สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี,มราบรี,การตั้งถิ่นฐาน,วิถีชีวิต,ความเชื่อ,ลาว
Author Chazee Laurent
Title The Mrabri in Laos : A World under the Canopy
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 96 Year 2544
Source สำนักพิมพ์ White Lotus, กรุงเทพ
Abstract

จากการศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเชื่อ ของมราบรี (ผีตองเหลือง) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว พบว่า มราบรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังมีการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิม การใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับการการพึ่งพิงธรรมชาติ อาศัยอยู่ในป่า ยังชีพด้วยการล่าสัตว์ หาของป่า ใช้ชีวิตเป็นอิสระจากโลกภายนอก ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามจากทางการที่พยายามชักจูงให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานถาวร แต่ความพยายามนั้นไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่ได้รับความสนใจจากมราบรี อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจศึกษาต่อไปว่าในอนาคตรุ่นลูกหลานของชาติพันธุ์มราบรีจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร ผู้วิจัยมีความเห็นว่า สิ่งที่มราบรีต้องการจริงๆ นั้นคือสุขภาพที่ดี ความเป็นอิสระ และความปลอดภัย ส่วนอนาคตของมราบรีนั้นขึ้นอยู่กับการป้องกันป่าและความสามารถในการปกป้องมราบรี จากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การแตกแยกในกลุ่ม และความขัดแย้งทางวัฒนธรรม การใช้ป่าอย่างผิดกฏหมายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำลายป่า รวมทั้งการถางเผาป่าและการท่องเที่ยว และถ้าหากในอนาคตมราบรีต้องการตั้งถิ่นฐานถาวร ควรให้พวกเขาเรียนรู้การใช้ชีวิตและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ (หน้า 5, 45)

Focus

การศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเชื่อของชาวมราบรี (ผีตองเหลือง) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว

Theoretical Issues

ไม่ปรากฎ

Ethnic Group in the Focus

มราบรีเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สูงของประเทศลาว มราบรี บางครั้งถูกเรียกว่า "คนป่า" "ข่าตองเหลือง" "มาลาบรี" "ยัมบรี" (Khoun Pa, Kha Tong Luang, Malabri, Yumbri) เป็นกลุ่มคนที่ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า"Nam Poui" และอำเภอ "Phiang" จังหวัด "Sayaburi" "มาลา" แปลว่า คน, มนุษย์ ส่วน "บรี" แปลว่า ป่า พวกเขาจะเรียกตัวเองว่า ยัมบรี "Yumbri " มากกว่า มลาบรี แต่ผู้วิจัยใช้คำที่ทางการกำหนด (ในปี 2000) คือ คำว่า มาลาบรี "Malabri" แต่ออกเสียงว่า มราบรี "Mrabri" (หน้า 1, 7)

Language and Linguistic Affiliations

พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติคในกลุ่มของขมุ ที่อยู่ทางเหนือของลาวแต่มลาบรีก็เรียนรู้ที่จะสื่อสารกับม้ง เย้า-อิวเมี่ยน และลาวได้บ้าง (หน้า 1, 7)

Study Period (Data Collection)

การศึกษานี้ทำการศึกษาตั้งแต่ เดือนธันวาคม 1998 - กันยายน 2000

History of the Group and Community

ประวัติของมราบรี ยังมีความสับสนและไม่ชัดเจนอยู่ ปะปนกันไปทั้งเรื่องเล่าและเรื่องจริง ไม่มีหลักฐานที่แจ้งชัด มลาบรีในประเทศไทย : มีข้อมูลว่าพบมราบรีครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างปี 1919 และ1926 ที่อำเภอภูแก้ว จ.ชัยภูมิ อีกกลุ่มพบที่ ดอยเวียงสลา เชียงราย และที่แพร่และน่าน ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 5 -12 คนจากวารสาร "Siam Society" ในปี 1936 มีชาวเยอรมันชื่อ Hugo Bernatzik ได้เข้ามาศึกษามลาบรีที่จังหวัดน่าน และมีการแปลงานเขียนของเขาเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี 1958 ต่อเริ่มมีการศึกษามากขึ้นทั้งจากนักวิชาการชาวไทยและต่างชาติ จากบทความเรื่องผีตองเหลือง (The Malabri Tribe) ในปี 1997 ได้แบ่งกลุ่ม มราบรีเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มขาแดง (the red legs) และกลุ่มสักขา (Tattooed legs) มราบรีในลาว : สำหรับมลาบรีในลาวยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังจนกระทั่งปี 1982 แต่ตั้งแต่ปี 1930 ได้มีนักประวัติศาสตร์ที่สำรวจมลาบรีในประเทศไทยต่างก็สงสัยว่าจะมีมลาบรีอยู่ที่ลาว ในปี 1974 ทางราชการของ Sayaburi ได้มีการระบุถึงการมีอยู่ของมลาบรี มลาบรีได้จัดเข้าอยู่ในการสำรวจมโนประชากรในปี 1985 แต่ปี 1995 กลับไม่ได้รวมอยู่ในโครงสร้างประชากรด้วย อย่างไรก็ตาม ประวัติของมลาบรีในลาว ยังคลุมเครือจนกระทั่งในปี 1999 บางข้อมูลอธิบายว่า ชาวมราบรีอพยพจากหลวงพระบาง มาตั้งทำเลที่ประเทศไทย แล้วกลับไปที่ จังหวัด Sayabury ลาว ที่พื้นที่ "Nam Poui" มราบรีบางคนบอกว่าพวกเขามาจากประเทศไทยที่จังหวัดน่าน ที่เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเข้ามา แต่นักวิชาการบางคนเชื่อว่ามราบรีมาจากหลวงพระบางใน คริสตวรรษที่ 17-18 โดยหนีจากทางตะวันตกของลาวเข้ามาที่ประเทศไทย มราบรีอาวุโสชื่อ Sen Han เล่าว่าเขาเกิดในประเทศไทย แต่ในปี 1969 เขานำมราบรีมาที่ฝั่งลาว Seng Thong ลูกชายเขา (ข้อมูลบางแหล่งบอกว่าเป็นน้องชาย) อายุ 75 ปี (ในปี 2000) เกิดในประเทศลาวปี 1925 ซึ่งเป็นช่วงที่มราบรีกลับมาจากประเทศไทย ตำแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกอยู่ ระหว่างหมู่บ้าน "Nam Poui" และ "Pontong" ทางตะวันออกของป่า"Nam Poui" ในปี 1955 มีจำนวนประมาณ 30-50 ครอบครัว แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรก ได้รับอิทธิพลจากไตยวน ใช้เครื่องมือล่าสัตว์ที่ทำด้วยโลหะ กลุ่มที่สอง ได้รับอิทธิพลจากลาว ใช้ธนูเป็นเครื่องมือล่าสัตว์ ต่อมาทั้งสองกลุ่มนี้เกิดการทะเลาะกัน มีมราบรีส่วนหนึ่งตายไปเพราะการต่อสู้ครั้งนี้ กลุ่มไทยวนถูกผลักให้กลับไปอยู่ที่น่าน ซึ่งคนที่อาวุโสที่สุดยังจำเรื่องราวนี้ได้ดี (หน้า 2) นอกจากมีชาติพันธุ์มราบรีที่เป็นคนหาของป่าล่าสัตว์แล้ว ยังมีอีกกลุ่มที่เป็นนักหาของป่าล่าสัตว์ใช้ภาษาในกลุ่ม Vietic พบที่ Khammouane, Borikhansay ตำบล Nasong และ Kamkeut จำนวน 26 ครอบครัว แต่หลังจากปี 1992 ได้ถูกชักจูงจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง ปัจจุบันจึงตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง (หน้า 7)

Settlement Pattern

การหาแหล่งที่อยู่ของมราบรีเป็นไปอย่างลำบาก ส่วนใหญ่มักจะพบเพียงแค่ใบตองเป็นร่องรอยไว้เท่านั้น ปัจจุบันมราบรีจะอพยพย้ายถิ่น ไปรอบๆ ภูเขาทางตะวันตกของ Sayabury ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับจังหวัดน่าน และอุตรดิตถ์ของไทย พื้นที่ทั้งหมดกว้างประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ที่มราบรีใช้หมุนเวียนอพยพย้ายถิ่นจะอยูที่ประมาณ 500 ตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ป่า "Nam Poui" ที่อยู่ระหว่าง 70-130 ตารางกิโลเมตร มราบรี จะย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง แต่ละครั้งตั้งถิ่นฐานอยู่ประมาณ 7 วัน ไปจนถึง 10 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ความปลอดภัย ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือ อุณหภูมิ หากอยู่ในพื้นที่นาน ๆ มราบรีมักจะตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านเพราะจะทำการเกษตรด้วย ถ้าอยู่ในพื้นที่ระยะสั้น มราบรีจะสร้างที่อยู่แบบชั่วคราว โดยใช้ใบไม้ เช่น ใบตอง ใบหวาย ใบปาล์ม เป็นหลังคา และใช้ใบตองปูรองนอน สำหรับในช่วงที่มรสุมเข้า ในเดือน มีนาคมและเมษายน มราบรีจะสร้างเพิงใต้ต้นไผ่เพื่อป้องกันอันตรายจากการหล่นของใบไม้และกิ่งไม้ ส่วนช่วงที่อยู่ในระยะสั้นลงถ้าพบว่ามีโรคร้าย พบเสือ ช้าง หรือเมื่อพบว่าสถานที่นั้นอาจจะไม่ปลอดภัย เช่น มีทหารเข้ามาที่พื้นที่ ได้ยินเสียงปืน หรือทะเลาะกับชาวบ้าน เป็นต้น (หน้า 15, 25) พื้นที่ที่มราบรีไม่ค่อยตั้งถิ่นฐาน มักจะเป็นพื้นที่ที่มีประสบการณ์ไม่ค่อยดี เช่น ปะทะกับทหาร เจอสัตว์ร้าย เจ็บป่วย มีการตายของสมาชิกในกลุ่มขึ้น ปัจจุบันมราบรีมักไม่ค่อยข้ามไปที่แม่น้ำ "Nam Poui" ที่อยู่ระหว่างหมู่บ้าน "Nam Poui" และ "Nahoume" และหลีกเลี่ยงพื้นที่ทางตะวันตกที่ติดชายแดนไทย ตั้งแต่ปี 1982 เมื่อเดินทางไปทางตะวันออกของหมู่บ้าน "Nam Poui" มราบรีมักหยุดอยู่ที่ทางตะวันออกของแม่น้ำ Nam Gnat เพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อกับหมู่บ้านม้ง ซึ่งเคยมีเหตุการณ์เข้าใจผิดกันอยู่ในอดีต ในบางครั้งมราบรีก็ไปที่หมู่บ้าน Namo ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ลาวอยู่มาก เมื่อไปทางใต้ มราบรีจะอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำ Nam Phon และ Nam Nyam ในระหว่างปี 1960-1970 มราบรีมักจะไม่ไปที่พื้นที่ทางใต้ของ Nam Nyam หลังจากที่เกิดเหตุการณ์วางยาพิษ ที่ทำให้มราบรีตายไป 10-35 คน ส่วนพื้นที่ Tongmixay มราบรีหลีกเลี่ยงเช่นกันหลังจากเหตุการณ์ทางทหารในปี 1984 มราบรีแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มีจำนวนสมาชิก 9 คนมี แสงทอง (Seng Thong) เป็นผู้นำ กลุ่มที่ 2 มีจำนวนสมาชิก 8 คนมี "Tchan Nyai" เป็นผู้นำ กลุ่มที่ 3 มีจำนวนสมาชิก 5 คนมี "Yongyem" เป็นผู้นำ กลุ่มของ "Yongyem" มักจะไปที่หมู่บ้าน "Nam Phon" และในบางครั้งก็ไปที่ Ponsaat และ Nale ซึ่งเป็นชุมชนลาว ส่วนกลุ่มของแสงทองจะไปที่ Nam Nyam หลังหมู่บ้าน Nahoume และกลุ่มของ Tchan Nyai มักจะไปอยู่ที่หมู่บ้าน Pontong โดยส่วนใหญ่ กลุ่มของ Seng Thong, Tchan Nyai มักจะไปทางตะวันตกที่ห้วย Pat และบึง Nam Phun ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ Nahoume, Nam Phon, Nam Poui และทางใต้ที่บริเวณแม่น้ำ Nam Loy สรุปได้ว่าในระหว่างปี 1997-1999 กลุ่มของ Seng Thong จะอยู่ที่ทางเหนือของ Naviene จนกระทั่งพฤศจิกายน 1998 ส่วนกลุ่มของ Tchan Nyai นั้นในปี 1997-1998 อยู่ระหว่าง Nahoume และ Pontong และอยู่ที่บึง Nam Pun จนกระทั่ง มิถุนายน 2000 สำหรับกลุ่มของ Yongyem ปัจจุบัน (ปี 2000) อยู่ที่ห้วย Tomo (หน้า 26) อย่างไรก็ตาม จากการที่มราบรีอพยพย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ จึงหาตำแหน่งการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอนยาก เพราะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลและปัจจัยอื่นๆ ส่วนวิธีการจะตัดสินใจว่าจะตั้งถิ่นฐานที่ใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการสังเกตการณ์ ปกติพวกเขาอยู่ในป่า ไม่มีการวางแผนใดๆ ล่วงหน้า ใช้ชีวิตไปเป็นวันๆ ไป พร้อมที่จะย้ายถิ่นฐานได้ทุกเมื่อ ใช้ชีวิตอย่างผู้บริโภค (หน้า 26-28) สำหรับเพิงที่พักของมราบรีนั้น จะสร้างง่าย ๆ ใช้เวลาไม่นานนัก หลังคาเป็นส่วนสำคัญที่สุดของตัวบ้าน โดยเฉพาะในหน้าฝน ส่วนใหญ่หลังคาทำด้วยใบปาล์มหรือใบกล้วย โครงบ้านทำด้วยไผ่ ในหน้าหนาวมราบรีมักจะอพยพเข้ามาใกล้หมู่บ้านและอยู่ประมาณ 2-3 เดือน ดังนั้นตัวที่อยู่จะปลูกค่อนข้างแข็งแรง แต่ก็เป็นแบบพื้นๆ และหากในพื้นที่ที่อยู่ไม่กี่วัน ก็จะนอนที่พื้นดินปูด้วยใบกล้วย หากเป็นลักษณะเพิงจะปลูกเพื่ออยู่เป็นสัปดาห์ขึ้นไป ตัวบ้านจะยกพื้นสูงประมาณ 15-20 ซ.ม. เพื่อป้องกันแมง งู แมงมุม นอกจากนั้นในป่าจะมีเสือ หมี ดังนั้นที่นอนจะทำเอียงเล็กน้อยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้เมื่อถูกรุกราน (หน้า 2, 26)

Demography

ในปี 1993 (พ.ศ.2536) พื้นที่ "Nam Poui" เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่ามีขนาด 1,912 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ครอบคลุมทางเหนือและตอนกลางของอำเภอ "Phiang" และตะวันตกเฉียงใต้ของ "Tongmixay" และตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอ Paklay เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำตัดผ่าน มีพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าเขตร้อนหลากหลาย จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ระบบการคมนาคมเดินทางไม่ค่อยสะดวก ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ยังไม่ถูกบุกรุกมากนัก ในปี 2000 มีประชากรในพื้นที่ทั้งหมด 7 ชุมชน ได้แก่ Ban Na Sampan มีขมุ (Khmu) อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 320 คน, Ban Na Nguen มีม้ง อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 470 คน, หมู่บ้าน Naveine มีลาวอาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 385 คน, บ้าน Nam Xong มีกลุ่มไพร (Plrai) อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 156 คน ,ที่ Pak Xong มีกลุ่ม Plrai ขมุ (Khmu) และลาว (Lao) อาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวน 143 คน , บ้านวางพระมอน (บ้านใหม่) มีขมุ (Khmu) อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 251 คน , บ้านเคียน Ben Khen มีชาวลาว อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 728 คน (หน้า 25) ในเดือนกันยายน ปี 2000 มราบรีมีจำนวนไม่เกิน 28 คน และยังใช้ชีวิตอยู่ในป่าเพียง 22 คน จำนวนได้ลดลงเพราะโรคระบาดและการบุกรุกจากภายนอก มราบรีเข้ามาหาเลี้ยงชีพที่บริเวณน้ำตก Nam Poui เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีจำนวนประมาณ 30-50 ครอบครัว Pho Lam เล่าว่าในปี 1990 มราบรีมีจำนวน 21-30 คน (หน้า 1,7) ในปี 1997 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำนวนในกลุ่มมีตั้งแต่ 2-11 คน เนื่องจากบางคนเคลื่อนย้ายไปมาระหว่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 9 คนมี แสงทอง (Seng Thong) เป็นผู้นำ สมาชิกคือ Tchan Oupin,Tchi, Khamsen, May, Air, Khamson, Nyot, Khamsing กลุ่มที่ 2 จำนวน 8 คนมี ช้างใหญ่ (Tchan Nyai) เป็นผู้นำ สมาชิกคือ Mi, Batop, Than,Tchan, Boun, Khem, Khamdi กลุ่มที่ 3 จำนวน 5 คนมี ยงยิม (Yongyem) เป็นผู้นำ สมาชิกคือ Son, Daopet, Wat, Pet (หน้า 15)

Economy

จากอดีตจนถึงปัจจุบันมราบรี ใช้ชีวิตในฐานะของผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต อันได้แก่ การเก็บของป่า ล่าสัตว์ จับปลา กิจกรรมในแต่ละวัน ได้แก่หาของป่า โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนกิจกรรมการล่าสัตว์เป็นกิจกรรมส่วนตัวของแต่ละคนและเป็นกิจกรรมเฉพาะของผู้ชาย ส่วนผู้หญิงจะดูแลลูก หาฝืน หาน้ำ สานเสื่อ หาของกินเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ มราบรีจะสานเสื่อ หาปลา ทำงานตามฤดูกาล หาผลไม้ป่า ในฤดูแล้งจะเป็นช่วงเวลาที่มราบรีเข้าใกล้หมู่บ้าน หางานทำ ทำการเกษตรบ้าง ในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม มราบรีนิยมเข้าไปหาน้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง ไข่ แมลง ส่วนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน จะเป็นช่วงเวลาหาไผ่ หวาย พืชหน่อ เห็ด สัตว์ที่มราบรีจับมาเป็นอาหารประจำ คือ ปู กุ้ง หอย กบ กิ้งก่า ปลา จิ้งหรีด จักจั่น หนอน ไข่นก น้ำผึ้ง ผึ้ง ไข่ผึ้ง หนู บางทีจับนกแก้ว ชะมด กิ้งก่า ที่จับไม่ค่อยบ่อยเนื่องจากไม่ค่อยเจอ เช่น หมี กวาง วัวป่า เสือ ช้าง เมื่อก่อนมราบรีจับสัตว์ด้วยฉมวก แต่ปัจจุบันส่วนมากจับด้วยมือ มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ใช้ธนูหรือกับดัก ส่วนวิธีจับปลามี สามวิธี คือ หนึ่ง มองว่าปลาอยู่ตรงไหน แล้วตอนกลางคืนก็ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่คม ๆ แทง วิธีที่สองใช้ดูทางน้ำ แล้วจับปลา วิธีที่สาม จะใช้แหจับปลา (หน้า 36) การล่าสัตว์สำหรับมราบรีแล้ว ไม่ได้เป็นเพียงการหาอาหาร แต่หมายถึงประเพณี กิจกรรมประจำเผ่า อุปกรณ์ที่ใช้ล่าสัตว์มีทั้ง กับดัก บ่วง ธนู เหยื่อล่อ ซึ่งจะเลือกใช้แตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละประเภท เช่น ธนูจะใช้กับสัตว์จำพวกนก นอกจากนี้ มราบรียังถนัดใช้มือเปล่าด้วย มราบรีสามารถจับหมูป่าขนาดย่อมประมาณ 15 กิโลกรัม ด้วยมือเปล่าได้ ถ้าหากมีการจับสัตว์ขนาดย่อยได้ เช่น หมีตัวเล็ก มักจะแบ่งกันในกลุ่ม (แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยทำอย่างนั้น เพราะเห็นแก่ตัวกันมาก) โดยหลังจากจับได้จะมีการร้องเพลงกัน โดยใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่เรียกว่า Teng ที่ทำจากต้นไม้ คล้ายกับเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า Nang Niao ประกอบการร้องเพลง ส่วนวิธีการรับประทานอาหารนั้น ของบางอย่างสามารถกินได้ดิบ ๆ แต่บางครั้งนำไปย่างหรือต้ม โดยทั่วไป เนื้อสัตว์ ปลา กุ้งหอยจะใช้วิธีย่างบนไป (หน้า 20-21)

Social Organization

โดยปกติอาหารหลักของมราบรี คือ หัวมันเผือกต่าง ๆ รากไม้ หน่อไม้ เห็ด ผลไม้ แต่ในบางครั้งที่มราบรีไปรับจ้างถางป่า หรือทำงานในหมู่บ้าน จะได้อาหารมาเป็นค่าแรง เช่น ข้าวเหนียว มราบรีก็จะกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักแทนการกินเผือกมัน อย่างที่เคยอยู่ในป่า และการแลกเปลี่ยนเช่นนี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า เป็นการสร้างวิถีชีวิตแบบการพึ่งพาชาวบ้าน ทำให้การทำงานกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของมราบรี ดังเช่นมราบรีในเมืองไทย (หน้า 22, 31, 37) ในระหว่างเดือนมิถุนายน 1997 ถึง มิถุนายน 2000 มราบรีในประเทศลาว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 9 คนมี แสงทอง (Seng Thong) เป็นผู้นำ กลุ่มที่ 2 จำนวน 8 คนมี ช้างใหญ่ (Tchan Nyai) เป็นผู้นำ กลุ่มที่ 3 จำนวน 5 คนมี ยงยิม (Yongyem) เป็นผู้นำ และมีบางส่วนที่เป็นคนโสด หม้าย จะไม่มีปัญหากับใครย้ายไปกลุ่มนั้นบ้างกลุ่มนี้บ้าง ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2000 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้ง สมาชิกส่วนหนึ่งของ Seng Thong รวมกันอยู่กับ Yongyem ที่พื้นที่ Namphoune ในขณะที่อีกส่วนไปรวมกับกลุ่มของ Tchan Nyai (หน้า 13) การแต่งงาน - จากการบอกเล่าของ Pho Lam การแต่งงานระหว่างพี่น้องเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ไม่มีข้อห้ามเรื่องอายุ หรือความเป็นเครือญาติ พวกเขาสามารถแต่งงานได้หลายครั้ง หย่ากันแล้วก็มาอยู่ด้วยกันอีกได้ ชายมีสิทธิเลือกเจ้าสาวในอนาคตได้ โดยฝ่ายชายจะขออนุญาตจากญาติของฝ่ายหญิง และฝ่ายชายจะรับตำแหน่ง "พ่ออุปถัมถ์" "Godfather" ก่อนที่จะมีการแต่งงาน ซึ่งสินสอดในการแต่งงาน ได้แก่ อาหาร หรืออุปกรณ์ล่าสัตว์ต่าง ๆ และมีธรรมเนียมว่าคู่แต่งงานใหม่ ๆ มันจะแยกกันออกไปอยู่ต่างหากประมาณ 6 เดือน การแย่งชิงผู้หญิง : ในบางครั้งมีการต่อสู้กันระหว่างชาย เพื่อแย่งผู้หญิง การต่อสู้จะเริ่มด้วยการต่อสู้ด้วยมือเปล่าตัวต่อตัวก่อน แต่ถ้ายังไม่ได้ผลสรุป จะเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ เช่น ไม้หวายแทนสถานที่มักจะเป็นกลางแม่น้ำ ที่ลึกประมาณ 50-70 ซม. สู้กันจนมีผู้ชนะหรือตายไป ซึ่งผู้ชนะจะเป็นผู้ได้หญิงสาวคนนั้นไป ขอยืมเมีย (borrow) ประเพณีการขอยืมเมีย (borrow) จะขอยืมจากพี่ชาย น้องชาย หรือญาติ ซึ่งสามีจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้ยืมหรือไม่ และต้องมีการกำหนดเวลาที่แน่นอน โดยส่วนมากประมาณ 1-3 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วก็จะนำผู้หญิงนั้นมาคืน (หน้า 20,40) การให้กำเนิดเด็กและการเลี้ยงดู : เมื่อมีการให้กำเนิดสมาชิกใหม่ในกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มจะเลี้ยงอาหารและร้องเพลงกันด้วยความสุข หลังเกิดแม่เด็กจะพักประมาณ 5-7 วันในเพิงที่พักเพื่อให้นมลูก เมื่อถึงช่วงเวลาที่แม่จะเข้าไปหาอาหารได้ ก็จะนำลูกไปด้วย เพราะไม่เชื่อใจใคร แม้กระทั่งพ่อ ในช่วงที่เด็กเกิดใหม่ ๆ ครอบครัวจะนำเด็กไปให้ Pho Lam ดู Pho Lam จะทำพิธีรับขวัญ (Baci) ซึ่งเป็นการจัดงานระหว่าง Pho Lam กับมราบรี มราบรีจะนำของป่าหลากหลายมาร่วมพิธีรับขวัญ (Baci) พิธีฆ่าทารก มักจะเกิดขึ้นกับเด็กชาย โดยปกติแต่ละครอบครัวจะมีลูกประมาณ 2-3 คนต่อครอบครัว โดยให้ความสำคัญกับเพศหญิงก่อน อย่างไรก็ตามพิธีนี้ได้ยกเลิกไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว พิธีศพ เมื่อมีผู้ตาย ศพจะถูกห่อมัดด้วยหวายก่อนนำไปแขวนใต้ต้นไม้ มีไม้ปลายแหลมปักไว้ใต้ต้นด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์มากินศพ โดยมีคู่สมรสเป็นคนกลับไปดูว่าศพนั้นยังอยู่ดีอยู่หรือไม่ นอกจากนี้เมื่อมีสมาชิกคนใดของกลุ่มหายไปเกิน 6 เดือน มักจะเชื่อกันว่าได้ตายในป่าแล้ว แม้ไม่มีใครพิสูจน์ได้ แล้วมีการบอกต่อกันไปในกลุ่มอื่น ๆ โดยไม่มีการบอกชื่อของผู้ที่สูญหายไป การเอ่ยชื่อเชื่อว่าจะนำโชคร้ายมาสู่ตัวเขาถ้าหากเขายังไม่ตาย และถ้าหากพบศพในป่า จะมีการสวดอ้อนวอนวิญญาณท้องฟ้า (Dafatherne) เพื่อขอให้ผู้ตายจากไปอย่างสงบสุข และป้องกันไม่ให้วิญญาณร้ายเข้ามาอยู่ในกลุ่มของมราบรีที่ยังมีชีวิตอยู่ (หน้า 41) ผู้เฒ่า มราบรีมีธรรมเนียมว่า หญิงแก่ ที่เป็นหม้าย จะเป็นผู้ดูแลเด็ก ๆ คนแก่ และคนป่วยในกลุ่ม แต่ถ้าไม่มีผู้เฒ่าจะเป็นหน้าที่ของหญิงที่แก่ที่สุดในกลุ่ม (หน้า 41)

Political Organization

ในอดีตไทยและลาวปกครองชนพื้นเมืองผ่านระบบ "Lam" หรือตัวแทน สำหรับในลาว ตัวแทนนี้มักจะเป็นคนลาวในบริเวณภาคใต้และตอนกลางของลาว และเป็น "ลื้อ" ซึ่งเป็นตัวแทนดูแล อาข่าและเมียน คนที่เป็นตัวแทนนี้ กษัตริย์เป็นคนเลือกสรรชนพื้นเมือง เรียกว่า "Pho Lam" ทำหน้าที่ดูแลปกครอง เช่น เก็บภาษี ส่วยแรงงาน โดยได้รับผลตอบแทนคือ แรงงานได้เปล่าตามความต้องการของตนเอง ระบบนี้เลิกไปในทางปฏิบัติ ในช่วง ค.ศ. 1960-1975 แต่ล้มเลิกอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1975 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ แต่สำหรับมราบรีแล้วปรากฏว่ายังคง ใช้ระบบ "Lam" ปฏิบัติอยู่เมื่อนักวิจัยเข้าไปในปี ค.ศ. 1998 ในปัจจุบันมี "Pho Lam" 8 คน ซึ่งมราบรีรู้จักทั้งหมดว่าเป็นใครและเป็นผู้เลือกเอง โดยที่องค์กรปกครองท้องถิ่นไม่ได้เข้ามาแทรกแซง หน้าที่สำคัญของ "Pho Lam" คือ สื่อสารข้อมูลระหว่างรัฐกับชนพื้นเมือง และสื่อสารการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มต่าง ๆ นอกจากนี้ในบางโอกาส เข้าช่วยเจรจายุติความขัดแย้งหากมราบรีร้องขอ แต่การสื่อสารระหว่าง "Pho Lam" ที่หมู่บ้าน Nakong, Ponsaat และ Naveine มีการติดต่อสื่อสารกับ มราบรีน้อยมาก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เพราะมราบรีจะผ่านมาน้อยมาก โดยถัวเฉลี่ยสำหรับทุกกลุ่มแล้ว "Pho Lam" แต่ละคน พบมราบรีที่อยู่ในความดูแลของตนปีละประมาณ 3-5 ครั้ง (หน้า 10) ก่อน ปี 1994 ในการสำรวจประชากรของประเทศลาวไม่ได้มีการระบุการดำรงอยู่ของมราบรี ต่อมาปี ค.ศ.1994 ทางการได้จัดกลุ่มให้มราบรี อยู่ในกลุ่ม "ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง" และ "ยากจนตลอด" "ไร้การศึกษา" มลาบรีไม่อยู่ในมาตรฐานของบุคคลทั่วไป และในปี 1998 ผู้วิจัยได้รายงานให้กับผู้บริหารส่วนท้องถิ่นถึงการขาดข้อมูลเกี่ยวกับมราบรี ดังนั้นในเดือนมีนาคม 1999 จึงมีการจัดทำโครงการศึกษาและพัฒนามราบรี ด้วยจุดเริ่มต้นนี้ เป็นจุดที่ทำให้มีโครงการวิจัยเพื่อรักษาและพัฒนาชาติพันธุ์มราบรี ด้วยความร่วมมือกันของ Vientiane International Consultants, Dutch Embassy in Bangkok, International Commission for the Rights of Indigeous People (ICRA) in Paris โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้รับรู้ถึงการมีอยู่ของชาติพันธุ์มราบรี สร้างโครงสร้างทางกฏหมายที่จะดูแลและป้องกันมราบรี โดยไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขา จนกระทั้งในปี 2000 มีประกาศอย่างเป็นทางการจากส่วนกลางของประเทศลาวว่ามราบรีเป็นส่วนหนึ่งในประชากรของประเทศลาว และสามารถอยู่ในพื้นที่ "Namphoune" ได้ (หน้า 4, 38-40, 43)

Belief System

ความเชื่อในวิญญาณ เช่น วิญญาณผู้นำทาง และเชื่อว่ามราบรีมีหน้าที่ปกป้องดูแลป่า ต้องปฎิบัติตามกฏต่าง ๆ และถ้าหากทำให้วิญญาณโกรธจะต้องถูกทำโทษด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำให้ถูกเสือทำร้าย ทำให้ฝนตก ป่วย เจ็บ (หน้า 3)

Education and Socialization

ป่าสำหรับชาวมลาบรีแล้วเป็นเหมือนบ้าน เกิดที่นั่นและตายที่นั่น เป็นทั้งบ้านและโรงเรียนของพกเขา มลาบรีไม่เคยคำนึงถึงการใช้เวลาว่างหรืองานอดิเรก ความต้องการท่องเที่ยวไปในพื้นที่อื่นๆ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ มลาบรีใช้ชีวิตอยู่แต่ในโลกของตนเอง ปิดบงตัวเองจากโลกภายนอก เรียนรู้ที่จะป้องกันและปกป้องตัวเอง (หน้า 2) การสื่อสารกับมราบรีเป็นสิ่งที่ยากมาก ทั้งเรื่องของครอบครัว ความสัมพันธ์ในกลุ่ม วงศ์ตระกูล ซึ่งส่วนใหญ่สื่อสารผ่าน Pho Lam (หน้า 4) นอกจากนั้น มราบรีมีการสื่อสารด้วยการสร้างรหัสกันเองในกลุ่มด้วย เช่น ในสถานการณ์อันตรายจะใช้การให้สัญญาณด้วยโบกใบไม้ให้เป็นเสียง และการผิวปากบอกเมื่อมีอันตรายผ่านไป (หน้า 41) การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองของมลาบรีทำให้พวกเขาใช้ชีวิตโดยปฏิบัติตามประสบการณ์ของบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น และเรียนรู้จากการสังเกตการณ์ เช่น วิธีการเลือกพื้นที่อยู่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และไม่มีอันตราย วิธีการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ การปรับตัวให้เข้ากับอากาศและฤดูกาลต่าง ๆ (หน้า 3, 25) มราบรีจะมีการปกครองกันเอง โดยแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งเป็นอิสระจากโครงสร้างการปกครองของทางการ มราบรีพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตในป่า ก่อนปี 1997 มราบรียังไม่ได้แบ่งแยกเป็นกลุ่ม ๆ แต่หลังการตายของ Houm ภรรยาของ Seng Thong หัวหน้าเผ่า เกิดความขัดแย้งในกลุ่ม ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยการให้เหตุผลว่าว่าขาดอาหารจึงต้องแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งปัญหาจริงๆ เกิดจากพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม (หน้า 12) ต่อมาเมื่อมราบรี เริ่มเข้าไปทำงานเกษตรกรรมให้กับชาวชุมชนต่าง ๆ เช่น ม้ง ลาว พวกเขาจึงได้เรียนรู้ถึงการแลกเปลี่ยน สิ่งของต่าง ๆ ที่แตกต่างจากที่พวกเขาเคยใช้ เช่น เรียนรู้การใช้ไม้ขีด ทั้ง ๆ ที่ เมื่อก่อนมราบรีจะก่อไฟด้วยการใช้หินกับไม้ไผ่ขัดกัน รวมทั้งเรียนรู้การสูบบุหรี่ การใส่เสื้อผ้าแทนการใช้ใบไม้ทำแบบเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น (หน้า 41) แต่อย่างไรก็ตามพวกเขายังชอบใช้ชีวิตอิสระ เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปเรื่อง ๆ ไม่ติดกับที่ใดที่หนึ่ง การศึกษา : มราบรีได้ถูกจัดกลุ่มให้เป็นพวก "ไร้การศึกษา" (Illiterate) แต่ในปี 1976 และ 1982 ทางการส่วนท้องถิ่นของสายบุรีได้มีความพยายามให้เด็กๆ มราบรีเข้าโรงเรียน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ (หน้า 8) และมีกรณีที่มีชาวบ้านรับเด็กมราบรีเป็นลูกเลี้ยงและส่งเข้าเรียน เช่น ในปี 1976 Tchan Hed Duangdala ซึ่งทำงานการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับเด็กมราบรี 2 คน ไปเรียนที่ Cultural Center (ปัจจุบันเป็นศูนย์สำหรับดูแลเด็กกำพร้า) คือ เด็กชายชื่อ Bounmi อายุ13 ปี และเด็กผู้หญิงชื่อ Lyem อายุ 17 ปี ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน Bounmi หนีออกจากศูนย์ไป ส่วน Lyem ก็ทำงานในโรงอาหาร (หน้า 12)

Health and Medicine

มราบรี ไม่รู้ถึงวิธีการป้องกันโรคต่าง ๆ พวกเขาจึงมีสุขภาพไม่ดี เป็นโรคขาดอาหาร โรคปอด โรคมลาเรีย ส่วนการรักษาจะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นยารักษาโรค เช่น ลำต้นและผลของไม้กฤษณา (หน้า 31) ส่วนการดูแลสุขภาพหลังคลอดก็เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่ หลังคลอดแม่เด็กจะพักประมาณ 5-7วันในเพิงที่พักเพื่อให้นมลูก โดยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสริมด้วยน้ำต้มและพืชสมุนไพร และมีการอยู่ไฟด้วยวิธีการนั่งที่หินที่ผิงไฟให้อุ่น และใบยาสมุนไพรเ ซึ่งเชื่อว่าเลือดจะหยุดได้ง่าย (หน้า 40)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เดิมการแต่งกายของมราบรีช่วงที่อยู่ในประเทศไทย ก่อนที่จะอพยพมาที่ประเทศลาวจะใช้ใบไม้ทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ต่อมาเมื่อมราบรีได้เรียนรู้การแต่งกายแบบชาวเขา โดยเฉพาะม้ง พวกเขาจึงหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบม้ง ต่อมาเมื่อทำงานในไร่นาของชาวบ้าน จึงได้แลกเสื้อผ้ามาเป็นค่าแรง ปัจจุบันจึงแต่งกายแบบม้งบ้าง ชาวบ้านบ้าง (หน้า 41) เครี่องดนตรี : มีเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่เรียกว่า Teng ที่ทำจากต้นไม้ คล้ายกับเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า Nang Niao จะใช้ประกอบการร้องเพลงเมื่อมีเรื่องน่ายินดี เช่น จับสัตว์ได้ หรือให้กำเนิดสมาชิกใหม่ (หน้า 20-21, 41)

Folklore

ไม่ปรากฏ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

พื้นที่ Sayabury ซึ่งเป็นพื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแหล่งชุมนุมของชาวเขา ที่ใช้ภาษาออสโตรเอเชียติค นอกจากชุมชนของมราบรีที่อยู่อาศัยในพื้นที่นี้แล้วยังมีกลุ่มชนอื่นอาศัยอยู่ด้วย 1) ไทลาว (Tai Lao) อาศัยอยู่ตอนกลางและทางใต้ของลาวและในไทยบางส่วน ส่วนใน "Sayabury" ตั้งอยู่ในพื้นที่ว่าง ใกล้แม่น้ำ ชาวไทลาวเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสายบุรี 2) ยวน (Yuane) มาจากอาณาจักรล้านนา ในช่วงเวลาที่เชียงใหม่ยังเป็นเมืองหลวงอยู่ ก่อนมาตั้งถิ่นฐานที่ Xienghome และ Sayaburi ในช่วงที่เชียงใหม่พ่ายพม่าในปี 1556 และมีอีกบางส่วนที่มาหลังจากที่มีการปะทะกันระหว่างลาวกับพม่าในปี 1637 3) ไทลื้อ Tai Lu มาจาก สิบสองปันนา เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสิบสองปันนา จนกระทั้ง ศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันอยู่ตอนเหนือของ Sayabury 4) ม้ง เคยตั้งถิ่นฐานที่ Kouei Tcheou แล้วอพยพมาหลังจากการปฏิวัติ Tai Ping ในปี 1868 ส่วนใหญ่เข้ามาลาวปี 1870 มาที่ Sayaburi ต้นปี 1900 ช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1, 2 ต่อมาอพยพอีกครั้งปี 1975 - 1992เพื่อหนีการต่อสู้ในทางเหนือของเวียงจันทร์และมาอยู่ในทางตะวันตกของ Xieng Khoang 5) Yao, Iu Mien, Lanten Moun ทั้งหมดมาที่ลาวพร้อมกัน คือมาจาก Yunnan ทางเหนือของเวียดนามและพม่า Yao มาที่ Vientiane ทางตะวันตก ช่วงสงครามอินโดจีน และเดินทางมาที่ Sayaburi ในปี 1930 บางส่วนมาจาก Muang Home, Xaysoumboun หลังปี 1975 บางกลุ่มข้ามจาก Sayaburi ไปที่ไทย ที่จังหวัดน่าน ในแคมป์อพยพ และบางส่วนกลับมาที่ลาวอีกครั้งจากโครงการสนับสนุนของ UNHCR 6) "Khmu Me" อพยพมาจากมณฑลยูนานในจีน ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกของสายบุรี อพยพมาจากใต้พงสาลี ทางเหนือของหลวงพระบาง 7) Khmu Rok เริ่มตั้งถิ่นฐานที่ทางเหนือของอำเภอ Oudomsay ทางใต้ของ Beng ทางเหนือของหลวงพระบาง ใช้ภาษากลุ่ม Khmuic มีฝีมือในการทำสินค้า Handmade มีศาสนาแตกต่างกับ Khmu กลุ่มอื่น ๆ 8) Khmu Mokplai มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่ม Khmu Rok ส่วนภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกับ Khmu Khong ย้ายถิ่นมาจาก Oudomxay บางส่วนมาจาก Pakbeng (หน้า 24-25)

Social Cultural and Identity Change

มราบรีมีชีวิตที่รักอิสระ พอใจที่จะอยู่กับธรรมชาติ ดังบทเพลงที่พวกเขาร้อง "เรามีป่าเป็นบ้าน เรามีพระจันทร์และดวงดาวเพื่อส่องแสง เรามีไม้ต่างหมอน เรานอนหลับ แม้ศีรษะจะเต็มไปด้วยมดลาย เท้าเราเต็มไปด้วยมดง่าม หลัง ท้องเต็มไปด้วยมดตะนอย เรามีความสุข" เพลงนี้สามารถสื่อถึงความสวยงามของการใช้ชีวิต โลกของมราบรีมีเพียงท้องฟ้า ป่า ผืนดิน พวกเขาไม่สนใจโลกภายนอก มราบรี ไม่ใช่ผู้ผลิต พวกเขาเป็นผู้เก็บของป่า ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่สร้างอะไร (หน้า 3) อย่างไรก็ตาม การติดต่อกับสังคมและการเปลี่ยนแปลงสังคมภายนอก ทำให้มราบรีเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตไป อาทิ เมื่อป่า Nam Poui ได้ถูกประกาศให้เป็นป่าคุ้มครอง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตชาวมราบรี เช่น การห้ามเก็บไม้กฤษณาและปาล์ม ในปี 1959-1960 มราบรีเริ่มติดต่อกับชาวนาทำการแลกเปลี่ยนสินค้า หลังจากนั้นประมาณปี 1968 มราบรีได้ถูกชักจูงให้ทำงานในไร่ใกล้หมู่บ้าน มราบรีจึงไปทำงานให้ม้ง ไทย ยวน บ้าง มราบรีทำงานเพื่อกับแลกอาหารและเครื่องต่าง ๆ เช่น ข้าว เกลือ เสื้อผ้า บุหรี่ ยา จอบ เสียม เป็นต้น ส่วนใหญ่จะจ้างด้วยค่าแรงถูกแต่ผู้จ้างกลับได้กำไรจากการที่นักท่องเที่ยวเข้ามาดูมราบรี (หน้า 23-25) สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมราบรี คือการลักลอบใช้พื้นที่ป่า ผู้วิจัยอธิบายว่าในช่วงที่เข้าไปเก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2000 มีการลักลอบตัดต้นไม้เป็นจำนวนมาก ที่ดินถูกเผาถางเพื่อทำการเกษตร ปลูกยาง สร้างถนนหนทางเข้าป่า และมีการใช้ปืน อวน แห กับดัก จับสัตว์ ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนไปมาก ในปี 1997-1998 มีการจับช้างในป่าสร้างความหวาดกลัวให้มราบรีเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีการใช้ระเบิดในการจับปลาในแม่น้ำด้วย ซึ่งทำให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีการเผาป่าทำไร่ด้วย อย่างไรก็ตามการลักลอบทำผิดต่าง ๆ เหล่านี้ควบคุมได้ยาก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และถึงแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับมราบรี แต่ก็มีผลทางจิตวิทยา เพราะมราบรีจะรู้สึกว่าป่าจะไม่หมือนเดิม และอาจจะหมดไปได้ (หน้า 38) ถึงแม้ว่าในอดีต มีความพยายาม มากกว่า 2 ครั้งที่จะดึงมราบรีเข้าร่วมโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่น และให้ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง โดยให้ Pho Lam เป็นผู้ชักจูง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่า ควรให้มราบรีอยู่อย่างอิสระ ไม่รบกวนด้วยสิ่งต่างๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดี และยังเห็นว่า การที่ข้าราชการท้องถิ่น นักประชาสงเคราะห์ และนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมมราบรีและให้อาหาร เครื่องมือต่างๆ เช่น ที่นอน มุ้ง เสื้อผ้า อุปกรณ์ทำครัว เกลือ เป็นการสร้างนิสัยพึงพาผู้อื่น เพราะของต่างๆ มักจะใช้ประโยชน์ได้น้อย มักจะหายเมื่อย้ายถิ่น ส่วนใหญ่ที่มีประโยชน์จะเป็นเกลือ เสื้อผ้า ส่วนมุ้งไม่เหมาะกับพฤติกรรมที่ต้องคอยระวังภัยจากสัตว์ในตอนกลางคืน และขัดกับความเชื่อที่การติดต่อกับวิญญาณโดยตรง เพราะคิดว่ามุ้งจะมากั้นไว้ ที่นอนจะใช้เมื่อเจ็บป่วย อากาศหนาว และบางครั้งสร้างความขัดแย้งกันหลังจากของแจกแล้วเพราะจะทำให้เกิดการแย่งกัน(หน้า 38, 43) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมราบรียังคงเป็นเผ่าที่หาเลี้ยงชีพด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนของป่ากับชาวบ้านบ้าง และมีการทำการเกษตร การทำงานตามฤดูกาลบ้าง (หน้า 9)

Other Issues

ไม่ปรากฏ

Map/Illustration

จากการศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ความเชื่อ ของมราบรี (ผีตองเหลือง) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว พบว่า ผู้วิจัยใช้แผนที่และตารางโครงสร้าง เพื่ออธิบายโครงสร้างของชาวมลาบรีในแต่ละกลุ่ม (หน้า 16, 62, 63) รูปภาพประกอบ ได้แก่ 1) ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุมชนมลาบรี 2) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (หน้า 64-96) เอกสารต่าง ๆ จากทางราชการ ได้แก่ 1) เอกสารประกาศจากผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ลงวันที่ 24/03/1999 (หน้า 48-52) 2) เอกสารประกาศข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสายบุรี Sayaburi และ Vientiane ที่ปรึกษานานาชาติ ลงวันที่ 7/12/1999 (หน้า 53-56) 3) เอกสารประกาศข้อตกลงส่วนท้องถิ่น ในประเด็นมราบรี 03/05/2000 (หน้า 57-58)

Text Analyst กุลนิษฎ์ พิสิษฐ์สังฆการ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มลาบรี, มราบรี, การตั้งถิ่นฐาน, วิถีชีวิต, ความเชื่อ, ลาว, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง