แต่เริ่มต้นปี พ.ศ.2539 อุทยานฯไม่อนุญาตให้ค้าขายเปลือกหอยอีกต่อไปเพราะเกรงผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศ โดยอุทยานจัดตั้งกองทุนมอแกนเพื่อรับบริจาคเงินจากนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นทุนซื้อข้าวสารและสิ่งของจำเป็นให้แก่มอแกน มีการจ้างมอแกนทำงานในอุทยานฯ เช่น ขับเรือ เก็บขยะ ล้างจาน เป็นต้น (หน้า 7, 16-18, 45, 64) ป่าเป็นแหล่งอาหาร แหล่งวัตถุดิบทำเรือและเครื่องมือเครื่องใช้รวมไปถึงเป็นแหล่งสมุนไพร มอแกน ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ใช้ประโยชน์จากพืชจำนวน 159 ชนิด 54 วงศ์ ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ 24 ชนิด แยกประเภทการใช้ประโยชน์ได้ 4 ประเภทคือ พืชอาหาร พืชสมุนไพร ไม้สร้างที่อยู่อาศัย และการใช้ประโยชน์อื่นๆ จำนวน 83, 33, 57 และ 54 ชนิด ตามลำดับ (หน้า 35-37, 45-46)

Social Organization

ไม่ปรากฏ

Political Organization

หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยสำนักงานอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหัวหน้าอุทยานฯ ผู้ช่วยฯ เจ้าหน้าที่ที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 30-40 คน (หน้า 17) หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในการปกครองของ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี บางครั้งจะมีหน่วยงานราชการมาเยี่ยมบ้าง มอแกนยังถือว่าเป็นคนไร้สัญชาติและหน่วยงานราชการเองก็ยังไม่มีการวางแนวทางที่ชัดเจนในเรื่องนี้ (หน้า 19-20)

Belief System

ชาวเลทั้ง 3 กลุ่ม (มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย) ต่างมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มีประเพณีบางอย่างคล้ายคลึงกัน เช่น พิธีฉลองวิญญาณบรรพบุรุษและพิธีลอยเรือ (หน้า 15) มอแกลน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ยังมีบางส่วนที่ยังเชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษ โดยจะมีงานฉลองใหญ่ใน อ.บางสัก จ.พังงา ทุกปี อูรักลาโว้ย ในหลายหมู่บ้านยังคงมีพิธีลอยเรือปีละ 2 ครั้ง มอแกน มีพิธีประจำปีคืองานฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยมอแกนจากเกาะต่างๆ จะชุมนุมกันเพื่อร่วมงานฉลองโดยงดออกทะเล 3 วัน 3 คืน (หน้า 16)

Education and Socialization

ปี พ.ศ.2537 มีการจัดตั้งโรงเรียนขนาดเล็กชื่อว่า "โรงเรียนสุรัสวดี" เพื่อสอนวิชาพื้นฐาน (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ พลศึกษา ฯลฯ) ให้กับเด็กมอแกนเพื่อให้มีความรู้เบื้องต้นที่สามารถติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอกได้ ต่อมาโรงเรียนนี้จึงเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านปากจก ต.เกาะพระทอง มีครูสอนนักเรียนอย่างเป็นทางการ ส่วนเครื่องแบบและอุปกรณ์การเรียนได้รับการบริจาคจากนักท่องเที่ยวและไต้ก๋งเรือประมงที่เดินทางไปมาบริเวณเกาะสุรินทร์ (หน้า 19)

Health and Medicine

มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยควบคุมโรคติดต่อ อ.คุระบุรีเดินทางมาที่หมู่เกาะสุรินทร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อฉีดยากำจัดยุงและตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่อุทยานฯและมอแกน หากพบว่าป่วยไข้ไม่สบาย อาจจะนำขึ้นฝั่งเพื่อไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่บ้านปากจก หรือพบแพทย์ที่โรงพยาบาลคุระบุรีหรือโรงพยาบาลระนอง แต่มอแกนก็ไม่อยากเดินทางเข้ามาในเมืองเนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน และความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย เหตุนี้มอแกนจึงไม่ค่อยได้เข้ามาตรวจรักษาในโรงพยาบาลเท่าไหร่นัก (หน้า 20) ทำให้มอแกนมีปัญหาสุขภาพค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโรคท้องร่วง ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง หอบหืด โรคผิวหนัง แผลติดเชื้อ ส่วนเด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ พยาธิ แผลและฝี อัตราการตายของเด็กทารกอยู่ในเกณฑ์สูงเนื่องจากขาดสารอาหารที่จำเป็นและท้องเสีย เนื่องจากแม่มักนำนมข้นหวานละลายน้ำเลี้ยงทารก (หน้า 66-68) อย่างไรก็ตาม ในอดีตมอแกนใช้พืชสมุนไพรมาบำบัดอาการเจ็บป่วย เช่น อาการบวม ไข้ ส่วนของพืชที่นำมาใช้มากที่สุดคือใบ รองลงมาคือผล เปลือกลำต้น ลำต้น เหง้า และเมล็ด เช่น เปลือกของต้นหยีทะเล (บะอ้าย) มาฝนกับน้ำชโลมที่ศีรษะและตัวของเด็กอ่อนเพื่อบรรเทาอาการไข้ ใช้ใบของต้นรักทะเล (บู่บอง) มานวดเพื่อแก้เคล็ดขัดยอก เป็นต้น (หน้า 35, 45-46)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

งานหัตถกรรมของมอแกนเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมายาวนาน ผู้หญิงมอแกนมีความสามารถสานเสื่อเพื่อรองนั่งและนอน สานกระปุกเพื่อเก็บเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ นิยมใช้สีเคมีมาย้อมมากกว่าสีธรรมชาติที่ได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช เพราะสีธรรมชาติทำให้งานที่ออกมาไม่สวย สีซีดดูเหมือนของเก่าส่วนผู้ชายมอแกนมีงานฝีมือทำเรือก่าบางจำลองขนาดเล็กประมาณ 2-4 ฟุต เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะขนาดใหญ่และราคาแพง มอแกนบางคนสนใจงานแกะสลัก ทำเสาวิญญาณบรรพบุรุษเป็นงานฝีมือจำหน่ายในรูปของแท่นวางปากกา แท่นกั้นหนังสือ เป็นต้น (หน้า 54- 56) เรือก่าบาง เป็นทั้งพาหนะสำหรับใช้เดินทางไปตามเกาะต่างๆ และเป็นบ้านของมอแกนมาตั้งแต่อดีต ความเชื่อเรื่องการสร้างเรือก่าบางนอกจากอาศัยความสามารถด้านการช่างแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงกับความเชื่อหลายอย่างที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกรูปทรงและขนาดของไม้ การขอไม้จากเจ้าที่ในป่า การจัดวางและใช้เครื่องมือสร้างเรือ (หน้า 57-59) "เหยียะเน่ มอแกน" หรือเพลงของมอแกน ส่วนใหญ่เป็นเพลงร้องคู่สลับกันระหว่างชายหญิง และสลับระหว่างเสียงร้องและเสียงบรรเลงของก่าติ๊ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเครื่องสายของมอแกน ใช้คันสีคล้ายซอ ประกอบจังหวะด้วยรำมะนาหรือที่มอแกนเรียกว่า "บ่านา" โดยนักร้องจะคิดเนื้อเพลงขึ้นมาเดี๋ยวนั้นโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบ โดยอาศัยโครงเรื่องของเพลงดั้งเดิมที่เป็นที่นิยมกัน (หน้า 75-76)

Folklore

ไม่ปรากฏ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชื่อภาษาอังกฤษของชาวเลคือ "Sea gypsies หรือ "Sea nomads" หรือ "ยิปซีทะเล" นั่นเอง (หน้า 3, 15) เนื่องจากมอแกลนตั้งถิ่นฐานถาวรมานานกว่า 100 ปีแล้ว ทำให้ภาษาและวัฒนธรรมผสมผสานกับความเป็นไทยค่อนข้างมากและมีสถานะเป็นพลเมืองไทย บางครั้งจึงเรียกว่า "ไทยใหม่" เช่นเดียวกับ อูรักลาโว้ย ก็ถูกเรียกว่า "ไทยใหม่" เช่นกัน (หน้า 16)

Social Cultural and Identity Change

การพัฒนาพื้นที่ที่เป็นถิ่นฐานของชาวเลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมไปถึงการบังคับใช้กฎระเบียบในการอนุรักษ์ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวเลกลุ่มต่างๆ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่เคยดำรงชีวิตเร่ร่อนมาเป็นการปักหลักอาศัยอยู่บนเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา หาดราไวย์และเกาะสิเหร่ จ.ภูเก็ต เกาะลันตา จ.กระบี่ และเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล โดยชาวเลกลุ่มต่างๆ ถูกระบบตลาดครอบงำให้เก็บทรัพยากรเพื่อการค้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณีของชาวเลกลุ่มต่างๆ ได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน เช่น มอแกนหันมาบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักแทนที่อาหารที่หาได้จากธรรมชาติ นอกจากนี้อาหารจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมถุง น้ำอัดลม ก็เป็นที่นิยมของมอแกนเช่นกัน (โดยเฉพาะเด็กๆ) (หน้า 10-11, 64) นอกจากนี้การที่เด็กชาวเลได้เข้ารับการศึกษาในระบบ จึงถูกกระบวนการกลายเป็น "ไทยใหม่" ทำให้ภาษาและวัฒนธรรมของชาวเลเริ่มเจือจางลงทุกที เด็กชาวเลหันมาใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น รวมไปถึงการร้องเพลงที่นิยมร้องเพลงยอดนิยมของไทยมากกว่าเพลงของกลุ่มตัวเอง (หน้า 42) เมื่อมอแกนตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านถาวร ทำให้การเดินทางด้วยเรือก่าบางลดลงและอุทยานแห่งชาติมีข้อจำกัดเรื่องการตัดต้นไม้ใหญ่ มอแกนจึงหันมาใช้ "เรือหัวโทง" ที่ซื้อมาหรือให้ยืมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทำให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเรือก่าบางมีแนวโน้มจะสูญหายไป (หน้า 57)

Other Issues

"โครงการนำร่องอันดามัน" เริ่มขึ้นด้วยการสำรวจภาคสนามเมื่อปี พ.ศ.2540 เพื่อค้นหาทางเลือกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้การดำรงอยู่ของชุมชนและวัฒนธรรมมอแกนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและบ้านของมอแกน โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้แต่ละฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่และมรดกอันทรงคุณค่าร่วมกัน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่างกิจกรรมต่างๆ ของโครงการขึ้น เช่น การประชุมครั้งแรกที่จัดขึ้นในเดือน พ.ย.2541 เป็นการระดมความคิดเห็นในประเด็นเรื่องทางเลือกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นไปที่การทำมาหากินของมอแกนและการพึ่งพาทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล การกำหนดเขตอนุรักษ์ (Zoning) สุขภาพอนามัย การศึกษาของมอแกน การประชุมครั้งต่อมาเป็นการนำเสนอพันธกิจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายหลังจากการประชุมครั้งแรก โดยการประชุมแต่ละครั้งก็จะมีกิจกรรมของโครงการที่ถูกนำเสนอ เช่น การประเมินสภาพทรัพยากรธรรมชาติและความรู้พื้นบ้านของมอแกน การจัดพิมพ์หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง "ชีวิตพวกเรา ชาวทะเล" (หน้า 7-13) โดยทางโครงการฯมีกิจกรรมที่วางแผนจะจัดในอนาคต เช่น การจัดทำเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนำร่องอันดามัน การจัดกิจกรรมอนุรักษ์เต่าทะเล การร่างและจัดพิมพ์หนังสืออ่านเพิ่มเติมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และการจัดทำพจนานุกรมประกอบภาพ การสำรวจเพื่อผลักดันเรื่องสัญชาติและบัตรประชาชนของมอแกน และการวางแผนจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสานต่อโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (หน้า 77-80)

Map/Illustration

หนังสือเล่มนี้มีภาพและตารางแสดงข้อมูลประกอบเล่มเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของเนื้อหาให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น ภาพการหาอาหารตามแหล่งธรรมชาติในทะเลของมอแกน (หน้า 24) ภาพแสดงเด็กมอแกนในโรงเรียน (หน้า 43) ภาพการสร้างเรือก่าบาง (หน้า 57-59)

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG มอแกน, ชาวเล, พื้นที่อนุรักษ์, โครงการนำร่องอันดามัน, หมู่เกาะสุรินทร์, พังงา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง