สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอแกน,มุขปาฐก,ตำนาน
Author Jacques IVANOFF (ชาค์ก อิวาน๊อฟ)
Title LES MOKEN Littérature Orale et Signes de Reconnaissance Culturelle
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มอแกน บะซิง มาซิง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 12 Year 2529
Source Journal of the Siam Society, Vol. 74 (1986) p.9-20.
Abstract

ผู้เขียนได้ศึกษาวัฒนธรรมและโครงสร้างของสังคมมอแกน ผ่านทางมุขปาฐะตำนานที่ถ่ายทอดโดยมอแกนจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อจะบอกกล่าวภาพลักษณ์ของมอแกนที่เป็นมากกว่าชาวประมงหรือวัตถุทางการท่องเที่ยว ผู้เขียนต้องการที่จะนำเสนอประวัติของชาวมอแกนตามสายตาของมอแกนเอง โดยเจาะกลุ่มมอแกนที่อพยพและอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนได้อธิบายที่มาของสัญญะทางมรดกทางวัฒนธรรม ที่มาของชื่อมอแกน จากตำนานของการทำผิดจารีตประเพณีของ แกน น้องสาวพระราชินีผู้ปกครองกลุ่มยิปซีทะเล การทำรูปเว้าที่หัวเรือและท้ายเรือเป็นสัญลักษณ์บอกเล่าถึงการลงโทษในความผิด เมื่อเปรียบเทียบร่างกายมนุษย์เป็นการตัดช่องทางการทำงาน การบริโภค การขับถ่าย และสุดท้าย ตำนานยังชี้ให้เห็นถึงการอพยพตั้งถิ่นฐานของมอแกนในประเทศไทยของกลุ่มคนที่ถูกขับไล่ เนรเทศออกจากกลุ่มที่ตั้งดั้งเดิม สุดท้ายผู้เขียนวิตกถึงการเข้ามาของความเจริญทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ ความเคยชินและการปรับตัวของมอแกนต่อสังคมที่จะทำให้วิถีชีวิตวัฒนธรรมมอแกนเปลี่ยนแปลง และหลงลืมประเพณีดั้งเดิม (หน้า 9,20)

Focus

ผู้เขียนต้องการจะบอกกล่าวเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมอแกน ทั้งที่อาศัยในประเทศเมียนม่าและในประเทศไทย โดยนำมาจากเรื่องเล่าในความทรงจำของมอแกนจากรุ่นสู่รุ่นของสังคมมุขปาฐก เพื่อเสนอถึงภาพลักษณ์ที่เป็นมากกว่ากลุ่มชาวประมงสำหรับนักท่องเที่ยว (หน้า 9, 20)

Theoretical Issues

ไม่ปรากฏชัดเจน

Ethnic Group in the Focus

มอแกน กลุ่มยิปซีทะเลอาศัยบริเวณ หมู่เกาะ เมอกุย (Mergui) ทางทิศตะวันตกของประเทศพม่าและประเทศไทย โดยผู้เขียนเน้นหนักกลุ่มที่ตั้งบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา และบางกลุ่มที่อพยพลงมาอาศัยทางใต้ของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มย่อยบางกลุ่มใช้ภาษาเมียนม่า บางกลุ่มเข้าใจภาษาไทย แต่มอแกนทุกคนเข้าใจภาษามลายู เพราะภาษามอแกนมีพื้นฐานดั้งเดิมมาจากภาษามาลายา-โพลิเนเชียน (malayo-polynésienne) โดยผู้เขียนได้อ้างอิงการศึกษาของ บลองช์ เลวิส (Blanche LEWIS) ที่ว่าภาษามอแกนมีการผสมผสานกันภาษาท้องถิ่นโดยรอบ (หน้า 13)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ผู้เขียนได้อธิบายว่า แต่เดิมมอแกนจะอยู่อาศัยบริเวณหมู่เกาะเมอกุย (Mergui) ประเทศเมียนม่า จากทั้งหมดประมาณ 400 เกาะ มีการแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยและตั้งชื่อกลุ่มตามเกาะหลักที่ใช้อาศัยในช่วงฤดูฝน 1) Dung (île de Ross) 2) Djaït (île d'Owen) 3) Lebi (îles de Sullivan et Lampi) 4) Niawi (île de Loughborough) 5) Chadiak (île de St Matthew) โดยผู้เขียนเน้นหนักไปที่กลุ่มจากเกาะ เซนต์ แม็ตทิว (St Matthew) ที่อพยพลงมาในประเทศไทย เพราะเป็นการสะดวกสำหรับชาวยุโรปตะวันตกในการศึกษาเก็บข้อมูลในประเทศไทยมากกว่าในประเทศเมียนม่า (หน้า 9, 11)

Settlement Pattern

มอแกนเป็นเป็นกลุ่มร่อนเร่ในทางทะเลและตั้งถิ่นฐานตามเกาะต่างๆ สำหรับกลุ่มมอแกนในประเทศไทยอพยพมาจากกลุ่มย่อยที่ชื่อ ชาดิกค์ (Chadiak) ซึ่งอยู่บนเกาะเซนต์ แม็ตทิว ที่ถูกรัฐบาลเมียนม่ารุกราน (หน้า 12) มอแกนกลุ่มแรกมาอาศัยที่หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ยังมีมอแกนกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานถาวรอีกสองกลุ่มที่อพยพมาอยู่ทางจังหวัดภูเก็ตค่อนไปทางใต้ คนไทยเรียกกลุ่มนี้ว่า ชาวเล ชาวน้ำ บางครั้งก็ชาวเกาะ (ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า อูรักลาโว้ย) ส่วนกลุ่มที่อพยพมาอาศัยบริเวณชายฝั่งจังหวัดพังงาถึงจังหวัดภูเก็ต ถูกเรียกว่า ไทยใหม่ หรือ มอแกลน (หน้า 15-16)

Demography

ผู้เขียนได้อ้างถึงนักเขียนส่วนใหญ่จะบอกว่า มีประชากรมอแกนโดยประมาณ 5,000 คน แต่ผู้เขียนเองคาดการณ์ว่ามีประมาณ 2,000 คน โดยอาศัยจากการประมาณการณ์จำนวนเรือกับโครงสร้างครอบครัวที่เป็นลักษณะยิปซีทะเล หนึ่งครอบครัวหรือเรือหนึ่งลำต่อสมาชิก 5 คน (หน้า 10) ผู้เขียนยังได้ประมาณกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินหรือกลุ่มมอแกลนว่ามีประมาณ 3,000 คน (หน้า 16)

Economy

มอแกนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งหรือกลุ่มไทยใหม่ จะดำเนินชีวิตโดยการปลูกข้าว ทำไร่ บางคนก็ผันตัวเองไปทำงานเป็นลูกจ้างชาวสวนยางพารา ส่วนมอแกนที่ยังคงเร่ร่อนในทะเลจะนำของที่เก็บจากทะเล จำพวกเปลือกหอยและสัตว์น้ำมาแลกเครื่องอุปโภคบริโภคกับมอแกนบนฝั่ง เป็นเสมือนความสัมพันธ์ที่ยังเกิดขึ้นอยู่ระหว่างกลุ่ม (หน้า 16) แต่ผู้เขียนได้อธิบายถึงสังคมเศรษฐกิจจากการเข้ามาของการท่องเที่ยวที่เริ่มเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์และวิถีชีวิตของมอแกน เป็นเหมือนกับสินค้าทางวัฒนธรรม (หน้า14)

Social Organization

ผู้เขียนชี้ว่าเรือเป็นพื้นฐานของโครงสร้างสังคมมอแกน ผู้เฒ่าหรือผู้สูงอายุต้องชำนาญในเรื่องการเดินเรือ นอกเหนือจากสามารถเข้าใจภาษาถิ่นโดยรอบเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับคนต่างถิ่น ผู้เฒ่าจะเป็นผู้นำกลุ่มเรือ 5-6 ลำในการล่องเรือในทะเล (หน้า15) ในเรือ 1 ลำจะมี 1 ครอบครัว แต่เมื่อบุตรแต่งงานก็จะไปสร้างเรือลำใหม่ นอกจากว่าพ่อแม่แก่เฒ่าไม่สามารถบังคับเรือได้ ก็จะย้ายไปอยู่บนเรือลำเดียวกับลูก หรือย้ายขึ้นไปอาศัยอยู่บนแผ่นดิน (หน้า 10)

Political Organization

ผู้เขียนบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างมอแกนกับภาครัฐ หมู่เกาะสุรินทร์กลายเป็นอุทยานแห่งชาติมีส่วนดีที่ช่วยปกป้องมอแกนจากความรุนแรงที่เคยเกิดในอดีต ช่วยรักษาธรรมชาติที่สวยงาม มีกฎห้ามจับปลาด้วยวิธีการระเบิดปลา ห้ามตัดไม้ หรือแม้แต่การมาตรวจเยี่ยมของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ก็มีส่วนทำให้มอแกนเป็นที่รู้จัก และมีส่วนช่วยในเรื่องของสัญชาติแก่มอแกน แต่ผู้เขียนก็กังวลถึงผลที่จะเกิดตามมาในเรื่องการเปลี่ยนวิถีชีวิตของมอแกนจากการมาของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้อัตลักษณ์ของมอแกนจะค่อยๆ หายไป (หน้า 13-14)

Belief System

ผู้เขียนชี้ว่า ชาวมอแกนอาศัยอยู่ในทะเลก็จริง แต่ก็เชื่อว่าภูเขาเป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษที่เหมือนกับเทพผู้รักษาสถานที่ (หน้า11) โดยเฉพาะที่หมู่เกาะสุรินทร์ มีการทำเสาวิญญาณบรรพบุรุษเพื่องานพิธีกรรม สำหรับมอแกนเชื่อว่าหมู่เกาะสุรินทร์คือปลายสุดของโลกหรือขอบเขตของมอแกนนั้นเอง (หน้า 13-14)

Education and Socialization

(ไม่ระบุ)

Health and Medicine

(ไม่ระบุ)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เนื่องจากชาวมอแกนจะเดินทางในทะเลและจะหลบคลื่นลมเฉพาะในฤดูฝน บ้านส่วนใหญ่จะทำแบบเรียบง่ายเพียงเพื่อหลบลมและฝน โดยสร้างบ้านบนเสาสูงๆ บริเวณชายฝั่ง หลังคาใช้ใบไม้ ฝาตีด้วยระแนงไม้ไผ่ หลังจากหมดหน้าฝนมอแกนก็ทิ้งบ้านและเดินทางออกทะเล (หน้า 12)

Folklore

ผู้เขียนได้อธิบายตำนานของมอแกนที่สะท้อนมรดกทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตในโครงสร้างทางสังคมของมอแกน ตำนานพูดถึงพระราชินีผมสีทองสำหรับมอแกนเป็นเหมือนผู้ปกครองเผ่า อาศัยบนภูเขาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ วันหนึ่งเด็กหนุ่มเชื้อสายมาเลย์ อพยพมาอยู่ เป็นผู้สอนให้ผู้คนรู้จักวิธีการปลูกข้าว การใช้ไฟ ได้แต่งงานกับราชินี แต่จากการที่ฝ่ายชายต้องไปอาศัยบนเรือฝ่ายหญิงตามประเพณีดั้งเดิม (ที่พักของฝ่ายหญิง)ทำให้เด็กหนุ่มไปมีเพศสัมพันธ์กับน้องสาวของพระราชินี ชื่อว่า แกน (Ken) ทำให้ทั้งคู่ถูกเนรเทศออกจากแผ่นดินให้ไปอยู่ในทะเล (lemo Ken) จึงเป็นที่มาของชื่อ มอแกน เพื่อชี้ให้เห็นถึงการถูกลงโทษ พระราชินียังได้สั่งให้ทำส่วนเว้นด้านหัวเรือและท้ายเรือ เรือซึ่งเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ตัดการบริโภคและการขับถ่าย ซึ่งทั้งชื่อและส่วนเว้นของเรือ เป็นสัญลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเผชิญหน้ากับเรือของกลุ่มคนในทะเล ทำให้ถูกพาลงมาเป็นทาสทางใต้ของประเทศไทย แกนกับสามีชาวมาเลย์อพยพหนีมาตั้งถิ่นฐานที่เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร (ปัจจุบันชื่อว่า กลุ่มอูรักลาโว้ย) อีกกลุ่มอพยพมาทางใต้กลายเป็นกลุ่มมอแกลนหรือไทยใหม่ ส่วนเกาะสุรินทร์เป็นเหมือนศูนย์รวมของมอแกนทุกกลุ่ม จุดสำหรับการชุมนุมทำพิธีกรรม (หน้า17-19) จากตำนานผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงที่มาของประวัติศาสตร์ และลักษณะทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะเห็นว่า เด็กหนุ่มชาวมาเลย์เป็นเหมือนวีระบุรุษผู้ให้ความรู้และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้สร้างความวุ่นวายให้เกิดกับมอแกนด้วย (หน้า 17)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การเลือกคู่ การแต่งงานของมอแกนโดยปกติ นิยมเลือกคู่ครองจากกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันแต่ต่างถิ่นอาศัย โดยผู้เขียนชี้ว่าการแต่งงานต่างชาติพันธุ์มีขึ้นได้ โดยเฉพาะกับผู้หญิงมอแกนในประเทศไทยที่นิยมแต่งงานกับผู้ชายไทย แต่น้อยคนนักที่จะแต่งงานกับคนพม่า ไม่ใช่ปัญหาด้านการสื่อสารหรือภาษา แต่เป็นการง่ายในการปรับตัวให้เข้ากับประเทศไทย (หน้า 12)

Social Cultural and Identity Change

ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงรูปแบบชีวิตของมอแกนทั้ง 3 กลุ่ม การเข้ามาของนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีวัฒนธรรมของชาวเล การรับเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามาในกลุ่ม เกิดภาพลักษณ์ด้านลบขึ้นมาใหม่ การติดเหล้า ขอทาน แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเน้นหนักคือ การเข้ามาของเทคโนโลยีอย่างมอเตอร์เครื่องเรือที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างประเพณีในสังคมมอแกนอย่างชัดเจน ลดบทบาทความสำคัญของผู้เฒ่าหรือหัวหน้ากลุ่มในการเดินเรือเป็นกลุ่ม แต่เพิ่มอำนาจแก่คนผู้มีเครื่องมือ (หน้า 14-16)

Map/Illustration

ไม่ระบุ

Text Analyst อนุศิษฐ์ พิบูลศิริ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มอแกน, มุขปาฐก, ตำนาน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง