สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ญ้อ ย้อ ญ่อ โย้,ประเพณีการตาย,กาฬสินธุ์
Author สุทัศน์ ตันสุวรรณ
Title ประเพณีการตายของไทยญ้อ บ้านแซงบาดาล ต.แซงบาดาล อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญ้อ ไทญ้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 125 Year 2536
Source ปริญญานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม วิชาเอกไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษยศาสตร์)
Abstract

เป็นการศึกษาพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความตายของกลุ่มไทยญ้อที่บ้านแซงบาดาล ต.แซงบาดาล อ.สมเด็จ จ. กาฬสินธุ์ โดยใช้การวิจัยทางด้านเอกสารและการวิจัยภาคสนาม ซึ่งผู้วิจัยได้นำผลที่ได้มาศึกษาเปรียบเทียบกับพิธีกรรมของชาวลาว โดยทั่วไปพบว่า ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน คือมีคติความเชื่อในศาสนาพุทธและเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่ก็มีคติความเชื่อบางส่วนและลักษณะพิธีกรรมที่แตกต่างไปจากพิธีกรรมของชาวลาว (abstract)

Focus

พรรณนาพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการตายของไทยญ้อ บ้านแซงบาดาล (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยญ้อ (หน้า 4)

Language and Linguistic Affiliations

การพูดภาษาคล้ายกับชาวพื้นเมือง แต่เสียงแปร่ง บางคำก็ไม่เหมือนกัน (หน้า 19)

Study Period (Data Collection)

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ก่อน มีนาคม พ.ศ.2546

History of the Group and Community

เมืองแซงบาดาลเกิดขึ้นพร้อมกับเมืองท่าขอนยาง ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ โดยมียศเทียบเท่ากับเมืองท่าขอนยาง ในปี พ.ศ. 2388 ญ้อ เป็นคนไทยเผ่าหนึ่งที่ข้ามมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดอุดรธานี รอบเมืองสกลนคร เหนือนครพนม และบางตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ในช่วงจุลศักราช 1201 และได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองท่าขอนยาง และเมืองอื่น ๆ แถบนั้นซึ่งมีภูมิประเทศเหมาะสม

Settlement Pattern

พื้นที่หมู่บ้านมี 4,000 ไร่ เป็นที่ดิน ทำการเกษตร 2,750 ไร่ มีวัดชื่อ ศิริมงคล มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 โรง และมีลำห้วยไหลผ่าน (หน้า 23) (ลักษณะบ้านเรือน ดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

ประกอบด้วยประชากรทั้งสิ้น 110 ครัวเรือน รวม 669 คน ชาย 321 คน หญิง 348 คน ประชากรส่วนใหญ่นั้นเป็นไทยญ้อเกือบทั้งหมด มีคนไทยลาว และผู้ไทย อาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 15 แต่มาใช้ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนไทยญ้อ ซึ่งคนเหล่านี้มาจากการแต่งงานกับคนในหมู่บ้านนี้ (หน้า 28) นอกจากนี้ยังมีผู้ย้ายไปทำงานนอกตำบล 8 ครัวเรือน หญิง 5 คน ชาย 3 คน อยู่ในช่วงอายุ 16-30 ปี (หน้า 26)

Economy

ชาวบ้านมีอาชีพต่าง ๆ เช่น - อาชีพรับจ้างอย่างเดียว 10 ครอบครัว รายได้ครัวเรือนละ 2,500 บาทต่อปี - อาชีพทำนา 100 ครัวเรือน ได้ข้าวเปลือกไร่ละ 400 กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.20 บาท - ปลูกพืชไร่ คือมันสำปะหลัง 60 ครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือน ละ 6 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 1,000 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 70 สตางค์ - เลี้ยงสัตว์ ได้แก่วัว 20 ครัวเรือน, ควาย 30 ครัวเรือน, หมู 20 ครัวเรือน, แลเป็ดไก่ 60 ครัวเรือน (หน้า 24) ประชากรในพื้นที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง 95 ครอบครัว ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง 6 ครอบครัว (หน้า 25)

Social Organization

ญ้อยึดมั่นในครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว เชื่อฟังหัวหน้าครอบครัว มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อครอบครัวหลายอย่าง ได้แก่ การหาเลี้ยงและหาทรัพย์สินมาสู่ครอบครัว (หน้า 28)

Political Organization

ปกครองโดยส่วนการปกครองท้องถิ่น (หน้า 28)

Belief System

ไทยญ้อนั้นมีความเชื่อเรื่องขวัญ ทั้งขวัญคน สัตว์ สิ่งของ เช่น ขวัญข้าว หรือการทำขวัญควาย มีการสะเดาะเคราะห์แต่งแก้ในกรณีเจ็บป่วย และยังมีความเชื่อในเรื่องผี เช่น ผีเรือน ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ตาและผีตาแฮก (หน้า 28) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องโลกหน้า ว่าชาติหน้ามีจริง ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วลงนรก จึงทำให้เกิดพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายขึ้น แบ่งออกเป็น พิธีกรรมก่อนตาย พิธีการตัดกรรมตัดเวรให้แก่ผู้ป่วยที่รักษาไม่หาย หรือผู้ที่ใกล้จะตาย มีอาการชักดิ้นชักงอ ทุรนทุราย แลบลิ้นปลิ้นตา เพื่อให้ผู้นั้นได้พ้นทุกข์ทรมาน และจากโลกนี้ไปด้วยอาการสงบ และการที่ญาติบอกผู้ที่ใกล้จะตายให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เชื่อว่าจะได้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้ก่อนที่จะมีคนตายในหมู่บ้าน จะมีลางบอกเหตุ ให้รู้หลายอย่าง (หน้า 62) พิธีการทำศพ มีคติที่เชื่อว่าในร่างกายคนย่อมมีสิ่งหนึ่งสิงอยู่ เมื่อสิ้นลมหายใจแล้ว สิ่งที่สิงอยู่ในร่างกายเรียกว่าวิญญาณนั้นยังคงอยู่ ไม่ตายตามร่างกายไป แต่แยกจากร่างกายไปอย่างเด็ดขาด เรียกว่า วิญญาณ (หน้า 62) และเมื่อมีการตายไทยญ้อมีพิธีการทำศพดังนี้ 1. พิธีทำศพ ประกอบด้วย - การเฝ้าศพ เพื่อป้องกันมิให้แมวดำมากระโดดข้ามศพแล้วศพจะลุกขึ้นหรือปีศาจจะคะนอง หากผู้ตายมีลูกเขย การเฝ้าศพของลูกเขยเพื่อป้องกันมดหรือแมลงไปกวนศพ (หน้า 62) - การอาบน้ำศพ ไทยญ้อจะไม่อาบน้ำศพให้แก่ผู้ที่ตายโหง เพราะถือว่าเป็นการตายที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ถ้าตายอย่างธรรมดา จึงมีการอาบน้ำศพ โดยมีจุดประสงค์ คือล้างให้สะอาด ปราศจากมลทิน (หน้า 64) - การแต่งตัวศพ เรื่องการหวีผมให้ศพของไทยญ้อนั้น คือหวีให้ดูเรียบร้อยสวยงาม การสวมเสื้อผ้าให้ศพจะสวมเสื้อผ้าใหม่ให้ เพื่อชาติหน้าจะได้มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ในอดีต ไทยญ้อจะนุ่งผ้าให้ศพกลับหน้ากลับหลังเพื่อให้แตกต่างจากคนเป็น - การเอาเงินใส่ปากศพ เพื่อจ่ายเป็นค่าเดินทางและซื้อที่อยู่ในภพหน้า แต่ปัจจุบันไม่มีทำแล้ว - การปิดหน้าศพ โดยเอาผ้าขาวปิดหน้าเพื่อกันอุจาดน่ากลัว และเชื่อว่าหากลูกหลานเอาผ้าขาวซับริ้วรอยบนใบหน้าของญาติผู้ใหญ่เก็บเอาไว้เพื่อเป็นที่ระลึก และเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันตัว - การใส่กรวยดอกไม้ธูปเทียนในมือศพ เพื่อไปไหว้พระธาตุพนม หรือไว้พระธาตุเกศแก้วบนสวรรค์ (หน้า 64-65) - การมัดศพ เป็นการเน้นบอกให้คนที่ยังอยู่รู้ว่า ห่วงทั้งสามคือ ภรรยา บุตร และทรัพย์สมบัติ เป็นสิ่งผูกมัดให้ทุกคนลุ่มหลง ยึดติดทำให้เกิดทุกข์ เมื่อได้ตัดบ่วงเหล่านี้ให้ขาด จะพ้นทุกข์ได้ - การทำโลง เพื่อใช้บรรจุศพ ไม่ให้ศพต้องนอนอยู่ข้างนอก เพราะจะเป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น - การตั้งศพ จะหันหัวไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศของที่ตั้งพระธาตุพนม และจะไม่หันหัวไปทางทิศตะวันตกเพราะจะหันเท้าศพไปยังพระธาตุพนม ถือเป็นการลบหลู่ ตายไปจะตกนรก - การตามไฟศพ ถือว่าจุดไว้แทนไฟธาตุของผู้ตาย - การเลี้ยงศพ มีจุดประสงค์เพื่อเลี้ยงผู้ตาย หรือเวนข้าวให้ผีกิน - การสวดศพ เพื่อให้พระมาให้บุญแก่ผู้ตาย - การงันเฮือนดี จัดขึ้นในขณะที่ศพอยู่บนเรือน อาจมีการละเล่นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ตาย พิธีเผาศพ มีเหตุผลว่าป้องกันผีได้ดีที่สุด โดยจะเริ่มตั้งแต่ ยกศพออกจากเรือน, ส่งสการศพ, หามศพ, จูงศพ, หว่านข้าวตอกแตก, หาที่เผาศพ, เวียนสามรอบ, กระแทกกองฟอน, ล้างหน้าศพ, โยนผ้าข้ามโลงศพ, ถวายต้นกาละพฤกษ์, สวดมาติกาบังสุกุล, แล้วจึงเผาศพ โดยเลือกวันดังนี้ คือข้างขึ้นนั้นห้ามเผาวันคู่ และข้างแรมห้ามเผาวันคี่ (หน้า 63-71) ห้ามเผาศพในวันอังคารในวันปากเดือน, วันเก้ากอง (หน้า 72-73) ถ้าผู้ตายเป็นเด็กจะเอาไปฝังทันทีไม่มีพิธีศพ หากผู้ตายเป็นวัยรุ่นที่ยังโสดจะทำอวัยวะเพศของเพศตรงข้ามใส่ลงโลงให้ด้วย, ห้ามนำศพที่ตายโหงเข้าบ้าน ไม่มีการเผา ไม่มีการอาบน้ำศพ มีแต่การฝังเท่านั้น และต้องฝัง 3 ปีแล้วจึงขุดขึ้นมาเผา (หน้า 74-75) พิธีหลังจากการทำศพ จะมีการสวดมนต์เย็นหลังจากการเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเก็บกระดูกของผู้ตาย และบอกกล่าวผีพ่อแม่ให้ไปอยู่บ้าน นำเถ้ากระดูกไปฝังในหลุมพร้อมกับเสาหลัก ซึ่งเป็นเสาบอกตำแหน่งว่านำมาฝังไว้ตรงไหน จากนั้นจึงทำบุญแจกข้าว เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย (หน้า 76)

Education and Socialization

ประชากรในหมู่บ้านนี้จบการศึกษาภาคบังคับขึ้นไป 359 คน จบมัธยมต้น 80 คน มัธยมปลาย 50 คน และสูงกว่ามัธยมปลาย 30 คน กำลังศึกษาอยู่ใยชั้นประถม 85 คน มัธยม 40 คนและระดับสูงกว่ามัธยม 20 คน และมีการเรียนการสอนนอกโรงเรียน(กศน.) (หน้า 25)

Health and Medicine

มีความเชื่อเรื่องการต่ออายุให้แก่ผู้ใกล้จะตาย ได้แก่ พิธีค้ำโพธิ์ค้ำไทร เมื่อกระทำพิธีนี้แล้วผู้ป่วยมักหายป่วยในเร็ววันและมีอายุยืนนานต่อไป (หน้า 61)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดดำ ทำด้วยผ้าฝ้าย ซึ่งใช้ได้ทุกเวลาและโอกาส ไม่นิยมการไว้ทุกข์ จะแต่งชุดสีอะไรก็ได้ (หน้า 28) ชายผู้มีฐานะจะใช้เครื่องแต่งตัวที่ส่งมาจากประเทศญวน ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ใช้เสื้อเหมือนญวน นุ่งผ้าโจงกระเบน ผ้านุ่งใช้ผ้าหางกระรอก ถ้าเป็นคนทั่วไปก็จะใช้เสื้อทอผ้าสีดำ เป็นเสื้อผ่าอก ใช้กระดุมไม่น้อยกว่า 9 เม็ด ทรงรัดตัวและเอว สะโพกผายยาวถึงหน้าขา มีสายทั้งสองข้าง ขลิบริมด้วยผ้าสีต่าง ๆ ผ้านุ่งจะเป็นผ้าฝ้ายสีดำ พุ่งสีขาว นุ่งโจงกระเบน หญิง สูงศักดิ์จะนิยมนุ่งซิ่นทิวหรือซิ่นเปียกน้ำหรือซิ่นหมี่ ห่มสไบเฉียง ที่ซื้อจากประเทศญวน ใส่กระจอนหู กำไลมือ กำไลเท้า แหวน ซึ่งทำด้วยเงินและทอง หญิงธรรมดาจะนุ่งซิ่นตามืด หรือซิ่นหมี่ ซิ่นชั้น นิยมห่มสไบเฉียง (หน้า 20) สถาปัตยกรรม : ผู้ขาดสนจะปลูกกระท่อมใช้ฝาแผงหรือแถบตอง มุงด้วยหญ้าแฝก ผู้มีอันจะกินจะใช้ฝาไม้กระดานดีเลวตามฐานะ รูปเรือนทรงมะนิลา เป็นเรือนทรงหลังคาตรงไม่หักหน้าจั่วเหมือนเรือนปั้นหยา และไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน (หน้า 19) การแสดง : มีการแสดงเต้นสาก ซึ่งลูกเขยจะต้องเป็นคนเต้นในเวลากลางคืนที่มีการตั้งศพ หากเต้นไม่เป็นจะต้องจ้างคนอื่นมาเต้นแทน (หน้า 28) พิธีเต้นสากนี้ จะเต้นตอนกลางคืนหลังจากพระสวดเสร็จ และทุกเช้าเวลา 4.00-5.00 น. โดยใช้สากประมาณ 5 หรือ 7 คู่ ซึ่งเป็นการเต้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ตาย (หน้า 46)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

สมาชิกส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นไทยญ้อเกือบทั้งหมด แต่ก็มีคนไทยลาวและผู้ไทยอยู่ด้วยราวร้อยละ 15 แต่มาใช้วิถีชีวิตและประเพณีเหมือนไทยญ้อ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มาโดยการแต่งงานกับคนในหมู่บ้านนี้ (หน้า 28)

Social Cultural and Identity Change

เครื่องแต่งกายก็มีเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยคือชายจะนุ่งโสร่ง กางเกงจีน และสวมเสื้อเหมือนคนไทยในขณะที่ผู้หญิงนั้นจะนิยมสวมเสื้อตามสมัยนิยม (หน้า 20)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพประกอบ 20 ภาพ (ภาคผนวก ค)

Text Analyst พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ Date of Report 26 ต.ค. 2555
TAG ญ้อ ย้อ ญ่อ โย้, ประเพณีการตาย, กาฬสินธุ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง