สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทเบิ้ง,ไทโคราช,ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน,ป่าดอนปู่ตา,มหาสารคาม
Author ศักดา เชื้อประทุม
Title ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับป่าดอนปู่ตาในอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยโคราช คนโคราช คนบ้านเอ๋ง หลานย่าโม, ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 170 Year 2538
Source วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

ผู้ศึกษาได้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงลักษณะสภาพของป่าดอนปู่ในเขต อ.นาเชือก โดยเลือกหมู่บ้านที่จะทำการศึกษา 19 หมู่บ้าน และยังศึกษาถึงความสัมพันธ์และบทบาทของป่าดอนปู่ตากับวิถีชีวิต และศึกษาถึงลักษณะของพิธีกรรมและผลกระทบต่อชุมชน โดยมีการสำรวจในพื้นที่ที่เป็นป่าดอนปู่ตาและสัมภาษณ์ชาวบ้านถึงพิธีกรรมต่างๆ และคติความเชื่อรวมทั้งผลกระทบและความสัมพันธ์กับชุมชน(หน้า 7) ลักษณะโดยทั่วไปของป่าดอนปู่ตานั้นเป็นป่าทึบหรือโปร่งผันแปรตามลักษณะและจำนวนพื้นที่ และมีหนองน้ำธรรมชาติในพื้นที่ด้วย และจะมีศาลปู่ตาแห่งละ 1-3 หลัง และชาวบ้านได้ใช้พื้นที่นี้เก็บผลผลิตจากป่าเป็นอาหารตามฤดูกาลและเป็นยาสมุนไพร สำหรับพิธีกรรมนั้นก็มีพิธีกรรมเลี้ยงปู่ตาและเสี่ยงทายประจำปีในเดือน 6 โดยมีเฒ่าจ้ำเป็นผู้ประกอบพิธี และสำหรับผลกระทบต่อชุมชนนั้นก็เป็นเหมือนที่รวมอำนาจในการอำนวยทุกข์และสุขให้เกิดได้กับบุคคลที่มีความผูกพันกับผีบรรพชนในเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและศรัทธาที่ยึดมั่นทางใจของชุมชน (abstract 1-2)

Focus

เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับลักษณะการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยเลือกศึกษาป่าดอนปู่ตา เพื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์กับชุมชน ลักษณะสภาพของป่าดอนปู่ตา พิธีกรรม ในพื้นที่ที่ทำการศึกษาเป็นหลัก

Theoretical Issues

ผู้วิจัยไม่ได้ระบุแนวคิดทฤษฎีที่ใช้อย่างชัดเจน แต่ได้พยายามอธิบายว่าป่าดอนปู่ตานั้นมีอยู่ในทุกชุมชนที่ศึกษาในอ.นาเชือก เป็นพื้นที่ที่มี่ความศักดิ์สิทธ์ ในความเชื่อของชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์สรรพสิ่งต่างๆ เช่น ไม้ สัตว์ป่า และสมุนไพร จากดอนปู่ตา แต่ชาวบ้านจะใช้ประโยชน์ด้วยความกลัว ศัรทธาและเคารพ นับว่ามีความผูกพันกันดอนปู๋ตาและมีพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับปู่ตา เช่น พิธีเลี้ยง เสี่ยงทาย และบนบาน ทำให้ดอนปู่ตายังดำรงอยู่เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าของชุมชนต่อไป

Ethnic Group in the Focus

ชาวอีสานในอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม (หน้า 1)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

เดือนพฤศจิกายน 2536 - ตุลาคม 2538 (หน้า 9)

History of the Group and Community

อ.นาเชือก เดิมเป็นตำบลที่ขึ้นกับ อ.บรบือ แต่เนื่องจากพื้นที่นั้นอยู่ไกลจากตัวอำเภอมาก การคมนาคมไม่สะดวก จึงทำให้ฝ่ายปกครองไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จึงยกฐาน ต.นาเชือก และ ต.เขวาไร่ ให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาเชือก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2503 ต่อมาก็ได้เปลี่ยนแปลงกรแบ่งเขตตำบลขึ้นใหม่ในท้องที่ กิ่ง อ.นาเชือก อ.บรบือ และ อ.พยัคฆภูมิพิสัย มี ต.หนองโพธิ์, ต.สำโรง, ต.ปอพาน และ ต.หนองเรือ และในปี 2506 ก็ได้ตั้งเป็นอำเภอ (หน้า 19)

Settlement Pattern

การตั้งหมู่บ้านโดยทั่วไปจะจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มักเป็นที่ดอนให้เป็นส่วนของป่าดอนปู่ตา เป็นผืนป่าใกล้หมู่บ้านมีจำนวนพื้น ที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่ 1 ไร่ถึง 100 ไร่ ซึ่งภายในพื้นที่ป่าดอนปู่ตานั้นมักจะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และมีความเชื่อว่าห้ามบุกรุกและล่าสัตว์ในบริเวณป่าดอนปู่ตา และมีกฎ และกติกาการปรับเมื่อมีผู้ล่วงละเมิด (หน้า 81)

Demography

สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น อ.นาเชือกนั้นแบ่งการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 115 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 62,859 คน ชาย 30,578 คน และหญิง 32,281 คน (หน้า 20และตารางหน้า 21 ) มีความหนาแน่นเฉลี่ย 486 คนต่อตารางกิโลเมตร (หน้า 22)และได้มีการสัมภาษณ์โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง 190 รายดังนี้(หน้า 8-9) กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้อาวุโส ครู พระ ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับป่าดอนปู่ตาชุมชนละ 3 ราย รวม 57 ราย เฒ่าจ้ำทุกชุมชน 19 ราย กลุ่มประชากรทั่วไปชุมชนละ 6 ราย รวม 114 ราย

Economy

มีการทำไร่ทำนาเป็นอาชีพหลักโดยพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก (หน้า 27) ซึ่งมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่สำคัญคือข้าว พืชไร่ และไม้ผล (ตารางที่ 2 หน้า 24) นอกจากนี้ ยังมีการเก็บของป่าล่าสัตว์บ้าง (หน้า 28-29)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ในเกือบทุกหมู่บ้านของอ.นาเชือก จ.มหาสารคามนั้นจะมีพื้นที่ป่าดอนปู่ตาประจำหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านที่คุ้มครองผู้คนและหมู่บ้านให้อยู่เป็นสุขปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง พื้นที่ป่าดอนปู่ตาส่วนใหญ่นั้นเดิมจะเป็นป่ารกทึบ และมีสิ่งก่อสร้างคือศาล (ตูบ) ที่เป็นอาคารขนาดเล็ก 1 หลัง บางแห่งอาจมี 2 หลัง สำหรับวางเครื่องเซ่นและประกอบพิธีกรรม ซึ่งลักษณะของพิธีกรรมจะแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น โดยที่จะเหมือนกันคือมีเฒ่าจ้ำหรือกระจ้ำทำหน้าที่ประกอบพิธี เฒ่าจ้ำ นี้จะเป็นบุคคลที่ทางหมู่บ้านพิจารณาว่ามีความเหมาะสม ซึ่งชาวบ้านจะมีความเชื่อว่าปู่ตานั้นควรจะมีการเซ่นสรวงและไม่ล่วงละเมิด จะทำให้แต่ความสุขสงบ (หน้า 43) โดยปกติมีพิธีกรรมดังนี้ - เดือน 5 เป็นการสรงน้ำศาลปู่ตา โดยใช้น้ำหอม ดอกไม้ ธูปเทียนและการทำดาบ ปั้นรูปช้างรูปม้า ไว้บนศาลปู่ตา และชาวบ้านร่วมกันสาด สรงน้ำที่ศาลปู่ตา - เดือน 6 พิธีเลี้ยงผีปู่ตาจะทำกันในวันพุธขึ้น 15 เดือน หรือวันพุธอื่น ๆ ภายในเดือนพฤษภาคมตามแต่ละท้องถิ่น ชาวบ้านทุกคนจะไปร่วมพิธีโดยมีเหล้า 1 ไห ไก่ 2 ตัวและดอกไม้ธูปเทียนเพื่อเสี่ยงทายถึงสภาพอากาศในปีนั้นโดยเสี่ยงทายจากคางไก่ ถ้าโค้งงอสวยงามแสดงว่าจะอยู่เย็นเป็นสุข ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ ถ้าคางหงิกงอแสดงว่าจะแห้งแล้ง และยังมีการเสี่ยงทายบั้งไฟ ถ้าบั้งไฟขึ้นได้สูงแสดงว่าชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าไม่ขึ้นหรือแตกกลางคันเชื่อว่าจะเกิดความแห้งแล้งไปในปีนั้น (หน้า 56) - เดือน 3 ก็จะมีการเลี้ยงผีปู่ตานี้อีกครั้ง ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวไปคนละ 1 กระติบ หญ้าคามัดเป็นปมแทนวัว ควาย เป็ด ไก่ที่มีอยู่ในบ้าน เพื่อให้ท่านได้คุ้มครองดูแลไม่ให้เจ็บป่วย - เดือน 12 ทำข้าวเม่า เดือน 10 ทำข้าวสาก เดือน 3 ทำข้าวจี่ ชาวบ้านจะนำสิ่งเหล่านี้ไปถวายผีปู่ตา (หน้า 45-46) พิธีการบนบาน เครื่องประกอบ ได้แก่ ไก่หนุ่ม ไก่สาว ไข่ต้ม เหล้า 1 ไห ดอกไม้ ธูปเทียน หญ้าคาที่มัดเป็นปม เป็นสัญลักษณ์แทนวัวควายหรือสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้าน ซึ่งจะทำเป็นรายบุคคล กล่าวคือถ้าใครมีเรื่องเดือดร้อนก็จะไปทำพิธีในดอนปู่ตาเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย เรียกว่าการบ๋า เมื่อได้สิ่งที่ต้องการแล้ว จะต้องมาทำพิธีปลงบ๋า โดยเชิญเฒ่าจ้ำมาทำพิธีให้ ถ้าผู้ใดไม่ปลงบ๋าจะมีอันตรายถึงชีวิต(หน้า 54) สำหรับศาสนาหลักของชาวบ้านใน อ.นาเชือกนั้นส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลามบ้างเล็กน้อย (หน้า 25)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียด

Health and Medicine

การสาธารณสุขเป็นแผนใหม่ มีโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง สถานีอนามัย 11 แห่ง (หน้า 26) สำหรับการรักษาที่เป็นภูมิปัญญานั้นไม่มีกล่าวถึงในงาน แต่จะเชื่อว่าหากไปละเมิดดอนปู่ตาแล้วจะเกิดอาเพศ โรคภัยไข้เจ็บต้องไปขอขมาลาโทษ (หน้า 63) และมีการเก็บพืชสมุนไพรบางชนิดจากป่าดอนปู่ตามาใช้ด้วย (ตารางที่ 3 หน้า 66-73)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ในปัจจุบันชาวบ้านยังใช้พื้นที่ดอนปู่ตาเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมประจำปี คือพิธีเลี้ยง เสี่ยงทาย และบนบานเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ เพื่อรักษาพื้นที่ป่าไว้ได้โดยอาศัยความเชื่อถือในผีบรรพบุรุษทำให้ชาวบ้านไม่กล้าล่วงละเมิดไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม (หน้า 78) ชาวบ้านนั้นยังเชื่อมั่นและศรัทธาในผีปู่ตาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ยังกระทำกันอยู่เสมอ (หน้า 79)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ประกอบจำนวน 2 ชิ้น(ภาพที่1-2) ภาพประกอบ 65 ชิ้น(ภาพที่ 3-68) (ภาคผนวก ค)

Text Analyst พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ไทเบิ้ง, ไทโคราช, ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน, ป่าดอนปู่ตา, มหาสารคาม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง