สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มุสลิม,ความขัดแย้ง,นโยบายรัฐ,ปัตตานี
Author Syukri, Ibrahim (นามปากกา) เขียน; Bailey, Corner and Miskic, John N. แปล
Title 'The Country of Patani in the Period of Reawakening' A Chapter from Ibrahim Syukri's Serajah Kerajaan Melayu Patani
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 16 Year 2532
Source The Muslims of Thailand, vol.2, (ed.) Andrew Forbes. Gaya : Center for Southeast Asian Studies. p.151-166.
Abstract

ความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะนโยบายของรัฐที่ชาวปัตตานีถือว่าเป็นการข่มขู่คุกคามวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมของคนมาเลย์ อีกทั้งการที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือพัฒนาทางเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งมาก็รับสินบนและเอาเปรียบประชาชนในพื้นที่ ทำให้ผู้เขียนเห็นว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการกดขี่ทางวัฒนธรรม การเมือง และตักตวงผลประโยชน์จากชาวปัตตานี ทำให้เกิดการต่อต้านที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ (หน้า 152)

Focus

เนื้อหาในบทความนี้แปลมาจากบทที่ 4 ของหนังสือ "Serajah Kerajaan Malayu Patani" เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนมุสลิมที่เคยอยู่ในรัฐปะตานีกับรัฐบาลไทยหลัง ค.ศ. 1902 เมื่อระบบกษัตริย์มลายูถูกล้มเลิกไป

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุแนวทฤษฎี เป็นการพรรณนาเหตุการณ์ที่แสดงความขัดแย้งและการต่อต้านของกลุ่มคนที่เรียกว่า "มาเลย์" ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคยเป็นรัฐปะตานี ต่อการปกครองของรัฐบาลไทยตั้งแต่ปี ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) เป็นต้นมา

Ethnic Group in the Focus

ในงานนี้เรียกว่า "มาเลย์"

Language and Linguistic Affiliations

ภาษามาเลย์

Study Period (Data Collection)

เวลาที่ศึกษาในงานนี้ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2440 ถึงช่วงทศวรรษ 2490

History of the Group and Community

ในอดีตรัฐปะตานีเคยเป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญในพุทธศตวรรษที่ 21-22 ต่อมาถูกอาณาจักรสยามรุกราน มีการสู้รบกันอยู่เนือง ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 มาในศตวรรษที่ 23 ปะตานีก็เสื่อมอำนาจลงและในปี พ.ศ. 2327 ก็พ่ายแพ้ต่อสยามในที่สุด (หน้า 152)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

7 แสนคน (หน้า 159)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ชุมชนในรัฐปะตานีต้องกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย

Belief System

ศาสนาอิสลาม (หน้า 156)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงสวมกระโปรงยาวหลวม ๆ มีผ้าคลุมไหล่ ผู้ชายสวมเสื้อยาว มีผ้าโพกศีรษะ (หน้า 156-157)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

นโยบายประเทศสยามคุกคามความเป็นอยู่และไม่สนใจความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของคนมาเลย์ในภาคใต้ จนเกิดเป็นความขัดแย้ง ผู้เขียนเรียกร้องให้คนมาเลย์ภาคใต้รวมตัวกันเพื่อกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง หาทางแก้ไขปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่สงบที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน เนื้อหาในบทนี้เป็นการจุดประกายมิติการมองกลุ่มชาติพันธุ์มาเลย์ และผู้แปลเสนอว่าการเข้าใจลักษณะทางชาติพันธุ์ของคนมาเลย์เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหานี้เพราะเป็นปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะ เนื้อหากล่าวถึงเมื่ออำนาจการปกครองของราชามาเลย์สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2445 ปัตตานีถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามไทย (ผู้เขียนในคำนี้เพื่อหมายถึงชาติพันธุ์ไทยอาณาจักรสยาม) มีการแต่งตั้งข้าราชการไปประจำ แต่ลักษณะการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชในขณะนั้นเป็นการปกครองที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของอาณาจักรสยาม และเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ คนมาเลย์ถูกบังคับให้เสียภาษีในอัตราสูงที่สุด แต่เงินภาษีนั้นกลับใช้จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการที่มาปกครองส่วนหนึ่ง และที่เหลือถูกส่งกลับไปกรุงเทพฯ จนอาจกล่าวได้ว่าไม่มีการใช้เพื่อคนมาเลย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายภาษีเลย ข้าราชการที่มาปกครองก็เข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จนมั่งคั่ง ไม่เคยทำความเข้าใจคนมาเลย์และศาสนาอิสลาม ไม่มีการพัฒนาสาธารณสุขหรือการศึกษา มีเพียงการตั้งโรงเรียนของรัฐในตัวเมืองเพื่อให้ลูกหลานข้าราชการสยามเรียน การบริหารงานในด้านตุลาการก็ขึ้นกับผู้ตรวจการ ตำรวจ และผู้พิพากษา คนที่ถูกจับกุมตัวต้องถูกขังนานหลายเดือนกว่าจะได้ขึ้นศาลเพราะเจ้าหน้าที่ต้องการเรียกเงินจากผู้ที่ถูกกล่าวหา ในปี พ.ศ. 2466 คนมาเลย์ลุกขึ้นต่อต้านปฏิเสธไม่จ่ายภาษีเพราะรังเกียจเจ้าหน้าที่ของรัฐ และนำไปสู่การเรียกร้องอิสรภาพทำให้เกิดการต่อสู้กับตำรวจสยาม ผู้นำคนมาเลย์หลายคนถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับการเคลื่อนไหวครั้งนี้ พวกเขาถูกจับและถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ ในข้อหาก่อการกบฏ บางคนในจำนวนนี้เสียชีวิตและถูกฝังที่กรุงเทพฯ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระยาเดชานุชิตข้าหลวงที่ปกครองมณฑลปัตตานีถูกย้าย ปี พ.ศ. 2483 สมัยที่หลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีชูนโยบายรัฐนิยม มีการตั้งสภาวัฒนธรรมขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายชาตินิยมและเผยแพร่วัฒนธรรมสยามไปทั่วประเทศ มีการบังคับให้ประชาชนสวมเสื้อผ้าแบบตะวันตก และสวมหมวก ใช้ช้อนส้อมและนั่งบนเก้าอี้ คนมาเลย์ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และสตูลไม่พอใจที่ถูกห้ามไม่ให้แต่งกายแบบมาเลย์ ห้ามใช้ชื่อภาษามาเลย์ ห้ามปฏิบัติกิจศาสนาอิสลาม ห้ามพูดภาษมาเลย์ในสถานที่ราชการ คนมาเลย์ที่ต้องการติดต่อราชการ หากพูดภาษาไทยไม่ได้ก็ต้องจ้างล่ามมา ไม่ว่างานนั้นจะสำคัญหรือไม่ ศาสนาอิสลามถูกต่อต้านและถูกตรวจสอบ เด็กนักเรียนมาเลย์ถูกบังคับให้บูชาพระพุทธรูปที่โรงเรียน และคนมาเลย์ไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งสูง ๆ ได้ ในปีพ.ศ. 2484 มีการบังคับให้คนมาเลย์สวมเสื้อผ้าแบบตะวันตก ผู้ชายต้องสวมเสื้อโค้ต กางเกงขายาว และสวมหมวก ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อรัดรูปและกระโปรงสั้น คนที่ไม่ทำตามจะถูกจับกุม และบางครั้งถูกตำรวจซ้อม อาศัยกฎข้อบังคับทางวัฒนธรรมนี้ เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจค้นได้ทุกที่ เป็นการเหยียบย่ำเกียรติของอิสลามและธรรมเนียมของคนมาเลย์ ต่อมาปี พ.ศ. 2487 หลวงพิบูลสงครามสั่งยกเลิกสำนักงานตุลาการศาสนาของท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี ยะลา สตูล และนราธิวาส ยกเลิกกฎศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการแต่งงาน การหย่าร้าง และการรับมรดกที่ได้รับการยอมรับจากอาณาจักรสยามมาเป็นเวลานานแล้ว จากนโยบายนี้ มีผลให้ทุกกรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎศาสนาอิสลามต้องถูกยกเลิก และถูกบังคับให้ทำตามกฎหมายของอาณาจักร และต้องขึ้นศาลของอาณาจักรสยามด้วย เหตุการณ์นี้ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง และในปีเดียวกันนี้เอง Haji Sulung bin Abdul Kadir ได้ก่อตั้งองค์กรศาสนาขึ้นในปัตตานีมีชื่อว่า Hayat Alnapadz Allahkam Al S'yariat ซึ่งจุดมุ่งหมายขององค์กรนี้คือการผลักดันให้ผู้นำอิสลามร่วมมือกันต่อต้านกระบวนการเปลี่ยนคนมาเลย์ให้เป็นสยาม และในปีเดียวกันนี้เอง Tungku Abdul Jalal bin Tungku Abdul Talib ผู้นำมาเลย์ภาคใต้ และตัวแทนมาเลย์ในรัฐสภาได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อหลวงพิบูลสงครามเรื่องนโยบายรัฐนิยมที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมคนมาเลย์ในภาคใต้และศาสนาอิสลาม แต่คำตอบที่ได้คือการปฏิบัติตามนโยบายเช่นนี้ถือเป็นเรื่องเหมาะสมแล้ว เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกกฎหมายวัฒนธรรมของหลวงพิบูลสงคราม แต่ความโหดร้ายทารุณที่ข้าราชการปฏิบัติต่อคนมาเลย์ยังคงดำเนินต่อไป มีการรับสินบนในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูง คนมาเลย์ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการต่อต้านรัฐบาลถูกจับและถูกทำร้ายร่างกาย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2490 คณะกรรมการตรวจสอบได้จัดการประชุมกับคนมาเลย์ปัตตานีขึ้นเพื่อตอบข้อซักถาม ในการประชุมนี้ตัวแทนชาวอิสลามได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ข้อต่อรัฐบาล รายละเอียดของข้อเรียกร้องได้แก่ การขอให้ผู้ที่จะมาปกครอง 4 จังหวัดภาคใต้ต้องเป็นชาวมุสลิมที่มาจากหนึ่งในจังหวัดเหล่านี้และต้องได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ภาษีที่เก็บจากท้องที่นี้จะต้องถูกใช้ที่นี่ รัฐต้องยอมให้ใช้ภาษมาเลย์ควบคู่ไปกับการใช้ภาษาไทย เป็นต้น แต่ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2491 ผู้นำการเรียกร้องในครั้งนี้ถูกจับกุมตัวในข้อหากบฏและถูกตัดสินจำคุก 3 ปี จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดความไม่สงบ วันที่ 30 มกราคม ปีเดียวกันมีการส่งกำลังตำรวจจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดมาเลย์เพื่อช่วยควบคุมคนมาเลย์ให้อยู่ในความสงบ แต่แล้วในวันที่ 28 เมษายน ก็เกิดการต่อสูขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส มีคนมาเลย์เสียชีวิตกว่า 400 คนในจำนวนนี้มีทั้งคนแก่ ผู้หญิง และเด็ก ส่วนตำรวจเสียชีวิตราว 30 คน เหตุการณ์ครั้งนี้รัฐบาลสยามโกหกว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มกองโจรกับกองกำลังรักษาสันติภาพ และพยายามทำให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของคนมาเลย์เป็นเรื่องเล็กและกล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนมาเลย์ถูกกลุ่มผู้ปลุกระดมซึ่งเป็นคนมาเลย์ปัตตานีจ้างวานให้ทำ และกลุ่มที่จ้างวานนั้นได้หนีไปมาลายาแล้ว วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2490 บาร์บารา วิตติงตัน โจนส์ นักข่าวชาวอังกฤษได้ไปเยือนปัตตานีเพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของคนมาเลย์ 7 แสนคนที่อยู่ภายใต้การกดขี่ของรัฐบาลสยาม โจนส์ได้รายงานในหนังสือพิมพ์ สเตรต ไทมส์ ของสิงคโปร์ฉบับเดือนธันวาคมว่าโรงเรียนในปัตตานีถูกปิด คนสยามดูถูกคนมาเลย์ว่าเป็นพวกไม่รู้หนังสือและเป็นชาวนาที่โง่เขลา เจ้าหน้าที่สยามรับสินบน เมื่อมีคดีตำรวจสยามถูกโจรยิงเสียชีวิต ตำรวจสยามไม่ต้องการสืบสวนหาความจริง พวกเขาบุกค้นบ้านคนมาเลย์ ข่มขืนผู้หญิงมาเลย์ บังคับให้ร้านค้าของคนมาเลย์จ่ายค่าคุ้มครอง คนมาเลย์มักถูกยิงเสียชีวิตโดยไม่มีการสอบสวน หรือไม่ก็หายตัวไปอย่างลึกลับ ไร้ร่องรอย และไม่มีการรายงาน อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณของคนมาเลย์ก็ยังแข็งแกร่งอย่างมาก นโยบายวัฒนธรรมไม่ประสบความสำเร็จ คนมาเลย์ยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้ จากรายงานของโจนส์ทำให้เข้าใจเหตุผลว่าเหตุใดคนมาเลย์จึงเรียกร้องขออิสรภาพและความเป็นธรรม รัฐบาลสยามปกครองแบบผิด ๆ มาตลอด คนมาเลย์ปัตตานีไม่เคยได้รับความสนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสาธารณสุข การศึกษา หรือเศรษฐกิจ ปัตตานีถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังมาตลอด สิบเจ็ดปีของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คนมาเลย์ปัตตานีไม่เคยได้รับการดูแลตามระบอบประชาธิปไตย ชะตากรรมของคนมาเลย์ปัตตานีจึงไม่ควรอยู่ในมือของรัฐบาลสยาม -ไทย แต่ควรอยู่ในมือของพวกเขาเอง

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst วิลาวัณย์ ฤดีศานต์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG มุสลิม, ความขัดแย้ง, นโยบายรัฐ, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง