สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะยาห์ กะเรนนี บเว(กะเหรี่ยง),การเคลื่อนย้ายประชากร,พม่า
Author Vicky Bamforth , Steven Lanjouw, Graham Mortimer
Title Conflict and Displacement in Karenni : The Need For Considered Responses
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity กะแย กะยา บเว, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 100 Year 2543
Source Burma Ethnic Research Group
Abstract

การเคลื่อนย้ายของ "กะเหรี่ยง" กลุ่มต่างๆ ในรัฐ คะเรนนี (Karenni) ของพม่า มีสาเหตุเนื่องมาจากการสู้รบของกองกำลังต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ภายในรัฐ คะเรนนี (Karenni) ตั้งแต่เมื่อพม่าได้รับเอกราช และเริ่มมีปัญหาการแบ่งแยกภายในรัฐ โดยกลุ่มที่ต้องการแยกตัวจากพม่าและกลุ่มที่ต้องการอยู่กับพม่า จากกลุ่มทหารที่สู้กันภายในรัฐภายหลังแยกตัวออกมามากมายเป็นหลายกลุ่ม โดยมีกองทหารพม่าTatmadaw ที่มีกำลังมากที่สุด และกลุ่มต่างๆ คือ The Karenni National Progressive Party (KNPP) ,The Karenni National People's Liberation Front (KNPLF), The Kayan New Land Party (KNLP) The Shan State Natioanalities Liberation Organisation (SSNLO) ที่พยายามแบ่งแยกตัวเองเข้าสู้รบกันเพื่ออำนาจเงินตรา ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายหมู่บ้าน และไม่สามารถพัฒนา เศรษฐกิจถูกทำลาย วิธีหาเงินเข้าคือการขายทรัพยากรป่าไม้ การสู้รบกันทำให้ยากต่อการเข้าไปช่วยเหลือผู้คน ผู้คนที่ได้รับผลกระทบต้องอยู่อยากยากลำบากและไม่มีความปลอดภัย ในหมู่บ้านมีการสู้รบกันตลอดเวลาแม้ในช่วงรอระยะเวลาการเก็บเกี่ยว เพราะไม่มีงานอื่นๆ ทำ เด็กผู้ชายไม่ได้ไปโรงเรียนก็จะเข้ารบ รัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจทางการศึกษาหรือทางสาธารณะสุข ชาวบ้านป่วยเป็นโรคขาดสารอาหารมากที่สุด

Focus

ศึกษาการอพยพเคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยของกะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ ในรัฐคะเรนนี (Karenni) อันเนื่องจากการสู้รบของกองกำลังต่างๆ (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เป็นการศึกษาการเคลื่อนย้ายของ "กะเหรี่ยง" กลุ่มต่างๆ ในรัฐคะเรนนี (Karenni) ของพม่า อันเนื่องมาจากการสู้รบของกองกำลังต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐคะเรนนี (Karenni) จะถูกจัดประเภทว่าอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา "Karen" ร่วมกัน แต่จริงๆ แล้วกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีความหลากหลายในเรื่องชื่อเรียกจากเกณฑ์และโดยกลุ่มต่างๆ จนไม่อาจจะจำแนกได้อย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งพอจะนำเสนอตัวอย่างความซับซ้อนในเรื่องอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มต่างๆ ในรัฐ คะเรนนี (Karenni) ได้ดังนี้ (ดูหน้า 16-18) การจำแนกของ F. Lehman (ในช่วงหลังการเป็นอิสรภาพของประเทศพม่า) Lehman จำแนกกะเหรี่ยงในรัฐคะเรนนี (Karenni) ออกเป็น 7 กลุ่มหลักๆ คือ 1. Kekhu ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1.1. Greater Padaung ซึ่งพวก Kayah เรียก "La Khi" และเรียกตัวเองว่า "Kekhong Duw" 1.2. Lesser Padaung ซึ่งพม่าเรียกว่า "yinbaw' และ Kayah เรียกว่า "La Khi Phuw" แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า "Ke Phow" 1.3. Kekhu (Key khuw) พวก Kayah เรียกว่า "Ke khong" และ "La khi Phuw" ส่วนพวก Paku Sgaw Karen เรียกว่า "Bwe Karen" แต่เรียกตัวเองว่า "Kekhu" 2. Bre มี 3 กลุ่มย่อยคือ 2.1 Northern Bre เป็นที่รู้จักในชื่อ "Pre Ha Shuiy" 2.2 Southern Bre เรียกตัวเองว่า Laku Pre 2.3 Mano พม่าเรียกว่า " Manu Manaw" ส่วน Kayah เรียกว่า "Punu" เรียกตัวเองว่า "Munu" 3. Kayah รู้จักกันในชื่อ Karenni แต่คนไทยเรียก "ยางแดง" Sgaw Karen เรียก "Bwe" เรียกตนเองว่า "Kaya Liy Phuw" 4. Yangtalai พวก Kayah เรียก "Talya" พวก Shan เรียก "Yangtalai" และพม่าเรียก "Yintale" 5. Geba รู้จักกันในชื่อ "Paku Da Ne" เรียกโดย Kayah, "Bwe" เรียกโดย Paku Sgaw, "Kayin Byu" เรียกโดยพม่าและเรียกตัวเองว่า "Ke Pa" 6. Zayein รู้จักกันในชื่อ "Gaung Tou" พม่า เรียกว่า Zayeing, Kayah เรียก Tha Duw La Khu, นักเขียนตะวันตกเรียก Sawng tung 7. Pahu เป็นชื่อ Kayah สำหรับเรียกกะเหรี่ยง เรียกตัวเองว่า "Pakuayo" ส่วนแหล่งวิชาการอื่นๆ เช่น Summer Institute of Linguistics จำแนกเป็น 9 กลุ่ม คือ Kayah, Gekhu, Gebah, Kayan, Pre, Manumanaw, Yinbaw และ Yintaleh ซึ่งก็ไม่ตรงกัน และทำให้การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ไม่อาจจะทำได้อย่างชัดเจนได้ดังที่กล่าวมาแล้ว

Language and Linguistic Affiliations

กะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในรัฐคะเรนนี (Karenni) มีภาษาท้องถิ่นของตนเอง แต่พวกผู้ชายมักจะพูดภาษาพม่าได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช้ภาษากะเหรี่ยงแต่ใช้ภาษาของตนเอง เช่น ฉิ่น, มอญ, ฉานและพม่า (หน้า 16,17)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในรัฐ คะเรนนี (Karenni) สามารถสืบย้อนกลับในอดีต ในช่วงเวลาดังนี้คือ ยุคก่อนอาณานิคม Karenni แบ่งออกเป็น 5 รัฐเล็ก ได้แก่ Bawlake, Kantarawaddy, Kyebogyi, Naungpale และ Nam Meh Khone ซึ่งสถาปนามาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 18-19 และเมือง Kantarawaddy มีอำนาจมากที่สุด ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เมือง Nam Meh Khone, Naungpale รวมเข้ากับ Bawlake หัวหน้าของหน่วยบริหารเรียกว่า 'Saophyas' แหล่งอำนาจของรัฐคือประชากร ในปี ค.ศ. 1840-1889 คนเริ่มเข้าใจว่าอำนาจมาจากเขตแดน ทำให้มีการแก่งแย่งทรัพยากรป่าไม้ กองทัพก็มีความสำคัญเพราะว่าหากครอบครองผืนป่าสักได้ก็มีเงินมาก ในระยะนี้จึงเริ่มมีการปะทะระหว่าง Karenni, Shan, Burman, Thai, British แต่ละกลุ่มพยายามแย่งผืนดินผืนป่ากัน ประชากร Karenni ในยุคนี้เริ่มน้อยลง เพราะขาดแคลนน้ำ และการต่อสู้กันทำให้คนเคลื่อนย้ายออกไปจากพื้นที่ ยุคอาณานิคม 'Saophyas' ไม่จ่ายบรรณาการให้กับกษัตริย์พม่าบ่อยครั้ง และ Kantarawaddy ทำข้อตกลงกับเชียงใหม่อย่างอิสระ จึงเป็นพื้นฐานให้คะเรนนี ใช้อ้างเรียกร้องการเป็นอิสระ ในปี ค.ศ. 1875 ข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับพม่าในการให้เอกราชรัฐกะเหรี่ยง 4 รัฐ ได้แก่ Bawlake, Kyebogyi, Naungpale และ Nam Meh Khone ยกเว้น Kantarawaddy ในช่วงนี้รัฐบาลอินเดียเข้ามาบริหารพม่า มี'Saophyas' เป็นหัวหน้าบริหารอยู่เช่นเดิม ขณะที่พม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่นั้นมีการทำเหมืองดีบุกทังสเตนและทำป่าไม้และไม่การติดต่อกับรัฐคะเรนนี แต่นำเอาทรัพยากรจากรัฐไปใช้ ไม่มีการพัฒนาในรัฐคะเรนนี มีคริสเตียนมิชชันนารีที่เข้ามาชักชวนให้คนในรัฐคะเรนนี เปลี่ยนศาสนา มีโรงเรียนคริสเตียน โดยพยายามคิดค้นตัวเขียนภาษาคะเรนนี ด้วยตัวอักษรโรมัน(หน้า 27-29) การได้รับเอกราชของพม่า ปลายศตวรรษที่ 18 รัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบริหารพม่า รัฐคะเรนนี (Karenni) มีอิสระมาก แต่ปีก่อนที่พม่าได้รับเอกราชอย่างแท้จริงรัฐบาลอินเดียตัดสินใจรวมรัฐคะเรนนี (Karenni) เข้ารวมกับประเทศพม่าแต่ 10 ปีหลังจากนั้นรัฐคะเรนนี (Karenni) สามารถตัดสินใจได้ว่าจะแยกตัวเป็นอิสระหรือไม่ ในรัฐคะเรนนี (Karenni) มีฝ่ายต่างๆ ที่มีความเห็นไม่เหมือนกัน คือกลุ่มที่ต้องการอยู่กับพม่า และกลุ่มที่ต้องการแยกออกจากพม่า ทำให้เกิดการสู้กันในรัฐด้วยอาวุธที่เหลือมาจากสงครามโลก ในขณะนั้นก็มีการสู้กันระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกกับแบพทิสต์ (หน้า 30-32)

Settlement Pattern

ไม่ได้ระบุ

Demography

มีการสำรวจจำนวนประชากรในปี ค.ศ. 1967 มีประชากร คะเรนนี (Karenni) ใน 6 เมืองรวมทั้งสิ้น 83,046 คน ได้แก่เมืองลอยก่อ Loikaw มีประชากร 21,899 คน เมืองเดมอโส Demawso มี 18,714 คน เมืองปรูโส Pruso มี 16,149 คน เมือง Pasuang มี 11,154 เมือง Shadaw มี 10,435 คน และเมือง Meisianan 4,695 คน ประชากรในปีค.ศ. 1983 ใน 6 เมืองมีทั้งสิ้นรวม 159,661คน เมือง Loikaw มีประชากร 70,143 คน เมือง Demawso มี 41,645 คน เมือง Pruso 18,487 คน เเมือง Pasuang มี 16,159 เมือง Bawlakeมี 4,066 คน และเมือง Shadaw มี9,161 คน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 207,357 คนในปี ค.ศ. 1998 ใน 7 เมืองได้แก่ เมือง Loikaw มีประชากร 93,760 คน เมือง Demawso มี 58,450 คน เมือง Pruso มี 22,691 คน เมือง Shadaw มี 1,644 คน เมือง Bawlake มี 10,447 คน เมือง Pasaung มี 11,049 คน เมือง Meh Set มี 9,346 คน ประชากรรวมใน Karenni ปีค.ศ. 1983 พบว่า 26% อาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ขณะที่ 74% อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท ในปีค.ศ. 1995 พบว่ามีจำนวนผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในรัฐ ปีค.ศ. 1991 มีประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปี ประมาณ 33,000 คน และมีอัตราการเกิด 45.6% ต่อ 1,000 คน (หน้า 14) การเคลื่อนย้ายของประชากรภายในรัฐ Karenni แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 1. คนที่หนีไปยังประเทศอื่นในฐานะผู้ลี้ภัยหรืออพยพ 2. คนที่ย้ายไปยังแหล่งใหม่โดยสมัครใจ 3. คนที่ย้ายไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีบ้านหรือที่ดินอยู่ 4. คนที่ไม่เคยย้ายออกไปจากบ้าน 5. คนที่ย้ายออกไปจากบ้านเพื่อไปค้าขายหรือทำงาน การปะทะระหว่างกองกำลังทหารต่างๆ ทำให้คนต้องหนีจากพื้นที่เพราะไม่ปลอดภัย (หน้า 48) บางกรณีหากไม่หนีออกไปจากพื้นที่จะถือว่าเป็นศัตรูอาจถูกฆ่าตาย (หน้า 49) ในปี ค.ศ. 1996 มีคน 25,206 คน ถูกบังคับให้ย้ายออกจากพื้นที่ 4,400 คน ลี้ภัยเข้าสู่ค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย แต่อาจมีบางคนที่หนีภัยเข้ามาลักลอบทำงานผิดกฏหมาย (หน้า 50) ทหาร Tatmadaw ส่งจดหมายไปยังหมู่บ้านให้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นหรือย้ายออกไปอยู่ในพื้นที่เดียวกับทหารพม่า หากไม่ย้ายออกไปภายใน 7 วันทหารจะเข้าไปในหมู่บ้านหรือฆ่าคนในหมู่บ้านทิ้ง เพราะกลัวว่าหมู่บ้านจะส่งเสริมกองกำลังทหารกลุ่มอื่นที่พยายามต่อต้านกองกำลังทหารพม่า เมื่อหมู่บ้านย้ายไปอยู่แหล่งใหม่ แม้จะอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของทหารพม่า แต่ก็ไร้ความปลอดภัย มีการกดขี่ข่มเหง และข่มขืนผู้หญิงในหมู่บ้าน ทหารปฏิบัติต่อชาวบ้านเยี่ยงทาส คนในหมู่บ้านออกไปข้างนอกต้องขออนุญาตทหารเสียก่อน (หน้า 56, 57) มีการสร้างเขื่อนไฟฟ้าทำให้ต้องเคลื่อนย้ายผู้คนออกไป บางครั้งรัฐบาลก็เอาผืนดินมาเป็นสมบัติและยกให้กับคนพม่า (หน้า 64) บางครั้งมีการบังคับเอานักโทษหรือชาวบ้านมาทำงานสร้างเขื่อนหรือถนนหนทางโดยไม่จ่ายค่าแรง (หน้า 65) กองทัพพม่าเอาผืนไร่นาของชาวบ้านและมีอำนาจสั่งให้ชาวบ้านทำอะไรก็ได้ เช่น ทำงานในไร่นาให้ทหารแทนที่จะทำนาในไร่นาของตัวเอง ชาวบ้านไม่ได้รับค่าแรงและต้องหาเงินซื้อข้าว (หน้า 69) บางครั้งทหารก็มาขอซื้อข้าวจากชาวบ้านในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดและชาวบ้านก็ปฏิเสธไม่ได้ รัฐคะเรนนี (Karenni) ต้องซื้อข้าวจากข้างนอกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1901 และอาหารหรือน้ำมีไม่พอเพียง น้ำบริโภคมักไม่สะอาด ชาวบ้านหิวโหย ชาวบ้านไม่สามารถนำน้ำจากเขื่อนมาบริโภคอุปโภคได้ ทำให้ต้องอพยพออกไป (หน้า 70-72) การเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ของคนในคะเรนนี (Karenni) มักเป็นการถูกบังคับมากกว่าสมัครใจ (หน้า 73,74)

Economy

เนื่องจากพื้นที่รัฐคะเรนนี (Karenni) อยู่บนพื้นที่สูง การทำนาจึงทำได้จำกัดในที่ราบแถบเมือง Loikaw และ Ngwe Daung ประชากรไม่มีพื้นที่เพาะปลูก การทำงานเกษตรกรรมได้รับค่าแรงน้อยและหาได้ยาก มีการจ้างงานไม่มากในรัฐ พืชพาณิชย์ได้แก่ นาข้าว งา ถั่ว ดอกทานตะวัน ซึ่งปลูกในพื้นที่บริเวณ Bawlake และ Shadaw ส่วนข้าวโพด ลูกเดือย ข้าวสาลีปลูกอยู่ทางพื้นที่ต่ำแถว Demawso และ Loikaw ในพื้นที่สูงทางตอนเหนือของ Loikaw มีป่าสน ชาวบ้านเก็บยาง จากต้นสนไปขายเพื่อใช้ทำน้ำมันบาล์ม ผลผลิตอื่นๆ ในพื้นที่สูงได้แก่ กาแฟ มันฝรั่ง กระเทียม ฟักทอง และแตงกวา ควายถูกนำมาใช้ในการช่วยงานในฟาร์ม วัวควายใช้เป็นพาหนะหรือขาย และหมูเป็ดไก่เป็นสินค้าขายเอาเงิน มีการนำของป่าไปขาย เช่น 'tanaka' (เปลือกไม้ชนิดหนึ่งใช้เพื่อความงาม) ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง กล้วยไม้ เป็นต้น มีการล่าสัตว์และเก็บสมุนไพรและพืชป่าไปขายในตลาดท้องถิ่นทางเหนือของไทย มีการลักลอบค้าสัตว์ป่าระหว่างรัฐ Karenni กับแม่ฮ่องสอน และลักลอบค้าวัวควายเป็นกำไรที่ทำรายได้อันดับสาม รองมาจากการทำเหมืองและป่าไม้ (หน้า 20-22) ไม้สักสร้างรายได้หลักให้กับรัฐ โดยเฉพาะในอดีตเมื่ออังกฤษครอบครองพม่าอยู่ ไม้สักเป็นสินค้าที่ถูกส่งออกขายและเป็นทรัพยากรที่สร้างความขัดแย้งกับกลุ่มต่างๆ การส่งไม้สักออกขายได้โดยปล่อยล่องไปตามน้ำ มีการลักลอบค้าไม้เถื่อนระหว่าง Karenni และแม่ฮ่องสอน เพราะมีความต้องการไม้สักมาก ดีบุกและทังสเตนเป็นสินค้าที่สำคัญพบใน Mawchai ซึ่งมีเหมืองดีบุกที่ใหญ่ที่สดในพม่า ที่ Loikaw เป็นแหล่งหินอ่อน มีการผลิตเฟอร์นิเจอร์หินอ่อนและเครื่องประดับเรือนต่างๆ (หน้า 23-25) สินค้าส่งออกหลักจาก Karenni ไปยังส่วนอื่นๆ ของพม่าได้แก่ ดีบุก ทังสเตน ขณะที่สินค้านำเข้าหลักคือ เกลือและข้าว การค้าระหว่าง Karenni กับไทย คือการค้าวัวควายและผัก (หน้า 26)

Social Organization

ไม่ได้ระบุ

Political Organization

หลังจากที่ภายในรัฐ Karenni มีการสู้รบกันเองระหว่างกลุ่มที่ต้องการอยู่กับพม่า และกลุ่มที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ ต่อมากลุ่มต่างๆ ในรัฐแยกตัวออกมาเป็นเอกเทศ กลุ่มเหล่านี้มีทั้งที่สู้รบกันเอง หรือต่อสู้กับรัฐบาลกลาง โดยมีกองทหารของรัฐบาลเป็นกลุ่มหลัก มีกลุ่มทหารที่แยกตัวเป็นเอกเทศดังต่อไปนี้ Tatmadaw เป็นกลุ่มกองทัพของพม่าในปี ค.ศ. 1948- 1961ถูกส่งไปสู้รบกับรัฐ Karenni มีทหารถึง 350,000 คน (หน้า 31) The Karenni National Progressive Party (KNPP) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1957 เพื่อตั้ง Karenni ให้เป็นอิสระ มีทหารประมาณ 1,000 คน ปี ค.ศ. 1978 มีการแยกตัวออกมาเป็น KNPLF ปี ค.ศ. 1995 เสียดินแดนเพราะสู้กับกลุ่ม SLORCกลุ่ม KNPP นี้อยู่ใกล้กับชายแดนไทยและเริ่มอ่อนแอลงจนแยกตัวออกเป็นหลายกลุ่มภายหลังในปี ค.ศ. 1999 KNPP อยู่ติดกับชายแดนไทยจึงมีรายได้จากการค้า และได้รับการสนับสนุนจากฝั่งไทย (หน้า 32,33) The Karenni National People's Liberation Front (KNPLF) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1978 ทหาร 150 คนแยกออกมาจาก KNPP สู้กับกลุ่ม KNPP และอื่นๆ กลุ่ม KNPLF ใกล้ชิดกับกลุ่ม KNLP, SSNLO และ CPB(Communist Party of Burma) ซึ่งได้ร่วมกันสู้รบกับ Tatmadaw(หน้า 33) The Shan State Nationalities Liberation Organisation (SSNLO) ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1966 มีสมาชิกลุ่มคือ Pa-o National Organisation (PNO) และ Karen National Union (KNU) มีความใกล้ชิดกับกลุ่ม CPB แตกแยกออกเป็น 2 กลุ่มปี ค.ศ. 1974 คือกลุ่ม SNLF ( Shan Nationalities Liberation Front) ซึ่งต่อมากลายเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่ม PNO กลุ่ม SSNLO เป็นพันธมิตรกับกลุ่ม KNPLF และ KNLP มีทหารราว 500 คน (หน้า 35, 36) The Kayan New Land Party (KNLP) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1964 เป็นกลุ่มชาวนา มีความใกล้ชิดกับกลุ่ม CPB ภายหลังแตกออกเป็นกลุ่ม Kayan Home Guard (KHG) (หน้า 36) ในปี ค.ศ. 1994 กลุ่ม KNPLF, KNLP และ SSNLO ตัดสินใจสงบศึกกับ Tatmadaw (หน้า 35-36) (ดูรูปที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่าง Tatmadaw และกลุ่มอื่นๆ หน้า 38) ในหมู่บ้านมีการสู้รบกันตลอดเวลาแม้ในช่วงรอระยะเวลาการเก็บเกี่ยว เพราะไม่มีงานอื่นๆ ทำ เด็กผู้ชายไม่ได้ไปโรงเรียนก็จะเข้ารบ รัฐบาลพม่าในย่างกุ้งไม่ได้ให้อะไรแก่หมู่บ้าน แต่ละกลุ่มต่างพยายามหาเงินเข้ากลุ่มเช่นค่าผ่านทาง หรือตลาดมืด หรือวิถีทางอื่นๆ (หน้า 37-40) มีการพยายามขายไม้สักให้กับไทย ไทยขายทอดให้ต่างชาติ แต่ละกลุ่มไม่สนใจรัฐบาลเพราะต้องการเงินและอาวุธมาใช้สู้รบ (หน้า 42) ในปี ค.ศ. 1993 กลุ่ม SLORC (State Law and Order Restoration Council) ของรัฐบาลต้องการสงบศึก กลุ่ม KNG เป็นกลุ่มแรกที่สงบศึกตามมาด้วยกลุ่ม KNPLF, KNLP, SSNLO และ KNPP แต่หลังจากนั้น KNPP ก็สู้รบอีก ใน ค.ศ. 1999 ทหารจากกลุ่ม KNPP บางคนก็เลิกรบและยินยอมสงบศึกกับ SLORC (หน้า 45,47)

Belief System

คนมีความเชื่อเรื่องภูตผี และเชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากผีร้าย เช่น 'ney' หรือ 'loh' ไก่อาจถูกฆ่าเพื่อเอากระดูกมาทำพิธีดูว่าผีไม่พอใจอย่างไร จะได้หาวิธีรักษาได้ถูก (หน้า 80)

Education and Socialization

ในรัฐคะเรนนี (Karenni) มีโรงเรียนอยู่ไม่กี่แห่ง มีอัตราประชากรไม่รู้หนังสือสูง แม้จะมีนโยบายการศึกษาจากส่วนกลางของพม่าให้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมและมัธยม ในช่วงที่ตกเป็นเมืองอาณานิคมมีมิชชันนารีเข้ามาตั้งโรงเรียน แต่หลังจากที่ได้รับเอกราชรัฐบาลได้สร้างโรงเรียนประถมหลายแห่งในหลายหมู่บ้าน ปีค.ศ. 1960 พวก Kayan รู้หนังสือประมาณ 30% และเด็กๆ Yintaleh รู้หนังสือประมาณ 80% เนื่องจากครอบครัวส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม เด็กๆ ส่วนมากจึงหยุดเรียนเมื่อเข้าสู่ระดับมัธยมเพราะต้องช่วยงานในไร่นา เด็กอื่นๆ อาจหาความรู้ได้จากวัดหรือโรงเรียนวันอาทิตย์ในโบสถ์ศาสนาคริสต์ และเรียนงานหัตถกรรมที่บ้านเช่น งานทอผ้า การทำอาหาร หรือทำ 'khaung yay' เป็นเหล้าทำจากข้าว (หน้า 88-89) ปริมาณโรงเรียนในรัฐคะเรนนี (Karenni) มีจำนวนต่ำกว่ารัฐอื่นๆ ในพม่า (ดูตารางที่ 13 หน้า 90) รวมทั้งมีจำนวนครูน้อยกว่าที่อื่นๆ ในพื้นที่ชนบทหลายโรงเรียนขาดเเคลนอุปกรณ์ การบริการทางด้านการศึกษาหลักอยู่ที่เมือง Loikaw และ Demawso (หน้า 89,91) อัตราการรู้หนังสือในรัฐของคนที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไปมีถึง 57% ซึ่งเป็นจำนวนจากค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนปี ค.ศ. 1983 ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมี 60-80% ของผู้ชายที่รู้หนังสือ ขณะที่ผู้หญิงมีน้อยกว่าเพียง 50-60% อย่างไรก็ดี เด็กๆ ในรัฐไปโรงเรียนประถมน้อยเพราะพ่อแม่ไม่มีเงินจ่าย มีเด็กเพียง 50% เท่านั้นที่สำเร็จการศึกษาระดับประถม ผู้ลี้ภัยหลายคนกล่าวว่าไม่มีเงินเสียค่าเล่าเรียนให้ลูก โรงเรียนบางแห่งรับนักเรียนได้ไม่พอ หรือไม่ก็ปิดตัวไปพร้อมกับครูที่ย้ายออกไปอยู่ที่อื่น(หน้า 93) องค์กร NGO ที่มีฐานในประเทศไทยได้เข้าช่วยเหลือด้านการบริการการศึกษาในค่ายผู้อพยพคะเรนนี (Karenni) ในประเทศไทยเพื่อจัดหาโรงเรียนและอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งจัดหาบุคลากรด้วย และได้จัดหาการฝึกฝนด้านเกษตรกรรมในค่ายชายแดนเพื่อขยายการศึกษาด้านปฐมภูมิ (หน้า 94) (ดูตารางที่ 16 เปรียบเทียบจำนวนผู้รู้หนังสือในพม่ากับประเทศอื่นๆ หน้า 96)

Health and Medicine

รัฐ คะเรนนี (Karenni) อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้การติดต่อหรือการคมนาคมไม่สะดวก ขาดแคลนการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลพม่ามีนโยบายทางสุขภาพในพื้นที่ชายแดนในปี ค.ศ. 1996-2001 โดยกระทรวงสุขภาพ นโยบายคือการลดสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆ ในผู้หญิงและเด็ก จัดศูนย์สุขภาพเพื่อแม่และเด็ก สำรวจโรคและควบคุมโรค พัฒนาสุขภาพโดยจัดหายาที่มีประสิทธิภาพ สร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล สาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อลดช่องว่างของการบริการสุขภาพระหว่างพื้นที่ส่วนกลางกับพื้นที่ชายแดน (หน้า 75,76) พบว่าทั้ง 7 เมืองในรัฐคะเรนนี (Karenni) พบว่ามีโรงพยาบาลอยู่ทุกเมือง แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการให้บริการ ทั้งเรื่องของยารักษาโรคและเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ อย่างไรก็ดีการให้บริการด้านสุขภาพในหมู่บ้านยังขาดแคลน โดยเฉพาะด้านบุคลากร (หน้า 77,78) แหล่งน้ำปนเปื้อนสารเคมีและการขาดเเคลนห้องส้วมเป็นสาเหตุของโรคภัย ในพื้นที่ห่างไกลไม่มียารักษาโรคที่ทันสมัย มีเพียงสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคไข้หวัด ไอ ท้องร่วง หรือโรคผิวหนัง การรักษาโรคแบบประเพณีนี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องภูตผี และเชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากผีร้าย เช่น 'ney' หรือ 'loh' ไก่อาจถูกฆ่าเพื่อเอากระดูกมาทำพิธีดูว่าผีไม่พอใจอย่างไร จะได้หาวิธีรักษาได้ถูก (หน้า 79,80) สภาวะสุขภาพของประชากร คะเรนนี (Karenni) มีความขัดสน เนื่องจากความยากจนของรัฐ ปัญหาความขัดแย้งและความไม่ปลอดภัย ประชากรขาดความรู้ ขาดการเข้าถึงของศูนย์สุขภาพ ขาดน้ำสะอาดและขาดสุขาภิบาล ขาดการควบคุมการคุมกำเนิด (หน้า 81) ประชากรในรัฐมักเสียชีวิดด้วยโรคมาลาเรียเป็นอันดับแรก รองมาได้แก่โรคท้องร่วง โรคปอดบวม โรคบิด นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ อีก เช่น โรคพยาธิ โรคผิวหนัง โรคขาดสารอาหาร โรคโลหิตจาง โรควัณโรค เป็นต้น แต่ไม่พบโรคเอดส์ในการสำรวจ แม้จะมีการค้าผู้หญิงหรือโสเภณี (หน้า 82-84) ปัญหาหลักของผู้ลี้ภัยคือการขาดสารอาหารที่มีถึง 55.3% ในคะเรนนี (Karenni) ซึ่งอยู่ในระดับรุนแร เพราะบางกลุ่มย้ายไปยังชุมชนอื่นและขาดแคลนอาหาร อัตราการให้กำเนิดบุตรลดลงเพราะมารดาขาดสารอาหารและผู้หญิงที่ตั้งครรค์กว่า 50% ได้รับผลกระทบจากโรคโลหิตจาง ในพื้นที่ชนบทมีการบาดเจ็บล้มตายจากทุ่นระเบิด การขาดสารไอโอดีนทำให้เด็กๆ ถึง 33.08% เป็นโรคคอหอยพอก ขาดวิตามินเอที่พบในพืชผักสด ขาดน้ำดื่มที่สะอาด และขาดสุขาภิบาลที่ดี (หน้า 84-86) มีหน่วยงานสาธารณะที่เข้ามาช่วยเหลืออย่างจำกัด เช่น UNICEF, NGO, Committee of the Red Cross (ICRC) รวมถึงหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จากชายแดนไทย แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากเขตแดนและต้องคำนึงถึงความปลอดภัย (หน้า 87)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุ

Folklore

ไม่ได้ระบุ

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้ระบุ

Social Cultural and Identity Change

ไม่ได้ระบุ

Map/Illustration

Figure Figure 1-2 : คะเรนนีและแผนที่รัฐคะเรนนี (หน้า 10) (หน้า 12) Figure 3: East-west Cross Sections of Karenni (หน้า 13) Figure 4: แสดงการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์นรัฐคะเรนนีและชายแดน (หน้า 17) Figure 5: ทรัพยากรในรัฐคะเรนนี (หน้า 21) Figure 6: Areas Non-State Actors Claim to Access (หน้า 32) Figure 7: Relations between the Tatmadaw and Non-State Actors in Karenni (หน้า 38) Figure 8: The Relationship between resources and Displacement in Karenni (หน้า 41) Figure 9: Displacement in Karenni (หน้า 52) Figure 10: Map of Shadaw Town and Relocation Site (หน้า 58) Figure 11: Displacement in Loikaw City (หน้า 66) Figure 12: Map of No. 427 Light Battalion Headquarters at Ngwe Daung Showing Location of Reportedly Confiscated Agricultural Lands (หน้า 68) Table Table 1: Population Figures for Karenni in 1967,1983 and 1998 (หน้า 14) Table 2: Urban and Rural populations by Township in 1983 (หน้า 14) Table 3: Population Distribution by Ethnicity in Karenni (หน้า 19) Table 4: Desplacement in Karenni by Township (หน้า 50) Table 5: Population in Relocations Sites and Gathering Villages (หน้า 61) Table 6: Health Facilities in Karenni in 1991 (หน้า 77) Table 7: Health Facilities in Karenni in 1998 (หน้า 77) Table 8: Health Personnel in Karenni in 1998 (หน้า 78) Table 9: Deseases under National Surveillance in Karenni: Number of reported cases January-ecember 1997 (หน้า 82) Table 10: Mobile Medical Team Visit, July 1998 (หน้า 82) Table 11: Malaria Mortality and Morbidity Rate in Border Township of Four States in Burman 1992-1996 (หน้า 84) Table 12: Prevalence of Acute Malnutrition among Children 5 Years of Age in Selected IDP Populations (หน้า 85) Table 13: State School, teachers and Students in Selected Regions (as of September 1998) (หน้า 90) Table 14: State-run Schools, Teachers and Students in Karenni (หน้า 92) Table 15: Percentage Distribution of School Education Service within Karenni (หน้า 93) Table 16: Selected Educational Indicators for Burman and Other Countries within the Region (หน้า 94) Appendix (หน้า 101-128)

Text Analyst กฤษฎาภรณ์ อินทรวิเชียร Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG คะยาห์ กะเรนนี บเว(กะเหรี่ยง), การเคลื่อนย้ายประชากร, พม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง