สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ประวัติศาสตร์,การตั้งถิ่นฐาน,วิถีชีวิต,สภาพสังคม,การนับถือผี
Author บุญช่วย ศรีสวัสดิ์
Title ละว้า
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ละว้า ลัวะ ว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 38 Year 2545
Source ชาวเขาในไทย กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2506 โดย สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)
Abstract

ละว้าเป็นชนชาติที่สืบเชื้อสายมาจาก "ว้า" หรือ "ล้า" ในมณฑลยูนนานตอนใต้กับเขตรัฐฉานแห่งสหภาพพม่า เป็นชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาติพันธุ์ประการหนึ่ง คือ นิยมประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการเซ่นสังเวยผีด้วยการฆ่าสัตว์ และยึดถือความ เชื่อในการนับถือผีอย่างเหนียวแน่น สะท้อนผ่านสิ่งปลูกสร้าง ประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ มีหัวหน้าฝ่ายจารีตประเพณีสืบตระกูลต้นผีเรียกว่า "ต้นฮีต" ละว้าบ้านบ่อหลวงกับละว้าบ้านอุมพายถือเป็นคนละตระกูล นับถือผีคนละประเภท ละว้าบ้านบ่อหลวงมักมองว่าละว้าอุมพายนั้นเป็นพวกป่าเถื่อน เนื่องจากยังคงรับประทานเนื้อสุนัขและนับถือผีอย่างเคร่งครัด ในขณะที่ละว้าบ้านบ่อหลวง บ้านห้วยสิงห์ และบ้านจอมแจ้งนับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ปนกัน ละว้าแต่เดิมพูดภาษาละว้าได้ แต่ปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่หมู่บ้านที่พูดละว้าได้ เนื่องจากหันมาพูดภาษาถิ่นตามชาวเขาที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงเพิ่มขึ้น เช่น ภาษาเหนือ ภาษาไทยใหญ่ ภาษาสะกอ

Focus

เน้นศึกษาประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน สภาพสังคม ความเป็นอยู่และการปรับตัวของชนเผ่าละว้า

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

"ละว้า" เป็นชื่อที่คนไทยภาคกลางใช้เรียก คนเหนือจะเรียกว่า "ลัวะ" ส่วนคนชัยภูมิและเพชรบูรณ์เรียกว่า "ชาวบน" ภาคกลางบริเวณต้นแม่น้ำแควน้อย กาญจนบุรีเรียกกันว่า "อูด" (หน้า 101-102) ชาวไทยใหญ่ในรัฐฉานของพม่าเรียกละว้าว่า "วะ"หรือ "ล้า" ส่วนชาวพม่าเรียกละว้าว่า "กวงยัต" พวกไตแข่ (ไทย-จีน) เรียกว่า "ล้า" บ้างก็เรียก "ปูมาน" ละว้าที่มีอาชีพทำไร่ชาทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าถูกเรียกว่า "ปะหร่อง" ละว้าที่นับถือพุทธศาสนาในรัฐเชียงตุงเรียกกันว่า "ไตหลอย" (ไทยภูเขา) "สามต้าว" (สามท้าว) (หน้า 105) ไทยลื้อในเขตสิบสองปันนาและเขตติดต่อกับลาวตอนเหนือสุดเรียกว่าละว้าว่า "ข่าวะ" (หน้า 111) ละว้า (บ้านบ่อหลวง) เรียกตนเองว่า "ละเวือะ" (หน้า 115) ส่วนละว้าแม่สะเรียงเรียกตนเองว่า "ลัวะข้างจาน" หรือละว้าทางใต้ ละว้าบริเวณหมู่บ้านแถวแม่สะเรียงเรียกตนเองว่า "ลัวะหย่องเคาะ" (หน้า 121)

Language and Linguistic Affiliations

ในงานชิ้นนี้ระบุว่า ละว้ามีสำเนียงพูดคล้าย "ข่า" ในประเทศลาว "ม้อย" ในเวียดนาม "พะนอง" และ "สะเตียง" (Stieng) ในกัมพูชา กลุ่มว้า ล้า ปะหร่อง ไตหลอย สามท้าว ปูมานในรัฐฉาน (ไทยใหญ่) และมณฑลยูนนานตอนใต้ (หน้า 102) ภาษาพูดของละว้าในไทย คล้ายว้าหรือล้าในพม่าและมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน สำเนียงพูดคล้ายเสียงกบร้อง มีความใกล้เคียงภาษามอญ-เขมร ละว้าแต่เดิมพูดภาษาละว้าได้ แต่ปัจจุบันมีหมู่บ้านละว้าเพียงไม่กี่หมู่บ้านที่พูดละว้าได้ เนื่องจากหันมาพูดภาษาถิ่นตามชาวเขาที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงเพิ่มขึ้น เช่น ภาษาเหนือ ภาษาไทยใหญ่ (หน้า 105)

Study Period (Data Collection)

ไม่มีข้อมูล

History of the Group and Community

ละว้า เป็นชนชาติที่สืบเชื้อสายมาจาก "ว้า" หรือ "ล้า" ในมณฑลยูนนานตอนใต้กับเขตรัฐฉานแห่งสหภาพพม่า ไทยใหญ่ในรัฐฉานเชื่อว่าดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ในปัจจุบันเคยเป็นของพวกละว้ามาก่อน ตามประเพณีรัฐเชียงตุง เมื่อเจ้าฟ้าจะขึ้นครองนครใหม่ต้องให้พวกละว้าไปนั่งบนหอคำหรือวังประทับ แล้วเจ้าฟ้าถือแซ่ไปขับไล่ ละว้าเป็นเจ้าของผืนดินถึง 6 ประเทศเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน คือ ไทยบริเวณตอนเหนือ ตอนกลางและอีสาน พม่าบริเวณรัฐฉาน (ไทยใหญ่) จีนตอนใต้มณฑลยูนนาน ลาว เวียดนาม กัมพูชาตอนเหนือ (หน้า 102-103) ตำนานพระธาตุจังหวัดภาคเหนือ กล่าวถึงชนชาติละว้าซึ่งมีอยู่ก่อนไทยและขอม ตามพงศาวดารเก่ากล่าวว่า เคยมี "ลวรัฐ" อยู่บริเวณเมืองลพบุรีก่อนขอมเรืองอำนาจ ในสมัยพระนางจามเทวีเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เคยทำสงครามกับละว้า เนื่องจากพญาวิลังกะได้ไปขอพระนางจามเทวี เมื่อไม่สมหวังก็มีการสู้รบกันจนตัวตาย พวกละว้าแตกพ่ายหนีไปอยู่ตามป่าเขา เจ้าปู่น้ำขุ่นพาพวกละว้าหนีไปอยู่แถบเชียงราย อำพรางตนไม่ให้คนไทยจำได้ เมื่อใครถามก็บอกเป็นพวกข่าเพน ข่าเปี่ยน หากบอกว่าเป็นข่าว้าจะถูกฆ่าตาย (หน้า 103-104) ส่วนที่บ้านบ่อหลวง เดิมอยู่ตามป่าและเนินเขาฝั่งแม่น้ำปิง ตั้งแต่ อ. จอมทองลงไปจนถึง อ.ฮอด ซึ่งเคยเป็นเวียงเชียงทองมาก่อน ประมาณ 250 ปีมาแล้วได้อพยพไปอยู่ที่บ้านบ่อหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 5 หัวหน้าละว้าบ้านบ่อหลวงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาขุนดำ ละว้าบ้านบ่อหลวงเรียกตนเองว่า "ละเวือะ" (หน้า 115) ละว้าในอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่สะเรียง ต่อมาถูกพวกกะเหรี่ยงชายแดนรบกวนจนต้องอพยพเข้ามาอยู่ใกล้กับตัวเมือง ปัจจุบันคือบ้านห้วยสิงห์ ต.แม่คะตวน และบ้านจอมแจ้ง ต.แม่สะเรียง เรียกตัวเองว่า "ละว้าทางใต้" (หน้า 121)

Settlement Pattern

ละว้าตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณฟากตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เข้าไปในเขตจีนเกือบถึงแม่น้ำโขง (หน้า 105) ละว้าบ้านบ่อหลวงตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,238 เมตร (หน้า 115) บ้านละว้าทุกหลังคาเรือนจะมีแท่นบูชาผีเรือนตามมุมบ้าน ปลูกบ้านโดยใช้ไม้ใหญ่เป็นเสาเรือน หลังคาสูง ใช้ไม้ไผ่สานเป็นฝา มีเตาไฟในบ้าน 2 เตา บ้านจะมีลำไม้ไผ่ปักไว้ 2 เล่มสำหรับแขวนตะกร้าสิ่งของและแขวนกระบอกสุรา ละว้าบ้านบ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานในที่ราบสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,238 เมตร ถัดจากบ้านบ่อหลวงไปทางทิศตะวันตกเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่า "บ้านบ่อสะหลี" ละว้าหมู่บ้านนี้อพยพมาจากบ้านบ่อหลวง เดิมเคยอาศัยอยู่ตามป่าและเนินเขาริมฝั่งแม่น้ำปิง ตั้งแต่ อ.จอมทองลงไปถึง อ.ฮอด ละว้าแม่สะเรียงนิยมสร้างบ้านเรือนขนาดพออยู่ ไม่ใหญ่โต ยกพื้นสูง หลังคาสูงคลุมลงมาแทบไม่เห็นฝาเรือน ชานหน้าบ้านใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ใต้ถุนทำเป็นที่เก็บฟืนและเล้าไก่ ทุกหลังคาเรือนจะมีเตาไฟตรงกลางห้องโถงเรียกว่า "เตาไฟหล่ม" ทั้งยังตั้งหิ้งบูชาเซ่นไหว้ผีไว้บนเรือน (หน้า109,110,123,125)

Demography

ละว้ามีจำนวนพลเมืองไม่แน่นอน ประชากรใน 45 หมู่บ้านมีประมาณ 10,000 คน หมู่บ้านชาวละว้าที่ใหญ่ที่สุดคือ บ้านบ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ มีจำนวนประมาณ 228 หลังคาเรือน (หน้า 112) ละว้าที่อยู่ในเขตอำเภอแม่สะเรียง มีจำนวนประมาณ 3,000 คน (หน้า 122)

Economy

ละว้าล่าศรีษะมนุษย์มักทำไร่ปลูกข้าว ปลูกผัก พริกและฝิ่น รวมถึงเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นเครื่องเซ่นผี มักแลกเปลี่ยนฝิ่นกับปืนหรือสิ่งของเสื้อผ้าไม่ใช้เงิน มีอาวุธเป็นพวกหอก ดาบ หน้าไม้ ปืน มีดสั้น (หน้า 109) ละว้าบ้านบ่อหลวงประกอบอาชีพทำนา หากล้วยไม้นำมาขายให้พ่อค้าคนกลาง ชาวบ้านบ่อหลวงชำนาญในการตีเหล็กเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ อาทิ ดาบ ตะไกร มีดพร้า ถือเป็นสินค้าออกสำคัญของหมู่บ้าน หญิงบ้านบ่อหลวงไม่ชำนาญในการทอผ้าจึงมักหาซื้อจากละว้าหมู่บ้านอื่น (หน้า 115-116) ละว้าแม่สะเรียงประกอบอาชีพ ปลูกข้าว ฝ้าย พืชผักและยาสูบ พวกที่อยู่ไกลออกไปปลูกฝิ่น ฝ้าย ข้าวไร่ ชายเขาทำนาเป็นชั้น ๆ ลงมาตามลาดเขาโดยใช้น้ำจากลำธารทดเข้าสู่พื้นนาที่สูงแล้วปล่อยให้ไหลลงมายังนาชั้นล่าง มีการเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยให้ หากินเอง หากมีมากพอเป็นสินค้าก็นำไปขายในเมือง ละว้าแม่สะเรียงมีฝีมือในการทำเครื่องประดับโลหะเงิน เช่น กำไลเงิน กล้องยาสูบ นอกจากนี้ยังชำนาญในการสานเสื่อ กระบุง ย่ามและทอผ้า มีการตีเหล็กและถลุงเหล็กเป็นเครื่องใช้ ละว้านิยมเคี้ยวหมาก และรับประทานเนื้อสุนัข ดื่มสุราเก่ง นิยมรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะปลาร้า (หน้า 122-123)

Social Organization

ละว้ามีประเพณีการเที่ยวสาว ชายหนุ่มจะมาเกี้ยวพาราสีหญิงสาวที่บ้าน มีการเจาะร่องไว้ข้างที่นอน ชายหนุ่มจะมาในเวลากลางคืนแล้วล้วงมือไปลูบคลำต้นแขน เมื่อทั้งคู่ตกลงปลงใจกันแล้ว ก็จะกำหนดวันแต่งงาน ละว้าหมู่บ้านบ่อหลวงจะไม่มีการสู่ขอ มีการฆ่าสุนัขตัวผู้สีแดงเซ่นผีเรือน (หน้า 119-120) ในสมัยก่อน ชายหนุ่มจะดีดเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายซออู้ เรียกว่า "เปี๊ยะ" ไปถึงบ้านหญิงสาว ละว้าบ้านช่างหม้อแต่เดิมหากชายหญิงตกลงปลงใจรักใคร่กันแล้ว มักนัดพากันหนี ชายหนุ่มจะนำหญิงสาวไปฝากไว้บ้านญาติ แล้วให้เพื่อนชายนำสุราไปปลุกบิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อแจ้งให้ทราบ มีการฆ่าหมูหามไปมอบให้บ้านฝ่ายหญิง เงินสินสอดฝ่ายชายจะจัดผู้เฒ่านำมามอบให้ หากฝ่ายหญิงสืบสายตระกูลกษัตริย์หรือมีเชื้อขุน ฝ่ายชายก็ต้องเสียเงินสินสอดจำนวนมากกว่าหญิงที่มีเชื้อสายไพร่ เมื่อแต่งงานแล้ว ผู้ชายต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง เมื่อคลอดบุตรแล้ว ฝ่ายชายจะนำภรรยากลับบ้านตนแล้วจัดพิธีสู่ขอลูกสะใภ้ให้ไปสืบมรดกตระกูลต่อไป เมื่อฝ่ายหญิงไปอยู่บ้านฝ่ายชายต้องหันไปนับถือผีฝ่ายชายและตัดขาดการนับถือผีฝ่ายบิดามารดาฝ่ายตน ละว้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการหย่าร้าง หากฝ่ายชายผิดจะแบ่งมรดกคนละครึ่ง หากฝ่ายหญิงผิดจะไม่ได้อะไรเลย (หน้า 129-132)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

มีละว้าส่วนน้อยที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ละว้าที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาและป่าลึกแถบแม่สะเรียง ยังคงนับถือผีตามความเชื่อดั้งเดิมอย่างเหนียวแน่น ดังสุภาษิตไทยใหญ่ที่ว่า "ไตแล้งพะรา ล้าเล้งผี" หมายถึง ชาวไทยใหญ่เลี้ยงพระ ชาวละว้าเลี้ยงผี มีเรื่องเล่ากันว่าในรัฐฉานของพม่า มีละว้าที่อยู่ในป่าลึกยังล่าหัวมนุษย์เพื่อบูชาผีไร่ ในปีหนึ่ง ๆ จะมีเวลาล่าศีรษะมนุษย์ 3 เวลา คือ ช่วงเริ่มปลูกข้าวไร่ ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวไร่เรียกกันว่า "ไปหาหัวฮ้า" และช่วงก่อนปีใหม่ 7-8 วันประมาณเดือนเมษายน เมื่อเสร็จพิธีแล้วหัวกะโหลกจะถูกนำไปรวมไว้ที่เรือนผีหรือศาลหัวกะโหลก มีการเซ่นบูชาผีหัวกะโหลกปีละครั้งด้วยการล้มกระบือ หิ้วหัวกะโหลกมนุษย์เต้นรำไปรอบ ๆ (หน้า 107-108) ละว้าบ้านกายตื่นบูชาผีเรือนซึ่งเป็นผีผู้หญิงและมักนำสุนัขมาเป็นเครื่องเซ่น ทั้งยังนิยมฆ่ากระบือดำมาบูชาผีหมู่บ้านหรือผีหลวงผีไร่ (หน้า 110) ละว้าบ้านบ่อหลวงนับถือทั้งศาสนาพุทธและผี มีวัด 2 แห่ง ตามบ้านไม่มีหิ้งผี แต่มีแท่นบูชาพระพุทธรูปนิยมทำบุญอย่างชาวเหนือ แต่ก็ยังคงนับถือผีอย่างเหนียวแน่น ผีที่บ้านบ่อหลวงนับถือ ได้แก่ ผีละมาง (ผีเรือน) และผีหลวงประจำหมู่บ้าน รวมถึงผีบ่อแร่ทั้งห้า มีการตั้งหัวหน้าเป็นตัวแทนผี (หน้า 116-117) เมื่อต้องการจะขุดแร่ ต้องทำพิธีบอกกล่าวเซ่นสังเวยต่อผีบ่อแร่ก่อน โดยใช้ไข่ไก่และพานข้าวตอกดอกไม้ มีการฆ่าโคสีแดงเซ่นสังเวย แล้วส่งหญิงพรหมจารีเปลือยกายเข้าไปขุดสินแร่ พิธีดังกล่าวได้ยกเลิกไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่การเซ่นไหว้ผียังคงมีอยู่ (หน้า 117-118) ละว้านิยมจัดพิธีเลี้ยงผีและเซ่นผีเป็นปกติ เช่น พิธีเลี้ยงผีหลวงมักจัดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวไร่ การเซ่นผีฟ้าเพื่อล้างซวยเมื่อมีฟ้าผ่าในในไร่สวน (หน้า 126-128) ในหมู่บ้านละว้าบ่อหลวงจะมีหัวหน้าฝ่ายจารีตประเพณีสืบตระกูลต้นผีเรียกว่า "ต้นฮีต" ที่บ้านของต้นฮีตจะมี "ถา" หรือ คำสาปแช่งผู้กระทำผิดฮีต จารึกด้วยอักษรขอมบรรจุในหม้อดินเผาฝังดิน เมื่อ "ต้นฮีต" ถึงแก่กรรมก็จะขุดขึ้นมาเปิดออกอ่าน โดยจะทำพิธี ตั้งเครื่องเซ่นบูชา (หน้า 117-118) ละว้าบ้านบ่อหลวง กับละว้าบ้านอุมพายถือเป็นคนละตระกูล นับถือผีคนละประเภท ละว้าบ้านบ่อหลวงมักมองว่าละว้าอุมพายนั้นเป็นพวกป่าเถื่อน เนื่องจากยังคงรับประทานเนื้อสุนัขและนับถือผีอย่างเคร่งครัดอยู่นั่นเอง สำหรับพิธีศพ ละว้าบ้านบ่อหลวง มีการนิมนต์พระมาทำพิธีทางพุทธศาสนา แต่ก็ยังคงไม่ละทิ้งเคล็ดความเชื่อตามจารีตเดิมอยู่ ส่วนละว้าบ้านห้วยสิงห์ ละว้าบ้านจอมแจ้งนับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ปนกัน (หน้า 120-121)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

เมื่อเจ็บป่วยจะมีการรับประทานยาสมุนไพรหรือต้มรากไม้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ไก่ สุนัขและสุราเซ่นผี ทั้งยังขับไล่ผีออกจากร่าง (หน้า 132)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กลุ่มละว้าล่าหัวมนุษย์ในรัฐฉานแต่งกายด้วยผ้าเตี่ยวสั้นสีดำ ไม่สวมเสื้อ บ้างก็ใช้ผ้าปิดระหว่างต้นขา หญิงสวมเสื้อผ้าชุดดำ ผ้านุ่งสั้นมีลายสีแดงสลับ หญิงละว้าเมืองเลินไม่เย็บผ้านุ่งแต่จะใช้ผ้าพันกาย โพกผ้าดำ ประดับลูกปัด สายสร้อยคอและมือ พันเชือกควั่นรอบเอว ใส่ตุ้มหูโลหะเงิน (หน้า 108-109) หญิงละว้าบ้านบ่อหลวงในอดีตใส่ชุดดำ มีขอบแดงที่ปลายแขน เสื้อยาวกว่าเอว ผ้าซิ่นพื้นสีดำสลับแดง-ขาว นิยมสวมกำไลข้อมือ (หน้า 116) ละว้าบ้านอุมพายนุ่งกางเกงขายาวก้นหย่อน เสื้อแขนยาวผ่าอกกลาง ชอบใช้สีขาวมากกว่าสีดำ ผู้หญิงนิยมใช้ชุดดำ ผ้านุ่งสลับสีแดงขาวเป็นลวดลาย สั้นแค่หัวเข่า สวมปลอกผ้าหุ้มน่องและปลอกหน้าแข้ง (หน้า 120) ละว้าตามป่าเขาในพื้นที่แถบแม่สะเรียง นิยมสวมเสื้อดำมีขลิบผ้าแดงที่ปลายแขนเสื้อ สวมผ้านุ่งสั้นทรงกระบอกแคบสีดำลายแดง นิยมสวมเสื้อสีขาวตัวยาวเหนือเข่า ใช้สีขาวมากกว่าสีดำ เสื้อกางเกงผู้ชายนิยมใช้สีขาว หญิงที่แต่งงานแล้วบ้างก็ใช้สีดำ บ้างก็ใช้เสื้อสีดำทับแขนเสื้อสีขาวอีกชั้น หญิงแม่เรือนสวมเสื้อสีขาวมาก มักทอผ้าขึ้นใช้เอง อาจเนื่องจากละว้าถิ่นนี้อยู่ใกล้กะเหรี่ยงและไทยใหญ่ จึงยืมสีขาวของสาวกะเหรี่ยงพรหมจารีมาใช้ เพราะละว้าถิ่นอื่นมักใช้สีดำ เครื่องประดับชายหญิงนิยมเจาะหู ใส่แผ่นทองเหลืองหรือใบลานม้วนกลมมีพู่ห้อยทำจากเส้นด้าย นิยมสูบกล้อง ประดับคอด้วยสร้อยลูกปัด - ลูกประคำสวมกำไลข้อมือเงินขดเป็นเกลียว ชายมีมีดสั้น - หุ้มโลหะเงินเหน็บไว้ที่เอว (หน้า 122) การสร้างที่อยู่อาศัย ละว้าในเขตอำเภอแม่สะเรียงนิยมสร้างบ้านยกพื้นสูง ขนาดพออยู่ หลังคาสูงคลุมฝาเรือนลงมา มีชานหน้าบ้านสำหรับประกอบกิจกรรมการทอผ้าปั่นฝ้าย ภายในห้องมีเตาไฟสุมไว้ตลอด ใช้เสื่อไม้ปูนอน หมอนทำด้วยท่อนไม้ ถือว่า การนอนบนที่นอนนุ่มเป็นเรื่องผิดจารีต อาจทำให้เจ็บป่วยได้ (หน้า 123-124)

Folklore

พงศาวดารเชียงตุงบันทึกว่า ละว้าเป็นคนพวกแรกที่ออกมาจากน้ำเต้าใบเดียวกับชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งตรงกับตำนานเมืองสิบสองจุไทยเล่าว่า มนุษย์ 5 คู่ออกมาจากผลน้ำเต้าปุง ข่าออกมาเป็นคู่แรกแถบเดียนเบียนฟูหรือเมืองแถง แต่ไม่ยอมอาบน้ำชำระร่างกาย ที่หนองน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อกันว่าหากผู้ใดอาบน้ำที่หนองฮกหนองฮายแล้ว จะมีร่างกายผ่องใส สติปัญญาเฉลียวฉลาด ข่าจึงมีผิวดำเตี้ย เป็นต้นกำเนิดของข่าและพวกม้อยในลาวและเวียดนาม พงศาวดารเมืองยองเล่าว่า แต่เดิมว้าตั้งหมู่บ้านอยู่รอบหนองน้ำเมืองยอง มีพญาลกเป็นหัวหน้า ต่อมามีพวกละว้าอพยพมาจากเชียงตุงมาอยู่ด้วย เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงส่งคนมาขอละว้าคืน แต่ท้าวลกไม่ยอมให้จึงเกิดการสู้รบกัน พญาลกรบชนะได้ยกไปตีหัวเมืองต่าง ๆ รวมถึงเมืองเชียงรุ้งของไทยลื้อ ต่อมาพญาลกพ่ายแพ้แก่โอรสเจ้าฟ้าเมืองเชียงรุ้ง จึงพากันหนีไปในเขตลาวกลายเป็นพวกข่า (ข้า) ต่าง ๆ เช่น ข่ามุ ข่าเม่ด ข่าฮอก ข่าเพน ฯลฯ (หน้า 103-104, 140-141) อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า มีกบยักษ์ 2 ผัวเมียชื่อ "ยาถำ" กับ "ยาไถ่" จับสัตว์ป่ากินเป็นอาหาร ต่อมากบผัวเมียได้จับมนุษย์มากินเป็นอาหาร แล้วนำหัวกะโหลกใส่ตะกร้ามาแขวนบนเสา เมื่อทั้งคู่แก่ชราลงได้ไปดักเอาหลานของตนมากินเป็นอาหาร บรรดาบุตรชายทั้งเก้าปรึกษากัน แล้วก็พร้อมใจจับเอายาถำกับยาไถ่บิดามารดามาฆ่ากิน เกิดเป็นธรรมเนียมฆ่าบิดามารดาเมื่ออายุมากสืบต่อกันมา มีการสร้างกลองทองเหลืองทรงกลมมีรูปกบเกาะอยู่ริมกลอง เพื่อเป็นที่ระลึกว่าพวกข่ามีบรรพบุรุษเป็นกบ กลองนี้กะเหรี่ยงและข่าในลาวใช้ พม่าเรียก "กลองปะชี " แปลว่า "กลองกบ" ส่วนไทยเรียกกลองนี้ว่า "กลองมโหระทึก" (หน้า 106-107)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ละว้ามีเอกลักษณ์เฉพาะของชาติพันธุ์ประการหนึ่งคือ นิยมประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการเซ่นสังเวยผีด้วยการฆ่าสัตว์ (124 -128) การแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามเผ่า (หน้า 108, 116, 120) ละว้าในจังหวัดเพชรบูรณ์หรือ "ชาวบน" มีรูปร่างเตี้ยกว่าปกติ ใบหน้าค่อนข้างกลม ผิวเนื้อดำแดง จมูกไม่โด่ง ริมฝีปากหนา นุ่งผ้าโจงกระเบน(ปัจจุบันนุ่งกางเกง) สูบกล้อง กินหมาก ชอบดื่มสุรา มีความชำนาญในการจักสานเสื่อลำแพน เสื่อหวาย กระบุง ตะกร้า (หน้า 133) ภาษาพูดมีสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ คือ คล้ายเสียงกบร้อง ซึ่งเกี่ยวโยงกับตำนานความเชื่อที่ว่าละว้ามีต้นตระกูลเป็นกบ (หน้า 113)

Social Cultural and Identity Change

เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อละว้าย้ายถิ่นไปอยู่ในสภาพสังคมใดก็จะเรียนรู้ภาษาถิ่นนั้นๆ ละว้าทางเหนือจะใช้ภาษาเหนือแทน จนลืมภาษาเดิมของตนเสียหมด อีกทั้งขนบจารีตประเพณีและวัฒนธรรมก็เปลี่ยนแปลงไปจนหมด ใช้ตามแบบชาวเหนือจนแทบ ไม่รู้เลยว่าเป็นหมู่บ้านละว้า (หน้า 113, 121) ละว้าจำนวน 45 หมู่บ้าน สามารถพูดภาษาละว้าได้เพียง 7-8 หมู่บ้านเท่านั้น ละว้าที่อยู่ใกล้กับกระเหรี่ยงเผ่าสะกอ สามารถพูดภาษาสะกอได้ (หน้า 112-113) ในสมัยที่การคมนาคมยังเข้าไม่ถึงหมู่บ้าน ละว้าจะรับจ้างสะพายสิ่งของ โดยนำของใส่ตะกร้าสะพายข้างหลัง ที่มีสายรัดคาดหน้าผากเรียกว่า "ป๋วด" หรือ "พวด" ผู้หญิงจะหาบสิ่งของ (หน้า 115) เมื่อละว้าบ้านบ่อหลวง บ้านบ่อสะลี๋ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่เลิกรับประทานเนื้อสุนัข ก็กลับมองละว้าบ้านอุมพายที่ยังนิยมรับประทานเนื้อสุนัขสีแดง ว่าเป็นพวกป่าเถื่อนล้าหลัง เพราะยังยึดคติจารีตแบบเดิมเช่นเดียวกับชาวจีนบางพวกที่นิยมรับประทานเนื้อสุนัขดำ (หน้า 120)

Map/Illustration

พิธีส่งเจ้าสาวของละว้า/การเล่นรำกระทบไม้ในงานศพของละว้า (หน้า 134) หญิงชาวละว้า/ละว้าตำข้าว (หน้า 135) ละว้าแม่สะเรียง (หน้า 136) บ้านชาวละว้าแม่สะเรียง/กระเปาะที่อยู่ของผีละมางเรียกว่า "ซะหล้อ" (หน้า 137)

Text Analyst ศมณ ศรีทับทิม Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, ชาวบน, ประวัติศาสตร์, การตั้งถิ่นฐาน, วิถีชีวิต, สภาพสังคม, การนับถือผี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง