สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ขมุ,,การเลือกใช้ภาษา,การสื่อสาร,ทัศนคติต่อภาษา,บ้านน้ำสอด,ทุ่งช้าง,น่าน
Author สถาพร บุญประเสริฐ
Title A Study of Language Choice For Social Communication Among Hmong, Khmu, and Prai at Ban Nansord, Thung Chang District, Nan Province
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ม้ง, กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 121 Year 2532
Source A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for The Degree of Master of Arts (Linguistic) in Faculty of Graduate Studies, Mahidol University
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การใช้ภาษาของชุมชนม้ง ขมุ และปรัย ที่บ้านน้ำสอด อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยจะศึกษาภาษาที่ใช้ภายในกลุ่มของตนเองและติดต่อกันระหว่างกลุ่ม รวมทั้งการติดต่อกับคนไทย โดยดูว่าแต่ละกลุ่มจะมีการเลือกใช้ภาษาใด ในสถานการณ์ใด และกับใคร เพื่อใช้เป็นแนวทางอธิบายสภาพชุมชน ว่ามีสภาพการใช้ภาษาเป็นอย่างไร ต้องการที่จะเรียนภาษาใดมากน้อยเพียงใด

นอกจากศึกษาการใช้ภาษาแล้ว ยังศึกษาทัศนคติที่กลุ่มคนเหล่านั้นต่อภาษา วัฒนธรรม และบุคคลต่างๆ ด้วย ผลจากการวิจัยพบว่า กลุ่มม้งยังมีการเลือกใช้ภาษาของตนเองมากที่สุด ในการติดต่อภายในกลุ่มตนเอง รองลงมาคือกลุ่มขมุ และกลุ่มปรัย ส่วนในการติดต่อระหว่างกลุ่มแต่ละกลุ่มก็จะมีการเลือกใช้ภาษาคำเมืองและไทยกลางไปตามแต่ละสถานการณ์ สำหรับทัศนคติต่อภาษา กลุ่มขมุเป็นกลุ่มที่จะมีความรู้สึกอาย ที่จะพูดภาษาตนเองในที่ชุมชนมากกว่ากลุ่มอื่น และยังเป็นกลุ่มที่อยากอยู่ร่วมกับคนไทยและให้บุตรหลานเรียนภาษาไทยมากกว่ากลุ่มอื่น ในขณะที่กลุ่มม้งเป็นกลุ่มที่ต้องการให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของตนน้อยกว่ากลุ่มปรัย และพวกเขายังเป็นกลุ่มที่มีความขัดแย้งกับเพื่อนต่างกลุ่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ (หน้า I )

Focus

ศึกษาการใช้ภาษาของชุมชนม้ง ขมุ และปรัย (หรือที่บางคนเรียกว่าไปร หรือไพร) ที่บ้านน้ำสอด อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยจะศึกษาภาษาที่ใช้ภายในกลุ่มของตนเองและติดต่อกันระหว่างกลุ่ม รวมทั้งการติดต่อกับคนไทย โดยดูว่าแต่ละกลุ่มจะมีการเลือกใช้ภาษาใด ในสถานการณ์ใด และกับใคร เพื่อใช้เป็นแนวทางอธิบายสภาพชุมชน ว่ามีสภาพการใช้ภาษาเป็นอย่างไร ทัศนคติที่กลุ่มคนเหล่านั้นต่อภาษาเป็นอย่างไร (หน้า 3-4)

Theoretical Issues

1. กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มจะยังคงเลือกใช้ภาษาของตนเองในการติดต่อสื่อสารกันภายในกลุ่มของตน

2. กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสามกลุ่มเลือกที่จะใช้ภาษาคำเมืองในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม

3. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความหลากหลายของการเลือกใช้ภาษาขึ้นอยู่กับการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่ม ไม่ใช่การติดต่อสื่อสารภายในกลุ่ม (หน้า 4)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ขมุ และปรัย ในบ้านน้ำสอด อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

Language and Linguistic Affiliations

โดยทั่วไปแล้วแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงใช้ภาษาของตน ไม่ว่าจะอพยพโยกย้ายถิ่นฐานใหม่ อยู่แยกออกจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นหรือกลืนกลายเข้ากับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น จึงเกิดสถานการณ์การติดต่อกันของภาษาและวัฒนธรรมขึ้น

1. กลุ่ม, ตระกูลภาษาภาษาม้งจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา Miao-Yao ซึ่งอยู่ในสาขา Sino-Tibetan ซึ่งภาษา Miao เป็นภาษาแบบพยางค์เดี่ยว และยืมคำบางคำมาจากภาษาจีน (หน้า18) ภาษาขมุจัดอยู่ในกลุ่มภาษา Palaung Wa ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษา Mon-Khmer ในตระกูลภาษา Austroasiatic (หน้า19) ภาษาปรัยเป็นกลุ่มย่อยของภาษา Khmuic ในกลุ่มภาษา Mon-Khmer ของตระกูลภาษา Austroasiatic ซึ่งใกล้ชิดกับภาษาขมุ (หน้า19)

2. การเลือกใช้ภาษา 2.1 การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารภายในกลุ่มชาติพันธุ์ 2.1.1 ม้ง จากการศึกษาม้ง 350 คน พบว่าเลือกใช้ภาษาม้งเป็นอันดับแรก การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารภายในกลุ่มสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ 1. ภาษาม้งเท่านั้น 2. ภาษาม้งและภาษาคำเมือง 3. ภาษาม้งและภาษาไทยกลาง 2.1.1.1 การสื่อสารภายในครอบครัว การสื่อสารภายในครอบครัวพบว่าเลือกใช้ภาษาม้ง 95.71% เลือกใช้ภาษาม้งและภาษาคำเมือง 4% และเลือกใช้ภาษาม้งและภาษาไทยกลาง 0.28%ไม่พบความแตกต่างในกรณีที่มีความแตกต่างทางลำดับญาติระหว่างผู้พูดหรือหัวข้อที่คุยกัน 2.1.1.2 การสื่อสารกับเพื่อนบ้าน การศึกษาจำแนกสถานการณ์การสื่อสารออกเป็นสองกรณี คือ สถานที่ (ในและนอกหมู่บ้าน) และหัวข้อ (ในเชิงสังคมและอย่างเป็นทางการ) การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน พบว่าไม่มีความแตกต่างในการเลือกใช้ภาษาในแง่ของหัวข้อ คือเลือกใช้แต่ภาษาม้ง ส่วนในกรณีการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายนอกหมู่บ้าน พบว่า 89.71%ใช้ภาษาม้ง 10.29% ใช้ภาษาไทยกลางหรือภาษาคำเมืองควบคู่ไปกับภาษาม้ง 2.1.2 ขมุ จากการศึกษาขมุ156คน พบว่าใช้ภาษาในการสื่อสารภายในกลุ่มสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ 1. ภาษาขมุเท่านั้น 2. ภาษาขมุและภาษาคำเมือง

3. ภาษาคำเมืองเท่านั้น

4. ภาษาขมุ ภาษาปรัย และภาษาคำเมือง

5. ภาษาขมุและภาษาไทยกลาง 2.1.2.1 การสื่อสารภายในครอบครัว เนื่องจากขมุเป็นชาติพันธุ์แรกที่ตั้งถิ่นฐานในบ้านน้ำสอด ระดับการกลืนกลายกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นจึงมีมากกว่าม้งและปรัยที่อพยพมาทีหลังการสื่อสารภายในครอบครัวพบว่าเลือกใช้ภาษาขมุ 50.64% ภาษาขมุและภาษาคำเมือง 35.26% ภาษาคำเมืองเท่านั้น 12.82% ภาษาขมุ ภาษาปรัย และภาษาคำเมือง 1.28% 2.1.2.2 การสื่อสารกับเพื่อนบ้าน การศึกษาจำแนกสถานการณ์การสื่อสารออกเป็นสองกรณี คือ สถานที่ (ในและนอกหมู่บ้าน) และหัวข้อ (ในเชิงสังคมและอย่างเป็นทางการ) การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน พบว่าใช้ภาษาขมุ 73.08% ภาษาขมุและภาษาคำเมือง 15.38% และใช้ภาษาขมุและภาษาไทยกลาง 11.54% ส่วนในกรณีการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายนอกหมู่บ้าน พบว่าใช้ภาษาคำเมือง 62.80% ใช้ภาษาขมุ 29.50% ใช้ภาษาขมุและภาษาคำเมือง 5.1% และใช้ภาษาขมุและภาษาไทยกลาง 2.6% นั่นหมายความว่าขมุนิยมใช้ภาษาคำเมืองในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายนอกหมู่บ้านมากที่สุด 2.1.3 ปรัย

จากการศึกษาปรัย80คน พบว่า การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารภายในกลุ่มสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ 1. ภาษาปรัยเท่านั้น 2. ภาษาปรัยและภาษาคำเมือง 3. ภาษาคำเมืองเท่านั้น 4. ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 2.1.3.1 การสื่อสารภายในครอบครัว การสื่อสารภายในครอบครัวพบว่าเลือกใช้ภาษาปรัย 68.75% และใช้ภาษาปรัยและภาษาคำเมือง 31.25% 2.1.3.2 การสื่อสารกับเพื่อนบ้าน การศึกษาจำแนกสถานการณ์การสื่อสารออกเป็นสองกรณี คือ สถานที่(ในและนอกหมู่บ้าน) และหัวข้อ (ในเชิงสังคมและอย่างเป็นทางการ) การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน พบว่าไม่มีความแตกต่างในการเลือกใช้ภาษาในแง่ของหัวข้อ คือใช้ภาษาปรัย 91.25% ใช้ภาษาคำเมือง 16.25% ใช้ภาษาปรัยและภาษาคำเมือง 2.5% ส่วนในกรณีการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อนบ้านที่เกิดขึ้นภายนอกหมู่บ้าน พบว่าไม่มีความแตกต่างในการเลือกใช้ภาษาในแง่ของหัวข้อเช่นกัน คือใช้ภาษาคำเมือง 47.50% ใช้ภาษาปรับและภาษาคำเมือง 50% ใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 2.5% 2.2 การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษาการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์จะศึกษาผ่านประเด็น 7 ประเด็น ได้แก่ การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ ความปลอดภัย การนินทา การทักทาย และการค้าขาย ซึ่งแต่ละประเด็นจะแสดงถึงคู่สนทนา สถานที่ที่เกิดการสนทนา และหัวข้อที่สนทนา 2.2.1ม้ง 2.2.1.1 ในประเด็นการศึกษาซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับบทเรียนหรือการบ้านกับครู ในม้ง73คนพบว่า ใช้ภาษาไทยกลาง 69.86% ใช้ภาษาคำเมือง 30.14% ม้งเป็นกลุ่มเดียวที่มีการใช้ภาษาคำเมืองในการศึกษาเพราะยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการศึกษาภาษาไทยกลาง 2.2.1.2 ในประเด็นสุขภาพ พบว่าปัจจัยด้านอายุและการศึกษามีความสำคัญต่อการเลือกใช้ภาษาในประเด็นนี้มาก กล่าวคือ ในปัจจัยด้านอายุพบว่าม้งที่มีอายุน้อยเลือกใช้ภาษาคำเมืองมากกว่าภาษาม้ง ในขณะที่ม้งที่มีอายุมากเลือกใช้ภาษาม้งมากกว่าภาษาคำเมือง ส่วนในปัจจัยด้านการศึกษาพบว่า ม้งที่ได้รับการศึกษาจะเลือกใช้ภาษาคำเมืองมากกว่าภาษาม้ง ในขณะที่ม้งที่ไม่ได้รับการศึกษาจะเลือกใช้ภาษาม้งมากกว่าภาษาคำเมือง 2.2.1.3 ในประเด็นความเป็นอยู่ พบว่าเป็นการสื่อสารระหว่างม้งกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับการยกระดับความเป็นอยู่หรือการปลูกพืชผักต่างๆ เลือกใช้ภาษาคำเมือง 48.65% ใช้ภาษาไทยกลาง 29.73% และใช้ภาษาม้ง 21.62% 2.2.1.4 ในประเด็นความปลอดภัย มีม้งเพียง 9 คนที่พูดคุยกับตำรวจชายแดนเกี่ยวกับความปลอดภัย เพราะม้งคนอื่นๆ รู้สึกว่าหมู่บ้านของตนปลอดภัยดีอยู่แล้ว 2.2.1.5 ในประเด็นการนินทา เป็นการพูดคุยกับขมุและปรัยถึงเรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในม้ง 350 คนนั้น มี 312 คนที่ไม่พูดคุยเรื่องนี้กับชาติพันธุ์อื่น ในจำนวนคนที่คุยนั้นพบว่าปัจจัยด้านอาชีพและการศึกษาเกี่ยวข้องมาก กล่าวคือ ม้งที่ได้รับการศึกษาเลือกใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง ในขณะที่ม้งที่ไม่ได้รับการศึกษาเลือกใช้ภาษาคำเมือง ในด้านปัจจัยด้านอาชีพนั้น พบว่าม้งที่เป็นเกษตรกรนั้นเลือกใช้ภาษาคำเมืองมากกว่าภาษาภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง ในขณะที่ม้งที่เป็นนักเรียนนั้นเลือกใช้ภาษาภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 2.2.1.6 ในประเด็นการทักทายนั้น แบ่งคู่สนทนาออกเป็นการสนทนากับขมุ ปรัย ครู เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ ตำรวจชายแดน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีม้งเพียง 38 คนจาก 350 คนที่สื่อสารกับขมุและปรัย ในประเด็นนี้ม้งเลือกใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 55.26% ใช้ภาษาคำเมือง 44.74% ในการสื่อสารกับครู พบว่ามีปัจจัยด้านอายุ การศึกษา และอาชีพเกี่ยวข้องมาก ม้งที่มีอายุน้อยจะใช้ภาษาไทยกลางมาก ในขณะที่ม้งที่มีอายุมากจะใช้ภาษาคำเมืองมาก ในด้านการศึกษา ม้งที่ไม่ได้รับการศึกษาจะใช้ภาษาคำเมือง ส่วนม้งที่ได้รับการศึกษาจะใช้ภาษาไทยกลาง ในด้านอาชีพ เกษตรกรจะใช้ภาษาคำเมือง ในขณะที่นักเรียนจะใช้ภาษาไทยกลาง ในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ พบว่าจากปัจจัยด้านเพศนั้น ชายม้งเลือกใช้ภาษาไทยกลาง ในขณะที่หญิงม้งเลือกใช้ภาษาม้ง ส่วนปัจจัยด้านอายุพบว่าม้งอายุน้อยจะใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ม้งอายุมากจะใช้ภาษาม้งมากที่สุด ด้านปัจจัยด้านการศึกษา พบว่าม้งที่ได้รับการศึกษาจะใช้ภาษาไทยกลาง ในขณะที่ม้งที่ไม่ได้รับการศึกษาจะใช้ภาษาม้งมากที่สุด ปัจจัยด้านอาชีพ พบว่าม้งที่เป็นเกษตรกรจะใช้ภาษาม้งมากที่สุด ส่วนม้งที่เป็นนักเรียนจะใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ในการสื่อสารกับตำรวจชายแดน พบว่าปัจจัยด้านอายุนั้น มีม้งอายุน้อยบางคนที่ใช้ภาษาไทยกลางบ้าง ในขณะที่ม้งอายุมากจะใช้ภาษาไทยกลางทั้งหมด 2.2.1.7 ในประเด็นการค้าขายนั้น เป็นการสื่อสารระหว่างม้งกับเจ้าของร้านค้าเล็กๆ ในหมู่บ้าน จากปัจจัยด้านอายุพบว่า ม้งอายุน้อยจะเลือกใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ในขณะที่ม้งอายุมากจะใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลางควบคู่กันมากที่สุด 2.2.2 ขมุ 2.2.2.1 ประเด็นการศึกษาซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับบทเรียนหรือการบ้านกับครูพบว่า ใช้ภาษาไทยกลาง 69.09% ใช้ภาษาคำเมือง 24.55% ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 6.36% 2.2.2.2 ประเด็นสุขภาพ พบว่าขมุทุกคนเลือกใช้ภาษาคำเมือง 2.2.2.3 ประเด็นความเป็นอยู่ พบว่าเป็นการสื่อสารระหว่างขมุกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับการยกระดับความเป็นอยู่ ปัจจัยด้านอายุและการศึกษามีความสำคัญ กล่าวคือ ขมุอายุน้อยเลือกใช้ภาษาไทยกลาง ในขณะที่ขมุอายุมากเลือกใช้ภาษาคำเมือง ในด้านการศึกษา ขมุที่ได้รับการศึกษาจะเลือกใช้ภาษาไทยกลางมาก ในขณะที่ขมุที่ไม่ได้รับการศึกษาจะเลือกใช้ภาษาคำเมือง 2.2.2.4 ประเด็นความปลอดภัย มีขมุเพียง 16 คนที่พูดคุยกับตำรวจชายแดนเกี่ยวกับความปลอดภัย และเลือกใช้ภาษาคำเมือง 2.2.2.5 ประเด็นการนินทา เป็นการพูดคุยกับม้งและปรัยถึงเรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่ จากปัจจัยด้านเพศพบว่า ขมุเพศชายเลือกใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง ในขณะที่หญิงขมุเลือกใช้ภาษาคำเมือง และภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลางมากพอๆกัน ส่วนปัจจัยด้านอาชีพพบว่า อาชีพเกษตรกรเลือกใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด ในขณะที่นักเรียนใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุดเช่นกัน แต่ก็ใช้ภาษาไทยกลางมากกว่าเกษตรกร 2.2.2.6 ประเด็นการทักทายนั้น แบ่งคู่สนทนาออกเป็นการสนทนากับม้ง ปรัย ครู เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ ตำรวจชายแดน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การสนทนากับม้ง ปรัยขมุเลือกใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 57.14% ใช้ภาษาคำเมือง 42.86% ในการสื่อสารกับครู พบว่ามีปัจจัยด้านอายุ การศึกษา และอาชีพเกี่ยวข้องมาก ขมุที่มีอายุน้อยจะใช้ภาษาไทยกลางมาก ในขณะที่ขมุที่มีอายุมากจะใช้ภาษาคำเมืองมาก ในด้านการศึกษา ขมุที่ไม่ได้รับการศึกษาจะใช้ภาษาคำเมือง ส่วนขมุที่ได้รับการศึกษาจะใช้ภาษาไทยกลาง ในด้านอาชีพ เกษตรกรจะใช้ภาษาคำเมือง ในขณะที่นักเรียนจะใช้ภาษาไทยกลาง ในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ พบว่าใช้ภาษาคำเมือง 46.51% ใช้ภาษาไทยกลาง53.49% ในการสื่อสารกับตำรวจชายแดน พบว่าขมุใช้แต่ภาษาคำเมือง 2.2.2.7 ในประเด็นการค้าขายนั้น เป็นการสื่อสารระหว่างขมุกับเจ้าของร้านค้าเล็กๆในหมู่บ้าน จากปัจจัยด้านอายุพบว่า ขมุอายุน้อยจะเลือกใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ในขณะที่ขมุอายุมากจะใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด จากปัจจัยด้านการศึกษา พบว่าขมุที่ได้รับการศึกษาเลือกใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ในขณะที่ขมุที่ไม่ได้รับการศึกษาใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด จากปัจจัยด้านอาชีพพบว่า เกษตรกรเลือกใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด ในขณะที่นักเรียนใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด 2.2.3 ปรัย 2.2.3.1 ในประเด็นการศึกษาซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับบทเรียนหรือการบ้านกับครูพบว่า ใช้ภาษาไทยกลาง 65.57% ใช้ภาษาคำเมือง 34.43% ภาษาคำเมือง 2.2.3.2 ในประเด็นสุขภาพ พบว่าปรัยทุกคนเลือกใช้ภาษาคำเมือง 2.2.3.3 ในประเด็นความเป็นอยู่ พบว่าเป็นการสื่อสารระหว่างปรัยกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับการยกระดับความเป็นอยู่ มีปรัย 46 คนจาก 80 คนที่ไม่คุยกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ปรัยเลือกใช้ภาษาคำเมือง 79.41% ใช้ภาษาไทยกลาง 20.59% 2.2.3.4 ในประเด็นความปลอดภัย ปรัยเลือกใช้ภาษาคำเมืองกับตำรวจชายแดน 2.2.2.5 ในประเด็นการนินทา เป็นการพูดคุยกับม้งและขมุถึงเรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่ ปรัย 67คน จาก 80 คนไม่พูดกับม้ง จากปัจจัยด้านอายุ พบว่าปรัยอายุน้อยเลือกใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง ในขณะที่ปรัยอายุมากเลือกใช้ภาษาคำเมือง ส่วนปัจจัยด้านอาชีพพบว่า อาชีพเกษตรกรเลือกใช้ภาษาคำเมืองทั้งหมด ในขณะที่นักเรียนใช้ภาษาคำเมืองและไทยกลาง 2.2.3.6 ในประเด็นการทักทายนั้น แบ่งคู่สนทนาออกเป็นการสนทนากับม้ง ขมุ ครู เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ ตำรวจชายแดน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการสนทนากับม้งนั้น ปรัยเลือกใช้ภาษาคำเมือง 38.46% ใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง 61.54% ในการสนทนากับขมุนั้น ปรัย56คนจาก63คนเลือกใช้ภาษาคำเมือง ที่เหลือใช้ภาษาคำเมืองและภาษาไทยกลาง ในการสื่อสารกับครู พบว่ามีปัจจัยด้านเพศและอายุมาก ชายปรัยใช้ภาษาไทยกลางมากกว่าคำเมือง ในขณะที่หญิงปรัยเลือกใช้คำเมืองมากกว่าไทยกลาง ในด้านอายุ พบว่าปรัยอายุน้อยใช้ภาษาไทยกลางมาก ในขณะที่ปรัยอายุมากใช้ภาษาคำเมืองมาก ในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และตำรวจชายแดน พบว่าปรัยใช้แต่ภาษาคำเมือง 2.2.3.7 ในประเด็นการค้าขายนั้น เป็นการสื่อสารระหว่างปรัยกับเจ้าของร้านค้าเล็กๆ ในหมู่บ้าน จากปัจจัยด้านอายุพบว่า ปรัยอายุน้อยจะเลือกใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ในขณะที่ปรัยอายุมากจะใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด จากปัจจัยด้านการศึกษา พบว่าปรัยที่ได้รับการศึกษาเลือกใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด ในขณะที่ปรัยที่ไม่ได้รับการศึกษาใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด จากปัจจัยด้านอาชีพพบว่า เกษตรกรเลือกใช้ภาษาคำเมืองมากที่สุด ในขณะที่นักเรียนใช้ภาษาไทยกลางมากที่สุด (หน้า 29-98) 3. ทัศนคติต่อภาษา กลุ่มขมุมีความรู้สึกอายที่จะพูดภาษาตนเองในที่ชุมชนมากกว่ากลุ่มอื่น และอยากอยู่ร่วมกับคนไทยและให้บุตรหลานเรียนภาษาไทยมากกว่ากลุ่มอื่น ในขณะที่กลุ่มม้งต้องการให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของตนน้อยกว่ากลุ่มปรัย และพวกเขายังเป็นกลุ่มที่มีความขัดแย้งกับกลุ่มอื่นๆ (หน้า 99-114)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่ระบุ

Settlement Pattern

บ้านน้ำสอดมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ในบริเวณนี้ประกอบด้วยกลุ่มคนที่พูดภาษาขมุตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่ราบ กลุ่มคนที่พูดภาษาปรัยตั้งบ้านเรือนที่ระดับความสูง 133.3 ฟิตจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และกลุ่มคนที่พูดภาษาม้งตั้งบ้านเรือนที่ระดับความสูง 166.27 ฟิตจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (หน้า10-11)

Demography

ในบ้านน้ำสอด อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน มีขมุจำนวน 163 คน 27 ครัวเรือน ปรัย 85 คน 17 ครัวเรือน ม้ง 523 คน 68 ครัวเรือน (หน้า10-11)

Economy

กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสามกลุ่มดำรงชีวิตด้วยการปลูกข้าว ข้าวโพด เผือก และมันฝรั่ง เมื่อดูแลไร่นาเสร็จแล้วก็เข้าป่าไปหาของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ เผาฟืน และล่าสัตว์ ชาวขมุบางคนเลี้ยงวัวหรือควาย ในขณะที่ชาวปรัยบางคนเลี้ยงหมู ทั้งขมุและปรัยส่วนใหญ่เลี้ยงไก่ไว้เพื่อเซ่นไหว้วิญญาณ เมื่อจำนวนขมุเพิ่มมากขึ้นจนผลผลิตไม่เพียงพอ ชายขมุอายุระหว่าง 15-35 ปีจะออกไปหางานนอกหมู่บ้านเพื่อหารายได้เข้าหมู่บ้านเพิ่ม ม้งก็ประสบปัญหาเดียวกัน เมื่อรายได้ไม่พอก็จะเข้าป่าและหาทุกสิ่งทุกอย่างที่พอจะขายได้ เช่น สัตว์ป่า ต้นไม้กวาด น้ำผึ้ง ฯลฯ หมูเป็นสัตว์สำคัญที่ม้งทุกบ้านจะต้องมีไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญหรือขายให้กับพ่อค้าที่จะมารับซื้อถึงหมู่บ้าน แหล่งรายได้หลักของม้งในปัจจุบัน คือ การปลูกขิง (หน้า 11)

Social Organization

ไม่ระบุ

Political Organization

ไม่ระบุ

Belief System

แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีความเชื่อเป็นของตนเอง ขมุและปรัยนับถือศาสนาพุทธและบูชาผี ยกเว้นขมุครอบครัวหนึ่งซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ มีม้ง 10 ครัวเรือนจากทั้งหมด 68 ครัวเรือนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ในวันอาทิตย์ของทุกๆ เดือน คณะมิชชันนารีและม้งที่นับถือศานาคริสต์จะร่วมกันอ่านคัมภีร์ไบเบิล อย่างไรก็ตาม ถึงจะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ พวกเขาก็ยังคงร่วมทำบุญหรือสร้างกุฏิให้กับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา (หน้า12-13)

Education and Socialization

บ้านน้ำสอดมีโรงเรียนประถมซึ่งรองรับนักเรียนได้ 140 คน เนื่องจากมีจำนวนเด็กไม่มากพอที่จะตั้งชั้นเรียนใหม่ โรงเรียนจึงต้องเปิดลงทะเบียนนักเรียนใหม่ในทุกชั้นปีการศึกษาในทุกๆ ปี นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนประถมระดับจังหวัดพร้อมหอพักไว้รองรับเด็กชาวเขา (หน้า 12) อย่างไรก็ตาม มีเด็กชาวม้งไม่มากนักที่มีโอกาสได้ศึกษา ทั้งนี้เพราะผู้ปกครองมักให้บุตรหลานช่วยงานที่ไร่นาหรือที่บ้าน (หน้า 12) หรือผู้ปกครองของเด็กบางคนยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน (หน้า 14)

Health and Medicine

ไม่ระบุ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ระบุ

Folklore

ไม่ระบุ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากการศึกษาทัศนคติที่แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีต่อภาษาของตนเอง ภาษาคำเมืองและภาษาไทย กลุ่มขมุเป็นกลุ่มที่จะมีความรู้สึกอาย ที่จะพูดภาษาตนเองในที่ชุมชนมากกว่ากลุ่มอื่น และยังเป็นกลุ่มที่อยากอยู่ร่วมกับคนไทยและให้บุตรหลานเรียนภาษาไทยมากกว่ากลุ่มอื่น ในขณะที่กลุ่มม้งเป็นกลุ่มที่ต้องการให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของตนน้อยที่สุด และพวกเขายังเป็นกลุ่มที่มีความขัดแย้งกับเพื่อนต่างกลุ่มมากที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มขมุและกลุ่มปรัยมองว่าม้งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในบ้านน้ำสอด และยังเบียดบังพื้นที่ทำกินและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่านโยบายผสมกลมกลืนของรัฐบาลไทยกำลังประสบความสำเร็จอย่างงดงาม (หน้า 115 -120)

Social Cultural and Identity Change

ไม่ระบุ

Critic Issues

ไม่ระบุ

Other Issues

ไม่ระบุ

Map/Illustration

ผู้เขียนได้แสดงแผนที่ของจังหวัดน่าน (หน้า IX) อำเภอทุ่งช้าง (หน้า X) และบ้านน้ำสอด (หน้า XI) เพื่อแสดงสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ทำการศึกษา นอกจากนี้ยังมีแผนผัง แผนภูมิ และตารางต่างๆ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และข้อมูลจากแบบสอบถาม (หน้า 18, 26, 32, 34, 36-37, 39, 41-43, 45, 47- 48, 52-54, 56-66, 68-72, 74-79, 81-90, 92-95, 97-98, 101, 103-111, 113, 117)

Text Analyst อภิชน รัตนาภายน Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ม้ง, ขมุ, ปรัย, การเลือกใช้ภาษา, การสื่อสาร, ทัศนคติต่อภาษา, บ้านน้ำสอด, ทุ่งช้าง, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง